พันปีที่ ๓ จะมากไปด้วยพระอริยะเจ้าชั้นเตวิชโชวิชาสาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tanmaashee, 18 มิถุนายน 2011.

  1. tanmaashee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +11
    พันปีที่ ๓ จะมากไปด้วยพระอริยะเจ้าชั้นเตวิชโชวิชาสาม

    ไปเที่ยวเขาพระสุเมรมา

    พอจิตออกจากร่างก็ไปยืนอยู่ที่ตีนเขาพระสุเมร เห็นผู้คนมากมาย กำลังจะแข่งขันเลี้ยงบอลขึ้นภูเขาพระสุเมรกัน แต่ยังไม่ทันออกสตาร์ท ข้าพเจ้าก็เลี้ยงบอลไปถึงเส้นชัยแล้ว ตอนเดินลงจากเขาพระสุเมรนั้น เห็นเหล่าเทวดานางฟ้ากำลังอธิฐานกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระพุทธศาสนาจะประดิษฐานอยู่ ณ.ที่ใดพระพุทธเจ้าข้า”

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า พระพุทธศาสนาจะประดิษฐานอยู่กับค่ายประชาธิปไตยฝ่ายขวา ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (ของคนที่มีซื่ออยู่ในหนังสือพระเมตตาของพระเดชพระคุณเจ้าประคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำสายเตวิโช วิชาสาม คนนั้นนั่นเอง) ก็เห็นหน้าท่านใหญ่เท่าเขาพระสุเมรลอยขึ้นไปเบื้องบน

    ข้าพจ้าขอเรียกสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นทั้งหมดนี้ว่านอนฝันไปก็แล้วกัน ถ้ามีข้อความใดที่ข้าพเจ้าคิดแต่งเรื่องขึ้นมาโกหกเอง หรือมีการเสริมแต่งให้เกินไปจากความเป็นจริงแม้แต่เพียงคำเดียว ก็ขอให้ข้าพเจ้าจงถูกฟ้าผ่าตายเดี๋ยวนี้ทันที ทั้งนี้ก็เพื่อความสบายใจของท่านที่เข้ามาอ่านว่าจะได้อ่านแต่เรื่องที่เป็นความจริงเท่านั้น ไม่โดนแหกตาหลอกลวงอย่างแน่นอน

    พระพุทธเจ้าทรงเป็น เตวิโช วิชาสาม

    พุทธดำรัส:-ดูก่อนวัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญาณญาณทัสสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไปดังนี้ ไม่เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้วและชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มี ไม่เป็นจริง

    “ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ ) ดังนี้แล เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม….

    “ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง….. ตลอดสังวัฎวิวัฎกัปเป็นอันมาก ในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น. .. เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้

    “ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ซึ่งเป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิฉาทิฐิ เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมทิฐิ….. เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

    “ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง. ..”

    จูฬวัจฉโคคตสูตร

    ฌาน ๔ เป็นประตูไปสู่นิพพาน

    พุทธดำรัสตอบ ” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น….
    ” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) เหล่านี้แล”

    ฌานสังยุต

    เข้าถึงแก่นพระศาสนา

    พุทธดำรัส:-ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุฌานที่๑….. ธรรมนี้ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ บรรลุฌานที่ ๒ …..อีกข้อหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้บรรลุฌานที่ ๓…. ได้บรรลุฌานที่ ๔ …… บรรลุอากาสานัญจายตนอรูปฌาน…. บรรลุวิญญาณัญจายตนอรูปฌาน….บรรลุอากิญจัญญายตนอรูปฌาน. … บรรลุเนวสัญญานาสัญญานอรูปฌาน…. บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ…. อาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา แม้ธรรมนี้ก็ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ เรากล่าวบุคคลนี้ว่า เปรียบเหมือนบุรุษต้องการแก่นไม้…. เมื่อไปถึงต้นไม้ใหญ่รู้จักว่าแก่น ตัดเอาแต่แก่นเท่านั้นถือเอาไป กิจที่ควรทำด้วยแก่นไม้ของบุรุษนั้น ก็จักสำเร็จประโยชน์ได้ ดังนี้

    พรหมจรรย์นี้มิใช่มีลาภสักการะความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลและสมาธิ แลญาณทัสสนะเป็นอานิสงค์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุต ความที่จิตพ้นวิเศษอันไม่กำเริบนี้แลเป็นประโยชน์ พรหมจรรย์นี้มีวิมุตินั้นเป็นแก่นสาร มีวิมุตินั้นเป็นที่สุดรอบ

    จูฬสาโรปมสูตร

    หตุที่ทำให้พระสาวกจึงเคารพพระพุทธเจ้าพระศาสดา

    พุทธดำรัส:-ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง….. เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง …… สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่

    ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ……. สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่

    ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้วสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์……. ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ….. ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก……. ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ….. ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ……. สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่

    ดูก่อนอุทายี ธรรมห้าประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้วพึ่งเราอยู่

    มหาสกุลุทายิสูตร

    พระพุทธเจ้าเป็นผู้สอนวิชา มโยมยิทธิด้วยตัวพระพุทธองค์เอง

    มโนมยิทธิญาณ
    พุทธดำรัส
    :-ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
    แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
    @๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-
    @ เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ
    @๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
    ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
    ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
    โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
    น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
    ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

    สามัญญผลสูตร

    พุทธดำรัส:- ภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้
    มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือน
    บุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้หญ้าปล้อง
    อย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง
    ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึง
    คิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง
    ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจาก
    กายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชา
    ของเธอประการหนึ่ง.

    อัมพัฏฐสูตร

    พุทธดำรัส:-ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ
    คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
    ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
    ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
    โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
    น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอ
    ประการหนึ่ง.

    โสณทัณสูตร

    พุทธดำรัส:-ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้
    มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือน
    บุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้อง
    อย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง
    ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะ
    พึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง
    ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่น
    จากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรพราหมณ์
    นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์ มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ.

    กูฏทันตสูตร

    พุทธดำรัส:-ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ
    คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
    หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใด
    รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง
    สรีระอย่างหนึ่ง ดูกรผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น
    สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง.

    มหาลิสูตร

    พุทธดำรัส:-ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรรูปอันเกิดแต่ใจ คือ
    นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกร
    ผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
    หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้
    เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระ
    อย่างหนึ่ง ดูกรผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
    หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง.

    ชาลิยสูตร

    พุทธดำรัส:-ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ
    คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.
    ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
    ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
    ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
    โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
    น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

    สุภสูตร

    พุทธดำรัส:-ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ
    นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้
    หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้อง อย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
    ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
    ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
    จิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่
    ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏสูตร

    พุทธดำรัส:- ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ
    คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    ดูกรโลหิจจะ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้
    หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีก
    นัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
    ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
    ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด.
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ
    คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    ดูกรโลหิจจะ สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด ศาสดานี้แล ไม่ควร
    ท้วงในโลก อนึ่ง การท้วงศาสดาเห็นปานนี้ นั้น ก็ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม ประกอบ
    ด้วยโทษ.

    โลหิจจสูตร
     
  2. Red people เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +153
    ล้ำลึกมาก วิทยาศาสตร์ทางจิต
     
  3. tanmaashee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +11
    ถ้าเป็นสุขวิปัสสโกต้องมีศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือเชื่อตามอย่างเดียวไม่มีทางอื่น
     
  4. tanmaashee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +11
  5. tanmaashee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +11
    การบรรลุธรรมจากต่ำสุดถึงสูงสุดแบบละเอียด

    :cool:พุทธภูมิจะบรรลุธรรมตอนเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น หรือลาพุทธภูมิแล้ว

    :cool:พระโสดาปฏิมรรค คือ เชื่อในอริยสัจจ์ ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแบบเต็มร้อยไม่มีความสงสัย ไม่แม้แต่จะคิดวิจารณ์พระพุทธดำรัสใดๆทั้งสิ้น ยังไม่รู้ตัวว่าบรรลุธรรม แค่เทียบเคียงได้บ้าง

    :cool:พระโสดาปฏิผลเริ่ม ถือศีล ๔ ข้อ คือ ปานา อทินา กาเม มุสาในสัมมาวาจา ละวิจิกิจฉาลงได้ คือ ไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ละสังโยชน์สักกายะทิฏฐิได้บางส่วน หรือเทียบที่มรณานุสสติดี มีพระนิพพานเป็นที่ไปเบื้องหน้า ยังไม่รู้ตัวว่าบรรลุธรรม แค่เทียบเคียงได้บ้าง

    อย่างนี้เป็นวิจิกิจฉา ยังละไม่ได้

    พุทธทาส:-พระสูตรทั้งหมดที่เกี่ยวกับเรื่องโอปาติกะ เป็นเรื่องโกหกทั้งหมด เมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนเกี่ยวกับเรื่องโอปาติกะนั้น ท่านก็โกหกประชาชนและภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เพราะท่านจำเป็นต้อง "เอออวย"...เรื่อง ทาน ศีล สมาธิ ฤทธิ์ อภิญญา ชาตินี้ ชาติหน้า ภพต่างๆ ภูมิต่างๆ และทางที่กระทำแล้วให้ผลไปสู่ภพภูมิต่างๆ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย โลกนี้ โลกอื่น ผลของกรรมที่ไม่ให้ผลในชาตินี้ etc...เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านโกหกโลก โกหกประชาชน เพราะต้อง "เอออวย" ไปตามสังคมทั้งนั้น ถ้าใครจะเชื่อพระพุทธเจ้า ใครจะเชื่อพระไตรปิฏก ต้องคิดแบบท่านซะก่อน ถึงจะฉลาด....เพราะคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้านั้น ....เชื่อไม่ได้

    หนังสือ ธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์

    :cool:พระสกิทาคามี เหมือนพระโสดาบันที่ต้องเกิดอีก ๑ ชาติ แต่เหมือนว่าจะละกามราคะ และปฏิฆะได้ ด้วยศีลอพรหมจาริยา ยังไม่ถึงขนาดใช้พรหมวิหาร ๔ กับอสุภะกรรมฐานเป็นตัวนำ คือก่ำกึ่งๆ ครึ่งๆกลางๆ ยังไม่รู้ตัวว่าบรรลุธรรม แค่เทียบเคียงได้บ้าง

    :cool:พระอานาคามีชั้นต่ำสุด คือ พรหมโลกชั้นที่ ๑๒ ข่มกามราคะ กับ ปฏิฆะ ด้วยพรหมวิหาร ๔ กับ อสุภะกรรมฐาน คือเปลี่ยนจากความโกรธเป็นความไม่โกรธได้ทันท่วงที กามราคะก็เหมือนกัน ยังไม่รู้ตัวว่าบรรลุธรรม แค่เทียบเคียงได้บ้าง

    :cool:พระอานาคามี พรหมโลกชั้นที่ ๑๓ ใช้ความเพียรกล้ามาก มักชอบนั่งสมาธิครั้งละนาน ทั้งวัน เคร่งในศีลพระวินัยมาก เรียบร้อย ยังคงใช้ พรหมวิหาร ๔ กับ อสุภะกรรมฐานอยู่ ยังไม่รู้ตัวว่าบรรลุธรรม แค่เทียบเคียงได้บ้าง

    :cool:พระอานาคามี พรหมโลกชั้นที่ ๑๔ เริ่มใช้สติปัฏฐาน ๔ นำแล้ว ตอนนี้เรื่มคลาย พรหมวิหาร ๔ กับ อสุภะลง คือ เหมือนไม่ได้ทำเพราะเคยชินไปแล้ว แต่ความจริงมีอยู่ตามปกติ แต่ใช้สตินำหน้าเท่านั้นเอง ยังไม่รู้ตัวว่าบรรลุธรรม แค่เทียบเคียงได้บ้าง

    :cool:พระอานาคามี พรหมโลกชั้นที่ ๑๕ ท่านใช้สมาธิฌาน ๔ นำหน้า เวลาเจริญสติปัฏฐาน ๔ จิตสามารถแยกออกจาก กาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยสติในสมาธิฌานที่ ๔ ได้แล้ว ยังไม่รู้ตัวว่าบรรลุธรรม แค่เทียบเคียงได้บ้าง

    :cool:พระอานาคามี พรหมโลกชั้นที่ ๑๖ ชั้นสุดท้ายสูงสุดนี้ ท่านใช้ปัญญานำหน้า เพราะ สติผู้รู้ในองค์ฌานที่ ๔ ชำนาญดีแล้ว เริ่มพิจารณาไตรลักษณะได้เด็ดขาดขึ้นมากเกือบเทียบเท่าพระอรหันต์เลยทีเดียว คือสามารถเข้านิโรธสมาบัติเหมือนกับพระอรหันต์ได้ แต่ยังติดสติตัวรู้ในองค์ฌานที่ ๔ อยู่ ชั้นนี้ท่านไม่ใช้พรหมวิหาร ๔ ข่มกดความโกรธนำแล้ว แต่จะใช้สติระลึกรู้ในองค์ฌานที่ ๔ และปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ ละขันธ์ ๕ ส่วนอื่นๆได้หมดยกเว้น สติระลึกรู้ในองค์ฌานที่ ๔ และปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ คือไม่ข่มความโกรธ กับ กามราคะนำ แต่ท่านจะพิจารณาทั้ง ความโกรธ ไม่โกรธ ลงไปที่ไตรลักษณ์เลย กามราคะก็เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะคิดว่าบรรลุอรหัตผลแล้ว

    :cool:พระอรหันต์สุขวิปัสสโก เหมือนพระอานาคามีชั้นที่ ๑๖ แต่จะละสติระลึกรู้ในองค์ฌานที่ ๔ และปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ลงได้ เป็นจิตหลุดพ้น พอจิตหลุดพ้นแล้วก็จบกิจ รู้ตัวว่าจบกิจแล้วไม่มีสิ่งใดจะต้องทำอีก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

    :cool:พระอรหันต์เตวิชโช วิชาสาม ก็เหมือนพระอรหันต์สุขวิปัสสโก แต่จะได้จุตูปปาตญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอาสวะขยญาณ รู้ตัวว่าจบกิจแล้วไม่มีสิ่งใดจะต้องทำอีก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

    :cool:พระอรหันต์ฉฬภิญโญ ก็เหมือนพระอรหันต์สุขวิปัสสโก แต่จะได้อภิญญา ๖ ด้วย รู้ตัวว่าจบกิจแล้วไม่มีสิ่งใดจะต้องทำอีก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

    :cool:พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ก็เหมือนพระอรหันต์สุขวิปัสสโก แต่ต้องได้สมาบัติ ๘ ด้วย รู้ตัวว่าจบกิจแล้วไม่มีสิ่งใดจะต้องทำอีก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

    :cool:พระพุทธเจ้า กับพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ต้องได้วิชาสาม เตวิชโช ทุกพระองค์ รู้ตัวว่าจบกิจแล้วไม่มีสิ่งใดจะต้องทำอีก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

    พุทธดำรัส:-ดูก่อนวัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญาณญาณทัสสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไปดังนี้ ไม่เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้วและชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มี ไม่เป็นจริง

    “ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ ) ดังนี้แล เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม....

    “ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง..... ตลอดสังวัฎวิวัฎกัปเป็นอันมาก ในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น... เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้

    “ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ซึ่งเป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิฉาทิฐิ เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมทิฐิ..... เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

    “ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง...”

    จูฬวัจฉโคคตสูตร


    ผมเป็นพระโสดาบัน มาแทนเจ้าที่คนเก่า

    ตอนที่พ่อกับแม่ย้ายบ้านเข้ามาอยู่กรุงเทพฯใหม่ๆ ปกติเวลาจะนอนผมจะกำหนดลมหายใจภาวนาพุทโธจนกระทั่งหลับไป วันหนึ่งเห็นชายหนุ่มคนหนึ่งนั่งคุกเข่าอยู่ที่เชิงบันได ตรงจู่ตี๋เอี๊ย พอผมกำลังจะเดินขึ้นบันไดไปชั้นบน ท่านก็ยกมือไหว้แล้วพูดว่า"ท่านครับกระผมเป็นพระโสดาบัน มาแทนเจ้าที่คนเก่า"

    กระผมเป็นพระอานาคามี จะขอตายแทนท่านเองขอรับ

    เป็นปกติก่อนนอนก็ต้องจับลมหายใจเข้าออกภาวนาพุทโธ จนหลับไป คือติดคำสอนของเจ้าประคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เห็นตัวเองกำลังอาบน้ำอยู่ เหลือบไปเห็นสัตว์มีพิษ ๒ ตัว ๒ ชนิด ที่กัดถึงตาย ก็ได้ยินคนมาเคาะประตูห้องน้ำเรียกผม พอเปิดประตูก็เห็นชายแก่คนหนึ่ง ใส่กางเกงสามส่วนไม่ใส่เสื้อ นั่งคุกเข่าพนมมือไหว้แล้วท่านก็พูดว่า "ท่านครับกระผมเป็นพระอานาคามี จะขอตายแทนท่านเองขอรับ"

    ถอดจิตออดจาดความโกรธ

    แรกตอนเริ่มปฏิบัติธรรมตามสมควรนั้น เวลาความโกรมเกิดขึ้นก็จะลืมตัวเสียเป็นส่วนใหญ่ มารู้ตัวว่าโกรธเวลาก็ผ่านไปเป็นวัน ด้วยผลบุญจากการรู้ตัวนี้ จิตก็พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จนเหลือเป็นชั่วโมง นาที และแค่วินาที ตามลำดับ คล้ายกับเวลาที่เรารักษาศีลยังไงอย่างนั้น สุดท้ายก็สามารถระงับจิตรู้ทันไม่เผลอไปตบยุง เป็นต้น พอสามารถระงับความโกรธได้ทันทีทันใด ก็คิดว่าเราบรรลุพระนิพพานแล้ว แต่แล้ววันหนึ่งความคิดมันขัดกันเอง เมื่อขณะพิจารณาขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเรา งั้น! ความไม่โกรธตัวนี้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเราน่ะสิ! ปกติเราก็ไม่ได้มีความโกรธตลอดเวลาอยู่แล้ว ไปดูในจิตตานุปัสสนา ที่ว่า จิตมีความโกรธก็รู้อยู่ จิตไม่มีความโกรธก็รู้อยู่ว่าจิตของเรามีความโกรธ หรือไม่มีความโกรธ ทั้ง ๒ ตัวนี้มันไม่เที่ยงย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปเสื่อมไปเป็นของธรรมดา เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ เมื่อเป็นทุกข์ก็เป็นอนัตตา ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนของเรา แต่พิจารณาไปเท่าไหร่ก็ไม่เห็นว่าจะบรรลุพระนิพพานเลย อย่างมากก็แค่รู้ทันความโกรธและความไม่โกรธเท่านั้นเอง แต่ก็ยังดีที่ไม่สร้างความเสียหายเมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว เพราะสามารถระงับได้ทันท่วงที ต่อมาก็คิดว่าในเมื่อร่างกายของเรานี้ มันสกปรกเต็มไปด้วยน้ำเลือดน้ำหนองต่างๆนานาไม่ใช่ตัวตนของเราซะหน่อย ใยเลยเราถึงจะมาทำให้ร่างกายสอาดบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสอีกเล่า ที่ผ่านมาแสดงว่าปัญญาของเรานี้ยังไม่คมพอที่จะตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทประหารได้ จีงเข้าฌาน ๔ หยาบใช้งาน ถอดจิตที่ประกอบไปด้วยสติระลึกรู้ สมาธิฌาน ๔ ออกจากร่างกาย และความโกรธ ถอยจิตลงมาที่ฌาน ๔ ซ้อนฌาน ๑ พิจารณาว่าความโกรธไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็เกิดปัญญาญาณสว่างไสวไปทั้งจักรวาล ว่าความโกรธตัวนี้มันอยู่กับร่างกายขันธ์ ๕ มันไม่หายไปจากขันธ์ ๕ ตัวนี้หรอก แต่เราพยายามจะทำให้ความโกรธให้มันหมดไปจากขันธ์ ๕ พยายามจะทำให้ขันธ์ ๕ บริสุทธิ์ผุดผ่องนี่เอง ถึงไม่รู้แจ้งพระนิพพานเสียที ปัญญาที่คมกริบมิใช่ปัญญาของมนุษย์แม้จะฉลาดปราดเปรื่องที่สุดในทางโลก ก็ไม่มีทางจะตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทประหารได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ปัญญายังไม่คมพอที่จะบรรลุซึ่งพระนิพพานได้นั่นเอง เพราะฌาน ๔ นี่เอง ที่เป็นประตูไปสู่ปัญญาอันคมกริบที่ทำให้สามารถจะตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทประหารได้ ถ้าไม่มีฌาน ๔ ถ้าไม่สามารถถอดจิตออกจากความโกรธ ก็จะไม่มีทางจะตัดความโกรธได้เลย อย่างมากก็แค่ระงับความโกรธเพื่อไม่ให้ทำความชั่วเท่านั้นเอง เมื่อจิตเปลี่ยนไปเป็นความไม่โกรธ ก็คิดว่าขันธ์ ๕ เราบริสุทธิ์แล้ว ที่แท้ความไม่โกรธตัวนี้มันเป็นโมหะ ความหลงนั่นเอง ก็เข้าฌาน ๔ ออกจากความไม่โกรธอีกที แล้วถอยลงมาที่ฌาน ๔ หยาบใช้งาน ซ้อนฌานที่ ๑ พิจารณาว่าแม้ความไม่โกรธนี้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเรา ถึงตรงนี้ คิดว่าเราบรรลุพระอรหันต์แล้วๆๆๆ เพราะเราสามารถถอดจิตผู้รู้ออกจากขันธ์ ๕ แล้วฆ่ามันด้วยปัญญาอันยิ่งเหนือปัญญาของมนุษย์ แต่ก็ไม่เห็นมีญาณหยั่งรู้ที่วิเศษวิโสอะไรเกิดขึ้นเลย จิตก็โพล่งขึ้นมาว่า อ๋อ! จิต คือ สติผู้รู้ สมาธิฌาน ๔ และปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ นี้ก็เป็นขันธ์ ๕ นี่หว่า! เราเพียงอาศัยความรู้บารมีที่ศึกษาปฏิบัติสร้างสมบารมีมาจนเต็มนี้เพื่อละตัวเอง ก็เกิดความสว่างไสว หาตัวตนไม่เจอต่อไป
    ก็มาทบทวนว่าตัวเราอยู่ตรงไหน ก็เห็นได้ในทันใดนั้นว่า ตัวเราคือพระนิพพาน อยู่ที่เห็นว่าอะไรๆก็ขันธ์ ๕ ทั้งนั้น ตัวของเราก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง

    โดนผีอำกดหน้าอกจนขาดใจตาย

    วันนั้นจำได้ว่านอนครึ่งหลับครึ่งตื่น โดนผีอำ เอา ๒ มือกดหน้าอกผม เป็นผีผู้หญิง ผมขยับตัวไม่ได้เลย แปลกถูกกดหน้าอกแค่นี้อารมณ์มันทนไม่ได้ทนไม่ไหว จะขาดใจตายให้ได้ พอตั้งท่าได้ก็เข้าฌาน ๔ หยาบใช้งาน แยกจิตออกจากกายออกจากความรู้สึกทุกขเวทนาที่ทนไม่ไหวจะขาดใจตาย คิดว่ามึงจะกดก็กดไป เพราะไม่โดนตัวกูอยู่แล้ว ร่างกายนี้มันไม่ใช่ตัวตนของกู ความรู้สึกทุกข์จนจะทนไม่ไหวอยู่นี้ก็ไม่ใช่ตัวกูของกูเลยแม้แต่เพียงนิดเดียว จิตก็ตัวหนึ่ง กายก็ตัวหนึ่ง ความรู้สึกทนไม่ไหวจะขาดใจตายก็ตัวหนึ่ง มันคนละตัวกัน ไม่ใช่ของของเรา จิตตัวรู้ที่ประกอบไปด้วย สติ สมาธิฌาน ๔ และปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ อยู่นี้ก็สักแต่ว่าเป็นที่อาศัยระลึกรู้เท่านั้น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราทั้งหมดทั้งสิ้น ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่างเดียว ก็ดูมันอยู่อย่างนี้จนทนไม่ไหวขาดใจตายไปเลย ไม่รู้สึกตัวไปนานเท่าไหร่ไม่รู้ มารู้สึกตัวอีกที เอ้า! เรายังไม่ตายนี่หว่า!

    กินยาผิดเกินขนาดขาดใจตาย

    เดือนนั้นเป็นเดือนที่ผมเป็นหวัดอย่างหนักไอเป็นบ้าเป็นหลัง เพราะต้องขับรถพาคนไข้มะเร็งไปฉายแสงที่โรงพยาบาลจุฬาฯทุกวัน เป็นเวลา ๑ เดือน เลยไม่กล้าทานยาแก้ไอ เดี๋ยวง่วงนอน จะเกิดอันตรายจากการขับรถได้ มันก็สะสมหวัดเข้าไปทุกวันๆ จนเข้าขั้นโคม่า ทานยาแก้ไอไปตามปกติก็เลยไม่หาย จาก ๑ เม็ดเป็น ๒ เป็น ๓ เป็น ๑ ซองๆละ ๔ เม็ด ก็ยังเอาไม่อยู่ ไปหาหมอ คุณหมอก็ให้เราทานยามื้อละ ๑ เม็ด มันก็ไม่หายซะที จนกระทั่งเราทานยาตาลายอยู่เป็นอาทิตย์ๆ มีวันหนึ่งตั้งใจจะทานยาสัก ๑๐ เม็ด จะได้ง่วงนอนนอนได้ เพราะนอนไม่หลับ ทรมานมากไอจนปวดท้องเจ็บหน้าอกไปหมด อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต ก็หยิบยาตรงหลังตู้เย็น แล้วกินยาตรงนั้นแหละ ฉีกหนึ่งซองๆละ ๔ เม็ด ก็นับ ๑ ซองที่ ๒ ก็นับ ๒ จนกระทั่งกินยาเข้าไปทั้งสิ้น ๑๐ ซองพอดิบพอดี แต่เข้าใจว่ากินเข้าไป ๑๐ เม็ด ตกลงผมรับประทานยาแก้ไอไป ๑๐ ซองๆละ ๔ เม็ด รวมเป็น ๔๐ เม็ด ก็ไม่ได้รู้สึกอะไร จนยาออกฤทธิ์ก็ยังเข้าใจว่ากินเข้าไปเยอะตั้ง ๑๐ เม็ด แต่ที่ไหนได้น้ำในตัวผมมันค่อยๆแห้งๆจนหนังติดกระดูก ตาโบ๋ กระดุกกระดิกตัวไม่ได้ มันหมุนติ้วไปหมด แล้วก็ลืมตาไม่ขึ้นแค่กระพริบตาแผลบๆเห็นลางๆเท่านั้นเอง ผมเป็นอัมพาตไปในทันใดนั้นเอง จนเกือบจะทนไม่ไหวอยู่แล้วมันจะขาดใจตายให้ได้ คิดว่าเราจะมาตายน้ำตื้นเอาง่ายๆอย่างนี้เลยหรือ แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้วทำไงได้ ตายก็ตายมันไม่มีทางเลือกแล้วนี่ เลยเข้าฌาน ๔ หยาบใช้งาน แยกจิตออกจากร่างกาย และออกจากความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คิดรวบเดียวไปเลยว่ามันไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของๆเราเลย แม้จิตผู้รู้อยู่นี้ก็เป็นความรู้สึกของใจตัวหนึ่งเท่านั้นเอง ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา มันจะตายก็ให้มันตายไป ถือว่าเราหมดหน้าที่ต่อพระศาสนา เพียงเท่านี้ แต่ไม่คิดว่าจะตายเร็วแบบนี้ไง จนทนต่ออาการความรู้สึกไม่ไหวจะขาดใจตาย คิดว่าความรู้สึกเจ็บปวดจนทนไม่ไหวจะขาดใจตายอยู่นี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่ตัวตนของเรา จนขาดใจตายไม่รู้สึกตัวอีกเลย มารู้สึกตัวอีกทีเอ้า! เรายังไม่ตายนี่หว่า!

    สมองละลาย

    สมองผมถูกบีบรัดๆจนหัวผมมันเล็กลงๆ แล้วก็ไม่สามารถขยับตัวเป็นอัมพาตไปเลย รู้สึกว่ากำลังจะหมดสติ ก็ได้ยินเสียงด้วยใจว่า"ตาย" แต่ผมไม่เชื่อว่าผมจะหมดอายุขัย เพราะผมต้องทำงานให้พระพุทธศาสนา กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้าจะต้องตายจริงๆในเวลานี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงก็ต้องปล่อยไปตามกรรม ผมก็เข้าฌาน ๔ หยาบใช้งานพิจารณาขันธ์ ๕ ทรงอารมณ์พระนิพพานไว้อย่างนั้น รอว่าจะหมดสติไปเมื่อไหร่เท่านั้น ก็รู้สึกว่ามีคนมาคล้ายกับว่ามีคนช่วยกันผ่าตัดตัวผม ประดิษฐ์ประดอยตบแต่งร่างกายผมใหม่หมดเลย ผมนอนดูตัวเองนานจนฟื้นตัวขึ้นมาเฉยๆซะงั้น! รู้สึกว่าตัวผมมันแต่งตึงเหมือนเกิดใหม่ คิดในใจว่าแปลกๆจริงๆ ผมก็ชื่นชมกับร่างกายตัวเองอยู่สักพักใหญ่ๆ แต่อยู่ๆในสมองในตัวของผมมันร้อนขึ้นมาเฉยๆ แล้วสมองผมก็ค่อยๆหลอมละลาย คราวนี้ผมรู้สึกว่าผมตายแน่นอน คือร่างกายมันละลายหมด ผมก็อธิฐานว่า"ถ้าผมยังมีบุญพอที่จะทำงานรับใช้ตอบแทนคุณพระพุทธเจ้าและสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ขอให้ผมยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่ถ้าจะให้เข้าสู่พระนิพพานในเวลานี้ก็แล้วแต่บุญกรรมจะพาไป" ผมก็เข้าฌาน ๔ ตัดขันธ์ ๕ รอความตายที่จะมาถึง พออธิฐานจบสมองผมก็หยุดละลายและฟื้นตัวเป็นปกติ ไม่ได้ฝันนะครับ เป็นจริงๆแปลกมากๆเลยครับ

    ถูกวางยาใจสั่นจนขาดใจตาย

    ความจริงโดนวางยาหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยที่บวชธุดงค์แล้ว อาการเหมือนกันคือใจสั่นจนทนไม่ไหว คล้ายกินกาแฟเข้าไปเป็นขวดๆ นึกเอานะ เพราะแค่ ๓ ช้อนก็ไม่ไหวแล้ว ใจก็สั่นจนนอนไม่ได้ แต่ครั้งนี้เป็นมากที่สุด คือ จำได้ว่าไม่ได้ทานยาอะไร ถึงจะทานยาก็คงแค่ตามหมอสั่งเท่านั้น วันนั้นกินอะไรเข้าไปก็ไม่รู้ได้ อยู่ๆใจก็สั่นอย่างแรงต่อเนื่องจนทนไม่ไหว ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ก็เลยนอนตัดตาย ดูร่างกายตัวเอง แยกจิตออกจากกาย ออกจากความรู้สึกใจสั่นอย่างรุนแรงถึงกับสั่นเป็นเจ้าเข้าอะไรทำนองนั้น คือสั่นออกอาการทางกาย ก็ปล่อยให้ร่ายกายและใจมันสั่นของมันไป คิดว่าร่างกายและความรู้สึกใจสั่นนี้มันไม่ใช่ตัวตนของเรา แยกจิตออกมาดูอยู่เฉยๆ แต่อาการมันหนักขึ้นๆจนร่างกายและใจมันทนได้ขาดใจตายไปเลย คือหมดความรู้สึกไปนานเท่าไหร่ก็ไม่รู้ มารู้สึกตัวอีกที เหมือนเดิมยังไม่ตาย คือเป็นลักษณะใจสั่นจนขาดใจตายนี่หลายครั้งหลายหน ตั้งแต่ตอนบวชอยู่ก็เหมือนกัน สงสัยเขาเอาอาหารมาถวายนั่นแหละครับ

    ถอดจิตจากอารมณ์พระโสดาบันพิจารณากายในกาย

    ตอนนี้รักษาศีล ๕ เป็นปกติดีมาก แบบว่ายุงกัดไม่มีเผลอตบ บ้าศีลว่างั้นนะ กลัวบาปสุดๆ นึกถึงตอนเด็กๆที่ไปยิงนกตกปลาแล้วเสียว ทำบาปมาเยอะแยะตาแป๊ะโหล ทำสมาธิจับลมหาบใจเข้าออกภาวนาพุทโธ เหมือนกับว่าเคยชินมาแต่ก่อน ผมหายใจออกคิดว่าลมหายใจออกทางรูขุมขนทั่วร่างกาย คือทำความรู้สึกไปทั่วกาย จะรู้สึกว่าคล้ายตัวชาแต่ไม่ใช่ กายจะค่อยๆเบาเร็วกว่าทำด้วยวิธีอื่น คือตั้งจิตไว้ที่กาย หรือเรียกว่าตั้งกายไว้ที่จิตก็ได้ ถ้าพูดในหัวข้อกสิณ ก็เอากายเป็นกสิณ ถ้าพูดในหัวข้อสมาธิก็เป็นพุทธานุสติบวกกับกายานุสติกรรมฐาน ถ้าพูดในหัวข้อมหาสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นกายานุปัสสนารวมเลยอย่างนั้น พอกายเบาใจเบา ก็โดนผีหลอก ตกใจกลัวสุดขีดที่สุดในชีวิตเท่าที่เคยเป็นมา ตัดตายยอมตายคิดว่าถ้าตายตอนนี้จะขอไปอยู่พระนิพพานที่เดียว พร้อมกับคิดว่าพระพุทธเจ้าอยู่บนหัว ภาวนาพุทโธๆๆๆๆๆๆๆ จิตกายทิพย์ก็กระเด็นออกไปจากร่างกาย อันนี้เป็นฌาน ๔ ละเอียด เหมือนคนตายแล้ววิญญาณออกจากร่างไป เห็นร่างกายตัวเอง แต่ยังกลัวตายอยู่พอเป็นห่วงร่างกายจิตกายทิพย์ก็วูปกลับเข้าร่างกายตามเดิม เวลานี้จิตยอมรับนับถือความเป็นจริงเลยคือ ร่างกายไม่ใช่ของเรา มันตัดเลย เพราะเห็นชัดๆ จิตกับกายมันคนละตัวกัน มิน่าล่ะ หลวงพ่อถีงบอกว่า ฌาน ๔ นี่กำลังเหมือนกำลังช้าง ปัญญามันเห็นแจ้งเองโดยอัตโนมัติ อย่างนี้ตายแล้วไม่มีสูญแน่นอน ฟันธง!

    ถอดจิตจากอารมณ์พระสกิทคามีพระโสดาบันพิจารณาเวทนาในเวทนา

    มาตอนนี้เวลาทำสมาธิจิตจะละเอียดขึ้นไปเองโดยไม่รู้ตัว คือชอบนอนตัดตายไปเลย พอจัดท่าจัดทางเสร็จสรรพ์เรียบร้อย ผมก็จะนอนในท่าที่สบายที่สุด ปล่อยกายไม่บังคับร่างกาย เหมือนนอนดูซากศพตัวเองอย่างนั้น แล้วก็ดูลมหายใจเข้าออกในกายานุปัสสนา ไม่ใช่ อานาปานุสติกรรมฐานนะ คือมันคล้ายๆกัน จะต่างกันที่อานาปานุสติกรรมฐานในกรรมฐาน ๔๐ นั้นจะใช้วิธีบังคับลมหายใจกำหนดฐาน แต่อานาปานบรรพ์ในมหาสติปัฏฐาน ๔ จะไม่บังคับลมหายใจ ต้องได้ฌาน ๔ หยาบแล้วนั่นเอง จึงจะมาเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้ จิตกับลมหายใจต้องแยกออกจากกัน คือ แยกจิตตัวรู้ออกมาดูอยู่เฉยๆ ลมหายใจเข้าออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ ผมแยกจิตทำความรู้สึกไปทั่วกายด้วย บางครั้งสมาธิสติดี ตัวก็เบาใจก็เบา แต่ตอนนี้จะพูดถึงช่วงที่สมาธิไม่ดี พอเรานอนตัดตายคิดว่าถ้าตายตอนนี้ก็ขอไปอยู่พระนิพพานทีเดียวไม่ขอกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกแล้ว เบื่อสุดๆ พอจิตเข้าฌานสูงๆไม่ได้ ร่างกายมันก็ปวดเมื่อย ก็ดูทุกขเวทนาไปเรื่อย ครั้งนี้จิตแก่กล้าคิดว่าตายเป็นตายไม่ยอมเลิก ร่างกายก็ได้รับความเจ็บปวดมากจนทนไม่ไหวแล้วไม่ไหวอีก พิจารณาว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนของเรา คือท่องไปไง ทุกขเวทนาที่เจ็บปวดจนทนไม่ไหวอยู่นี้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเรา อยู่ๆจิตก็ตกวูปตัวเบาไปหมดเห็นได้รอบทิศ ๓๖๐ องศา ก็เจอผีอีก ก็กลัวสุดขีดอีกภาวนาพุทโธๆๆๆๆๆคิดว่าพระพุทธเจ้าอยู่บนหัว จิตกายทิพย์ก็กระเด็นออกไปจากร่างกาย ด้วยฌาน ๔ ละเอียด เหมือนคนตายอย่างนั้น

    ถอดจิตจากอารมณ์พระอานาคามีพิจารณาจิตในจิต

    ถึงตรงนี้ก็ถือศีล ๘ อยู่ ใหม่ๆต้องทนต่ออารมณ์กามคุณเป็นอย่างมาก เวลาเกิดอารมณ์ขึ้นมา ผมก็ใช้วิธีนอนตัดตายดูร่างกายตัวเอง ไม่บังคับใดๆทั้งสิ้น นอนดูอารมณ์กามคุณที่เกิดขึ้น คิดในใจว่าจะเอายังไงดีวะ ศีลขาดนะโว๊ย! ก็ได้แต่แยกจิตตัวรู้ออกจากจิตที่มีราคะอย่างมากมายมหาศาล มากกว่าธรรมดาๆที่เคยเป็น เพราะต้องฝืนทนกับมัน คิดว่าให้มันตายกันไปข้างหนึ่งเลย ไม่นานนักอารมณ์ราคะก็แปรเปลี่ยนไปเอง เพราะมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ใช่ไหม ตอนนี้พิจารณาว่า ความกำหนัดนี้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเราเหมือนกัน แต่เบาๆไปหนักที่ศีล ๘ คือไม่ยอมให้ศีลขาด หมายความว่า ใช้ศีลตัดกิเลสข่มกิเลสเป็นตัวนำนั่นเอง ยิ่งตอนที่บวชอยู่ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ พอโดนผีผู้หญิงหลอกแก้ผ้าเข้ามากอดเลย ผมก็ทำเหมือนเดิม คือ แยกจิตออกจากกาย คิดว่าเราไม่ผิดศีลเพราะเราไม่มีเจตนา เราไม่ยินดีในกามคุณ ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา จิตที่มีราคะนี้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วก็ภาวนาพุทโธๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จิตก็หลุดออกไปอยู่บนหัวตัวเอง อยู่นอกร่างกายนะ แบบคนตาย แต่คราวนี้มีแต่จิตตัวรู้ ไม่มีกายทิพย์เหมือนที่เคยออกไป คิดว่าร่างกายมึงไม่ใช่กู กูก็ไม่ใช่มึง ร่างกายไม่ใช่ตัวตนของเรา เราคือจิตผู้รู้ มันวิเศษจริงๆว่าเราสามารถวัดความรู้สึกตัดอารมณ์ได้ เหมือนกับมีเครื่องมือตรวจสอบให้มีความมั่นใจอย่างชัดเจน เพราะเห็นของจริง ไม่เหมือนเวลาที่เราท่องจำว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนของเราใช่ไหม เรื่องราคะจะเจอมากเป็นพิเศษ ถ้ามีเวลาจะเล่าให้อ่านกันในโอกาศต่อไป

    ถอดจิตจากอารมณ์พระอรหันต์ พิจารณาธรรมในธรรม

    วันนี่ยังไม่ได้ทำสมาธิอะไร นอนอ่านหนังสือคิดอะไรเพลินไปเรื่อยเปื่อย คิดว่าเราก็ปฏิบัติมาก็มากแล้ว ตัดขันธ์ ๕ มาก็มากต่อมาก เจอเรื่องอะไรต่อมิอะไรมาก็เยอะแยะ ถึงกับมีความรู้สึกว่าบรรลุพระนิพพานแล้วๆๆๆ ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ไม่รู้กี่ทีต่อกี่ที แต่ก็ไม่เห็นว่าจะมีญาณหยั่งรู้ว่าบรรลุพระนิพพานจริงๆเลย ได้แต่เทียบเคียงกับสังโยชน์ ๑๐ คิดว่าน่าจะบรรลุถึงตรงนี้ถึงตรงนั้นเท่านั้นเอง ครั้งก่อนตอนจิตหลุดออกไปจากร่างกาย เราก็ตัดได้เด็ดขาดกระจุยแล้วนี่ เราคือจิตผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ผู้รู้นี้แหละที่จะไปพระนิพพาน ก็รู้สึกว่ามั่นใจเหมือนกันว่าตอนตายเราไปนิพพานแน่นอน มันไม่ติดอะไรเลยนี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเราทั้งหมดทั้งสิ้น เรา คือจิตผู้รู้ นอกนั้นไม่ใช่ตัวตนของเราทั้งนั้น ก็พิจารณาขันธ์ ๕ ถึงตอนท้ายมหาสติปัฏฐาน ๔ ที่ว่าก็หรือ สติมีเฉพาะหน้าแก่เธอนั้นก็สักแต่ว่าเป็นที่รู้ที่อาศัยระลึกเท่านั้น เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วยไม่ติดในอะไรๆในโลกด้วย แล้วก็เข้าฌาน ๔ หยาบใช้งานในวิญญาณัญจายตนฌาน ซ้อนฌาน ๑ คิดว่าจิตตัวรู้อยู่นี้ มันเป็นวิญญาณ ความรู้สึกของใจนี่หว่า ในเมื่อเป็นวิญญาณความรู้สึกก็หมายความว่า มันต้องไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนของเรา อ๋อ! ใช่เระ! เพราะเราอาศัยขันธ์ ๕ ของเราเองนี่แหละ รู้ตัวของตัวเองว่า ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็น้อมองค์พระพุทธเจ้าเข้ามาหากาย แล้วแยกจิตของเราออก เหมือนน้ำกับน้ำมันที่อยู่ในแก้วเดียวกัน ก็สว่างไสวไปทั้งจักรวาล ที่แท้แม้จิตผู้รู้นี้ก็เป็นวิญญาณ เป็นขันธ์ ๕ ตัวหนึ่งนั่นเอง ที่เรียกว่า กายพระอรหันต์ นั่นแหละ! จิตที่เข้าใจขันธ์ ๕ จนหมดเปลือกก็ คือ จิตของพระอรหันต์ หรือเรียกว่า กายพระอรหันต์ หรือจะเรียกว่าธรรมกาย หรือจะเรียกว่าอารมณ์พระนิพพานก็ได้
    เดินจงกรมฉบับสมบูรณ์

    การเดินจงกรม คือ อิริยาบถบรรพ นั่นเอง แต่เดินมาก็นานแล้วแต่ทำไมถึงไมถึงไม่บรรลุพระนิพพานเสียที วันหนึ่งอ่านเจอเรื่องที่คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เดินทรงฌาน ๔ เท้าไม่ติดพิ้น ก็คิดได้ว่า ส่วนใหญ่เราจะเดินจงกรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ ในกายานุปัสสนา หัวข้ออิริยาบถบรรพ ในอุปจาระสมาธิ หรือ ฌาน ๑ จึงไม่บรรลุพระนิพพานเสียทีว่างั้นนะ! จริงอยู่ที่ผู้บรรลุพระนิพพานบรรลุที่ฌาน ๑ ก็มีอยู่ แต่ในอันที่จริงแล้ว คือ ฌาน ๔ ซ้อนฌาน ๑ ไม่ใช่ฌาน ๑ เฉย เพราะฌาน ๑ เฉยๆปัญญาจะไม่คมพอที่จะบรรลุพระนิพพานได้ เฉพาะพระนิพพานนะ ไม่ได้หมายถึง พระโสดาบัน พระสกิทาคามี หมายจำเพาะพระอรหันต์เท่านั้นที่พูดนี่ ผมก็เข้าฌาน ๔ แล้วแยกจิตออกจากฌาน ๑ อีกที คือ เข้า ฌาน ๔ ซ้อนฌาน ๑ นั่นเอง แล้วก็เดินจงกรมไป หรือจะวิ่งจงกรมก็ได้ ก็เคยทำ พอจิตแยกออกจากร่างกาย ด้วยฌาน ๔ หยาบนะครับ เพราะฌาน ๔ ละเอียด มาเดินแบบนี้ไม่ได้ มันจะเหมือนคนตาย จิตวิญญาณมันออกไปจากร่างกาย ๑๐๐% แต่ฌาน ๔ หยาบ ที่ท่านเรียกว่า ฌาน ๔ ใช้งานนี้ จิตจะแยกออกจากกาย และจิตแยกออกจากจิต แบบมีเยื่อใยกันอยู่ ที่เรียกว่า นิพพานดิบ แบบนั้น พอจิตแยกออกมาจากกาย ก็เรียกว่าอุเบกขารมณ์ คือ วางเฉยในกาย อย่างนี้จึงจะเป็นการพิจารณากาย ในกาย ไม่ใข่พิจารณากายเฉยๆ ผู้จะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ต้องเข้าใจฌาน ๔ เสียก่อนที่จะมาเจริญได้ ช่วงนี้ถ้าผู้มีบารมีเก่าอาจจะเห็นผีสางเทวดา ระลึกชาติ หรือเกิดทิพย์จักษุญาณอย่างไรอย่างหนึ่งได้ แม้ผู้ปฏิบัติใหม่ก็เกิดได้ถ้าเข้าฌาน ๔ อย่างนี้ ในขณะเดินจงกรม พอจิตของเราลืมคำภาวนา จิตก็จะเข้าไปสู่ฌาน ๔ ซ้อนฌานที่ ๒ ตอนนี้ถ้าเราเผลอลืมแยกจิต จิตก็จะตกมาอยู่ที่ฌาน ๒ เฉยๆ ถ้าอยากบรรลุพระนิพพานที่ฌาน ๒ นี้ ก็ให้เข้าฌาน ๔ ในฌานที่ ๒ นี้ใหม่ แล้วพิจารณาว่าฌาน ๒ นี่ มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็จะบรรลุพระนิพพานได้ เพราะฌาน ๒ เฉยๆไม่สามารถจะพิจารณาไตรลักษณ์ได้ ต้องถอยจิตไปอยู่ที่ ฌาน ๑ จึงจะพิจารณาได้ ถ้าอยากจะบรรลุพระนิพพานในฌาน ๓ ฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌาน ๔ ซ้อนฌาน ๓ และฌาน๔ ตามลำดับ แล้วพิจารณาไตรลักษณ์ลงไป ก็จะบรรลุพระนิพพานในฌานนั้นๆได้
    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยู่ในฌาน ๓ มีสุขอารมณ์เดียว อย่างนี้พิจารณาไตรลักษณ์ไม่ได้ ถึงจะถอยลงไปที่ฌาน ๑ แล้วพิจารณาไตรลักษณ์ก็บรรลุพระนิพพานไม่ได้ อย่างมากบรรลุแค่พระโสดาบัน พระสกิทาคามีเท่านั้น นอกจากจะเข้าฌาน ๔ ซ้อนฌาน ๓ จะเกิดปัญญาคมกริบพิจารณาได้ว่า สุขที่เกิดจากฌานที่ ๓ นี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา อย่างนี้ก็จะบรรลุพระนิพพานในฌานที่ ๓ เราก็ยังเดินจงกรมอยู่ในฌานนั้นๆ บางครั้งเราเดินแยกจิตจากกาย ตัวจะเบาใจจะเบา คล้ายตัวลอยจากพื้นดิน อย่างคุณแม่บุณเรือน โตงบุญเติมท่านก็เหาะได้มาแล้ว แต่คิดว่าต้องสะสมบารมีมาจนเต็มแล้วเท่านั้นจึงจะทำอย่างคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมได้ แต่เราก็ไม่รู้นี่ใช่ไหมว่า ตัวเรามีบารมีแค่ไหน อาจจะเต็มแล้วก็ได้ ดังนั้นก็ทำไป ถ้าไม่ได้อภิญญาก็บรรลุพระนิพพานอย่างที่เราหวังได้
    ขณะเดินอยู่สมมุติว่ามีคนมาด่าเรา ตามธรรมดาแล้ว ขันธ์ ๕ จะไม่สามารถบังคับไม่ให้โกรธหรอก แม้พระอานาคามี พระอรหันต์ก็เกิดความโกรธขึ้นทันที แต่จะดับความโกรธนั้นได้ทันท่วงทีเท่านั้นเอง สำหรับพระอรหันต์ท่านจะแสดงความโกรธออกมาก็ได้ ถ้าท่านจะแก้ปัญหาให้ดีขึ้น แต่จะไม่แสดงความโกรธเพื่อความชั่ว ไม่เหมือนพระอานาคามีท่านจะเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ยังไงอย่างนั้น และอาจจะไม่แก้ปัญหาอีกด้วย ปล่อยให้เลยตามเลย พอความโกรธเกิดขี้นเราก็ต้องเข้าฌาน ๔ แยกจิตออกจากจิตที่มีความโกรธอีกทีหนึ่ง คือพิจารณาจิตในจิต ไม่ใช่พิจารณาจิตเฉยๆ เพราะแม้ว่าเราจะพิจารณาอย่างไรก็ตามก็ไม่อาจที่จะบรรลุพระนิพพานได้หรอก เพราะจิตยังไม่เหมาะแก่การงาน ปัญญาญาณยังไม่เกิด ต้องเข้าฌาน ๔ แยกจิตออกจากความโลภ โกรธ หลง เสียก่อน เมื่อพิจารณาลงไปที่ไตรลักษณ์ก็จะบรรลุซึ่งพระนิพพานได้ จำไว้ว่าถ้าไม่เข้าฌาน ๔ ปัญญาณก็จะไม่เกิด ปัญญายังไม่คมพอที่จะใช้งานนั่นเองครับ

    หมอธรรมตายแล้ว

    ต้นเดือน พ.ย.๒๕๕๓
    อยู่ๆผมก็น๊อคไปเลย คือร่างกายผมมันกลายเป็นซากศพ มีความรู้สึกว่าเนื้อตายไปเป็นบางส่วนแล้วเกือบหมดตัว แต่ยังคิดนึกได้อยู่ คิดในใจว่าอะไรวะนี่! เราจะตายได้ยังไงอย่างนี้ก็ไม่ตรงกับสิ่งที่เห็นมาน่ะสิ! แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ตัวผมเป็นอัมพาตไปแล้วกระดุกกระดิกไม่ได้ รู้สึกเหมือนมีคนทำงานศพผมอยู่ ผมก็ได้แต่เข้าฌาน ๔ ตัดขันธ์ ๕ ทรงอารมณ์พระนิพพานอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะตาย แต่คราวนี้แปลกคือเหมือนกับไม่ตาย กลับคิดเฝ้ารอเวลาตาย อยากรู้ว่ามันจะเป็นยังไงหลังจากตายแล้ว มั่นใจว่าตายเพราะความรู้สึกของร่างกายมันบอกอย่างนั่น เป็นศพไม่ใช่คน ผมก็นอนดูอยู่ตั้งนานเป็นวันคือมันมีความรู้สึกว่าจะหมดสติอยู่ตลอดเวลา หาร่างกายไม่ได้แล้ว รู้สึกสุขบรมสุขเพราะตัดขันธ์ ๕ ด้วยปัญญาในองค์ฌาน ๔ อยู่ ผมก็เกิดใหม่ขึ้นมาทันทีเลยหายเป็นปกติ แปลก!


    แนะนำตัวครับ เป็นร่างทรงเสด็จปู่แก้วนารายณ์
    ประกาศหมอธรรมตายแล้ว ถ้ามีใครอ้างว่าเป็นหมอธรรมไปหากินแสดงว่าตัวปลอมทั้งนั้น
    LangthongHmordham@windowslive.com MSM Facebook<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้