พุทธประวัติ (อ่านยาก แต่เป็นความจริง ที่ ตถาคต ตร้สไว้เอง)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 28 มกราคม 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ได้เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต
    พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิต
    พระโพธิสัตว์ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิต จนตลอดอายุ

    พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิตแล้วลงสู่พระครรภ์พระมารดา
    ในกาลใดพระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทวดา ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระมารดา
    ในกาลนั้น แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา
    ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้งเทวดามารพรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์
    พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ แม้ในโลกันตริกนรก ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่ความมืดมิด
    ซึ่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่าง
    อย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้
    หมู่สัตว์ผู้อุบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่งหมื่นโลกธาตุนี้
    ย่อมสะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว และแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่ง
    เทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก

    ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
    เทวบุตรทั้ง ๔ จะใกล้ชิดพระโพธิสัตว์ถวายอารักขาใน ๔ ทิศ ด้วยคิดว่า มนุษย์ หรืออมนุษย์
    หรือใครๆ อย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย

    ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
    พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้มีศีลโดยปรกติ คือเว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจาก
    อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารเว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
    ความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
    ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
    พระมารดาของพระโพธิสัตว์ มิได้มีพระหฤทัยใฝ่ฝันกามคุณในบุรุษเกิดขึ้น และจะเป็นผู้ไม่ถูก
    บุรุษไรๆ ที่มีจิตกำหนัดแล้วล่วงเกินได้


    ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
    พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้ได้เบญจกามคุณคือ พระนางจะเพรียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วย
    กามคุณ ๕ บำเรออยู่
    ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
    พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโรคาพาธไรๆเกิดขึ้น จะมีความสุข ไม่ลำบากพระกาย
    และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์
    ไม่เสื่อมโทรมได้ เปรียบ เหมือนแก้วไพฑูรย์งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม อันเขาเจียระไนดีแล้ว
    ในแก้วนั้น เขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่ เข้าไว้
    บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นในมือ พึงเห็นชัดได้ว่า แก้วไพฑูรย์นี้งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม อันเขา
    เจียระไนดีแล้ว ในแก้วนั้น เขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่
    เข้าไว้ ฉันใด ดูกรอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์
    พระมารดาแล้ว ในกาลนั้นพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโรคาพาธไรๆ เกิดขึ้น จะมี
    ความสุข ไม่ลำบากพระกาย และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะ
    น้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมโทรมได้

    เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้ ๗ วันพระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ
    เสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต

    พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติโพธิสัตว์ ไม่เหมือนอย่าง
    หญิงอื่นๆ ที่ครองครรภ์ด้วยท้อง ๙ เดือน หรือ ๑๐ เดือนแล้วจึงคลอด คือ พระนางจะทรงครอง
    พระโพธิสัตว์ด้วยพระอุทร ๑๐ เดือนถ้วนแล้วจึงประสูติ
    พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติพระโพธิสัตว์ไม่เหมือนอย่างหญิง
    อื่นๆ ที่นั่งหรือนอนคลอด คือ พระนางจะประทับ ยืนท่าเดียวแล้วประสูติพระโพธิสัตว์
    ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    พวกเทวดาจะรับก่อน พวกมนุษย์จะรับทีหลัง

    ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    พระโพธิสัตว์ยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตรทั้ง ๔ ก็รับแล้ววางลงตรงพระพักตร์พระมารดา
    ให้ทรงหมายรู้ว่า ขอพระเทวีจงมีพระทัยยินดี เถิด พระโอรสของพระองค์ผู้มีศักดิ์มากเสด็จ
    อุปบัติแล้ว

    ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้ คือ ไม่ แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด
    ด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาวางลง
    บนผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่เปื้อนผ้ากาสิกพัสตร์ แม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่เปื้อนแก้วมณี นั่นเพราะ
    เหตุไรเพราะของทั้งสองอย่างบริสุทธิ์ ฉันใด ดูกรอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด
    พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้
    คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือดด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่า
    หมดจดบริสุทธิ์


    ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    ธารน้ำ ๒ สายย่อมปรากฏจากอากาศ สายหนึ่งเป็นธารน้ำเย็น สายหนึ่งเป็นธารน้ำอุ่น เป็นเครื่อง
    ทำการสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา

    พระโพธิสัตว์ในบัดดลที่ประสูติ ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอบนแผ่นดิน
    แล้วบ่ายพระพักตร์สู่ทิศอุดร เสด็จดำเนินไปด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตฉัตร
    ตามไป พระองค์จะทรงเหลียว ดูทิศทั้งปวง และทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่า เราเป็นผู้เลิศ
    ในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้
    ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี

    ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก
    พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา
    และมนุษย์ แม้ในโลกันตริกนรก ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่ความมืดมิด ซึ่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
    มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่างอย่างโอฬารหา ประมาณมิได้
    ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้หมู่สัตว์ผู้อุปบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า
    แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่ง หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมสะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว และแสง
    สว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก


    (ย่อมาจาก พระสูตร๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร (๑๒๓)
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๙๔/๔๑๓
     
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีปราสาท ๓ หลัง ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ ในฤดูหนาว
    ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝนเรานั้นแลถูกบำเรอด้วยดนตรี
    ซึ่งไม่มีบุรุษปนตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน บนปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูฝน มิได้ลงมาข้างล่าง
    ปราสาทเลย ในนิเวศน์แห่งพระชนกของเรา เขาให้ข้าวสาลีระคนด้วยมังสะแก่ทาสกรรมกร
    บุรุษ ทำนองเดียวกับที่ในนิเวศน์ของเขาอื่น เขาให้ข้าวป่นอันมีน้ำส้มเป็นที่สอง ฉะนั้น ดูกร
    ภิกษุทั้งหลายเรานั้นซึ่งประกอบด้วยความสำเร็จเห็นปานดังนี้ เป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ก็ยังคิด
    เห็นดังนี้ว่า ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
    เห็นคนอื่นแก่ ก็ล่วงตนเองเสียแล้วอึดอัด ระอา รังเกียจไม่คิดว่า แม้เราก็เป็นผู้มีความแก่
    เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ก็และการที่เราซึ่งเป็นคนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
    ความแก่ไปได้ ได้เห็นคนแก่เข้าแล้ว พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ ข้อนั้นเป็นการไม่สมควรแก่เราเลย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นสำเหนียกอยู่ดังกล่าวมา ย่อมละความเมาในความเป็นหนุ่มเสียได้
    โดยประการทั้งปวง ปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ
    เจ็บไข้ไปได้ เห็นคนอื่นเจ็บไข้ ก็ล่วงตนเองเสียแล้วอึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่คิดว่า แม้
    เราก็เป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ก็และการที่เราซึ่งเป็นคนมีความ
    เจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ได้เห็นคนเจ็บไข้เข้าแล้ว พึงอึดอัด ระอา
    รังเกียจข้อนั้นเป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นสำเหนียกอยู่ดังกล่าวมา
    ย่อมละความเมาในความไม่มีโรคเสียได้โดยประการทั้งปวง ปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มี
    ความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เห็นคนอื่นที่ตายแล้ว ก็ล่วงตนเองเสียแล้ว
    อึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่คิดว่า แม้เราก็เป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย
    ไปได้ ก็และการที่เราซึ่งเป็นคนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ได้เห็นคนอื่น
    ที่ตายไปแล้วพึงอึดอัด ระอา รังเกียจ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อเรานั้นสำเหนียกอยู่ดังกล่าวมา ย่อมละความเมาในชีวิตเสียได้โดยประการทั้งปวง ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเมา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเมาในความ
    เป็นหนุ่มสาว ๑ ความเมาในความไม่มีโรค ๑ ความเมาในชีวิต ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน
    ผู้มิได้สดับ ผู้เมาด้วยความเมาในความเป็นหนุ่มสาวย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา
    ทางใจ ครั้นแล้ว เมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้เมาแล้วด้วยความเมาในความเมาไม่มีโรค ฯลฯ หรือปุถุชนผู้มิได้สดับ
    ผู้เมาแล้วด้วยความเมาในชีวิต ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ครั้นแล้ว เมื่อกาย
    แตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ

    (ย่อมาจากพระสูตร สุขุมาลสูตร)
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    การเข้าไปหาอาฬารดาบส
    [๔๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราชกุมาร ก่อนแต่ตรัสรู้ แม้เมื่ออาตมภาพยังไม่ได้
    ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็มีความคิดเห็นว่า ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี
    ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยทุกข์แล ดูกรราชกุมาร สมัยต่อมา เมื่ออาตมภาพยังเป็นหนุ่ม
    มีผมดำสนิท ประกอบด้วยวัยกำลังเจริญ เป็นปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถา (จะให้บวช)
    ร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ ได้ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

    ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาว่าอะไรจะเป็นกุศล ค้นคว้า สันติ วรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้น
    ไปกว่า จึงได้เข้าไปอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านกาลามะ ข้าพเจ้า
    ปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว
    อาฬารดาบส กาลามโคตรได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ท่านจงอยู่เถิด ธรรมนี้เป็นเช่นเดียวกับธรรม
    ที่บุรุษผู้ฉลาด พึงทำลัทธิของอาจารย์ตนให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วบรรลุไม่นานเลย
    อาตมภาพเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย. กล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการ
    เพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น อนึ่ง ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่าเรารู้เราเห็น. อาตมภาพนั้น
    มีความคิดว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร จะประกาศได้ว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้ ก็หาไม่ ที่จริงอาฬารดาบส กาลามโคตร
    รู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้นแล้วอาตมภาพเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วได้ถามว่า ดูกรท่าน
    กาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียง
    เท่าไรหนอ? เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญาย
    ตนะ. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น มีศรัทธาหามิได้ ถึงเรา
    ก็มีศรัทธา อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น มีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญา หามิได้
    ถึงเราก็มีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญา อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำ
    ธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่นั้น
    ให้แจ้งเถิด. อาตมภาพนั้นทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วบรรลุธรรมนั้นโดยฉับพลัน
    ไม่นานเลย.

    ครั้นแล้วได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านกาลามะ
    ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้ประกาศให้ทราบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ?
    อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ดูกรอาวุโส เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
    อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุ
    ธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

    อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลายหนอ เราทั้งหลาย
    ได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้ว
    ประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ
    เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ เรารู้ธรรมใด
    ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด
    เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูกรอาวุโส บัดนี้ เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะเถิด. ดูกรราชกุมาร
    อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นอาจารย์ของอาตมภาพ ยังตั้งให้อาตมภาพผู้เป็นอันเตวาสิกไว้เสมอ
    ตน และยังบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ด้วยประการฉะนี้. อาตมภาพนั้นมีความคิดเห็นว่า
    ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงให้อุปบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น. อาตมภาพ
    ไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นแล้วหลีกไปเสีย
    .
     
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    การเข้าไปหาอุทกดาบส
    [๔๙๐] ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหาอะไรเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบทอันไม่มี
    สิ่งอื่นยิ่งไปกว่า จึงเข้าไปหาอุทกดาบส รวมบุตรแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนา
    จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรได้
    กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน บุรุษผู้ฉลาดพึงทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ไม่นานเลยก็บรรลุลัทธิ
    ของอาจารย์ตนแล้ว อยู่ในธรรมใด ธรรมนี้เช่นนั้น. อาตมภาพเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลัน
    ไม่นานเลย. กล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น อนึ่ง ทั้งอาตมภาพ
    และผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เราเห็น. อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ท่านรามบุตรจะได้ประกาศว่า
    เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยอาการเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้ ก็หาไม่
    ที่จริงท่านรามบุตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้นแล้วอาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร แล้วได้
    ถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบ
    ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ. เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้ อุทกดาบส รามบุตรได้ประกาศเนวสัญญา
    นาสัญญายตนะ. อาตมภาพมีความคิดเห็นว่าท่านรามะเท่านั้นมีศรัทธาหามิได้ ถึงเราก็มีศรัทธา
    ท่านรามะเท่านั้น มีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญาหามิได้ ถึงเราก็มีความเพียร ...
    มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญา อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำธรรมที่ท่านรามะประกาศ
    ว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วบรรลุธรรมนั้นให้แจ้งเถิด. อาตมภาพได้ทำให้แจ้งชัด
    ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วบรรลุธรรมนั้นโดยฉับพลัน ไม่นานเลย. ครั้นแล้วอาตมภาพเข้าไปหา
    อุทกดาบส รามบุตรแล้วได้ถามว่า

    ดูกรท่านรามะ ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุ
    ธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ?
    อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโส เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุ
    ธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
    อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึง
    ธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.


    อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายได้ดีแล้ว
    ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน รามะทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึง
    ธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนั้นอยู่ ท่าน
    ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมใด รามะก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    บรรลุถึงธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ รามะรู้ยิ่งธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด
    รามะก็รู้ยิ่งธรรมนั้น ดังนี้ รามะเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด รามะก็เช่นนั้น ดังนี้
    ดูกรอาวุโส บัดนี้เชิญท่านมาบริหารหมู่คณะนี้เถิด. ดูกรราชกุมาร อุทกดาบสรามบุตรเป็นเพื่อน
    สพรหมจารีของอาตมภาพ ตั้งอาตมภาพไว้ในตำแหน่งอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชา
    อย่างยิ่ง. อาตมภาพ มีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
    สนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงให้อุปบัติใน
    เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น. อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

    [๔๙๑] ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบท
    อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า เที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ บรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม.
    ณ ที่นั้น อาตมภาพได้เห็นภาคพื้นน่ารื่นรมย์ มีไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืด
    สนิท มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ และมีโคจรคามโดยรอบ. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า
    ภาคพื้นน่ารื่นรมย์หนอ ไพรสณฑ์ ก็น่าเลื่อมใส แม่น้ำก็ไหล น้ำเย็นจืดสนิท ท่าน้ำก็ราบเรียบ
    น่ารื่นรมย์ และโคจรคามก็โดยรอบ สถานที่เช่นนี้สมควรเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการ
    ความเพียรหนอ ดูกรราชกุมาร อาตมภาพนั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่เช่นนี้
    สมควรเป็นที่ทำความเพียร.
     
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    อุปมา ๓ ข้อ
    [๔๙๒] ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมาสามข้ออันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่ได้เคยฟังมาในกาลก่อน
    มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

    ๑. เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักถือเอา
    ไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้. ดูกรราชกุมาร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความ
    ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้
    ปรากฏได้บ้างหรือ?
    โพธิราชกุมารทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้ยังสด
    ชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ บรรลุนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า.

    ดูกรราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งก็ฉันนั้น มีกาย
    ยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม ยังกระหาย
    ในกาม ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน.
    ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี
    ถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น
    เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่หนึ่งนี้แล อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
    ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.


    [๔๙๓] ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่สอง อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน
    มาปรากฏแก่อาตมภาพ. เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วย
    หวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ. ดูกรราชกุมาร พระองค์จะเข้าพระทัย
    ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด
    พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ?
    ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นยังสดชุ่มด้วยยาง แม้จะตั้ง
    อยู่บนบกไกลน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า.

    ดูกรราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายหลีกออกจาก
    กาม แต่ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม มีความกระหายในกาม
    มีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน. ท่านสมณ
    พราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงแม้
    จะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น
    เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่สองนี้ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
    ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.


    [๔๙๔] ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่สาม อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน
    มาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วย
    หวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้ไฟเกิด จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้. ดูกรราชกุมาร พระองค์จะเข้า
    พระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำนั้นมาสีไฟ พึงให้ไฟ
    เกิด พึงทำให้ไฟปรากฏได้บ้างหรือ?
    อย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นแห้งเกราะ และทั้งตั้งอยู่บนบก
    ไกลน้ำ.


    ดูกรราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ฉันนั้นแล มีกาย
    หลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หาในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม ไม่ระหาย
    ในกาม ไม่เร่าร้อนเพราะกาม ละได้ด้วยดี ให้สงบระงับด้วยดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์
    เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้
    เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญา
    เครื่องตรัสรู้ อันไม่มีกรรมอื่นยิ่งกว่าได้. ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่สามนี้อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้
    ฟังมาในกาลก่อนนี้แล มาปรากฏแก่อาตมภาพ. ดูกรราชกุมาร อุปมาสามข้อไม่น่าอัศจรรย์ ไม่
    เคยได้ฟังมาในกาลก่อนเหล่านี้แล มาปรากฏแก่อาตมภาพ.
     
  6. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
    [๔๙๕] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงกดฟันด้วยฟัน
    กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด. แล้วอาตมภาพก็กดฟันด้วยฟัน
    กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด. เมื่ออาตมภาพกดฟันด้วยฟัน กด
    เพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้เร่าร้อนอยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้. ดูกรราชกุมาร
    เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกดบีบไว้ให้เร่าร้อน
    ก็ฉันนั้น เหงื่อไหลออกจากรักแร้. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้ว จะย่อ
    หย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้ว จะฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่การที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ
    ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง กระสับกระส่ายไม่สงบระงับ.

    [๔๙๖] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
    ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพก็กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก.
    เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทางช่องหูทั้งสอง
    ดังเหลือประมาณ. เปรียบเหมือนเสียงสูบของช่างทองที่กำลังสูบอยู่ดังเหลือประมาณ ฉันใด
    เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทางช่องหู
    ทั้งสองก็ดังเหลือประมาณ ฉันนั้น. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะย่อ
    หย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ
    ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นและเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

    [๔๙๗] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
    ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ
    ทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้า
    ยิ่งย่อมเสียดแทงศีรษะ. ดูกรราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเชือดศีรษะด้วยมีดโกนอันคม
    ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้ายิ่ง
    ย่อมเสียดแทงศีรษะ ฉันนั้น. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อน
    ก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้
    อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นและเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.


    [๔๙๘] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
    ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ
    ทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวด
    ศีรษะเหลือทนที่ศีรษะ. ดูกรราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังรัดศีรษะด้วยเชือกอันเขม็ง
    ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวดศีรษะ
    เหลือทนที่ศีรษะ ฉันนั้น. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หา
    มิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความ
    เพียรที่ทนได้ยากนั้นและเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

    [๔๙๙] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
    ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ
    ทางช่องหู. ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อมเสียดแทงท้อง. ดูกรราชกุมาร เปรียบเหมือนนายโคฆาต
    หรือลูกมือนายโคฆาตผู้ขยัน พึงเชือดท้องโคด้วยมีดเชือดโคอันคม ฉันใด เมื่ออาตมภาพ
    กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อมเสียด
    แทงท้อง ฉันนั้น. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้
    สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพผู้อันความเพียรที่ทน
    ได้ยากนั้นและเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

    [๕๐๐] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
    ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ
    ทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มี
    ความร้อนในกายเหลือทน. ดูกรราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษมี
    กำลังน้อยที่แขนคนละข้าง ย่างรมไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะ
    ปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อนในกายเหลือทน ฉันนั้น. ดูกร
    ราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็
    หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นและเสียดแทง
    ไม่สงบระงับแล้ว.

    [๕๐๑] ดูกรราชกุมาร โอ เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว กล่าวกันอย่างนี้ว่า
    พระสมณโคดมทำกาละเสียแล้ว. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละ
    แล้ว แต่กำลังทำกาละ. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละแล้ว กำลัง
    ทำกาละก็หามิได้ พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความอยู่เห็นปานนี้ นับว่าเป็นวิหารธรรม
    ของพระอรหันต์.


    [๕๐๒] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติเพื่อตัด
    อาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นเข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อ
    ตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจักแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของท่าน
    ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้น. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราเองด้วย
    พึงปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยประการทั้งปวง เทวดาเหล่านี้ด้วยพึงแซกโอชาอันเป็นทิพย์
    ตามขุมขนของเรา เราพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้นด้วย ข้อนั้นพึงเป็นมุสา
    แก่เรา ดังนี้. อาตมภาพบอกเลิกกะเทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่าอย่าเลย. แล้วอาตมภาพได้มี
    ความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อ
    ถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. อาตมภาพจึงบริโภค
    อาหารลดลงวันละน้อย คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อ
    ถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. เมื่อบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง
    เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ผอม
    เหลือเกิน.

    [๕๐๓] เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง อวัยวะน้อยใหญ่ของอาตมภาพย่อมเป็น
    เหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ฉะนั้น. ตะโพกของอาตมภาพเป็นเหมือนเท้าอูฐ
    ฉะนั้น. กระดูกสันหลังของอาตมภาพผุดระกะ เปรียบเหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ฉะนั้น. ซี่โครง
    ของอาตมภาพขึ้นนูนเป็นร่องๆ ดังกลอนศาลาเก่ามีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่ ฉะนั้น. ดวงตา
    ของอาตมภาพถล่มลึกเข้าไปในเบ้าตา ประหนึ่งดวงดาวปรากฎในบ่อน้ำลึก ฉะนั้น. ผิวศีรษะ
    ของอาตมภาพที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ดุจดังผลน้ำเต้าที่ตัดมาสดๆ อันลมและแดดกระทบอยู่
    ก็เหี่ยวแห้ง ฉะนั้น. อาตมภาพคิดว่า จะลูบผิวหนังท้องก็จับถูกกระดูกสันหลัง คิดว่า จะลูบ
    กระดูกสันหลังก็จับถูกผิวหนังท้อง. ผิวหนังท้องกับกระดูกสันหลังของอาตมภาพติดถึงกัน. เมื่อ
    อาตมภาพคิดว่าจะถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ ก็เซซวนล้มลงในที่นั้นเอง. เมื่อจะให้กายนี้แลมี
    ความสบาย จึงเอาฝ่ามือลูบตัว. เมื่ออาตมภาพเอาฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายมีรากเน่าก็หล่นตก
    จากกาย. มนุษย์ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วกล่าวกันอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไป. มนุษย์
    บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ดำเป็นแต่คล้ำไป. มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า จะ
    ว่าพระสมณโคดมดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็ไม่ใช่ เป็นแต่พร้อยไป. ดูกรราชกุมาร ฉวีวรรณ
    อันบริสุทธิ์ผุดผ่องของอาตมภาพ ถูกกำจัดเสียแล้ว เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง.

    [๕๐๔] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
    เหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียง
    เท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักได้เสวยทุกขเวทนา
    อันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จักไม่ยิ่งไปกว่านี้. สมณะหรือพราหมณ์
    เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ได้เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร
    อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จะไม่ยิ่งไปกว่านี้. แต่เราก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณ
    ทัสสนวิเสส (ความรู้ความเห็นของพระอริยะอันวิเศษอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์) ด้วย
    ทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางเพื่อรู้อย่างอื่นกระมังหนอ.
     
  7. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    กลับเสวยพระกระยาหารหยาบ
    [๕๐๕] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราจำได้อยู่ เมื่องานวัปปมงคล
    ของท้าวศากยะผู้พระบิดา เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้าอันเยือกเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้แลหนอ พึงเป็นทางเพื่อ
    ตรัสรู้. อาตมภาพได้มีความรู้สึกอันแล่นไปตามสติว่าทางนี้แหละ เป็นทางเพื่อตรัสรู้. อาตมภาพ
    ได้มีความคิดเห็นว่า เราจะกลัวแต่สุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมหรือ. และมี
    ความคิดเห็นต่อไปว่า เราไม่กลัวแต่สุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมละ. การที่
    บุคคลผู้มีกายผอมเหลือเกินอย่างนี้ จะถึงความสุขนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงบริโภค
    อาหารหยาบ คือข้าวสุก ขนมสดเถิด. อาตมภาพจึงบริโภคอาหารหยาบ คือข้าวสุก ขนมสด.
    ก็สมัยนั้น ปัญจวัคคีย์ภิกษุ บำรุงอาตมภาพอยู่ด้วยหวังว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด
    ก็จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. นับแต่อาตมภาพบริโภคอาหารหยาบคือข้าวสุก ขนมสด.
    ปัญจวัคคีย์ภิกษุก็พากันเบื่อหน่ายจากอาตมภาพหลีกไปด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้
    มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากไปเสียแล้ว. ครั้นอาตมภาพบริโภคอาหาร
    หยาบมีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
    มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.


    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
    วิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขผู้ได้ฌานเกิดแต่สมาธิอยู่.
    มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ตติยฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
    ได้ญาณ ๓
    [๕๐๖] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.
    อาตมภาพนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
    อาตมภาพนั้น ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย
    ประการฉะนี้. ดูกรราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่หนึ่งที่อาตมภาพได้บรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี
    อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่
    อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

    [๕๐๗] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์
    ทั้งหลาย อาตมภาพนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
    มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด
    ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูกรราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สองที่อาตมภาพ
    ได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว
    แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

    [๕๐๘] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ.
    ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่ออาตมภาพนั้น
    รู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สาม
    ที่อาตมภาพได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืด
    ถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไป
    แล้วอยู่.

    ทรงมีความขวนขวายน้อย
    [๕๐๙] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความคิดเห็นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็น
    ธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ระงับ ประณีต
    ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงได้ด้วยความตรึก เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง. ก็หมู่สัตว์นี้
    มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย. ก็การที่หมู่สัตว์ผู้มี
    ความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย จะเห็นฐานะนี้ได้โดยยาก
    คือ สภาพที่อาศัยกันเกิดขึ้นเพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย. แม้ฐานะนี้ก็เห็นได้ยาก คือ สภาพ
    เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความปราศจากความ
    กำหนัด ความดับโดยไม่เหลือ นิพพาน. ก็เราจะพึงแสดงธรรม และสัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่รู้
    ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นความลำบากเปล่าของเรา.
    ดูกรราชกุมาร ที่นั้น คาถาอันอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้ง
    กะอาตมภาพว่า

    บัดนี้ ยังไม่สมควรจะประกาศธรรมที่เราบรรลุได้โดยยาก ธรรม
    นี้อันสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกราคะ โทสะครอบงำ ไม่ตรัสรู้ได้ง่าย
    สัตว์ทั้งหลาย อันราคะย้อมแล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว
    จักไม่เห็นธรรม อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง
    เห็นได้ยาก เป็นอณู ดังนี้.


    ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพเห็นตระหนักอยู่ดังนี้ จิตของอาตมภาพก็น้อมไปเพื่อความ
    เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.
     
  8. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม
    [๕๑๐] ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งใจของ
    อาตมภาพด้วยใจแล้ว ได้มีความปริวิตกว่า ดูกรท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายละหนอ เพราะจิต
    ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไป
    เพื่อแสดงธรรม. ครั้นแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลก มาปรากฏข้างหน้าของ
    อาตมภาพ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น.
    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีมาทางอาตมภาพแล้วได้
    กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด ขอ
    พระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ ย่อมจะเสื่อม
    เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักยังมีอยู่. ดูกรราชกุมาร ท้าวสหัมบดีพรหม
    ได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่นนี้อีกว่า
    ธรรมที่ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดกันแล้ว ไม่บริสุทธิ์ ได้ปรากฏใน
    ชนชาวมคธทั้งหลายมาก่อนแล้ว ขอพระองค์จงเปิดอริยมรรค
    อันเป็นประตูพระนิพพานเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงได้ฟังธรรม
    ที่พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน ตรัสรู้แล้วเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้มี
    เมธาดี มีจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศก
    จงเสด็จขึ้นปัญญาปราสาทอันแล้วด้วยธรรม ทรงพิจารณาดู
    ประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก อันชาติชราครอบงำแล้ว
    เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหินล้วน พึง
    เห็นประชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ทรงชนะ
    สงครามแล้ว ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร ผู้ไม่เป็นหนี้ ขอจงเสด็จ
    ลุกขึ้นเที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม
    เถิด สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงจักมีอยู่
    .

    เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า
    [๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัย
    ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
    ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี
    มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก
    ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัว
    หลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
    บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้น
    พ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น
    ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี
    มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก
    ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี. ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพ
    ได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า
    ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย
    ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่
    กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.

    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดง
    ธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง.
     
  9. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ทรงปรารภถึงคนที่จะทรงแสดงธรรมก่อน
    [๕๑๒] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
    ใครรู้จักทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน. ครั้นแล้ว อาตมภาพได้มีความเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร
    นี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีเมธา มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรม
    แก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อนเถิด เธอรู้จักทั่วถึงธรรมนี้โดยฉับพลัน. ที่นั้น เทวดาทั้งหลาย
    เข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละเสีย
    เจ็ดวันแล้ว. และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้นแก่เราว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละเสีย
    เจ็ดวันแล้ว. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรเป็นผู้เสื่อมใหญ่แล ถ้า
    เธอพึงได้ฟังธรรมนี้พึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลันทีเดียว. ครั้นแล้วอาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึง
    แสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน. แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า
    อุทกดาบส รามบุตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีเมธา มีกิเลส ดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน
    ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่อุทกดาบส รามบุตรก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน.
    ที่นั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาอาตมภาพ แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุทกดาบส
    รามบุตรทำกาละเสียแล้วเมื่อพลบค่ำนี้เอง. และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้นแก่เราว่า อุทกดาบส
    รามบุตร ทำกาละเสียแล้วเมื่อพลบค่ำนี้เอง. อาตมภาพไม่มีความคิดเห็นว่า อุทกดาบส
    รามบุตรเป็นผู้เสื่อมใหญ่แล ก็ถ้าเธอพึงได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลันทีเดียว.
    ครั้นแล้ว อาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้
    ได้ฉับพลัน. แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก บำรุงเรา
    ผู้มีตนส่งไปแล้ว เพื่อความเพียร ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อนเถิด. แล้ว
    อาตมภาพได้มีความดำริว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ. ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่
    ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ครั้น
    อาตมภาพอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามควรแล้ว จึงได้หลีกจาริกไปทางเมืองพาราณสี.

    [๕๑๓] ดูกรราชกุมาร อุปกาชีวกได้พบอาตมภาพผู้เดินทางไกล ที่ระหว่างแม่น้ำคยา
    และไม้โพธิ์ต่อกัน แล้วได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ดูกรผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวพรรณ
    ของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร.

    ดูกรราชกุมาร เมื่ออุปกาชีวกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวตอบอุปกาชีวกด้วยคาถาว่า

    เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหา
    และทิฏฐิไม่ติดแล้วในธรรมทั้งปวง เป็นผู้ละธรรมทั้งปวง น้อมไป
    ในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง จะ
    พึงเจาะจงใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนผู้เช่นกับด้วยเราก็
    ไม่มี บุคคลผู้เปรียบด้วยเรา ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก
    เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เป็นศาสดา ไม่มีศาสดาอื่น
    ยิ่งขึ้นไปกว่า เราผู้เดียวตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้เย็น เป็นผู้
    ดับสนิทแล้ว เราจะไปยังเมืองกาสี เพื่อจะยังธรรมจักรให้
    เป็นไป เมื่อสัตว์โลกเป็นผู้มืด เราได้ตีกลองประกาศ
    อมตธรรมแล้ว.

    อุปกาชีวกถามว่า ดูกรผู้มีอายุ ท่านปฏิญาณว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด
    ฉะนั้นหรือ?

    อาตมภาพตอบว่า
    ชนทั้งหลายผู้ถึงธรรมที่สิ้นตัณหา เช่นเราแหละ ชื่อว่าเป็น
    ผู้ชนะ บาปธรรมทั้งหลาย อันเราชนะแล้ว เหตุนั้นแหละ
    อุปกะ เราจึงว่า ผู้ชนะ.

    ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวก กล่าวว่าพึงเป็นให้พอเถิดท่าน
    สั่นศีรษะแลบลิ้นแล้วหลีกไปคนละทาง.
     
  10. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    เสด็จเข้าไปหาพระปัญจวัคคีย์
    [๕๑๔] ครั้งนั้น อาตมภาพเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ยังป่า
    อิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี ดูกรราชกุมาร ภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้เห็นอาตมภาพกำลัง
    มาแต่ไกลเทียว แล้วได้ตั้งกติกาสัญญากันไว้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมพระองค์นี้
    เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กำลังมาอยู่ เราทั้งหลายไม่พึง
    กราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวร แต่พึงแต่งตั้งอาสนะไว้ ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง.


    อาตมภาพเข้าไปใกล้ภิกษุปัญจวัคคีย์ ด้วยประการใดๆ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ในกติกา
    ของตน ด้วยประการนั้นๆ บางพวกลุกรับอาตมภาพ รับบาตรและจีวร บางพวกปูลาดอาสนะ
    บางพวกตั้งน้ำล้างเท้า แต่ยังร้องเรียกอาตมภาพโดยชื่อ และยังใช้คำว่า อาวุโส. เมื่อภิกษุ
    ปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าร้องเรียกตถาคต
    โดยชื่อ และใช้คำว่าอาวุโสเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อ
    ท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไร ก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรม
    อื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา
    อันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่.


    ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์
    ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่าน
    ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ท่านเป็นคนมักมาก คลาย
    ความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส
    อย่างไรเล่า
    เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
    ไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจักสั่งสอน
    อมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้า
    เท่าไร ก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจาก
    เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่


    ดูกรราช
    กุมาร แม้ครั้งที่สอง ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น
    ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส
    เลย ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุ
    อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสสได้อย่างไรเล่า?
    ดูกรราชกุมาร แม้ครั้งที่สอง อาตมภาพ
    ก็ได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อ
    ความเป็นผู้มักมากเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลาย
    จงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลาย
    ปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไร ก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
    ไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
    ปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่.


    ดูกรราชกุมาร แม้ครั้งที่สาม ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสโคดม
    แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม
    อลมริยญาณทัศนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความ
    เป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัศนวิเสสได้อย่างไรเล่า?
    เมื่อภิกษุปัญจ
    วัคคีย์กล่าวเช่นนี้ เราได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า ในกาลก่อนแต่นี้ เราได้กล่าวคำ
    เห็นปานนี้?

    ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.
    อาตมภาพจึงได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อ
    ท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มี
    ธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา
    อันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่
    .

    ดูกรราชกุมาร อาตมภาพสามารถให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอม
    แล้ว. วันหนึ่ง อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สองรูป. ภิกษุสามรูปไปเที่ยวบิณฑบาต. ภิกษุสามรูป
    ไปเที่ยวบิณฑบาตได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้งหกรูปก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น. อาตมภาพกล่าว
    สอนภิกษุแต่รูปสาม. ภิกษุสองรูปไปเที่ยวบิณฑบาต ได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้งหกรูปก็ยังอัตภาพ
    ให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น. ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่เช่นนี้ไม่นาน
    เลย ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
    บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
     
  11. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ
    [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
    ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
    เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม
    และปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

    อชปาลนิโครธกถา
    เรื่องพราหมณ์หุหุกชาติ

    [๔] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้
    โพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ
    ควงไม้อชปาลนิโครธตลอด ๗ วัน.
    ครั้งนั้น พราหมณ์หุหุกชาติคนหนึ่ง ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัย
    กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้
    ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พราหมณ์นั้นได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้
    แด่ผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ก็แล
    ธรรมเหล่าไหนทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์?
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
    ว่าดังนี้:-
    พุทธอุทานคาถา
    พราหมณ์ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่
    ตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีตน
    สำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวท มีพรหมจรรย์
    อยู่จบแล้ว พราหมณ์นั้นไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น
    ในอารมณ์ไหนๆ ในโลก ควรกล่าวถ้อยคำว่า
    ตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม.

    อชปาลนิโครธกถา จบ
    __________________
    มุจจลินทกถา
    เรื่องมุจจลินทนาคราช

    [๕] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ
    เข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์
    ตลอด ๗ วัน.
    ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ตลอด
    ๗ วัน. ครั้งนั้น มุจจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน ได้แวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคด้วย
    ขนด ๗ รอบ ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรสถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า ความหนาว ความร้อน
    อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อย่า
    เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค. ครั้นล่วง ๗ วัน มุจจลินทนาคราชรู้ว่า อากาศปลอดโปร่งปราศจาก
    ฝนแล้ว จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาค จำแลงรูปของตนเป็นเพศมาณพ ได้ยืน
    ประคองอัญชลีถวายมนัสการพระผู้มีพระภาค ทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
    ว่าดังนี้:-
    พุทธอุทานคาถา
    ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ มีธรรม
    ปรากฏแล้ว เห็นอยู่ ความไม่พยาบาท คือความ
    สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความ
    ปราศจากกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลาย
    เสียได้ เป็นสุขในโลก การกำจัดอัสมิมานะ
    เสียได้นั่นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง.

    มุจจลินทกถา จบ
    ______________
    ราชายตนกถา
    เรื่องตปุสสะภัลลิกะ ๒ พ่อค้า

    [๖] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น แล้วเสด็จจากควงไม้
    มุจจลินท์ เข้าไปยังต้นไม้ราชายตนะ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ
    ควงไม้ราชายตนะ ตลอด ๗ วัน.

    ก็สมัยนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ ๑ ภัลลิกะ ๑ เดินทางไกลจากอุกกลชนบท ถึงตำบลนั้น.
    ครั้งนั้น เป็นเทพยดาผู้เป็นญาติสาโลหิตของตปุสสะ ภัลลิกะ ๒ พ่อค้า ได้กล่าวคำนี้กะ ๒ พ่อค้านั้น
    ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่าน
    ทั้งสองจงไปบูชาพระผู้มีพระภาคนั้น ด้วยสัตตุผง และ สัตตุก้อน การบูชาของท่านทั้งสองนั้น
    จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน.

    ครั้งนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ ถือสัตตุผงและสัตตุก้อนเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคแล้วถวายบังคม ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. สองพ่อค้านั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่งแล้ว ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจง
    ทรงรับสัตตุผงสัตตุก้อนของข้าพระพุทธเจ้าทั้งสอง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่
    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนาน.
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงปริวิตกว่า พระตถาคต
    ทั้งหลาย ไม่รับวัตถุด้วยมือ เราจะพึงรับสัตตุผง และสัตตุก้อนด้วยอะไรหนอ

    ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ทรงทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มีพระภาค ด้วย
    ใจของตนแล้ว เสด็จมาจาก ๔ ทิศ ทรงนำบาตรที่สำเร็จด้วยศิลา ๔ ใบเข้าไปถวายพระผู้มี พระภาค
    กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับสัตตุผงและสัตตุก้อนด้วยบาตรนี้ พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคทรงใช้บาตรสำเร็จด้วยศิลาอันใหม่เอี่ยม รับสัตตุผงและสัตตุก้อน
    แล้วเสวย.
    ครั้งนั้น พ่อค้าตปุสสะและภัลลิกะ ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า
    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคและพระธรรมว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค
    จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่าเป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

    ก็นายพาณิชสองคนนั้น ได้เป็นอุบาสกกล่าวอ้าง ๒ รัตนะ เป็นชุดแรกในโลก.
    ราชายตนกถา จบ
    _____________
    ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓
    มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า
    เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
    หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้
    มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า
    เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
    ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ
    นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.
    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
    ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

    [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้
    บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ
    ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ
    ใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
    เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
    เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
    เทวดาชั้นยามา ...
    เทวดาชั้นดุสิต ...
    เทวดาชั้นนิมมานรดี ...
    เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...
    เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็
    บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว
    ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
    หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
    ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.
    ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้
    ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ
    ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ

    เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
     
  12. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    เรื่องยสกุลบุตร
    [๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครพาราณสี มีกุลบุตร ชื่อ ยส เป็นบุตรเศรษฐี
    สุขุมาลชาติ. ยสกุลบุตรนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่ง
    เป็นที่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน. ยสกุลบุตรนั้นรับบำเรอด้วยพวกดนตรี ไม่มี
    บุรุษเจือปน ในปราสาทฤดูฝนตลอด ๔ เดือน ไม่ลงมาเบื้องล่างปราสาท. ค่ำวันหนึ่ง เมื่อ
    ยสกุลบุตรอิ่มเอิบพร้อมพรั่งบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ได้นอนหลับก่อน ส่วนพวกบริวารชนนอน
    หลับภายหลัง.

    ประทีปน้ำมันตามสว่างอยู่ตลอดคืน. คืนนั้นยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อน ได้เห็น
    บริวารชนของตนกำลังนอนหลับ บางนางมีพิณตกอยู่ที่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ข้างคอ
    บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางมีน้ำลายไหล บางนางบ่นละเมอต่างๆ
    ปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจป่าช้าผีดิบ. ครั้นแล้วความเห็นเป็นโทษได้ปรากฏแก่ยสกุลบุตร จิตตั้งอยู่
    ในความเบื่อหน่าย จึงยสกุลบุตรเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ
    แล้วสวมรองเท้าทองเดินตรงไปยังประตูนิเวศน์ พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวังใจว่า ใครๆ
    อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตรเลย. ลำดับนั้น ยสกุลบุตร
    เดินตรงไปทางประตูพระนคร. พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวังใจว่า ใครๆ อย่าได้ทำอันตราย
    แก่การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร. ทีนั้น ยสกุลบุตรได้เดินตรงไปทางป่า
    อิสิปตนะมฤคทายวัน.


    [๒๖] ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคตื่นบรรทมแล้วเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง
    ได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะ
    ที่ปูลาดไว้. ขณะนั้น ยสกุลบุตรเปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่
    วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ.
    ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะยสกุลบุตรว่า ดูกรยส ที่นี่ไม่วุ่นวาย
    ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ.
    ที่นั้น ยสกุลบุตรร่าเริงบันเทิงใจว่า
    ได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้ แล้วถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ
    ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระองค์
    ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว
    จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์
    สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่ง
    นั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.
     
  13. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    บิดาของยสกุลบุตรตามหา
    [๒๗] ครั้นรุ่งเช้า มารดาของยสกุลบุตรขึ้นไปยังปราสาท ไม่เห็นยสกุลบุตร จึงเข้า
    ไปหาเศรษฐีผู้คหบดี แล้วได้ถามว่า ท่านคหบดีเจ้าข้า พ่อยสกุลบุตรของท่านหายไปไหน? ฝ่าย
    เศรษฐีผู้คหบดีส่งทูตขี่ม้าไปตามหาทั้ง ๔ ทิศแล้ว ส่วนตัวเองไปหาทางป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน.
    ได้พบรองเท้าทองวางอยู่ ครั้นแล้วจึงตามไปสู่ที่นั้น. พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็น
    เศรษฐีผู้คหบดีมาแต่ไกล. ครั้นแล้วทรงพระดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงบันดาลอิทธาภิสังขารให้
    เศรษฐีคหบดีนั่งอยู่ ณ ที่นี้ ไม่เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้
    แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร
    ดังพระพุทธดำริ. ครั้งนั้น เศรษฐีผู้คหบดีได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามว่า พระผู้มีพระภาค
    ทรงเห็นยสกุลบุตรบ้างไหม พระพุทธเจ้าข้า?
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรคหบดี ถ้าอย่างนั้น เชิญนั่ง บางทีท่านนั่งอยู่ ณ ที่นี้
    จะพึงได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้.


    ครั้งนั้น เศรษฐีผู้คหบดีร่าเริงบันเทิงใจว่า ได้ยินว่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักเห็น
    ยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้ จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อ
    เศรษฐีผู้คหบดีนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
    ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และ
    อานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า เศรษฐีผู้คหบดี มีจิตสงบ
    มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา
    ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตา
    เห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
    ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่เศรษฐีผู้คหบดี ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจาก
    มลทิน ควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น.

    ครั้นเศรษฐีผู้คหบดี ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว
    มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็น
    ผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า
    พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ
    ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้
    ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์
    จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

    ก็เศรษฐีผู้คหบดีนั้น ได้เป็นอุบาสกกล่าวอ้างพระรัตนตรัย เป็นคนแรกในโลก.
    ยสกุลบุตรสำเร็จพระอรหัตต์
    [๒๘] คราวเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตร จิตของยสกุลบุตร
    ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว ก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า เมื่อเราแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตรอยู่ จิตของ
    ยสกุลบุตร ผู้พิจารณาเห็นภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว พ้นแล้วจากอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เหมือนเป็นคฤหัสถ์
    ครั้งก่อน ถ้ากระไร เราพึงคลายอิทธาภิสังขารนั้นได้แล้ว. พระองค์ก็ได้ทรงคลายอิทธาภิสังขาร
    นั้น.

    เศรษฐีผู้คหบดีได้เห็นยสกุลบุตรนั่งอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกะยสกุลบุตรว่า พ่อยส มารดา
    ของเจ้าโศกเศร้าคร่ำครวญถึง เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด
    . ครั้งนั้น ยสกุลบุตรได้ชำเลืองดู
    พระผู้มีพระภาคๆ ได้ตรัสแก่เศรษฐีผู้คหบดีว่า ดูกรคหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
    ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมด้วยญาณทัสสนะเพียงเสขภูมิเหมือนท่าน เมื่อเธอพิจารณาภูมิธรรมตามที่
    ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว จิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
    ดูกรคหบดี
    ยสกุลบุตรควรหรือเพื่อจะกลับเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน?.

    เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองว่า ดูกรคหบดี ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมด้วยญาณทัสสนะ
    เพียงเสขภูมิเหมือนท่าน เมื่อเธอพิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว จิตพ้นแล้ว
    จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดูกรคหบดี ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม
    เหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน.


    เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า การที่จิตของยสกุลบุตรพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
    นั้น เป็นลาภของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรได้ดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคมียสกุลบุตร
    เป็นปัจฉาสมณะ จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ. ครั้นเศรษฐีผู้คหบดีทราบการรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาค
    แล้ว ได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป.
    กาลเมื่อเศรษฐีผู้คหบดีกลับไปแล้วไม่นาน ยสกุลบุตรได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า
    พระพุทธเจ้าข้า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าว
    ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด.

    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น
    สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๗ องค์.
    ยสบรรพชา จบ
    ____________
     
  14. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    มารดาและภรรยาเก่าของพระยสได้ธรรมจักษุ
    [๒๙] ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรมีท่าน
    พระยสเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเศรษฐีผู้คหบดี ครั้นถึงแล้ว
    ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย. ลำดับนั้น มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยส
    พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัส
    อนุปุพพิกถาแก่นางทั้งสอง คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม
    ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระผู้มีพระภาค
    ทรงทราบว่า นางทั้งสองมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใส
    แล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ
    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่นางทั้งสอง ณ ที่นั่ง
    นั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น. มารดาและภรรยาเก่า
    ของท่านพระยสได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลง
    แล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
    ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรง
    ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่
    คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ หม่อมฉันทั้งสองนี้
    ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำหม่อมฉัน
    ทั้งสองว่า เป็นอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

    ก็มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยส
    ได้เป็นอุบาสิกา กล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นชุดแรกในโลก.


    ครั้งนั้น มารดาบิดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสได้อังคาสพระผู้มีพระภาคและ
    ท่านพระยส ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตนๆ จนให้ห้ามภัต ทรงนำพระหัตถ์
    ออกจากบาตรแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้มารดา
    บิดา และภรรยาเก่าของท่านพระยส เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
    แล้วเสด็จลุกจากอาสนะกลับไป.
    สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของพระยสออกบรรพชา
    [๓๐] สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยส คือ วิมล ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑
    ควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุลเศรษฐีสืบๆ มา ในพระนครพาราณสี ได้ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตร
    ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ครั้นทราบดังนั้นแล้ว
    ได้ดำริว่า ธรรมวินัยและบรรพชาที่ยสกุลบุตร ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือน
    บวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส อภิวาทแล้ว
    ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง ๔ นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของ
    ข้าพระองค์ ๔ คนนี้ ชื่อ วิมล ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุลเศรษฐี
    สืบๆ มาในพระนครพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหายของข้า
    พระองค์เหล่านี้.

    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา
    สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความ
    ออกจากกาม. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจาก
    นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม
    ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล
    มีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควร
    ได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น. พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรม
    แจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย
    ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาค
    ว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าว
    ดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.
    ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา. เมื่อพระ
    ผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้น พ้นแล้ว
    จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๑๑ องค์.
    สหายคฤหัสถ์ ๔ คน ของพระยสออกบรรพชา จบ.
    _____________
    สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คน ของพระยสออกบรรพชา
    [๓๑] สหายคฤหัสถ์ของท่านพระยส เป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คน เป็นบุตรของ
    สกุลเก่าสืบๆ กันมา ได้ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออก
    จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ครั้นทราบดังนั้นแล้วได้ดำริว่า ธรรมวินัยและบรรพชาที่
    ยสกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้น คงไม่
    ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    จึงท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์จำนวน ๕๐ คนนั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของข้าพระองค์เหล่านี้เป็นชาว
    ชนบท เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบๆ กันมา ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหาย
    ของข้าพระองค์เหล่านี้.

    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา
    สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจาก
    กาม. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์
    มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยก
    ขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
    ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา
    ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี
    ฉะนั้น. พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลง
    แล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
    ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า
    ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจง
    ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.
    ต่อมาพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้น ด้วยธรรมีกถา. เมื่อพระ
    ผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นแล้ว
    จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์.
    สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คน ของพระยสออกบรรพชา จบ.
    ______________

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
     
  15. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔
    [๑๗๗] ดูกรสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
    เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้งหลาย เราประพฤติเศร้าหมองและเป็น
    เยี่ยมกว่าผู้ประพฤติเศร้าหมองทั้งหลาย เราเป็นผู้เกลียดบาปและเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย
    เราเป็นผู้สงัดและเป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย.

    [๑๗๘] ดูกรสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น วัตรต่อไปนี้ เป็นพรหมจรรย์
    ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ คือ เราเคยเป็นอเจลกคนเปลือย ไร้มรรยาท เลียมือ
    เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษา
    ที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษาที่เขานิมนต์ เรานั้นไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว
    ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้ให้ ไม่รับภิกษา
    ที่บุคคลยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาของคนสองคนผู้กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิง
    มีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษา
    ที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอม
    เป็นกลุ่มๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เรานั้นรับภิกษาที่

    เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพ
    ด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เรานั้น
    เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้
    วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภคภัตตาหาร
    ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง เรานั้นเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง
    มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง
    มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัย
    เป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ เรานั้นทรงผ้า
    ป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือ
    ทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกไม้กรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมมนุษย์บ้าง
    ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบ
    ความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง
    คือ ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง เป็นผู้นอน
    บนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำวันละ
    สามครั้งบ้าง เป็นผู้ประกอบการขวนขวายในการย่างและบ่มกาย มีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้
    ด้วยประการฉะนี้อยู่ ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ.

    [๑๗๙] ดูกรสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความ
    ประพฤติเศร้าหมองของเรา มลทิน คือละอองธุลีสั่งสมในกายของเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเป็น
    สะเก็ด เปรียบเหมือนตอตะโก มีละอองธุลี สั่งสมนับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด
    ฉันใด มลทิน คือละอองธุลีสั่งสมในกายของเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันนั้น
    เหมือนกัน ดูกรสารีบุตรเรา ไม่ได้คิดที่จะลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ หรือไม่ได้คิดว่า คน
    เหล่าอื่นจะพึงลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ ดูกรสารีบุตร ความคิดแม้อย่างนี้ ไม่ได้มีแก่เรา
    เลย ดูกรสารีบุตร นี้แหละ เป็นวัตรในความประพฤติเศร้าหมองของเรา.


    [๑๘๐] ดูกรสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น พรหมจรรย์นี้ เป็นวัตรใน
    ความประพฤติเกลียดบาปของเขา เรานั้นมีสติก้าวไปข้างหน้า มีสติถอยกลับ ความเอ็นดูของเรา
    ปรากฏเฉพาะ จนกระทั่งในหยดน้ำว่า เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอ
    เลย ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา.


    [๑๘๑] ดูกรสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น พรหมจรรย์นี้ เป็นวัตรใน
    ความสงัดของเรา เรานั้นเข้าอาศัยชายป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ในกาลใดเราได้พบคนเลี้ยงโค หรือ
    คนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่า ในกาล
    นั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อ
    นั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเราคิดว่า คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคน
    เหล่านั้นเลย ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือน เนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่งหนีจาก
    ป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน แม้ฉันใด ดูกรสารีบุตร
    เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในกาลใด เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า
    หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่าในกาลนั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏ
    ไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเราคิดว่า
    คนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตร
    ในความประพฤติสงัดของเรา.
     
  16. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ปฏิปทามิใช่ทางตรัสรู้
    [๑๘๒] ดูกรสารีบุตร เรานั้นแลเคยคลานเข้าไปในคอกที่เหล่าโคออกไปแล้ว และ
    ปราศจากคนเลี้ยงโค กินโคมัยของลูกโคอ่อนที่ยังไม่ทิ้งแม่ มูตรและกรีสของเรายังไม่หมดสิ้นไป
    เพียงไร เราก็กินบุตรและกรีสของตนเองเป็นอาหาร ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในโภชนะ
    มหาวิกัฏของเรา.


    [๑๘๓] ดูกรสารีบุตร เรานั้นแล เข้าอาศัยแนวป่าอันน่ากลัวแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ นี้
    เป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่านั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ป่านั้น โดยมาก
    ขนพอง ดูกรสารีบุตร เรานั้นแล ในราตรีที่หนาว ฤดูเหมันต์ ตั้งอยู่ระหว่างเดือน ๓ ต่อเดือน
    ๔ เป็นสมัยมีหิมะตก ในราตรีเห็นปานนั้น [เรา] อยู่ในที่แจ้งตลอดคืน กลางวันเราอยู่ในแนว
    ป่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ในแนวป่า ดูกรสารีบุตร
    เป็นความจริง คาถาอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนักนี้ ที่เราไม่ได้ยินมาก่อน ปรากฏแก่เราว่า
    นักปราชญ์ผู้เสาะแสวงหาความหมดจด
    อาบแดด อาบน้ำค้าง เป็นคนเปลือย ทั้งมิได้
    ผิงไฟ อยู่คนเดียวในป่าอันน่ากลัว ดังนี้

    [๑๘๔] ดูกรสารีบุตร เราย่อมสำเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพในป่าช้า พวกเด็กเลี้ยง
    โคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดแล้ว โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่อง
    หูบ้าง เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามกให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็น
    วัตรในการอยู่ด้วยอุเบกขาของเรา.


    [๑๘๕] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความ
    หมดจดย่อมมีด้วยอาหาร พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารขนาดเท่า
    ผลพุทรา พวกเขาย่อมเคี้ยวกิน [อาหารเท่า] ผลพุทราบ้าง ผลพุทราป่นบ้าง ดื่มบ้าง [เท่าผล]
    พุทราบ้าง บริโภค [อาหารเท่า] ผลพุทราที่ทำเป็นชนิดต่างๆ บ้าง ดูกรสารีบุตร เรารู้สึกว่า
    กิน [อาหารเท่า] ผลพุทราผลเดียวเท่านั้น ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า พุทราใน
    สมัยนั้น ชะรอยจะผลใหญ่เป็นแน่ ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้นผลพุทราที่เป็น
    ขนาดใหญ่นั่นเทียวก็เหมือนในบัดนี้ ดูกรสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่า] ผลพุทราผลเดียว
    เท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก
    และข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะ
    ความที่เรามีอาหารนั่นเอง กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่มๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความ
    ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้น เหลื่อมลงเห็นปรากฏ เหมือนกลอน
    แห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดวงตาของเราลึกเข้าไปใน
    เบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง
    หนังศีรษะของเรา อันลมถูกต้องแล้วก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้ว แต่ยังอ่อน
    อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง

    ดูกรสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่า จะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่า
    จะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูกรสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูก
    สันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวน
    ล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว
    ก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะความที่เรา
    มีอาหารน้อยนั่นเอง.
     
  17. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449

    ดูกรสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้นั้น ด้วยความเพียรที่
    กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอ
    แก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ
    ปัญญานี้แล ที่ซึ่งเราได้บรรลุแล้ว เป็นของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้นทุกข์
    โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทำอยู่ตามนั้น.

    [๑๘๗] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
    ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ ดูกรสารีบุตร ก็สังสารวัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไป โดยกาล
    ยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเรา
    พึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

    [๑๘๘] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความ
    บริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุบัติ ดูกรสารีบุตร ความอุบัติที่เราไม่เคยเข้าถึงแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านาน
    นี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเราพึงอุบัติในเทวโลก
    ชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

    [๑๘๙] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
    ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาวาส ดูกรสารีบุตร ก็อาวาสที่เราไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืด
    ยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเราพึงอยู่
    อาศัยในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

    [๑๙๐] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความ
    หมดจดย่อมมีได้ด้วยการบูชายัญ ดูกรสารีบุตร ก็ยัญที่เราไม่เคยบูชาแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านาน
    นี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ยัญนั้นอันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็น
    พราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบูชา.


    [๑๙๑] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
    ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการบำเรอไฟ ดูกรสารีบุตร ก็ไฟที่เราไม่เคยบำเรอแล้ว โดยกาลยืดยาว
    ช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ไฟนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก
    หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบำเรอ.
     
  18. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [๑๙๒] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุรุษ
    รุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิท ประกอบด้วยวัยหนุ่มอันเจริญประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาด
    อย่างยิ่งสมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญนี้ เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า ถือเอาซึ่งความเป็นผู้ใหญ่
    ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ คือ มีอายุถึง ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง โดยชาติ ย่อมเสื่อม
    จากปัญญาความเฉลียวฉลาดนั้น ในภายหลัง ดูกรสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็บัดนี้
    เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า ถือเอาซึ่งความเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ อายุของเราแปดสิบ
    ปีเข้านี่แล้ว สาวกบริษัททั้ง ๔ ของเราในธรรมวินัยนี้ มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ตั้งร้อยปี ประกอบ
    ด้วย สติ คติ ธิติ อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง

    ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือน
    นักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว พึงยิงงวงตาล
    โดยขวางให้ตกลง ด้วยลูกศรขนาดเบาโดยง่ายดาย แม้ฉันใด สาวกบริษัท ๔ ของเราเป็นผู้มีสติ
    อันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญาทรงจำอันยิ่ง ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น พวกเธอ
    พึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔ กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้วๆ พึงพยากรณ์แก่พวกเธอ พวกเธอ
    พึงทรงจำคำที่เราพยากรณ์แล้ว โดยเป็นคำพยากรณ์ มิได้สอบถามเราให้ยิ่งกว่า ๒ ครั้ง เว้นจาก
    การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับและบรรเทา
    ความเมื่อยล้า ดูกรสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น บทและพยัญชนะแห่งธรรม
    ของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อเป็น
    ดังนั้น สาวกบริษัท ๔ ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พึงกระทำกาละ
    โดยล่วงไปแห่ง ๑๐๐ ปี

    ดูกรสารีบุตร ถ้าแม้พวกเธอจะพึงหามเราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็น
    อย่างอื่นแห่งปัญญาเฉลียวฉลาดของตถาคต ย่อมไม่มีเลย ดูกรสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ
    พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อ
    กูลแก่ชนเป็นมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
    เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้น
    ว่าสัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
    เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.

    คำนิคม
    [๑๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ ถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องปฤษฎางค์
    ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมี อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามีโลมาอันพองเพราะฟังธรรมปริยายนี้ ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนาคสมาละ เพราะเหตุนี้
    แหละ เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้ว่าชื่อว่า โลมหังสนปริยาย.
    พระผู้มีภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระนาคสมาละ มีใจชื่นชม ยินดีพระภาษิต
    ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
    .

    จบ มหาสีหนาทสูตร ที่ ๒
    ___________________________________
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒

    (ความเห็นผมในพระสูตรนี้ เป็นชาติที่ล่วงมาแล้วหลายชาติ ไม่ใช่ชาตินี้ ชาติที่ตรัสรู้ เพราะ ถ้าเป็นชาตินี้พระองค์จะใช้คำนี้ขึ้นก่อน
    ดูกรราชกุมาร ก่อนแต่ตรัสรู้ แม้เมื่ออาตมภาพยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2013
  19. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (พระสูตรนี้ พระองค์ตรัสกับภารทวาชะ)
    [๗๓๘] ดูกรภารทวาชะ ในโลกนี้ ก่อนแต่การตรัสรู้ เรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น
    โพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดเห็นว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอด
    โปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจ
    สังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือน
    บวชเป็นบรรพชิตเถิด. สมัยต่อมา เรานั้นยังเป็นหนุ่ม ผมดำสนิท ประกอบด้วยวัยกำลังเจริญ
    เป็นปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช) ทรงกันแสงพระเนตรนองด้วย
    อัสสุชล เราปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. เมื่อเราบวช
    แล้วอย่างนี้ แสวงหาสิ่งไรจะเป็นกุศล ค้นหาสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหา
    อาฬารดาบสกาลามโคตรถึงสำนักแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติ
    พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.


    ดูกรภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบสกาลามโคตร
    ได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า
    ในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น. เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย.
    เรากล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาลที่พูดตอบเท่านั้น
    อนึ่ง ทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น. เรามีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร
    จะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองด้วย เข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียง
    ศรัทธาอย่างเดียวดังนี้หามิได้ ที่แท้อาฬารดาบสกาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้นเราจึงเข้า
    ไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบส
    กาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ. เราได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตร
    เท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีความเพียร มีสติ มี
    สมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียร
    เพื่อจะทำให้แจ้งชัดซึ่งธรรมที่อาฬารดาบสกาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน
    ยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด. เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่
    โดยฉับพลันไม่นานเลย.

    ลำดับนั้น เราได้เข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ท่าน
    กาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียง
    เท่านี้หรือหนอ? อาฬารดาบสกาลามโคตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญา
    อันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้. เราได้กล่าวว่า แม้เราก็ทำธรรมนี้ให้
    แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. อาฬารดาบสกาลามโคตรกล่าว
    ว่า อาวุโส เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีอายุ
    เช่นท่าน เราทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำธรรม
    นั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ท่านทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    แล้วเข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้
    เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น
    ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูกรอาวุโส บัดนี้เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะนี้
    เถิด.

    ดูกรภารทวาชะ อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้งเราผู้เป็นศิษย์ไว้เสมอ
    กับตน และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความ
    เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ย่อม
    เป็นไปเพียงเพื่ออุบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น. เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้น
    หลีกไป.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
     
  20. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (พระสูตรนี้ ตถาคตตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)
    [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก่อนตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ เป็นโพธิสัตว์อยู่ทีเดียว
    โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีชราเป็น
    ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมี
    พยาธิเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็ยังแสดงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดานั่นแล
    เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีสังกิเลสเป็น
    ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดานั้นแล เราจึงคิดดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
    ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีชรา
    เป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่เล่า
    เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
    ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีโศกเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหา
    สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่เล่า ไฉนหนอ เราเมื่อเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัด
    โทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจาก
    โยคะ เมื่อเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา แล้วแสวงหา
    พระนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็ควร
    ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพานที่หายพยาธิมิได้ หาธรรมอื่น
    ยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็น
    ธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็น
    ผู้มีโศกเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่หา
    โศกไม่ได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ก็ควรทราบ
    ชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพานที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่า
    มิได้ เกษมจากโยคะ.

    สำนักอาฬารดาบส
    [๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรากำลังรุ่นหนุ่ม แข็งแรงมีเกศาดำสนิท
    ยังหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้บวช มีพระพักตร์
    อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกรรแสงอยู่ จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวช

    เป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว ก็เสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร ขณะที่แสวงหาทางสงบระงับอันประ
    เสริฐซึ่งหาทางอื่นยิ่งกว่ามิได้ ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้ว กล่าวว่า ท่านกาลามะ
    ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบสกาลามโคตร
    จึงกล่าวกะเราดังนี้ว่า เชิญอยู่ก่อน ธรรมที่วิญญูชนพึงบรรลุอยู่ เพราะทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง
    ตามแบบอาจารย์ของตน ต่อกาลไม่นาน นี้ก็เช่นเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นาน เรา
    เรียนธรรมนั้นได้รวดเร็ว ชั่วขณะหุบปากเจรจาปราศรัยเท่านั้น เราก็กล่าวญาณวาทและเถรวาท
    ได้ และทั้งเราทั้งผู้อื่น ก็ทราบชัดว่า เรารู้ เราเห็น เราจึงคิดว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร
    ย่อมบอกธรรม นี้โดยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า เรากระทำให้แจ้งเข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดย
    ตนเอง ก็หามิได้ โดยที่แท้ อาฬารดาบส กาลามโคตร ก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่ ต่อนั้น เราจึงเข้าไป
    หาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านกาลามะ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง
    บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่าใด?


    เมื่อเราถามเช่นนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตร จึงบอกอากิญจัญญายตนสมาบัติแก่เรา
    เราจึงคิดว่ามิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น ที่มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แม้เรา
    ก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหมือนกัน มิฉะนั้น เราต้องเริ่มบำเพ็ญเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
    ธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรบอกว่า กระทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นานนัก เราก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดย
    ตนเอง ต่อนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านกาลามะ ท่านกระทำ
    ให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ?

    อา. ดูกรผู้มีอายุ แม้ข้าพเจ้ากระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดย
    ตนเอง ด้วยตนเหตุเพียงเท่านี้แหละ.

    พ. ข้าแต่ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่ง
    โดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เหมือนกัน.

    อา. เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้ว ที่ได้เห็นสพรหมจารีผู้เช่นท่าน
    เพราะข้าพเจ้ากระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านก็กระทำให้
    แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด เข้าถึงอยู่ได้
    ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ข้าพเจ้าทราบธรรมใด
    ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่า ข้าพเจ้าเป็นเช่นใด
    ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้าเป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกัน
    บริหารคณะนี้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเรา ก็ยกย่อง
    เราผู้เป็นศิษย์ให้สม่ำเสมอกับตน และบูชาเราอย่างโอฬาร ด้วยประการฉะนี้ แต่เราคิดว่า ธรรมนี้
    ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพาน เพียงเป็น
    ไปเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
     

แชร์หน้านี้

Loading...