'พุทธพาณิชย์'สนิมแห่งพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 12 กันยายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    พุทธพาณิชย์ สนิมแห่งพระพุทธศาสนา



    [​IMG]



    คำว่าพุทธพาณิชย์นี้ ไม่ได้หมายความว่าร้านค้าสังฆทาน จะต้องเป็นพุทธพาณิชย์ ร้านสังฆทานนั้น จัดเป็นการพาณิชยกรรม ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา บางร้านอาจเข้าข่ายพุทธพาณิชย์ แต่บางร้านก็ไม่ใช่พุทธพาณิชย์ ก็ได้

    อีกนัยหนึ่ง ไม่จำเป็นว่าต้องค้าขายเกี่ยวกับพุทธศาสนา จึงจัดว่าเป็นพุทธพาณิชย์ แต่คำว่าพุทธพาณิชย์ใช้หมายถึงจิตที่ไม่ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น ค้าข้าว ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา แต่หากคนค้าข้าวนั้นทำบุญหวังผลประโยชน์ตอบแทน มิได้ทำบุญเพื่อขจัดความตระหนี่ ขจัดความยึดมั่นในทรัพย์ หรือเพื่อโปรดสัตว์ สนับสนุนพุทธศาสนา แต่ทำโดยหวังเพื่อประโยชน์ส่วนตน ว่าทำบุญแล้วต้องได้ผลอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าไม่ได้ใครจะไปทำ คิดแบบนี้ เป็นการ “ซื้อขายแลกเปลี่ยน” เป็น “การพาณิชย์” ซึ่งแฝงเข้ามาบิดเบือนหลักการในพุทธศาสนา จึงจัดว่าเป็น “พุทธพาณิชย์”
    ดังนั้น คำว่าพุทธพาณิชย์นั้น จะดูแต่การกระทำเพียงเปลือกนอกนั้นไม่ได้ ต้องตรวจดูจิตข้างใน คือ เริ่มจาก “สัมมาทิฐิ” หรือ “มิจฉาทิฐิ” ในการทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น การกระทำตามคำสอนของพระพุทธศาสนาต้องเริ่มจากสัมมาทิฐิ คือ มีความคิดเห็นตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก่อน ไม่ใช่คิดเห็นเป็นอื่น แต่สักแต่ว่าทำไป คนภายนอกมองดูคิดว่าเป็นคนดี เพราะดูแต่เปลือกนอก ไม่ได้ดูจิต เช่น การให้ทานแก่คนมากมาย นั่นดูเหมือนเป็นคนดีที่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ถ้าเขาให้เพราะเขากำลังสมัครผู้แทนราษฎรพอดี และจิตเขาหวังผลจากวัฒนธรรมความกตัญญูของคน ว่าจะต้องให้ผลคืนกลับมาแก่เขาในรูปคะแนนเสียงแล้วละก็ นับว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ไม่ใช่สัมมาทิฐิ
    อันคำว่า “มิจฉาทิฐิ” นั้นมีมากมายหลายแบบ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลก็ได้บันทึกไว้ส่วนหนึ่ง แต่ปัจจุบัน โลกเต็มไปด้วยกระแสทุนนิยม, วัตถุนิยม, บริโภคนิยม ทำให้พระพุทธศาสนาถูกบิดเบือนด้วยกระแสความคิด อันเป็นมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นด้วยระบอบทุนนิยมนี้ คือ “พุทธพาณิชย์” ที่จะได้กล่าวถึงอย่างละเอียดนี้เอง

    [​IMG]
    <O:p


    นิยามของคำว่า “พุทธพาณิชย์” ในบทความนี้<O:p


    ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าแม้แต่ร้านสังฆทาน ก็ไม่จัดเป็นพุทธพาณิชย์ ดังนั้น บทความที่จะกล่าวต่อไปนี้ จึงไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะทำลายระบอบเศรษฐกิจใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเลย แต่มุ่งทำลายความคิดที่ผิดทาง หรือ“มิจฉาทิฐิ” ที่อยู่ในใจของท่านสาธุชนทั้งหลายต่างหาก ท่านยังสามารถทำอาชีพทุกประการได้เหมือนเดิม แม้จะค้าเครื่องรางของขลัง ก็ไม่จำเป็นว่าจะผิดเสมอไป เพียงแค่ปรับจิตใจให้เป็นสัมมาทิฐิเท่านั้น อาชีพของท่าน ก็จักเข้าข่าย “สัมมาอาชีวะ” ไปด้วยได้ บทความนี้ไม่ได้สร้างผลกระทบต่อโครงสร้างของประเทศในส่วนใดเลย แต่มุ่งตรงเรื่อง “ความคิดและจิตใจ” เท่านั้น ดังนั้น จึงขอนิยามความหมายของพุทธพาณิชย์ให้ชัดเจนตรงกันดังต่อไปนี้<O:p


    พุทธพาณิชย์ คือ กิจกรรมอันมีรากฐานจากความคิดเชิงธุรกิจ แต่แฝงเข้ามากระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยที่ไม่เจตนาหรือเจตนาก็ดี ทราบหรือไม่ทราบก็ดี ว่าตนนั้นทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแต่เปลือกนอก แต่ไม่ได้ทำจากแก่นแท้ของพระธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง อันได้แก่ การคิด, พูด, กระทำ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือการแลกเปลี่ยน ไม่ได้มุ่งหวังมรรคผลทางธรรม ให้ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น ทำบุญกับเจ้าแม่กวนอิมจะได้ค้าขายร่ำรวย เป็นต้น <O:p

    ในสมัยพุทธกาล ได้มีบันทึกถึงอานิสงค์ของการทำบุญไว้มากมาย แต่พระพุทธเจ้ามักเทศนาสอนเรื่องอานิสงค์ของการทำบุญ เมื่อหลังที่ผู้ทำได้กระทำเสร็จสิ้นแล้ว จิตของผู้กระทำก็กระทำด้วยใจที่ศรัทธาอยากให้ ไม่ได้อยากได้รับผลคืนกลับอันใดเลย เมื่อพระสาวกสงสัยและถามถึงอานิสงค์ต่างๆ พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบไว้ แต่ในปัจจุบัน เรามักไม่ได้มีศรัทธาอย่างแท้จริง เราต้องการรู้ก่อน ว่าทำแล้วจะได้อะไรเป็นผล และผลที่เราอยากได้ไม่ใช่นิพพาน ไม่ใช่ความหลุดพ้นทุกข์อย่างแท้จริงแต่เป็นผลเชิง “โลกียะสุข”
    <O:p
    ในสมัยโบราณก่อนระบบการพาณิชยกรรมจะรุ่งเรื่องนั้น ชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาพัฒนาระบบพาณิชยกรรมในประเทศต่างๆ ต่างก็ใช้ความอุตสาหะอดทน และไม่ได้หวังผลว่าจะได้ความร่ำรวยถึงปัจจุบันนี้ ทว่าผลจากการบำเพ็ญเพียรของพวกเขาก็ทำให้ลูกหลานมีความเป็นอยู่ที่ดีในแผ่นดินอื่น ที่ไม่ใช่แผ่นดินเกิดของตน
    ภายหลัง ลูกหลานที่เกิดมาไม่ได้พบความทุกข์ยาก มีแต่ความสบาย เพราะรุ่นปู่ย่าเหนื่อยยากทำมาให้อย่างดีแล้ว ก็เกิดความยึดติดในความสบายนั้น และคิดรักษาสภาพความร่ำรวยของตนสืบไป พวกเขาไม่ใช้วิธีการบำเพ็ญเพียรเหมือนเก่า แต่ใช้วิธีลัดบ้าง วิธีที่นอกคำสอนที่ดีงามบ้าง เช่น การทำบุญโดยหวังผลบุญให้ออกดอกผลเพื่อสนองผลทางโลกีย์สุข ทำบุญเลี้ยงกิเลส ทำบุญต่อยอดกิเลสให้มากยิ่งขึ้นไป
    จริงอยู่ บุคคลทำกรรมใด ย่อมได้ผลดังนั้น พวกเขายิ่งทำยิ่งได้รับความร่ำรวย และก็ยิ่งหลงผิดคิดไปว่าพระพุทธศาสนาสอนให้ร่ำรวยทางโลก เจริญทางวัตถุได้ ใครอยากรวย, สวยหล่อ, สุขภาพดี, มีครอบครัวดี ก็ไปทำบุญเพื่อหวังผลกัน แท้จริงแล้วการกระทำที่ถูกต้องตรงทางตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น คือ การกระทำโดยไม่หวังผลการกระทำนั้นๆ ทำเพราะด้วยปัญญาแจ้งแล้วว่าเป็นกิจที่ควรทำ และละเว้นในกิจที่ควรละเว้น เพราะเหตุปัจจัยภายนอกมีมากมาย จึงทำให้เกิดทั้งผลสำเร็จและล้มเหลว สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกไม่ใช่ตัวกูของกู ควบคุมไม่ได้ หรือแม้ควบคุมได้ก็ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงอยู่ในภาวะไม่เที่ยงแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ผู้มีปัญญาแท้จริงตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ทราบแจ้งชัดอย่างนี้ จึงกระทำด้วยการพุ่งไปสู่การไม่หวังผล หรือหวังผลเป็น “ศูนย์” จิตก็น้อมเข้าสู่ภาวะสุญตา ความไม่ใช่อย่างใดเลย อันนำไปสู่การมอดไหม้หมดเชื้อกิเลสไปฉะนั้น ด้วยผลจากการกระทำกรรมอันมีสภาวะเป็นศูนย์ เป็นกลาง เป็นอัพยากตธรรม ทำจนหมดเชื้อที่จะทำ ทำอย่างนี้จิตจึงตรงต่อนิพพาน คือ ทำให้จบ ทำให้หมดไม่เหลือเชื้อ ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลยก็หาไม่ อุปมาดั่งเผาฟืน หากไม่ใส่เชื้อไฟเข้าไปอีกย่อมดับลงได้ในที่สุด แต่หากไม่เผาฟืนนั้น ฟืนก็ยังอยู่ กิเลสก็ยังมี รอแต่จะแสดงอาการเมื่อถูกกระตุ้น “ผัสสะ”เท่านั้น แต่หากบุคคลหวังผล จิตของเขาย่อมยึดมั่น และพุ่งไปสู่การแสวงหา การเกิดของชาติภพก็ย่อมมีขึ้นตามมาเป็นลำดับ อุปมาเหมือนผู้คอยป้อนเชื้อไฟไม่หยุดหย่อน ไฟย่อมไม่มีวันดับลงได้ฉันนั้น จิตที่หวังผลอย่างนี้ จึงไม่อาจหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้เลย จำต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้น และไม่อาจเข้าถึงสภาวะนิพพานได้เลย
    <O:p

    บุคคลจำพวกหนึ่ง เหมือนว่าจะเริ่ม “ตื่นรู้” คือ เริ่มจะเห็นชัดว่าทางโลกไม่ใช่ของเที่ยง ไม่ใช่ของแท้ ไม่ใช่ของที่จะยึดเป็นสรณะได้ แต่เมื่อพวกเขาเริ่มเดินเข้าสู่ทางธรรม กลับไม่พบธรรมแท้ พวกเขาได้รับการปลูกเชื้อกิเลสชนิดใหม่เข้าไป คือ กิเลสในทางธรรม เช่น การหลงบุญ, ทำบุญหวังผล, การปรารถนาจะได้นั่นได้นี่จากการทำความดี แทนที่จะเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน พวกเขาจะเป็นคนที่สังคมมองว่าเป็นคนดี แต่เฉพาะในสถานการณ์ที่สังคมยังไม่ปรากฏคนดีที่แท้จริงขึ้นมาเท่านั้น เมื่อทองปลอมปรากฏ ผู้คนทั้งหลายไม่เคยเห็นทองแท้ เขาย่อมคิดไปว่าทองปลอมนั้นช่างมีค่าเสียยิ่งนัก แต่เมื่อทองแท้ปรากฏขึ้นเมื่อใด พวกเขาย่อมเห็นทองปลอมเป็นของไร้ค่าเมื่อนั้น ถ้าถามว่าการกระทำของพวกเขาอย่างนี้ดีหรือเลว ก็ต้องตอบว่าดีในทางโลก ดีในสายตาชาวโลก ดีในสายตาสังคมปัจจุบันที่ไม่ได้เข้าถึงธรรมกันแท้จริงมากนัก ก็แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ปัญญาไม่ถึงอรหันต์ไฉนเลยจะทราบได้ว่าอะไรคือ “ดีแท้” เมื่อพวกเขาเห็นคนดีแบบนี้ก็ย่อมให้การยอมรับนับถือเป็นธรรมดา พวกเขาทำบุญหวังผล และได้ผลบุญตามนั้น จึงทำบุญมากมาย และเขาก็ได้บุญมากมายจริงๆ บุญของเขาเหล่านี้ทำให้พวกเขาไปสูง และไปไกล คำว่าไปสูง คือ สูงเลยชั้นพระโพธิสัตว์ ชั้นดุสิตไปอีก คือ เมื่อตายลงก็จุติที่สวรรค์ชั้นที่ห้าและหก ซึ่งชั้นนี้จัดไว้เฉพาะ “มาร” อยู่เท่านั้นเอง นี่คือ ผลบุญที่มากเกินไปทำให้ไปสูงเกินนิพพาน และคำว่าไปไกล คือ ต้องเวียนว่ายตายเกิดไปอีกไกลมาก เกิดกี่ที ก็ไม่พ้นต้อง แก่, เจ็บป่วย, และตาย ใครบ้างที่จะสนุกกับการแก่, เจ็บ, ตาย บ่อยๆ แต่เขาเหล่านี้ทำบุญมากเกินไป จึงรับผลบุญชาติเดียวไม่หมด จึงไปไกลหลายชาติ เกินนิพพานไปหลายชาติทีเดียว นี่เรียกว่า “ดี” แต่ไม่ใช่ “ดีแท้” ไม่ใช่ “นิพพาน”

    <O:p

    พุทธพาณิชย์ กับ การพาณิชยกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา<O:p

    พุทธพาณิชย์ กับการพาณิชยกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานั้น คนละส่วนกัน จำต้องแยกแยะออกให้ชัดเจน เช่น คนที่หล่อพระพุทธรูปขาย เขาก็ต้องเสียค่าทองเหลืองและปัจจัยอีกมาก เขาก็สามารถแลกเปลี่ยนได้โดยการนำพระพุทธรูปไปขายก็ได้ นี่ไม่ผิดแต่อย่างใด เพราะเขาหล่อเองไม่ได้ขโมยใครมา แต่เมื่อเวลาเขาพร้อมที่จะทำบุญ อันอาจเพราะได้เงินบางส่วนจากการขายพระพุทธรูปนั้นหรือเพราะเหตุอื่นใดก็ตาม ณ จุดที่เขาจะทำทานนี่ละ เขาจะได้เข้าใจหรือไม่ว่า “ทาน” ที่ทำแล้วถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าคืออะไร คือ จิตที่ละความตระหนี่ถี่เหนียว-ความยึดมั่นถือมั่นในทรัพย์ หรือ จิตที่มุ่งหวังไขว่คว้าเอาผลจากการทำบุญเป็นเครื่องนำพาจิตให้สร้างชาติต่อภพสืบไป
    <O:p
    มนุษย์โลกในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีอาชีพ ต้องมีปัจจัย ต้องมีเงินใช้

    ดังนั้น การที่เขาจะค้าขายอย่างสุจริตนั้นไม่ผิดแต่อย่างใด และพุทธศาสนาพร้อมเสมอที่จะรอคอยเวลาที่เขาผู้นั้นจะพร้อมเข้ามาสู่พุทธศาสนา ไม่ว่าจะนานเพียงใด โดยไม่มีการบีบบังคับหรือเร่งลัดแต่อย่างใด เมื่อเขาผู้นั้นพร้อมเข้ามาสู่พุทธศาสนาแล้ว เขาได้เข้าถึง เข้าใจ ในธรรมอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ตรงนี้เอง คือ หน้าที่ที่สำคัญของพุทธบริษัทสี่ ที่จะอธิบายถึงการเข้ามาสู่พุทธศาสนาที่แท้จริง หากเขาได้ทำบุญกับพระสงฆ์บางรูปแล้วเขาได้รับพร ได้รับของแจก ของขลัง ของแถม ฯลฯ มากมาย เป็นเครื่องล่อใจ เป็นเครื่องตอบแทน โดยไม่รู้เลยว่าการทำบุญที่แท้จริงนั้นคืออะไร, การให้ที่แท้จริงคืออะไร, การยอมเสียสละของตนเองไปโดยไม่หวังผลตอบแทนเลยคืออะไร นั่นแสดงว่าเขายังไม่ได้อยู่ต่อหน้าพระสงฆ์สาวกที่แท้จริงของพระศาสดาเจ้า เขาอาจนั่งอยู่ต่อหน้าผู้เป็นสมมุติสงฆ์ที่ทำหน้าที่ตามจารีตประเพณีไปเท่านั้น โดยที่สมมุติสงฆ์ผู้นั้นก็ไม่รู้เลยว่าการทำทานที่แท้จริงคืออะไร ก็ไม่สามารถสอนได้ บอกได้ ได้แต่ใช้จารีตเดิมที่ตนเข้าใจสื่อสารต่อไป เช่น ให้พร, ให้ของแจก, ของแถม, ของขลัง ติดตัวไป จะได้ติดใจหลวงพ่อ ติดใจวัด แล้วกลับมาพร้อมด้วยลาภสักการะใหม่สืบไป วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด<O:p

    การพาณิชยกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา<O:p

    นับเป็นอานิสงค์ของประเทศที่มีพระพุทธศาสนา เพราะผลจากพระพุทธศาสนา จึงทำให้เกิดจารีต, ประเพณี, วัฒนธรรม และตามมาด้วยกระแสการตลาด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปได้ การพาณิชยกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา จึงเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเลย เพราะเท่ากับเป็นการโปรดสัตว์ทางโลก ทางอ้อมนั่นเอง แต่เมื่อใดก็ตามที่ความโลภ ความมุ่งหวังทางการค้า เข้าครอบงำแล้ว มันก็จะแปลงร่างกลายเป็น “พุทธพาณิชย์” ได้ไม่ยากนัก สิ่งนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเรื่องภายใน เป็นเรื่องของจิต ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกและเห็นได้ชัด จึงยากนักที่จะกลายได้ว่าพุทธพาณิชย์อยู่ที่ใดบ้าง เพราะพุทธพาณิชย์แทรกอยู่ในความคิด ในจิตของเรานี่เอง <O:p

    การทำพาณิชยธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่เรื่องของพระพุทธศาสนาโดยตรง เป็นเรื่องทางโลก ไม่ใช่เรื่องทางธรรม ดังนั้น จึงไม่ขอเข้าไปก้าวก่ายว่าดีหรือเลวประการใด เช่น กรณีคนเอารูปพระพุทธเจ้าไว้ที่กางเกงชั้นใน ซึ่งในทางวัฒนธรรมฝรั่ง ก็ไม่ถือว่าเป็นการลบหลู่ แต่สำหรับวัฒนธรรมไทย เราถือว่าเป็นการลบหลู่ ดังนั้น กระบวนการดูแลตรวจสอบ จึงเป็นเรื่องทางโลกที่เขาจะจัดการกันเอง ไม่ใช่กระบวนการทางธรรมอันใด เพราะในทางธรรมแล้ว ไม่มีค่าอะไรทั้งสิ้น จะสูงหรือต่ำ จะเป็นอวัยวะอะไร ก็ไม่มีค่าให้ยึดว่าดีหรือชั่ว สุดท้ายก็อนิจจัง เสื่อมสลาย แสดงธรรม แสดงอนิจจังได้เหมือนกันทั้งสิ้น ในบทความนี้ จึงไม่ได้คัดค้านหรือเห็นด้วยอันใดเลยกับพาณิชยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เพราะไม่ใช่เรื่องทางธรรม เป็นเรื่องทางโลกที่คนทางโลกเขาจะจัดการกันเองตามความเหมาะสม สำหรับผู้เขียนบทความ จะขอเพ่งเล็งเฉพาะเรื่องจิตของบุคคลที่ต้องการเข้าถึงธรรมให้ได้ธรรมจริงเท่านั้น เมื่อได้เข้าใจธรรมที่แท้จริงแล้ว จะใช้สมมุติทางโลกจัดการอย่างไรต่อไปก็สุดแล้วแต่จะพิจารณาเองเถิด<O:p


    ทำอย่างไรดีกับพุทธพาณิชย์และการพาณิชยกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา<O:p

    ในทางโลก ย่อมมีบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่อันโลกนี้ได้สมมุติให้เขามาดีแล้ว เช่น สมมุติให้เป็นพระสงฆ์ก็ดี, ตำรวจก็ดี ฯลฯ การจัดการในทางโลก ก็สามารถใช้อำนาจได้ตามสมมุตินั้นๆ แต่ในบทความฉบับนี้ จะไม่ขอก้าวก่ายการจัดการในทางโลกแต่อย่างใด จะขอเสนอแนะวิธีการจัดการในทางธรรม คือ จัดการกับความคิด จิตใจของตนเอง ปรับเสียให้ตรงเป็นสัมมาทิฐิ มองให้ชัด ให้ทะลุ ให้แจ้งถึงความจริงในคำสอนของพระศาสนา ส่วนใครจะค้าขายด้วยสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไรก็ช่างเขาเถิด ปล่อยให้ทางโลกเขาจัดการกันเอง เรามาจัดการที่ความคิดจิตใจของเราดีกว่า ดังต่อไปนี้<O:p

    ๑) ทำดีไม่ต้องหวังผลตอบแทน ทำให้มันหมดแรงทำ จะได้ไม่ต้องทำ ทำเหมือนเผาตัวเอง (อัตตา) ให้มอดไหม้ไปเป็นแสงสว่าง (ปัญญา) ฉะนั้น เมื่อไฟมอดหมดแล้วก็สิ้นเชื้อไฟ ไฟก็ย่อมดับลงเอง กิเลสย่อมสิ้นสุดได้ด้วยอาการอย่างนั้น ยิ่งให้แล้วไม่ได้อะไรตอบมายิ่งดี เพราะยิ่งเร่งผู้ให้ มอดไหม้หมดเชื้อโดยสิ้นเชิง
    <O:p
    ๒) ทำดีไม่ต้องหวังให้คนชม ทำไปโดยไม่ต้องสนใจคำตัดสินของคนรอบข้าง ใครจะมาพิพากษาเราได้ ไม่มีหรอก เขามีปากพูดก็พูดไป นกมีปากมันก็ร้องไป ไก่มีปากมันก็ขันไป เรื่องของมัน เรามีหน้าที่ทำก็ทำไป จนกว่าจะหมดเชื้อไฟที่จะทำ ยิ่งคนด่ามากๆ ยิ่งดี เชื้อกิเลสของเราจะมอดไหม้เร็ว หมดเร็ว ไม่หลงตัวเองด้วย<O:p
    ๓) ทำดีไม่ต้องหวังคำให้พร บางท่านไปถวายของให้พระ นั่งรอพระให้พร ถ้าพระไม่ให้พรก็ไม่ยอม เพราะยึดว่าให้แล้วต้องได้รับ ต้องมีอะไรสักอย่างที่ได้กลับคืนมาจากการให้ อันนี้ เกิดมากในคนไทยเชื้อสายจีนที่ทำอาชีพค้าขาย ติดนิสัยแบบนี้กันมาก ยังมีมากกว่านี้ คือ เอาพรแล้วยังไม่พอ จะเอาของแถมติดมือไปด้วย แม้กระทั่งชายผ้าเหลืองของพระ, ชานหมากขี้ปากพระ ก็ยังจะเอาเสียให้ได้<O:p
    ๔) ทำดีเมื่อใจพร้อมทำดีจริงๆ หากยังลังเลสงสัยที่จะทำดี ให้รอไว้ก่อน ให้ใจพร้อมก็ค่อยทำก็ได้ เวลาทำดี ให้ไปพร้อมกันทั้ง มโนกรรม, วจีกรรม, และกายกรรม อย่าให้มันเสียทรัพย์ไปเปล่าๆ โดยได้บุญไม่เต็ม บารมีบกพร่อง เติมบุญให้เต็มตรงนิพพาน ไม่ใช่สานชาติสืบภพ เมื่อพร้อมจริงๆ ก็ทำบุญอย่างถูกต้องตรงทาง <O:p
    ๕) แยกแยะให้ชัดว่าขายหรือให้ เวลาจะขายก็ขายไป ไม่ต้องมาลังเลจะให้ เวลาจะให้ก็ให้ไป ไม่ต้องลังเลว่าจะได้อะไรตอบคืนกลับมา ต้องเข้าใจให้ชัดว่า “ขายกับให้” ต่างกันอย่างไร ถ้า “ให้ด้วยจิตที่ติดขาย” อันนี้ไม่ใช่การให้ที่แท้จริง อย่าทำ เพราะยิ่งจะเอากระแสความคิดแบบค้าขายมาใส่พระ ให้หลงตามๆ กันไปเสียด้วย

    <O:p
    ผู้เขียนเคยเห็นคนทำทานมามาก สังเกตอาการและจิตใจของคนทำทาน มีหลากหลายเหลือเกิน สมัยวัยเยาว์ไปทำบุญที่วัด ก็เห็นชาวบ้านพึมพำๆ ยาวและนานทีเดียว ก็ถามว่าพึมพำอะไร เขาก็ว่าอธิษฐานขอเอาสิ อยากได้อะไรก็ขอเอา ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่เขาทำบุญให้พระไปนั้นมันก็ไม่มากมายอะไร แต่ที่เขาพึมพำๆ ทำไมมันนานจัง คือ คิดหวังผลได้มากกว่าของที่ทำบุญเสียอีก กำไรเห็นๆ ผู้เขียนในวัยประมาณ ๖-๗ ขวบในตอนนั้น ก็พิจารณาในจิตว่า ไม่ เราไม่ได้อยากได้อะไรนี่นา ที่ทำก็ทำไปอย่างนั้นแหละ ดีกว่ายืนเข้าแถวหน้าเสาธงซึ่งไม่มีสาระอะไรเลย ฟังครูบ่นไปวันๆ ไม่ผ่องใส ทำบุญแล้วมันยังดีกว่า รู้สึกสบายใจดีกว่าอีก ก็คิดแค่นี้เอง เป็นคนคิดได้น้อย ได้แค่นั้น ตอนถูกจับฉีดวัคซีนก็คิดว่าเจ็บจริงๆ ถ้าเกิดมาอีกคงถูกฉีดอีกแน่ๆ ตอนนั้นก็คิดว่าฉันไม่อยากเกิดอีกแล้ว เคยถูกถามว่ารักพ่อหรือแม่มากกว่ากัน เราก็พิจารณาว่าถ้าเราไม่ใช่ลูกแท้จริงของพ่อแม่ เขาก็คงไม่รักเรา ความรักก็เป็นแค่การยึดถือว่าเป็นลูกของตนเท่านั้น ก็เลยไม่รู้สึกรัก แต่ก็รู้ชัดว่าท่านทั้งสองมีพระคุณต้องตอบแทนแค่นั้นเอง จนกระทั่งเข้าวัยหนุ่มอกหักแล้วจึงเข้าใจถึงความรักที่แท้จริง ตอนนี้ถึงรู้สึกว่า “รักพ่อรักแม่” เป็นอย่างไร บางสิ่งบางอย่างไม่ใช่สิ่งที่จะเข้าใจกันง่ายๆ ด้วยการอ่านหรือฟัง (สุตตะ) แต่จำเป็นต้องผ่านประสบการณ์ซึ่งกระทบเวทนา ทุกข์-สุข อย่างถึงแก่นจิตทีเดียว แม้แต่การทำทานนี่ก็เช่นกัน ใช่ว่าท่านที่ทำทานจะเข้าใจการทำทานทั้งหมดก็หาไม่ ขอฝากไว้ให้พิจารณา สำหรับบทความหน้า จะนำเสนอรูปแบบของมิจฉาทิฐิใหม่ๆ ที่พบได้ในปัจจุบันต่อไป
    -----------
    รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต
    ขอขอบคุณแหล่งที่มา:
    [​IMG]
    พุทธพาณิชย์ สนิมแห่งพระพุทธศาสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...