-
NoOTa
Super Moderator
ทีมงาน
ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พุทธรักษา
</TD></TR><TR><TD vAlign=top>23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:00:00
</TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=180 align=left bgColor=#ffffdd border=0><TBODY><TR><TD class=difcursor vAlign=top align=middle width=180></TD></TR></TBODY></TABLE>
การปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนา นอกจากช่วยขัดเกลากิเลสของผู้ฝึกปฏิบัติแล้ว นักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศยังพบว่าการทำสมาธิช่วยให้ความจำดี รักษาโรคสมาธิสั้น และรักษาอาการหวาดกลัวได้ดียิ่งกว่ายาแผนปัจจุบันที่กินไปนานวัน รังแต่จะดื้อยา สมสกุล เผ่าจินดามุข รายงาน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : -1-
หลายครั้ง นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมักให้ความสนใจศึกษาพุทธศาสนา และทึ่งกับแนวทางปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=180 align=right bgColor=#ffffdd border=0><TBODY><TR><TD class=difcursor vAlign=top align=middle width=180></TD></TR></TBODY></TABLE>
ดร.อลัน วอลเลซ ผู้อำนวยการสถาบันจิตศึกษาแห่งซานตาบาบารา สหรัฐ และเป็นผู้เชี่ยวชาญการบำบัดอาการทางจิตด้วยสมาธิ เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่เห็นเช่นนั้น และเป็นนักศึกษาพุทธศาสนาตัวยงตั้งแต่อายุ 20 ทั้งจากตำราเถรวาท และมหายาน รวมถึงใช้ชีวิตเป็นสมณเพศนาน 14 ปีที่อินเดีย
"พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ อย่างเช่นในกาลามสูตร พระองค์ไม่ให้เชื่อเพราะผู้พูดเป็นครู หรือเพราะได้ยินได้ฟังมา แต่ให้เชื่อด้วยปัญญาและเหตุผล วิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน การตั้งทฤษฎีและสมมติฐานจำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์"
ดร.อลัน ซึ่งสมัยวัยรุ่นเคยบวชเรียนและฝึกสมาธิก่อนกลับมาเรียนต่อทางด้านควอนตัมฟิสิกส์ มองว่า หลักอริยสัจ 4 เป็นรูปแบบเดียวกับหลักการแพทย์สมัยใหม่ใช้กัน นั่นคือ การวินิจฉัยโรค มองหาวิธีการเหมาะสมในการรักษา และค่อยรักษา ดังที่ชาวพุทธทราบกันดีแล้วถึง หลักอริยสัจ 4 ที่สอนให้ปฏิบัติเพื่อค้นหาเหตุแห่งทุกข์ มูลเหตุแห่งทุกข์ เส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ และเดินสู่เส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=180 align=left bgColor=#ffffdd border=0><TBODY><TR><TD class=difcursor vAlign=top align=middle width=180></TD></TR></TBODY></TABLE>
แม้จะมีบางส่วนที่คล้ายกัน แต่เขายอมรับว่า ศาสนาและวิทยาศาสตร์เป็นคนละเรื่อง พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมาบนพื้นฐานวัฒนธรรมที่ต่างกัน และยังเริ่มต้นตั้งคำถามในสิ่งที่ต่างกัน และพัฒนาวิธีการไปคนละรูปแบบ
วิทยาศาสตร์เริ่มต้นศึกษาโดยที่ผู้ศึกษาเป็นผู้สังเกตการณ์ หรือบุคคลที่สาม คอยสำรวจธรรมชาติ และทดลอง การวิจัยและทดลองสามารถปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่ม ศึกษาโลกที่จับต้องได้ วัดได้ ก่อเกิดเป็นเทคโนโลยีสร้างความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ในหลายด้าน
"เทคโนโลยีช่วยให้เราเดินทางได้อย่างรวดเร็ว มีการสื่อสาร หรือแม้แต่ความสุขที่ได้จากสิ่งบันเทิง ศิลปะ และดนตรีที่เกิดขึ้นในยุคเทคโนโลยี แต่น่าประหลาดใจอย่างมากที่มนุษย์ยังมีทุกข์" นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญพุทธศาสนากล่าว <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=180 align=right bgColor=#ffffdd border=0><TBODY><TR><TD class=difcursor vAlign=top align=middle width=180></TD></TR></TBODY></TABLE>
เขากล่าวว่า ตลอด 400 ปีแห่งการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับโลกทางวัตถุ แต่วิทยาศาสตร์แตะโลกทางจิตน้อยมาก การศึกษาวิทยาศาสตร์ทางจิตเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1875 ในเยอรมนี และสหรัฐ แต่อารมณ์ จิต และสังขาร ไม่ใช่วัตถุ ไม่มีรูป ไม่มีมวล ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีที่อยู่ แต่เป็นสภาวะ ถ้าจะพูดตามแบบฉบับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่แล้ว จิต เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงไม่สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาวัดผล และศึกษาได้
"ถ้าอย่างนั้น จิตภาวะคืออะไร รูป ตัณหา สัญญา สังวรณ์ ซึ่งวิทยาศาสตร์ไม่สามารถหาคำตอบให้กับคำถามเหล่านี้ได้ หรือถามว่า สติคืออะไร เรายังไม่มีคำตอบที่พอใจสำหรับคำถามเหล่านี้เช่นกัน" ดร.อลัน กล่าวบรรยายในการประชุมวิชาการนานาชาติหัวข้อ พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์" ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะรู้ว่า สมองกับจิตทำงานสัมพันธ์กัน แต่ยังไม่สามารถศึกษาให้ถ่องแท้ได้ว่า ทำไมสองสิ่งถึงเกี่ยวเนื่องกันได้ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าทำไมสมองทำให้เกิด หรือมีอิทธิพล ต่อปรากฏการณ์ทางจิต หรือกระบวนการทางจิตกำหนด หรือมีอิทธิพลต่อสมองอย่างไร <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=180 align=left bgColor=#ffffdd border=0><TBODY><TR><TD class=difcursor vAlign=top align=middle width=180></TD></TR></TBODY></TABLE>
"ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและพฤติกรรม ค่อนข้างลึกลับมาก" ดร.อลัน ยอมรับโดยดุษฎี
การศึกษาเกี่ยวกับสติตามวิธีทางวิทยาศาสตร์เพิ่งมีขึ้นอย่างจริงจังไม่เกิน 15 ปีมานี้ แต่พุทธศาสนาศึกษาเกี่ยวกับสภาวะทางจิตและการพ้นทุกข์มากว่า 2500 ปีแล้ว
"วิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยา หรือประสาทวิทยา ไม่เคยศึกษาถึงหนทางการดับทุกข์ การหลุดพ้นจากความทุกข์ที่จิตพันธนาการด้วยกิเลส โทสะ ตัณหา ราคะ มายา ตลอดไป ไม่เคยศึกษาหาวิธีปรับปรุงจิตให้บริสุทธิหลุดพ้นจากความลุ่มหลง วิทยาศาสตร์ไม่เคยถูกออกแบบมาให้ศึกษาในเรื่องนี้ และไม่เคยประสบความสำเร็จในสิ่งนี้" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=180 align=right bgColor=#ffffdd border=0><TBODY><TR><TD class=difcursor vAlign=top align=middle width=180></TD></TR><TR><TD align=middle width=180>ธรรมะเด็ก ร.ร.สาธิตสวนสุนันทา
</TD></TR></TBODY></TABLE>
-2-
น.พ.จำลอง ดิษยวาณิช จากวิชาจิตวิทยาเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โลกตะวันตกยุคใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับความสุขทางจิตเช่นกัน
"องค์การอนามัยโลกนิยามสุขภาพว่า ไม่ใช่แค่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น แต่กินความถึงความสุขทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ส่วนสุขภาพทางจิตวิญญาณเป็นส่วนเสริมเพิ่มเติมของคำว่าสุขภาพ" นักจิตวิทยากล่าว
นิยามความสุขดังกล่าวถูกจัดให้เป็นความสมบูรณ์แบบอันเป็นที่ใฝ่ฝันของมนุษย์ ซึ่งซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาชาวเยอรมันผู้เลื่องชื่อ ไม่เชื่อว่า ความสมบูรณ์แบบเลอเลิศเช่นนี้จะเป็นจริงได้ และฟรอยด์ ยังมีความเห็นว่ามนุษย์ไม่สามารถประพฤติตนให้เป็นอิสระจาก "ความขัดแย้งในจิตไร้สำนึก" และ "ความเป็นสากลของโรคประสาท" ได้อย่างสินเชิง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มนุษย์ทุกคนมีอาการทางประสาท
น.พ.จำลอง แย้งว่า ในทางพุทธศาสนาภาวะอุดมคติดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ หากลบล้างกิเลสให้สิ้น "พระอรหันต์เป็นตัวอย่างที่ดีเมื่อกล่าวถึงสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ เนื่องจากอรหันต์กำจัดอนุสัยกิเลสทั้งหมดสิ้นไป"
ในพระไตรปิฎก คัมภีร์สำคัญของพุทธศาสนาเรียกอาการทางจิตว่า "อุมมัตตกะ เป็นภาษาบาลี หมายถึงความบ้า ความวิกลจริต อาการหลอน หรือโรคจิต ซึ่งจิตแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นฆราวาสที่เชี่ยวชาญพุทธศาสนาท่านหนึ่ง กล่าวว่า ความหมายของคำว่าอุมมัตตกะคล้ายกับ โรคจิตในทางจิตเวชศาสตร์แผนปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม จิตวิทยาแนวพุทธนั้น อุมมัตตกะ นอกจากหมายถึงโรคจิตแล้วยังหมายถึงความผิดปกติทางจิตในรูปแบบอื่นด้วย อาทิเช่น ความบ้าที่เกี่ยวข้องกับ โลภ โทสะ โมหะ และทิฐิ นอกจากนี้ ยังครอบคลุมถึงความบ้าที่มาจากโรคทางกาย จากการเสพของมึนเมา สูญเสียโชคลาภ หรือโชคร้าย และบ้าเพราะปีศาจร้ายครอบงำ
"เมื่อจับเอานิยามโรคทางจิตในพุทธศาสนามาเทียบกับจิตเวชศาสตร์ปัจจุบัน สามารถจัดประเภทโรคทางจิตที่พบได้ทั่วไป อย่างเช่น โรคจิตเภท (schizophrenia) เป็นความบ้าที่เกิดจากความโลภทำให้หลงผิด ประสาทหลอน และพูดจาไม่รู้เรื่อง เช่นเดียวกับความผิดปกติทางอารมณ์ ที่แบ่งเป็นความผิดปกติแบบอารมณ์สองขั้ว และความผิดปกติแบบซึมเศร้า" น.พ.จำลอง อธิบาย
ขณะเดียวกัน พุทธศาสนาได้กล่าวถึงการรักษาโรคทางจิตไว้เช่นกัน โดยระบุว่า
สติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาความรู้ภายใน หรือปัญญาเพื่อให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงว่า ไม่สวยงาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน (อนัตตา) สามารถกำจัดความบ้า หรืออุมมัตตกะ ได้
"ศาสนาพุทธเน้นการพัฒนาทางปัญญาและการยกระดับตนให้สูงขึ้น จากระดับโลกียะสู่ระดับโลกุตตระ ในระดับโลกุตตระ ปุถุชนสามารถพัฒนาเป็นอริยบุคคลได้ การเจริญสติปัฏฐานสามารถนำเราไปสู่การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แบบที่สุด หมายถึงการขจัดโรคทางใจ โรคทางจิต หรือโรคทางจิตวิญญาณได้สิ้นเชิง"
นักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจศึกษาผลจากการทำสมาธิเพื่อบำบัดอาการทางจิตกันอย่างแพร่หลาย เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ สหรัฐ ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยฝึกให้นักศึกษาทำสมาธิ โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองวัดกิจกรรมในระบบประสาท ผลเบื้องต้นพบว่า การทำสมาธิช่วยให้นักศึกษามีความจำดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
เนื่องจากการรักษาโรคทางจิตในปัจจุบัน แพทย์จะเน้นให้ยารับประทานเพื่อสารเคมีในสมอง ซึ่งมีผลข้างเคียงและผู้รักษาจำเป็นต้องพึ่งยาอย่างต่อเนื่อง หลายกรณีพบผู้ป่วยดื้อยา จึงเริ่มพบว่าการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ผล นักจิตวิทยาจึงสนใจนำเทคนิค "สมถะ" ซึ่งเป็นการทำสมาธิเพื่อเจริญสติ เทคนิคดังกล่าวถูกนำไปใช้รักษาโรคตื่นกลัว (phobia) รวมถึงโรคสมาธิสั้น
-3-
-
ขณะที่วิทยาศาสตร์มีข้อจำกัด ดร.อลัน มองเห็นว่า พุทธศาสนาต่างกับวิทยาศาสตร์อย่างเด่นชัด โดยสังเกตกระบวนการทางจิตโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสังขาร อารมณ์ เจตนา ตัณหา ฯลฯ โดยใช้อนุภาพของสมาธิและวิปัสสนาไตร่ตรองภายใน วิธีการดังกล่าวเรียกว่า first person method เป็นผู้เข้าไปพัวพันกับปัญหา "พระพุทธองค์ศึกษาธรรมชาติของจิต สมาธิ ความสุข และหนทางดับทุกข์"
ในความเห็นของอลันเองแล้ว เขามองว่า พุทธศาสนาก็มีข้อจำกัดของตัวเองเช่นกัน เมื่อดูจากคำสอนของพุทธศาสนาในพระไตรปิฎกแล้ว พุทธศาสนาไม่ได้ให้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี ธรณีวิทยา ดาราศาสตร์ ดังที่ปรากฏในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
"เราไม่มีพุทธเทคโนโลยี ซึ่งจะว่าไป มันไม่ใช่เป้าหมายของศาสนาที่มุ่งแสวงหาการหลุดพ้น ด้วยเหตุนี้ จุดแข็งและจุดอ่อนของพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์จึงช่วยเสริมซึ่งกันและกัน"
โลกวัตถุแห่งวิทยาการสมัยใหม่สามารถเรียนรู้จากพุทธศาสนาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักที่ว่าด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา
เขากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ในยุคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยของโคเพอร์นิคัส กาลิเลโอ นิวตัน แมคเวลล์ แม้จะเป็นนักวิทยาศาสตร์แต่ทำงานโดยยึดหลักศีลธรรมตามหลักของคริสตศาสนา นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้คำนึงถึงหลักทางศีลธรรมเสมอเวลาคิดถึงวิธีการและกระบวนการวิจัย เช่นเดียวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์สมัยศตวรรษที่ 20-21 ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของมนุษย์
ขณะเดียวกัน พุทธศาสนากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติใหญ่ นั่นคือ ศาสนาพุทธต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคใหม่ หาใช่แยกตัวออกจากโลก ไม่เช่นนั้น พุทธศาสนาอาจสาบสูญได้
"เวลาที่ผมเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย ผมพบว่า วัดในพุทธศาสนาแทบไม่ต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ มีพระสวดมนต์อยู่ในโบสถ์ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาชมวัดและถ่ายภาพ ไม่ต่างจากพวกเขาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ดูฟอสซิล" เขากล่าว และว่า พุทธศาสนาต้องปรับตัวอยู่กับโลกยุคใหม่ แต่ไม่ใช่สร้างพุทธศาสนาแนวใหม่ขึ้นมา เพียงแค่สื่อสารกับโลกข้างนอก
วิกฤติของพุทธศาสนาอีกประการในมุมมองของฝรั่งที่ศึกษาพุทธศาสนามานานอย่าง ดร.เดวิดคือ การที่ผู้คนศึกษาพุทธศาสนาเพียงผิวเผิน เรียนรู้เทคนิคเพียงสองสามอย่าง ไม่เข้าถึงแก่นแท้ของคำสอนของพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เรียนรู้เทคนิคทำสมาธิเพียงเล็กน้อยแต่ไม่เน้นจริยธรรมแล้วปรับปรุงไปใช้เป็นเทคนิคพื้นๆ
"หากสอนแค่กำหนดหายใจเข้า กำหนดหายใจออก ถ้าเป็นอย่างนั้นพุทธศาสนาอาจถูกลดความหมายลงเป็นเพียงการรักษาเท่านั้น ทั้งที่เป้าหมายของพุทธศาสนายิ่งใหญ่กว่านั้น นั่นคือการหลุดพ้น"
รองศาสตราจารย์ ดร.พินิจ รัตนกุล ผู้อำนวยการวิทยาศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า พุทธศาสนาจะอยู่ได้ต้องนำความรู้จากศาสตร์อื่นมาช่วยอธิบายคำสอนด้วย เนื่องจากคำสอนของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งมาก เกินกว่าสติปัญญาคนทั่วไปจะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้
"คนปัจจุบันอยู่กับวิทยาศาสตร์ บางคนมองว่าศาสนาเป็นเรื่องคร่ำครึ ไม่ทันสมัย ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งความจริงแล้วธรรมะช่วยแก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้ โรคบางอย่างแก้ได้ด้วยการเจริญสมาธิ เจริญสติ แต่คนไทยกลับเห็นเป็นเรื่องหนัก" ดร.พินิจ กล่าว และว่า วิทยาลัยศาสนศึกษายังมีแผนเปิดสอนการเจริญวิปัสสนามาใช้รักษาโรคด้วย ที่ผ่านมา วิทยาลัยศาสนศึกษา ยังได้ส่งเสริมให้พระได้รู้จักกับวิทยาการใหม่ อย่างเช่น นาโนเทคโนโลยี สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด ใช้รักษาโรค ซึ่งได้รับความสนใจจากพระสงฆ์อย่างมาก ในอนาคตยังมีแผนเปิดหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกที่เน้นด้านพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ด้วย สมสกุล เผ่าจินดามุข
</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
------------------
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/23/WW06_WW06_news.php?newsid=90800
-
- ขนาดไฟล์:
- 15.1 KB
- เปิดดู:
- 93
-
- ขนาดไฟล์:
- 10.2 KB
- เปิดดู:
- 98
-
- ขนาดไฟล์:
- 10.3 KB
- เปิดดู:
- 90
-
- ขนาดไฟล์:
- 18 KB
- เปิดดู:
- 94
-
- ขนาดไฟล์:
- 17.6 KB
- เปิดดู:
- 89
-
- ขนาดไฟล์:
- 17.6 KB
- เปิดดู:
- 84