พุทธศาสนสุภาษิต-หมวดวาจา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 6 กันยายน 2011.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    หทยสฺส สทิสี วาจา.
    วาจาเช่นเดียวกับใจ


    น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.
    ไม่ควรเปล่งวาจาที่ชั่วเลย


    อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ ยตฺถ พาลา ปภาสเร.
    คนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด
    แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกผูกมัดในเรื่องนั้น

    มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
    คนกล่าววาจาชั่วย่อมเดือดร้อน


    มนุญฺญเมว ภาเสยฺย.
    ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ


    ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
    คนโกรธมีวาจาหยาบ


    สจฺจํ เว อมตา วาจา.
    คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย


    อภูตวาที นิรยํ อุเปติ.
    คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก

    วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ.
    ควรเปล่งวาจางาม


    สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
    ควรเปล่งวาจาไพเราะ ที่มีประโยชน์


    สุภาสิตา จ ยา วาจา.
    พูดดี เป็นมงคลอย่างสูงสุด

    ยถาวาที ตถาการี.
    พูดอย่างใด ควรทำอย่างนั้น

    ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย.
    ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน


    นามนุญฺญํ กุทาจนํ.
    ในกาลไหนๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ


    โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ.
    เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ


    วาจาย สํวโร สาธุ.
    ระมัดระวังวาจา เป็นความดี


    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
    ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ


    ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณณวนฺตํ สคนฺธกํ เอวํ สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต.
    วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ปฎิบัติ เหมือนดังดอกไม้งาม ที่มีทั้งสีสวย และกลิ่นอันหอม


    ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส กุธารี ชายเต มุเข ยาย ฉินฺทติ อตฺตานํ พาโล ทุพฺภาสิตํ ภณํ.
    คนเกิดมาชื่อว่ามีขวานเกิดติดปากมาด้วย สำหรับให้คนพาลใช้ฟันตนเอง ในเวลาพูดคำชั่ว


    นาติเวลํ ปภาเสยฺย น ตุณฺหี สพฺพทา สิยา อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ ปตฺเต กาเล อุทรีเย.
    ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป ควรกล่าววาจาที่ไม่ฟั่นเฝือ ควรกล่าวให้พอดีๆ เมื่อถึงเวลา


    โย อตฺตเหตุ ปรเหตุ ธนเหตุ จ โย นโร สกฺขิปุฏฺโฐ มุสา พฺรูติ ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.
    คนใดเมื่อถูกอ้างเป็นพยาน เบิกความเท็จ เพราะตนก็ดี เพราะผู้อื่นก็ดี เพราะทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว

    กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
    พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน


    สจฺจํ เว อมตา วาจา เอส ธมฺโม สนนฺตโน สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา.
    คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า สัตบุรุษ ทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม


    นาติเวลํ ปภาเสยฺย น ตุณฺหี สพฺพทา สิยา อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ ปตฺเต กาเล อุทีริยา.
    ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ

    อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ ยตฺถ พาลา ปภาสเร พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนฺติ ยตฺถ ธีรา ปภาสเร
    คนเขลา เมื่อกล่าวในเรื่องใดไม่ถูกผูก ก็ติดในเรื่องนั่น คนฉลาด เมื่อกล่าวในเรื่องใด แม้ถูกผูก ก็หลุดในเรื่องนั่น

    อกฺโกธโน อสนฺตาสี อวิกตฺถี อกุกฺกุจฺโจ มนฺตาภาณี อนุทฺธโต ส เว วาจายโต มุนิ.
    ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว


    ปิยวาจเมว ภาเสยฺย ยา วาจา ปฏินนฺทิตา ยํ อนาทาย ปาปานิ ปเรสํ ภาสเต ปิยํ.
    ควรกล่าววาจาที่น่ารักอันผู้ฟังยินดีเท่านั้น เพราะคนดีไม่นำพาคำชั่วของผู้อื่น คนดีจะกล่าวแต่คำไพเราะ


    ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย ปเร จ น วิหึเสยฺย สา เว วาจา สุภาสิตา.
    บุคคลพึงกล่าววาจา ที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น, วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต


    สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโยยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.
    ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความแม้ตั้งพัน ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แล้ว ข้อความที่เป็นประโยชน์เพียงบทเดียว ที่ฟังแล้วสงบระงับได้ ย่อมประเสริฐกว่า


    ยํ หิ กยิรา ตํ หิ วเท ยํ น กยิรา น ตํ วเท อกโรนฺตํ ภาสมานํ ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา.
    จะทำสิ่งใดพึงพูดสิ่งนั้น
    สิ่งใดไม่ทำไม่พึงพูดถึง บัณฑิตย่อมจะหมายเอาได้ว่า คนไม่ทำดีแต่พูด

    ยญฺหิ กยิรา ตญฺหิ วเท ยํ น กยิรา น ตํ วเท อกโรนฺตํ ภาสมานํ ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา.
    บุคคลทำสิ่งใดควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใดไม่ควรพูดสิ่งนั้น บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด


    ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ เขมํ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา.
    พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ย่อมเป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์
    พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย


    โย นินฺทิยํ ปสํสติ ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย วิจินาติ มุเขน โส กลึ กลินา เตน สุขํ น วินฺทติ.
    ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมเก็บโทษของตนไว้ด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษแห่งปากนั้น


    ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ.
    ผู้มีภูมิปัญญาย่อมไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง
    ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชา ในท่ามกลางชุมชน ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ


    อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ คิรํ สจฺจํ อุทีรเย ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
    ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง
    เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์


    วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
    ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี
    ให้เกินควรแก่กาล

    คัดลอกจาก http://www.dhamma4u.com/index.php/2...9-07-13-08-40-13/415-2009-07-27-08-24-38.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...