พุทธศาสนาไทยในปัจจุบันไม่ใช่เพื่อนิพพาน แต่เพื่อความสงบสุขของประเทศ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Phuket, 6 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. Phuket เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +877
    ประเทศไทยเริ่มนับจากสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น มีพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องค้ำชูให้อยู่ได้ด้วยความสงบร่มเย็น จนกระทั่งมาถึงสมัยรัชการที่หก จึงได้ทำธงชาติไทยให้มีแบบสามสี อันหมายถึง “สามเสาหลักค้ำประเทศ” คือ ชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์ สามเสาหลักนี้ร่วมกันทำให้ประเทศไทยมั่นคง สงบสุขได้จนถึงทุกวันนี้


    ทว่า พระพุทธศาสนาในไทยนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ “ความมั่นคงของประเทศ” ไม่ใช่เพื่อ “นิพพาน” ดังเก่าก่อน ซึ่งก็ไม่ผิด ไม่ได้เลวร้ายแต่ประการใด เพราะเป็นศาสนาแห่งพระยูไล พระโพธิสัตว์ ที่จุติลงมาเกื้อกูลค้ำชูทางโลก โดยเฉพาะประเทศไทยให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยที่ท่านเหล่านี้ “ยอมสละนิพพาน” ให้ผู้อื่นนิพพานไปก่อนตน ตนทำกิจค้ำชูทางโลกไว้ให้สงบสุข ช่วยสรรพสัตว์เหล่าอื่นไปก่อน ตนจึงไม่ขอนิพพาน


    อะไรบ้างที่เป็น “ของใหม่” ที่เข้าไปปลอมปนในพุทธศาสนาดั้งเดิม

    ๑) การแต่งตั้ง “พระสังฆราช” อันเป็นแบบอย่างการปกครองทางโลก ที่กระทำโดยพระราชา ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าสืบๆ กันมา ไม่มีในพุทธประเพณีเก่าก่อนของพระพุทธองค์ที่จะทรงแต่งตั้งใครเป็น “ผู้มีอำนาจเหนือสงฆ์”

    ๒) การแต่งตั้ง “ตำแหน่ง”, “ยศถาบรรดาศักดิ์” ฯลฯ อันเป็นแบบอย่างการปกครองทางโลก ที่มีอิทธิพลเข้ามาในพระพุทธศาสนาเดิม สิ่งเหล่านี้ไม่มีใน “ธรรมวินัย” ไม่มีเลยว่าจะแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ อย่างไร เพราะมีธรรมวินัยก็เพียงพอแล้ว

    ๓) การแต่งตั้ง “เจ้าอาวาส” ให้อยู่ประจำวัด ในสมัยพุทธกาล พระสงฆ์ที่ดีได้รับการนิมนต์ให้ประจำวัดบางวัด ก็แค่ “ชั่วคราว” ไม่ได้อยู่ตลอดไป ถึงวันหนึ่ง มีธุระโปรดสัตว์ก็จากไปไม่ยึดมั่นสถานที่ ผู้ยึดมั่นตายไปเป็นยักษ์ เรียกว่า “ผีเสื้อวัด”

    ๔) การถือ “อำนาจ” และ “ตำแหน่ง” เหนือสงฆ์ผู้อื่น ไม่เคยมีในพุทธประเพณีของเหล่าพระสาวก พระสาวกต่างอยู่ร่วมกันด้วยการเคารพในกันและกัน เท่าเทียมกันไม่มีใครเหนือใคร มีเพียง “พระพุทธเจ้า” เท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับว่าสูงสุด

    ๕) การถือ “พระธรรมวินัย” เป็นเครื่องสร้างความสงบสุขในหมู่สงฆ์ ไม่ได้ถือเอาระเบียบ, กฎอื่นใดอื่นๆ อีกเลย นอกจากพระธรรมวินัยเหล่านั้น ที่พระพุทธองค์ทรงตราไว้ก็พอแล้ว (ปัจจุบัน เรามีกฎของมหาเถรสมาคมเพิ่มขึ้นมามากมาย)


    ศาสนาพุทธเพื่อการเมืองและศาสนาพุทธเพื่อนิพพาน จะอยู่ร่วมกันอย่างไร?

    ศาสนาพุทธในปัจจุบัน ที่มีการแบ่งแยกเป็นนิกายนั้นไม่เคยมีในพุทธประเพณี พระพุทธองค์ไม่เคยสร้างนิกาย มีแต่พระเทวทัตที่แยกตัว แยกกลุ่มออกไป แต่ตั้งนิกายไม่สำเร็จ ผู้ใดตั้งนิกาย สังกัดนิกาย จะมี “อนันตริยกรรม” เป็นกรรมหนักขวางนิพพานไว้ จึงกลาย เป็นศาสนาพุทธเพื่อการเมือง เพื่อโปรดสัตว์ เพื่อทำให้ประเทศชาติสงบสุข มั่นคงต่อไป เท่านั้น ไม่ได้เหมือนพระพุทธศาสนาเพื่อนิพพานดังเก่าก่อน ทว่า พระพุทธศาสนาเพื่อนิพพานนั้นก็ยังมีอยู่ เช่น หลวงปู่เทพโลกอุดร และเหล่าพระธุดงค์ ที่เข้าป่าแล้วหายไปจากทางโลก ได้พบหลวงปู่เทพโลกอุดร ปลีกตัวออกเสียจากเหล่าพระสงฆ์ที่มีนิกายอื่นๆ นอกจากพระพุทธศาสนานั้น นี่ก็ยังอยู่ร่วมโลกกันได้ ไม่มีใครทำลายล้างใคร คนหนึ่งอยู่ทางโลก โปรดทางโลกไป คนหนึ่งอยู่ทางธรรม ก็ปลีกตัวออกจากทางโลกไป ไม่มีปัญหา จึงอยู่ร่วมกันได้ แต่ในบทความฉบับนี้ ไม่ได้เขียนเพื่อทำลายล้างใครเลย ต้องการสื่อความจริงให้ท่านทราบว่า “หากปรารถนานิพพาน” จะไปหาพระพุทธศาสนาที่แท้จริงที่ใดเท่านั้น คือ เอาธรรมะที่พอเหลืออยู่ ไปเร่งปฏิบัติเอง แล้วอย่าแตกตัวออกไปอยู่นิกายใด แยกออกเสียจากนิกายต่างๆ ที่แยกตัวออกไปตั้งนิกายเป็นเจ้าลัทธิทุกนิกาย ปฏิบัติตามแบบ “หลวงปู่เทพโลกอุดร” ก็จะนิพพานได้ ซึ่งผู้ที่ทำได้มีมากมายต่อๆ กันมา บางท่านมาโปรดชาวบ้าน ชาวบ้านไม่เคยเห็นหลวงปู่เทพโลกอุดร ก็เข้าใจผิดคิดว่าท่านเป็นหลวงปู่ฯ แท้แล้วบางท่านเพียงแค่ปฏิบัติตามท่านเท่านั้น หลวงปู่ได้นิพพานแล้ว และมีทายาทธรรมสืบๆ กันมา ปฏิบัติตามท่านมาไม่มีที่สิ้นสุดสืบไป ดังกล่าว

    .

    แนวทางหนึ่งเดียวที่ได้นิพพาน คือ เส้นทางปัจเจกฯ ตามหลวงปู่เทพโลกอุดร



    พระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าให้แก่เราไว้นั้น ไม่เคยมี “นิกาย” ผู้ที่สร้างนิกายคนแรกในพระพุทธศาสนาคือ “พระเทวทัต” แต่ขณะนั้นพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ จึงไม่สำเร็จเป็นนิกาย ภายหลังกลุ่มของพระเทวทัตที่แตกแยกกอออกไปนั้น ก็สลายตัวไปในที่สุด ทว่าหลังจากพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้วมีหลายท่านได้แยกแตกกอ ออก ไป กระทำอย่างกระเทวทัตบ้าง แต่เขาเหล่านั้นล้วนเป็นผู้มีบุญบารมี และตรัสรู้ธรรมด้วยตนเองเป็น “พระยูไล” ทั้งสิ้น จึงมีบารมีมากพอรองจากพระพุทธเจ้า และสร้างนิกายใหม่ได้สำเร็จ ท่านทั้งหลายเหล่านี้แม้ผู้ก่อตั้งนิกายและลูกศิษย์ก็ดี ล้วนไม่ได้นิพพาน เพราะ “อนันตริยกรรม” กระทำกรรมหนัก ทำให้พระสงฆ์แตกกัน แบ่งแยกออกไปเป็นกลุ่มใหม่ จึงต้องจุติที่สุขาวดีสวรรค์ ผู้ก่อตั้งนิกายได้เป็นพระยูไล ลูกศิษย์ได้อรหันตโพธิสัตว์


    การจะสำเร็จธรรมแล้วนิพพานได้นั้น ต้องไม่กระทำอนันตริยกรรม คือ กรรมอันหนักที่ทำให้พระสงฆ์แตกแยกเป็นหมู่เหล่ากัน การทำให้พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาแตกแยกเป็นหมู่เหล่านั้นไม่ใช่สิ่งถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาต้องมีเอกภาพ โดยมีจุดศูนย์รวมใจที่พระพุทธเจ้า ไม่มีเจ้าองค์อื่นอีก ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์เจ้าลัทธิ, เจ้านิกายใหม่ นิกายไหนก็ตามต้องไม่มีเลย จึงจะได้นิพพาน หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ชำระสะสางพระพุทธศาสนาหลังพุทธกาลแล้วประมาณ ๒๐๐ ปี ก็ทำให้พระศาสนาดีขึ้น ทว่า หลังจากนั้น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ก็บุกเข้ายึดประเทศอินเดียต่อ ทำให้พระสงฆ์ที่เคยปฏิบัติถูกต้องตรงทางอยู่ อยู่ไม่ได้ เพราะพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ บังคับให้นับถือศาสนาอื่นตามท่าน พระสงฆ์ที่ศรัทธาแต่พระพุทธศาสนาก็ต้องหนีตายไปที่อื่น เช่น พวกหนึ่งแตกแยกออกไปอยู่ศรีลังกา เมื่อไปอยู่ศรีลังกาแล้วพยายามทำให้เหมือนเก่าก่อน เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องไว้ แต่เพราะดินแดนใหม่พระราชาไม่เหมือนพระเจ้าอโศกมหาราช ทำให้ไม่อาจกระทำได้เหมือนเดิมทุกประการ เกิดเป็น “ลัทธิลังกาวงศ์” ขึ้น คือแม้จะพยายามทำให้เคร่งครัดดุจเดิมก็เป็นได้แค่ “นิกายเถรวาท” หรือนิกายที่แตกแยกออกจากแนวทางเคร่งรัดดั้งเดิม ออกเป็นนิกายใหม่ ที่เรียกว่า “เถรวาท”


    พระพุทธศาสนาไม่มีนิกาย เรื่องนิกายนี้พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน และไม่สนับสนุนให้ทำ สมัยนั้นมีแต่พระเทวทัตเท่านั้นที่คิดจะทำ และไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญเลย เป็นอนันตริยกรรมทั้งสิ้น กรรมหนักอันนี้ ส่งผลให้ผู้บรรลุอรหันต์แล้วไม่ได้นิพพานในที่สุดผู้เขียนเป็นผู้ไม่มีนิกายใดๆ แต่ไม่ได้นิพพาน เพราะปรารถนาพุทธภูมิ ที่เขียนบทความทั้งหมดนี้ ก็ปรารถนาเพื่อเตือนสติท่านทั้งหลาย ให้ได้สิ่งที่ดั้งเดิมถูกต้องแท้จริง โดยไม่ได้คิดทำลายนิกายใดๆ เพราะแต่ละนิกายก็ดีทั้งนั้น โปรดสัตว์ได้ทั้งนั้น ผู้นำนิกายก็คือพระยูไลทั้งนั้น ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในนิกายนั้นๆ ก็อาจได้ถึง “อรหันตโพธิสัตว์” จุติที่สุขาวดีแม้ไม่นิพพานก็พ้นทุกข์ได้ (แต่ยังต้องเกิดอีก) หากปรารถนานิพพานให้ทำดังนี้


    ทำอย่างไรจึงได้นิพพานแท้จริง

    ๑) ต้องไม่มีนิกายอื่นใด นอกจากพระพุทธศาสนา ที่มีเจ้าหนึ่งเดียวคือพระพุทธเจ้า ไม่มีเจ้าลัทธิ เจ้านิกาย อาจารย์ผู้ทรงธรรมใดอื่นเหนือกว่าพระพุทธเจ้าอีก ผู้ใดสังกัดนิกาย ให้หลีกเลี่ยงออกมาเสีย อย่าร่วมสังฆกรรม ดังหนีจากพระเทวทัต

    ๒) นิกายที่มีอยู่แล้ว ทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน หรือนิกายอื่นใดอีกก็ตาม ไม่ผิด ปัจจุบันเป็นยุคที่มีนิกายได้เต็มที่ เพราะหมดยุคของพุทธบริษัทของพระพุทธเจ้าแล้ว เทพ, พรหม, อสูร, มาร มาค้ำต่อ หากเขาจะสร้างนิกาย ก็ไม่ผิด แต่อย่ายุ่ง

    ๓) ให้ทำตัวเหมือนหลวงปู่เทพโลกอุดร คือ ปลีกเสียจากพระสงฆ์ที่มีนิกาย ไปอยู่ในพระพุทธศาสนาที่ไม่มีนิกาย มีแต่พระพุทธศาสนาหนึ่งเดียวเท่านั้น ศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้า อย่าหลงเจ้าลัทธิ, เจ้านิกายอื่นใดอีก แม้ต้องเหมือนปัจเจกฯ


    พระสงฆ์ที่ได้นิพพานจริงอยู่ร่วมกันแบบใด

    ท่านจะอยู่เท่าเทียมกัน ไม่ทำตัวเหนือกว่ากัน แม้ท่านหนึ่งจะสอนท่านหนึ่ง จนบรรลุธรรมแล้ว ก็ไม่ถือตัวเป็นใหญ่ เป็นอาจารย์เขา ก็ยอมรับผู้ที่ปฏิบัติตามตนจนได้อรหันต์แล้ว ว่า “เท่าเทียมกับตน” ไม่ได้ต่ำกว่าตน ไม่ใช่เป็นลูกศิษย์ตน แม้ตนจะแนะนำธรรมก็ตาม ทุกท่านทำตัวเหมือน “ผู้น้อย” ที่มีผู้ใหญ่ที่สุดคือ “พระพุทธเจ้า” เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ทุกท่านไม่ประมาทในกรรม ระวังตน และสำรวม เจียมตน จึงไม่ทำตัวยิ่งใหญ่ และถ่อมตนไว้ ประมาณตนดีอยู่ แม้รู้ธรรมมาก ถ่ายทอดธรรมได้ แต่ไม่เผลอว่าตนนี้แน่ เพราะรู้เต็มอกว่าที่ได้มาทั้งหมดนี้ไม่ใช่ “ธรรมะตัวกูของกูเลย” เป็นผลจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แล้ว ตนก็ไม่มีทางได้บรรลุธรรม พ้นทุกข์ได้เลย ไม่มีทางได้เลยจริงๆ ต้องอาศัยการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น ต่อให้มีธรรมมากเท่าใด ก็เสมือนไม่มีเลย เพราะไม่ใช่ “ตัวกูของกู” เลยแม้แต่น้อยนิด


    พระพุทธศาสนาที่ได้นิพพานจริง จึงไม่มีเจ้าอื่นอีกนอกเสียจากพระพุทธเจ้า และจะไม่มีพระสังฆราช นิกายใดที่มีพระสังฆราช นิกายนั้น ไม่ได้นิพพาน พระสังฆราชจะได้จุติที่สุขาวดีสวรรค์ ถ้าทำความดี และศิษย์ท่านที่ทำความดีก็ได้ผลเช่นนั้นคือสุขาวดีสวรรค์ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่มีนิกาย ๑ เป็นผู้ไม่มีอาจารย์อื่นใด ที่เหนือกว่าพระพุทธเจ้า ๑ (ไม่ใช่พวกอาจาริยวาท) เป็นผู้ไม่ต้องมีผู้นำ ต่างร่วมกันโดยอยู่อย่างเท่าเทียม เป็นผู้น้อยคอยช่วยเหลือกัน อยู่สงบได้โดยธรรมวินัย ไม่มีใครเหนือใคร นอกจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น ๑ และเป็นผู้ไม่มีพระสังฆราชคอยดูแล อาศัยหมู่สงฆ์แนะนำแล้วเร่งปฏิบัติให้เกิดมรรคผล จึงได้อาศัยพระธรรมวินัยนั้นครองตนเองต่อไป ๑ เป็นผู้ไม่ยึดวัด และเจ้าอาวาสคอยดูแล ไม่ยึดมั่นถือมั่นสถานที่ และผู้นำอื่นใด นอกจากพระพุทธเจ้า แต่รับฟังคำแนะนำจากพระสงฆ์รูปอื่นทุกรูป แม้ไม่มีรูปใดเป็นเจ้าอาวาส ๑


    พระพุทธศาสนาดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าสอนมา นอกจากไม่มีเจ้าลัทธิ เจ้านิกายอื่นใดอีกแล้ว ยังไม่มีพระสังฆราชด้วย พระพุทธเจ้าไม่เคยแต่งตั้งใครเป็นพระสังฆราช แม้แต่พระอานนท์และพระมหากัสสปะ ก็ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระสังฆราช ได้แต่ฝากกิจต่างๆ ไว้ในพระสงฆ์บางรูป เช่น ฝากกิจดูแลธรรมวินัยไว้ที่พระมหากัสสปะ ด้วยการแลกจีวรกัน, ฝากกิจดูแลความเป็นอยู่ การกิน ของหมู่สงฆ์ไว้ที่พระอชิตะ ด้วยการอธิษฐานให้บาตรของท่านลอยไป และพระอชิตะรับไว้ได้, ฝากกิจการผ่อนปรนศีลไว้ที่พระอานนท์ ด้วยการตรัสฝากให้ผ่อนปรนศีลได้โดยตรง เป็นต้น นี่ก็ไม่มีการตั้งวัดไหนเป็น “สมบัติของพระพุทธศาสนา” แม้มีคนตั้งวัดให้ เมื่ออยู่แล้ว หมดหน้าที่ ที่นั่น ก็จากไป ไม่ยึดมั่นในวัดที่เขาสร้างไว้ให้นั้น แม้แต่เจ้าอาวาส ก็ไม่มีพระพุทธเจ้าแต่งตั้งใครเป็นเจ้าอาวาสเลยสักคน แนวความคิดในการจัดตั้งพระสังฆราช และเจ้าอาวาสนี้ เกิดภายหลัง หลังจากพระราชาเข้ามาพยายามจัดการเป็นอยู่ของหมู่สงฆ์ แต่ดั้งเดิมนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอยู่ ไม่มีเลยเรื่องจะให้ตำแหน่งใดๆ แก่ใคร เพราะในพระพุทธศาสนาไม่มีตำแหน่ง แม้แต่พระอัครสาวกเบื้องขวาเบื้องซ้าย ก็ไม่นับเป็นตำแหน่ง เพราะในพฤตินัยแล้ว ท่านเหล่านี้ก็ไม่เคยได้ใช้อำนาจใด เหนือหมู่สงฆ์ เป็นที่เข้าใจกันเองว่าท่านใด คือ พระอัครสาวกเบื้องขวา เบื้องซ้าย เท่านั้น เพราะศาสนาเราไม่ยึดตำแหน่ง ไม่จำเป็น


    ปัจจุบัน เรามีระบบศาสนาพุทธที่แตกต่างไปจากเดิมมาก จากเดิม ที่ไม่ต้องมีอะไรมากนอกจาก “ธรรมวินัย” ที่พระสงฆ์เคารพก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ มาเป็นระบบที่พระราชาพยายามเข้ามาช่วยด้วยการนำแบบแผนการปกครองทางโลก มาใส่ทางธรรม จึงไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้นิพพานได้ ทว่า แม้ศาสนาพุทธจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่การมีพระสังฆราชก็ดี, เจ้าอาวาสก็ดี ฯลฯ ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เป็นเรื่องของ “ยุคสมัย” ที่ไม่เหลือพุทธบริษัทของพระพุทธเจ้าแล้ว การอยู่ร่วมกันของพระสงฆ์ปัจจุบัน นับเป็นสิ่งที่ดี ทำได้เพราะพุทธานุญาติได้ให้แก่เหล่าเทพ, พรหม, อสูร, มารไว้แล้ว รูปแบบของพุทธศาสนาทุกวันนี้ ผู้เขียนไม่มีเจตนาจะล้มล้างหรือต่อต้าน จึงสนับสนุนเต็มที่ เพียงแต่ต้องสื่อสารให้เข้าใจชัดเจนกันว่า “หากปรารถนานิพพาน” จะต้องมีปฏิปทาแบบใดเท่านั้น

    ที่มา : พุทธศาสนาไทยในปัจจุบันไม่ใช่เพื่อนิพพาน แต่เพื่อความสงบสุขของประเทศ
     

แชร์หน้านี้