พ.ธรรมรังสี ตอบปัญหาธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมรังสี, 18 มิถุนายน 2013.

  1. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ท่านใดมีข้อสงสัยในธรรมะ เชิญถามมาได้ ยินดีตอบปัญหาธรรม


    คำตอบอาจจะสั้นบ้าง ยาวบ้าง ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง แต่จะพยายามตอบให้ดีที่สุด เพื่อการเจริญสติ เจริญปัญญาที่ถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า


    อนึ่ง พระพุทธพจน์ย่อมเป็นสิ่งสูงสุด ผู้ที่สนใจพึงศึกษาจากในพระไตรปิฎกโดยตรง



    ขอเจริญพร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2013
  2. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ทำไม พระศาสดาของ เชน ปฏิบัติทุกขกริยา แล้ว นิพพานได้?

    แสดง ว่า การนิพพาน ไม่ใช่มีเฉพาะทางสายกลางเท่านั้น หรือไม่?
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในครั้งนั้น พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก ๖๑ พร้อมด้วยพระพุทธเจ้า
    ต่างก็แยกย้ายกันไปเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้า โดยมิให้เดินทางไป ๒ องค์ในทางเดียวกัน
    ไม่มีสาวกของท่านไปเผยแผ่ศาสนาของเซนเลย ผิดวัตถุประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า ที่ชื่อว่า "สาวกของพระพุทธเจ้า"
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ....เอ่อ สงสัย จะเข้าใจกันผิดนะครับ...ศาสนาพุทธ นิกายเซ็น ใช่ใหม ครับ...ไม่ใช่ศาสนา เชน..:cool:[/SIZE][/SIZE]
     
  5. โซ

    โซ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +872
    ก็เข้าใจถูกแล้วแหละครับ เพียงแค่เขาไม่เอ่ยออกมาก็แค่นั้นแหละครับ เพียงแค่เป็นการบอกกล่าวโดยซ่อนความจำกัำความไว้ให้คนเข้ามาอ่านคิดตามได้ ถ้าเอ่ยออกมาแบบตรงๆ เวลาอ่านมันก็ไม่สนุกอ่ะครับ หลวงพี่ที่ใช้นามว่า ธรรมรังสี ก็ขึ้นต้นบอกแล้วว่า ตอบปัญหาธรรมแนว เซน ก็คือพุทธนั่นเอง แต่เป็นไปในนิกายนั่นเอง ส่วนคุณ ตั้งฉาก ก็บอกว่า ทำไม พระศาสดาของ เชน ปฏิบัติทุกขกริยา แล้ว นิพพานได้?
    แสดง ว่า การนิพพาน ไม่ใช่มีเฉพาะทางสายกลางเท่านั้น หรือไม่?

    ความหมายของคุณตั้งฉาก ที่ว่า พระศาสดาของ เชน ปฏิบัติทุกขกริยา แล้ว นิพพานได้ ก็หมายถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรานี่แหละครับ
    ส่วนความหมายของ ลุงหมาน ก็กำลังบอกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ไปเผยแผ่ศาสนาเซน ไปเผยแผ่พุทธ ก็เลยประมาณว่าไม่รับเอาสิ่งที่เกิดมาหลังจากที่พุทธองค์ได้ทรงสอนบัญญัติไว้ คือจะน้อมรับสิ่งที่เป็นแบบแผนทางเดินอันเดียวตามหลักพุทธวจนะ ลุงหมานก็เลยประมาณว่า ไม่มีสาวกของท่านไปเผยแผ่ศาสนาของเซนเลย ผิดวัตถุประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า ที่ชื่อว่า "สาวกของพระพุทธเจ้า" เพราะลุงหมานก็คงรู้แล้วว่า ไม่มีศาสนาเซน หลวงพี่เจ้าของกระทู้ก็บอกแล้วว่า ปัญหาธรรมแนว เซน
    ถ้าจะหมายถึงศาสนา เซน จริงก็คงไม่ได้อ่านที่กระทู้ตั้งไว้ ถ้าเรามองว่าเป็นศาสนาเซนจริง มีบทบาทวาระที่เหมือนพุทธมาก ซึ่งถ้าตามเป็นจริงที่มีตามตำรา ศาสนา เซน คงยังไปไม่ถึงคำว่า นิพพานหรอกครับ เพราะจะไปแย้งความที่ว่า เว้นว่างจากศาสนาของหลักความเป็นจริง รู้จริง เห็นจริงในอริยสัตว์ในความเป็นไป เพราะคงไม่มีศาสดาที่รู้แจ้งในอริยสัตว์เกิดขึ้นพร้อมกันในกาลนี้ จากตำราบางตำรา ศาสนาของเซนนั้น เกิดก่อนพุทธประมาณ300ปี อันนี้เราคงไปตามรู้สิ่งนี้คงเป็นไปได้ยากครับ เพราะเราก็กำลังปฏิบัติของของเราอยู่ คงไม่เอาเรื่องแบบนี้มาคิดให้ฟุ้งซ่านเปลืองสมองหรอกครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2013
  6. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    ผมยังสงสัยอยู่ นิดคือ คุณตั้งฉากถามว่า ทำไม พระศาสดาของ เชน ปฏิบัติทุกขกริยา แล้ว นิพพานได้?
    อันนี้เป็นคำถาม หรือเพราะสับสนระหว่างศาสนาเชน และ พุทธนิกายเซน ครับ ถ้าไม่สับสน คือรู้จักพุทธนิกายเซน ก็ไม่เป็นไร

    ศาสนาเชน จริงๆๆการเรียกว่าเชน นั้นผิด ต้องเรียกว่าไชนะ แต่ไอ้การอ่านผิดนี้อ่านกันมาจนผิดมันกลายเป็นถูกไป เพราะเราไปใช้วิธีเทียบเสียง กันจากตำราฝรั่งแล้วไปอ่านเชน
    เชนเป็นศาสนาหนึ่งในอินเดีย ปฏิเสธการนับถือพระเวท การคิดว่าพระเจ้าเข้ามามีอิทธิผลในการมอบความรอดให้เราได้

    มีความเหมือนศาสนาพุทธค่อนข้างมากแต่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ ศาสดาศาสนาเชนไม่ได้บรรลุธรรมตามคำกล่าวอ้าง(ของคนในศาสนานี้) จากการทรมานตัวเอง
    แต่เกิดจากการทรมานตัวเองแล้วไม่ประสบผล แล้ววันหนึ่งไปเดินจงกรมเข้าแล้วบรรลุธรรม นี้ว่าตามหลักฐานคัมภีร์เชน...........มหาวีระไม่เคยสอนว่าทรมานตัวเองแล้วจะบรรลุธรรมมันมีมาก่อนแล้ว

    ผมไม่ได้ว่าตามคัมภีร์ที่ศาสนาพุทธเขียนถึงศาสนาเชน เพราะแน่นอนว่าอาจจะมีอคติ ค่อนข้างมาก เพราะเป็นคู่แข่งกัน ดั้งนั้นมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตรศาสดาองค์นี้ ร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าจึ่งดูเป็นตัวตลกเป็นเจ้าลัทธิทรมานตัว นักบวชเปลือยซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทั้งหมด ต้องระวัง แต่ผมว่าตามบันทึกนักบวชเชน...ว่าไม่ใช่สอนให้ทรมานตนอย่างไม่มีขีดจำกันจะบรรลุธรรเร้วเท่านั้นทำนองนี้

    หลักธรรม ก็เหมือนกันมากกับศาสนาพุทธ มีคำสอนคล้ายๆๆอริยสัจ4 คล้ายๆๆอริยมรรค ด้วย อันนี้คร่าวๆๆนะครับ

    แต่จุดต่างคือ เขาไม่ปฏิเสธเรื่องอัตตา เขายอมรับเรื่องอัตตาเหมือนศาสนาฮินดู แต่ปฏิเสธอัตตาที่ยิ่งใหญ่ หรือพรหมมัน ที่อัตตาจะไปรวมกับพรหมมันแล้ว เป็นอมตะไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกเขาปฏิเสธตรงนี้
    คือยอมรับวิญญาณในตัวมนุษย์ว่าเที่ยงแท้ นั้นเอง

    นอกจากนี้ศาสนา เชน มีจุดเด่นที่การไม่เบียดเบียนคนอื่นคือเน้นอหิงสา ที่มหาตมะคานธี มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เอาไปใช้นั้นแหละ เน้นมาก ชาวเชนจึ่งไม่ทำอาชีพที่เบียดเบียนคนอื่นรุนแรงอย่างทหาร คนฆ่าสัตว์ จนบางคนก็ปฏิบัติจนดูสุดโต่งไป แต่จุดมุ่งหมายนั้นดีมาก

    ศาสนานี้มีดีค่อนข้างมากเหมือนกันแต่คุณจะชอบหรือเปล่านั้นแหละ ทุกวันนี้เจริญพอควรเพราะเขาปรับปรุงคำสอนใหม่ค่อนข้างมาก มีการนำเอาคำสอนส่วนที่ดีของฮินดู ของพุทธมาใช้ด้วยซ้ำไป และชาวเชนบางคนก็เชื่อว่ามหาวีระกับพระพุทธเจ้าเป็นคนเดียวกัน อันนี้ฝากไว้ให้คิดเอง...บางคนเท่านั้นที่คิดแบบนี้

    ส่วนเซน ก็เป็นพระพุทธศาสนา นิกายหนึ่งที่ ตั้งขึ้นในจีน ตามความเชื่อนิกายนี้ นิกายนี้มีมาตั้งแต่อินเดียแล้ว ซึ่งถ้าว่ากันตรงไปตรงมา ตัวนิกาย ผมว่าไม่มีในอินเดีย เป็นแต่เพียงตำแหน่งสังฆราชของชาวพุทธในอินเดียประเทศ ที่สืบต่อกันมาจากพระมหากัสสปะ ตามแต่ที่สงฆ์ในยุคต่างๆๆยอมรับ จนถึง สังฆราชองค์ที่ 28ที่ชื่อ พระโพธิธรรม (ตะโมภิกขุ) คนจีนเรียกเพี้ยนเป็นตักม้อ ซึ่งเป็นสังฆราชองค์หนึ่งของอินเดีย และท่านเข้าไปในจีนไม่ใช่เพื่อตั้งนิกายใหม่ แต่เพื่อปฏิรูปพระพุทธศาสนาในจีนให้ดีขึ้นเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ว่ากันว่าท่านเอาชาและกังฟูมาที่จีนด้วย โดยเข้าไปในยุคของพระเจ้าหวู่ (Wu Di) ของราชวงค์เหลียง(ค.ศ. 502 - 549) ที่ยุคนั้น เน้นไปที่การคิดทางปรัชญาไม่ใช่การปฏิบัติ โดยก่อเกิดสำนักปรัชญาที่ลึกซึ้งมากมาย ท่านเข้าไปเพื่อชี้ว่า การขบคิดทางปรัชญามีผลน้อยมาถ้าคุณไม่ปฏิบัติ และท่านเข้าไปทำให้ดู นั้นเองคือจุดเริ่มต้น

    ผลจากการเข้าไปทำให้มีคนหนึ่งปฏิบัติตามแนวของท่านแล้วเรียกตัวเองว่า เซี้ยจง หรือ ธยานะ หรือ นิกายวิปัสสนา นั้นเอง และเจริญสูงสุดโดย อิทธิผลของเว่ยหลางและคณะศิษย์ จากนั้นนิกายนี้ ก็มีอิทธิผล ไปถึงญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม จนกระทั้งทั่วโลก อย่างในปัจจุบัน ฝรั่งยุคนี้เป็นศาสนิกของนิกายนี้มากที่สุด รองลงมาคือนิกายวัชรยาน(ซึ่งกำลังมาแรง) บ้านเราท่านพุทธทาสเป็นคนแรกที่นำเข้ามาคือท่านเอาเซนมาแนะนำให้ลองเปิดหูเปิดตาบ้างเป็นกระแสที่แรงมากในยุคนั้น อย่าง หลวงพ่อชา คนเรียกว่าเซนอีสาน เพราะหลวงพ่อชาเอาวิการแบบเซนมาใช้ ท่านว่าท่านอ่านบันทึกคำสอนของเว่ยหลาง(ที่ท่านพุทธทาสแปลมา)เล่มเดียวไม่อ่านอันอื่นอีกในเรื่องธรรมะ อิทธิผลของเว่ยหล่างต่อหลวงพ่อชามีมากกว่าหลวงปู่มั่นเสียอีก (คนยุคนี้คงไม่รู้และมั้ง พวกชอบอ้างตัวว่าเป็นศิษย์หลวงพ่อชานี่....) หรือ อย่างหลวงพ่อเทียนเอง วิธีการของท่านที่พัฒนาขึ้นมาการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ด้วยตัวท่านเองก็มีคนเอาไปเปรียบเทียบกับเซนและพบว่าเหมือนกันทุกแง่ทุกมุม........จนท่านไปมีชื่อในต่างประเทศในฐานะอ.เซน(ทั้งๆๆที่เป็นเถรวาท)

    ส่วนแนวทางตอบคำถามแบบเซน นั้นจริงๆๆไม่ใช่วิธีการอะไร เซนต่อต้านวิธีการทุกรูปแบบ เพราะมรรควิธีทุกรูปแบบย่อมมีขีดจำกัดนี่คือสิ่งที่เซนพยายามบอก การลอกเลียนแบบมรรควิธีของคนอื่นเป็นเพียงเสาล่ามคนเราจากสัจจะ แต่ละคนต้องค้นหาหนทางด้วยรูปแบบเฉพาะตัวของตนเอง(บางทีอาจจะไม่มีทางที่ว่าก้ได้และนั้นแหละคือทาง)

    อ.เซนจึ่งจะใช้วิธีตอบคำถามทำนองปริศนาธรรม ที่เข้าใจไม่ได้ด้วยความคิด บางครั้งมีลักษณะเป็นมิสติค หรือ รหัสนัย เพื่อหยุดความคิดปรุงแต่งทั้งมวลคนคนถาม จนกระทั้งคำตอบดูกวนตีน แปลก ลบหลู่พระพุทธเจ้า แต่เพื่อตัดทำลายความคิดปรุงแต่งทั้งหมดนั้นเอง รูปแบบของการถามตอบแบบเซนถูกถ่ายทอดต่อกันมาในรูปแบบเรื่องเล่าที่บางคนเรียกกุงอัน

    เช่น หมามีธรรมชาติแห่งผู้ตื่นหรือไม่
    อ.จ้าวโจตอบ "ไม่"

    ไม่ในที่นี้มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าแค่การปฏิเสธ คนถามจำต้องขบคิดจนเกิดความเข้าใจ
    นั้นเอง

    อีกตัวอย่างคือ

    พระเจ้าหวู่ถามพระโพธิธรรมว่า "ข้าสร้างโบสถ์วิหารเป็นอันมาก มีพระบรมราชโองการให้จารึกพระไตรปิฎกแพร่หลายไปทั่วเขตแดน ให้ความอุปถัมภ์แก่ภิกษุ และภิกษุณีเป็นอันมาก อยากจะทราบว่า การกุศลนานาประการนี้จะให้ผลยังไง?"

    พระโพธิธรรมถวายพระพรว่า “ไม่ได้อะไรเลย”

    พระเจ้าหวู่ถามพระโพธิธรรมว่า "ถ้าเช่นนั้น หลักธรรมสูงสุดของพระพุทธศาสนาเป็นยังไง?"

    พระโพธิธรรมถวายพระพรว่า “ไม่มีสิ่งนั้น”

    พระเจ้าหวู่ถามพระโพธิธรรมว่า "ถ้าเช่นนั้น ตัวพระโพธิธรรมเองที่มาอยู่ตรงหน้าองค์ฮ่องเต้เวลานี้ คืออะไร?"

    พระโพธิธรรมถวายพระพรว่า “อาตมาไม่รู้”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2013
  7. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218


    เซน ไม่ใช่ เชน


    คนละศาสนากัน และ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง


    และขออนุญาตไม่พาดพิงถึงศาสนาอื่น


    ขอเจริญพร
     
  8. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218


    บางครั้งพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรมะสั้นๆ เช่น พระพุทธภาษิตต่างๆ


    บางครั้งก็ทรงแสดงพระสูตรพระธรรมแบบยาวๆ ตามแต่โอกาสและความเหมาะสม


    บางครั้งพระอรหันตสาวกก็แสดงธรรมสั้นๆ บางครั้งก็แสดงธรรมแบบยาวๆ เช่นเดียวกัน



    เช่น พระอภิธรรมโดยละเอียดก็มี โดยย่อก็มี ได้แก่ จิ เจ รุ นิ (จิต เจตสิก รูป นิพพาน)


    ธรรมะแนวเซน เน้นที่ธรรมะแบบสั้นๆ ได้ใจความ แล้วนำไปต่อยอดด้วยการพิจารณาด้วยตนเอง อันเรียกว่า โยนิโสมนสิการ


    โดยมี สัมมาทิฏฐิ เป็นพื้นฐานแห่งการพิจารณา


    มี สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักในการพิจารณา


    มี วิปัสสนาญาณ เป็นแนวทางแห่งการพิจารณา


    มี วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ เป็นผลแห่งการพิจารณา (ทั้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ และ อุภโตภาควิมุตติ)


    ดูได้จากพระพุทธดำรัสที่ทรงตรัสแสดงแก่ ท่านพระพาหิยะทารุจีริยะ เป็นต้น


    หรือการแสดงธรรมโดยย่อของท่านพระอัสสชิต่ออุปติสสะปริพาชก (ท่านพระสารีบุตร) เป็นต้น



    เซน มิใช่ศาสนา แต่เป็นคำสอนที่มุ่งเน้นด้านปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คือเป็นกิ่งก้านสาขาหนึ่งในพระพุทธศาสนาเท่านั้น มิใช่ทั้งหมดของพระพุทธศาสนา


    เช่นเดียวกับ พระวินัย ก็มิใช่ทั้งหมดของพระไตรปิฎก พระสูตร ก็มิใช่ทั้งหมดของพระไตรปิฎก พระอภิธรรม ก็มิใช่ทั้งหมดของพระไตรปิฎก


    เพราะ พระไตรปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม รวมกัน จึงเป็น พระไตรปิฎก


    รวมถึงยังมี ศาสนพิธี ศาสนวัตถุ ศาสนสถาน ศาสนบุคคล อันเป็นส่วนประกอบในทางพระพุทธศาสนาอีกมากมายด้วย และย่อมมีความแตกต่างกันตามความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาค และในแต่ละประเทศอีกด้วย และถึงแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็อยู่ในขอบเขตของพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ย่อมมีหลักของ การให้ทาน การรักษาศีล และ การเจริญภาวนา ในพระพุทธศาสนาอยู่ด้วยเช่นกัน


    โดยแบ่งไปตามระดับของปัญญาบารมีของแต่ละคนว่ามากน้อยเพียงใด เป็นเงื่อนไขในการบรรลุธรรม


    ขอเจริญพร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013
  9. zoba

    zoba เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +268
    -1 0 1
    -1 1
    -1 0 1
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คำว่าเซน เป็นภาษาญี่ปุ่นมาจากเสียงจีนว่า "เสี้ยง"
    และเสียงจีนกลางว่า "ฉัน" คือ "ฌาน" นั่นเอง

    นิกายนี้เจริญมากแม้กระทั้งปัจจุบัน ก็ยังแพร่หลายอยู่ในยุโรป-อเมริกา
    ผู้ต้นนิกายซื่อ โพธิธรรม ชาวอินเดียภาคใต้ จาริกไปเมืองจีนสมัยต้นศตวรรษที่ ๑๐
    ความเป็นมาของนิกายได้ท้าวความไปถึงพุทธกาล คือ

    เมื่อพระศาสดาประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่งท่ามกลางธรรมสภา
    โดยมิได้ตรัสอะไรเลย ที่ประชุมไม่มีผู่ใดเข้าใจความหมาย เว้นแต่ท่านมหากัสสปนั่งยิ้มน้อยๆ อยู่
    พระศาสดาจึงตรัสว่า กัสสป ตถาคตมีธรรมจักขุได้ และนิพพานจิต (โปรดสังเกตุ คำนี้พวกเซนถือเอาจิตเป็นนิพพาน)
    ตถาคตมอบหมายให้แก่เธอ ณ บัดนี้ พวกเซนจึงเคารพท่านมหากัสสปว่า ผู้ให้กำเหนิดนิกาย

    ต่อมาได้มีอาจารย์ปรัมปราสืบเนื่องกัน ถึงพระโพธิธรรม ลำดับที่ ๒๘ เมื่อมาสู่เมืองจีนแล้ว
    ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเหลียงบูฮ่องเต้ ตรัสถามว่า ข้าพเจ้าได้สร้างวัดบวชพระจำนวนมาก
    ไม่ทราบว่าจะมีอานิสงส์มากเพียงใด ท่านตอบว่า ไม่มีเลย เพราะกุศลกรรมเหล่านั้นเป็นวัฏฏคามี
    ฮ่องเต้ไม่ทรงพอพระทัยจึงทรงไม่อุปถัมภ์ พระธรรมจึงไปจำพรรษา ณ วัดเซียมลิ่มยี่นั่งเข้าฌานหันหน้าเข้าฝาผนังอยู่ ๙ ปี
    ต่อมาท่านจึงได้มอบหมาย ลัทธิของท่านให้สมณจีนตั้งเป็นนิกายเซ็นขึ้น มีคำโฆษณาสั้นๆ ว่า

    ปุ๊ดลิดปุ้งยี่ - ไม่ต้องอาศัยตัวอักษร
    ติดจี้นั้งซิม - ชี้ตรงไปวัดจิตของมนุษย์
    เกี้ยงแฮ่เซ็งฮุค - เห็นแจ้งในความจริงสำเร็จเป็นพุทธ นิกายเซ็น ถือว่าการบรรลุมรรคผลนั้น
    ไม่ใช่อยู่ที่ตัวอักษร หรือความรู้ในด้านปริยัติ แต่ต้องอยู่ที่การขัดเกลากิเลสของตนเป็นสำคัญ
    แม้ทรงพระไตรปิฎกแต่รุงรังภายในก็ใช้ไม่ได้

    v

    http://www.chatchawan.net/2013/02/what-is-zen/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มิถุนายน 2013
  11. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218


    เซน ที่อาตมากล่าวถึง มุ่งเน้นที่สติปัญญา ไม่เน้นเซนตามตำราที่นอกเหนือไปจากพระไตรปิฎก ไม่เน้นเซนตามคำบอกเล่าหรือเรื่องเล่าของเซนแบบปรัมปรา ไม่เน้นเซนที่ไร้เหตุผลตามหลักธรรมแท้ๆ ที่มีพระพุทธพจน์รองรับ และไม่ใช่เซนของเถรวาท ไม่ใช่เซนของมหายาน แต่เป็นเซนของเซน


    เซนที่อาตมานำมากล่าว ไม่ใช่เซนของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่เซนที่ยึดติดในรูปแบบ แต่ก็ไม่ใช่เซนที่ทำลายรูปแบบ


    เซนในความหมายของอาตมา คือ ความว่างหรือสุญญตา ไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่เรื่องของสมาธิ แต่เป็นเรื่องของปัญญาญาณล้วนๆ


    ส่วนใครจะตีความหมายของเซนเป็นอย่างไรหรือเป็นอะไรนั้น ก็สุดแท้แต่ เพราะอาตมาเพียงแค่นำเสนอแนวทางที่นอกกรอบ แต่ไม่นอกพระพุทธธรรม เพราะตระหนักดีในคุณค่าแห่งพระไตรปิฎก เพียงแค่ไม่เน้นบัญญัติ แต่มุ่งเน้นเจาะจงตรงไปที่สติปัญญาธรรมโดยฉับพลัน


    เพราะแม้กระทั่ง จิต ก็เป็นอนัตตามิใช่หรือ แม้จิตจะเป็นปรมัตถธรรม แต่จิตก็เป็นอนัตตา ยกเว้นจิตที่เข้าถึงอสังขตธาตุ อสังขตธรรม


    ถ้าคลายความยึดมั่นถือมั่นได้ แล้วทำให้สติปัญญาเจิดจ้า ก็นับว่าเป็นธรรมที่ดีได้มิใช่หรือ


    มีพระอรหันต์ในสมัยครั้งพุทธกาลจำนวนมากมายมิใช่หรือ ที่เพียงฟังพระพุทธดำรัสสั้นๆ หรือพระสูตรบางพระสูตร พระธรรมบางพระธรรม ก็บรรลุธรรมได้ โดยที่ไม่ต้องมานั่งศึกษาพระไตรปิฎกทั้งหมด แต่ก็มิได้ห้ามให้ใครมาศึกษาพระไตรปิฎกทั้งหมด ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพหูสูตโดยแท้
     
  12. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ศาสนาเชน ไม่ใช่ ศาสนาพุทธ เพียงแต่เกิดร่วมสมัยกับศาสนาพุทธ มีหลักศาสนาที่ถอดแบบมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งเป็นสองนิกาย นิกายหนึ่งเป็นชีเปลือย อีกนิกายหนึ่งนุ่งห่มขาว (ข้อมูลจากศาสนาเบื้องต้น มหาวิทยาลัยธรรมกาย)
     
  13. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    ZEN เขียนแบบนี้ก็แล้วกัน จะได้ไม่เข้าใจผิดกันอีก


    และกรุณาอ่านให้ดีๆ ก่อนที่จะเขียนอะไรออกมา
     
  14. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    แย้งนิดหนึ่งครับคำว่า เซนไม่ได้ถือว่าจิตเป็นนิพพาน ป้องกันคนบางคนเข้าใจผิด ขอแก้หรือขยายเพิ่มว่า เป็น " แต่เซนในบางแง่มุมแล้วถือว่านิพพานและสังสารวัฏนั้นมีอยู่แล้วในจิต(แท้)ของสรรพชีวิต" ผมใช้ในบางแง่มุมนะครับ เซนใช้คำว่าจิตในความหมายที่แปลกออกไป คือจิตโดยทั่วไปเราจะหมายถึงวิญญาณที่เกิดขึ้นจากการกระทบกันของอายตนะภายในและภายนอกแล้วมีการรับรู้การกระทบนั้น นั้นแหละคือวิญญาณ อย่างตาเห็นรูปแล้วรับรู้รูปที่เห็นนี้พอมาประจวบกับก็กลายเป็นจักษุวิญญาณ

    เป็นต้น

    ที่นี้นิกายเซนจะใช้จิตในความหมายที่ต่างออกไป เช่นไอ้พวกคำว่า จิตหนึ่ง จิตเดิมแท้ เหล่านี้ตามปกรณ์ของลัทธินี้ จะไม่มีความหมายที่ตายตัว อ.เซนคนเดียวกันบางครั้งพูดความหมายหนึ่งบางครั้งพูดอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งขัดแย้งกันอย่างรุนแรง....จนบางคนอาจจะงงว่าตกลงจะเอายังไงกันแน่ เดี่ญวจะพูดต่อไป

    เซนเกิดจากการสังเคราะห์มหายานนิกายใหญ่ๆๆ สามนิกาย รวมกันกับปรัชญาเต๋า โดยหลักๆๆแล้วต้องเข้าใจตรงนี้เราถึงจะไปต่อได้

    ที่นี้จิตหนึ่ง จิตเดิมแท้ ในความหมายของเซนคืออะไร ?


    ความหมายแรก เหมือนกับ สุญญตา ตามทัศนะของนาคารชุนบิดาสำนักมาธยามิกะนั้นเอง คือหมายถึงความว่าง คือ ว่างจากทั้งนิพพานและสังสารวัฏ สังขตธรรมและอสังขตธรรม ของคู่ๆๆทั้งหลาย
    หรือ ใช้ความหมายของธรรมชาติเดิมแท้ที่เปรียบประดุจความว่าง ที่ไม่มีบัญญัติทางความคิดของมนุษย์เข้ามาแบ่งแยกนั้นเองว่าเป็นนั้นเป็นนี่ เป็นนู้น สูตรมหายานที่เขียนแสดงทัศนะนี้คือ ปรัชญาปารมิตาทั้ง12เล่ม

    ความหมายทื่สองใช้ในความหมายเดียวกับ สำนักวิญญาณวาทิน ที่มี อสังคะและวสุพันธ์ เป็นเจ้านิกาย คำว่า จิตหนึ่ง จึ่งเท่าเทียมกับอาลยวิญญาณ ของสำนักนี้ หรือเท่าเทียมกับภวังค์จิตในอภิธรรมเถรวาท คือ เป็นฐานรองรับของสิ่งทั้งปวง ทั้งนิพพานและสงสารวัฏ หรือทั้งสังสารและวิสังขาร ล้วนเป็นภาพฉายมาจากจิต(แท้) รวมไปถึงวิญญาณต่างๆๆ(อีก6 และ สำนึกรู้ที่ไปยึดมั่นว่านี่คือกู(มนัส))กับวัตถุทั้งหลาย ก็ล้วนเป็นภาพฉายมาจากจิตแท้
    อาลยวิญญาณ แท้ที่จริงแล้วเทียบเท่ากับหลักตถตา(ความเป็นเช่นนั้นเอง) คือหมายความว่าธรรมชาติเดิมแท้ของสรรพสิ่งคือความเป็นเช่นนั้นเอง(คล้ายกับทัศนะแรกแต่จุดเน้นต่างกัน)
    สูตรมหายานที่เป็นตัวแทนทัศนะนี้คือ ลังกาวตารสูตร และคัมภีร์ปกรณ์อื่นๆๆที่รจนาโดย สำนักวิญญาณวาทิน รวมไปถึงพระอภิธรรม



    ความหมายที่สาม ใช้ในความหมายเดียวกับ สำนักจิตภูตตถตาวาทิน คือจิตอมตะ จิตสากลนั้นเอง(สังเกตุว่าคล้ายหลักปรมาตมันของฮินดูมาก) คือไม่ได้พูดว่าจิตนี้ไม่เกิดดับ แต่พูดว่าจิตที่เกิดดับไม่ใช่จิตแท้ จิตแท้คือสภาวะภูตตถตา หรือบางครั้งใช้คำว่าธรรมชาติแห่งความรู้ตัว(พุทธภาวะ)ที่แฝงอยู่ในสรรพสิ่งต่างหายที่เป็นธรรมชาติเดิมแท้ของสรรพสิ่ง โดยเป็นของบริสุทธิ์โดยธรรมชาติ ไม่อาจจะระบุได้ว่ามีตัวตนหรือไม่มี ไม่ใช่ของสั้นของยาวของเป็นคู่ๆๆทั้งหลาย สำนักนี้ก่อตั้งโดยอัศวโฆษ และถูกพัฒนาโดยอ.ชาวจีนยุคก่อนหน้าที่เซนจะเข้าไปมีอิทธิผลในจีน

    สูตรมหายานที่เป็นตัวแทนทัศนะนี้คือ อวตัวสกสูตร สัทธรรมปุณฑริกสูตร ตถาคตครรภสูตร มหายานสูตราลังการะ

    ถ้าใครจับประเด็นถูกจะเห็นว่า ทั้งสามทัศนะนี้พูดกันไปคนและเรื่องเลย แล้วอ.เซนคนเดียวกันทำไมถึงยอมรับทั้งสามทัศนะ อ.เซนไม่รู้หรือว่าขัดแย้งกันหรือ พูดเอาแบบนกแก้วนกขุนทอง หามิได้ อ.เซนรู้ แต่เน้นว่า มันเป็นเพียงอุปายะจะพูดแนวไหน ก็ไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงของสัทธรรมทั้งนั้น สัทธรรมเป็นเรื่องเหนือคำพูด ขอให้เอาคำอธิบายของอ.เซนมาดูจะพบว่า ใช้ในสามความหมายนี้ โดยอ.เซนถือว่า จะใช้อันไหนก็ได้ ถ้ามันช่วยให้ศิษย์เห็นธรรมชาติเดิมแท้ของตน คือช่วยให้ศิษย์บรรลุธรรม หรือคลายจากความยึดถือแล้วแต่กรณีไป เป็นใช้ได้ เช่นก รณีแรกช่วยให้คนพ้นจากความยึดถือเป็นคู่ๆๆได้แต่ คนบางคนก็อาจจะไม่เกิดผลเพราะไปเข้าใจว่างในฐานะไม่มีเสีย หรือ กรณีที่สามก็อาจจะช่วยบางคนที่ยึดถือว่ามีตัวกูที่แยกอิสระจากสรรพสิ่ง กูไม่เกี่ยวกะมึงกะนั้นนี้(กรณีนี้บอกว่าไม่ใช่ กูก็คือมึงนั้นแหละ เพราะ โดยรากฐานกูกะมึงก็คือ พุทธ หรือมีพุทธภาวะเป็นธีรรมชาติเดิมแท้เหมือนกัน) แต่อาจจะเป็นอันตรายของคนอีกคนที่หลงไปยึดจิตสากลเอา ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิแบบ ฮินดูไป

    อุปมาธรรมย่อมเหมือนแพที่ใช้ข้ามฝั่งไม่ใช่ฝั่ง เซนจึ่งมีสำนวนนิ้วชี้ไปที่ดวงจันทร์แต่จงอย่าติดที่นิ้ว ปรัชญาพุทธก็เป็นเพียงนิ้วหาใช่สัจจะแท้หรือพระจันทร์ไม่ กล่าวก็คือเซนใช้คำสอนเป็นอุปายะเท่านั้น เซนเน้นย้ำว่ามันต้องรู้ด้วยใจ ถึงธรรมะแท้ๆๆ การพูดออกมาก็ไม่ใช่ของแท้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น สุญญตา ตถตา จิตสากล

    ขอให้สังเกตว่า เต๋าในความหมายของลัทธิเต๋าเองก็คล้ายทั้งสามกรณีเช่นกันลัทธิเต๋าไม่ได้ให้คำนิยามลงไปแน่ชัดว่าเต๋าเป็นยังไง เพราะเต๋าที่บอกเล่าได้ย่อมไม่ใช่เต๋า นี้คือสิ่งที่เล่าจื่อนิยามเต๋า เขากล่าวว่าเต๋าที่บอกเล่าได้ไม่ใช่เต๋าที่แท้ นามที่เรียกขานสิ่งต่างๆๆนั้นไม่ใช่สิ่งที่จีรัง เต๋าคืออะไร? มันไม่ใช่รูปไม่ใช่นามไม่รู้จะเรียกอะไร งั้นฉันก็ขอเรียกเต๋าไปพลางๆๆก่อน.........และข้อดีของการเข้าไปของพระพุทธศาสนาในจีนก็คือทำให้คนจีนเข้าใจลัทธิเต๋า(ยุคแรกเริ่มที่เป็นธรรมบริสุทธิ์ ก่อนยุคที่เสื่อมเพราะไสย์เวทย์) คือเข้าถึงแก่น เต๋ากับพุทธศาสนาจึ่งเป็นเหมือนสิ่งที่ช่วยเติมเต็มซึ่งกันและกันในสายตาของคนจีนยุคนู้น.....

    นอกจากนั้จะเห็นว่าเซนไม่แยกความแตกต่างของพระจากฆาราวาสโดยสนับสนุนให้ฆาราวาสปฏิบัติธรรมได้เท่าเทียมกับพระ แบบพระ ทั้งๆๆที่เป็นฆาราวาส เซนจึ่งไม่ได้ยกพระขึ้นเหนือฆาราวาส อันนี้ก็เป็นอิทธิผลจากวิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งน่าเสียดายที่ในยุคหลังที่นิกายเซนในญี่ปุ่น ดันทำผิดวัตถุประสงค์คือ พระไปเลียนแบบฆาราวาส เลยแต่งงานมีเมียเสียเยอะ ทั้งนี้เพราะการสนับสนุนจากรัฐและการเลียนแบบนิกายสุขาวดี(ที่ญี่ปุนเรียกนิกายชิน) ที่สนับสนุนให้พระมีเมีย เพราะเป้าหมายคือการไปแดนสุขาวดี ดังนั้นการเป็นพระเป็นฆาราวาสการทำกรรมหนักแค่ไหนไม่สำคัญขอให้เพียงยึดพระอามิตาภะเป็นที่พึ่งด้วยใจบริสุทธิ์สำนึกแท้จริงก็พอย่อมได้ไปสุขาวดีทุกคน


    แม้เซนจะอ้างว่า เราถ่ายทอดนอกคัมภีร์ แต่อันที่จริงเซนยืนอยู่บนหลักปรัชญาทุกสำนักของพุทธที่ถ่ายทอดผ่านวรรณกรรมพุทธอย่างพระไตรปิฏก ปกรณ์ต่างๆๆ รวมไปถึงสูตรมหายาน (มหายานรวมไปถึงฝ่ายเถรวาทและลัทธิเต๋า อาจจะรวมขงจื่อและลัทธิชา ลัทธิบูซิโด ด้วยซ้ำ) เพราะอ.เซนล้วนเป็นผู้รู้ในเรื่องพวกนี้ระดับนักวิชาการ แม้ภายนอกจะดูเหมือนพระกรรมฐานธรรมดาๆๆ แต่กระนั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นเช่นนี้ ส่วนใหญ่ที่เป็นเช่นนี้มักจะเป็นมาก่อนปฏิบัติเซนหรือเข้าถึงเซนแล้ว ทั้งนี้เพราะ เซนสรุปว่า การแบกความรู้ทฤษฏีมากเกินไป ย่อมรังแต่ไปสร้างม่านอวิชชาให้คนๆๆนั้น ดั้งนั้นเซนจึ่งเน้นที่การใช้หลักธรรมะและปรัชญาที่พอดีและเอาไปใช้ได้จริง ไม่เน้นแบกตำราที่มากเกินไป พระเซนบางรูปหลังจากเข้าถึงเซน(พูดแบบสมมตินะ)จึ่งตรงเข้าไปฉีกตำรา เผาตำรา ทิ้ง อันที่จริงเราไม่รู้ว่าท่านทำแบบนี้จริงไหม? แต่ประเด็นก็คือต้องการจะสื่อประเด็นนี้นั้นเอง

    จุดเด่นของเซนไม่ใช่การใช้สติปัญญาขบคิด แต่คือ การปฏิบัติลงไปในชีวิตประจำวัน อย่างมีสติ เพื่อให้เกิดปัญญาญาณ สมาธิแบบเซนจึ่งไม่ใช่แค่การนั่งหลับตา แต่ทุกอริยาบถต้องรักษาความรู้ตัวเอาไว้ คือ นั่งรู้เดินรู้นอนรู้ คิดรู้ เห็นกลไกการเกิดขึ้นของความคิดของอารมณ์ ความยึดติด จนแจ้งใจอย่างฉับพลัน ไม่ต้องอาศัยคำพูด รู้แบบลืมๆๆ เห็นความคิดแต่ไม่ต้องเข้าไปในความคิด คือ เคล็ด ดังนั้นตำราจึ่งเป็นเพียงเครื่องมือไม่ใช่เป้าหมาย เมื่อถึงจุดหนึ่งต้องฉีกตำรา แล้วเข้าไปสัมผัสความเป็นจริงที่ตำราพยายามพูดถึง(แต่ก็พูดไม่ได้) นั้นด้วยตนเอง และการแบกความรู้ทฤษฏีมากเกินไป ย่อมรังแต่ไปสร้างม่านอวิชชาให้คนๆๆนั้น ดั้งนั้นเซนจึ่งเน้นที่การใช้หลักธรรมะและปรัชญาที่พอดีและเอาไปใช้ได้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2013
  15. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ไม่ต้องฉีกตำรา แค่ไม่ติดตำรา ยกย่องตำรา ยกย่องครูบาอาจารย์ ยกย่องคุณแห่งพระรัตนตรัย เพียงแต่รู้จักแยกแยะเปลือกกับแก่นเท่านั้น


    ไม่ติดเปลือก แต่ก็ไม่ทิ้งเปลือก


    เข้าถึงแก่น เข้าถึงความสงบ ลด ละ ปล่อยวาง แต่ก็อนุเคราะห์ต่อสรรพชีวิต


    เพราะปล่อยวาง มิใช่ปล่อยทิ้ง ใช่ไร้เมตตากรุณา


    หน้าที่ดำเนินไป แต่ใจไร้กังวล หมดสิ้นตัวตน ธรรมชาติ ธรรมดา


    สูงสุดหรือสามัญ ล้วนอยู่ที่ใจ ใช่ที่ภายนอก




    ข้อคิดสะกิดธรรม


    ทำไมต้องเอาแต่คิดว่าจะนั่งสมาธิ ทำไมไม่คิดนั่งสติบ้าง


    และการเจริญสติมีท่าบังคับหรือยังไง หรือแค่ให้ "รู้" ในอิริยาบถนั้นๆ ในปัจจุบันขณะ แล้วปล่อยวางความรู้สึกที่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ และอัตตาตัวตนให้ได้


    ความปล่อยวาง ไม่ได้เกิดจากความปรุงแต่งของจิต


    แต่การปล่อยวางความปรุงแต่งต่างหาก ที่ทำให้จิตเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง




    ถ้าเข้าใจสิ่งหนึ่ง ก็เข้าใจทุกสิ่ง


    สิ่งหนึ่งที่ว่านั้นก็คือ จิต


    จิตไม่มีตัวตน แล้วเราจะสร้างตัวตนของจิตขึ้นมาทำไม


    เพราะเมื่อมีตัวตน ก็ต้องมีภพชาติ


    เมื่อมีภพชาติ ก็มีสังสารวัฏ


    การปฏิบัติธรรม คือการทำลายตัวตนของจิต สลายความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน


    มีจิต ก็สักแต่ว่ามี


    ใช้จิตตามที่ควรจะใช้


    เมื่อใช้เสร็จแล้วก็วาง


    อาศัยสมมติ เพื่อวิมุติ


    กายปรมัตถ์ จิตปรมัตถ์


    มีพระนิพพานคือความว่างเป็นอารมณ์ของจิต


    แค่อาศัย แต่ไม่ยึดถือ



    ความว่างไร้รูปนาม

    เมื่อไร้รูปนาม ก็ไม่ต้องดูแล

    เมื่อไม่ต้องดูแล ก็ไม่ต้องห่วงใย

    เมื่อไม่ต้องห่วงใย ก็ไม่ต้องกังวล

    เมื่อไร้กังวล ก็ไร้ทุกข์ในใจ

    เพียงทำหน้าที่โดยหน้าที่ ใส่ใจในความว่าง ปล่อยวางสิ่งที่ควรปล่อยวาง รักษาสิ่งที่ควรรักษา ใจมีคุณค่าสูงสุด

    พุทธะอยู่ที่ใจให้ค้นหาเอา





    ปัญญา สามารถสั่งสมได้ ด้วยการเจริญสติ (ฝึกสติอย่างต่อเนื่อง)

    เมื่อถึงที่สุดแห่งการเจริญสติ ความรู้แจ้งก็ปรากฏ เป็นที่สุดแห่งปัญญา เป็นที่สุดแห่งจิต ไม่ลบเลือนหายไป คงอยู่เช่นนั้นตลอดกาล เรียกว่า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ได้





    อย่าให้พิธีกรรม บังศาสนธรรม

    อย่าให้รูปแบบของการปฏิบัติธรรม บังมรรค ผล นิพพาน

    ผู้ที่ข้ามพ้นความสงสัยในข้อปฏิบัติได้ อาจเข้าถึงธรรมได้โดยฉับพลัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...