ฟรี..โครงการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย zipper, 14 มิถุนายน 2005.

  1. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    เจริญพร

    ขออนุโมทนาโยมสมบูรณ์ ทำได้ดีมาก อาตมาจะได้ส่งแผนที่นี้ให้ชาวต่างประเทศที่สนใจมาอบรมได้ดู ซึ่งจะได้ประโยชน์ในการเผยแผ่ธรรมให้กับชาวต่างประเทศต่อไป

    HOME ENGLISH CENTER

    สำหรับการอบรมกลุ่มเล็กวันนี้ ก็ค่อยๆเพิ่มจากวันก่อน 5 คน วันนี้ เพิ่มเป็น 10 ท่าน ก็ขออนุโมทนาที่นั่งปฏิบัติกันได้ดีทุกท่าน วันนี้ก็ให้อุบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญสมาธิและการเจริญสติคู่กันไป เป็นการปฏิบัติตามนัยที่หลวงพ่อกัสสป มุนี ได้ให้อุบายกับอาตมาเสมอว่า สมาธิ และ สติ ให้เจริญไปพร้อมๆกัน คู่ขนานกันไป อันนี้ จะทำให้กระแสจิตและกระแสวิญญาณขนานแบบไม่แนบชิดกัน คือ ขนานแบบถอยห่างจากกัน กล่าวคือ สมาธิก็นิ่งไป แต่สติไม่ไปนิ่งแช่เย็นอยู่ในสมาธิด้วย คือให้สติทำงานของเขาไปด้วย เริ่มต้นจากการที่สติระลึกรู้อยู่ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่สติ ขณะเดียวกันสติก็ชำเลืองดูจิตไปด้วย จิตนิ่งก็รู้ว่าจิตนิ่ง จิตคลายออกก็รู้ว่าจิตคลายออก จิตเคลื่อนไปก็รู้ว่าจิตเคลื่อนไป จนจิตตสังขารค่อยๆรำงับไป จากที่เคยนิ่งด้วยการกำกับด้วยสมถะ ก็จะเริ่มเป็นความนิ่งสงบอันเนื่องด้วยเกิดความเป็นกลางของจิตเอง โดยสติเห็นความเป็นไปของจิตโดยตลอด พร้อมๆกับ สติรู้อยู่ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายนอกทั่วสรรพางค์กาย และความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายในต่างๆด้วย อาทิ ความเป็นไปของลมหายใจที่แผ่วเบาประณีต และความเป็นไปของอาการทางใจที่ค่อยๆคลายออก หรือบางครั้งยื้อๆยุดๆ และ คลายออกมากขึ้นไปตามลำดับ อันนี้ จึงเป็นการฝึกให้จิตเขาทำงานไปสู่ความนิ่ง สัมปชัญญะทำงานไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และสติทำงานไปสู่การระลึกรู้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายในและภายนอก พร้อมๆกับรู้อาการความเป็นไปของจิตคู่กันไปด้วย โดยสติอยู่กลางๆสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้รูปและนาม สักแต่ว่ารู้รูปและนามที่แยกกันแบบซ้อนๆกันอยู่ โดยสติไม่เผลอไปยึดรูปและไม่เผลอไปยึดนามนั้น ความเป็นกลางๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้ ก็จะทำให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ค่อยๆพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้ที่มีความเป็นกลางๆมากขึ้น และถึงพร้อมด้วยปัญญาญาณหรือญาณทัสสนะไปโดยลำดับ อันนี้จึงเรียกว่าสัมปชัญญะเป็นตัวปัญญา ก็ด้วยนัยการระลึกรู้ด้วยสติดังกล่าว

    อนึ่ง สำหรับอุบายของครูบาอาจารย์ที่ให้จิตภาวนาพุทโธๆๆ อยู่เนืองๆ ก็จะเป็นการตัดสายพานลำเลียงกิเลสที่ฝังตัวอยู่ในอนุสัยกิเลสในจิตใต้สำนึกอยู่ลึกๆ ไม่ให้สามารถมีอิทธิพลต่อจิตสำนึกได้ เรียกว่าการภาวนาพุทโธๆๆ อยู่เนืองๆๆ จะสามารถลากกิเลสให้ไหลกลับไปสู่อนุสัยกิเลสที่ฝังตัวอยู่ในจิตใต้สำนึกหรือลากกิเลสกลับบ้านเก่านั่นเอง เมื่อกิเลสถูกลากลับบ้านเก่า หรือ ถูกตัดสายพานลำเลียงเสบียงด้วยการให้จิตภาวนาพุทโธอยู่เนืองๆๆๆ เมฆหมอกของกิเลส
    ที่เคยปกคลุมจิตก็จะค่อยๆจาง คลาย หายไปกลับบ้านเก่าในจิตใต้สำนึก ขณะเดียวกัน จิตสำนึกหรือสำนึกรู้ก็จะเป็นอิสระจากกิเลสและสามารถพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้
    ที่อยู่เหนือความครอบงำของกิเลส เมื่อใจผู้รู้เริ่มเป็นอิสระอยู่เหนือความครอบงำของกิเลส การเห็นแจ้งตามความเป็นจริงหรือวิปัสสนาญาณ 9 หรือ ญาณ 16
    ก็จะเจริญงอกงามผลิดอกออกผลในที่สุด

    อาตมาจึงขอสรุปอย่างมั่นใจว่า การภาวนาพุทโธ ถ้าภาวนาเป็น ผลที่ได้จะได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาไปในตัว แต่ถ้าภาวนาไม่เป็น คือ พุทโธๆๆๆ แล้วเอาทั้งสติและความรู้สึกไปกำหนดพุทโธ แบบตอกย้ำ ๆ แทนที่สติสัมปชัญญะจะพัฒนาต่อไปเป็นสำนึกรู้และใจผู้รู้ที่อยู่เหนือจิตอยู่เหนือกิเลส ตรงกันข้ามสำนึกรู้จะไหลลงไปเกาะยึดฝังตัวอยู่ในคำภาวนาพุทโธนั้น และพอนิ่งๆไปนานๆๆ มากเข้าๆ สติก็จะอ่อนกำลังลงไปอีก จนไหลลงสู่ภวังค์ในที่สุด ฉะนั้น การภาวนาพุทโธ ตามนัยดังกล่าวจึงเป็นอุบายที่ดีมากในการดึงเมฆหมอก คือกิเลสให้กลับคืนสู่อนุสัยกิเลสในจิตใต้สำนึก หรือ เท่ากับเป็นการตัดสายพานลำเลียงกิเลส ไม่ให้กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานหรืออนุสัยกิเลส ได้มีโอกาสไปแสดงฤทธิ์เดชต่อจิต หรือครอบงำจิตได้อีกต่อไป และเมื่อเมฆหมอกคือกิเลสจางคลายและหายไป สำนึกรู้ก็จะเกิดขึ้นแทนเมฆหมอกของกิเลส และสามารถพัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้โดยลำดับ ส่วนอุบายในการปฏิบัติธรรมของอาตมาคือ การยกสำนึกรู้ให้อยู่เหนือกิเลส โดยอาศัยการทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เนืองๆ พร้อมๆกับมีสติรู้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายในและภายนอกอย่างทั่วถึง ผลของการเจริญสติในสัมปชัญญะ กล่าวคือ การระลึกรู้อยู่ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อม จะทำให้เกิดสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกที่ลอยอยู่เหนือกิเลส และเมื่อมีสติต่อเนื่องจนเกิดภาวะความเป็นกลางๆ อยู่เนืองๆ สำนึกรู้นี้ก็จะพัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้ที่อยู่เหนือการครอบงำของกิเลส เกิดเป็นใจผู้รู้ที่ถึงพร้อมด้วยญาณปัญญาหรือญาณทัสสนะยิ่งๆขึ้นไป

    ฉะนั้น ในการเจริญภาวนา ถ้าผู้ปฏิบัติรู้จักใชัอุบายในการภาวนาพุทโธ (ลึกๆ แผ่วเบาแต่มีพลัง ด้วยจิตด้วยใจ) บ้าง หรือ บางครั้งฝึกเจริญสติสัมปชัญญะ คือ มีสติระลึกรู้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายในและภายนอกอย่างทั่วถึงบ้าง หรือ อาจจะภาวนาพุทโธไปด้วย พร้อมๆกับการเจริญสติระลึกรู้ ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมดังกล่าวด้วย ก็จะได้รับอานิสงส์ของการใช้อุบายดึงกิเลสให้กลับบ้านเก่าคือกิเลสสันดานหรืออนุสัยกิเลสที่ฝังตัวอยู่ในจิตใต้สำนึก และพร้อมๆกันนั้นก็สามารถยกสำนึกรู้ให้อยู่เหนือกิเลส จนเกิดเป็นใจผู้รู้ที่ถึงพร้อมด้วยญาณปัญญาหรือญาณทัสสนะยิ่งๆขึ้นไป ท้ายนี้อาตมาต้องกราบน้อมระลึกในคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ให้อุบายในการภาวนาพุทโธดังกล่าว อันเป็นอุบายในการเจริญสติ และ เจริญสมาธิคู่ขนานกันไปพร้อมๆกัน ตามนัยแห่งการทำงานประสานกันไปอย่างเหมาะเจาะพอดีตามบทบาทและหน้าที่ของพ่อคือสติ แม่คือสัมปชัญญะ และลูกคือจิต ดังที่ได้บรรยายมาก่อนหน้านี้
    ************************************************************************************************

    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 4 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00​
     
  2. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,227
    ค่าพลัง:
    +10,593
    อืมใช่ครับ คิดว่าคงไม่ลึกเหมือนของพุทธหรอก อันนั้นเหมือนฝึก สมาธิและสติ แล้วเอาประโยชน์ที่ได้ไปใช้ในอีกทางนึง

    จะว่าไปกีฬาพวกที่ต้องมีการจัดท่าทางให้ถูกอย่างตีกอล์ฟเนี่ยมันก็เหมือนกับเป็นการฝึกสติเหมือนกันนา เพราะว่าตอนที่ตีกอล์ฟเนี่ยท่าทางต้องได้ ตอนนั้นก็ต้องอาศัยสติมาจับท่าทาง เอหรือจะว่าใช้เฉพาะตอนฝึกใหม่ๆ ก็ไม่รู้ พอคล่องแล้วท่ามันจะได้เองโดยที่ไม่ต้องไปจับอะไรมันเลย
     
  3. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ฮั่นแน่...กะลังจาบอกว่า เป็นน้องๆไทเกอร์ วูด ละซิ ...
    ว่าแต่ อย่าหวดมาโดนหัวเรานะ ...คิกๆ

    ที่พูดมา ..เรื่องกีฬา เห็นด้วยนะ หรือเรื่องต่างๆ หากได้ใช้ทั้งสมาธิ
    และสติ อย่างน้อย ก็ย่อมทำให้ สิ่งที่เราทำอยู่ เกิดประโยชน์
    มากขึ้นแน่นอน อาจทำให้ความผิดพลาดน้อยลง ไปมากๆ

    ความจริงเราสามารถนำเรื่องการเจริญสติ และสมาธิ มาเป็นเรื่อง
    การฝึกทักษะ ก็ดีนะ จะได้ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก เพราะเรื่อง
    อะไรก็ตาม หากเราต้องฝึก ต้องทำ เพื่อให้เกิดความชำนาญ
    ก็ต้องอาศัยเวลา และความอดทน ทั้งนั้น เช่น กว่าจะเป็นนัก
    กีฬาเหรียญทอง หรือนักเขียน นักประพันธ์มืออาชีพ นักการตลาด
    นักพูด นักแสดง ต้องมีสมาธิ และสติแน่นๆ เลยนะ แถมความอดทน
    และการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ อีก จริงไหมค่ะ..หนุ่มน้อย

    แต่เอ..พี่ว่าเราเนี่ย มีความอ่อนโยน และความน่ารักในจิตใจมั่กๆ
    แน่ใจนะ.ว่าเป็นหนุ่มน้อย ??? อะคิก..อะคิก
     
  4. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,227
    ค่าพลัง:
    +10,593
    เรื่องตีกอล์ฟอ่ะ เพื่อนมันชวนไปไดร์ฟกอล์ฟแค่ 2-3 ครั้งเอง ยังไม่ค่อยคล่องเท่าไหร่หรอก ไปไดร์ฟครั้งสุดมันก็นานโข ตียังไกลไม่ถึง 100 หลาเล้ยย

    ยังเป็นหนุ่มน้อยอยู่เล้ยย ถามยายจิเคยให้หน้าป๋ม ยืนยัน ได้ ปลอมเป็นเด็กมหาลัยได้เลย อิอิ
     
  5. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    สรุปแล้ว..ชอบนั่งหน้าคอมมากกว่า ใช่ปะ 5555
     
  6. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,227
    ค่าพลัง:
    +10,593
    หุหุ ก็เพื่อนมันตั้งแต่มีแฟนมันก็เลิกชวนไปโน่นไปนี่แล้ว
    วันๆ ถ้าไม่ได้ทำอะไรก็เปิดคอมเล่นนี่แหละ
     
  7. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    อืมม..ดีนะ มีเวลามากขึ้น แต่ก็คงเหงาบ้างนะ ..เป็นธรรมดา
    แต่ช่วงเวลาว่าง หากไม่อยากเบื่อก็ฝึกทักษะ
    การเจริญสตินี่แหละ เราเองก็ใช้วิธีนี้ บางครั้งก็ดูอารมณ์
    เบื่อก็ดูว่ามันกำลังเบื่อ สักพักก็หาย เพราะมันเหมือน
    มีผู้คุม เลยไถลไปไกลไม่ได้ ต้องจำกัดวงแคบๆ
    พอรู้ตัวแล้วก็ ตั้งสติต่อ เลยไม่มีเวลาว่างสักเท่าไหร่
    หุ หุ หุ ประหยัดอีกต่างหาก ไม่งั้นต้องวิ่งโร่ ไปข้างนอก
    กระเป๋าแฟบอีก ยิ่งช่วงนี้มาตรการรัดเข็มขัด กำลังเป็นที่นิยมด้วย...

    ซิป..อยู่ที่ทำงานเดียวกะ หนูผึ้งปะ
     
  8. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,227
    ค่าพลัง:
    +10,593
    ตอนนี้เพิ่งฝึกมาได้นานเท่าไหร่ วันๆนึงก็ไม่ค่อยได้ทำนานด้วย เห็นบางคนว่าฝึกไปๆ เหมือนกับว่าจิตกับกายแยกออกจากกัน ตอนนี้ยังเหมือนกับว่ายังอยู่รวมกันอยู่ ยังไม่ถึงเท่าที่เค้าว่ามา คงต้องฝึกอีกเยอะ

    ไม่ได้ทำงานอยู่ที่เดียวกับผึ้งหรอก ผึ้งเค้าทำงานอยู่ที่ไหนก็ยังไม่รู้เลย
     
  9. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 5

    จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา
    Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  10. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ข้อความข่างบนนี้ หนุ่มน้อยกลอยใจ ลองทำความเข้าใจ
    และค่อยๆ ปฏิบัติดูนะ จะตอบปัญหาที่เคยมีผู้บอกว่า
    ได้ยังไง
     
  11. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ความคิดเห็นที่ 157 : (wit)
    แจ้งลบ | อ้างอิง |
    หลวงพ่อครับ ถ้าผมจะแค่รู้สึกตัวทั่วพร้อมคอยสังเกตุความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในกายไปเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการมีสติอยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกายทั่วพร้อมบ้างเป็นส่วนๆบ้าง อย่างนี้จะได้รึเปล่าครับ เพราะผมรู้สึกถูกจริตกับการปฎิบัติลักษณะนี้ และเห็นว่าปฎิบัติง่ายได้ทุกอิริยาบถ และเป็นธรรมชาติดีครับ

    ความรู้สึกภายในกายนั้นบางทีผมก็รู้สึกถึงชีพจรที่เต้นไปทั่วร่างกายนะครับ เหมือนกับตอนที่เราจดจ่ออยู่ภายในกายนั้น แรกๆลมหายใจจะถี่และก็หายใจเข้าออกสั้นและถ้าพยายามจะไปเพ่งหรือจดจ่อให้สติอยู่ที่กาย ก็จะรู้สึกว่าลมหายใจเริ่มติดขัด แต่พอผมเปลี่ยนความจดจ่อให้ไปอยู่กับความรู้สึกทั่วกายที่ไม่ใช่ลม สักพักก็จะมีความรู้สึกที่เป็นชีพจรนี่แหล่ะครับเต้นขึ้นมาทั่วร่างกาย แล้วผมก็จะไปจอจ่ออยู่กับชีพจรที่เต้นเหล่านั้นแทน พอไปสังเกตุความรู้สึกที่เหมือนชีพจรที่เต้นนั้นแล้ว ความอึดอัดของการที่ลมหายใจถี่และเหมือนกับหายใจไม่ค่อยออกนั้นก็ค่อยๆหายไป กลายเป็นความสบายเกิดขึ้นมาแทน และลมหายใจก็ผ่อนคลายและไม่อึดอัดแล้ว แต่ก็ยังแผ่วเบาเข้าสั้นออกสั้นอยู่ โดยที่เรามีสติจดจ่อความรู้สึกที่เต้นนั้นอยู่ทั่วร่างกายครับ

    เจริญพร
    ตอบคุณWit
    การมีสติอยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกายทั่วพร้อมเป็นองค์รวมบ้าง เป็นส่วนๆบ้าง อันนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะจิตของเรายังชอบกินอาหารหลายๆประเภท จะไปบังคับให้เค้ากินนั่นกินนี่อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นการฝืนธรรมชาติไป ข้อสำคัญคือเมื่อทานอาหารประเภทไหนก็ให้ทานด้วยสติด้วยสัมปชัญญะ คือต้องมีทั้งสติและสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวในการกิน ค่อยๆตักกินเข้าปาก พร้อมๆกับมีสติรู้อาการความรู้สึกของการเคลื่อนไหวอันเนื่องจากการยกช้อน ตักอาหารเข้าไปในปาก และกำลังเคี้ยวอาหาร ( ถ้ารู้เฉพาะส่วนก็รู้เพียงเท่านี้ แต่ถ้ารู้ทั่วพร้อมก็ต้องรู้ถึงรูปนั่ง อิริยาบทและการรับรู้สัมผัสของร่างกายทุกส่วนแบบเคร่าๆสบายๆด้วย ) สรุปให้มีสติระลึกรู้ในสัมปชัญญะของกายที่กำลังเคลื่อนไหว และสติจะเป็นผู้รู้การเคลื่อนไหวนั้น และเกิดเป็นความรู้ว่า นี่กายเคลื่อนไหวคล่องตัวดี หรือติดขัดอย่างไร ดังที่กล่าวว่าสัมปชัญญะเป็นตัวปัญญา ก็เป็นตัวปัญญาด้วยเหตุที่มีสติไปรู้ในสัมปชัญญะอีกทีหนึ่ง ลำพังสัมปฃัญญะโดยไม่มีสติ(ระลึก)รู้ก็จะเป็นแค่ความรู้สึก แต่เมื่อมีสติรู้ในความรู้สึกของสัมปชัญญะนั้น อันนี้จึงจะเกิดปัญญา เพราะฉะนั้น ต้องเจริญทั้งสติและสัมปชัญญะคู่กันไปจึงจะเกิดปัญญา ดังที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า
     
  12. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 6

    จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  13. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 7 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  14. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ให้เป็นใจผู้รู้ อันถึงพร้อมด้วยการรู้และการเห็น
    ***********************************************************************************************
    เจริญพร

    การเจริญสติเพื่อพัฒนาสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้นี้ เป็นกระบวนการพัฒนาสติในภารภาวนาลำดับต่อไปที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้มุ่งหวังเจริญเข้าสู่ทางอริยมรรค เพราะเมื่อสำนึกรู้ได้รับการพัฒนาให้เป็นใจผู้รู้แล้ว ในเบื้องต้นจะเกิดศักยภาพที่เหนือจากสำนึกรู้อันเป็นเรื่องของการรู้ด้วยตัวรู้สึกล้วนๆ ไปสู่การทั้งรู้และเห็นด้วยใจผู้รู้ไปพร้อมๆกัน กล่าวคือ การฝึกพัฒนาสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ ก็คือการฝึกพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ที่มีศักยภาพทั้งรู้และเห็นไปพร้อมๆกัน อันทำให้ถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะไปตามลำดับตามกำลังความแจ่มแจ้งของการเป็นผู้รู้นั้น
    ฉะนั้น สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมจนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ในระดับหนึ่งแล้ว หากมีความประสงค์ที่จะพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ต่อไปนั้น พึงหมั่นอบรมทบทวนการบ้านที่อาตมาได้เคยให้ไว้ในแต่ละบทอีกครั้งตั้งแต่ต้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ที่มีพละกำลัง พร้อมที่จะพัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้อันถึงพร้อมด้วยการรู้และการเห็นไปพร้อมๆกันในลำดับการพัฒนาสติในการภาวนาขั้นต่อไป ทั้งนี้ เพื่อความต่อเนื่อง หากผู้ปฏิบัติที่มีความสนใจในการพัฒนาสำนึกรู้นี้ให้เป็นใจผู้รู้ดังกล่าว สามารถมาเข้ารับการฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม นี้ในรอบเช้า 10.00-12.00 น. และเพื่อความสะดวกในเรื่องสถานที่ที่รับได้เพียง 30 ท่านต่อครั้งเท่านั้น อยากรบกวนช่วยแสดงความจำนงสมัครเข้ารับการฝึกอบรมครั้งต่อไปนี้ โดย email ให้อาตมาทราบเพื่อจะได้สำรองที่นั่งให้ อนึ่ง ท่านที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว แต่ขาดความต่อเนื่อง ทำให้สำนึกรู้ที่เกิดไม่มีกำลังหรือแข็งแรงพอ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในรอบบ่ายเวลา 13.00-15.00 เพื่อทบทวนการปฏิบัติสร้างความรู้สึกตัวทั่วพร้ัอมให้เกิดขึ้นจนเป็นสำนึกรู้ที่มีกำลังอีกครั้ง เพื่อที่จะพร้อมในการเข้าฝึกอบรมพัฒนาสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ในอาทิตย์ต่อๆไป

    ขอให้ทุกท่านหมั่นขยันภาวนาให้มากๆในช่วงเข้าพรรษานี้
    วิโมกข์

    *********************************************************************************************
    กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ประจำเดือนสิงหาคม 2548 จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้าทุกวันอาทิตย์ โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
    รอบที่ 1 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.00
     
  15. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    เจริญพร

    ดวงตานั้นเห็นได้แต่ภายนอก แต่ผู้รู้นี้เห็นได้ทั้งนอกและเห็นได้ทั้งใน เห็นนอก ก็คือ เห็นรูปที่มากระทบ ได้ยินเสียงที่มากระทบ เห็นในก็คือเห็นกายและใจตัวเองอย่างทั่วถึง กล่าวคือ เมื่อตาเห็นรูป ผู้รู้ก็เห็นรูปนั้นด้วย ขณะเดียวกันต้องฝึกไม่ให้ผู้รู้เห็นนอกอย่างเดียว เพราะจะทำให้ผู้รู้ไหลไปกับรูปที่เห็น จึงควรจะฝึกให้ผู้รู้เห็นในคือเห็นใจหรืออาการทางใจที่เป็นไปในภายในอย่างทั่วถึงด้วย เพื่อว่าผู้รู้จะได้เป็นกลางๆ ไม่ไหลไปกับรูปภายนอก และ ไม่ไหลเข้าไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาการทางใจอันปรุงแต่งด้วยอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน สิ่งภายนอกนั้นล้วนแต่เป็นมายาของจิต ดังจะเห็นได้จากนักปฏิบัติหลายท่าน เห็นนิมิตต่างๆบ้าง ในขณะภาวนา แล้วเผลอหรือลืมตัวปล่อยให้สติหรือผู้รู้ไหลไปกับนิมิตที่เห็นนั้น โดยลืมดูจิตดูใจของตัวเอง ผู้รู้ก็หลงเที่ยวไปในนิมิตที่เห็นนั้นจนหลงตัวเองว่าได้ตาทิพย์ หรือเป็นผู้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าหรือเป็นผู้วิเศษไป หรือเป็นผู้ไปถึงฝั่งคือพระนิพพานแล้ว ทำนองนี้ ซึ่งหารู้ไม่ว่ากำลังโดนจิตของตนเองหลอกตนเอง เพราะภาพหรือสิ่งที่เห็นในขณะภาวนานั้น ล้วนแต่เป็น Duplicate หรือ Copy ที่สะท้อนมาจากจิตใต้สำนึกอันปรุงแต่งไปด้วยกิเลสสารพัด ฉะนั้น เมื่อนักปฏิบัติเห็นนิมิตต่างๆ ก็พึงเห็นใจหรืออาการทางใจของตนไปพร้อมกันด้วย เพราะคำว่าDuplicate หรือ Copy นั้น ก็คือ มายาของจิตนั่นเอง อันนี้จึงเป็นตัวอย่างให้เราอุทาหรณ์ไว้อยู่เสมอว่า อะไรที่เราเห็นนั้น อาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง หรือ เป็นมายาของจิตนั่นเอง ฉะนั้น ผู้รู้อาจจะสูญเสียความเป็นผู้รู้เพราะมายาของจิตไปโดยไม่รู้ตัว เราจึงควรตรวจสอบความรู้ความเห็นของตนเองโดยการเห็นทั้งนอกพร้อมๆไปกับการเห็นทั้งในด้วยอยู่เสมอ เพราะการเห็นนอกโดยขาดการเห็นใน ผู้รู้จะเสียสมดุล และในที่สุดก็สูญเสียการเป็นผู้รู้ กลายเป็นโมหะหรืออวิชชาบังตาผู้รู้ แต่ผู้รู้จะเป็นผู้รู้ยิ่งๆขึ้นไปด้วยการเป็นผู้รู้ที่อยู่ตรงกลางๆระหว่างรูปและนาม คือ เห็นนอกและเห็นในด้วยไปพร้อมๆกัน อันนี้เป็นอุทาหรณ์ให้นักปฏิบัติภาวนาหลายๆท่าน พึงวางนิมิตที่เห็น ด้วยการมองด้านในให้เห็นใจหรืออาการทางใจ(จิตตสังขาร)ที่ไปสร้างตัวตนเป็นนิมิตอันเป็นเพียงมายาของจิตเท่านั้น เมื่อมองด้านในดังกล่าวนิมิตนั้นก็จะหายไป และ อาจจะไปเจอนิมิตที่เป็นมายาที่แยบยลกว่าแทน ก็พึงให้สำนึกรู้หรือใจผู้รู้มองด้านในเนืองๆ จนเค้าหยุดเล่นกับเราเพราะเรารู้เท่าทัน แต่หากเรามัวหลงเพลินยินดีปราโมทย์กับนิมิตต่างๆที่เห็นนั้น เราก็จะรู้ไม่เท่าทันในมายาของจิต จนผู้รู้สูญเสียความเป็นผู้รู้โดยที่เราไม่ทันเฉลียวใจ ฉะนั้น นักปฏิบัติหลายๆท่าน พึงไม่ควรประมาท เพราะความไม่ประมาทเท่านั้น ที่จะทำให้ท่านถอยกลับมาก้าวหนึ่งแล้วตรวจสอบความเป็นผู้รู้ของตนอยู่เนืองๆ ด้วยความไม่ประมาทนั่นเอง

    *************************************************************************

    กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน
    ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 10

    วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2548 จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  16. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    กำหนดการฝึกอบรมครั้งที่ 11 วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2548

    การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๐ ฝึกรู้ความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพื่อไปละความรู้สึกที่เป็นของ ๆ เรา
    ********************************************************************************************************
    หัวใจสำคัญของหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ก็คือ การละความยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา ของเรา การละความยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา ของเรา นั้นฟังดูเข้าใจไม่ยาก แต่เวลาถึงภาคปฏิบัติทีไร มักจะล้มเหลวหรือทำไม่เป็นผลสำเร็จ วันนี้อาตมาจึงอยากจะให้การบ้านหรืออุบายธรรมในการละตัวเรา ของเรา เพราะการที่เราตั้งหน้าตั้งตาฝึกเจริญภาวนานั้น เป้าหมายหลักก็คือ การละตัณหาอุปาทานนั่นเอง อุบายธรรมที่อาตมาอยากจะให้เป็นการบ้านสำหรับนักภาวนาทั้งหลาย ก็คือ การฝึกรู้ความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพื่อไปละความรู้สึกที่เป็นของเรา อันหมายถึงการละตัวเรา ของเราให้เป็นผลสำเร็จ ตามอุบายธรรมนี้ ต้องเริ่มต้นที่การฝึกละความรู้สึกว่าเป็นของๆเรา ไปสู่การฝึกละความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา หรืออีกนัยหนึ่ง ในเบื้องต้น เรายึดตัวเราก่อน เพื่อไปละของๆเรา นั่นเอง การยึดตัวเราก็คือ รู้ในความรู้สึกที่เป็นตัวเราด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อิ่มเอิบ ปีติปราโมทย์ กับความรู้สึกที่เป็นตัวเราด้วยความรู้สึกที่รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่เป็นปัจจุบันขณะกับจิต วิญญาณ และกายของเราอย่างทั่วพร้อม ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำว่ามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม หรือ สัมปชัญญะอันเป็นในภายใน ภายนอก และทั้งภายในภายนอก อันหมายถึงรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างทั่วถึงทั้งกายและใจนั่นเอง จนเกิดใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานที่รู้เห็นโลกคือกายอันยาววาหนาคืบนี้รวมทั้งโลกภายนอกตามความเป็นจริง (ยถาภูตญาณทัสสนะ) แต่ข้อสังเกตในหนทางการหลุดพ้นตามธรรมชาตินั้น จะเกิดความสงบรำงับ และ ความปราโมทย์ (ความบันเทิงใจในธรรม)ก่อน จึงจะเกิดเป็นใจผู้รู้ที่รู้เห็นโลกตามความเป็นจริงดังกล่าว อันหมายถึง หนทางการบรรลุธรรมแบบธรรมชาติโดยอาศัยความสงบรำงับ จนเกิดความปราโมทย์ (ความบันเทิงใจในธรรม) อันมีตัวเราเป็นที่ตั้ง หรือมีความปราโมทย์ ความสุขในธรรมอันเกิดจากตัวเราก่อนนั่นเอง กล่าวโดยสรุป การปฏิบัติธรรมที่ให้ได้ผลเกิดความก้าวหน้านั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีความสุขในการปฏิบัติธรรม เมื่อมีความสุขในการปฏิบัติธรรม ก็จะเกิดฉันทะในการปฏิบัติธรรมเอง จนเกิดวิริยะ จิตตะ วิมังสา อันถึงพร้อมด้วยอิทธิบาทภาวนานั่นเอง การที่ผู้ปฏิบัติธรรมแล้วจะมีความสุขในการปฏิบัติธรรมได้นั้น ผู้ปฏิบัติต้องเห็นประโยชน์ของการปฏิบัติธรรมจริงๆ อาทิ เห็นว่า การปฏิบัติธรรมคือ การมีสติอยู่กับปัจจุบัน และการมีสติอยู่กับปัจจุบัน ก็คือการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งหลายอยู่เนืองๆ เพราะสิ่งต่างๆในวันพรุ่งนี้ วันมะรืนนี้ ก็จะเคลื่อนมาสู่ปัจจุบันเป็นสิ่งใหม่ๆให้เราได้เรียนรู้ ในปัจจุบัน ทีละขณะๆ อยู่เนืองๆ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในปัจจุบันนั้น เป็นการเรียนรู้ที่เห็นแจ้งเข้าไปถึงใจเจ้าของอันเป็นภาวนามยปัญญา ต่างกับจินตามยปัญญาที่ไปติดอยู่กับการคิดการนึก แต่ไม่สามารถเห็นแจ่มแจังเข้าไปถึงจิตถึงใจจนทำลายความยึดมั่นถือมั่นหรือทำลายกิเลสให้เบาบางไปจากใจเจ้าของได้


    มาถึงประเด็นการฝึกรู้ความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพื่อไปละความรู้สึกที่เป็นของ ๆ เรา นั้น ก็คือ การใช้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นปัจจุบันจนเกิดความสงบรำงับและปราโมทย์ในใจเนือง ๆ เพื่อไปละความรู้สึกในสิ่งภายนอกทั้งหลายว่าเป็นของ ๆ เรานั่นเอง ทั้งนี้ความรู้สึกหลงยึดมั่นในสิ่งภายนอกว่าเป็นของๆเรานั้น จัดว่าเป็นความรู้สึกจรที่แปลกปลอมและเป็นโทษเป็นภัยจนทำให้เกิดการความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆเราและเป็นตัวเราอย่างเหนียวแน่นมากขึ้น แต่เพราะเหตุที่ผู้ปฏิบัติเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสติอันมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นฐานกำลังแก่สติอยู่เนืองๆ สติอันผู้ปฏิบัติเจริญดีแล้วนั้นจะคอยตรวจสอบสกัดกั้นความรู้สึกที่แปลกปลอมและเห็นโทษภัยของความรู้สึกที่หลงยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้น สี่งนี้เป็นของ ๆ เรา โดยตระหนักเห็นความจริงว่าลำพังตัวเราเองก็ไม่สามารถที่จะบังคับให้เป็นไปดั่งใจนึกปรารถนา นับประสาอะไรกับสิ่งภายนอกที่เราไปหลงยึดมั่นว่าเป็นของๆเราจะไปสามารถควบคุมจัดแจงหรือ จัดการให้เป็นไปดังใจปรารถนาได้อย่างไร? ฉะนั้น ผู้หมั่นเจริญสติ และสัมปชัญญะด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เนืองๆ ก็จะเห็นความจริงอันนี้ได้โดยไม่ยากและพร้อมที่จะสลัดคืนสิ่งแปลกปลอมอันเป็นความรู้สึกที่ยึดว่าเป็นของๆเราได้โดยง่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเพียรปฏิบัติเนืองๆ จนสามารถรู้และละ อยู่ที่ละได้ช้าหรือเร็วมากน้อยอย่างไรเท่านั้นเอง

    อาตมาอยากจะชี้ให้เห็นว่า การฝึกละตัวเรา ของเรา นั้น ถ้าเราไปพยายามละตัวเราก่อน มันจะยากลำบากเพราะเหตุเยื่อใยอาลัยอาวรณ์ที่ร้อยรัดความรู้สึกว่าของๆเรามากเท่าไร หากเทียบเยื่อใยอาลัยอาวรณ์ที่มัดความรู้สึกว่าเป็นตัวเรานั้นยิ่งมากกว่ามากนัก อุบายธรรมนี้ จึงมีเป้าหมายในการฝึกละความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา และของๆเราให้ได้ในที่สุด โดยเริ่มจากการฝึกละความรู้สึกว่าเป็นของๆเราก่อน คือ ค่อยๆละวางปลดเปลื้องเครื่องพันธนาการในสิ่งทั้งหลายภายนอกที่เราไปหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆเรา เช่น เกียรติยศของเรา ชื่อเสียงของเรา ลูกของเรา ภรรยาของเรา สามีของเรา ทรัพย์สมบัติของเรา อะไรทำนองนี้ เมื่อเครื่องร้อยรัดอันเป็นพันธนาการที่ร้อยรัดตัวเราด้วยของๆเรา ได้ถูกปลดเปลื้องออกไปโดยลำดับ เราจะรู้สึกโล่งเบา โปร่งเบาสบาย เพราะความที่เราสามารถลดละความรู้สึกยึดมั่นถื่อมั่นว่าเป็นของๆเรา อันเป็นเครื่องพันธนาการร้อยรัดจิตใจของเราได้โดยลำดับนั่นเอง ความสำเร็จในการที่จะละวางปลดเปลื้องเครื่องพันธนาการอันเป็นความรู้สึกว่าเป็นของๆเรานี้ จะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต้องอาศัยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นเครื่องอาศัยให้ใจเจ้าของมีความสุขสงบรำงับและ ปราโมทย์คือความบันเทิงในธรรมอันเกิดจากความยินดีปรีดากับการมีความสุขอยู่กับปัจจับันขณะด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเนืองๆ จนไม่อยากจะเหลียวแลไปยึดเอาสิ่งทั้งหลายภายนอกว่าเป็นของๆเรา เพราะระอากับความทุกข์รำเค็ญที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอันเนื่องมาจากความหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆเราเป็นเหตุนั่นเอง เพราะเมื่อความรู้สึกว่าเป็นของๆเราเริ่มรุนแรงขึ้น ก็จะส่งผลสะท้อนให้ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรารุนแรงขึ้นเช่นกัน หรือในทางตรงกันข้าม หากสามารถลดละความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายภายนอกว่าเป็นของๆเราได้ ก็จะส่งผลสะท้อนให้ความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราอ่อนกำลังลงหรือคลายความหลงทั้งในตัวเรา และของๆเราได้ไปพร้อม ๆ กันโดยปริยาย

    ลำดับต่อไปเมื่อผู้ปฏิบัติได้ฝึกรู้ความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพื่อไปละความรู้สึกที่เป็นของๆเราได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจในระดับหนึ่งแล้ว จะเห็นได้ว่าความรู้สึกที่หลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรานั้นก็จะบรรเทาเบาบางลงไปโดยปริยายเช่นกัน เพราะเหตุไม่มีความรู้สึกที่เป็นของๆเรามาคอยกระตุ้นให้ตัวเราหลงผิดในตัวเราอยู่เนืองๆ อุบายธรรมต่อไปเพื่อให้สามารถละความหลงผิดยึดมั่นถือมั่นทั้งตัวเรา และของๆ เราได้ไปโดยลำดับก็คือ การเจริญปัญญา ควบคู่ไปกับการเจริญสติ เพื่อให้สามารถละความยินดียินร้ายเพราะเหตุเห็นโทษความยินดียินร้ายทั้งในความรู้สึกยึดมั่นหลงว่าเป็นของ ๆ เราและความรู้สึกยึดมั่นหลงว่าเป็นตัวเราที่เข้าไปเสวยอารมณ์ หรือ พึงพอใจในความยินดียินร้ายนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เมื่อละความรู้สึกยึดมั่นว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นของๆเราได้ในระดับหนึ่งแล้ว ต่อไปก็ค่อย ๆ ฝึกหัดละความรู้สึกที่หลงยึดมั่นว่าเป็นตัวเราผู้เข้าไปเสวยอารมณ์ในความรู้สึกที่ยึดมั่นว่าเป็นของๆเรานั้น อีกชั้นหนึ่ง โดยการรู้สักแต่ว่ารู้ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราจนเกิดรู้ที่เป็นกลางๆ ที่อยู่เหนืออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นตัวเราได้ในที่สุด
    *****************************************************************************************************
    กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 11 วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2548

    จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  17. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ขอนำข้อความหลวงพ่อมาประชาสัมพันธ์ต่อค่ะ

    เจริญพร

    ด้วยหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนาได้ดำเนินการพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ใดที่สนใจจะมารับหนังสือ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://larndham.net/index.php?showtopic=16219&st=16 หากท่านใด ต้องการหนังสือหลายเล่มเพื่อไปแจกต่อให้กับผู้สนใจ สามารถมารับโดยตรงได้ที่อาตมา ในวันฝึกอบรม โดย email มาแจ้งให้อาตมาทราบว่ามีความประสงค์ต้องการรับหนังสือกี่เล่ม อาตมาจะได้เตรียมไว้ให้
    อนึ่ง สัปดาห์นี้ เนื่องจากหลวงพ่อติดกิจนิมนต์ไปอบรมนักศึกษาสถาบันราชภัฏวันอาทิตย์ จึงเปลี่ยนมาอบรมวันเสาร์แทน ส่วนสัปดาห์ต่อๆไป ก็จะอบรมวันอาทิตย์เหมือนเดิม ผู้สนใจสามารถมารับหนังสือได้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2548 เวลา 10.00-12.00 และ 13.00-15.00 น. และทุกๆวันอังคาร พฤหัส และ วันอาทิตย์ ในสัปดาห์ต่อๆไป ตามหมายกำหนดการการฝึกอบรมในhttp://larndham.net/index.php?showtopic=15296&st=197
     
  18. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวั

    การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๒ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยการมีสติรู้ความรู้สึก

    *********************************************************
    ความรู้สึกเกิดจากอะไร ? ความรู้สึกเกิดจากการกระทบของสิ่ง ๒ สิ่ง ได้แก่อายตนะภายนอก กระทบ กับอายตนะภายใน อาทิ ตากระทบกับรูป หูกระทบเสียง
     
  19. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การฝึกอบรมภาวนา ( รอบพิเศษ อบรม 1 วันเต็ม ) เสาร์ที่ 17 กันยายน

    ******************************************************************************************
    ประชาสัมพันธ์การฝึกอบรมภาวนา ( รอบพิเศษ อบรม 1 วันเต็ม ) เปิดอบรมแก่ผู้สนใจในวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2548 (ทั้งวัน) ที่บุญนิเวศน์สถาน ถนนบางนา-ตราด ตรงข้ามมหาวิทยาลัยหัวเฉียว รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่านเท่านั้น กรุณาดูรายละเอียดได้ที่
    http://larndham.net/index.php?showtopic=16438&st=2
    ******************************************************************************************
    การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๓ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยการมีสติอยู่เหนือความรู้สึก
    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๒ ได้ที่
    http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4

    ธรรมชาติเดิมแท้ของจิต นั้นประภัสสร คือ กระจ่าง ผ่องใส สว่างและบริสุทธ์ จนทำให้ผู้ที่ได้เข้าถึงจิตเดิมแท้ หรือแม้แต่ได้สัมผัสจิตเดิมแท้บ้าง จะมีอาการรู้ ตื่น เบิกบาน หากดูจากหน้าตาใบหน้าภายนอก ก็จะอิ่มเอม เบิกบาน ผ่องใส และเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ ทำให้เป็นผู้คล่องแคล่ว ว่องไว มีจิตอันควรแก่การงานทั้งปวง อันนี้ จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า หากผู้ใดปฏิบัติธรรมแล้วไม่ผ่องใส ไม่เบิกบาน ไม่ตื่น อันเป็นจิตที่ควรแก่การงานแล้วไซร้ คือ ปฏิบัติธรรมแล้วกลายเป็นคนเชื่องช้า ช้าไปหมด ไม่ตื่น รู้ เบิกบาน ไม่คล่องแคล่ว ว่องไวอันเป็นลักษณะของจิตที่ควรแก่การทำงานทั้งปวง ก็สามารถสรุปได้ว่ากำลังเดินหรือปฏิบัติผิดทาง ผลก็คือปฏิบัติธรรมแล้วก็ตึงๆ หนักๆ หน่วงๆ เพราะผลพวงของการจรดจ่อ จรดจ้อง กำกับ บังคับจิตให้นิ่ง ให้ว่าง ให้ตั้งใจรู้แบบจรดจ่อ แบบจิกรู้ อันทำให้สภาพจิตใจเสียสมดุลไปโดยไม่รู้ตัว และเมื่อสภาพจิตเสียสมดุล ก็จะมีผลให้เห็นแสดงออกภายนอก คือ เริ่มผิดมนุษย์ การพูดการจา หรือการกระทำ หรือการงานก็เชื่องช้าไปหมด บางครั้งก็เบื่อกับการงานจนเห็นการงานเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ หรือวุ่นวาย เริ่มแปลกแยกจากสังคมแวดล้อม เพราะเหตุว่าไม่รู้ว่าอะไรควรในสิ่งไม่ควร และอะไรไม่ควรในสิ่งที่ควร อันนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายว่าหลายๆท่านที่มาศึกษาปฏิบัติธรรม จริงจังกับการปฏิบัติธรรม จนยึดติดในรูปแบบต่างๆนานา เพราะเหตุไม่เข้าใจว่านั่นเป็นการฝึกหัดหรือเรียนรู้ในห้องเรียน เป็นเพียงการเรียนรู้สภาวะในช่วงที่มาปฏิบัติในชั้นเรียน หาได้เป็นการเข้าถึงไม่ แต่การเข้าถึงนั้นจะต้องเข้าถึงจากประสบการณ์ในชีวิตจริงๆ เป็นบทเรียนให้เราได้เข้าถึงสภาวะที่เป็นไปเอง จนหมดจด แจ่มแจ้ง และหลุดพ้นไปโดยลำดับ ดังคำกล่าวของปรมาจารย์จีนที่สอนแก่ลูกศิษย์ว่า การเรียนรู้จนเจนจบวิชาหรือวิทยายุทธนั้น ก็คือ
     
  20. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๔ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทเริ่มจากการเห็นปฏิจจสมุปบาทด้วยความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่น
    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๓ ได้ที่ http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4

    การละสิ่งใด ต้องเริ่มจากการเห็นสิ่งนั้น การละกิเลส ก็ต้องเริ่มจากการเห็นกิเลส เปรียบเหมือน มือจับสิ่งของอยู่ ถ้าใจลอยไม่รู้ไม่เห็นสิ่งของหรือการจับสิ่งของนั้น ก็ยังคงใจลอยจับสิ่งของนั้นร่ำไป แต่พอเมื่อมีความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่น ก็จะเห็นมือจับสิ่งของนั้น การวางก็จะเกิดขึ้นเอง ความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเห็น เมื่อมีความเห็น ก็มีความรู้ เมื่อมีความรู้ก็เบิกบานใจ สมกับคำที่ว่าพุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นั่นเอง การทวนกระแสวงจรปฏิจจสมุปบาทก็ต้องเริ่มจากการเห็นปฏิจจสมุปบาท เพราะพอเมื่อเริ่มต้นเห็นเท่านั้น กระบวนการการทวนกระแสก็จะเริ่มต้นขึ้นเอง การพยายามทวนกระแสโดยที่ยังไม่เกิดการเห็น ก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่วาดภาพในอากาศ จึงล่องลอยอยู่ในกระแสของปฏิจจสมุปบาท เพราะขาดการเห็นนั่นเอง การศึกษาธรรมทั้งหลายจึงต้องเริ่มที่การเห็น เมื่อเห็นก็รู้ เมื่อรู้ก็ละเอง เมื่อละได้ ก็ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน การทวนกระแสก็ดี การละกิเลสก็ดี ก็ต้องเริ่มต้นที่การเห็น จึงจะละกิเลสและทวนกระแสได้สำเร็จ
    ปกติคนทั้งหลายโดยมาก ขาดความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่น เพราะมัวท่องเที่ยวไปกับการนึก-การคิด จนลืมความรู้สึกตัว หรือไม่ก็ไหลไปกับการกระทบ สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือไม่ก็มัวหลับไหลตกอยู่ในห้วงแห่งภวังค์อันถูกรุมล้อมด้วยกิเลส ความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่นจึงเป็นบันไดขั้นแรกของการเดินเข้าสู่หนทางการปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ เพราะเมื่อมีความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่น ก็จะทำให้เกิดยถาภูตญาณทัสนะ คือ การเห็นโลกตามความเป็นจริง อันเป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐินั่นเอง นักปฏิบัติธรรมโดยส่วนมากขาดความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่น หลายๆท่านเจริญสมถวิปัสสนา แล้วไม่มีความก้าวหน้า ก็เพราะขาดความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่น
    ความรู้สึกตัว-ความรู้สึกตื่นเป็นอย่างไร? ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย เช่น การเดินจงกรม หลายๆท่านมักเดินจงกรม โดยการกำหนดการเดินอย่างตั้งใจเกินไป คือ เอาจิตไปตั้งไว้ที่ความรู้สึกของเท้าที่เคลื่อนไหว กระทบ สัมผัส พร้อมๆกับเอาสติไปกำกับแนบแน่นกับจิตหรือความรู้สึกของเท้าที่กำลังเคลื่อนไหว กระทบ สัมผัส เพื่อให้กำหนดการเดินได้ชัด ปรากฏว่า ได้เพียงแค่ความรู้สึกตัว แต่ความรู้สึกตื่นหายไป เหตุเพราะสติ อันเป็นอาการของการตื่น รู้ เบิกบาน ไหลลงไปสู่ที่เท้าแนบแน่นกับจิตหรือความรู้สึกที่เท้า อย่างชนิดเอาเป็นเอาตาย คือเพียรแบบตึงเกินไป พยายามกำหนดให้ชัดเจน ทำให้เดินจงกรมไป หน้าตาก็ไม่มีอาการสดชื่น ผ่องใส เพราะความตื่น รู้ เบิกบานเคลื่อนลงไปแนบแน่นกับจิตหรือความรู้สึกที่เท้า เดินเท่าไรก็เคยพบสภาวะความเบาสบายในขณะเดิน มีแต่เดินไปหนักไป เมื่อยไป ล้าไป จนอ่อนกำลัง บางครั้งเดินไปก็ง่วงไป เลยไม่ได้สัมผัสอาการตื่น รู้ เบิกบานในขณะเดินแต่อย่างใด เพราะเหตุที่สติไหลลงต่ำสู่เท้าเนืองๆ อันเป็นการดึงสติตกภวังค์โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง การเดินจงกรมในลักษณะเช่นนี้ พอเดินจงกรมเสร็จ แล้วเปลี่ยนมาสู่การนั่งภาวนา ผลที่ได้ก็คือ นั่งไปไม่ถึง 5 นาที 10 นาที ก็ตกภวังค์ คือโงกง่วง หรือ หลับในภวังค์หายไปจากโลกนี้เลย

    การเดินจงกรมที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ? การเดินจงกรมที่ถูกต้อง ท่านให้กำหนดรู้ ไม่ใช่กำหนดอย่างเดียว
     

แชร์หน้านี้

Loading...