ฟันสมภาร ห้ามไหว้พุทธรูป

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 31 กรกฎาคม 2008.

  1. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    ฟันสมภาร ห้ามไหว้'พุทธรูป'

    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">


    ฟันสมภาร ห้ามไหว้'พุทธรูป' [31 ก.ค. 51 - 12:18]




    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    <O:p</O:p
    กรณีพระเกษม อาจิณณสีโล สมภารแห่งที่พักสงฆ์ สามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ห้ามชาวบ้านกราบไหว้พระพุทธรูปอ้างเป็นเพียงวัตถุ ไม่ใช่ตัวแทนพระพุทธเจ้า แม้เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ฝ่ายธรรมยุตจะมีหนังสือคำสั่งให้พระเกษมนำแผ่นป้ายข้อความที่ห้ามไหว้พระพุทธรูปออกจากฐานพระพุทธรูป และให้ ระงับการเผยแผ่คำสอนที่คลาดเคลื่อนจากหลักพระธรรมวินัยทั้งทางเอกสารและแผ่นบันทึกภาพและเสียงและทางอินเตอร์เน็ต หรือการกระทำใดๆที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อพระพุทธศาสนา แต่พระเกษมไม่ทำตามคำสั่งของเจ้าคณะจังหวัดนั้น
    <O:p</O:p<O:p</O:p

    ต่อมาวันที่ 30 ก.ค. ที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม มีการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) โดยพระธรรมกิตติเมธี โฆษกมหาเถรสมาคม กล่าวภายหลังการประชุม มส. ว่า ที่ประชุมมหาเถรฯไม่ได้นำเรื่องนี้เข้าหารือ แต่เบื้องต้นได้แจ้งไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์ (พศจ.เพชรบูรณ์) แล้วว่า ในเมื่อพระเกษมไม่ยอมทำตามคำสั่งเจ้าคณะจังหวัด คงต้องให้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์ขออารักขาจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองคือขอความร่วมมือจากฝ่ายบ้านเมืองให้ดำเนินการ เพื่อไม่ให้พระเกษมอยู่ในที่พักสงฆ์แห่งนี้ เพราะกรณีของพระเกษม ถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญาในฐานที่ลบหลู่ดูหมิ่นพระพุทธศาสนา แต่เมื่อใช้ มาตรการของคณะสงฆ์ไม่ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องขออารักขาจากฝ่ายบ้านเมืองให้เข้ามาจัดการ ขณะเดียวกันได้พยายามติดต่อไปยังพระอุปัชฌาย์ของพระเกษม เพื่อจะให้พระเกษมกลับไปอยู่กับพระอุปัชฌาย์ แต่กลับพบว่าพระอุปัชฌาย์ของพระเกษมมรณภาพไปแล้ว
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โฆษกมหาเถรสมาคมกล่าวอีกว่า ขณะนี้เหลืออยู่ทางเดียวคือต้องอาศัยอำนาจของรัฐเพราะการที่พระเกษมไม่ทำตามคำสั่งเจ้าคณะจังหวัดถือว่าเป็นการทำลายเกียรติภูมิในการปกครองของคณะสงฆ์ เพราะท่านไม่ฟังใครเลย อย่างน้อยคนเราควรที่จะยำเกรงเคารพกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติของสังคม ที่สำคัญควรเคารพต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยได้แจ้งไปยังเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์แล้วว่า ให้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน และได้ประสานไปยังเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 ฝ่ายธรรมยุต ด้วยว่าเรื่องนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ตอนนี้ คณะสงฆ์เกรงว่าการที่พระเกษมมีพฤติกรรมดังกล่าวมาจากเจตนาของพระเกษมเอง หรือว่ามีใครว่าจ้างให้ทำขึ้นมาหรือเปล่า ซึ่งได้ขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์ตรวจสอบอยู่ เพราะการจะลงโทษพระสงฆ์ จะต้องดูข้อมูลหลักฐานให้ชัดเจน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ด้านนายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ช่วงเช้าวันเดียวกัน คณะสงฆ์ที่รับผิดชอบเรื่องดังกล่าวได้เดินทางไปที่วัดใน จ.อุดรธานี และอุบลราชธานี เพื่อติดตามหาพระอนุสาวนาจารย์ พระคู่สวดของพระเกษม ให้มารับตัวพระเกษมออกจากพื้นที่กลับไปอยู่ที่วัดต้นสังกัดเดิมคือ จ.อุดรธานี เนื่องจากพระอุปัชฌาย์ของพระเกษมได้มรณภาพหลายปีแล้ว โดยก่อนหน้านี้ที่พักสงฆ์แห่งนี้ก็มีพระพุทธรูปอยู่เต็มวัด แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่แนวคำสอนของพระเกษมได้เปลี่ยนไป โดยสอนให้นำพระพุทธรูปออกจากบ้านและห้อยคอ ส่วนพระพุทธรูปก็ให้นำมาฝังดินทำลายเหมือนที่เป็นข่าว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพระเกษมก็ยังคงประกาศต่อผู้สื่อข่าวที่ไปสอบถามว่าจะไม่นำป้ายออกจากฐานพระพุทธรูปอย่างเด็ดขาด อีกทั้งจะยังคงเผยแผ่ คำสอนด้วยหนังสือและวีซีดีต่อไป รวมถึงการไม่โกนคิ้วก็บอกว่าถูกต้องตามพระไตรปิฎกเช่นกัน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นายอินทพร กล่าวต่อว่า ตลอดทั้งวันตนได้รับโทรศัพท์จากประชาชนที่อยู่จากทั่วทุกสารทิศ ส่วนใหญ่ โทร.มาตำหนิต่อว่าต่อขานว่าทำไมถึงไม่ทำอะไร ดำเนินการถึงขั้นไหนแล้ว ทำไมถึงไม่จับสึกเสียที บางรายต่อว่ารุนแรงถึงขนาดว่าไปมุดหัวอยู่ที่ไหน จึงอยากเรียนชี้แจงว่าเรื่องนี้ตน เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์สายธรรมยุตและคณะสงฆ์ที่เกี่ยวข้องพยายามหาทางออกที่ดีที่สุด การสึกจากความเป็นพระถ้าเปรียบเป็นคนธรรมดาก็เหมือนกับการประหารชีวิต ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่สำหรับพระสงฆ์ อีกทั้งพระเกษมก็ไม่ได้ทำผิดร้ายแรงเช่นฆ่าคนตาย จึงต้องหาทางออกร่วมกันให้ดีที่สุด ทั้งนี้ สำนักงานพุทธศาสนา จังหวัดเพชรบูรณ์จะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ตามแนวทางของสงฆ์มากกว่าที่จะดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งจะขอใช้เป็นหนทางสุดท้ายจริงๆ<O:p</O:p



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotnews&content=98936
     
  2. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    ทำดีได้ดี ทำไม่ดีได้ไม่ดี
    คิดผิด คิดถูก ดูที่ผลที่เกิดขึ้น สาธุ...
     
  3. คนตาบอด

    คนตาบอด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +42
    ถูกหรือผิด ว่ากันไปตามเนื้อผ้า

    ผมเองก็ออกมา โพสต์กระทู้ ตั้งหลายกระทู้แล้ว แต่เพราะผมสงสัย และก็อยากได้เหตุผล ทำไม ถึง พูดแบบนี้ เหตุผลอันใด ถึงได้ประกาศข้อความออกมาในลักษณะนี้

    การสอนให้คนที่ไม่รู้ เรียนโน้น เรียนนี้ กำผิด กำถูก แทนที่จะได้ประโยชน์กลับเป็นโทษต่อตัวผู้เรียน ผู้ที่ไม่รู้หลงทางได้ง่าย


    สอนในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าใช่ ไม่สนใจสังคม ไม่เชื่อใคร ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น การสอนแบบนี้ ผู้สอนเองก็เป็นคนโง่ คนเรียนตามก็เป็นคนโง่ ล้วนแล้วแต่คนโง่สอนกันเอง


    ยิ่งเป็นเรื่องความเชื่อ ในทางด้านจิตใจ ด้วยแล้ว การพิสูจน์นั้น แทบจะพิสูจน์ไม่ได้เลยก็ว่าได้ เช่น ผมจะถามว่า พรุ่งนี้ มีไหม ? ถ้ามีคนตอบว่ามี ไหนเอาพรุ่งนี้ หรือว่า พรุ่งนี้เราจะเจออะไรบ้าง มาบอกสิ อย่างนี้เป็นต้น

    เรื่องทางด้านจิตใจความรู้สึก อันเป็นหลักที่พระพุทธศาสนาเรา ใช้ในการสอน การปฎิบัติ จำเป็นจะต้องสอนอย่างละเอียด ไม่รู้แล้ว อย่าบอกว่า รู้และเข้าใจเป็นอันขาด จะเป็นผู้นำทาง ที่พาผู้เดินตามหลงอย่างไม่สิ้นสุด

    ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ท่านพิสูจน์ได้ จากคำบอกเล่า ของพระอรหัตสาวก และภิกษุที่ท่านปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ยอมรับ เป็นความจริงว่าท่านเป็นผู้นำทางที่ไม่พา ผู้เดินตามหลงอย่างแน่นอน

    อนุโมทนาสาธุ....ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาของคนโง่ ที่ไร้สติ ปัญญา แยกแยะผิดถูก ศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้บุคคลหลงเชื่ออย่างมงาย ทำดีก็ได้ดี ทำชั่วก็ได้ชั่ว..

    จงมีสติ ทุกเมื่อ อย่าเผลอ อย่าเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ นั่นแหล่ะมานะตัวสำคัญ ...
     
  4. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ทำดีดีส่งให้เห็นผล

    ทำชั่วชั่วก็ดลชั่วให้

    ชั่วดีดุจตราตรึงตีบอกไว้นา

    ใครชั่วใครดีไซร้ สืบได้ด้วยกรรม ฯ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ท่านสอนโอนบุญได้ เด๋วท่านก็โอนบุญของตนเองไปพยาธิใบไม้ตับ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ท่านสอนโอนบุญได้ เด๋วท่านก็โอนบุญของตนเองไปพยาธิใบไม้ตับ
     
  7. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นอกาลิโกปฏิบัติได้ทุกยุคทุกสมัย ไม่มีกาลไม่มีสมัย เป็นโอปนยิโกเป็นธรรมที่พึงน้อมเข้ามา ก็คือน้อมใจเข้ามาสู่ธรรม หรือน้อมธรรมเข้ามาสู่ใจฯลฯ
     
  8. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    น่าเศร้าใจค่ะ....
    ......มีคนทั่ว ๆ ไป เค้าเข้าใจว่าพระเกษม....เป็นพระอรหันต์ด้วยค่ะ.....ที่พระเกษมสอนเรื่องการไม่ให้ไหว้พระพุทธรูปน่ะถูกแล้วค่ะ.....
     
  10. ปิยธรรมโม

    ปิยธรรมโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    473
    ค่าพลัง:
    +349
    เรื่องนี้ไม่ขอออกความเห็นแต่อย่างใด ขอวางอุเบกขา ครับ..
    ปล่อยให้เป็นไปตามเหตุและปัจจัย ตลอดจนถึงกฎของกรรม..
    (ขอเป็นเพียงผู้เฝ้าดูอยู่ห่างๆครับ .. [​IMG] )
    อนุโมทนาท่านเจ้าของกระทู้ที่นำข่าวมาฝากกันครับ..สาธุ [​IMG]
     
  11. boko0121

    boko0121 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +7,736
    ผมคิดว่าเรื่องนี้ท่านอาจทำถูกนะครับ ถึงผมต่างศาสนา แต่เมื่อได้ยินท่านสอนก็รู้สึกศรัทธาเหมือนกัน
     
  12. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 421


    ท่านอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตหมอบอยู่แทบบาท


    มูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ประชุมธรรม ๘ ประการ เมื่อจะ


    กระทำอภินิหาร มิใช่กระทำอภินิหาร เพื่อประโยชน์แก่พวงมาลัยของหอม


    และดุริยางค์สังคีต มิใช่บำเพ็ญบารมีทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่สิ่งเหล่านั้น


    เพราะฉะนั้น เราตถาคตไม่ชื่อว่า เขาบูชาแล้วด้วยการบูชาอันนี้เลย.


    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญวิบาก ที่แม้


    พระพุทธญาณก็กำหนดไม่ได้ของการบูชา ที่บุคคลถือเพียงดอกฝ้ายดอกเดียว


    ระลึกถึงพระพุทธคุณบูชาแล้วไว้ในที่อื่น ในที่นี้กลับทรงคัดค้านการบูชาใหญ่


    อย่างนี้. ตอบว่า เพราะเพื่อจะทรงอนุเคราะห์บริษัทอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์


    จะให้พระศาสนาดำรงยั่งยืนอย่างหนึ่ง.


    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่พึงคัดค้านอย่างนั้นไซร้ ต่อไปใน


    อนาคต พุทธบริษัทก็ไม่ต้องบำเพ็ญศีลในฐานะที่ศีลมาถึง จักไม่ให้สมาธิ


    บริบูรณ์ในฐานะที่สมาธิมาถึง ไม่ให้ถือห้องคือวิปัสสนาในฐานะที่วิปัสสนา


    มาถึง ชักชวนแล้วชักชวนอีก ซึ่งอุปัฏฐากกระทำการบูชาอย่างเดียวอยู่. จริงอยู่


    ชื่อว่าอามิสบูชานั้น ไม่สามารถจะดำรงพระศาสนาแม้ในวันหนึ่งบ้าง แม้ชั่วดื่ม


    ข้าวยาคูครั้งหนึ่งบ้าง. จริงอยู่ วิหารพันแห่งเช่นมหาวิหาร เจดีย์พันเจดีย์ เช่น


    มหาเจดีย์ ก็ดำรงพระศาสนาไว้ไม่ได้. บุญูผู้ใด ทำไว้ก็เป็นของผู้นั้นผู้เดียว.


    ส่วนสัมมาปฏิบัติ ชื่อว่าเป็นบูชาที่สมควรแก่พระตถาคต. เป็นความจริงปฏิบัติ


    บูชานั้นชื่อว่าดำรงอยู่แล้ว สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย เพราะฉะนั้น


    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปฏิบัติบูชานั้น จึงตรัสว่า โย โข อานนฺท


    เป็นต้น.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติ


    ปุพพภาคปฏิปทา อันเป็นธรรมสมควร. ก็ปฏิปทานั่นแล ท่านเรียกว่าสามีจิ




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 422


    ชอบยิ่ง เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควร. ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติ


    ธรรมอันชอบยิ่ง. ชื่อว่า อนุธมฺมจารี เพราะประพฤติบำเพ็ญธรรมอันสมควร


    กล่าวคือ บุพพภาคปฏิปทานั้นนั่นแล. ก็ศีล อาจารบัญญัติการสมาทานธุดงค์


    สัมมาปทาถึงโคตรภูญาณ พึงทราบว่า ปุพพภาคปฏิปทา. เพราะฉะนั้น ภิกษุ


    ตั้งอยู่ในอคารวะ ๖ ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ภิกษุนี้ชื่อว่า


    ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ส่วนภิกษุใดไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้วแก่ตน


    ทั้งหมดที่ขีดคั่นเขตแดนและเส้นบรรทัดของพระชินเจ้าแม้มีประมาณน้อย


    ภิกษุนี้ ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. แม้ในภิกษุณี ก็นัยนี้เหมือนกัน.


    ก็อุบาสกใดยึดเวร ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติไว้แนบแน่น อุบาสกนี้ชื่อว่า


    ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ส่วนอุบาสกปฏิบัติให้สมบูรณ์ในสรณะ ๓


    ศีล ๕ ศีล ๑๐ รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง ถวายทาน บูชาด้วยของหอม


    บูชาด้วยมาลา บำรุงมารดาบิดา บำรุงสมณพราหมณ์ อุบาสกผู้นี้ ชื่อว่าเป็น


    ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แม้ในอุบาสิกา ก็นัยนี้เหมือนกัน.


    บทว่า ปรมาย ปูชาย แปลว่า ด้วยบูชาสูงสุด. พระผู้มีพระภาคเจ้า


    ทรงแสดงไว้ว่า แท้จริง ชื่อว่า นิรามิสบูชานี้ สามารถดำรงพระศาสนาของเรา


    ไว้ได้. จริงอยู่ บริษัท ๔ นี้จักบูชาเราด้วยการบูชานี้ เพียงใด ศาสนาของเราก็จะ


    รุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญลอยเด่นกลางท้องฟ้าฉะนั้น.


    บทว่า อปสาเทสิ แปลว่า จงออกไป. บทว่า อเปหิ แปลว่า จง


    หลีกไป. ด้วยพระดำรัสคำเดียวเท่านั้น พระเถระก็วางพัดใบตาลแล้วยืน ณ


    ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาความที่พระองค์ไม่มีอุปัฏฐาก


    ประจำในปฐมโพธิกาลจึงตรัสคำนี้ว่า อุปฏฺาโก เป็นต้น. เมื่อพระเถระทูล


    อย่างนี้ว่า นี้ท่านอุปวาณะเจ้าข้า. พระอานนท์กำหนดความที่พระอุปวาณะมี


    ความผิดว่า เอาเถอะ เราจักกราบทูลความที่พระอุปวาณะนั้นไม่มีความผิด




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 423


    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เยภุยฺเยน อานนฺท เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น


    คำว่า เยถุยฺเยน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาอสัญญีสัตว์และอรูปเทวดาถูกเมินเฉย.


    บทว่า อปฺผุโฏ ได้แก่ ไม่สัมผัส หรือไม่แตะต้อง.


    ได้ยินว่า ในส่วนที่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้า เทวดาผู้มีศักดาใหญ่


    เนรมิตอัตตภาพอันละเอียดในโอกาสเท่าปลายขนทราย ๑๐ องค์ๆ. ข้างหน้าแห่ง


    เทวดา ๑๐ องค์ ๆ นั้น มีเทวดา ๒๐ องค์ ๆ. ข้างหน้าเทวดา ๒๐ องค์ ๆ


    มีเทวดา ๓๐ องค์ ๆ ข้างหน้าเทวดา ๓๐ องค์ ๆ มีเทวดา ๔๐ องค์ ๆ ข้างหน้า


    เทวดา ๔๐ องค์ ๆ มีเทวดา ๕๐ องค์ๆ ข้างหน้าเทวดา ๕๐ องค์ ๆ มีเทวดา


    ยืนเฝ้าอยู่ ๖๐ องค์ ๆ เทวดาเหล่านั้นไม่เบียดกันและกันด้วยมือเท้าหรือผ้า. ไม่


    มีเหตุที่จะพึงกล่าวว่า ออกไปอย่าเบียดเสียดเรา. เทวดาทั้งหลายก็เป็นเช่น


    กับที่ตรัสไว้ว่า สารีบุตร เทวดาเหล่านั้นแล ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐


    องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง ยืนในโอกาสแม้เพียงปลาย


    เหล็กแหลมจรดกัน ไม่เบียดซึ่งกันและกันเลย.


    บทว่า โอธาเรนฺโต แปลว่า ยืนบัง. ได้ยินว่า พระเถระร่างใหญ่


    เช่นกับลูกช้าง ห่มผ้าบังสุกุลจีวร ก็ดูเหมือนใหญ่มาก.


    บทว่า ตถาคตสฺส ทสฺสนาย ความว่า เทวดาทั้งหลาย เมื่อไม่


    ได้เห็นพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงติเตียนอย่างนี้. ถามว่า ก็เทวดาเหล่านั้น


    ไม่สามารถมองทะลุพระเถระหรือ. ตอบว่า ไม่สามารถสิ. ด้วยว่า เหล่าเทวดา


    สามารถมองทะลุเหล่าปุถุชนได้ แต่มองทะลุเหล่าพระขีณาสพไม่ได้ ทั้งไม่อาจ


    เข้าไปใกล้ด้วย. เพราะพระเถระมีอานุภาพมาก มีอำนาจมาก. ถามว่า ก็เพราะ


    เหตุไรพระเถระจึงมีอำนาจมาก ผู้อื่นไม่เป็นพระอรหันต์หรือ. ตอบว่า เพราะ


    ท่านเป็นอารักขเทวดาในเจดีย์ของพระกัสสปพุทธเจ้าอยู่. เล่ากันว่า เมื่อพระ-


    วิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ชนทั้งหลายได้พากันสร้างพระเจดีย์




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 424


    องค์หนึ่ง บรรจุพระสารีริกธาตุสรีระอันเป็นเช่นกับแท่งทองคำทึบ. จริงอยู่


    พระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืน ย่อมมีพระเจดีย์องค์เดียวเท่านั้น คนทั้งหลาย


    ใช้แผ่นอิฐทองยาว ๑ ศอก กว้างหนึ่งคืบ หนา ๘ นิ้ว ก่อพระเจดีย์นั้น


    ประสานด้วยหรดาลและมโนศิลาแทนดิน ชะโลมด้วยน้ำมันงาแทนน้ำ แล้ว


    สถาปนาประมาณโยชน์หนึ่ง. ต่อนั้น ภุมมเทวดาก็โยชน์หนึ่ง จากนั้น ก็


    อาสัฏฐกเทวดา จากนั้น ก็อุณหวลาหกเทวดา จากนั้น ก็อัพภวลาหกเทวดา


    จากนั้น ก็เทวดาชั้นจาตุมมหาราช จากนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์สถาปนาโยชน์


    หนึ่ง. พระเจดีย์จึงมี ๗ โยชน์ ด้วยประการฉะนี้.


    เมื่อผู้คนถือเอามาลัยของหอมและผ้าเป็นต้นมา อารักขเทวดาทั้งหลาย


    ก็พากันถือดอกไม้มาบูชาพระเจดีย์ทั้งที่ผู้คนเหล่านั้นเห็นอยู่. ครั้งนั้น พระ


    เถระนี้เป็นพราหมณ์มหาศาล ถือผ้าเหลืองผืนหนึ่งไป. เทวดาก็รับผ้าจากมือ


    พราหมณ์นั้นไปบูชาพระเจดีย์. พราหมณ์เห็นดังนั้น ก็มีจิตเลื่อมใสตั้งความ


    ปรารถนาว่า ในอนาคตกาล แม้เราก็จักเป็นอารักขเทวดาในพระเจดีย์ของ


    พระพุทธเจ้า เห็นปานนี้ ดังนี้แล้ว จุติ จากอัตภาพนั้น ก็ไปบังเกิดใน


    เทวโลก. เมื่อพราหมณ์นั้นท่องเที่ยวอยู่ในมนุษยโลกและเทวโลก พระกัสสปะ


    ผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอุบัติในโลกแล้วปรินิพพาน. พระธาตุสรีระของพระองค์


    ก็มีแห่งเดียวเท่านั้น. ผู้คนทั้งหลายนำพระธาตุสรีระนั้น สร้างพระเจดีย์โยชน์


    หนึ่ง. พราหมณ์เป็นอารักขเทวดาในพระเจดีย์นั้น เมื่อพระศาสดาอันตรธาน


    ไป. ก็บังเกิดในสวรรค์ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราจุติจากสวรรค์นั้น


    แล้ว ถือปฏิสนธิในตระกูลใหญ่ ออกบวชแล้ว บรรลุพระอรหัต. พึงทราบ


    พระเถระมีอำนาจมากเพราะเป็นอารักขเทวดาในพระเจดีย์มาแล้ว ด้วยประการ


    ฉะนี้.




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 425


    ด้วยบทว่า เทวตา อานนฺท อุชฺฌายนฺติ พระผู้มีพระภาคเจ้า


    ทรงแสดงว่า ดูก่อนอานนท์ เหล่าเทวดาติเตียน มิใช่บุตรเรามีความผิดอะไรอื่น.


    เพราะเหตุไร ท่านพระอานนท์ จึงทูลว่า พระเจ้าข้า เหล่าเทวดาเป็นอย่างไร


    จึงใส่ใจ. ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า เหล่าเทวดา


    ติเตียน ก็เหล่าเทวดานั้นเป็นอย่างไร จึงใส่ใจพระองค์จะยับยั้งการปรินิพพาน


    ของพระองค์หรือ. เมื่อเป็นดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงภาวะที่


    เหล่าเทวดาเหล่านั้นยับยั้งไม่ได้ว่า เราไม่กล่าวเหตุแห่งการยับยั้ง จึงตรัสว่า


    สนฺตานนฺท เป็นต้น.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากาเส ปวีสญฺนิโย ได้แก่ เนรมิต


    แผ่นดินในอากาศมีความสำคัญในอากาศนั้นว่าเป็นแผ่นดิน. บทว่า กนฺทนติ


    แปลว่า ร้องไห้. บทว่า ฉินฺนปาท วิย ปปตนฺติ ได้แก่ ล้มฟาดลงดังขาด


    กลางตัว. บทว่า วิวฏฺฏนฺติ ได้แก่ ล้มลงกลิ้งไป. อีกอย่างหนึ่ง ล้มกลิ้งไป


    ข้างหน้าที ข้างหลังที ข้างซ้ายที ข้างขวาที เรียกกันว่ากลิ้งเกลือก. บทว่า


    สนฺตานนฺท เทวตา ปวีย ปวีสญฺนิโย ความว่า ได้ยินว่า เหล่าเทวดา


    ไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ เหนือแผ่นดินปกติ. เหล่าเทวดาย่อมจมลงในแผ่นดินนั้น


    เหมือนหัตถกพรหม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนหัตถกะ


    ท่านจงเนรมิตอัตภาพอย่างหยาบ. เพราะฉะนั้น ท่านหมายเอาเหล่าเทวดาที่


    เนรมิตแผ่นดินในแผ่นดิน จงกล่าวว่า เหล่าเทวดามีความสำคัญในแผ่นดินว่า


    เป็นแผ่นดิน. บทว่า วีตราคา ได้แก่ เหล่าเทวดาที่เป็นพระอนาคามีและ


    ขีณาสพที่มีโทมนัสอันละได้แล้วเช่นเดียวกับเสาหิน.


    บทว่า วสฺส วุฏฺา ความว่า ได้ยินว่า ครั้งพุทธกาล ภิกษุประชุมกัน


    ๒ เวลา คือ จวนเข้าพรรษาเพื่อรับกัมมัฏฐาน ๑ ออกพรรษาแล้วเพื่อบอก


    กล่าวคุณวิเศษที่บังเกิดเพราะการประกอบเนืองๆซึ่งพระกัมมัฏฐานที่รับมาแล้ว ๑.




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 426


    ครั้งพระพุทธกาลฉันใด แม้ในเกาะสีหลก็ฉันนั้น. ภิกษุที่อยู่ฝั่งแม่น้ำคงคาข้าง


    โน้นประชุมกันที่โลหประสาท ภิกษุที่อยู่ฝั่งแม่น้ำคงคาอีกฝั่งหนึ่ง ก็ประชุมกัน


    ที่ติสสมหาวิหาร. ในภิกษุ ๒ พวกนั้น ภิกษุพวกที่อยู่ฝั่งแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น


    ถือเอาไม้กวาดสำหรับกวาดขยะทิ้งแล้วประชุมกันที่มหาวิหาร โบกปูนพระเจดีย์


    ออกพรรษาแล้วก็มาประชุมกันที่โลหประสาท ทำวัตรอยู่ในที่อันผาสุก ออก


    พรรษาแล้วก็มาสวดบาลีและอรรถกถาที่ตนช่ำชองแล้วที่โรงเรียนนิกายทั้ง ๕


    ในโลหปราสาท. พิจารณาถึงภิกษุที่เรียนบาลีหรืออรรถกถาผิดพลาด ว่าท่าน


    เรียนในสำนักใครให้ยึดถือไว้ให้ตรง. ฝ่ายภิกษุที่อยู่ในแม่น้ำคงคาอีกฝ่ายหนึ่ง


    ก็ประชุมกันในติสสมหาวิหาร บรรดาภิกษุที่ประชุม ๒ เวลาอย่างนี้ ภิกษุ


    เหล่าใดเรียนกัมมัฏฐานก่อนเข้าพรรษาไปแล้วกลับมาบอกคุณวิเศษ ท่านหมาย


    เอาภิกษุเห็นปานนั้นจึงกล่าวว่า ปุพฺเพ ภนฺเต วสฺส วุตฺถา เป็นต้น.


    บทว่า มโนภาวนีเย ได้แก่ให้เจริญแล้วอบรมแล้วด้วยใจ อธิบายว่า


    ภิกษุเหล่าใดเจริญเพิ่มพูนมโนมนะ ลอยกิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นเสีย ภิกษุ


    เห็นปานนั้น. ได้ยินว่า พระเถระถึงพร้อมด้วยวัตรพบภิกษุแก่ก็แข็งไม่ยอมนั่ง


    ออกไปต้อนรับ รับร่ม บาตรจีวรและเคาะตั่งถวาย เมื่อท่านนั่งในที่นั้นแล้ว


    ก็ทำวัตรจัดเสนาสนะถวาย พบภิกษุใหม่ก็นิ่งยังไม่นั่ง เข้าไปหาใกล้ ๆ พระ-


    เถระนั้นปราศจากความไม่เสื่อมแห่งวัตรปฏิบัตินั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้. ครั้งนั้น


    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า อานนท์ คิดว่าเราจักไม่ได้พบภิกษุที่น่า


    เจริญใจ เอาเถอะ เราจักบอกสถานที่จะพบภิกษุผู้น่าเจริญใจแก่เธอ ที่เธอ


    อยู่ไม่ต้องเทียวไปเทียวมา ก็จักได้พบเหล่าภิกษุที่น่าเจริญใจได้ ดังนี้ แล้วจึง


    ตรัสว่า จตฺตาริมานิ เป็นต้น.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธสฺส ความว่า วัตรทั้งหมดมีเจติยัง-


    คณวัตร เป็นต้น ที่เธอทำตั้งแต่เช้าย่อมปรากฏแก่กุลบุตรผู้มีจิตเลื่อมใสใน




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 427


    พระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร. บทว่า ทสฺสนียานิ ได้แก่ ควรจะ


    เห็น คือ ควรไปเพื่อจะเห็น. บทว่า สเวชนียานิ ได้แก่ ให้เกิดสลดใจ. บทว่า


    านานิ ได้แก่เหตุหรือถิ่นสถาน. คำว่า เย หิ เกจิ นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดง


    ถึงการจาริกไปในเจดีย์มีประโยชน์. บรรดาบทเหล่านั้นด้วยบทว่า เจติยจาริก


    อาหิณฺฑนฺตา ท่านแสดงว่าก่อนอื่นภิกษุเหล่าใด กวาดลานพระเจดีย์ในที่นั้นๆ


    ชำระอาสนะ รดน้ำที่ต้นโพธิ์แล้วเที่ยวไป ในภิกษุเหล่านั้นไม่จำต้องกล่าวถึง


    เลย. เหล่าภิกษุที่ออกไปจากวัดด้วยคิดว่า จักไปไหว้พระเจดีย์ในวัดโน้น มีจิต


    เลื่อมใส แม้กระทำกาละในระหว่างๆก็จักบังเกิดในสวรรค์โดยไม่มีอันตรายเลย.


    ด้วยบทว่า อทสฺสน อานนฺท ทรงแสดงว่า การไม่เห็นมาตุคามเสีย


    ได้เลย เป็นข้อปฏิบัติธรรมอันสมควรในข้อนี้ จริงอยู่ ภิกษุเปิดประตูนั่งบน


    เสนาสนะ ตราบใดที่ไม่เห็นมาตุคามที่มายืนอยู่ที่ประตู ตราบนั้น ภิกษุนั้น


    ย่อมไม่เกิดโลภ จิตไม่หวั่นไหวโดยส่วนเดียวเท่านั้น. แต่เมื่อยังเห็นอยู่แม้ทั้ง


    ๒ อย่างนั้นก็พึงมี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อทสฺสน


    อานนฺท ด้วยบทว่า ทสฺสเน ปน ภควา สติ กถ พระอานนท์ทูลถามว่า


    เมื่อการเห็นในที่ ๆ ภิกษุเข้าไปรับภิกษาเป็นต้น ภิกษุจะพึงปฏิบัติอย่างไร.


    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุรุษผู้ยืนถือมีดด้วยกล่าวว่า ถ้าท่านพูดกับ


    เรา ๆ จะตัดศีรษะท่านเสียในที่นี้แหละ หรือนางยักษิณียืนพูดว่า ถ้าท่านพูด


    กับเรา ๆ จะแล่เนื้อท่านเคี้ยวกินเสียในที่นี้ นี่แหละยังจะดีกว่า เพราะความ


    พินาศเหตุมีข้อนั้นเป็นปัจจัย ย่อมมีได้อัตตภาพเดียวเท่านั้น ไม่ต้องเสวยทุกข์


    ที่กำหนดไม่ได้ในอบายทั้งหลาย ส่วนเมื่อมีการเจรจาปราศรัยกับมาตุคามอยู่


    ความคุ้นก็มี เมื่อมีความคุ้น ช่องทางก็มี ภิกษุผู้มีจิตถูกราคะครอบงำก็ถึงความ


    พินาศแห่งศีล ต้องไปเต็มอยู่ในอบาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง


    ตรัสว่า อนาลาโป ดังนี้. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 428


    บุคคลพึงพูดกับบุคคลผู้มีดาบในมือกับปีศาจ


    นั่งชิดกับอสรพิษ ผู้ที่ถูกคนมีดาบ ปีศาจ อสรพิษ


    ถัดแล้วย่อมไม่มีชีวิต ภิกษุพูดกับมาตุคามสองต่อ


    สอง ก็ไม่มีชีวิตเหมือนกัน.


    บทว่า อาลปนฺเน ปน ความว่า ถ้ามาตุคามถามวันขอศีล ใคร่ฟัง


    ธรรม ถามปัญหา ก็หรือมีกิจกรรมที่บรรพชิตจะพึงทำแก่มาตุคามนั้น มาตุคาม


    นั้น ก็จะพูดกะภิกษุผู้ไม่พูดในเวลาเห็นปานนี้ว่า ภิกษุองค์นี้เป็นใบ้ หูหนวก


    ฉันแล้วก็นั่งปากแข็ง เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงพูดโดยแท้. ท่านพระอานนท์ทูล


    ถามว่า พระเจ้าข้า ภิกษุเมื่อพูดอย่างนี้ จะพึงปฏิบัติอย่างไร. ลำดับนั้น


    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาพระโอวาทที่ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวก


    เธอจงตั้งจิตคิดว่ามารดาในสตรีปูนมารดา ตั้งจิตคิดว่าพี่สาวในสตรีปูนพี่สาว


    ตั้งจิตคิดว่าลูกสาวในสตรีปูนลูกสาวจึงตรัสว่า อานนท์ พึงตั้งสติไว้.


    บทว่า อพฺยาวฏา ได้แก่ไม่เกี่ยวพัน ไม่ขวนขวาย. บทว่า สทตฺเถ


    ฆฏถ ได้แก่พยายามในพระอรหัตอันเป็นประโยชน์สูงสุด. บทว่า อนุยุญฺชถ


    ได้แก่จงประกอบเนือง ๆ เพื่อบรรลุพระอรหัตนั้น . บทว่า อปฺปมตฺตา ได้แก่


    ไม่อยู่ปราศจากสติ. ชื่อว่าผู้มีเพียร เพราะประกอบด้วยธรรมเครื่องย่างกิเลส


    คือความเพียร ชื่อว่ามีตนส่งไป คือมีจิตส่งไปอยู่ เพราะเป็นผู้ไม่อาลัยใน


    กายและชีวิต. ด้วยบทว่า กถ ปน ภนฺเต ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ชน


    เหล่านั้นมีกษัตริย์บัณฑิตเป็นต้น จะพึงปฏิบัติอย่างไร เขาจักสอบถามข้า


    พระองค์แน่แท้ว่า ท่านอานนท์ เราจะพึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคต


    อย่างไร ข้าพระองค์จะให้คำตอบแก่เขาอย่างไร. บทว่า อหเตน วตฺเถน ได้


    แก่ผ้าใหม่ที่ทำในแคว้นกาสี ไม่ซึมน้ำมัน เพราะเนื้อละเอียด แต่ผ้าสำลีซึม


    เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิหเตน กปฺปาเสน. บทว่า อยสาย ได้แก่


    รางทอง. ก็รางทอง ท่านประสงค์เอาว่า อยส ในที่นี้.




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 429


    ถามว่า ในคำว่า ราชา จกฺกวตฺติ เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง


    ทรงอนุญาตการสร้างสถูปแก่พระราชาผู้อยู่กลางเรือนสวรรคตแล้ว ไม่ทรง


    อนุญาตสำหรับภิกษุผู้มีศีล. ตอบว่า เพราะไม่อัศจรรย์. แท้จริง เมื่อทรง


    อนุญาตสถูป สำหรับภิกษุปุถุชน ก็ไม่พึงมีโอกาสสำหรับสถูปทั้งหลายในเกาะ


    สีหล ถึงในที่อื่น ๆ ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น สถูปเหล่านั้น ไม่อัศจรรย์


    เพราะเหตุนั้น จึงไม่ทรงอนุญาต. พระเจ้าจักรพรรดิบังเกิดพระองค์เดียวเท่านั้น


    ด้วยเหตุนั้น สถูปของพระองค์จึงอัศจรรย์. ส่วนสำหรับภิกษุปุถุชนผู้มีศีล จะ


    ทำสักการะแม้อย่างใหญ่ อย่างภิกษุผู้ปรินิพพานก็ควรเหมือนกัน.


    ส่วนโรงกลม ท่านประสงค์เอาว่าวิหารในคำว่า วิหาร นี้. เข้าไปสู่


    วิหารนั้น. บทว่า กปิสีส ได้แก่ ไม้กลอนที่ตั้งอยู่ในที่ปลายเท้าแขนประตู.


    บทว่า โรทมาโน อฏฺาสิ ความว่า ได้ยินว่า ท่านพระอานนท์คิดว่า พระ


    ศาสดาตรัสสถานที่อยู่ซึ่งให้เกิดความสังเวชแก่เรา ตรัสการจาริกไปในเจดีย์ว่า


    มีประโยชน์ ตรัสตอบปัญหาเรื่องที่จะพึงปฏิบัติในมาตุคาม ตรัสบอกการปฏิบัติ


    ในสรีระของพระองค์ ตรัสถูปารหบุคคล ๘ จำพวก วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า


    ปรินิพพานแน่. เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้วก็เกิดโทมนัสอย่างรุนแรง. ครั้งนั้น ท่าน


    ปริวิตกอย่างนี้ว่า ชื่อว่า การร้องไห้ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ผาสุก เรา


    จักไปในที่ส่วนหนึ่ง บรรเทาความโศกให้เบาบาง. ท่านได้ทำเหมือนอย่างนั้น.


    ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า พระอานนท์ยืนร้องไห้. บทว่า อทญฺจ วตมฺหิ


    ตัดเป็น อหญฺจ วต อมฺหิ. ปาฐะว่า อห วตมฺหิ ดังนี้ก็มี. บทว่า โย มม


    อนุกมฺปโก แปลว่า ผู้ใด อนุเคราะห์สั่งสอนเรา. พูดกันมาว่า ตั้งแต่วันพรุ่ง


    นี้ เดี๋ยวนี้ เราจักถวายน้ำสำหรับล้างพระพักตร์แก่ใคร จะล้างพระบาทแก่ใคร


    จักปฏิบัติเสนาสนะแก่ใคร จักรับบาตรและจีวรของใคร จาริกไป.




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 430


    บทว่า อามนฺเตสุ ได้แก่ ไม่เห็นพระเถระในระหว่างจึงตรัสเรียก.


    บทว่า เมตฺเตน กายกมฺเมน ได้แก่ ด้วยกายกรรม มีอันถวายน้ำล้างพระ


    พักตร์เป็นต้น ที่ปฏิบัติไปด้วยอำนาจจิตมีเมตตา. บทว่า หิเตน ได้แก่ อัน


    กระทำไปเพื่อความเจริญแห่งประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า สุเขน ได้แก่ อันกระ


    ทำไปด้วยอำนาจสุขกาย สุขใจ. อธิบายว่า ไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจ. บทว่า


    อทฺวเยน ได้แก่ไม่กระทำให้เป็น ๒ ส่วน. ท่านอธิบายว่า ทำต่อหน้าไม่ทำลับ


    หลังอย่างหนึ่ง ทำลับหลังไม่ทำต่อหน้าอย่างหนึ่ง ทำไม่แบ่งแยกอย่างนั้น.


    บทว่า อปฺปมาเณน ได้แก่เว้นจากประมาณ. ทรงแสดงว่า จริงอยู่ แม้จักร


    วาลคับแคบนัก แม้ภวัคคพรหมก็ต่ำนัก เพราะกายกรรมที่ท่านทำมา. บทว่า


    เมตฺเตน วจีกมฺเมน ได้แก่วจีกรรม มีบอกเวลาล้างพระพักตร์เป็นต้น ที่


    ปฏิบัติไปด้วยอำนาจจิตมีเมตตา. อีกอย่างหนึ่ง แม้ฟังโอวาทแล้วทูลว่า


    สาธุ ภนฺเต ดีละ พระเจ้าข้า. จัดเป็นเมตตาวจีกรรมเหมือนกัน. บทว่า


    เมตฺเตน มโนกมฺเมน ความว่า ด้วยมโนกรรมที่ปฏิบัติแต่เช้าตรู่ แล้วนั่ง


    บนอาสนะอันสงัดแล้วปฏิบัติอย่างนี้ว่า ขอพระศาสดา จงเป็นผู้ไม่มีโรค ไม่มี


    ทุกข์เบียดเบียน จงเป็นสุขเถิด. ด้วยคำว่า กตปุญฺโสิ ทรงแสดงว่า ท่าน


    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร (บุญเก่า) ตลอดแสนกัป. ด้วยบทว่า กตปุญฺโ-


    มฺหิ ทรงแสดงว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เธออย่าวางใจประมาท โดยที่แท้จง


    ประกอบความเพียรเนือง ๆ เธอประกอบความเพียรเนือง ๆ อย่างนี้แล้ว จัก


    เป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน จักบรรลุพระอรหัตในเวลาสังคายนาธรรม ก็


    การปรนนิบัติที่เธอกระทำแก่พระพุทธเจ้าเช่นเราชื่อว่าไร้ผลหามิได้. ก็แลครั้น


    ตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงเริ่มพรรณนาคุณของพระอานนท์ประหนึ่งแผ่ไปทั่วมหา


    ปฐพี ประหนึ่งแผ่ไปทั่วอวกาศ ประหนึ่งยกสู่ยอดจักรวาลคีรี ประหนึ่งยก


    สิเนรุบรรพต ประหนึ่งจับต้นหว้าใหญ่เขย่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า


    จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 431


    ในพระบาลีนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เยปิ


    เต ภิกฺขเว เอตรหิ. เพราะพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ไม่มี. แต่พึงทราบ


    คำนั้น โดยพระบาลีนี้ว่า พระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ แม้ในระหว่างแห่งจักรวาล


    ไม่มีฉันใด. บทว่า ปณฺฑิโต แปลว่า เฉียบแหลม. บทว่า กุลโล ได้แก่


    ฉลาด ในธรรมมีขันธ์ธาตุ และ อายตนะ เป็นต้น.


    บทว่า ภิกฺขุปริสา อานนฺท ทสฺสนาย ความว่า ชนเหล่าใด ประ-


    สงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าไปหาพระเถระ และชนเหล่าใดมาได้ยิน


    คุณของพระเถระว่า ได้ยินว่า ท่านพระอานนท์น่าเลื่อมใสรอบด้าน งามน่าชม


    เป็นพหุสูต ผู้งามในสงฆ์ ท่านหมายเอาชนเหล่านั้นจึงกล่าวว่า ภิกษุบริษัท


    เข้าไปพบพระอานนท์. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า อตฺตมนา ชื่อว่า มีใจ


    เป็นของตน คือมีจิตยินดีเพราะเห็นสมด้วยการฟังมา. บทว่า ธมฺม ได้แก่


    ธรรมคือปฏิสันถารเห็นปานนี้ว่าผู้มีอายุ พอทนได้หรือ พอเป็นไปได้หรือ


    เธอจงทำกิจในโยนิโสมนสิการ จงบำเพ็ญอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตร. ใน


    ธรรมคือปฏิสันถารนั้น มีการกระทำที่ต่างกันในภิกษุณีทั้งหลายดังนี้ว่า ภิกษุณี


    ทั้งหลาย ๔ พวก ท่านสมาทานประพฤติครุธรรม ๘ บ้างละหรือ. เมื่ออุบาสก


    ทั้งหลายมาไม่กระทำปฏิสันถารอย่างนี้ว่า ท่านไม่เจ็บปวดศีรษะหรืออวัยวะบ้าง


    หรือ. แต่จะกระทำปฏิสันถารอย่างนี้ว่า ท่านอุบาสกทั้งหลาย สรณะ ๓ เป็น


    อย่างไร ท่านรักษาศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถเดือน ๘ ครั้ง จงกระทำวัตรคือ


    การบำรุงมารดาบิดา จงปฏิบัติสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม. ในอุบาสิกา


    ทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน.


    บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทำข้อเปรียบเทียบกับพระเจ้าจักรพรรดิสำหรับ


    พระอานนทเถระ. จึงตรัสว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า


    นั้น บทว่า ขตฺติยา ได้แก่ชาติกษัตริย์ผู้ได้รับมุรธาภิเษก และมิได้รับมุรธา




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 432


    ภิเษก. ได้ยินว่า กษัตริย์เหล่านั้น สดับคำพรรณนาคุณของจักรพรรดินั้นว่า


    ธรรมดาว่าพระเจ้าจักรพรรดิงาม น่าชม น่าเลื่อมใส สัญจรไปได้ทางอากาศ


    เถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงธรรม เป็นธรรมราชาดังนี้ย่อมดีใจ ในเมื่อได้เห็น


    สมด้วยได้ยินพระคุณ. บทว่า ภาสติ ได้แก่ ทรงกระทำปฏิสันถารว่า พ่อเอ๋ย


    อย่างไรเรียกว่าบำเพ็ญราชธรรม อย่างไรเรียกว่ารักษาประเพณี. แต่ใน


    พราหมณ์ทั้งหลาย ทรงกระทำปฏิสันถารอย่างนี้ว่า ท่านอาจารย์อย่างไร ชื่อว่า


    สอนมนต์ เหล่าศิษย์ก็เรียนมนต์ พวกท่านจงทำทักษิณา ผ้า หรือโคแดง.


    ในคฤหบดีทั้งหลาย ทรงทำปฏิสันถารอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย พวกท่านไม่ถูกเบียด


    เบียนด้วยอาชญา หรือด้วยภาษีอากรจากพระราชามีบ้างหรือ ฝนตกต้องตาม


    ฤดูกาลไหม ข้าวกล้าสมบูรณ์ไหม. ในสมณะทั้งหลายก็ทรงทำปฏิสันถารอย่าง


    นี้ว่า ท่านเจ้าข้า บริขารสำหรับบรรพชิตหาได้ง่ายไหม พวกท่านอย่าประมาท


    ในสมณธรรม.


    บทว่า ขุทฺทกนครเก ได้แก่นครเล็ก ที่คับแคบ เป็นนครที่ยังต้อง


    พัฒนา. บทว่า อุชฺชงฺคลนครเก ได้แก่ นครที่มีพื้นไม่เรียบ. บทว่า


    สาขนครเก ได้แก่นครเล็กเสมือนกิ่งของนครใหญ่อื่น เหมือนกิ่งเล็ก ๆ ของ


    ต้นไม้ทั้งหลายฉะนั้น. บทว่า ขตฺติยมหาสาลา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ผู้เป็น


    ขัตติยมหาศาล. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. บรรดามหาศาลเหล่านั้น ที่ชื่อว่าขัตติย-


    มหาศาลได้แก่เหล่ากษัตริย์ที่เก็บทรัพย์ไว้ร้อยโกฏิบ้าง พันโกฏิบ้าง จ่ายกหาปณ


    ประจำวันออกไปวันละ ๑ เล่มเกวียน ตกเย็นกหาปณะรับเข้าวันละ ๒ เล่ม


    เกวียน. ที่ชื่อว่าพราหมณมหาศาล ได้แก่เหล่าพราหมณ์ที่เก็บทรัพย์ไว้แปด


    สิบโกฏิ จ่ายกหาปณะไปวันละ ๑ กุมภะ ตกเย็นรับเข้าวันละ ๑ เล่มเกวียน.


    ที่ชื่อว่าคฤหบดีมหาศาล ได้แก่เหล่าคฤหบดีที่เก็บทรัพย์สมบัติไว้ ๔๐ โกฏิ


    จ่ายกหปณะประจำวัน ๆ ละ ๕ อัมพณะ ตกเย็นรับเข้าวันละ ๑ กุมภะ.




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 433


    บทว่า มา เหว อานนฺท อวจ ได้แก่ อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น.


    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอไม่ควรพูดว่า นี่นครเล็ก ความจริง เรา


    ตถาคตมาที่นครนี้ ด้วยความอุตสาหะอย่างใหญ่ ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่


    ยืน นั่ง หลายครั้ง ก็เพื่อจะกล่าวถึงสมบัติของนครนี้โดยแท้ แล้วจึงตรัสว่า


    ภูตปุพฺพ เป็นต้น.


    บทว่า สุภิกฺขา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยของเคี้ยวและของกิน. บทว่า


    หตฺถิสทฺเทน ความว่า เมื่อช้างเชือกหนึ่งร้องขึ้น ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกก็ร้อง


    ตาม ดังนั้น กุสาวดีราชธานี จึงไม่สงัดจากเสียงช้าง. จากเสียงม้าก็เหมือนกัน.


    ก็สัตว์ทั้งหลายในราชธานีนี้มีบุญ มีรถที่เทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัว ตามกัน


    และกันสัญจรไปในระหว่างถนน ฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่สงัดด้วยเสียงรถ. อนึ่ง


    ดุริยางค์ มีกลองเป็นต้น ในนครนั้นก็ย่ำกันอยู่เป็นนิตย์. ดังนั้น จึงชื่อว่าไม่


    สงัดจากเสียงกลองเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมสทฺโท ได้แก่


    เสียงกังสดาล. บทว่า ตาลสทฺโท ได้แก่ เสียงตาลที่เคาะด้วยมือและตาลราง


    สี่เหลียน. บางอาจารย์ กล่าวว่า กูฏเภริสทฺโท เสียงกลองกูฏ ดังนี้ก็มี. บทว่า


    อสถ ปิวถ ขาทถ แปลว่า จงกิน จงดื่ม จงเคี้ยว. ก็ในเรื่องนี้มีความสังเขป


    ดังนี้. กุสาวดีราชธานี ไม่สงัดจากเสียงที่สิบนี้ว่า เชิญบริโภคเถิด ท่านผู้


    เจริญ มีเสียงไม่ขาดเลย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในนครอื่น ๆ มี


    เสียงเห็นปานนี้ว่า พวกเจ้าจงทิ้งหยากเยื่อ จงถือจอบ จงถือกระเช้า เราจัก


    ไปแรมคืน พวกเจ้าจงถือห่อข้าวสาร จงถือห่อข้าวสุก จงให้จัดโล่และอาวุธ


    ดังนี้ฉันใด ในกุสาวดีนี้หามีเสียงเห็นปานนี้ฉันนั้นไม่. ก็แลครั้นตรัสว่าจาก


    เสียงที่สิบ ดังนี้แล้ว ทรงจบมหาสุทัสสนสูตรทั้งหมดว่า ดูก่อนอานนท์


    กุสาวดีราชธานีล้อมรอบด้วยกำแพง ๗ ชั้นแล้ว จึงตรัสว่า คจฺฉ ตฺว อานนฺท


    ดังนี้เป็นต้น.




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 434


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกมถ ความว่า พวกท่าน จงก้าว


    มาข้างหน้า. ถามว่า ก็พวกเจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินารา ไม่ทรงทราบว่าพระผู้มี


    พระภาคเจ้าเสด็จมา ดอกหรือ. ตอบว่าทรงทราบ. ธรรมดาว่า ในสถานที่ๆ


    พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไป ๆ ย่อมโกลาหลมากทั้งที่ยังไม่เสด็จมา ก็เพราะ


    ทรงประชุมกันด้วยกรณียะบางอย่าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพวกเจ้า


    มัลละเหล่านั้น มาแล้วจักต้องจัดโอกาสที่ยืนที่นั่งถวายแก่ภิกษุสงฆ์ จึงส่ง


    พระอานนท์ไปที่สำนักของเจ้ามัลละเหล่านั้น แม้ในเวลาอันไม่ควร. โน อักษร


    ในคำว่า อมฺหาก จ โน นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อฆาวิโน ได้แก่ กุล-


    ทุกข์. บทว่า เจโตทุกฺขสมปฺปิโต ได้แก่ผู้เปี่ยมด้วยโทมนัส. บทว่า กุล-


    ปริวตฺตโส กุลปริวตฺตโส เปตฺวา ความว่า พวกเจ้ามัลละเป็นตระกูล ๆ


    คือสังเขปว่า ตระกูล เป็นส่วน ๆ โดยอยู่ถนนเดียวกันและตรอกเดียวกัน.


    บทว่า สุภทฺโท นาม ปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพพาชกผู้นุ่งห่มผ้า


    จากตระกลอุทิจจพราหมณมหาศาล. บทว่า กงฺขาธมฺโม ได้แก่ธรรมคือ


    ความเคลือบแคลง. ถามว่าก็เพราะเหตุไร สุภัททปริพพาชกนั้นจึงมีความคิด


    อย่างนี้ในวันนี้. ตอบว่า เพราะมีอุปนิสัยอย่างนั้น. ได้ยินว่า แต่ก่อนได้มีพี่


    น้อง ๒ คน ในการบำเพ็ญบุญ. พี่น้อง ๒ คนนั้น ได้กระทำข้าวกล้าร่วมกัน


    ใน ๒ คนนั้น พี่ชายคิดว่าเราจักถวายทานข้าวกล้าอันเลิศปีละ ๙ ครั้ง. ฤดู


    หว่าน ถวายเมล็ดอันเลิศ. ในฤดูข้าวตั้งท้องปรึกษากับน้องชายว่า จักผ่า


    ท้องกล้าถวาย. น้องชายบอกว่า พี่ต้องการจะให้ข้าวกล้าอ่อนพินาศไปหรือ.


    พี่ชายรู้ว่าน้องชายไม่ยินยอม จึงแบ่งนากัน ผ่าท้องข้าวจากส่วนของตน คั้นน้ำ


    นม ปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อย. ในฤดูเป็นข้าวเม่าก็ให้กระทำข้าวเม่าถวาย.


    ในเวลาเกี่ยวก็ให้ถวายข้าวอันเลิศ. ในเวลามัดขะเน็ด ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศ


    ในเวลาทำขะเน็ด. ในเวลาทำเป็นฟ่อนเป็นต้น ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศเวลาทำ




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 435


    ฟ่อน ข้าวอันเลิศขณะขนไว้ในลาน ข้าวอันเลิศขณะนวด ข้าวอันเลิศในขณะ


    อยู่ในฉาง. ได้ถวายทานเลิศในข้าวกล้าปีละ ๙ ครั้ง ดังกล่าวมาฉะนี้. ส่วน


    น้องชายเสร็จทำนาแล้วจึงจะถวาย. ในพี่น้อง ๒ คนนั้น พี่ชายเกิดเป็นพระ


    อัญญาโกณฑัญญเถระ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูว่า เราจะพึงแสดงธรรม


    โปรดแก่ใครก่อนหนอ จึงทรงพระดำริว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ถวาย


    ทานอันเลิศในข้าวกล้าปีละ ๙ ครั้ง เราจักแสดงธรรมอันเลิศนี้แก่เขา จึงทรง


    แสดงโปรดก่อนคนอื่นทั้งหมด. ท่านดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับพรหม


    ๑๘ โกฏิ. ส่วนน้องชายล่าช้าคิดได้อย่างนี้ในเวลาพระศาสดาปรินิพพานเพราะ


    ถวายทานในภายหลัง จึงได้เป็นผู้มีความประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา.


    บทว่า มา ภควนฺต วิเหเสิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเข้าใจว่า


    ขึ้นชื่อว่า อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เห็นแก่ตัวทั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส


    มาก ๆ เพื่อประโยชน์แก่การแก้ปัญหานั้น ก็จักทรงลำบากทั้งทางกายและวาจา


    ด้วยว่า โดยปกติพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงลำบากอยู่แล้วจึงกล่าวอย่างนี้.


    ปริพพาชก ก็ตามใจพระเถระด้วยคิดว่า ภิกษุรูปนี้ ไม่ให้โอกาสแก่เราผู้ต้อง


    การประโยชน์ ก็ได้แต่ตามใจ จึงกล่าว ๒-๓ ครั้ง. บทว่า อสฺโสสิ โข


    ความว่า เมื่อพระเถระยืนพูดอยู่ใกล้ประตูม่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ยิน


    ด้วยพระโสตตามปกติ. ก็แลครั้น แล้วจึงตรัสว่า อล อานนฺท เป็นต้น เพราะ


    พระองค์เสด็จมาด้วยอุตสาหะอันใหญ่ เพื่อโปรดสุภัททะนั่นแล. ศัพท์ว่า อล


    ในคำว่า อล อานนฺท นั้น เป็นนิบาต. ได้ในอรรถว่า ปฏิเสธ. บทว่า


    อญฺาเปกฺโข ว แปลว่า เป็นผู้ใคร่จะรู้.


    บทว่า อพฺภญฺีสุ ได้เเก่ รู้อย่างที่เจ้าลัทธิเหล่านั้นปฏิญญา. ท่าน


    อธิบายว่า ปฏิญญานั้นของเจ้าลัทธิเหล่านั้น เป็นนิยยานิกะไซร้ พวกเขาทั้ง


    หมด ก็รู้ทั่วถึง ถ้าปฏิญญาของพวกเขาไม่เป็นนิยยานิกะไซร้ พวกเขาก็ไม่รู้




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 436


    เพราะฉะนั้น ปฏิญญาของเจ้าลัทธิเหล่านั้น เป็นนิยยานิกะหรือไม่เป็นนิยยานิกะ.


    ใจความของปัญหานั้น มีอย่างนี้เท่านั้น. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง


    ปฏิเสธว่า อย่าเลย เพราะไม่เป็นฐานะอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีโอกาสอย่างหนึ่ง


    ด้วยการตรัสถึงความที่ปฏิญญาของเจ้าลัทธิเหล่านั้น ไม่เป็นนิยยานิกะ จึงทรง


    แสดงธรรมอย่างเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยพระพุทธประสงค์ว่า


    จักทรงแสดงธรรมโปรดพวกเจ้ามัลละตอนปฐมยาม แสดงธรรมโปรดสุภัททะ


    ตอนมัชฌิมยาม สอนภิกษุสงฆ์ตอนปัจฉิมยาม เสด็จปรินิพพานในเวลาใกล้รุ่ง.


    บทว่า สมโณปิ ตตฺถ น อุปลพฺภติ ความว่า ในธรรมวินัยนั้น


    ไม่มีแม้สมณะที่ ๑ คือพระโสดาบัน แม้สมณะที่ ๒ คือพระสกทาคามี แม้


    สมณะที่ ๓ คือพระอนาคามี แม้สมณะที่ ๔ คือพระอรหันต์ ก็ไม่มีในธรรม


    วินัยนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโดยไม่กำหนดเทศนาเบื้องต้น บัดนี้ เมื่อ


    ทรงกำหนดศาสนาของพระองค์จึงตรัสว่า อิมสฺมึ โข เป็นต้น. บทว่า สุญฺา-


    ปรปฺปวาทา สมเณภิ ความว่า ปรัปปวาท (ลัทธิของเจ้าลัทธิอื่น) สูญว่าง


    เปล่า จากสมณะ ๑๒ จำพวก คือผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อประโยชน์แก่มรรค ๔ รวม


    ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก. บทว่า


    อิเม จ สุภทฺท ความว่า ภิกษุ ๑๒ จำพวกเหล่านี้. ในคำว่า สมฺมา วิหเรยฺยุ


    พระโสดาบันบอกฐานะที่ตนบรรลุแก่ผู้อื่นทำผู้อื่นนั้นให้เป็นโสดาบัน ชื่อว่าอยู่


    โดยชอบ. ในพระสกทาคามีเป็นต้นก็นัยนี้. พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค


    กระทำแม้ผู้อื่นให้เป็นผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคก็ชื่อว่า อยู่โดยชอบ. ในพระ


    ผู้ตั้งอยู่ในมรรคที่เหลือก็นัยนี้. พระผู้เริ่มวิปัสสนา เพื่อโสดาปัตติมรรค


    กำหนดกัมมัฏฐานที่ตนคล่องแคล่ว กระทำแม้ผู้อื่นให้เป็นผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อ


    โสดาปัตติมรรคก็ชื่อว่าอยู่โดยชอบ. ในพระผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อมรรคที่เหลือก็




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 437


    นัยนี้. ท่านหมายเอาความข้อนี้จึงกล่าวว่า สมฺมา วิหเรยฺย. บทว่า อสุญฺโ


    โลโก อรหนฺเตหิ อสฺส ความว่า พึงไม่ว่างเว้นเหมือนป่าไม้อ้อ ป่าไม้แขม.


    บทว่า เอกูนตึส วยสา ได้แก่ ทรงมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษาโดย


    วัย. คำว่า ย ในคำว่า ย ปริพฺพชฺชึ นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กึ กุสลา-


    นุเอสี ได้แก่ ทรงเสาะแสวงว่าอะไรเป็นกุศลท่านประสงค์สัพพัญญุตญาณ ว่า


    กุศลคืออะไร ในคำว่า กึ กุสลานุเอสี นั้น อธิบายว่า ทรงแสวงหาสัพพัญ-


    ตญาณนั้น. ด้วยบทว่า ยโต อหึ ทรงแสดงว่า จำเดิมแต่กาลใด แต่ระหว่าง


    นี้เราบวชมาเกิน ๕๐ พรรษา. บทว่า ายสฺส ธมฺมสฺส ได้แก่ ธรรมคือ


    อริยมรรค. บทว่า ปเทสวตฺติ เป็นไปในประเทศคือ แม้ในทางแห่งวิปัสสนา.


    บทว่า อิโต พหิทฺธา ภายนอกศาสนาของเรา. บทว่า สมโณปิ นตฺถิ แม้


    สมณะผู้บำเพ็ญวิปัสสนา ผู้อยู่ในทางแห่งวิปัสสนาไม่มี ท่านอธิบายว่า สมณะ


    ที่ ๑ แม้ที่เป็นโสดาบันไม่มี.


    บทว่า เย เอตฺถ ความว่า เธอเหล่าใดอันพระศาสดาอภิเษกโดยอัน


    เตวาสิกาภิเสก เฉพาะพระพักตร์ในพระศาสนานี้ เป็นลาภของเธอเหล่านั้น เธอ


    เหล่านั้นได้ดีแล้ว. ได้ยินว่า ในลัทธิภายนอก อาจารย์พูดกับอันเตวาสิกผู้ใดว่า


    จงบรรพชาผู้นี้ จงโอวาทสั่งสอนผู้นี้ อันเตวาสิกผู้นั้นย่อมเป็นอันอาจารย์ตั้ง


    ไว้ในฐานะของตน เพราะฉะนั้น ข้อเหล่านี้ว่า จงบวชผู้นี้ จงโอวาทสั่งสอน


    ผู้นี้ เป็นลาภของอันเตวาสิกผู้นั้น. สุภัททปริพาชกถือลัทธิภายนอกนั้นนั่น


    แหละ จึงกล่าวแม้กะพระเถระอย่างนี้.


    บทว่า อลตฺถ โข แปลว่า ได้แล้วอย่างไร. ได้ยินว่า พระเถระ


    นำสุภัททะนั้นไปในที่แห่งหนึ่งเอาน้ำจากคณโฑรดศีรษะบอกตจปัญจกกัมมัฏ-


    ฐาน ปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะแล้วให้สรณะแล้วนำไปยังสำนัก


    พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้อุปสมบทแล้ว ตรัสบอกกัมมัฏ-




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 438


    ฐาน. เธอรับกัมมัฏฐานไว้แล้ว อธิษฐานจงกรมในที่ส่วนหนึ่งแห่งอุทยาน


    พากเพียรพยายามชำระวิปัสสนาบรรลุอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้วมาถวาย


    บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งลง. ท่านหมายเอาอุปสมบทกรรมนั้นจึงกล่าวว่า


    อจิรูปสมฺปนฺโน โข ปน เป็นต้น. ก็ท่านพระสุภัททะนั้น ได้เป็นปัจฉิมสักขี


    สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล. คำของพระสังคีติกาจารย์ว่า ในบรรดาสาวก


    เหล่านั้น รูปใดบรรพชาเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภายหลัง


    ได้อุปสมบทเรียนกัมมัฏฐานบรรลุพระอรหัตก็ดี ได้แม้อุปสมบท เมื่อพระผู้มี


    พระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังเรียนกัมมัฏฐานบรรลุอรหัตก็ดี เรียน


    แม้กัมมัฏฐานเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังบรรลุอรหัตก็ดี


    แม้ทุกรูปนั้น ก็ชื่อว่าปัจฉิมสักขีสาวก. ส่วนท่านสุภัททะนี้ บรรพชาอุปสมบท


    เรียนกัมมัฏฐานบรรลุพระอรหัต เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่.


    จบกถาพรรณนาปัญจมภาณวาร.


    บัดนี้ เพื่อจะแสดงการประทานพระโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ ที่ทรงเริ่มไว้


    นั้นจึงกล่าวคำว่า อถ โข ภควา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า


    เทสิโต ปญฺตฺโต ความว่า ทั้งธรรมก็ทรงแสดงแล้วบัญญัติแล้ว ทั้งวินัย


    ก็ทรงแสดงบัญญัติแล้ว. อธิบายว่า ชื่อว่าทรงบัญญัติ ได้แก่ทรงแต่งตั้งแล้ว.


    บทว่า โส โว มมจฺจเยน ได้แก่ ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของท่านทั้ง


    หลายโดยที่เราล่วงไป.


    จริงอยู่ เรายังเป็นอยู่นี้แลแสดงอุภโตวิภังควินัย พร้อมทั้งขันธก


    บริวารแก่เธอทั้งหลาย ในวัตถุที่จัดไว้ด้วยอำนาจกองอาบัติทั้ง ๗ ว่า นี้อาบัติ


    เบา นี้อาบัติหนัก นี้อาบัติที่แก้ไขได้ นี้อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ นี้อาบัติที่เป็น


    โลกวัชชะ นี้เป็นปัณณัติวัชชะ นี้อาบัติออกได้ในสำนักบุคคล นี้อาบัติออก




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 439


    ได้ในสำนักคณะ นี้อาบัติออกได้ในสำนักสงฆ์. วินัยปิฎกแม้ทั้งสิ้นนั้น เมื่อ


    เราปรินิพพานแล้วจักทำกิจของศาสดาของพวกท่านให้สำเร็จ. อนึ่ง เรายังเป็น


    อยู่นี้แหละ ก็จำแนกแยกแยะธรรมเหล่านี้แสดงสุตตันตปิฎกด้วยอาการนั้นว่า


    เหล่านี้สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์


    ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ สุตตันตปิฎกแม้ทั้งสิ้นนั้นจักทำกิจแห่งศาสดาของท่าน


    ทั้งหลายให้สำเร็จ. อนึ่ง เรายังดำรงอยู่นี้แหละ จำแนกแยกแยะธรรมเหล่านี้


    คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ อินทรีย์ ๒๒ เหตุ ๙ อาหาร ๔


    ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ สัญเจตนา ๗ จิตต์ ๗ แม้ในจิตนั้น ธรรม


    เท่านี้ เป็นกามาวจร เท่านี้เป็นรูปาวจร เท่านี้เป็นอรูปาวจร เท่านี้เป็นธรรม


    เนื่องกัน เท่านี้เป็นธรรมไม่เนื่องกัน เท่านี้เป็นโลกิยะ เท่านี้เป็นโลกุตตระ


    แล้วแสดงอภิธรรมปิฎก เป็นสมันตปัฏฐาน ๒๔ ประดับมหาปัฏฐานอนันตนัย


    อภิธรรมปิฎกแม้ทั้งสิ้น เมื่อเราปรินิพพานแล้ว จักทำกิจแห่งศาสดาของเธอ


    ทั้งหลายให้สำเร็จ.


    อนึ่ง พระพุทธวจนะนี้ทั้งหมด ที่เราภาษิตแล้ว กล่าวแล้ว ตั้งแต่


    ตรัสรู้ จนถึงปรินิพพานมีมากประเภทอย่างนี้ คือ ปิฎก ๓ นิกาย ๕ องค์ ๙


    แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์. พระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พันเหล่านี้ดำรงอยู่


    ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเหตุเป็นอันมากอย่างนี้ว่า


    เราจักปรินิพพานผู้เดียว อนึ่ง เราบัดนี้ก็โอวาทสั่งสอนผู้เดียวเหมือนกัน เมื่อ


    เราปรินิพพานแล้ว พระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พันเหล่านี้ก็จักโอวาทสั่งสอน


    ท่านทั้งหลาย ทรงโอวาทว่าธรรม วินัย นั้นจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย


    เมื่อเราล่วงไป แล้วเมื่อทรงย้ำแสดงจารีตในอนาคตกาล จึงตรัสว่า ยถา โข


    ปน เป็นต้น.




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 440


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ย่อมกล่าวย่อมร้อง


    เรียก. บทว่า นาเมน วา โคตฺเตน วา ได้แก่ นวกะพึงร้องเรียกโดยชื่อ


    อย่างนี้ว่า ติสสะ นาคะ หรือโดยโคตรอย่างนี้ว่า กัสสปโคตร หรือโดยวาทะ


    ว่า อาวุโส อย่างนี้ว่า อาวุโสติสสะ อาวุโสกัสสปะ บทว่า ภนฺเตติวา


    อายสฺมาติวา ได้แก่ พึงเรียกอย่างนี้ว่า ภนฺเต ติสสะ อายฺสมา ติสสะ.


    บทว่า สมูหนตุ ไคัแก่ เมื่อจำนงอยู่ จงถอน. อธิบายว่า ผิว่า


    ปรารถนา. ก็พึงถอนเสีย. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่


    ตรัสโดยส่วนเดียวว่า จงถอนเสีย แต่ตรัสด้วยคำเป็นวิกัป. ตอบว่า เพราะ


    ทรงเห็นกำลังของมหากัสสปะ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นว่า


    เมื่อตรัสว่า จงถอนเสีย พระมหากัสสปะจักไม่ถอนในเวลาทำสังคายนา เพราะ


    ฉะนั้น จึงตรัสไว้ด้วยคำเป็นวิกัป นั่นและ เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มาใน


    ปัญจสติกสังคีติโดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาพระเถระเหล่านั้นพระเถระบางเหล่า


    กล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เสีย นอกนั้นก็เป็นอาบัติเล็กน้อย ๆ. ก็การ


    วินิจฉัยในเรื่องอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาชื่อสมันตปาสาท-


    ทิกา.


    ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระนาคเสนรู้จักอาบัติเล็ก ๆ น้อย เพราะ


    ถูกพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ท่านพระนาคเสน อาบัติเล็กเป็นอย่างไร อาบัติ


    น้อยเป็นอย่างไร ? ทูลตอบว่า มหาบพิตร ทุกกฏเป็นอาบัติเล็ก ทุพภาษิตเป็น


    อาบัติน้อย. ส่วนพระมหากัสสปะเถระ เมื่อไม่รู้อาบัติเล็ก อาบัติน้อยนั้นจึง


    ประกาศว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบททั้งหลายของพวก


    เราที่เป็นส่วนของคฤหัสถ์ก็มีอยู่ แม้คฤหัสถ์ทั้งหลายก็รู้ว่า ข้อนี้ควรแก่ท่าน


    ทั้งหลายที่เป็นสมณสักยบุตร ข้อนี้ไม่ควรแก่ท่านทั้งหลายที่เป็นสมณสักยบุตร


    ถ้าเราจะถอนสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ เสีย ผู้คนทั้งหลายก็จักว่ากล่าวเอาได้ว่า




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 441


    สิกขาบทที่พระสมณโคดมบัญญัติเอาไว้แก่สาวกทั้งหลายอยู่ได้ชั่วควันไฟ สาวก


    เหล่านี้ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบเท่าที่ศาสดายังดำรงอยู่ เพราะศาสดา


    ของสาวกเหล่านี้ปรินิพพานเสียแล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติในข้อที่ไม่ทรงบัญญัติ


    ไม่พึงถอนในข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลาย


    ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว นี้เป็นญัตติ. ท่านประกาศกรรมวาจาดังกล่าวมานี้. ข้อนั้น


    ไม่ควรถืออย่างนี้ ก็ท่านพระนาคเสนกล่าวไว้อย่างนั้น ด้วยประสงค์จะไม่ให้


    ปรวาที (ฝ่ายตรงกันข้าม) มีโอกาส. ท่านพระมหากัสสปเถระ ประกาศ


    กรรมวาจานี้ก็ด้วยประสงค์จะไม่เพิกถอนอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ แล. แม้เรื่อง


    พรหมทัณฑ์ท่านก็วินิจฉัยไว้แล้วในอรรถกถาวินัยชื่อสมันตปาสาทิกา เพราะ


    มาแล้วในบาลีสังคีติ.


    บทว่า กงฺขา คือ ทางสองแพร่ง. บทว่า วิมติ คือ ไม่สามารถจะ


    วินิจฉัยได้. ความสังเขปในข้อนี้อย่างนี้ว่า ผู้ใดพึงบังเกิดความสงสัยว่า เป็น


    พระพุทธเจ้าหรือไม่ใช่พระพุทธเจ้าหนอ เป็นพระธรรมหรือไม่ใช่พระธรรม


    หนอ เป็นพระสงฆ์หรือไม่ใช่พระสงฆ์หนอ เป็นมรรคหรือมิใช่มรรคหนอ


    เป็นปฏิปทาหรือไม่ใช่ปฏิปทาหนอ เราจะกล่าวข้อนั้นแก่เธอทั้งหลาย ดูก่อน


    ภิกษุทั้งหลาย เธอจงถามดังนี้. บทว่า สตฺถุคารเวนาปิ น ปุจฺเฉยฺยาก


    ความว่า ถ้าพวกเธอไม่ถามด้วยความเคารพในศาสดาอย่างนี้ว่า พวกเราบวช


    ในสำนักของพระศาสดา แม้ปัจจัย ๙ ก็เป็นของพระศาสดาของพวกเราเหล่า


    นั้น ก็ไม่ควรจะทำความสงสัยตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ในวันนี้ ไม่ควรจะทำ


    ความสงสัยในกาลภาคหลัง. บทว่า สหายโกปิ ภิกฺขเว สหายกสฺส อาโร-


    เจตุ ทรงแสดงว่า บรรดาท่านทั้งหลาย ผู้ใดเห็นคบกันแล้วกับภิกษุใด ผืนนั้น


    จงบอกภิกษุนั้นว่า ข้าพเจ้าจะบอกแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ท่านทั้งหลายฟังคำภิกษุนั้น


    แล้วจักหมดความสงสัยทุกรูป. บทว่า เอวปสนฺโน ความว่า ข้าพเจ้าเชื่ออย่าง




    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 442


    นี้. บทว่า าณเมว ความว่า กระทำความเป็นผู้หมดความสงสัยให้ประจักษ์


    ชื่อว่า ความรู้นั่นแลของตถาคตในข้อนี้ มิใช่เพียงความเชื่อ. บทว่า อิเมสญฺหิ


    อานนฺท ความว่าบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่นั่งอยู่ภายในม่านเหล่านี้. บทว่า โย


    ปจฺฉิมโก ความว่า ภิกษุใดต่ำสุดโดยคุณ. ท่านกล่าวหมายถึงพระอานนท์


    เถระเท่านั้น. บทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ความว่า จงยังกิจทั้งปวงให้


    สำเร็จด้วยความไม่ไปปราศจากสติ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทม


    ที่เตียงปรินิพพาน ประทานพระโอวาทที่ประทานมา ๔๕ พรรษา รวมลงใน


    บทคือความไม่ประมาทอย่างเดียวเท่านั้น. ก็คำนี้ว่า ปจฺฉิม วาจา เป็นคำ


    ของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย ต่อแต่นี้ไป เพื่อจะแสดงข้อที่พระผู้มีพระภาค-


    เจ้าทรงกระทำบริกรรมในพระปรินิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  13. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
  14. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    ในสมัยสมเด็จโต มีเจ้าพระยาคนนึงถามสมเด็จท่านว่า องค์พระยังไม่ได้ขึ้นหล่อองค์ และยังไม่ได้เบิกพระเนตร จะเป็นองค์พระแล้วรึครับท่าน...สมเด็จ สมเด็จโต บอกว่า เป็นแล้วจ้ะ เป็นตั้งแต่ดินปั้นแรกวางบนกระดานแล้วจ๊ะ เพราะผู้ปั้น มีใจเป็นพระมาก่อนแล้ว...............................นี้ก็เป็นธรรมแบบนึงที่สมเด็จท่านสอนออกมา
     
  15. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    ไหว้พระพุทธรูป




    [​IMG]
    ครั้งหนึ่ง สมเด็จฯ โต ได้ไปสวดมนต์ที่บ้านชาวเหนือ หรือ ปัจจุบันคือ
     
  16. nerazzurriboyz1908

    nerazzurriboyz1908 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    713
    ค่าพลัง:
    +763
    ไม่ขอวิจารณ์ในตัวท่าน แต่ผู้รู้น้อยอย่างผมยังจะกราบพระต่อไปครับ
     
  17. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    ระหว่างพระไตรปิฎกที่เป็น พระวินัย พระสุตตันฯ พระอภิธรรม ซึ่งเป็นขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์นั้นอันไหนจะเชื่อได้มากกว่ากัน แล้วพระสงฆ์ทั่วโลกของพระศาสนานี้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ใครจะพระศาสดากันแน่ ครูบาอาจารย์หรือพระพุทธองค์ลองใช้หลักกาลามสูตร ดูก็ได้อย่าเชื่อ ให้ปฏิบัติด้วยตนเองเมื่อได้ผลนั้นคือชื่อว่าเป็นพุทธแท้...เราท่าน ใช่ต้องเรียนตามครูบาอาจารย์แต่ไม่ใช่จะต้องเชื่อไปทุกเรื่อง เมื่อเรียนรู้แล้วให้ไปปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้วรู้แจ้งเห็นจริง นั่นคือหนทางพ้นทุกข์ได้ ก่อนอื่นเราต้องมีความรู้บ้างในตำราเพราะศาสนาของพระสมณโคดม เป็นยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์ เรียนรู้ และทดลอง(คือการปฏิบัตินั่นแหละ) เพราะคนไทยชอบเอาแต่ผล คือความอัศจรรย์การบรรลุธรรมของครูบาอาจารย์ แล้วผลนั้นมาเพื่อให้ตัวเองได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ หลวงปู่เกษมท่านไม่สอนถ้าใครไม่อ่านพระไตรปิฎกให้มีความรู้บ้างเสียก่อน รู้อะไรรู้ธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา และสอนให้แก่คนทุกระดับ ท่านต้องถามก่อนว่ามีปัญหาอะไร ไม่เคยขึ้นแสดงธรรมด้วยการพูดอยู่คนเดียว ความอัศจรรย์ของท่านอยู่ตรงนี้ เมื่อท่านรู้ปัญหาของใครแบบไหน ท่านจะตอบได้ทุกเรื่อง อธิบายชัดเจน มีพระไตรปิฎกมาอ้างอิงในเรื่องและปัญหานั้น ๆ เกิดมาไม่เคยเห็นพระสงฆ์รูปไหนแสดงธรรมได้ชัดเจนแบบนี้ เห็นมีแต่เทศน์ตามเนื้อเรื่องที่ตัวเองจะเทศน์ บางทีญาติโยมก็พากันหลับใหล หมดลานวัด หมดศาลา การที่หลวงปู่เห็นสัตว์ภูมิต่ำ ๆ นั้นไม่ได้เป็นเรื่องแปลก สุนัขซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานมันยังสามารถเห็นผีได้ แล้วทำไม พระหรือปุถุชนคนใดจะเห็นไม่ได้ และก็ท่านมีเมตตา ถ้าเป็นครูบาฯบางท่านก็สวด เสกไล่ไปหมดไปให้พ้นโดยไม่ได้ดูว่าเขาอยู่ลำบากหรือเขาอาจจะเป็นญาติเราก็ได้ แต่หลวงปู่ท่านมีเมตตาต่อสัตว์เหล่านั้น จึงสอนการอุทิศบุญด้วยการรีบอุทิศบุญทันทีเมื่อเราทำบุญ เพราะบุญเราจะมีเพียงแค่แป๊บเดียว ก็หมดไปไม่ได้คิดอุทิศให้ใคร ใครก็รับไปไม่ได้ ท่านเมตตาแม้พวกเราเองว่าการทำบุญไม่ส่งผลบุญให้คนอื่น ถ้าเป็นพวกนายเวรเราเขาก็จะจ้องตามแก้แค้นเรา ลองคิดดูซิ ถ้าเราไปตบหน้าใครทีนึงเราให้เงินเขา สัก 2000 บาทเขาจะเอาไหม หรือเขาจะตบเราตอบ ลองคิดดูซิว่าถ้าเป็นเราเราจะเอาไหม อย่าลืมว่าคนเราเกิดมาในโลกนี้ไม่ได้เกิดมาชาติเดียวเราเคยทำไว้หมดแล้วกรรมดีกรรมชั่วและวิบาก ที่เราได้รับทางดี หรือไม่ดีนั้นเราเป็นผู้ทำไว้แล้ว เราจึงได้รับอย่างนั้นไม่ใครกำหนดนอกจากกรรมที่เคยได้ทำแต่ชาติก่อนๆๆ หลายชาติตกนรกก็เคยตก เป็นสัตว์เดรัจฉานก็เคยเป็น แล้วเราจะโกรธทำไมว่าใครด่าว่าเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือในภูมิอื่น ๆ แล้วอย่างหลวงปู่ท่านโดนแบบนี้ท่านก็ทำมาแล้วท่านบอกว่าท่านต้องโดนทุกรูปแบบ ท่านก็ยอมเพื่อแก้ไขพระศาสนาให้เป็นไปตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้อง หลังจากที่ถูกย่ำยีมานานแล้ว และจะต้องหลงทางกันอีกยาวไกล ท่านสอนอะไรที่เป็นธรรมชาติ ไม่มีพิธีมากมาย และพิธีนั้นก็มาจากพราหม์ทั้งสิ้นศาสนาถูกหล่อหลอมมาด้วยศาสนพิธี วัฒนธรรม ประเพณี พระพุทธเจ้าไม่มีประเพณีอะไร ทุกเรื่องทุกตอนมีในพระไตรปิฎกหมดทุกหมวด หมู่ แต่คนไทยไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเลย เอาแต่ว่า ๆ ตามกันมา เชื่อว่ามีผู้รู้อยู่แก่ใจ แต่เหมือนว่าศรัทธาล้นหลามห้ามไม่ได้ ถ้าทำก็จะเหมือนหลวงปู่เกษมนี่แหละใครจะกล้า... นั่นไม่ใช่ผู้ที่เป็นสงฆ์สาวกที่แท้จริงหรอก เพราะไม่กล้า อยากให้ลองออกทีวีเลยก็ได้นักปราชญ์ ทั้งหลายกับหลวงปู่ ว่าใครนั่นคือเป็นนักปราชญ์ที่แท้ เอ้าใครที่มีอิทธิพลในเวปนี้ ลองเอาภูมิรู้มาว่า ธรรมกัจฉา กันดีกว่า อย่าเอาแต่โจมตีฝ่ายเดียวมันไม่ยุติธรรม นัดออกทีวีออกข่าวกันมาเลยให้คนทั่วโลกได้รู้ว่าอะไรคือ คำสอนที่แท้จริง เอานักปราชญ์ที่เก่งที่สุดด้วย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท กล้าหรือเปล่าครับท่าน....เรากล้าช่วยจัดให้ที..แต่ความยุติธรรมไม่มีในโลกิยะ ..นี้แน่นอนอยากรู้จังพระที่ออกข่าวมาว่านั้นศีลครบ227 ข้อหรือเปล่า สมุดเงินฝากอยู่ในย่าม มือถืออยู่ในย่าม อะไรอีกหน๊าที่ผิดพระวินัย แค่เงินนี่ก็ไม่ใช่เล่นนะตกนรกน่ะ..กิจของสงฆ์คือการอบรมสั่งสอนชาวบ้านไม่ได้ไปช่วยชาวบ้านทำมาหากิน หรือทำอะไรก็เพื่อจะหวังแค่ยศตำแหน่ง อย่าลืมนะพระพุทธองค์เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินยังทรงเสียสละความสุขนั้นมาแสวงหาธรรมเพื่อ ให้สรรพสัตว์ได้พ้นทุกข์ แล้วท่านหละทำอะไรกันอยู่ทำไมไม่ปกป้องพระศาสนาไว้ตราบเท่าชีวิต ที่ชอบกล่าวอ้างตอนทำวัตรเย็น ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธเจ้า โกหกพระพุทธเจ้ากันหรือเปล่าครับท่านที่ชอบแต่งหนังสือเอาธรรมของพระพุทธองค์ไปขายกันกิน หรือเอารูปเหรียญที่สมมติไปขายกินเกร่อไปหมดนี่หรือ สมควรแล้วหรือ....
     
  18. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    พุทธะแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ตื่นแล้ว จะเบิกเนตรทำไมอีก......
     
  19. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    ความรู้เรื่องพระไตรปิฏก
    ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
    ปาฐกถาโดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ


    ............คำว่า เถรวาท แปลว่า วาทะของพระเถระ หมายความว่า พระอานนท์และพระเถระอื่นๆ ได้ประชุมกันรวบรวมพระพุทธพจน์ที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้นๆ เอามาจัดเป็นหมวดหมู่แล้วก็ท่องจำสืบต่อกันมา ต่อมาได้มีนิกายย่อยๆ เกิดขึ้นมากหลาย ประมาณร้อยปีนั้น มีนิกายที่แตกแยกออกไปถึง ๘ นิกาย แต่ว่านิกายเหล่านั้นแตกแยกออกไปแล้ว ในที่สุดก็สลายตัวหมด คงเหลือแต่เถรวาท มาภายหลังเมื่อเกิดมหายาน ขึ้น มหายานก็เลยเรียกเถรวาท หรือพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนี้ว่าเป็นหินยาน แล้วก็เรียกตัวเองว่า มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ ส่วนหินยาน แปลว่า ยานเลวหรือว่ายานเล็กๆ น้อยๆ คือสมัยที่เกิดการแก่งแย่งกันขึ้นเลยเรียกเถรวาทด้วยชื่อที่ไม่ดี

    แต่ว่าในครั้งหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เรามีการรวบรวมพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลกบรรดามีมาประชุมร่วมกัน ที่เรียกว่าพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhist) ในครั้งแรกนั้น ก็ได้มีการเสนอญัตติขอให้เลิกเรียกคำว่าหินยานเพราะว่าเป็นการเรียกแบบดูหมิ่นกัน หรือว่าเป็นการแสดงความแข่งขันทะเลาะวิวาทกัน ให้คงเรียกเถรวาทตามเดิมคือวาทะของพระเถระที่ท่องจำพระพุทธวจนะสืบต่อกันมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เราจะเห็นได้ว่า พระพุทธวจนะที่นำสืบต่อกันมาทางสายเถรวาทนี้ ได้พยายามรักษาของเก่าดั้งเดิมไว้ทุกอย่างไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทนี้ในปัจจุบันก็มีอยู่คือ ประเทศไทย ประเทศลังกา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา รวม ๕ ประเทศด้วยกัน ส่วนประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายมหายานนั้นก็ได้แก่ธิเบต ญวน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จำนวนก็จะพอๆ กัน แต่ว่าวิธีการทางฝ่ายมหายานนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้มีการแต่งตำราขึ้นมาใหม่บ้าง ดัดแปลงของเก่าบ้าง และก็มีวิวัฒนาการไปไกลมาก ถึงขนาดญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ภิกษุเกือบจะทุกนิกายก็มีครอบครัวได้ มีภรรยาได้ ก็คงจะมีอยู่บางนิกายเท่านั้นที่ไม่มีครอบครัว นี่ก็เป็นวิวัฒนาการของฝ่ายมหายาน แต่ในฝ่ายเถรวาทซึ่งท่านใช้ภาษาบาลีเป็นหลักนั้นยังพยายามรักษาแบบแผน จะเรียกว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือคอนเซอร์เวตีฟก็ได้

    ทีนี้มีปัญหาว่า พระไตรปิฎกนี้มีมาตั้งแต่ครั้งไหน เดิมทีเดียวไม่ได้เรียกพระไตรปิฎก ในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่เรียกว่าธรรมกับวินัยเป็นพื้น แม้เมื่อตอนที่จะนิพพานตรัสสั่งสอนพระอานนท์ไว้ ก็ยังสั่งว่า
     
  20. BRAVA

    BRAVA สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +2
    โดยทั่วไป คนมักเข้าใจในพระรัตนตรัยแบบผิดๆ พระรัตนตรัยอันหมายถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ แต่ทุกวันนี้ คนไปเข้าใจเอาว่า พุทธรูป รูปเหรียญ ที่บอกว่าเป็นรูปพระพุทธเจ้า หรือบางเหรียญก็เป็นรูปของเหล่าสาวกนั้น เป็นตัวแทนของศาสนานี้ คิดไปโดยเอาความเข้าใจและเจตนาของตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ได้เคยมองย้อนลงไปดูในคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลย ความคิดความเข้าใจเหล่านั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด ก็เมื่อรูปเหล่านั้นไม่ด้เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ แล้วการกระทำนี้จะเป็นการย่ำยีพระศาสนาได้อย่างไรกันเล่า หากท่านเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อนว่า อะไรคือรัตนตรัย ท่านจะพบคำตอบ แต่หากแม้น พวกกรมการศาสนา หรือพระที่มีอำนาจจัดการทั้งหลายยังหลงผิดเข้าใจเอาเองอยู่ว่าพระพุทธรูปนั้นคือศาสนา งั้นท่านทั้งหลายคงขัดกับคำสอนของพระพุทธองค์ ก็ลองถามตัวเองดูเถิดว่าศาสนานี้เป็นของใครกันเเน่ เป็นของกรมศาสนา กับพระผู้ใหญ่เหล่านั้น หรือเป็นศาสนาของพระพุทธเจ้า ใครคิดผิดกันเเน่ แต่ที่เเน่ๆข้าพเจ้าไม่ศรัทธาในพระผู้ใหญ่ขอทานกิติมาศักดิ์เหล่านั้น วันๆไม่เคยสอนธรรมตอบแทนประชาชนเลย มีเเต่มอมเมา ให้เชื่อให้หลง และข่มขู่เราด้วยบาปนาๆประการ ห้ามมิให้เราสงสัย เราเบื่อพวกพระโดยอาชีพเหล่านั้นเสียจริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...