ภัตตานุโมทนากถา 2 พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 27 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>กัณฑ์ที่ ๒๙
    ภัตตานุโมทนากถา
    วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗
    .................................................................



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ



    ทานํ เทติ สีลํ รกฺขติ ภาวนํ ภาเวติ
    พุทฺเธ สทฺทหติ ธมฺเม สทฺทหติ สงฺเฆ สทฺทหติ
    อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตินฺติ ฯ





    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22>
    </TD></TR><TR><TD class=setcek height=20 colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row1><TD class=profile align=middle></TD><TD height=25 width="100%"><TABLE cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=gensmall width="100%"></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถาเป็น ภัตตานุโมทนากถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของเจ้าภาพ ผู้มีจิตศรัทธาเป็นสมานฉันท์พร้อมใจกันมาบริจาคทานแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาในวัดปากน้ำนี้

    เวลาเช้าได้ถวายข้าวยาคู คือ ข้าวต้ม
    เวลาเพลได้ถวายโภชนาหาร พร้อมด้วยสูปพยัญชนะ
    เวลาบ่ายนี้ให้มีพระสัทธรรมเทศนาน้อมนำปัจจัยไทยธรรมทั้ง ๔ นี้ บูชาพระสัทธรรม ได้ชื่อว่าถวายทานแด่พระธรรมอีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นอันว่า เจ้าภาพได้ถวายทานครบทั้งพระรัตนตรัย คือ ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า ได้ถวายทานแด่พระธรรม และได้ถวายทานแด่พระสงฆ์ เป็นองค์คุณของพระพุทธศาสนา



    พุทฺโธ พระพุทธเจ้า เป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นจากพระพุทธรัตนะ
    ธมฺโม คือพระธรรม เป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นจากพระธรรมรัตนะ
    สงฺโฆ ก็เป็นเนมิตกนามเกิดขึ้นจากสังฆรัตนะ
    รัตนะทั้ง ๓ นี้ คือ พระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นตัวจริงของพระพุทธศาสนา เป็นแก่นสารหลักของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>เราเป็นพุทธศาสนิกชนหญิงก็ดี ชายก็ดี เป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ต้องรู้จักพระรัตนตรัยนี้ ถ้าไม่รู้จักรัตนะทั้งสามนี้แล้ว การนับถือศาสนาปฏิบัติในศาสนาเอาตัวรอดไม่ได้



    ถ้าได้เข้าถึงพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะแล้ว ก็แก้ไขโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้หายได้บ้าง ทำอะไรได้ผลอันศักดิ์สิทธิ์บ้าง นั่นก็เพราะคุณของพระรัตนตรัย ที่มีอยู่ในตัวของเรา

    แต่หากใช้ไม่เป็น ทำไม่เป็น ก็ไม่ปรากฏเหมือนกัน ถ้าใช้เป็น ทำเป็นถูกส่วนเข้าแล้ว เห็นปรากฏจริงๆ




    แต่ว่าเป็นชั้นๆ เข้าไป ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยากลำบากอยู่ จะว่ายากก็ไม่ยากจนเกินไป จะว่าง่ายก็ไม่ง่ายจนเกินไป หรือว่าไม่ยากไม่ง่ายนั้นก็ถูก
    คือ ไม่ยากสำหรับบุคคลผู้ที่ทำได้ ปฏิบัติได้
    ไม่ง่ายสำหรับบุคคลที่ทำไม่เป็น ปฏิบัติไม่ถูก
    คนทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่เป็นก็บอกว่ายาก
    แต่คนทำได้ ปฏิบัติถูก ก็บอกว่าง่าย
    เพราะฉะนั้น จึงว่าไม่ยากไม่ง่าย ไม่ยากแก่คนที่ทำได้ ไม่ง่ายแก่คนที่ทำไม่ได้ หลักนี้เป็นของสำคัญนัก เพราะเป็นชั้นๆ เข้าไป ให้รู้จักกายเหล่านี้เสียก่อน ให้รู้จักพระรัตนตรัยเสียก่อน


    ถ้าไม่รู้จักพระรัตนตรัยเสียก่อนแล้ว เอาหลักไม่ได้ ถึงจะฟังธรรม ฟังเทศน์ไปสักเท่าใด ก็จับจุดเอาหลักไม่ได้


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระรัตนตรัยนั้นอยู่ในตัวของเรานี้เอง อยู่ตรงไหน? อยากจะพบ ตัวของเรามีศูนย์กลางอยู่ คือ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย สมมติว่าเราขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งจากหน้าท้องตรงสะดือทะลุหลัง และอีกเส้นหนึ่งจากกึ่งกลางสีข้างขวาทะลุซ้ายตึงตรงกลางกั๊ก ที่ด้ายกลุ่มนั้นจรดจุดที่กลางด้ายกลุ่มสองเส้นจดกันนั่นแหละเรียกว่า กลางกั๊ก


    ตรงกลางกั๊กนั้นถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ให้เอาใจไปหยุดอยู่ตรงกลางกายมนุษย์นั้น

    ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ที่ตรงนั้นแหละ เป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น มีแห่งเดียว

    ก่อนมนุษย์จะมาเกิด หญิงก็ดี ชายก็ดีต้องเอาใจไปจรดตรงนั้น จึงเกิดได้ ถ้าไม่หยุด ไม่นิ่งเกิดไม่ได้

    พอหยุดถูกส่วนเข้าเกิดได้ทันที ตรงนั้นแหละ เป็นที่หยุด และเป็นที่เกิด เป็นที่ตาย พอใจไปหยุดถูกส่วนเข้าก็เกิดและตาย ตรงนั้นเป็นที่เกิดที่ดับแห่งเดียว

    ไม่ใช่แต่ที่เกิดที่ดับเท่านั้น ตรงกลางนั้นเวลาจะนอนหลับ ใจก็ต้องไปหยุดอยู่ตรงกลางนั้น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าก็หลับ ถ้าไม่ถูกตรงนั้นไม่หยุดนิ่งถูกส่วนตรงนั้น ก็ไม่หลับอีกเหมือนกัน



    หลับตรงไหน ตื่นขึ้นก็ตรงนั้น ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ และเป็นที่ตื่นแห่งเดียว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    อย่าได้เอาใจไปไว้ที่อื่น ให้เอาใจไปจรดไว้ที่ตรงนั้น จึงจะถูกต้อง
    พอใจหยุดถูกที่เข้าเท่านั้น เราจะรู้สึกตัวทีเดียวว่า ช่างเป็นสุขอะไรอย่างนี้หนอ
    ท่านได้ยืนยันไว้ตามตำราว่า นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากความหยุดนิ่งไม่มี พอใจหยุดถูกส่วนเข้าก็เป็นสุขทีเดียว
    พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั้น ให้จำให้แม่น พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั้น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง


    พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงกลางจะเห็นดวงธรรมดวงหนึ่งเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ผุดขึ้นที่ตรงนั้น ตรงกลางของใจที่หยุดนั้น ขนาดเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์



    ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่บังเกิดขึ้นนั้น ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่เกิดขึ้นนั้น หยุดอยู่กลางดวงนั้น

    หยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางใจที่หยุดอีก กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้า จะเห็นอีกดวงหนึ่งเรียกว่า ดวงศีลมีขนาดเท่าๆ กันกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์ดุจกระจกคันฉ่องส่องดูเงาหน้า

    ใจของเราก็หยุดอยู่ตรงกลางดวงศีลอีก พอใจหยุดถูกส่วนเข้า เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็เห็นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวงสมาธิ

    ใจก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธินั้น พอใจหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุดนิ่งนั้น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ถูกส่วนเข้าก็เห็นอีกดวงหนึ่งเรียก ว่า ดวงปัญญา

    ใจหยุดอยู่กลางดวงปัญญานั้น พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั้น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ถูกส่วนเข้าก็เห็นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวงวิมุตติ

    ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั้น ไม่ไปที่อื่น พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของในที่หยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน ไม่คำนึง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

    ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั้นอีก กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นตัวของเราที่ไปเกิดมาเกิดนี้


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อทุกคนปฏิบัติได้เพียงนี้ก็รู้ได้ว่านี่เอง เวลานอนฝัน กายนี้เองออกไป เวลาเลิกฝันแล้ว ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหน บัดนี้ข้าได้มาพบเจ้าเข้าแล้ว เจ้านี่เองเวลาข้าจะไปไหนมาไหน คอยเป็นนายบอกหนทางผิดถูกอยู่เสมอ บอกให้ไปนั่นไปนี่ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เวลาข้านอนเจ้าก็ฝันออกไป




    ไหนเจ้าลองฝันทั้งที่ตื่นให้ข้าดูซิ แล้วก็ฝันไปบอกให้ไปเมืองเพชร ไปดูเขาวัง เขาว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้สร้างพระราชวังอยู่ที่นั่น ไปดูเขาวังซิ สักนาทีเดียวเท่านั้น ไปฝันไปเอาเรื่องเขาวัง กายละเอียดนี้แว๊บไปเอาเรื่องเขาวังมาเล่าให้ฟังแล้ว นั่นฝันไปเรื่องหนึ่ง

    เอาฝันเรื่องเมืองเชียงใหม่ให้ข้าดูอีกที ไปดูเรื่องดอยสุเทพ เขาว่าสนุกสนานนัก ไปดูมาซิ ปล่อยกายละเอียดแว๊บเดียว ไปสักนาทีเดียวเท่านั้นเช่นกัน ไปเอาเรื่องดอยสุเทพมาเล่าให้ฟังอีกแล้ว นี่ก็ฝันเสียอีกเรื่องหนึ่ง

    และไหนลองฝันไปทางอรัญประเทศ และไปทางพระธาตุพนม ไปดูเรื่องพระธาตุพนมมาเล่าให้ฟังซิ สักนาทีเดียวเหมือนกัน กายละเอียดก็ไปเอาเรื่องพระธาตุพนมมาเล่าให้ฟังอีก

    นี่ฝันเสีย ๓ เรื่องแล้ว ชั่วเวลาประเดี๋ยวเดียว ทีนี้ไปทางปักษ์ใต้เสียบ้าง ไปนครศรีธรรมราช เขาว่ามีพระบรมธาตุอยู่ที่เจดีย์ใหญ่ ลองฝันไปซิ สักนาทีเดียว กายละเอียดก็ฝันไปเอาเรื่องนครศรีธรรมราช เรื่องพระเจดีย์ใหญ่นั้นมาเล่าให้ฟังอีกเช่นเดียวกัน นี่เจ้านี่เองฝันได้อย่างนี้ทีเดียว

    เราเห็นเท่านี้ก็ฉลาดกว่าคนอีกชั้นหนึ่งแล้ว เขาใช้แค่กายมนุษย์เท่านั้น แต่เราเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใช้กายมนุษย์ละเอียดจึงฉลาดกว่าเขาเหล่านั้น

    ฉลาดกว่าเขาอย่างไร? คือเรารู้ทีเดียวว่า คนนี้จะซื่อตรง หรือไม่ซื่อตรง ให้ไปดูที่กายละเอียด ไปถามกายละเอียด กายละเอียดจะไปสืบดู เดี๋ยวก็รู้ได้ทันทีว่า คนนั้นซื่อตรงหรือไม่ กายละเอียดบอกกายมนุษย์แล้ว

    นี่ฉลาดกว่ากันอย่างนี้ ใช้ได้อย่างนี้ เข้าไปข้างในถามเรื่องราวจริงได้ และโกหกหลอกลวงกันไม่ได้

    นี่เขาเรียกว่า ปัญญาสองชั้น คือมีปัญญาในกายมนุษย์ชั้นหนึ่ง และมีปัญญาในกายมนุษย์ละเอียด อีกชั้นหนึ่ง




    กายมนุษย์ละเอียดนี้รู้เรื่องมากมาย รู้แม้กระทั่งเรื่องลี้ลับต่างๆ



    ที่ท่านกล่าวว่า นตฺถิ โลเก รโห นาม ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลกนั้นถูกต้องทีเดียว คือ ความลับมีแต่เฉพาะในกายมนุษย์เท่านั้น กายมนุษย์ละเอียดไม่มีความลับ กายทิพย์กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมกายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดอีกมากมายนัก จะโกหกอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ทั้งนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์กว่าจะทรงทราบเรื่องอย่างนี้ได้ พระองค์ต้องดำเนินไปถึง ๑๘ กาย พระองค์ทรงรู้มากกว่าเราถึง ๑๘




    เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วเข้าไปดำเนินปฏิบัติอย่างนั้นเป็นขั้นๆ ไป จนเข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้น พอถูกส่วนเข้าจะเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นลำดับไป ถึงรู้เป็นขั้นๆ เข้าไปอย่างนี้ คือ เข้าไปใจทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แต่ใจต้องหยุดนิ่งอยู่แห่งเดียว จึงจะเข้าไปได้ตลอด

    พอหยุดถูกส่วนในกายมนุษย์ละเอียดเข้าถึง ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์

    พอเข้าถึงกายทิพย์ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด

    พอเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายรูปพรหม

    เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียดดำเนินอย่างเดียวกันนี้ ก็จะเข้าถึงกายธรรม กายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า




    เราจะต้องรู้จักกายนี้ คือ กายธรรม หรือธรรมกาย เป็นกายที่ ๙ ธรรมกายละเอียดมีในกายนี้อีกชั้นหนึ่ง กายธรรม

    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row1><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงธรรมกายอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น เรียกว่า กายธรรมละเอียด เกตุดอกบัวตูม ใส หนักขึ้นไปอีก นี่ธรรมกาย นี่คือพุทธรัตนะ



    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น เรียกว่า ธรรมรัตนะ
    ธรรมกายละเอียดอยู่ในกลางดวงธรรมรัตนะนั้นเรียกว่า สังฆรัตนะ
    ให้รู้จัก พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ เท่านี้ก่อน
    เมื่อรู้จักพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อย่างนี้แล้ว เจ้าภาพผู้บริจาคทานวันนี้ ผู้ที่เป็นหัวหน้าเขาเป็นคนมีธรรมกาย เขาถึงธรรมกายละเอียดแล้ว สามารถใช้อะไรได้ต่างๆ



    ดังนั้นเราที่ยังไม่ได้ จงอุตส่าห์พยายามเพียรเรียนให้เข้าถึงกายธรรมละเอียดนี้บ้าง ให้ถึงธรรมกายเช่นเขานี้บ้าง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row1><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22>
    </TD></TR><TR><TD class=setcek height=20 colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=25 width="100%"><TABLE cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=gensmall width="100%"></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y9296500-20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32 KB
      เปิดดู:
      55
    • 19564.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.6 KB
      เปิดดู:
      63
  7. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    หากถึงธรรมกายเช่นนี้แล้วจะเอาตัวรอดได้ ตายเสียชาติก่อนก็ได้
    ถ้าวันไหนจะตายก็รู้ คือสามารถรู้ได้ เป็นหญิงก็ดี เป็นชายก็ดี ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาแล้ว
    ต้องเพียรพยายามเข้าถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะให้ได้เช่นนี้ เพราะพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ นี่แหละเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา




    เมื่อเรารู้จักพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ อย่างนี้แล้ว เราจะไม่ทำความชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ

    เราจะเป็นคนบริสุทธิ์ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจอย่างเที่ยงแท้ โดยไม่ต้องสงสัย
    ท่านจึงได้ยืนยันไว้เป็นตำรับตำราว่า

    กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ กาเยน วาจาย อุทเจตสา วา อภพฺโพ โส ตสฺส ปฏิจฺจทาย อภพฺพตา ทิฏฺฐปทสฺส วุตฺตา

    แปลว่า พระโสดาบันบุคคลนั้น ยังกระทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจก็ดี พระโสดาบันบุคคลนั้น ไม่ควรปกปิดบาปกรรมที่ตนกระทำไว้นั้น เพราะว่าทางพระนิพพานพระโสดาบันบุคคลนั้นเห็นแล้ว จึงไม่ควรปิดบังความชั่ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจของตน ควรเปิดเผยให้หมดทั้งข้างนอกและข้างใน

    ถ้ากระทำ ก็บอกว่ากระทำ หากไม่ได้กระทำ ก็บอกว่าตนไม่ได้กระทำ ไม่โกหกหลอกลวง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้น

    เราเป็นพุทธศาสนิกชน เป็นหญิงก็ดี เป็นชายก็ดี จะปฏิบัติศาสนาก็เอาตัวรอดได้ เพราะตนปฏิบัติซื่อตรง เหมือนพระโสดาบัน เป็นคนมีปัญญาความเฉลียวฉลาด รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์

    บัดนี้ เราท่านทั้งหลายรู้จักหลักพระพุทธศาสนา รู้จักพระรัตนตรัยแล้ว ได้พากันมาบริจาคทาน ท่านกล่าวว่า

    ทานํ เทติ ทานการให้ คนเราจำเป็นต้องให้ทุกคน ถ้าไม่สละ ไม่ให้ไม่ได้ เพราะถ้าไม่ให้กันแล้ว จะได้ประโยชน์อย่างไร หากให้กันแล้วจึงจะได้ประโยชน์

    เราปกครองเรือนเราก็ต้องให้ เวลาเช้าแม่ครัวต้องหุงหาอาหารให้พ่อบ้าน ถ้าไม่ให้ประเดี๋ยวพ่อบ้านจะทุบตีเอา หากให้ให้อิ่มเสียแล้ว จะได้ไม่ทุบตี เด็กเล็ก ลูกหญิงลูกชาย ถ้าไม่ให้ก็ร้องไห้ พอให้แล้วพวกเด็กๆ เหล่านั้นก็ไม่ร้อง สะดวกสบายไปวันหนึ่งๆ การให้เช่นนั้น เรียกว่าทาน

    ให้ลูกก็เป็นทาน ให้สามีก็เป็นทาน ให้ภรรยาสามีก็เป็นทาน แต่ว่าต้องให้โดยไม่มุ่งหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทน จึงจะเป็นทานแท้ๆ

    ถ้ามุ่งหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่เป็นทาน อย่างให้ข้าวแมวกิน หากมุ่งหวังเพื่อให้แมวนั้นไว้จับหนู การให้อย่างนั้นก็ไม่เป็นทาน ต้องให้กินโดยไม่มุ่งหวังอะไรตอบแทนจากมัน ให้มันกินเพื่อให้หายหิวกันอดอยาก หากให้อย่างนี้จึงจะจัดว่าเป็นทาน จะให้แก่สัตว์เดรัจฉานอย่างอื่นใดก็ตาม ต้องให้โดยไม่มุ่งหวังอะไรอย่างนี้ทุกครั้งไป

    หรือลูกเรา เราให้โดยไม่มุ่งหวังจะให้ลูกเลี้ยงเราในข้างหน้า หรือให้รักษาวงศ์ตระกูลของเราให้สูง ให้เพราะเขาเกิดมาแล้วก็เลี้ยงกันไป อาศัยเราไป หากเราไม่ให้อาศัย ไม่เลี้ยงแล้ว ลูกๆ เหล่านั้นก็ต้องตาย เมื่อเราให้ทานโดยไม่คิดอะไรดังกล่าวนี้ จึงจัดเป็นทานแท้ๆ ทีเดียว

    ถ้าว่าคนมีปัญญาฉลาดอย่างนี้ ตระกูลของตนจะใหญ่โตสักปานใดก็ตาม ให้ให้หนักเข้า คนก็จะมากขึ้นเป็นลำดับ เป็นสุขขึ้น กินก็เป็นสุข นอนก็เป็นสุขทั้งกาย วาจา และใจ เพราะการให้นั่นแหละเป็นตัวสำคัญ

    หากฉลาดในการให้ ก็จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินในชาตินี้ก็ได้ คนที่เราให้นั้นย่อมยกย่อง สรรเสริญ เคารพนับถือในเรา เราไม่ต้องไปเอาอะไร ให้หนักเข้าเท่านั้น พวกเขาย่อมคุ้มครองรักษาเราเอง กลัวเราจะเป็นอันตราย เพราะถ้าคนให้เป็นอันตรายเสียแล้ว พวกเขาก็อดอยากลำบาก คนที่รับให้นั่นแหละย่อมช่วยระวังรักษาทั้งบ้านและสมบัติของเรา




    เมื่อเราให้หนักเข้าเช่นนี้ สามีก็คงอยู่คนเดียว ภรรยาก็คงอยู่คนเดียว ไม่เป็นสองไปได้ ถ้าเราไม่ให้นั้นแหละ จะอยู่ด้วยกันไม่ได้ทีเดียว ทั้งสามีภรรยาลูกก็ต้องแยกจากกัน


    ให้รู้จักให้อย่างนี้ ก็จะปกครองบ้านเรือนสมบัติได้
    หญิงก็ดี ชายก็ดี ถ้าอยากให้วงศ์ตระกูลของตนสูงขึ้น ต้องการให้คนมากขึ้น มีพวกพ้องวงศ์วานมากขึ้น ก็อย่าเป็นคนตระหนี่ จงแก้ไขด้วยปัญญาของตน
    ถึงคราวให้อาหารก็ให้อาหาร
    ถึงคราวให้ผ้าก็ให้ผ้า
    ถึงคราวให้ที่หลับนอนก็ให้ที่หลับนอน
    ถึงคราวให้ยารักษาโรคก็ให้ยารักษาโรค
    ให้ไปตามกาลเวลาอย่างนั้น ให้เขาเป็นสุข เบิกบาน สำราญใจ หากเราให้อย่างนี้แล้ว วงศ์ตระกูลของเราย่อมสูงขึ้นเป็นลำดับ เป็นที่สรรเสริญนิยมชมชอบของคนทั่วไป


    สีลํ รกฺขติ หากว่ามีคนมากเช่นนี้ คือตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เราต้องรักษาศีล ต้องบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา และบริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องรอยเสียกระทบกระเทือนใจกัน
    กายจะให้เดือดร้อนตนเองและคนอื่นก็ไม่มี
    วาจาจะให้เดือดร้อนตนเองและคนอื่นก็ไม่มี
    จะอยู่ด้วยกันมากน้อยเพียงใดก็ตาม ไม่สบายใจ เหมือนกับอยู่คนเดียว ดังนั้น จึงไม่ควรเบียดเบียน ไม่กระทบกระเทียบเปรียบเปรย ไม่อิจฉาริษยากันอย่างใดอย่างหนึ่ง




    มีศีลด้วยกันทั้งหมด ศีล ๕ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม มุสา สุรา ๕ สิกขาบท นี้ต้องบริสุทธิ์จริงๆ คือ ไม่เบียดเบียนกันให้เดือดร้อนด้วยการฆ่า ไม่ลักขโมย ฉ้อโกง หลอกลวงกันให้เดือดร้อน ไม่ประพฤติผิดในลูกภรรยาของคนอื่นเขา ถ้าประพฤติผิดเข้าก็เดือดร้อน ถ้าไม่พูดปดกันก็ไม่เดือดร้อน ถ้าพูดปดเข้าก็เดือดร้อน ไปเสพสุราเข้าคนดีๆ ก็กลายเป็นคนบ้า พูดจาอ้อแอ้ ไม่เป็นเรื่อง หรือคนดีๆ ก็กลายเป็นคนครึ่งบ้าครึ่งบอไป ถ้าว่าเต็มที่เข้าก็อาจกลายเป็นบ้าบอไปเลย

    ถ้าว่าเมื่อใดฤทธิ์สุราหมดไปแล้วนั่นแหละจึงจะพูดจากันรู้เรื่องกลับเป็นคนดีได้ตามปกติ
    นี่เพราะฤทธิ์สุราทำให้เป็นไปอย่างนั้น ควรระวังให้ดี อย่าให้เหตุเหล่านี้เข้าครอบงำได้ ตนเองจึงจะเป็นสุขกายสุขใจ มีคนมากมายเท่าไรก็เป็นสุข ไม่ต้องเดือดร้อนเลย แต่เป็นสุขอย่างธรรมดาเท่านั้น ถ้าจะให้เป็นสุขและฉลาดยิ่งขึ้นไป

    ต้องเจริญภาวนา



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>ภาวนํ ภาเวติ ทำให้จริง ให้หยุด ให้นิ่ง ทำให้มี ให้เป็นขึ้น กี่ร้อยกี่พันคนก็นอนหลับสบาย กี่คนๆ ก็สงบนิ่ง

    เมื่อสงบนิ่งแล้ว มีคนสักเท่าไรก็ไม่รกหูรกตา ไม่รำคาญไม่เดือดร้อน เป็นสุขสำราญ เบิกบานใจ นี่เขาเรียกว่า
    ภาวนา


    ทำให้ใจหยุดสงบ หยุดสงบแล้ว ไม่ใช่แต่เท่านั้น หยุดอยู่สงบ หาเรื่องทำจะได้ทรัพย์สมบัติมาเลี้ยงกันอีก ให้พวกเขาอยู่เป็นสุข สำราญ สมบูรณ์ด้วยเครื่องกินเครื่องใช้ ไม่ขาดตกบกพร่อง จะให้เป็นคนสมบูรณ์อยู่เสมอ ก็ต้องใช้วิชชาวิปัสสนาภาวนา ต้องเฉลียวฉลาดให้อาหาร หาปัญญาแก้ไขให้ทานในวันต่อไป ไม่ให้หมดให้สิ้นไป



    เมื่อให้ทานไม่หมดไม่สิ้นไปเช่นนี้ พวกพ้องก็มากขึ้นเป็นลำดับ มี ๑๐๐ ก็เพิ่มเป็น ๒๐๐ ๓๐๐ ๔๐๐ ๕๐๐ ๖๐๐ จนกระทั่ง พันหนึ่ง ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ เป็นลำดับไป การให้นี่แหละเป็นสำคัญ

    เมื่อมีพวกพ้องมากขึ้นแล้ว ก็ให้รักษาศีล ให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ และเจริญภาวนา ทำภาวนาให้เจริญขึ้นทุกคน



    เมื่อพวกเขาเจริญภาวนาแล้ว ภาวนานั้นแหละจะช่วยเขาได้ทุกประการ
    พุทฺเธ สทฺทหติ ธมฺเม สทฺทหติ สงฺเฆ สทฺทหติ ให้เชื่อพุทธรัตนะ ให้เชื่อธรรมรัตนะ และให้เชื่อสังฆรัตนะ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    การเชื่อพุทธรัตนะนั้นเชื่ออย่างไร?
    พุทธรัตนะท่านไม่มีกิเลส กิเลสไม่มีในท่าน ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ทุกอย่างความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ของท่านบริสุทธิ์ทุกอย่าง ถูกต้องร่องรอยของพระธรรม พระสงฆ์

    พุทธรัตนะท่านรับสั่งอย่างไร เราต้องเชื่อไปตามพระรัตนะนั้น

    ธรรมรัตนะทรงสัตว์ผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว เป็นของดีฝ่ายเดียว เราเชื่อแต่สิ่งดี และทำตามแต่สิ่งที่ดี ทำตามธรรมนั้น เราก็จะเป็นคนชั้นสูง เพราะเราเชื่อตามธรรมและดำเนินตามนั้น

    สังฆรัตนะดำเนินตามพระสงฆ์ ผู้รักษาธรรมไม่ให้สูญไปให้ธรรมนั้นมั่นคงอยู่ พระสงฆ์ผู้รักษาธรรมก็ดำเนินตามธรรมนั้น เราก็เชื่อและเดินตามธรรมตามพระสงฆ์


    ถ้าว่าเชื่อในพระพุทธ ในพระธรรม และในพระสงฆ์ เช่นนี้แล้วจะเอาตัวรอดได้ ฉะนั้น จึงควรรู้จักพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ
    อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ
    สภาพที่เป็นบุญย่อมนำสัตว์ไปสู่สุคติ
    สภาพที่เป็นบาปย่อมนำสัตว์ไปสู่ทุคติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    บุญและบาปนั้นเป็นอย่างไร?

    วันนี้จะแสดงเรื่องบุญและบาปให้เข้าใจกันเสียที บุญและบาปนั้นเป็นอย่างนี้ วันนี้เรามาทำบุญกันมากคนด้วยกัน คือท่านเจ้าภาพผู้ถวายทานในวันนี้ได้ชักชวนพวกพ้องให้มาทำบุญเลี้ยงพระที่วัดปากน้ำ เพราะการทำบุญนั้นได้บุญจริงๆ เพราะเจ้าภาพผู้ชักชวนพวกพ้องมาทำบุญ

    บุญนั้นอยู่ที่ไหน? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร เราทำให้ถูกส่วนเข้า จึงจะมองเห็นบุญอย่างแน่แท้ โดยไม่ต้องสงสัย

    เจ้าภาพได้ชักชวนพวกพ้อง เตรียมเครื่องไทยทานวัตถุมาทำบุญ เวลาเช้าได้ถวายยาคูข้าวต้ม เวลาเพลได้ถวายโภชนาหาร พร้อมด้วยสูปพยัญชนะ และเวลาบ่ายให้มีพระธรรมเทศนา นี่เพราะต้องการบุญจริงๆ

    การทำบุญต้องทำให้ถูกส่วน ถูกส่วนตรงไหน?
    คือนำเครื่องไทยทานวัตถุมาถวายพระภิกษุสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์รับเครื่องไทยทานวัตถุจากมือของผู้ให้ เครื่องไทยทานขาดจากสิทธิ์ของผู้ให้ เป็นสิทธิ์ของผู้รับขณะใด ปุญญาภิสันธา บุญไหลมาในขณะนั้น

    ไหลมาจากที่ไหน?
    เวลาฝนตกเราเห็นมิใช่หรือ? ฝนมาทางท้องฟ้า ไม่ใช่มาทางใต้ดิน ฝนมาจากท้องฟ้า แต่เดิมฝนมาจากที่ไหน? ฝนก็อยู่ในก้อนเมฆดำๆ นั่นแหละ พอเมฆตั้งขึ้นแล้ว ประเดี๋ยวฝนก็ตก ฝนอยู่ในก้อนเมฆนั่นเอง

    เราเห็นกันเพียงเท่านั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแต่พวกเรา แม้กษัตริย์ในครั้งเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ กษัตริย์เหล่านั้นถามกันว่า รู้หรือว่าข้าวมาจากไหน? ข้าวที่บริโภคเสวยอยู่ในชามนั้น กษัตริย์องค์หนึ่งผลุดลุกขึ้นตอบว่าข้าวมาจากครก

    กษัตริย์อีกองค์หนึ่งตอบว่า ข้าวมาจากในหม้อ เพราะไปเห็นข้าวในหม้อมา ไม่เคยเห็นข้าวในยุ้งในฉาง หรือที่เขาตำเขาโขลก

    อีกองค์หนึ่งตอบว่า ข้าวมาจากในชามที่สำรับนั่นแหละ เพราะตนเห็นมาเพียงแค่นั้น ไม่เคยเห็นในที่อื่นเลย

    นี่เป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติอย่างนี้ ยังไม่รู้ ไม่ทราบ
    เราก็เหมือนกัน ฝนนี่หากเราจะถามว่ามาจากไหน? เราก็คงตอบได้ว่ามาจากก้อนเมฆดำๆ บนท้องฟ้านั้น ที่อื่นก็ไม่เห็นมี ไม่เข้าใจ ไม่เห็น




    แท้จริง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุมีอยู่ ถ้าผู้มีปัญญา ในอากาศว่างๆ นี้แหละเขาสามารถใช้เครื่องดักเอาไอน้ำในอากาศก็ได้ ในศาลานี้ก็มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เต็มไปหมด

    แต่ผู้ใดจะให้ฝนตกผู้นั้นต้องทำฝนเป็น แก้ไขทำฝนขึ้นได้ ทำน้ำขึ้นได้
    ผู้เทศน์นี้ได้เคยแก้ไขมาแล้ว จะแก้ไขเกณฑ์ฝนได้เหมือนกัน
    เมื่อรู้จักหลักและที่มาของฝนแล้ว ก็จะรู้ได้ด้วยว่าบุญที่มนุษย์ทำมาจากไหน?
    ก็มาจากในกลางกายนี้ ตรงกลางของใจนั้น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง หนักเข้าก็พบดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    กลางของกลางหนักเข้าไป ก็พบดวงศีล
    ศูนย์กลางเข้าไปก็พบดวงสมาธิ
    กลางของกลางเข้าไปอีกก็พบ ดวงปัญญา
    กลางของกลางเข้าไปอีกพบดวงวิมุตติ
    กลางของกลางเข้าไปอีกก็พบดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    กลางของกลางเข้าไปอีกพบกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียดก็มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เหมือนกัน เป็นชั้นๆ เข้าไปอย่างนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row1><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>นี่หัดเข้าไปหากายเป็นชั้นๆ เข้าไป เข้าไปหากายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายพรหมกายพรหมละเอียด กายอรูปพรหมกายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด กายโสดา กายโสดาละเอียด กายสกทาคา กายสกทาคาละเอียด กายอนาคา กายอนาคาละเอียด กายอรหัต กายอรหัตละเอียด หนักขึ้นไปเป็นชั้นๆ



    หากจะเข้าไปหาน้ำบ้าง กลางของกลางธาตุน้ำนั้น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ก็จะเข้าไปทะเล พบทะเลหนักลงไป หนักลงไป หนักลงไป จะใช้น้ำสักเท่าไรก็ใช้ไม่หมด ใช้ไม่รู้จักหมดจักสิ้น จะเอาน้ำเท่าใดก็ได้ เข้าไปกลางของกลางนั่นแหละ ไม่ใช่ที่อื่น นี่ต้องการน้ำต้องทำอย่างนี้




    หากต้องการบุญก็เข้าไปกลางกายนั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ก็จะเข้าไป ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน ไม่ไปทั้งนั้น กลางของกลางหนักขึ้นทุกทีก็จะเข้าไปพบบุญ ทะเลบุญอยู่ในกลางกายนั้น


    เจ้าของผู้ปกครองบุญนั้นมี ๒ ภาค
    มารปกครองภาคหนึ่ง
    พระปกครองภาคหนึ่ง


    ถ้าภาคพระปกครอง ทำบุญทำกุศลต่างๆ พระท่านก็ส่งบุญส่งกุศลมาให้ เหมือนส่งกระแสไฟฟ้าให้ใช้นี่แหละผู้ส่งกระแสไฟฟ้ามาให้ใช้ก็มีอยู่ ถ้าเขาไม่ส่งมาให้เรา เราก็ใช้กระแสไฟฟ้าไม่ได้ บุญก็เหมือนกัน พระเป็นผู้ปกครอง ดิน ฟ้า อากาศ ก็มีผู้ปกครองเหมือนกัน


    ที่บังคับเรา ให้เกิด ให้แก่ ให้เจ็บ และให้ตายอยู่เดี๋ยวนี้แหละ พวกมารบังคับให้เป็นไปตามนั้น


    ส่วนพวกพระบังคับไม่ให้เกิด ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ และไม่ให้ตาย

    นี่พวกพระกับพวกมารบังคับอย่างนี้ เวลานี้พวกพระบังคับไม่ให้รบกัน แต่พวกมารบังคับให้รบกันหนักขึ้น




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row1><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว บุญที่ไหลมาติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของผู้บำเพ็ญบุญนั้น ไม่ใช่ดวงเล็กน้อยเลย เจ้าของทานวันนี้ บุญไหลมาติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไม่ใช่ดวงเดียวในขั้นกายมนุษย์นี้ก็ไหลมาติดอยู่



    ขั้นกายมนุษย์ละเอียดก็ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด
    ในขั้นกายทิพย์ ก็ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์
    ขั้นกายทิพย์ละเอียด ก็ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์ละเอียด
    ขั้นกายรูปพรหม ก็ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกาย รูปพรหม
    ขั้นกายรูปพรหมละเอียดก็ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็น รูปพรหมละเอียด
    ขั้นกายอรูปพรหม ก็ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหม
    ขั้นกายอรูปพรหมละเอียดก็ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหมละเอียด
    ขั้นกายธรรม ก็ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรม
    ขั้นกายธรรมละเอียดก็ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรมละเอียด
    ติดขึ้นไปอย่างนี้ จนกระทั่งทุกๆ กาย นับอสงไขยกายไม่ถ้วน
    เมื่อรู้บุญติดอยู่เช่นนี้แล้ว เราจะไปทุกข์ยากอะไร แตกกายทำลายขันธ์ไป ก็เป็นหน้าที่ของบุญ เพราะบุญของเรามากอยู่แล้ว บุญจะจัดเป็นชนกกรรมนำไปเกิด

    ใครจะเป็นคนนำไปเกิด? ในเมื่อกายมนุษย์แตกดับไปแล้ว กายมนุษย์ละเอียดยังเหลืออยู่ อย่างเรานอนฝันไป

    ตายก็เหมือนกับนอนหลับฝันไป กายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์ไป เพราะกายมนุษย์นี้แตกดับเสียแล้ว

    ดวงบุญในกายมนุษย์นี้ก็แตกดับหมด ดวงธรรมที่ให้เป็นกายมนุษย์ก็แตกดับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทำลายหมดไม่มีเหลือ

    แต่ว่าในกลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้นมีดวงบุญอีกดวงหนึ่ง ดวงบุญดวงนั้นแหละจะนำไปเกิด ในตระกูลสูงๆ มีกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์สมบัติบริวารนับจะประมาณไม่ได้ เศรษฐีมหาศาล พราหมณ์มหาศาล มีทรัพย์สมบัติบริวารนับประมาณไม่ได้ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์สมบัติบริวารนับประมาณไม่ได้ ให้เกิดในตระกูลสูงๆ อย่างเช่นนั้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22>


    </TD></TR><TR></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>ทว่าในมนุษย์โลกไม่พอรับบุญขนาดใหญ่ๆ ขนาดนี้ ก็ให้ไปเกิดในสวรรค์ ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามาพิภพ ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ให้เกิดในกายทิพย์สูงขึ้นไป

    กายทิพย์ในชั้นจาตุมหาราช กายทิพย์ในชั้นดาวดึงส์ กายทิพย์ในชั้นยามาพิภพ กายทิพย์ในชั้นดุสิต กายทิพย์ในชั้นนิมมานรดี กายทิพย์ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ในกามภพนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง

    กายมนุษย์ละเอียดพอส่งขึ้นไปถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็ดับเหมือนกัน ในดวงกายทิพย์ละเอียดก็ดับหมด ในดวงกายทิพย์ละเอียดก็ใช้ไปตามหน้าที่ นี่เขาเรียกว่า กมฺมวิปากโก อจินฺตโย

    ลักษณะที่แสดงบาปกรรมที่บุญส่งผลให้เป็นไปเป็นชั้นๆ ยังไม่มีใครแสดงให้รู้ เพราะไม่ใช่เป็นของธรรมดาสามัญทั่วไป พวกมีธรรมกายเขาเห็นปรากฏชัดเจน เป็นชั้นๆ เป็นกายๆ ไปดังนี้

    เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้แล้ว เรามาบำเพ็ญบุญกันวันนี้ เราได้จริงๆ อย่างนี้ และพาตัวให้เป็นสุข ให้ไปสู่สุคติ

    ในมนุษย์โลก ถ้าเรามีบุญเสียแล้ว จะค้าขายก็ร่ำรวย จะทำงานทำกิจการอะไรก็เจริญ จะหาทรัพย์สมบัติก็ได้คล่องสะดวกสบาย ไม่ติดขัดแต่ประการใด ถ้าว่าไม่มีบุญจะทำอะไรก็ติดขัดไปเสียทุกอย่างทุกประการ

    ดังนั้น จึงได้ชักชวนพวกเราให้มาทำบุญทำกุศลเสีย จะได้เลิกจนเลิกทุกข์ยากลำบากเสียที

    การทำบุญเลี้ยงพระเช่นนี้ ถูกต้องตำรับตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะพระองค์ทรงรับสั่งไว้ว่า




    โภชนํ ภิกฺขเว ททมาโน ทายโกทายกผู้ให้ทานโภชนาหาร
    ปฏิคาหกานํ ปญฺจฐานานิ เทติ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการ แก่ปฏิคาหก
    กตมานิ ปญฺจฐานานิ ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน?
    อายุง เทติ ชื่อว่า ให้อายุประการหนึ่ง
    วณฺณํ เทติ ชื่อว่า ให้วรรณะประการหนึ่ง
    สุขํ เทติ ชื่อว่า ให้ความสุขประการหนึ่ง
    พลํ เทติ ชื่อว่า ให้กำลังประการหนึ่ง
    ปฏิภาณํ เทติ ชื่อว่า ให้ความเฉลียวฉลาดประการหนึ่ง
    ในท้ายพระสูตรท่านกล่าวว่า
    อายุง โช ทตฺวา อายุสฺส ภาคี โหติ ผู้ให้อายุย่อมมีอายุเป็นส่วนตอบ

    อายุนั้นให้อย่างไร? คือการให้ข้าวอาหารแก่พระภิกษุ หรือสามเณรอิ่มหนึ่ง อุบาสกอุบาสิกาอิ่มหนึ่ง เราก็มีอายุอยู่ได้ ๗ วัน ที่เรามีอายุยืนได้ ๗ วัน ก็เกิดเพราะผลทานที่เราให้ทานนั้น คือให้อายุนั่นเอง

    หรืออีกอย่างหนึ่ง ผู้ให้อายุย่อมไม่ตายในปฐมวัย ไม่ตายเมื่อเป็นหนุ่ม ไม่ตายเมื่อเป็นสาว แก่เฒ่าชราจึงตาย หรือจนถึงอายุขัยจึงตาย อย่างนั้นเราเรียกว่า ถ้วนอายุขัย ถ้าว่าเกินกว่านั้นเรียกว่า เรากระทำกองการกุศล

    เมื่อเราได้บุญแล้ว เราจะทำอย่างไร? เราจะรักษาบุญอย่างไร? เพราะเราไม่เห็นบุญ เราต้องเอาใจไปจรดอยู่ที่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของเรา ทำใจให้หยุดให้นิ่ง บังคับใจให้หยุด ให้นิ่งว่าบุญของเรามีอยู่ตรงนี้

    ถ้าพอใจหยุดได้แล้ว และถูกส่วนเข้าแล้วเราจะเห็นดวงบุญของเรา เห็นชัดเจนทีเดียว ถ้าเราไปเห็นดวงบุญเช่นนั้น เราจะปลาบปลื้มใจสักเพียงใด ย่อมดีอกดีใจเป็นที่สุด จะหาเครื่องเปรียบเทียบไม่ได้เลย



    ฉะนั้น จงพยายามอุตส่าห์เอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นึกถึงบุญที่เราได้กระทำในวันนี้ อย่าไปติดขัดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      68
  14. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row1><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>ถ้าไปค้าขายติดขัดขึ้น ก็ขอให้บุญช่วยนึกถึงบุญตรงกลางดวงธรรมนั้น
    ถ้าว่ามีอุปสรรคเข้ามาแทรกแซงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีผู้มารุกรานเบียดเบียนประการใด ก็ขอให้บุญช่วย สิ่งอื่นช่วยไม่ได้ ไม่ต้องไปขอร้องให้ใครมาช่วย ให้เอาใจไปหยุดอยู่ศูนย์กลางตรงบุญนั่นแหละ หยุดอยู่นิ่งอยู่อย่างนั้น บุญเป็นช่วยได้แน่นอน โดยไม่ต้องสงสัย

    พระสิทธัตถราชกุมาร ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ที่ต้นศรีมหาโพธิ ขณะบำเพ็ญ พอถูกส่วนจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พญามารทราบเหตุ สะดุ้งพรึบทีเดียว

    ครั้งแรกออกแสวงหาโพธิญาณใหม่ๆ ปัญจวัคคีย์ได้ตามปฏิบัติอยู่และเมื่อเขาเหล่านั้นเห็นว่า เราเป็นผู้ประพฤติเลว ปฏิบัติไม่ถูกร่องรอยความเป็นพระพุทธเจ้าตามประเพณีโบราณกาลมา จึงได้เลิกปฏิบัติในเราเสีย ทอดทิ้งให้อยู่แต่ผู้เดียว แต่เทวดาก็ยังพิทักษ์รักษาเราอยู่

    แต่เมื่อมารมาผจญครั้งนี้ พวกเทวดาเหล่านั้นหนีไปหมด ไปอยู่ที่ขอบปากจักรวาลเสียสิ้น เพราะความเกรงกลัวในพญามาร

    และก็อะไรเล่าจักเป็นที่พึ่งของเราได้ ในขณะเข้าที่อับจนเช่นนี้ นอกเสียจากบารมีที่เราได้กระทำไว้แล้วเป็นไม่มี เมื่อทรงระลึกถึงบารมีที่ได้ทรงกระทำมาแล้วเท่านั้น

    นางพระธรณีทราบทันทีลุกขึ้นกราบทูลพระบรมศาสดาว่า ขอพระองค์อย่าได้ปริวิตกเดือดร้อนไปเลย ในเรื่องมารผจญพระองค์ในครั้งนี้ หม่อมฉันจะรับอาสาปราบมารเอง พระองค์อย่ากังวล ทรงกระทำความเพียรต่อไปเถิด

    เพราะพระองค์ได้ทรงสร้างบารมีมาแล้วตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ และได้หลั่งอุทกวารีให้ตกลงเหนือพื้นดิน หม่อมฉันได้รองรับไว้ด้วยมวยผมนี้จนหมดสิ้น ไม่มีเหลือเลยแม้สักหยาดหนึ่ง หม่อมฉันจะปราบพญามารนี้ ด้วยน้ำที่พระองค์ทรงกรวดนั้น

    พอกราบทูลดังนั้นก็รูดน้ำในมวยผมปราดเดียวเท่านั้น กลายเป็นทะเลท่วมทับมารจนหมดสิ้น พวกมารได้พ่ายแพ้ ศัสตราวุธกลายเป็นธูปเทียนบูชาพระศาสดาไปหมด นี่ปรากฏอย่างนี้มาแล้ว



    เราก็เหมือนกัน แสวงหาบุญสร้างบารมีบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนาได้บุญแล้ว ให้ใจจรดอยู่ที่บุญนั้น

    เมื่อประสบภัยได้ทุกข์ยากประการใดก็นึกถึงบุญนั้น อย่าไปนึกสิ่งอื่นให้เหลวไหล

    อย่าไปนึกถึงผี ผีมันจะเป็นอะไร ผีสู้มนุษย์ไม่ได้ ผีมันตายไปจากมนุษย์แล้ว จึงกลายเป็นผี มนุษย์วิเศษกว่าผีมากนัก ผีจึงสู้มนุษย์ไม่ได้ จะไปนับถืออะไรกับผี ผีช่วยอะไรไม่ได้เลย สู้นึกถึงมนุษย์ไม่ได้

    ไปนับถือจ้าว จ้าวก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะจ้าวตายไปจากมนุษย์แล้ว จ้าวผี จ้าวสางนั้น สู้มนุษย์ไม่ได้ แพ้มนุษย์ทั้งนั้น มนุษย์นี้เป็นผู้มีฤทธิ์เดชมากกว่า

    หรือนึกถึงต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ไปกราบไหว้ต้นไม้ ต้นไม้จะทำอะไรได้ เราเอามาทำฟืนหุงอาหาร ผ่าเอามาทำฟืนหุงข้าวอยู่เรื่อยๆ เอามาทำบานประตูหน้าต่าง มาทำพื้นบ้าน แล้วมันจะมาทำอะไรให้เราได้

    ต้องนึกถึงบุญ สิ่งอื่นอย่าไปนึก นึกถึงบุญแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อต้องภัยได้รับความทุกข์ยากลำบากอย่างใด ก็ให้นึกถึงบุญ เอาใจไปจรดอยู่ที่บุญ

    ทำมาค้าขายอะไรก็ให้เอาใจไปจรดอยู่ที่บุญนั้น จะได้ค้าขายคล่องได้กำไรเกินควรเกินค่า
    จะไปทำนาทำสวน ก็เอาใจไปจรดอยู่ที่บุญนั้น บุญจะให้ผลของนาและสวนได้ผลเกินควรเกินค่า
    ไปรับราชการก็เอาใจไปจรดอยู่ที่บุญนั้น หน้าที่ราชการก็จะรุ่งโรจน์โชตนาการยิ่งขึ้นใหญ่
    ถ้าปกครองบ้านเรือนก็เอาใจจรดอยู่ที่บุญนั้นเหมือนกัน บ้านเรือนก็จะรุ่งเรือง
    อย่าเอาใจไปจรดอยู่ที่อื่น
    นี่เราเรียกว่า หาบุญได้และใช้บุญเป็น ถ้าหากเอาใจไปจรดเสียที่อื่น จะเป็นต้นไม้ ขี้วัว ขี้ควาย อะไรจิปาถะ ชื่อว่า หาบุญได้ แต่ใช้บุญไม่เป็น



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row1><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22>

    </TD></TR><TR><TD class=setcek height=20 colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=25 width="100%"><TABLE cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=gensmall width="100%"></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ถ้าจะหาบุญได้ใช้บุญเป็น ก็ต้องเอาใจไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงบุญพอใจจดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงบุญ ก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั้น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล
    หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้ากลางของกลางที่หยุดอีก กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ก็เข้าถึงดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ก็เข้าถึงดวงปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลางอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอใจหยุดถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลางอีก ก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลางอีก ก็จะเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด
    เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดและปฏิบัติแบบเดียวกันเรื่อยไป ก็จะเข้าถึงกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด กายโสดา กายโสดาละเอียด กายสกทาคา กายสกทาคาละเอียด กายอนาคา กาย อนาคาละเอียด กายธรรมอรหัต กายธรรมอรหัตละเอียด เป็นลำดับขึ้นไป



    เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ เขาจึงจะเรียกว่า หาบุญได้ ใช้บุญเป็น จะเป็นคนมีปัญญาเจริญก้าวหน้ายิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว



    ถ้าเป็นหญิงก็จะได้ชื่อว่า บัณฑิตถี หญิงผู้มีปัญญา
    ถ้าเป็นชายก็จะได้ชื่อว่า บัณฑิโต ชายผู้มีปัญญา
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงหาบุญได้ และทรงใช้บุญเป็น พระองค์ทรงสร้างบารมีของพระองค์มา และ ทรงใช้บารมีของพระองค์เป็น เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

    พระองค์ทรงเข้าใกล้ใคร ก็ทรงให้เป็นเหมือนอย่างพระองค์หมด ให้ได้มรรคผลตามพระองค์ ให้เป็นสาวกพระพุทธเจ้าเสีย ให้เป็นพหูสูตเสีย เสด็จตามพระองค์ไป

    เราเมื่อได้ถวายทานแล้ว ได้รักษาศีลแล้ว เจริญภาวนาแล้ว ก็ต้องให้เห็นผลทาน ให้เห็นผลศีล และให้เห็นผลของการเจริญภาวนา จึงจะได้ชื่อว่า เราทำบุญ รักษาศีล เจริญภาวนาแล้ว ใช้บุญ ใช้ศีล และใช้ภาวนาเป็น


    อย่าเกียจคร้าน จงหมั่นพยายามบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไว้ให้เสมอ เพื่อเราจะได้รับความสุข ทั้งในชาตินี้และในชาติหน้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      64
  16. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row1><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>บัดนี้ ท่านทั้งหลายได้สมบูรณ์บริบูรณ์แล้วด้วย คุณธรรม ๕ ประการคือ ทาน ศีล สุตะ จาค และปัญญา
    เพราะทานเราก็ได้ถวายแล้วแต่เช้าและเพล
    ศีล เราก็ได้สมาทานแล้วทั้ง ๕ ประการ
    สุตะ บัดนี้เราก็ได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาอยู่แล้ว
    จาคะ เราก็ได้บริจาคแล้ว สละกิจการงาน ความกังวลน้อยใหญ่ทางบ้านเสีย มาบำเพ็ญบุญในวันนี้นี่ก็ชื่อว่าจาคะ
    ปัญญา เมื่อเราฟังธรรมเทศนาแล้ว เราก็รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ ผิด ถูก สูงต่ำ เราก็รู้ นั่นก็ชื่อว่า ได้ปัญญา
    คุณธรรม ๕ ประการคือ ทาน ศีล สุตตะ จาค ปัญญา มีอยู่ในขันธสันดานของหญิงใด ชายใดแล้ว หญิงชายนั้นจะปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ได้สมความปรารถนา ในขณะที่คุณธรรม ๕ ประการนี้สมบูรณ์บริบูรณ์แล้วในขันธสันดาน

    หรือจะปรารถนาเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ก็ย่อมสำเร็จสมความปรารถนา
    จะปรารถนาพระอัครสาวกก็ได้สมความปรารถนา
    หรือจะปรารถนาเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดก็ย่อมได้ทั้งนั้น
    ดังนั้นท่านทั้งหลายจะปรารถนาเป็นอย่างใด จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระสาวก ก็ขอให้ปรารถนาเอาตามใจชอบเถิด
    อวสานกาลเทศนานี้ขอท่านผู้เป็นเมธีมีปัญญาทั้งหลาย พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้าว่า




    สภาพที่เป็นธรรมย่อมนำสัตว์ไปสู่สุคติ
    และสภาพที่เป็นอธรรมย่อมนำสัตว์ไปสู่ทุคติ
    สภาพที่เป็นบุญก็ย่อมนำสัตว์ไปสู่สุคติ
    สภาพที่เป็นบาปก็ย่อมนำสัตว์ไปสู่ทุคติ
    สภาพที่เป็นบุญ เป็นดวงใส ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
    สภาพที่เป็นบาปเป็น ดวงดำ ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์แบบเดียวกัน
    ถ้าดวงบุญใหญ่โตกว่าก็นำไปสู่สวรรค์ ถ้าดวงบาปใหญ่โตกว่าก็นำไปสู่นรก ใครจะแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ทั้งนั้น ย่อมเป็นไปตามคติของตน
    เหมือนหญิงชายจะเป็นสามีภรรยากันใครก็แล้วแต่ จะต้องตกลงใจของกันและกันเอง


    ฉะนั้น การที่สัตว์จะไปสู่ทุคติ ภพดึงดูดมีอยู่ ทำความชั่วไม่มีความดีเข้าไปจุนเจือเลย แม้เพียงเท่าปลายผมปลายขน พอแตกกายทำลายขันธ์โลกันตร์ดึงดูดเอาไป จะไปอยู่ที่อื่นใดไม่ได้ทั้งนั้น อายตนะบาปดึงดูดไปทันที
    ถ้าว่าภพหย่อนลงกว่านั้นมา ก็ไปอยู่ในอเวจี มหาตาปนรก เหล่านี้เป็นต้น แต่พอมาเกิดในจำพวกสัตว์เดรัจฉานได้ สัตว์เดรัจฉานก็ดึงดูดเอาไปเกิดในจำพวกสัตว์เดรัจฉาน
    แต่ถ้าทำความผิดไม่ถึงขนาดนั้น ก็ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย ตามลำดับไป
    ถ้าทำความดีด้วย กาย วาจา ใจ ไม่มีความชั่วบาปช้าเข้ามาเจือปนเลย พอแตกกายทำลายขันธ์
    อายตนะของมนุษย์ดึงดูด เข้าสู่คัพภสัตว์ไปติดอยู่ในกำเนิดมนุษย์
    ถ้าดีมากขึ้นไปกว่านี้ ก็ไปเกิดในจำพวกเทวดา เป็นชั้นๆ สูงขึ้น
    ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
    สูงขึ้นไปตามสภาพของธรรมดึงดูดกันเองว่า ตนได้กระทำความดีไว้ขนาดเท่าไร ควรอยู่ ควรเกิดในที่ไหน เมื่อตรงกับอายตนะไหนอายตนะนั้นก็ดึงดูดไป เขามีอายตนะสำหรับเหนี่ยวรั้งและดึงดูดกันทั้งนั้น
    เราติดอยู่ในมนุษย์นี้ไปไหนได้เมื่อไร ไปไม่ได้ทั้งนั้น
    อยากจะตายก็ตายไม่ได้ บ่นไปเถอะก็ไม่ตาย
    แต่พอถึงกำหนด ไม่อยากตายก็ต้องตาย จะถูกบังคับบัญชาอย่างนี้ ดึงดูดอย่างนี้เสมอไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row1><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เหตุนี้เราจึงได้แสวงหาบุญ บุญจะได้ดึงดูดไปสู่สุคติ ทุคติจะได้ไม่มีต่อไป
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาใน ภัตตานุโมทนากถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของเจ้าภาพและสาธุชนทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า



    สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
    สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
    สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
    ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก

    ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพชินสาวก สาวกของท่านผู้ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ให้บังเกิดมีเป็นปรากฏในขันธสันดานแห่งท่านผู้เป็นเจ้าภาพ และสาธุชนทั้งหลายบรรดาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า




    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD></TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0"></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๕. พหุธาตุกสูตร (๑๑๕)</CENTER>
    </PRE>


    [๒๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุ
    ผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีไหม ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน ธาตุคือน้ำ
    ธาตุคือไฟ ธาตุคือลม ธาตุคืออากาศ ธาตุคือวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล
    ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาด
    ในธาตุ ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๓๔๓๒ - ๓๖๔๖. หน้าที่ ๑๔๕ - ๑๕๓.
    http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=3432&Z=3646&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้