ภัยเงียบที่คนไทยไม่ควรมองข้าม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Equal, 11 เมษายน 2012.

  1. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    ช่่วงสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่เพิ่งผ่านไป ผมซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ "วิชาเศรษฐี" ผลงานของ "พังฮยอนซอล" นักเขียนเกาหลี แปลโดยคุณวิทิยา จันทร์พันธ์ ซึ่งผู้เขียนชาวเกาหลีใต้ได้รวบรวมข้อมูลและศึกษาถึงความสำเร็จของ ๑๐ มหาเศรษฐีโลก มาประมวลไว้ในเล่มเดียวกัน

    มหาเศรษฐีโลก ไม่ว่า บิล เกตส์, วอร์เรน บัฟเฟตต์, ลีกาชิง ล้วนมีบางสิ่งที่เหมือนกัน คือ

    ๑. เป็นนักอ่านหนังสือ
    ๒.ใช้ชีวิตโดยไม่ลืมความประหยัด
    ๓. เห็นความสำคัญของการทำงาน
    ๔. รู้จักหน้าที่ทางสังคม

    อย่าง บิล เกตส์ มหาเศรษฐีเจ้าของไมโครซอฟท์ ได้รับการ "ฝึกนิสัยรักการอ่าน" จากพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก จนกลายเป็นนิสัยติดตัวมาจนถึงทุกวันนี้ บิลบอกว่า ทุกปีเขาจะพักเรื่องงานในสำนักงานหลายครั้งเพื่อให้เป็น "สัปดาห์แห่งการไตร่ตรอง" โดยเขาจะไปพักผ่อนอย่างเงียบๆ เพื่ออ่านหนังสือค้นหาขอมูลใหม่ๆ อ่านเอกสารที่พนักงานทำไว้ ซึ่งในเอกสารเหล่านี้จะมีวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดรวมอยู่ด้วย

    ความร่ำรวยของบิล เกตส์ จึงไม่ใช่เรื่องโชคช่วย

    บิลบอกว่า พ่อแม่เลี้ยงเขาด้วยการกระตุ้นให้อ่าน และหัดคิดในหัวข้อที่หลากหลาย พวกเราอภิปรายเรื่องต่างๆ จากหนังสือ รวมทั้งเรื่องการเมือง ส่วนโทรทัศน์พ่อแม่จะอนุญาตให้ดููได้ในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์เท่านั้น

    แม้ในช่วงที่ร่ำรวยแล้ว บิล เกตส์ ก็ยังแบ่งเวลา ๑ ชั่วโมงทุกวัน เพื่ออ่่านหนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสารด้านเศรษฐกิจหลายเล่ม วันเสาร์อาทิตย์ก็เพิ่มเวลาอ่านมากขึ้น แม้ บิล เกตส์ จะเป็นเจ้าพ่อซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แต่เขากลับซื้อหนังสือให้ลูกอ่าน แทนที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ให้ลูกเปิดอินเตอร์เน็ตอ่าน

    บิลบอกว่า เขาจะซื้้อคอมพิวเตอร์ให้ลูกใช้ในเวลาที่เหมาะสมแต่ในขั้นแรกจะซื้อหนังสือให้ลูกอ่านก่อน บิลยังให้คำแนะนำว่า ผู้ปกครองหรือครูไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์มัลติมีเดียแทนตำราเรียน คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตแม้จะเป็นแหล่งทำให้เกิดข้อมูลหมุนเวียน แต่ก็ไม่อาจช่วยมนุษย์ผลิตข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทียบเท่ากับการได้อ่านบทความและการเขียนบทความ

    เห็นไหมครับว่า "การอ่านหนังสือ" มีความสำคัญแค่ไหนในสายตาของเจ้าพ่อซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์อย่าง บิล เกตส์

    หรือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนสหรัฐฯ ก็ใช้เวลา ๑ ใน ๓ ของแต่ละวัน เพื่ออ่านหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และข้อมูลการลงทุน

    แต่ดูเหมือน รัฐบาลเพื่อไทย ของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเฉพาะ คุณสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีศึกษา กลับคิดไม่เหมือน บิล เกตส์ แทนที่จะนำเงินหลายพันล้านบาทไปผลิตตำราดีๆ ให้เด็กเรียนตั้งแต่ ป.๑ เพื่อสอนให้เด็กรู้จักคิดและมีจินตนาการ เพื่ออบรมให้เด็กไทยเป็นคนที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต

    รัฐบาลกลับยัดเยียดคอมพิวเตอร์ "แท๊บเล็ต" ให้เด็กไทยใช้เรียนตั้งแต่ชั้นประถม ๑ อายุ ๕-๖ ขวบ เพื่อให้เรียนแบบไม่ต้องใช้สมองคิด โตขึ้นจะได้ไม่ต้องคิดเก่ง จะได้พึ่ง "ประชานิยม" ของนักการเมือง ทีลูกหลานนักการเมืองเองกลับส่งเข้าเรียนในโรงเรียนอินเตอร์ เรียนแบบอ่านตำราหนังสือเป็นเล่มๆ หัดคิด หัดเขียน เหมือนอย่างที่บิล เกตส์ เรียน

    ล่าสุด รัฐมนตรีสุชาติ กำลังของบเพิ่มเป็น ๒,๔๕๐ ล้านบาท เพื่อซื้อแท๊บเล็ตแจกนักเรียน ป.๑ ทุกคน ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน ท่ามกลางความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ เปลี่ยนจากรัฐต่อรัฐ เป็นการเซ็นเอ็มโอยูกับ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคปฯ ผู้ขาย และกำลังจะเปลี่ยนเอ็มโอยูการส่งมอบจาก ๒ งวด เป็น ๖ งวด

    การเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ผมยังเชื่อมั่นใน การเรียนจากตำราเรียน การเขียนเรียงความ และการอ่าน อย่างที่ บิล เกตส์ เชื้อมั่น เพื่อฝึกให้เด็กมีทักษะความรู้รอบด้าน โดยเฉพาะ การคิดและการสร้างจินตนาการของเด็กเอง ไม่ใช่ "จินตนาการสำเร็จรูป" จากตำราในแท๊บเล็ต ที่จะยัดเยียดให้เด็ก



    จาก คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย โดย ลม เปลี่ยนทิส

    ประจำวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปี มะโรง หน้า ๕

    ถ้าดูจากตัวเลขคนเข้างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ กับงานบางกอกมอเตอร์โชว์ ยอดการใช้เงินของคนไทยอาจแตกต่างกันลิบลับ แต่ประโยชน์ที่ได้ก็มองกันไม่เห็นฝุ่น หากยังใช้ตัวเลขในการชี้วัด การเจริญของเศรษฐกิจ

    :z16

    อ้างอิงจากคอลัมน์ เหะหะ พาที โดย ซูม

    ประจำวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปี มะโรง หน้า ๕

    เรื่องการเขียนเรียงความ ย่อความ จับประเด็น การพูดรายงานหน้าชั้น การคัดรายมือ อ่านออกเสียง เพาะถั่วงอก ปักชำ ทำงานฝีมือ ทำอาหารด้วยเตาถ่าน เย็บปักถักร้อย สวดมนต์และเคารพธงชาติ (มีส่วนช่วยในการฝึกสมาธิเบื้องต้นกับการงาน) ยังจำได้สมัยเด็ก คุณครูฝึกวิถีแบบบ้านๆ ที่ค่อยๆ ขัดเกลาบ่มเพาะภูมิปัญญาแบบค่อยเป็นค่อยไป ที่ถ้าใครตั้งใจเรียน แม้จะอยู่หลังห้องก็ได้รับการบ่มเพาะการเรียนรู้แบบนี้ในตอนโต ที่จะเป็นฐานการมีสติสัมปชัญญะสมวัย ...

    เด็กที่ไหนจะรักษาของราคาแพง และเข้าใจว่าต้องแก้ไขดูแลอย่างไรเมื่อมีปัญหา ก็ไม่พ้นครูอีก ที่แค่คิดเรื่องการสอน การจัดการกับเด็กที่ซุกซน เด็กดื้อ เด็กเรียนช้า ครูกับนักเรียน ๑ ต่อ ๓๐ ก็ว่าเยอะแล้ว นี่มีอุปกรณ์ให้เด็กใช้คนละอัน ครูจะดูแลทันหรือเนี่ยนยยย !!!!

    ไม่รู้ว่าเป็นที่รัฐบาล เป็นที่นายทุน เป็นที่พ่อแม่คุณครู หรือเด็กเองที่อยากให้เกิดระบบนี้


    การเรียนการสอนที่มีเด็กเป็นเซ็นเตอร์ ไม่ใช่การตามใจ แต่ต้องหาวิธีให้เค้าเรียนรู้จากการเล่น ชมเชยเมื่อทำได้ แนะนะหากยังทำได้ไม่ดี หาสิ่งที่เด็กสนใจให้เจอ การเข้าสังคมทั้งกับเด็กเองและกับผู้ใหญ่ ไม่ใช่เหมารวมเด็กทุกคนเป็นเหมือนหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน หากเป็นผู้ใหญ่กันแล้วยังทำเรื่องนี้เป็นเรื่องการหาผลประโยชน์ ไม่ช้าพวกเราต้องเหมือนคนติดคุก แทนพวกนี้ซะแล้ว ... :':)':)'(


    เมื่อทุกคนต้องพึ่งตัวเองแล้วเด็กที่ยังไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จะรู้ไหมต้องดำรงชีวิตอย่างไรในวันข้างหน้า เมื่อมีแต่คนจ้องหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง ไม่สนใจคนที่ด้อยกว่า เพราะชั้นเหนือกว่า ไม่สนใจคนที่พิการ เพราะชั้นมี ๓๒ ครบ ถ้าต่างคนต่างคิด ฝ่ายเสียงข้างมากถูกกว่า ฝ่ายเสียงน้อยก็ถูกกว่า แล้วจะมีใครเสียสละกันบ้างไหม มีแต่คนเห็นแก่ตัวเท่านั้นที่ชอบเห็นความทุกข์ ของคนอื่น แล้วได้ยกตนว่าเสียสละจากการเอาสิ่งของที่มาจากภาษีประชาชนมาแจกประชาชนที่ไม่รู้ทันคนพวกนี้ ...


    ;9k;9k;9k
     
  2. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    ภัยเงียบ ที่ว่า นั้นคือ

    ความไร้ซึ่งปัญญา

    ใช่ป่าวคับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...