ภาพเก่าสมัย รัชกาลที่ 5

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย omio, 25 ตุลาคม 2009.

  1. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ขอบคุณมากค่ะ
     
  2. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    กระทู้ดังกล่าว... น่าจะเอาไปรวมอยู่ในชมรม ย้อนรอย สี่แผ่นดิน ของครูติ๋งนะ...
     
  3. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    เหตุการณ์แบบนี้...หากมองต่างมุม บุคคล.. ที่เปนนักประพันธ์ หรืออาจไม่ใช่ แต่ได้มีภาพเหล่านั้นไว้ในครอบครอง จะเนื่องด้วยการสืบทอดต่อ ๆ กันมา จากรุ่นสู่รุ่น หรือได้มาแบบเฉพาะกิจแล้วไซร้ ...แลการครอบครองดังกล่าว ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎของบ้านเมือง...ย่อมเปนผู้มีอำนาจโดยชอบธรรม ในการพิจารณาเผยแพร่ภาพดังกล่าวที่เหนสมควร
    ดูอย่าง...ภาพในนิมิตบางภาพ ที่ได้บรรจงจรดพู่กันวาดออกมา...ก็ยังต้องมีลายเซนต์กำกับใต้ภาพ เช่นกัน แลจะมีหมายเหตุในการเผยแพร่ดังกล่าว ต้องได้รับการขออนุญาตจากเจ้าของภาพด้วย.....

    ในเมื่อ...เจ้าของภาพ มิปรารถนา จะให้มีการเผยแพร่ภาพใด ๆ สู่สาธารณชนด้วยเปนสิทธิโดยชอบธรรมแล้ว เหตุใด... จึงได้นำมาลงการอีก

    การสื่อสารในบ้านนี้เปนสาธารณะ.... เน้นข้อความ เนื้อหา ตลอดจนการนำเสนอทางแห่งธรรมะเปนหลัก บ้างก็มีห้องให้ได้คลายเครียดกันบ้าง ตามความชอบของแต่ละท่าน เอื้อนเอ่ยวาจา....ตามปัญญชน ดังเช่นผู้ได้รับการศึกษา ค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ ชี้แจง ตามเหตุของผล ถอยหลังคนละก้าว.... ดีกว่าเอาหาวพุ่งใส่คนละดอก จะเปนการดีกว่าไหม...ขอให้พิจารณาดูด้วยกันทุก ๆ ฝ่าย

    เข้ามาอ่าน อย่างเปนกลาง
    มิเคยคิด คะคานผู้ใด
    หากเอ่ย วาจามากไป
    ต้องขออภัย ในทุกท่าน.....

    ขอให้เจริญในธรรม........
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    หากเพียงว่า เป็นการรุกล้ำกระทำมิควรแลกล่าววาจาอันกร้าวเกินงาม....
    แลหากการลงภาพเป็นที่ทำให้ต้องหนักหนาแก่ใจของผู้ที่มิต้องประสงค์ในการนี้
    แลเป็นการขัดหูขวางตา ฤาเป็นเหตุให้บุคคลไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกระทู้ขึ้นไปตามลำดับต้องเดือดเนื้อร้อนใจด้วยประการใดทั้งปวง ก็จะขอไม่ลงและลบภาพนั้นไป

    ที่ทำเพื่อประสงค์จักให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ได้เห็น ได้รับทราบ พระคุณของเจ้านายในราชวงศ์เป็นที่สุด ที่ได้ช่วยให้ประเทศได้เจริญ เจตนาทุจริตใดใดไม่มีในกมล

    .................


    เสียใจ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2009
  5. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ซักวัน..คงได้ยล แลดูภาพเหล่านั้น หากเจ้าของภาพอนุญาต....

    สิ่งที่กระทำ ท่านมิใช่ผู้ผิด มิใช่ผู้ถูกหรอก ... แต่จะเปนการสบายใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย หากเจ้าของภาพยินดี หรือท่านชอบที่เหยียบเรือนผู้อื่น แล้วเหนมีตราสารแปะอยู่หน้าบ้าน พร้อมข้อกล่าวหาว่าได้ของนั้นมา โดยมิชอบ.....

    หากเจตนาดี แต่การกระทำไม่สมควร ก็ต้องลดหลั่นข้อกล่าวหาลงตามความเหมาะสม... ถูก ก็ว่ากันตามถูก....ผิด ก็ว่ากันตามผิด ความเปนธรรมมีอยู่ในสังคมจริง หากแต่ต้องใช้ให้ถูก

    ฝ่ายหนึ่ง...อยู่ในที่มืด คอยติดตามความเคลื่อนไหว เหมือนเสือจ้องตะปบเหยื่อ..อย่างมิวางตา
    อีกฝ่าย... อยู่ในที่แจ้ง พร้อมทุกเมื่อกับการตอบรับ ถึงแม้ชั้นเชิงจะเหนือกว่า...ก็ย่อมเสียเปรียบต่ออีกฝ่ายที่ใช้ความนิ่ง สยบการเคลื่อนไหวด้วยตัว อักษรสีดำ หน้ากระทู้...

    ที่ทำเพื่อประสงค์จักให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ได้เห็น ได้รับทราบ พระคุณของเจ้านายในราชวงศ์เป็นที่สุด ที่ได้ช่วยให้ประเทศได้เจริญ เจตนาทุจริตใดใดไม่มีในกมล

    เปนความคิดที่ดี ประหนึ่งคนมีอุดมการณ์ในจิต เราโมทนาในความคิดนี้ด้วย....
    และสิ่งที่จะสืบทอดต่อรุ่นหลังนั้น...ต้องได้มาอย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน...





     
  6. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    เชื่อว่าทุกคนย่อมรู้จักตำนาน "แม่นากพระโขนง" ที่ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์และละครมาหลายชุด แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าแม่นากโด่งดังขึ้นมาได้อย่างไร แท้จริงแล้วมีตำนานอีกบทซ้อนมิติอยู่หลังเงาสลัวของหญิงสาวที่ชื่อ "นาก" เมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา

    เมื่อแม่นากคลอดลูกตายทั้งกลม ด้วยความผูกพันที่ต้องพลัดพรากจากสามีอันเป็นที่รัก ก็ได้กลายเป็นผีมาหลอกหลอนชาวบ้านย่านพระโขนงจนหวาดกลัวกันไปทั่ว แม้เวลาล่วงเลยมาร้อยกว่าปีแล้ว เรื่องราวของแม่นากก็ยังคงอยู่คู่สังคมไทย จนมีการตั้งศาลไว้เคารพบูชาที่วัดมหาบุศย์อันเป็นที่ฝังศพแม่นาก มีคนจากทั่วสารทิศแวะเวียนไปกราบไหว้กันไม่เคยสร่างซา

    เรื่องแม่นากถูกเล่าต่อๆ กันมา มีทั้งที่สร้างเป็นละครและภาพยนตร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทว่า บุคคลแรกที่ทำให้แม่นากกลายเป็นนิยายรักข้ามภพจนโด่งดัง คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ โดยทรงนำเรื่องอำแดงนากที่เล่าลือกัน มานิพนธ์เป็นบทละครร้องเรื่อง "อีนากพระโขนง" ด้วยนามปากกาว่า "หมากพญา" แล้วออกแสดงเป็นละครร้องราว พ.ศ.2454 ณ โรงละครปรีดาลัย ได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามจนต้องแสดงซ้ำถึง 24 คืน

    อีนากพระโขนงปิดฉากจากโรงละครปรีดาลัยมาเกือบครบศตวรรษแล้ว หากทว่าบางส่วนเสี้ยวของโรงละครปรีดาลัยยังคงตั้งตระหง่าน ท่ามกลางความผันแปรของผู้คนย่านเมืองเก่ารอบเกาะรัตนโกสินทร์ จนกลายเป็นอีกบทบันทึกชีวิตในโลกความจริง ที่ผ่านข้ามมิติแห่งเวลามาได้ไม่ต่างจากเรื่องแม่นากเลย

    โรงละครปรีดาลัยตั้งอยู่บริเวณเขตวังของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตรงแพร่งนรา ด้านหลังกระทรวงกลาโหม ซึ่งนับเป็นย่านชุมชนชาวบกแห่งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเป็นแหล่งพาณิชยกรรมหรูหรายุคแรกของกรุงเทพฯ โดยสร้างให้มีลักษณะย่านการค้าแบบตะวันตกผสมจีน เคยเป็นแหล่งที่พักอาศัยของนักคิดนักเขียน เช่น เทียนวรรณ มาลัย ชูพินิจ ก.ศ.ร. กุหลาบ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)

    วังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต่อมาถูกเวน คืนบางส่วนนำมาสร้างถนน คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้หลังเล็กอันเป็นบริเวณเดียวกันที่ตั้งโรงละครปรีดา ลัย ภายหลังเมื่อกรมพระนราธิปฯ ได้สิ้นพระชนม์แล้วก็ตก เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และได้ให้เช่าต่อเป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ซึ่งปัจจุบันก็เลิกกิจการไปแล้วเช่นกัน ด้านนอกวังได้มีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างตึกแถว 2 แถว หันหน้าเข้าหากันมีถนนในซอยคั่นกลาง เพื่อให้เช่าทำการค้า ชาวบ้านแถบนั้น เรียกย่าน นั้นว่า "แพร่งนรา" และเรียกถนนที่ตัดใหม่ว่า "ถนนแพร่งนรา"

    เมื่อกาลเวลาผ่านไป การณ์กลับกลายเป็นว่าแทบไม่มีเอกสารที่กล่าวถึงลักษณะภายในวังนี้โดยละเอียด แม้แต่ตําหนักที่ประทับก็ตาม สภาพอาคารที่เหลืออยู่ไม่อาจระบุได้ว่าเป็นส่วนใดของบริเวณวังอย่างชัดเจน ซึ่งตัวอาคารเป็นตึกสามชั้นก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยา มีหน้าบันรูปครึ่งวงกลม มีเฉลียงหันออกถนนแพร่งนรา ส่วนที่เป็นไม้ฉลุลายสวยงามตามชายคาและเท้าแขนค้ำยันเฉลียงด้านติดถนน ด้านหน้าอาคารถูกต่อเติมภายหลังด้วยอาคารเครื่องไม้ ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 6 และใช้หน้าต่างบานเกล็ดไม้ ขณะที่หน้าต่างประตูของตัวตึกส่วนใหญ่เป็นบานทึบลูกฟักไม้กระดาน

    ห้องชั้นล่างและชั้นสองมีสภาพพอใช้งานได้ ส่วนชั้นสามชํารุดมาก ตัวอาคารยังคงลักษณะเดิม มีหลายส่วนทรุดโทรมขาดการดูแล ตัวอาคารถูกทิ้งร้าง มีการให้เช่าถ่ายทำภาพยนตร์บ้างเป็นครั้งคราว มีร่องรอยต่อเติมฉากประกอบการถ่ายทำ บริเวณหน้าอาคารภายในรั้วก็ให้เช่าจอดรถ

    อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นหนังสือ ตำรา บทความ รายงาน และวิทยานิพนธ์ต่างๆ ทำให้พอจะประมวลได้ว่า สถานที่แห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของไทยช่วงปรับประเทศให้ ทันสมัย โดยเฉพาะด้านละครสมัยใหม่

    ตำนานของปรีดาลัยสืบเนื่องมาจากการที่กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 กับเจ้าจอมมารดาเขียน ซึ่งเป็นครูสอนรำและนางรำในวังพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 มาก่อน เจ้าจอมมารดาเขียนเคยเแสดงเรื่องอิเหนา แล้วได้รับการยกย่องว่าเป็น "เขียนอิเหนา" เมื่อประสูติกรมพระนราธิปฯ รัชกาลที่ 4 มีรับสั่งว่าเป็น "ลูกอิเหนา"

    [​IMG]




    เจ้าจอมมารดาเขียน ธิดาท่านอ้น สิริวัณ (หรือสิริวันต์) กับคุณหญิงอิ่ม เกิดเมื่อ พ.ศ. 2386 มีฉายาในหมู่ชาววังว่า “คุณเขียนอิเหนา” ถึงอนิจกรรมเมื่อวันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2484 อายุ 98 ปี



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2009
  7. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เป็นช่วงละครเฟื่องฟู มีการสร้างโรงละครเก็บค่าชมเป็นครั้งแรก จนเกิดศัพท์คำว่า "วิก" ขึ้น ซึ่งแต่เดิมมาไทยมีแต่ละครนอกให้ชาวบ้านดูและ ละครในสำหรับเจ้านายและชาววัง ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต่างประเทศ ทำให้เกิดการนำแบบอย่างตะวันตกมาพัฒนาการละครไทย เกิดเป็นละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ และละครร้องหรือละครปรีดาลัย มีคณะละครทั้งของเจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ คณะละคร จากต่างประเทศหรือชาวต่างประเทศในไทย และคณะละครชาวบ้านเกิดใหม่อีกหลายคณะ

    กรมพระนราธิปฯ ได้สร้างโรงละคร "วิมาณนฤมิตร" ข้างวัดสระเกศ และคณะละครนฤมิตรหรือที่รู้จักในชื่อ "ละครหม่อมหลวงต่วน" ออกแสดงละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ และละครร้อง ต่อมาเกิดไฟไหม้จึงสร้างโรงชั่วคราวชื่อ "กระท่อมนฤมิตร" คล้ายโรงนา เปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง หลังจากทรุดโทรมลง ก็ไปย้ายแสดงที่โรงละครดึกดําบรรพ์ของเจ้าพระยาเทเวศรวิวัฒน์วงศ์ ไม่นาน ก็เลิกแสดงไป เพราะกรมพระนราธิปฯ ติดราชการมาก ลำพังหม่อมหลวงต่วนไม่มีกำลังพอจะควบคุมคณะละครได้

    ต่อมาใน พ.ศ.2441 รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างพระราชวัง ดุสิตและโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกต้นไม้ โดยมีเจ้าพระยาวรพงษ์ พิพัฒน์เป็นผู้ดูแลต้นไม้ ต้นไม้ทุกต้นออกดอกตามฤดูกาล ยกเว้นลิ้นจี่ จน พ.ศ.2451 รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดําริว่า ถ้าต้นลิ้นจี่มีลูกจะหาละครหม่อมหลวงต่วนมาเล่นทําขวัญ ไม่นาน ลิ้นจี่ออกผลเต็มต้น แต่หม่อมหลวงต่วนได้เลิกละครแล้วจึงมีพระราชดํารัสแก่กรมพระนราธิปฯ ว่าจะพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อจัดละครเรื่องพระลอไปฉลอง ทรงโปรดมากมีรับสั่งว่า ควรทำต่อไป

    กรมพระนราธิปฯ จึงได้ปรับปรุงการแสดงจนเป็นแบบ "ละครปรีดาลัย" และสร้างโรงละครขึ้นใหม่ในเขตวังชื่อว่า "โรงละครปรีดาลัย" ดูโอ่อ่าทันสมัยตามอย่างตะวันตก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูเข้าออกหลายประตู เวลาคนเข้าชมจะเปิด 2-3 ประตู เมื่อจบจึงเปิดให้ออกทุกประตู ในโรงจะมีกระจกติดตามฝาผนังตรงกับที่นั่งคนดู ซึ่งจะสะท้อน เห็นด้านหลังเวที มองเห็นกรมพระนราธิปฯ คอยกํากับการแสดง

    พื้นเวทีเป็นไม้ ด้านหน้ากว้าง ด้านหลังสอบแคบมีหลืบด้านข้าง หน้าเวทีมีผ้าม่านปิดเปิด มีไฟติดหน้าเวที ช่วยสร้างบรรยากาศให้สมจริง บนเวทีมีที่ตั้งวงดนตรี ด้านข้างเวทีมีช่องเล็กๆ สําหรับคนบอกบท มีการเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง ผู้ชมสามารถชมได้เพียงด้านเดียวคือ ด้านหน้าโรงละคร

    ภายในโรงละครแบ่งที่นั่งเป็นส่วนๆ ตรงกลางมีที่นั่ง 33 ที่ สําหรับผู้ชมที่มีบรรดาศักดิ์ ด้านข้างมีที่นั่งข้างละ 25 ที่ สําหรับผู้ติดตามหรือประชาชนที่ซื้อบัตรเข้าชม มีเก้าอี้ด้านหลังติดต่อจาก ส่วนหน้าถึง 80 ที่ ในโรงละครมีบาร์ขายเหล้าฝรั่งและของว่าง มีคนขาย 2-3 คน แต่งกายชุดขาว ละครจะเล่นเฉพาะเสาร์อาทิตย์ ดูกันแน่นโรง เล่นแต่ละครั้งขายตั๋วได้ถึง 2,000-2,500 บาททีเดียว

    ที่โรงละครปรีดาลัย รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินมา ทอดพระเนตรเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง โปรดเกล้าฯ ให้เล่น ละครต้อนรับพระราชอาคันตุกะชาวตะวันตกด้วย รัชกาลที่ 6 เมื่อยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชก็เสด็จฯ ทอดพระเนตรเนืองๆ และได้กลายเป็นแหล่งบันเทิงของชาววังและชนชั้นสูงในสังคม เพราะมีถนนตัดผ่าน มีย่านการค้าห้างฝรั่ง ทันสมัยมากมายในละแวกใกล้เคียง

    ราวปี 2451-2452 กรมพระนราธิปฯ ทรงแต่งบทละครร้อง เรื่องสาวเครือฟ้า โดยดัดแปลงมาจากอุปรากรเรื่องมาดามบัตเตอร์ ฟลาย ของจาโกโม ปุชชีนี ซึ่งได้ต้นเค้ามาจากนวนิยายของจอห์น ลูเธอร์ ลอง อีกต่อหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2450 ทรงทอดพระเนตรอุปรากรเรื่องนี้ เมื่อเสด็จนิวัติพระนครได้ทรงเล่าให้กรมพระนราธิปฯ ฟัง

    กรมพระนราธิปฯ ทรงจัดแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง ในครั้งนั้นนางพร้อม นางเอกชื่อดังของคณะ ต่อมาได้เป็นหม่อมของกรมพระนราธิปฯ แสดงเป็นสาวเครือฟ้ามาถึงตอนจะเชือดคอตาย รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดมาก พระราชทานรางวัลให้ 100 บาท และทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เมื่อครั้งเสด็จกลับเยี่ยมเชียงใหม่ว่า ชาววังคลั่งละคร ของกรมนราฯ เรื่องที่มาเล่นในวังแล้ว เอาไปเล่นข้างนอกจะได้เงินถึงหมื่นกว่าบาท ถ้าเจ้าดารารัศมีกลับมา ควรมีละครสมโภช 3 วัน ก็ทายว่าจะให้เล่นเรื่องสาวเครือฟ้า

    คนดูชอบกันมากจนมีคนขอให้แสดงเรื่องสาวเครือฟ้าซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่อมาสร้างเป็นบทภาพยนตร์และละครทีวีอีก หลายครั้ง กรมพระนราธิปฯ ทรงประพันธ์บทละครปรีดาลัย ถึง 400 กว่าเรื่อง เช่น ตุ๊กตายอดรัก กินดิบ กำกงกำเกวียน ขี้หึงถึงดี คาราคาซัง คำหมอเทวดา คนทเล จั๊กะแหล่น จูบของคนยาก ชูโชค สุ่มๆ มะระตี่ ตครุบกบ น้ำคำมนุษย์ น้ำสบถ บรมะหึง แปลงกาย ผะอืดผะอม ผู้ร้ายกลับบ้าน พิไนยกรรมกะน้ำใจ มิตรประเสริฐ รับฝากอนุชา ลับลมคมใน ลาภหาย หลงกล สนองคุณ สายชนวน สาวเครือแมวฤาพันธุกรรม สาวเครือดิน สุดสกุล แสนแสบ หุนหันพลันแล่น อยัมพะทันตา อิหลักอิเหลื่อ อีสดกระสือ กระดังงาไม่ลนไฟ จอมกระล่อน ตื่นสมบัติ ฤาตายเพราะรัก เป็นต้น

    ละครปรีดาลัยดัดแปลงจากละครพันทาง ละครดึกดำ บรรพ์ และละคร "มาเลย์ โอเปร่า" หรือ "บังสาวัน" มีเนื้อเรื่องสนุกสนานเข้าใจง่าย สะท้อนสภาพสังคม ดำเนินเรื่องรวดเร็ว ไม่มีท่ารำมาก การแต่งกายและฉากเน้นสมจริงตามเรื่อง ปรับให้เข้าอารมณ์ คนดูได้ แบ่งเป็นตอน เรียกว่า "องก์" และ "ฉาก" มีชื่อคล้องจองกัน เริ่มด้วยแนะนำตัวละครสำคัญ บอกอายุ ตำแหน่ง อุปนิสัย ความสามารถ บอกชื่อชุด บรรยายฉาก แล้วเข้าเรื่อง บอกบทพูดสลับร้องโดยลูกคู่ ตอนจบให้ข้อคิด หรือถวายพระพรสรรเสริญ พระบารมี

    การแสดงใช้ตัวแสดงเป็นหญิงล้วน นักแสดงที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นชื่อช้อย แสดงเป็นพระเอกรุ่นแรกๆ คู่กับนางพร้อม ตัวเอกของที่นี่มักจะได้แต่งงานกับผู้ชายใน วงสังคมชั้นสูง เพราะคนดูละครเป็นผู้มีฐานะดี ส่วนผู้แสดงก็ได้รับการฝึกกิริยามารยาทมาอย่างดีไม่มีเรื่องด่างพร้อย

    เมื่อกรมพระนราธิปฯ ทรงเลิกทำละครราว พ.ศ.2456 พวกตัวละครได้เช่าโรงปรีดาลัยและใช้บทละครแสดงต่อแยกออกเป็น 3 โรง คือ ปราโมทย์เมือง บันเทิงไทย และไฉวเวียง บางคนออกมาตั้ง คณะ เช่น ปราโมทัย วิไลกรุง นครบันเทิง เฉลิมกรุง จันทรโรภาส ฯลฯ จัดแสดงละครเร่ตามต่างจังหวัด และพิมพ์บทละครจําหน่ายจนกลายเป็นธุรกิจในรัชกาลที่ 7 เกิดนักแสดงแม่เลื่อน แม่ชะม้อย ศรีนวล แก้ว บัวสาย ฯลฯ

    ในบั้นปลายของพระชนม์ชีพ กรมพระนราธิปฯ เสด็จไปประทับที่ชะอํา จังหวัดเพชรบุรี ทรง รับตําแหน่งผู้ใหญ่บ้านที่นั่น และสิ้นพระชนม์ พ.ศ.2474 ณ วังวรวรรณ เรื่องราวของปรีดาลัยดูเหมือน จะจบบริบูรณ์ หากทว่าลมหายใจของมันยังไม่ขาดลง พระนางเธอลักษมีลาวัณ (พระมเหสีในรัชกาลที่ 6) พระธิดาทรงตั้งคณะละครชื่อ ละครปรีดาลัย ใน พ.ศ.2476 โดยใช้ชายจริงหญิงแท้ มีเพลงร้อง ทั้งทำนองไทยและสากล แสดงที่ศาลาเฉลิมกรุง แล้วออกแสดงตามโรงและจัดเพื่อการกุศลอย่างต่อเนื่อง และครั้งสุดท้ายแสดงที่ศาลาเฉลิมนคร เมื่อ พ.ศ.2488-2489 หลังจากนั้นเลิกทำละครและทรงประพาสยุโรป

    แต่จากการที่บทพระนิพนธ์ของกรมพระนราธิปฯ นิยมนำมาแสดงกันแพร่หลายได้นำมาสู่การพัฒนาเป็นละครเพลงโดยพรานบูรณ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา) แห่งคณะละครจันทรโรภาส ทำให้เกิดละครเพลงที่มีชื่อเสียงหลายคณะ เช่น ศิลป์สําเริง นาครบันเทิง แม่ชะม้อย เพชรรัตน์ ฯลฯ

    ต่อมาช่วงสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ใช้ละครเพลงเป็นสื่อปลุกกระแสความรักชาติ โดยหลวงวิจิตรวาทการ เรียกว่า "ละครปลุกใจ" เช่น เลือดสุพรรณ อานุภาพแห่งความเสียสละ อานุภาพพ่อขุนรามคําแหง เจ้าหญิงแสนหวี ศึกถลาง ฯลฯ ละครเพลงยังคงมีแสดงให้เห็นจนทุกวันนี้

    นอกจากนี้เพลงที่หม่อมหลวงต่วนคิดขึ้นนั้น เกือบจะเป็นแนวสากล โดยร้องเนื้อมากเอื้อนน้อย เมื่อพรานบูรณ์ทำละครร้องได้ทำนองจากไทยเดิมมาสู่ไทยสากลแนวใหม่ตั้งแต่ พ.ศ.2476 ละครเวที ละครวิทยุ และภาพยนตร์ไทย ได้มีบทบาททำให้เพลงไทยสากลได้รับความนิยม เกิดเป็นแนวเพลง อีกหลายแนวในเวลาต่อมา จนกระทั่งมีภาพยนตร์และมีละครทีวีแพร่หลาย ละครร้องก็เสื่อมความนิยม จนเลิกราไปหมด

    จากเรื่องราวที่พอจะประมวลภาพได้ หากมองเผินๆ ก็เป็นเพียงการเล่าถึงฉากแหล่งบันเทิงของคนยุคก่อน โดยมองผ่านส่วนซากของอาคารเก่า หากลองมองให้ลึกซึ้งจะเห็นนัยบางประการของรัชกาลที่ 5 ในการที่ทรงสนับสนุนให้กรมพระนราธิปฯ จัดทำละครหลวงนฤมิตรนั้น คือกุศโลบายอันแยบคายที่จะใช้ละครแสดงให้ ชาวตะวันตกเห็นความอารยะของสยาม และเป็นสื่อผนวกรวมดินแดนต่างๆ เข้าเป็น หนึ่งเดียว ส่งผลต่อการพัฒนาวัฒนธรรม การบันเทิงไทยให้ก้าวหน้าในหมู่ประชาชน ในเวลาเดียวกัน

    จากเศษซากอาคารที่ยังคงบอกเล่าเรื่องราวอย่างเงียบๆ ได้กลายเป็นแรงดลใจ ให้คนจำนวนหนึ่งอยากรื้อฟื้นความทรงจำให้กลับมีชีวิต เริ่มจาก พ.ศ.2541 กรุงเทพมหานครร่วมกับ "ประชาคมคลองคูเมืองเดิมสามแพร่ง" จัดกิจกรรม "วันงามที่สาม แพร่ง" รณรงค์อนุรักษ์และพัฒนาชุมชนแต่ ไม่นานก็ซบเซาลงอีก

    ต่อมาทีมงานของโครงการค่ายสำรวจรังวัดมรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Measuring workshop on Vernacular Architecture) หรือ ASA VERNADOC 2008 ซึ่งนำทีมโดย ผศ.สุดจิต สนั่นไหว จากมหาวิทยาลัย รังสิต ร่วมกับสถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม 10 แห่ง สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และภัทราวดีเธียเตอร์ ได้มาเปิดค่ายเยาวชนทำการศึกษาสถาปัตยกรรมของโรงละครปรีดาลัย ด้วยการวาดภาพร่าง แล้วนำไปจัดแสดงครั้งแรกที่มิวเซียมสยามในปี 2551 ผศ.สุดจิตกล่าวว่า

    "ตอนสอนในห้องเรียนเด็กจะไม่ค่อยจำ และก็หาข้อมูลมาประกอบการสอนไม่ค่อยได้ ต่อมาก็คิดหาวิธีให้เด็กสนุกกับการเรียน จึงสนับสนุนให้เด็กตั้งชมรมและชวนออกไปเรียนนอกสถานที่ ช่วงที่มาเข้าค่ายที่นี่ เด็กๆ รู้สึกทึ่งว่าอาคารออกแบบไว้ดีมากอย่างคาดไม่ถึง ทำให้นับถือคนโบราณ แม้เป็นสถาปนิกถ้ามองแต่ภายนอก ก็ไม่สามารถอ่านโครงสร้างอาคารได้ ดังนั้นก่อนลงมืออนุรักษ์ต้องสืบย้อนจนเดาภาพเก่าได้ จึงจะรู้ว่า ควรซ่อมให้คืนสภาพดีได้อย่างไร ตรงนี้กลายเป็นพื้นที่ให้เราเรียนรู้ร่วมกันตลอดเวลา ผลงานที่ออกไปจัดแสดง ก็ทำให้มีคนตามมาดูสถานที่จริง เกิดความรักอยากทำให้มันดีขึ้น"

    ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ขาดการดูแล เพราะผู้เช่ารายเดิมหมดสัญญาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มานาน แล้ว และกำลังทำเรื่องต่อสัญญากันอยู่ โดยกัลวัตร ตะละภัฏ ซึ่งเช่าพื้นที่อยู่ในส่วนของสำนักงานทนายความตะละภัฏ เปิดเผยว่ากำลังดำเนินการให้ได้เช่าต่อแต่เพียงรายเดียวในเร็วๆ นี้

    ด้วยความสำคัญของพื้นที่ ซึ่งไม่เคยจางไปจากความทรงจำของผู้คน มีคนแวะเวียนมาเที่ยวชมกันบ่อยๆ ขณะนี้มีคนกลุ่มเล็กๆ ในชุมชนอยากฟื้นความรุ่งเรืองให้กลับคืนมา โดยชุมชนเป็นแกนอย่างแท้จริง โรงละคร ปรีดาลัยจึงเป็นบทเรียนอีกบทที่สะท้อนการขาดกลไกจัดการดูแลมรดกวัฒนธรรมของไทย

    แม้จะข้ามกาลเวลามาครบ 100 ปีแล้ว เรื่องราว "ปรีดาลัย" ก็ยังไม่ยุติลง มันคือบทบันทึกแห่งยุคสมัยที่แฝงอยู่ในเงาสลัว และรอคอยการกลับมาของคนที่ยังเปี่ยมรอยรักรอยอาลัย ช่วยเปิดม่านให้ตัวละครออกมา โลดแล่นอีกครั้ง เฉกเช่นเดียวกับแม่นากที่ไม่เคยลาโรง กลายเป็นตำนานรักสะท้านภพมาจนทุกวันนี้


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2009
  8. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ละครอุปรากรเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madame Butterfly) นี้เป็นอุปรากรของ เกียโคโม ปุชชินี (Giacomo Puccini) ซึ่งก็ได้เค้าเรื่องมาจากนวนิยายของ จอห์น ลูเธอร์ ลอง (John Luther Long)
    .

    เมื่อเสด็จนิวัติพระนครแล้ว ทรงเล่าเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อันเป็นเรื่องราวหญิงสาวที่ชื่อโจโจซัง ที่ผิดหวังในรักกับนายเรือเอกพิงเคอร์ตัน ทหารอเมริกัน ประทานให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ฟัง หลังจากนั้น กรมพระนราธิปฯ จึงทรงดัดแปลงเป็นบทละครร้องในเรื่อง สาวเครือฟ้า แสดงถวายหน้าพระที่นั่ง ........

    เปลี่ยนจากญี่ปุ่น มาเป็นเชียงใหม่, เปลี่ยนจากโจโจซัง สาวงามชาวญี่ปุ่น ผู้ได้สมญาว่า บัตเตอร์ฟลาย มาเป็น สาวเครือฟ้า หญิงงามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่, เปลี่ยนจากนายเรือเอกพิงเคอร์ตัน นายทหารเรืออเมริกัน มาเป็น ร้อยตรีพร้อม นายทหารจากเมืองกอก, เปลี่ยนจากซูซูกี สาวใช้ของบัตเตอร์ฟลาย มาเป็นสาวคำเชิด, เปลี่ยนจากนักบวชชาวญี่ปุ่น ผู้เป็นลุกของบัตเตอร์ฟลายมาเป็น ตุ๊สีป้าย ฯลฯ


    การแสดงครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขา ไปถึงพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ที่ขณะนั้นเสด็จกลับไปเยี่ยมเมืองเชียงใหม่ ข้อความลงวันที่ ๒๔ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ มีใจความตอนหนึ่งว่า

    .

    “...เรื่อง เครือฟ้า เป็นเรื่องมาดัมบัตเตอร์ไฟล ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือไกลบ้านตอนเมืองปารีส เปลี่ยนญี่ปุ่นเป็นลาว ฝรั่งเป็นไทย เท่านั้น ที่ทำคำร้องเช่นนี้ เอาอย่างออพราฝรั่ง เพราะเคยได้ชมเมื่อเจ้าเขมรร้อง...”
    .

    นอกจากนั้น ยังทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ ตอนหนึ่งว่า....

    “...บทร้องที่แต่ง แต่งดีนัก แต่จะเรียกว่าออปราอย่างฝรั่งไม่ได้ เป็นเธียเตอร์มีร้องเรื่องออปราเห็นว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากว่าร้องแลพิณพาทย์ของเรา ยังเป็นอยู่เช่นนี้ ฝรั่งมันร้องพร้อมกับซอได้หลายสิบคัน เหตุด้วยมันหอนเหมือนหมา ร้องอย่างเรามันเป็นบ่น พิณพาทย์ดังก็กลบหมด พิณพาทย์เบาก็ไม่เป็นรส.....”

    และนี่คือการก่อกำเนิดละครร้องสลับพูด เรื่อง "สาวเครือฟ้า"
     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ท่านพี่พูดเหมือนจะเข้าใจ แต่จริงแล้วมิได้เป็นเช่นดังนั้น
    เชื่อว่าในเรื่องจริงท่านพี่ทราบว่าเป็นเช่นไร จักเข้าข้างผู้ใดนั้นหรือไม่เข้าข้างกันก็คงจะว่ามิได้ แต่ดูประหนึ่งว่าน้องเป็นผู้ผิดเสียเต็มประดา ในเมื่อภาพนั้นเจ้าของแท้จริงก็มิใช่
    เห็นอยู่ว่ามีดาษดื่น ทั้งปวงแคว้นหัวเมืองนอกในก็มากตาที่เห็นได้ เพียงแต่หากเป็นภาพถ่ายด้วยน้ำมือในปัจจุบันจะไม่ว่ากะไรเลย

    เมื่อการบอกเล่าคุณประโยชน์อันดีงามเป็นไปได้ยากเช่นนี้ไซร้ คนรุ่นหลังที่ใดแห่งไหนจักมาสนใจ ก็คงจะถูกกลบลบเลือนไปกับกาลเวลาหาความจริงเนื้อแท้มิได้ ผลสุดท้ายก็จักไม่มีผู้ใดจดจำแลจำอะไรมิได้เลย
    สิ่งดีสิ่งมีคุณค่าเรื่องที่น่าจดจำหลายหลากเรื่องถึงได้สูญหายไร้ร่องรอยยากจะสืบค้นในปัจจุบัน
     
  10. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213

    [​IMG]


    [​IMG]


    หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ (มนตรีกุล)
    เป็นชาวบางกอกใหญ่ ธนบุรี เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นธิดาของม.ร.ว.ตาบ มนตรีกุล มารดาชื่อยิ้ม (สกุลเดิมศิริวันต์) สายราชสกุลมนตรีกุล ของหม่อมหลวงต่วนศรี เป็นสายที่มีความสามารถสูงในเชิงละครมาตั้งแต่ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ผู้เป็นต้นราชสกุลนี้ หม่อมเจ้าแบน มนตรีกุล และ ม.ร.ว.ตาบ มนตรีกุล ซึ่งเป็นท่านปู่และท่านพ่อของหม่อมหลวงต่วนศรี ก็มีความรู้ความสามารถและสนใจปลูกฝังวิชาการละครตกทอดมาตามลำดับจนถึงหม่อม หลวงต่วนศรี ท่านจึงรอบรู้ทั้งในกระบวนรำและดนตรีตลอดจนการขับร้อง โดยเฉพาะจะเข้นั้นหม่อมหลวงต่วนศรี เล่นได้ดีมาก เมื่อท่านได้มาเป็นหม่อมของพระราชวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ นั้น ท่านได้เป็นศิษย์ของเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4 ซึงเป็นพระมารดาของสมเด็จในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เจ้าจอมมารดาเขียนก็เป็นตัวละครเอกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นตัวเอก(เรียกกันเป็นสมญาว่า เขียนอิเหนา เขียนสังคามารตา) จึงได้มรดกการร่ายรำและเพลงการ ตกทอดมาอีกเป็นอันมาก ความรู้ของหม่อมหลวงต่วนศรี จึงมีอุดมสมบูรณ์ในเชิงละครทุกประการ เมื่อเสด็จในกรมพระนราฯ ทรงตั้งคณะละครนฤมิตรขึ้น ท่านก็เป็นกำลังสำคัญในการแต่งเพลงในละครร้องทุกเรื่อง บทละครนั้น เสด็จในกรมฯทรงนิพนธ์อย่างรวดเร็วและท่านก็บรรจุเพลงได้อย่างรวดเร็วทันท่วงทีด้วย เรียกว่าไวกันกันทั้งคู่ วิธีการนั้นคือ ท่านจะเป็นผู้ดีดจะเข้และร้องเพลงไปพร้อมกัน รวมทั้งคิดท่ารำตีบทให้เสร็จที่ขั้นชื่อมากคือเรื่องพระลอ ละครเรื่องแรกที่ท่านมีส่วนช่วยเหลือมากคือเรื่องอาหรับราตรี ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็นละครหลวงนฤมิตร จนเมื่อเกิดเป็นโรงละครปรีดาลัยขึ้น ก็เรียกละครปรีดาลัย เพลงต่างๆ ในเรื่อง สาวเครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก พระเจ้าสีป๊อมินทร์ ขวดแก้วเจียรนัย ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของท่านทั้งสิ้น ความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีของท่านเห็นได้จากการแต่งเพลงและบรรจุเพลงลงในละคร แต่ละเรื่อง เพราะปรากฏว่า ท่านแต่งเพลงเร็วมากและมีลูกเล่นยักเยื้องแพรวพราว เพลงสำเนียงลาวต่างๆ ที่ท่านนำมาบรรจุลงในละครเรื่องพระลอนั้น จริงอยู่ของเก่าก็มีอยู่บ้างแล้วเหมือนกัน แต่ท่านสามารถเปลี่ยนทำนองจนเกิดเป็นเพลงแนวใหม่ขึ้นได้อย่างฉับไว คุณสมบัติข้อนี้จะเห็นได้จากละครเรื่องพระเจ้าสิป๊อมินทร์ อีกเรื่องหนึ่ง เพราะท่านให้กำเนิดเพลงสำเนียงพม่าขึ้นมาใหม่ มีชื่อแปลกๆถึงกว่า 50 เพลง อาทิ พม่าพ้อ พม่าวอน พม่าพิโรธ พม่าตังคียก พม่าพรึม พม่าเหเฮ พม่าละห้อย ฯลฯ มากมายสุดจะพรรณนา ท่านมีอายุยืนมาก และความจำดีจนวาระสุดท้ายเมื่อท่านอายุเกิน 90 ปี ยังนั่งดูละครโทรศัน์ของกรมศิลปากรบ่อยๆ ท่านสามารถติชมวิจารณ์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะถ้าเล่าเรื่องพระลอแล้ว ท่านจะตั้งใจดูเป็นพิเศษ ถ้าเห็นผิดไปจากแนวเดิมของท่านก็แสดงความขุ่นข้องในใจทุกคราวไป ท่านมีโอรสและธิดา คือพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์และหม่อมเจ้าศิวากร วรวรรณ

    [​IMG]

    ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2517 รวมอายุได้ 99 ปี 4 เดือน)

    วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร (วัดเกาะ เยาว&
     
  11. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    การอัดเสียงในกรุงสยามครั้งแรก ณ วังบ้านหม้อ


    [​IMG]

    ตามหลักฐานและตัวอย่างแผ่นเสียงครั่งอย่างหนาชนิดร่องกลับทางของปาเต๊ะ ทำให้ทราบว่าการอัดเสียงในสมัยแรก เริ่มนั้นเกิดขึ้น ณ วังบ้านหม้อ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมมหรสพสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นบ้านของเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์ โดยมีหม่อมเจริญ กุญชร ณ อยุธยา เป็นต้นเสียงขับร้อง วังบ้านหม้อนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านหม้อ ถนนอัษฎางค์ ริมคลอง หลอด และถือเป็นสถานที่ให้กำเนิดวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นชื่อและรู้จักกันทั่วไปในสมัยนั้น นอกจากนี้แล้วนักร้องดัง ที่มีการอัดเสียง ณ วังบ้านหม้อ และเป็นที่ชื่นชอบได้แก่ หม่อมเจริญ หม่อมมาลัย แม่ชม แม่ชื่น แม่แป้น และแม่ปุ้ม เป็นต้น

    <center>หม่อมส้มจีน นักร้องดังเสียงดีสมัยรัชกาลที่ 5</center>
    หม่อมส้มจีน เป็นภรรยาของพระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ บุนนาค) ท่านมีชื่อเสียงในเรื่องร้องเพลงสามชั้น และเป็นศิษย์ ของพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) คือต่อเพลงกันมาตั้งแต่เจ้าคุณครูยังเป็นนายแปลกธรรมดา ไม่มีบรรดาศักดิ์ ได้ร่วมกันอัดเสียงเรื่อยมา จนนายแปลกได้เป็นท่านขุน หม่อมส้มจีนก็ได้เป็นนักร้องหญิงในราชสำนักสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคสมัยนั้น นิยมเสียงเล็กแหลมจึงเป็นที่โปรดปรานมาก หม่อมส้มจีนเป็นผู้ร้องเพลงแสนเสนาะ บันทึกลงแผ่นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2450 มีหลักฐานแสดงไว้ในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านลงวัน ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2451 ได้ทรงฟังเพลงแสนเสนาะนี้ เขาทำแผ่นส่งไปถวายที่เมืองแฮมเบอร์ก ประเทศเยอรมันนี ซึ่งระยะนั้นเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 แผ่นเสียงของหม่อมส้มจีนในระยะแรกมักพิมพ์ชื่อท่านผิด โดยพิมพ์ว่า "หม่อมซ่มจีน" ซึ่งที่ ถูกแล้วต้องเป็น "หม่อมส้มจีน" ท่านเป็นนักร้องสตรีบรรดาศักดิ์คนแรกของกรุงสยาม ที่บนแผ่นเสียงมีลายสลักชื่อโดยลายมือ ของเจ้าตัวเป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันว่าเป็นของแท้และเป็นนักร้องเพียงคนเดียวในกรุงสยามที่มีหลักฐานว่ามีการสลักชื่อบนแผ่นเสียง และถึงแก่กรรมในราวปี พ.ศ. 2454

    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]







    [​IMG]











     
  12. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
  13. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    โรงละครปรินซ์เทียเตอร์ (Prince Theatre)


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ภ. 004 หวญ 23-20
    ไม่มีคำบรรยาย (ภาพนี้ถ่ายราว พ.ศ. 2425-2437)

    [​IMG]

    (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/09/K8324579/K8324579.html)

    ภายในโรงละครจะตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม มีชื่อโรงเขียนเป็นภาษาอังกฤษเหนือเวทีไว้ว่า Prince Theatre มีโคมส่องเวทีติดเรียงเป็นแถว มีที่นั่งของผู้ชมทั่งด้านหน้า และด้านข้าง ส่วนตัวละครมีหลายตัวดูคึกคัก นอกจากตัวพระ นาง ทหารหญิง และทหารยักษ์แล้ว ยังมีช้าง (ใช้คนแสดง) อีก 2 เชือกด้วย ปรินซ์เทียเตอร์นี้เป็นโรงละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ซึ่งเคยรับใช้รัชกาลที่ 4 มาตั้งแต่เด็ก ร.4 ทรงรักใคร่จนนับเป็นบุตรเลี้ยง เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ท่านเป็นเจ้าของคณะละครมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่เพิ่งมาเป็นหลักฐานมั่นคงในรัชกาลที่ 5 ซึ่งแต่เดิมก็แสดงละครนอก ละครใน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านได้เป็นอุปทูตไปอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2400 ขณะอายุ ปี (เข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย คราวหม่อมราโชทัยเป็นล่าม) ท่านจึงนำแบบละครยุโรปมาปรับปรุงละครนอกของท่าน ให้มีแนวทางที่แปลกออกไป ละครของท่านได้รับความนิยมมากในปลายรัชกาลที่ 5 และสิ่งที่ท่านได้สร้างให้เกิดในวงการละครของไทย คือได้ริเริ่มแสดงละครเก็บเงิน (ตีตั๋ว) ที่โรงละครเป็นครั้งแรก เนื่องจากแต่เดิมคณะละครนี้เดิมชื่อ Siamese Theatre เป็นละครที่เล่นอยู่กับบ้านตามความพอใจของเจ้าของ เวลามีแขกเมืองมาก็เล่นให้แขกเมืองดู ชาวบ้านก็พลอยได้ดูด้วย จนเมื่องานฉลองกรุง 100 ปี (พ.ศ. 2425) เจ้าพระยามหินทรฯ ได้เอาละครไปร่วมแสดงในงานกลางท้องสนามหลวง ซึ่งมีการเก็บเงินคนที่ไปดูด้วย จากนั้นท่านจึงคิดเล่นละครเก็บเงินค่าดูบ้าง แล้วเปลี่ยนชื่อโรงละครเป็น "ปรินซ์เทียเตอร์" หมายถึงละครของพระองค์เจ้าที่เป็นหลานของท่าน (เนื่องจากบุตรีของท่านที่ชื่อ มรกฎ ได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 มีพระราชธิดา พระราชโอรส 2 พระองค์) และการแสดงของท่านก่อให้เกิดคำขึ้นคำหนึ่ง คือ "วิก" เหตุที่เกิดคำนี้คือ ละครของท่านเดิมแสดงเวลาเดือนหงาย เดือนละ 1 สัปดาห์ หรือ 1 วีค ชาวบ้านเมื่อไปดูละครของท่านก็มักจะพูดกันว่าไปวิกคือ ไปสุดสัปดาห์ด้วยการไปดูละครของท่านเจ้าพระยาฯ เรื่องที่แสดงมีทั้ง ดาหลัง ราชาธิราช และอื่นๆ การแต่งตัวก็แต่งอย่างสมจริง เช่น เล่นเรื่องจีนก็แต่งชุดจีน เล่นเรื่องพม่าก็แต่งชุดพม่า ทำให้มีผู้ชื่นชอบกันมาก


    [​IMG]




    เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม โรงละครของท่านตกเป็นของบุตร คือ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (บุศย์) ท่านผู้นี้เรียกละครของท่านว่า "ละครบุศย์มหินทร์" ละครโรงนี้ได้ไปแสดงในยุโรปเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่5 โดยไปแสดง ที่เมืองปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เมื่อพ.ศ. 2443 แต่ล้มเหลว คือขาดทุน เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยใน พ.ศ. 2444 ไม่นาน เจ้าหมื่นไวยวรนาถก็ถึงแก่กรรม


    [​IMG]
    เจ้าจอมมารดามรกฎ เพ็ญกุล


    [​IMG]
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี
    ทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่ ๗ ใน<wbr>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดามรกฏ

    [​IMG]

    (ผู้ประพันธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน หรือ เพลงลาวดวงเดือน)


    http://www.anurakthai.com/thaidances/prince_theatre/index.asp


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2009
  14. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]
    พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวงพระองค์แรก ในรัชกาลที่ ๕



    ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอลำดับที่ ๖ ในบรรดาพระราชโอรสธิ<wbr>ดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้<wbr>าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ (ธิดาพระยาพิพิธสุนทรการ(สุข) เจ้าเมืองเมืองตราด)

    ในบรรดาพระราชธิดาระดับ พระองค์เจ้า มีเพียง ๓ พระองค์เท่านั้นที่ทรงมีสร้อยพระนาม ได้แก่ ยิ่งเยาวลักษณ์อรรคราชสุดา ทักษิณชานราธิราชบุตรี และ โสมาวดีศรีรัตนราชธิดา

    รั๙กาลที่ ๔ ทรงบรรยายการเสด็จโดยรถม้าพระที<wbr>่นั่งตรวจราชการ โดยมีพระราชธิดาทั้งสามและสมเด็<wbr>จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์โดยเสด็จด้วย ว่า "..ลูกข้า ๔ คนนั่งเต็มหมดจนไม่มีที่นั่ง ตัวข้าเองเอาข้างหลังยันเบาะ เท้าทั้งสองยันพนักหน้ารถ นั่งลอยมา เพราะข้าวของเล็ก ๆ น้อย ๆ ลูก ๔ หาประทุกมาเต็มชานหน้ารถ ไม่มีที่นั่งที่ยืน.."

    เมื่อรถม้าพระที่นั่ง เข้ามาตามถนนด้านประตูวิ<wbr>เศษไชยศรีใกล้ทางเลี้ยวไปวั<wbr>ดพระศรีรัตนศาสดาราม ม้าตื่นเสียงแตรเสียงลองรั้งไม่<wbr>อยู่สายบังเ******ยนขาดไปข้างหนึ่ง รถเสียการทรงตัวคว่ำลง


    "..ข้างรถก็กระทบกับแท่<wbr>นปากกลางต้นชัยพฤกษ์ และรั้วล้อมกงข้างซ้ายก็ปี<wbr>นไปบนแท่นก่อด้วยอิฐ หลังคาประทุนรถกระทบปลายรั้วล่<wbr>มเหมาข้างซ้าย.."

    อุปัทวเหตุครั้งนี้ รัชกาลที่ ๔ พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ ทรงได้รับบาดเจ็บทุกพระองค์

    "..ชายจุฬาลงกรณ์ศีรษะแตกสามแห่งแต่น้<wbr>อย บางแห่งฟกบวมบ้าง ยิ่งเยาวลักษณ์เท้าเคล็ดห้อยยื<wbr>นในเวลานี้ไม่ได้ ขัดยอกที่สันหลังด้วย แต่มีแผลเล็กน้อย โสมาวดีก็เป็นแผลบ้าง หลังบวมแห่งหนึ่ง...แต่ทักษิ<wbr>ณชาป่วยมากจะเป็นอะไรทับก็สั<wbr>งเกตไม่ได้ หลังเท้าขวาฉีกยับเยินโลหิ<wbr>ตตกมากที่เดียว...อาการน่ากลั<wbr>วมาก โลหิตไหลไม่หยุด สักชั่วทุ่มหนึ่งต้องแก้ไข แต่หมอว่ากระดูกไม่แตกเป็นแต่<wbr>เนื้อแหลกเหลวไป ในกลางคืนวันนั้น ให้ชักให้กระตุกตัวสั่นไป แต่แก้ไขมาก็ค่อยยังชั่วขึ้น.."


    "....ทักษิณชาลูกข้าก็ค่อยยังชั่วแล้ว แต่ยังเดินไม่ได้ กับบางเวลาข้างเท้าและขาข้างดี<wbr>อยู่สั่นระทุกไป เขาว่าเป็นเพราะเทพจรไม่เสมอกั<wbr>นทั้งสองข้าง ๆ หนึ่งเป็นแผลใหญ่อยู่จนเทพจรเดิ<wbr>นไม่สะดวก จึงกลับมาลงเดินข้างหนึ่<wbr>งแรงไปกว่าข้างหนึ่ง การก็ไม่เป็นอะไรดอก เมื่อแผลหายแล้วอาการก็ปกติ..."



    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้<wbr>าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์เจ้าทักษิณชาฯ มีพระชันษาได้ ๑๘ -๑๙ ปี โปรดเกล้าให้รับเป็<wbr>นพระภรรยาเจ้าชั้น "ลูกหลวง" พระองค์แรก (ระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๓ - ๒๔๑๕)

    พระองค์เจ้าทักษิณชาฯประสูติ<wbr>พระราชกุมาร (สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์<wbr>แรกในพระบาทสมเเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่<wbr>หัว)เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ แต่ก็มีพระชนม์อยู่ได้เพียงวั<wbr>นเดียวเท่านั้น

    พระองค์เจ้าทักษิณชาฯ ทรงโศกเศร้าเสียพระทัยถึงสูญเสี<wbr>ยพระสติ จึงไม่ได้รับราชการสนองพระยุ<wbr>คลบาทอีกแต่ก็ดำรงพระชนม์ต่<wbr>อมาในพระตำหนักของพระองค์ จนชนมายุ ๕๔ จึงสิ้นพระชนม์



    http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3738212/K3738212.html




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2009
  15. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]
    พระบรมฉายาลักษณ์ พระชนมายุประมาณ ๑๘ พรรษา ทรงอุ้ม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ฯ


    [​IMG]

    พระบรมฉายาลักษณ์ พระชนมายุประมาณ ๓๐ พรรษา ทรงอุ้ม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรฯ




    Untitled Document
    สกุลไทย
     
  16. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]

    รถรางขณะแล่นผ่าน หน้าวังบูรพาภิรมย์ สมัยรัชกาลที่ 5 จะเห็นเสากระโดงบนหลังคาพาดเกี่ยวสายไฟตลอดทางเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าผลัก ดันให้วิ่ง
    ภาพประกอบจาก หนังสือ ในวังแก้ว หน้า 254 กิติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร
     
  17. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    รถรางในยุคแรกที่สั่งเข้ามาในเมืองไทยนั้น เป็นรถรางชนิดลากจูงด้วยแรงม้า ผู้ที่ต้นคิดนำเข้ามา เป็นกลุ่มวิศวกรชาวเดนมาร์ก ประกอบด้วย นายจอห์น ลอฟตัส , นายอาร์ คิว เปลซีเดอ รีชเชอริว และนายเวสเตน โฮลส์ ได้ร่วมทุนการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา เมื่อแรกเริ่มก่อนดำเนินการได้มีการสำรวจจำนวนผู้คนที่เดินทางทางไปมาตาม ย่านถนนสายสำคัญๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อจะดูว่าจะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ผลปรากฏว่า ถนนเจริญกรุงเป็นย่านเศรษฐกิจที่เจริญอยู่ใจกลางเมืองและผู้คนสัญจรมากที่สุด และเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติ

    ดังนั้น กลุ่มชาวเดนมาร์กกลุ่มนี้จึงทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้ง บริษัทและขอสัมปทานเดินรถรางต่อรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นทางบริษัทได้เริ่มวางรางรถนับตั้งแต่หน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง แล้วอ้อมไปตามเส้นทางถนนเจริญกรุง จนถึงบางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน โดยทางบริษัทได้ทำพิธีเปิดให้รถรางวิ่งรับส่งผู้โดยสารเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวัน ที่ 22 กันยายน 2431 นับว่าเป็นรถรางคันแรกของเมืองไทยและในแถบภูมอภาคเอเชีย รถรางที่วิ่งในระยะแรกนั้นใช้แรงม้าลากจูง เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยใช้เทียมม้า 6 ตัว แล้วลดลงมาเหลือ 4 ตัว แต่ก็พบอุปสรรค เนื่องจากม้าแต่ละตัวไม่พร้อมใจกัน ทำให้ฉุดกระชากลากไปคนละทาง ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเทียมม้าคู่ การประกอบกิจการในสมัยเริ่มแรกนั้น ต้องประสบปัญหานานานับประการ เนื่องจากสภาพการคมนาคมในกรุงเทพฯ สมัยนั้นยังด้อยพัฒนา พื้นถนนส่วนใหญ่เป็นดินโคลนเป็นหลุมเป็นบ่อ และเต็มไปด้วยสะพานข้ามคลองที่สูงชันมากมาย จึงต้องสำรองม้าไว้ตามจุดต่างๆ และที่เชิงสะพาน สำหรับผลัดเปลี่ยนรางจูงเป็นระยะๆ นับเป็นอุปสรรคสำหรับการเดินทางของผู้คนสมัยนั้นมาก

    รถรางคันแรกนี้วิ่งอยู่ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต้องประสบปัญหาภาวะขาดทุน เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อย ทั้งที่ค่าโดยสารรถรางถูกกว่ารถโดยสารชนิดอื่นๆ แต่คนส่วนใหญ่กลับนิยมรถลาก เพราะสามารถไปรับส่งถึงที่และสะดวกกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการชุดนี้ จึงโอนกิจการให้กับบริษัทรถรางกรุงเทพฯ ทุนจำกัด ซึ่งเป็นของอังกฤษรับช่วงดำเนินการต่อไป แต่ก็ยังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักเช่นกัน จึงได้เลิกล้มกิจการไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2435


    ต่อมาได้มีกลุ่มนักลงทุนชาวเดนมาร์กอีกกลุ่มหนึ่ง เข้ามารับช่วงสัมปทานดำเนินการต่อ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2437 ทางบริษัทได้พัฒนาระบบการเดินรถรางใหม่ โดยเปลี่ยนจากแรงม้ามาเป็นพลังงานไฟฟ้าแทน เมื่อแรกที่นำรถรางไฟฟ้ามาแทนนั้น คนไทยและชาวต่างชาติพากันตื่นตระหนก ไม่มีใครกล้าขึ้นรถรางเพราะกลัวว่าไฟฟ้าจะดูด เพราะเห็นกระแสไฟฟ้าแลบอยู่บนเสากระโดงหลังคารถ พวกฝรั่งจึงต้องขึ้นรถรางให้ดูเป็นตัวอย่างหลายวัน คนไทยจึงยอมขึ้นใช้บริการ



    http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=24697
     
  18. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG] [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ดำรงตำแหน่ง เป็น ผู้บังคับบัญชาทั่วไปในกรมทหาร (Commander in chief) ตาม โบราณ ราชประเพณี พร้อมกับประกาศจัดการทหาร เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐ โดยจัดตั้ง กรมยุทธนาธิการ ขึ้นใน ประกาศนี้ ให้รวม บรรดา กองทหารบก กองทหารเรือ ทั้งหมด ขึ้นอยู่ ในบังคับบัญชา ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แต่ในระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์ ให้มี ผู้ทำการแทนผู้บังคับบัญชาทั่วไป โดยได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์<wbr>วรเดช เป็น ผู้แทน บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหาร และ ให้รั้งตำแหน่ง เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้จัดการ ในกรมทหาร สำหรับทหารเรือ ทรงตั้งนายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิ<wbr>ทวงศ์ เป็น เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ (Secretary to the Navy)




    [​IMG]

    พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์





    [​IMG]
    จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
    ผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ ๕


    ทรงเป็นพระราชโอรสในพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาทับทิม พระชายาคือ หม่อมเจ้าหญิง ประวาศสวัสดี ภายหลังที่พระชายาได้สิ้นชีพิตักษัย ได้ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิง สุมนมาลย์



    [​IMG]


    นายทหารในกองบัญชาการกองทัพบก ที่โรงเรียนนายร้อย
    (กรมแผนที่ทหาร) ประมาณ พ.ศ.๒๔๔๕ ขณะนั้น
    จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
    เป็นผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ



    [​IMG]

    อมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
    ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ท่ามกลางผู้บังคับการกองทหารบก
    ที่ศาลายุทธนาธิการ ประมาณ พ.ศ.๒๔๓๗


    http://www.rta.mi.th/history/rta_history.htm
     
  19. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]



    [​IMG]








    [​IMG]

    บาทหลวง เอมิล ออกัส กอลมเบต์ ผู้ก่อตั้ง โรงเรียนอัสสัมชัญ


    โรงเรียนอัสสัมชัญ ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2420


    ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ได้มีพิธีเปิดเรือนไม้ซึ่งเดิมเป็นบ้านเณรวัดอัสสัมชัญเป็นโรงเรียน ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ (Le Collège de l'Assomption) ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้ มีนักเรียน 33 คน ในปีแรกคุณพ่อกอลมเบต์ต้องขอร้องผู้ปกครองให้นำบุตรหลานมาเรียนหนังสือ พอถึงสิ้นปีมีนักเรียนรวม 75 คน นักเรียนคนแรก คือ นายยวงบับติส เซียวเม่งเต็กกอลมเบต์เห็นว่าจะต้องขยายอาคารเรียน จึงได้ถวายฎีกาไปถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานและประทานทรัพย์อุดหนุนการนี้จำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการก่อสร้าง (อสช 1) ปีต่อมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 130 คน การเรียนการสอนในยุคแรก นั้น เปิดสอนภาษาไทยควบคู่กับภาษาฝรั่งเศส และสองปีต่อมาได้เปิดสอนภาษาอังกฤษเพิ่มอีก บาทหลวง และบอกบุญเรี่ยไรบรรดาพ่อค้า วาณิช ทั้งชาวไทยและต่างประเทศในกรุงเทพฯ กลายมาเป็นโรงเรียนที่เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญก็คือในการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ของโรงเรียนในเวลา 2 ปีหลังจากที่เปิดสอนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานและประทานทรัพย์อุดหนุนการนี้จำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการก่อสร้าง

    ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2430 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ และเหรียญต่างๆที่ฝั่งพร้อมศิลาฤกษ์ของอาคารใหม่ เมื่อพระองค์ทรงจับค้อนเคาะศิลาฤกษ์ได้ตรัสว่า






    <table style="border: 1px dotted rgb(204, 204, 204); border-collapse: collapse; width: auto;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td style="padding: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td>
    ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป
    </td> <td style="padding: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td></tr></tbody></table>


    http://ac.assumption.ac.th/
    http://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนอัสสัมชัญ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2009
  20. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
    ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 7
    ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434


    [​IMG][​IMG][​IMG]


    "รู้สึกสลดใจว่าตั้งแต่หม่อมฉั<wbr>นเกิดมาเห็นแต่เสด็จแม่
    ทรงเปนทุกข์โศก ไม่มีอะไรที่จะทำให้ชื่นพระหฤทั
    <wbr>ยเสียเลย
    สงสารเสด็จแม่จึงคิดว่าลูกผู้
    <wbr>ชายของท่านก็เหลืออยู่แต่หม่<wbr>อมฉัน
    คนเดียว ควรจะสนองพระคุณด้วยทำการงานอย่
    <wbr>างใดอย่างหนึ่ง
    ให้เสด็จแม่ทรงยินดีด้วยเห็นลู
    <wbr>กสามารถทำความดีให้เปนคุณ
    ประโยชน์แก่บ้านเมืองได้ ไม่เลี้ยงมาเสียเปล่า เมื่อคิดต่อไปว่า
    จะทำการอย่างไรดี หม่อมฉันคิดเห็นว่
    <wbr>าในทางราชการนั้นก็มี
    ทูลกระหม่อมพระราชโอรสในสมเด็
    <wbr>จพระศรีพัชรินทรอยู่หลาย
    พระองค์แล้ว ตัวหม่อมฉันจะทำราชการหรือไม่
    <wbr>ทำก็ไม่ผิดกัน
    เท่าใดนัก จึงคิดว่าการช่วยชีวิตผู้
    <wbr>คนพลเมืองเปนการสำคัญอย่าง
    หนึ่งซึ่งหม่อมฉันอาจจะทำได้
    <wbr>โดยลำพังตัว เพราะทรัพย์สิน
    ส่วนตัวก็มีพอจะเลี้ยงชีวิตแล้ว จะสละเงินที่ได้รับพระราชทาน
    ในส่วนที่เปนเจ้าฟ้าเอามาใช้
    <wbr>เปนทุนทำการตามความคิดให้เปน
    ประโยชน์แก่บ้านเมือง ด้วยเหตุดังทูลมานี้หม่อมฉันจึ
    <wbr>งไม่ทำราชการ"


    พระราชดำรินี้เกิดขึ้นเนื่องมาจากพระประสงค์ที่จะสนองพระคุณสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า


    [​IMG] [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]
    ทรงเป็นนักเรียนนายร้อยภาคพิเศษ
    พ.ศ.2445 พระชันษา 11 พรรษา


    [​IMG]
    [/SIZE][/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงฉายคู่กับพระราชโอรส เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ. 2450
    [/SIZE][/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]


    [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2][​IMG] [/SIZE][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ช่วงปิดภาคเรียนได้เสด็จไปเยี่ยมพระเชษฐา
    (สมเด็จฯ พระบรมราชชนก) ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และฉายพระรูปคู่
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อ พ.ศ.2451[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]




    [/SIZE][/FONT]http://www.princemahidolfoundation.com/education/history.html






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...