กัณฑ์ที่ ๒๖
มงคลสูตร
จิตของผู้ที่โลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว ๑
เป็นจิตไม่ยินร้าย ๑
เป็นจิตไม่ยินดี ๑
เป็นจิตเกษม ๑
วันที่ ๒ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๗
..................................................................
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํฯ
เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ ฯ
มงคลศูตร(2)พระธรรมเทศนา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 27 พฤษภาคม 2015.
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถาแก้ด้วยมงคลสูตร ในคาถาสุดท้ายสืบต่อไป จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
เริ่มต้นแห่งมงคลสูตร ในคาถาท้ายว่า
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํฯ
ว่าจิตของบุคคลผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมปราศจากความขุ่นมัว เป็นแดนเกษมจากโยคะ ได้ชื่อว่าเป็นมงคลอันสูงสุด นี่เป็นเนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความแค่นี้ ในคาถา
เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำซึ่งมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงซึ่งความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
นี่เป็นคาถาสุดท้ายในมงคลสูตร คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายเป็นลำดับไป
จิตของบุคคลใดอันโลกธรรมถูกต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว มีจิตเป็นตัวยืน และโลกธรรมทั้งหลายเป็นตัวจร
โลกธรรมท่านจัดเอาไว้ ๘ อย่าง คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์
จัดเป็นอิฏฐารมณ์ภาคหนึ่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข นี้เป็นอิฏฐารมณ์ สิ่งเป็นที่นิยมน่าปรารถนาทุกถ้วนหน้า
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ นั้นเป็นอนิฏฐารมณ์ไม่เป็นที่นิยมทุกถ้วนหน้า ไม่ปรารถนาทั้งนั้น
ที่เป็นอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์นี้ของมีประจำโลก ถ้าโลกนี้มีอยู่ตราบใด ก็มีอยู่ตราบนั้น ถ้าโลกนี้ไม่มีอยู่ตราบใด ก็ไม่มีตราบนั้น
อิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ทั้ง ๒ อย่างนี้ ก่อนเราเกิดมา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เขาก็มีอยู่แล้ว เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ เขาก็มีอยู่แล้ว หรือกำลังเราเกิดมา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เขาก็มีอยู่แล้ว เสื่อมลาภ เสื่อม ยศ ติเตียน ทุกข์ เขาก็มีอยู่แล้ว เขาไม่ได้หายไปทางไหน
เขาประจำอยู่ในโลกนี้ เขาไม่ใช่ของใคร ใครจะถือเอาเป็นสิทธิ์ไม่ได้ เป็นของทั่วไปแก่มนุษย์ที่เกิดมาในโลก หรือสัตว์ใดๆ ที่เกิดมาในโลก ก็แบบเดียวกัน
ส่วนลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นอิฏฐารมณ์ นิยมชมชอบทั้งนั้น
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ เป็นอนิฏฐารมณ์ ไม่นิยมชมชอบทั้งนั้น
เหตุนี้เราท่านทั้งหลาย เมื่อมาประสบพบพุทธศาสนาแล้ว มีที่หลีกที่เลี่ยงแท้ๆ แต่ว่าผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมของพระพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ก็ไม่รู้จะหลีกเลี่ยงไปไหน ท่าไหน อย่างไร
ผู้ที่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ก็รู้จักหลีกเลี่ยง ผู้ที่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ก็มีท่าหลีกเลี่ยงในอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์เหล่านี้
ถ้าไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ก็ไม่มีท่าจะหลีกเลี่ยง ถ้าว่าได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ หรือได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษแล้วก็มีท่าที่จะหลีกเลี่ยง
ถ้าไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษหรือได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษแล้ว ก็ไม่มีท่าหลีกเลี่ยงอีกเหมือนกัน
เหตุนั้น เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต เมื่อรู้จักชนิดของอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เหล่านี้แล้ว มีที่หลีกเลี่ยงได้ จิตของเราที่จะรับอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์
จิตหลีกเลี่ยงจากอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เหล่านี้ ต้องบังคับจิตให้ดี จิตของเราต้องมีที่ตั้ง ตั้งจิตเสียให้ดี ให้ถูกหลักถูกฐานของที่ตั้งจิตเสียให้ดีแล้ว จะต่อสู้ซึ่งอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เหล่านี้ได้ถ้าว่าตั้งไม่ดีแล้วละก็จะต่อสู้อิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ไม่ได้เลย
ตั้งให้ดีจะตั้งตรงไหน? ต้องตั้งที่ตั้งของเขา ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้าย ขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึงแค่กัน ตึงด้วยกันทั้งสองเส้นตรงกลางจดกัน ตรงกลางที่จดกันของกลางนั่นแหละ ตรงนั้นเรียกว่า
กลางกั๊ก
ใจหยุดที่กลางกั๊กนั่นแหละ ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ หมั่นเอาใจจดอยู่ตรงนั้นแหละ
เริ่มต้นก็หมั่นเอาใจจดอยู่ตรงนั้นแหละเสมอ จะนั่ง จะนอน จะเดิน จะกิน จะดื่ม จะมี จะทำ จะพูด จะอุจจาระ ปัสสาวะ ก็หยุดตรงนั้นเสมอ แล้วก็ไม่ค่อยจะอยู่ จดไปเถอะ จดหนักเข้าๆ พอชินหนักเข้าก็ชำนาญ หนักเข้าๆ ก็อยู่
พออยู่เท่านั้น ยิ้มแล้วละเรา พอใจหยุดตรงนั้นเท่านั้น ยิ้มแล้วละ
พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ ไม่กระทบกระเทือนแล้ว เฉยเสียแล้วล่ะ ไม่อาดูรเดือดร้อนด้วยอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์แล้ว
ต้องทำใจให้หยุด พอหยุดเสียเท่านั้น ทั้งอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ ทำอะไรไม่ได้ ตรงนั้นนั่นแหละ ถ้าทำใจให้หยุดตรงนั้นแล้วก็ได้ละ ถูกส่วนละ ถูกส่วนเช่นนั้นละก็ สิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เกิด ส่วนที่เป็นอนิฏฐารมณ์ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ ไม่กระทบกระเทือน ทำให้จิตกระทบกระเทือนไม่ได้ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ถ้าจิตเป็นขนาดนี้แล้ว บุคคลนั้น ถึงซึ่งความสูงสุดแล้ว ถึงซึ่งมงคลแล้ว เข้าถึงซึ่งเนื้อหนังมงคลแล้ว เป็นตัวมงคลขึ้นแล้ว บุคคลนั้นเป็นตัวมงคลขึ้นแล้ว
นี้อยากได้มงคลต้องทำอย่างนี้นะ ถ้าทำไม่ถูกอย่างนี้ละก็ ไม่ได้มงคลทีเดียว
ถ้าว่าอาดูรเดือดร้อนไปตามอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ เป็นอัปมงคล แท้ๆ
อัปมงคลไม่ใช่เป็นแต่เฉพาะฆราวาสหญิงชายนะ ภิกษุ สามเณรเหมือนกัน พอสงบไม่ลง ทำใจหยุดไม่ได้ ก็เป็นอัปมงคลแท้ๆ
เมื่อรู้เช่นนั้น รู้จักละมงคล อัปมงคล เช่นนี้ นี้ต้องเพียรทำใจให้หยุดเข้าซี
หยุดได้เวลาใด ก็เป็นมงคลเวลานั้น
ถ้าหยุดไม่ได้เวลาใด ก็เป็นอัปมงคลเวลานั้น รู้จักชัดดังนี้นะ เมื่อรู้จักชัดดังนี้ละก็ นี่เป็นข้อที่หนึ่ง
ข้อที่สอง อโสกํ โสกน่ะเขาแปลว่าความผากความเผือด ความผากของใจ ความเผือดของใจ ความแห้งของใจ
ความแห้งเผือดของใจนั้นเรียกว่า โสก เขาแปลว่า ความแห้ง โสโก โสจนา โสจิตฺตตฺตํ อนฺโต โสโก อนฺโต ปริโสโก แห้งเหือดโดยรอบ ผาดเผือดโดยรอบของใจนั้นเรียกว่าความโสก
โสกนั่นแหละที่จะมีกับจิตของบุคคลใดขึ้นได้ ก็เพราะอาศัยใจน่ะ หยุด พอใจหยุดเข้าไปเวลาใด เวลานั้นโสกผอมลงไปทันที
โสกนี่จะเกิดเวลาใด? เวลาพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจ พลัดพรากจากพี่น้อง วงศาคณาญาติใดๆ หรือตายจากกัน นั่นแหละโสกเกิดละ
พอโสกเกิดขึ้นเวลาใด ใจผาดเผือด ข้างในน่ะไม่ได้แห้งผากแต่อย่างหนึ่งอย่างใด พอความโสกเกิดขึ้นเท่านั้นแหละแห้งไปทันทีทีเดียว
คนมีเรี่ยวมีแรงคนอ้วนนั่นแหละ หมดแรงนอนผลอยทีเดียว นั่นแหละ ความแห้งเหือดของใจละ ความโสกละนี้ความโสกกระทบหัวใจเข้าแล้วเช่นนี้ ความโสกกระทบดวงใจเข้าแล้วเช่นนี้ เป็นไปตามอำนาจของความโสกแล้วต้องเป็นดังนี้ ต้องแก้ไขทันที ทำใจหยุดเสีย พอใจหยุดเสียเท่านั้นแหละ ไม่ยักโสกแต่นิดเดียว
โลกธรรมจะมากระทบสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็ไม่โสก
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ สักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ไม่โสก
พลัดพรากจากเมีย ลูกสาว สักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ไม่โสกเพราะใจหยุดเสียแล้ว ไม่ใช่เท่านั้น ใจหยุดเสียแล้วไฟล์ที่แนบมา:
-
-
วิรชํ
ปราศจากความขุ่นมัว
วิรชํ ปราศจากธุลี เศร้าหมองก็ไม่มี แก่ใจ เพราะใจหยุดเสียแล้ว ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว แต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลยทีเดียว ไม่เศร้าหมองไม่ขุ่นมัวเลย
วิรชํ ปราศจากความขุ่นมัว
วิรชํ ปราศจากธุลี เศร้าหมองก็ไม่มี แก่ใจ เพราะใจหยุดเสียแล้ว ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว แต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลยทีเดียว ไม่เศร้าหมองไม่ขุ่นมัวเลย
ถ้าใจไม่หยุดเสียแล้ว โลกธรรมกระทบก็ไม่ได้ เศร้าหมอง ขุ่นมัวบ้างด้วยประการต่างๆ เหตุนี้ต้องคอยระวังตัวทีเดียว ระวังตัวอย่าให้เศร้าหมองขุ่นมัวได้
ถ้าเศร้าหมองขุ่นมัวได้ เพราะตัวโง่ไม่ทันกับดวงจิต โง่กว่าดวงจิต ไม่ทำจิตให้หยุดเสีย ทำจิตปล่อยไปตามอารมณ์ ไปกินกับอารมณ์
เมื่อเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ เข้าไประดมได้เช่นนี้ ก็ทำจิตให้เศร้าหมองขุ่นมัว ไม่ผ่องใส
เมื่อจิตไม่ผ่องใส นั่นลงโทษตัวเอง ไม่ใช่ลงโทษใคร ลงโทษตัวของตัวเอง นี่เป็นข้อที่สาม
ข้อที่สี่ เขมํ ถ้าว่าจิตหยุดเสียได้ละก็ เขมํ ทีเดียว เกษมผ่องใสเหมือนอย่างกับกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าทีเดียว เกษมผ่องใสขนาดนั้น
จิตเกษมผ่องใสเช่นนั้นแล้ว จิตดวงนั้นแหละตัวมงคลแท้ๆ ที่เรียกว่า มงฺคลํ อุตฺตมํ นั่นแหละตัวมงคลแท้ๆ เทียว
เหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญจริง ถ้าจิตหยุดเช่นนั้นเสียแล้วละก็ เงินน่ะ ไม่ต้องหายากหาลำบากแต่อย่างไรหรอก
ถ้าจิตผ่องใสขนาดนั้นแล้ว ไม่ต้องทำงานอะไรมากมายไปหรอก มันไหลเข้ามาเองนะ เงินน่ะไม่เดือดร้อน มีแต่เงินเข้า เงินออกไม่มีนะ ออกก็เล็กๆ น้อยๆ เข้ามามาก ผ่องใสอย่างนั้นละก็ นั่นตัวนั้นเป็นตัวสำคัญทีเดียว
ถ้าว่าผู้ครองเรือน ต้องการให้มั่งมีเงินทอง ข้าวของมาก อย่ากระทบกระเทือนใจกัน ทำใจให้ใสอยู่ท่าเดียวแหละ ใจเป็นแดนเกษมอยู่เสมอไป อย่างนี้ให้ตั้งจิตให้อยู่ ให้ดูของตัวไว้ให้ผ่องใสอยู่อย่างนั้น เงินทองไหลมาเป็นมงคลแท้ๆ
มงคลแปลว่าเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญ ไม่ใช่เหตุเครื่องถึงซึ่งความเสื่อม อัปมงคลเหตุถึงซึ่งความเสื่อมทราม แต่ว่ามงคลน่ะเหตุถึงซึ่งความเจริญ
นี่ถ้ารู้ทางดำเนินของพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้วละก็ ภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา พอบวชเข้าเป็นภิกษุ สามเณรแล้ว ไม่ต้องทำอะไร ต้องทำใจให้ใสเท่านั้นแหละ ทำใจใสแล้วก็เป็นใช้ได้
ถ้าใจไม่ใสภิกษุ สามเณรนั้นใช้ไม่ได้ ยังเป็นภิกษุ สามเณรแต่ภายนอก ภายในเป็นไม่ได้ พอใสภายในก็เป็นภิกษุ สามเณรทีเดียว นั้นเป็นที่ไหว้ที่บูชาของมหาชนทีเดียว เป็นที่เคารพนบไหว้ทีเดียว
ให้รู้หลักจริงดังนี้นะ ถ้ารู้จักหลักจริงดังนี้ละก็ นี่แหละข้อมงคล แสดงมาตั้งแต่ต้นโน้นเป็น ๓๘ ข้อตั้งแต่ อ เสวนา มาจนกระทั่งถึงจิตเกษม เป็นแดนผ่องใส
นี่เป็นมงคล ๓๘ ข้อ แต่ว่าสวดได้ ๓๗ เท่านั้นเอง เห็นจะไปคละกันกับข้อใดข้อหนึ่ง ผู้เรียงบาลีจะเคลื่อนคลาดแต่อย่างใดก็ไม่รู้ แต่นั่นเป็นเรื่องของบาลีท่าน แต่ว่าที่ยืนยันมงคลน่ะมี ๓๘ แต่ว่าถ้าตรวจจริงมี ๓๗ ข้อ นับทั้งที่แสดงมา ๔ ข้อนี้เข้าด้วยไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ในคาถาเบื้องท้ายของมงคลนี้ ในสี่ข้อนี้ ทำให้ใจหยุดใจนิ่ง ใส ได้ละก็นั่นแหละ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ในสี่ข้อแหละเป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญอันสูงสุด
เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำซึ่งมงคลเช่นนี้แล้ว ทั้ง ๓๘ ข้อนั้น
มาปราชิตา สพฺพตฺถ ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง มีแต่ชนะ ฝ่ายแพ้ไม่มีเป็นเด็ดขาดทีเดียว ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง
โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ย่อมถึงซึ่งความสวัสดีในที่ทั้งปวง จะอยู่ในสถานที่ใดๆ ย่อมมีแต่ความสวัสดีเป็นเบื้องหน้า จะไปในป่าในดอนในดง ไปไหนไปเถอะ ย่อมมีแต่ความสวัสดีเรื่อยๆ ไป จะอยู่ในถ้ำในภูเขา จะอยู่ในสถานที่ใดมีแต่ความสวัสดี ความอัปมงคลความชั่วร้ายไม่มี มีแต่ความสวัสดีเป็นเบื้องหน้า ท่านจึงยืนยันว่า ย่อมถึงซึ่งความสวัสดีในที่ทั้งปวง
ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมํ ข้อนั้น เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญอันสูงสุดในธรรมวินัยของพระบรมศาสดา ใน ๓๘ ข้อ
ที่แสดงมาจบแล้วนี้ นี่แหละเป็นมงคลในทางพุทธศาสนา ท่านจึงจัดเป็นบาลีคัมภีร์ใหญ่ ถ้าจะแสดงให้กว้างขวางออกไปทีละข้อๆ ใน ๓๘ ข้อนี้ต้องแสดงขนาด ๓๘ วัน ก็เห็นจะจบละ ๓๘ วัน
นี่แสดงแต่เนื้อความของวาระพระบาลี คลี่ความเล็กน้อย ไม่กว้างขวางนัก มงคลทั้งหลายเหล่านี้แหละ ที่เรานิยมยกย่องชมเชยสรรเสริญกันนัก ทำอะไรก็ทำการเป็นมงคล มงคลซี
มีการมีงานอะไร เลี้ยงเหล้ากันคลึกทีเดียว นั่นมงคลหรือนั่น?
เอาอัปมงคลไปดันเข้าเสียแล้ว แล้วบอกว่าเป็นมงคลด้วย มงคลแต่ปากน่ะ เนื้อหนังไม่ใช่มงคล เนื้อหนังเป็นอัปมงคล มงคลแต่ปาก ถ้ามงคลจริงๆ ละก็ดังกล่าวแล้ว ๓๘ ข้อมาโน้น ต้องทำใจให้ใส ทำใจให้เป็นสุขทีเดียว
พอทำใจใสได้เท่านั้นแหละ เป็นหนทางไปสู่มรรคผลในนิพพานทีเดียวนิพฺพาน สจฺฉิกิริยาย เพื่อจะกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทำใจใสเท่านั้น
พอถูกส่วนเท่านั้นแหละ อ้ายที่ใสแหน๋วอยู่นั่นแหละ ขยายส่วนออกไป ใจที่ใสนั่นขยายส่วนออกไป แต่พอขยายส่วนได้ส่วนเท่านั้น ใจพอใสก็หยุดนิ่งอยู่ที่ใสนั่น หยุดในหยุด หยุดในหยุด หยุดในหยุด ที่ในหยุดนั่นแหละ
พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เห็นดวงใสผุดขึ้นที่ใจหยุดนั่นแหละ เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใจก็หยุดอยู่ที่กลางดวง ดวงที่ผุดขึ้นเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดกลางอยู่นั่น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ซ้ายขวา หน้าหลัง ล่างบน นอกในไม่ไป
นี่ที่เณรฝรั่งสำเร็จไปแล้วน่ะ สำเร็จไปแล้วก็ทำทางนี้แหละ แบบเดียวดังนี้ทีเดียว ไม่ได้ไปทางอื่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละผุดขึ้นอีกดวงหนึ่ง เขาเรียกว่า ดวงศีล เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เท่ากัน
ใจก็หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงศีล นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นอีกดวง ดวงเท่ากัน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เรียกว่า ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลาง ดวงสมาธิ กลางของกลางหนักขึ้นอีก พอถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นอีกดวงหนึ่ง เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ นี่เรียกว่า ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลาง ดวงปัญญา นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นอีกดวงหนึ่ง เขาเรียกว่า ดวงวิมุตติ เท่าๆ กัน
หยุดอยู่กลางดวง วิมุตติ นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายมนุษย์ละเอียด นี่ตัวจริงนะ เห็นอย่างนี้แหละ แล้วก็ไปเรื่อยไปทีเดียว
พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด อ้ายกายที่นอนฝันออกไป ไม่เคยเห็นมันเลย นี่ทำไมมาเห็นมันเข้าล่ะ เมื่อเห็นเข้าเช่นนี้แล้วเราจะทำอย่างไร?
อ้อ นี่มาอย่างไรกันล่ะ อ้อ มาจากใจหยุดนั่นแหละ ก็เอาใจของกายมนุษย์ละเอียด หยุดเข้าอีกนั่นแหละแบบเดียวกัน ไม่ได้มีเป็นสองไปละ พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใสเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
หยุดอยู่กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลาง ดวงศีล ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลาง ดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลาง ดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลาง ดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็น กายทิพย์
อ้อ อ้ายนี่กายฝันในฝัน กายของตัวเองแท้ๆ จำได้ เห็นหน้าเห็นตาจำได้ นี่เข้าถึงกายทิพย์แล้ว
พอถึงกายทิพย์เท่านั้นมันก็รู้ทีเดียว อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ของมนุษย์นี่ดับหมดแล้ว เหลือแต่โลภะ โทสะ โมหะ ในกายทิพย์ละ อ้อ อ้ายนี่กระเทาะกิเลสออกไปเป็นชั้นอย่างนี้ หรือดับได้อย่างนี้ เราไม่ต้องดับ มันดับเองนี่
พอถูกส่วนเข้าก็ดับเองอย่างนั้นแหละ ไม่ต้องไปดับ จะดับมันตั้งแต่หนุ่มจนแก่จนตาย ดับโลภ โกรธหลงดับไม่ได้ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ดับไม่ได้ ต้องถอดไปเป็นชั้นอย่างนี้จึงจะดับได้
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พอไปถึงกายทิพย์เข้า อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ดับ เหลือโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียด
ใจกายทิพย์ ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอหยุดถูกส่วนเข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ละเอียด
ใจกายทิพย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โตขึ้นเป็นลำดับนะ
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเข้าถึง กายรูปพรหม
เลยกายทิพย์ไปเสียแล้วทั้งหยาบทั้งละเอียด นี่แหละ โลภะ โทสะ โมหะหมดไป เหลือราคะ โทสะ โมหะหนักขึ้นไป ละเอียดขึ้นไป ไปกำหนัดยินดีในรูปฌาน อรูปฌานโน่นแหละคราวนี้
ใจกายรูปพรหม ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โตขึ้นเป็นลำดับนะ
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็ถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็น กายรูปพรหมละเอียดชัดๆ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหมละเอียดทีเดียว
ใจกายรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็น กายอรูปพรหม
นี้ก็ ราคะ โทสะ โมหะหมดไปแล้ว ไม่เหลือเลยเหลือกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ในกายอรูปพรหม
ใจกายอรูปพรหม ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด
ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็น กายธรรมโคตรภู รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า
พอเข้าถึงกายธรรมเท่านั้นแหละ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชา-นุสัย หมดแล้วไม่มีเลย หายไปหมด เหลือแต่ สักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส ในกายโคตรภูบุคคล
ใจของธรรมกายโคตรภู ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายโคตรภู แต่ว่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายน่ะ หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหนละ ก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางโตเท่านั้น กลมรอบตัวนะ ใหญ่ขึ้นไปทีเดียว
ในกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็เข้าถึง กายธรรมโคตรภูละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูมนะ กายธรรมโคตรภูละเอียดน่ะ วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
ใจกายธรรมโคตรภูละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมโคตรภูละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ธรรมกายพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น
นี่หมด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เข้าถึงพระโสดาแล้ว สังโยชน์เบื้องต่ำหมดไป พอถึงพระโสดาแล้ว แต่ยังมีกิเลสอยู่ กามราคะ พยาบาท ยังมีอยู่
ใจธรรมกายพระโสดา ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล เท่ากัน
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าเห็น ธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
ใจธรรมกายพระโสดาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาละเอียด พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงเห็น ธรรมกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
พอเข้าถึงพระสกทาคาเท่านั้น ส่วน กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด เหลือแต่ละเอียด
ใจธรรมกายพระสกทาคา ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็ถึง ธรรมกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูมใส หนักขึ้นไป
ใจธรรมกายพระสกทาคาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง ธรรมกายพระอนาคา หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป
ใจของธรรมกายพระอนาคา ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายพระอนาคา พอถึงแค่นี้เข้า กามราคะ พยาบาท ขั้นหยาบขั้นละเอียดหมดแล้ว เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ในกายพระอนาคา
ใจพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายพระ อนาคา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ธรรมกายพระอนาคาละเอียด
ใจธรรมกายพระอนาคาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงธัมมานุ-ปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ธรรมกายพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม เท่ากับธรรมกาย พระอนาคาละเอียด เท่ากัน
พอถึงพระอรหัตก็หมดแล้ว รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา นี่เรียกว่าเป็น สมุจเฉทปหาน เป็นพระอรหัตแล้ว เป็นสมุทเฉทปหานกิเลสไม่ติดเท่าปลายผมปลายขน หมดกิเลสแค่นี้แหละ พอถึงพระอรหัตก็เสร็จกิจในพระธรรมวินัยของพระศาสดา
ใจพระอรหัต ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระอรหัต พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ธรรมกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก ๓๐ วา สูง ๓๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัตละเอียด
เสร็จกิจในพระพุทธศาสนาพระสมณโคดมแค่นี้ ปฏิบัติไปเถอะถึงแค่นี้แล้วก็แล้วละ เสร็จกิจทางธรรม ต่อไปไม่ต้องเรียนไม่ต้องศึกษา เรียกว่ารู้เห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราทีเดียว กิจที่จะต้องทำอีกต่อไป กิจเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องมีกระไรต่อไป ภพของเราต่อไปไม่มี หมดภพแล้วแค่นี้ นี่เสร็จกิจในพระพุทธศาสนา
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
<TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ก็เป็นของไม่ยาก ของไม่ใช่ทำยาก แต่ว่าได้เพียรกันนักแล้ว ทำกันได้เห็นได้มากแล้ว โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต
ทำมาได้ก็จริง แต่ว่าไม่ติด ไปติดอยู่แค่โคตรภูเท่านั้นเอง ที่จะติดโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ไม่ติดหลุดเสีย
เพราะเหตุอะไรจึงหลุดไป?
มารเขารองราดเสีย เขาเอาละเอียดมารองราดเสีย ไม่ติด กำลังแก้อยู่
ผู้เทศน์นี่แหละเป็นตัวแก้ละ กำลังแก้ รวมพวกแก้อยู่ทีเดียว แก้ไขอ้ายละเอียดเหล่านี้ให้หมดให้ได้
หมดได้เวลาใดแล้วก็ โสดาจะติด สกทาคาจะติด อนาคาจะติด อรหัตจะติด
แล้วจะเหาะเหินเดินอากาศกันได้ทีเดียว ว่าไม่ช้าน่ะ ไม่เกิน ๒๕๐๐ น่ะ คงจะสำเร็จกันแน่ ไม่คนใดก็คนหนึ่งละ ไม่ต้องสงสัยกันละ จะเอาให้ได้จริงได้จังเชียวหนา นี้ให้รู้จักหลักจริงอย่างนี้นะ
</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22>
</TD></TR><TR><TD class=setcek height=20 colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE> ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
<TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row1><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>เณรฝรั่งชั่วบวชเณรเท่านั้นแหละ เป็นฝรั่งแท้ๆ ตั้งแต่ใจหยุดใจใสจนกระทั่งพระอรหัตนี้ หน้าตัก ๓๐ วานี้ ทำได้ตลอด ทำได้คล่องแคล่ว พอทำเสร็จแล้วๆ พอบวชเป็นเณรสำเร็จแล้ว ผู้เทศน์เป็นอุปัชฌาย์ บอกว่าให้ไปตามโยมผู้ชายมา ที่ตายไปแล้วจำได้ไม่ใช่หรือ ตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ แต่ว่าจำได้ เห็นจะมีรูปจำได้ ก็ไปตาม อุตส่าห์พยายามไปตาม ไปทูลพระพุทธเจ้าพระสมณโคดมก็ไปทูล แล้วก็ตอบว่ามาเกิดเป็นลูกสาวเขาเสียแล้ว
เดี๋ยวนี้เป็นลูกสาวเขา อายุขนาดสัก ๑๐ ขวบได้ เป็นลูกสาวเขาเสียแล้ว ลูกสาวของตัวเองนั่นแหละ พ่อของตัวมาเกิดเป็นลูกสาวของตัว ท่าแกจะประพฤติผิดในกาม จึงมาเกิดเป็นผู้หญิงเสีย
ผู้ชายกลายเป็นผู้หญิง ต้องประพฤติผิดในกาม ถ้าไม่ผิดน่ะไม่เป็นผู้หญิงหรอก
ชั่วบวชเท่านั้น พระก็ดี เณรก็ดี ทำจริงก็เป็นทุกคนเท่านั้นแหละ
จริงแค่ไหนล่ะจะเป็นทุกคนน่ะ?
จริงแค่ชีวิตสิ เป็นทุกคน
จริงอย่างไรล่ะ?
นั่งลงไปประเดี๋ยวก็ได้รู้จริงกันละ
นั่งลงไป เมื่อยเต็มที เอ้าเมื่อยก็เมื่อยไป
ปวดเต็มที เอ้าปวดก็ปวดไป
ทนไม่ไหว เอ้าไม่ไหวก็ทนไป ทนให้ไหว
มันจะแตก ก็แตกเดี๋ยวนี้ ดับให้มันดับเดี๋ยวนี้ ไม่ถอยเลย
ให้เอาจริงเอาจังต้องเป็นทุกคน ไม่ต้องไปสงสัยละ
พระสิทธัตถะราชกุมารทำมาแล้ว เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหมดไปไม่ว่า เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน นี่มันก็เป็นทุกคนเท่านั้น
แต่นี่ไม่ถึงขนาดนี้นะซี พอนั่งไป พอปวดเล็กๆ น้อยๆ เมื่อยเล็กๆ น้อยๆ เอาแล้ว แอดเสียแล้ว อ๋อยเสียแล้ว นอนเสียแล้ว
เอาเข้านั่น แล้วจะเอาของจริง ตัวไม่จริง แล้วจะได้อย่างไร ต้องจริงซิ จริงเอาชีวิตเข้าแลก จึงจะได้สมความปรารถนาน่ะ
ให้รู้เข้าใจของจริงอย่างนี้นะ เมื่อรู้เข้าใจของอย่างนี้ละก็ไม่ต้องสงสัยละ พึงรู้ชัดเถอะ บอกให้ตรงๆ ไม่วงแวะเวียนไปทางหนึ่งทางใดละ ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหัตแท้ๆ เชียวละ
</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row1><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22>
</TD></TR><TR><TD class=setcek height=20 colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE> ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เมื่อรู้แน่เช่นนี้ละก็ จงทำให้เป็น เป็นได้ทุกคนนั้นแหละ
ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตาม มตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติยุติธรรมิกถาด้วยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้
เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๕. สรภังเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ
[๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ
เวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
-----------------------------------------------------
พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ
๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ
๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
๕. พระสรภังคเถระ.
จบ สัตตกนิบาต.
-----------------------------------------------------
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
<!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-