มรรค 8 ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 15 ตุลาคม 2017.

  1. alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135



    มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง

    แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิต หรือ กาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอจนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

    คำว่า มรรค แปลว่า ทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระ หลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว

    มรรคมีองค์แปด คือ :-
    1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
    2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
    3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
    4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
    5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
    6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
    7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
    8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง
    การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา

    การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค

    สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็นการเห็นอริยสัจนั้น ย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไรอย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆเป็นอย่างไรอย่างละเอียด ที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้นเรียกเป็นวิชชาไป และไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว

    สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้วข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์

    สัมมาวาจา(ศีล) คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    สัมมากัมมันตะ(ศีล) คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    สัมมาอาชีวะ(ศีล) คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    สัมมาวายามะ(สมาธิ) คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทางดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า

    สัมมาสติ(สมาธิ) คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอดอวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ ให้สิ้นไป


    สัมมาสมาธิ(สมาธิ) คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็นอาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญาทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ

    องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับมรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิกอยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกันเป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า \"การอบรมทำให้มาก\" สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตาม ส่วนองค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคีพร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรมยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า
     
  2. ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ขออนุญาตกวักมือให้ อ.มจด.มาดูคำสาธยายนี้
    จะได้หายสงสัย และเลิกตั้งคำถามให้
    ลุงแมว อ่านแล้วปวดหมองเสียทีคับ
     
  3. สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    มรรค ย่อลงแล้ว คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ศีล เป็นการประพฤติ กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและบุคคลอื่น มิให้ได้รับความเดือดร้อน จากการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น

    สมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นที่จะรักษา กาย วาจา ใจใหัอยู่ในสภาพปกติ มีจิตตั้งมั่น. ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น

    ปํญญา คือ การเห็น หรือ การรู้คุณและโทษ ของการกระทำทั้งสาม ที่ส่งผลให้ได้รับสุข และ ทุกข์ สิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์

    ผู้ที่อบรมมรรค จากศีล สมาธิ ปัญญา จึงได้ชื่อว่ากำลังเดินทางไปสู่การพ้นทุกข์ อย่างแท้จริง
     
  4. สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    ธรรมที่ประเสริฐที่สุด คือ อริยสัจสี่

    มรรค เป็นหนทางอันประเสริฐ เป็นข้อหนึ่งในอริยสัจสี่

    การเข้าใจอริยสัจสี่ คือ การเข้าใจความเป็นไปของชีวิต

    ๑.ทุกข์ คนเราที่ทุกข์แล้วส่วนใหญ่มาจากการกระทำที่เบียดเบียนทำร้ายกัน ทางด้าน. กาย วาจา ใจ แล้วเกิดเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจ เกิดการจองเวรแก่กันและกัน. นี่คือเป็นความทุกข์จากการกระทำ นี้แหละคือ ตัวทุกข์

    ๒.เหตุแห่งทุกข์ คือ "ตัวอารมณ์" หรือ ที่เรียกว่า ตัวอยาก ไม่อยาก ที่ทำให้เกิดความบีบคั้นทางใจ

    ๓.ความดับทุกข์ คือ การปฏิบัติในกริยาธรรม คือ การนั่งสมาธิ การเดินสมาธิ การยืนสมาธิ หรือ การนอนสมาธิ(ไสยาสน์) หากบุคคลใด ปฏิบัติอยู่ในกริยาธรรมทั้งสี่นี้ จะเห็นได้ว่า เป็นการบรรเทาทุกข์ เพราะเราอยู่ในกริยาสงบ ไม่ก่อกรรมกับใคร จึงไม่มีกรรมกับ. นี้แหละเป็นหนทางบรรเทาทุกข์หรือ ไม่มีทุกข์ ถ้าเราสามารถทำอย่างนี้ได้ตลอดแม้เคลื่อนไหว ก็ขึ้นชื่อว่า เป็นหนทางดับทุกข์อย่างแท้จริง

    ๔.มรรค เป็นการกระทำทางกาย วาจาใจ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผูัอื่น นั่นเอง
     
  5. สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    พรมวิหารสี่ ทางเดินไปสู่มรรค

    เมตตาตนเองให้ได้ก่อน จึงชื่อว่าเมตตาต่อผู้อื่นอย่างแท้จริง

    เมตตา. ทำจิตใจตนเอง ให้สงบเยือกเย็น รักตนเองจะไม่ทำให้ใจของตนเองต้องร้อนทุรนทุราย มีความเบิกบาน ปิติสุขให้ตนเองเสมอ

    กรุณา จะไม่ให้ ความคิดและอารมณ์มาทำร้ายตนเอง จะทำให้ตนเองพ้นไปความคิดและอารมณ์ที่มาทำร้ายตัวเอง

    มุฑิตา. มีความปลาบปลื้มปิติใจอยู่เสมอในการทำความดีตน ยินดีที่ตนเองทำดี

    อุุเบกขา จะวางเฉยต่อกรรมต่าง ๆ ที่ตนเองได้รับ
     
  6. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คิกๆๆ อ่านจนเบื่อแล้ว นั่นมันตำราทั้งดุ้น
     
  7. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ลุงแมว จะถาม จขกท.นะ จขกท.ขอรับ ขอลิงค์ที่มาหน่อยครับ
     
  8. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลงๆไว้ก่อน อิอิ


    เพิ่งปฏิบัติมาได้ไม่นานเท่าไรค่ะ แต่ว่าในบางครั้งที่นั่งสมาธิอยู่ๆ ก็จะมีเสียงพูดขึ้นมาสอนบ้าง หรือพูดประโยคบางประโยคซึ่งมั่นใจว่า ไม่ได้คิดไปเองแน่นอน (เพราะดิฉันไม่น่าจะคิดคำ พูดแบบนั้นได้แน่ๆ) และก็ไม่ได้เป็นการได้ยินจากข้างนอกนะคะ มันไม่ได้เป็นการกระทบ หรือรับรู้จากภายนอก แต่เป็นการได้ยินจากข้างในค่ะ (ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรดี) หรือในบางครั้ง ที่ดิฉันนอนหลับอยู่ และตื่นขึ้นมา ก็เคยได้ยินจิตมันร้องเพลงขึ้นมาเองได้ ซึ่งอาการไม่ได้เหมือนเราร้องเพลงในใจนะคะ คือ แบบว่า เราไม่ได้คิดนะ แต่จิตมันร้องออกมาเองได้ ซึ่งเป็นเพลงที่เราไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย (เป็นเพลงธรรมะ) รบกวนผู้รู้อธิบายด้วยคะ ดิฉันพยายามอธิบายเพื่อให้เข้าใจที่สุดแต่ไม่รู้จะอธิบายยังไงดี ขอบคุณค่ะ
     
  9. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตย.ที่ 2

    นั่งสมาธินั่งดูลม แล้วมามองกระจกแบบใช้ตาเพ่ง. กระจกมันบิดไปบิดมา บางทีก็ได้ยินเสียงคนพูดถึงเรืองที่ผมคิด แต่มองไม่เห็นคน ตอนนี้เพี้ยนครับ อาการแบบนี้เขาเรียกจิตหลอกรึเปล่า ตอนนี้ลำบากมาก หนวกหูเสียงด่ามาเป็นอาทิตย์แล้วครับ ได้ยินเสียงความคิดของตัวเองอีก หนวกหูมาก พอจะมีวิธีแก้ใหมครับ.
     
  10. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อีกตย.หนึ่ง

    ไม่ได้ตั้งใจจะลบลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่จิตมันแว๊บขึ้นมา จะทำอย่างไร จะให้คำหยาบคำด่า หรืออะไรที่คิดอกุศลหายไปค่ะ พยายามนึกคิดในสิ่งที่ดี..สวดมนต์ก็แล้วยังไม่หยุดไปรบกวน แนะนำด้วยค่ะ

    แค่นี้ก่อน
     
  11. งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระพุทธเจ้าท่านก้ได้บอกไว้นะ ไม่ใช่ทุกๆคนที่สอนได้ แต่ธรรมที่เหมาะสำหรับบางคน ด้วยกรรมเก่าด้วยอานิสงค์ที่บุคคลนั้นได้สั่งสมไว้พร้อมแล้วดีแล้ว จึงจะได้เหมาะได้ควรแก่การฟังเละบรรลุธรรมนะ ก่อนจะเสด็จไปโปรดใครท่านใช้พระญานตรวจดูก่อนแล้วว่าใครเหมาะสมที่จะโปรดและด้วยธรรมใด

    สำหรับท่านที่ได้ฟังธรรมปติบัติธรรม แล้วเกิดวิปลาสก้ล้วนด้วยกรรมเก่าและกรรมปัจจุบันของตนเอง หาได้ด้วยใครไม่ได้ ดังนั้นใครเป็นเช่นไรก้ด้วยผลแห่งอานิสงค์เฉพาะกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ของแต่ละบุคคล ดังเช่นธรรมบางข้อที่เหมาะสำหรับบางคนได้ยินได้ฟังแล้วเกิดประโยชมากมายแต่สำหรับบางบุคคลก้เป็นเพียง อ่านผ่านๆไปเท่านั้น

    งูๆปลาๆขอยกตัวอย่าง พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา ผู้ที่ตรัสรู้เร็วพลัน ก้ด้วยบุญด้วยบารมีมีสั่งสมมาพร้อมแล้วที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงข้อเดียว

    พระพาหิยเถระ
    เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา

    พระพาหิยะ เกิดในวรรณแพศย์ ตระกูลกุฎุมพี แคว้นพาหิยะ คงจะเรียกชื่อท่านตามชื่อ
    แคว้น เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ประกอบอาชีพค้าขายตามบรรพบุรุษ เนื่องจากมีถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่ง
    ทะเล จึงอาศัยเรือเดินทะเลบรรทุกสุวรรณภูมิ อันตั้งอยู่ในแคว้นกัมโพชะ อินเดียตอนเหนือ ท่า
    จอดเรือรับส่งขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือสุปปารกะ ในอปรันตชนบท

    เรือแตกแต่รอดตาย
    • การเดินเรือค้าขายเป็นไปตามปกติตลอดมา แต่วันหนึ่งขณะที่เรือกำลังเล่นอยู่ในทะเล
      ใกล้จะถึงท่าสุปปารกะ ได้มีลมพายุเกิดคลื่นใหญ่ซัดเรืออับปางลงลูกเรือตายทั้งหมด พาหิยะ
      คนเดียวเท่านั้นที่อาศัยเกาะแผ่นกระดานสามารถพยุงกายมิให้จมน้ำตายเป็นเหยื่อปลาในทะเล
      พยายามกระเสือกกระสนประคองกายเข้ามาถึงฝั่งที่ท่าสุปปารกะได้ แต่พาหิยะก็มาถึงท่าเพียงตัว
      เท่านั้น เสื้อผ้าที่สวมใส่หลุดหายไปในทะเล เหลือแต่ร่างกายที่เปลือยเปล่า
      ณ บริเวณท่าเรือสุปปาระกะนั้น มีพ่อค้าประชาชนหนาแน่น เพราะเป็นศูนย์กลางการ
      ขนถ่ายสินค้าและการค้าขาย พาหิยะ นอนหมดแรงอยู่ที่ชายฝั่งทั้งหิวทั้งเพลีย นอนคิดหาหนทาง
      เพื่อเอาชีวิตรอดต่อไป แต่รู้สึกเขินอายที่ร่างกายเปลือยเปล่า ไม่มีสิ่งใดปิดบังร่างกายเลย จึงใช้
      เปลือกไม้บ้างใบไม้บ้าง เท่าที่จะหาได้มาทำเป็นเครื่องปิดบังแทนเครื่องนุ่งห่ม และได้เข้าไป
      อาศัยร่มเงาที่ศาลเทพารักษ์แห่งหนึ่งใกล้ ๆ บริเวณท่าเรือสุปปารกะนั้น พอความเหนื่อยเพลีย
      บรรเทาลงแล้ว จึงถือแผ่นกระเบื้องเที่ยวขออาหารจากชาวบ้าน
    • อรหันต์เปลือย
      ในยุคสมัยนั้นคำว่า “พระอรหันต์” เป็นคำที่ประชาชนกล่าวขานกันทั่วไปว่า มีอยู่ที่
      โน่นบ้าง มีอยู่ที่นี่บ้าง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดได้เคยพบพระอรหันต์จริง ๆ เลย พอได้เห็นพาหิยะผู้นุ่ง
      เปลือกไม้ มีร่างกายผ่ายผอม ถือแผ่นกระเบื้องเดินมาในลักษณะอย่างนั้น ต่างก็พากันเข้าใจว่า
      “นี่แหละ คือ พระอรหันต์” ดังนั้นจึงพากันให้อาหารบริโภคอย่างอุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งเสื้อผ้า
      เครื่องนุ่งห่ม ทำให้พาหิยะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่พาหิยะปฏิเสธไม่ยอมรับเสื้อผ้ามา
      สวมใส่ เพราะเกิดความคิดว่า “ถ้าสวมใส่เสื่อผ้าแล้ว จะทำให้เสื่อมจากลาภสักการะ” อีกทั้งก็
      เริ่มเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์จริง ๆ จึงดำรงชีวิตและปฏิบัติตนไปตามนั้น ใบไม้และ
      เปลือกไม้ที่แห้งไปก็เปลี่ยนใหม่ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้นามต่อท้ายชื่อของท่านว่า “ทารุจิริยะ”
      และเรียกชื่อท่านเต็ม ๆ ว่า “พาหิยทารุจิริยะ” ซึ่งแปลว่า พาหิยะผู้มีเปลือกไม้เป็นเครื่องนุ่งห่ม
      และท่านได้ดำเนินชีวิตโดยทำนองนี้เรื่องมาเป็นเวลานาน

    • พระพรหมมาเตือนให้กลับใจ
      วันหนึ่ง ได้มีพระพรหม ผู้เคยเป็นสหายเก่าที่เคยปฏิบัติธรรมร่วมกันในอดีตชาติกับ
      พาหิยะ และได้บรรลุธรรมถึงชั้นอนาคามิผล เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ได้
      ติดตามดูพฤติกรรมของพาหิยะมาตลอด เห็นว่าสหายกำลังปฏิบัติผิดทาง ดำเนินชีวิตด้วยการลวง
      โลก ซึ่งจะทำให้เขาไปเกิดในทุคติอบายภูมิ จึงลงมาเตือนให้สติว่า
      “พาหิยะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ บัดนี้ พระอรหันต์ที่แท้จริงเกิดขึ้นแล้วในโลก ขณะนี้
      พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถีแคว้นโกศล”

    • เดินทางทั้งวันทั้งคืน
      พระหิยะ ได้ฟังคำเตือนของพระพรหมผู้เป็นสหายเก่าแล้วเกิดความสลดใจในการกระทำ
      ของตนเอง รู้สึกสำนึกผิดเลิกละการกระทำนั้น และเกิดความปิติยินดีที่ทราบว่า พระพุทธเจ้าเกิด
      ขึ้นแล้วในโลก จึงรีบออกเดินทางจากท่าเรือสุปปารกะ มุ่งสู่เมืองสาวัตถี ซึ่งมีระยะทางถึง ๑๒๐
      โยชน์ (๑๙๒ กม.) ท่านเดินทางทั้งวันทั้งคืนอย่างรีบร้อน เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาให้เร็วที่สุด
      เพราะไม่รู้แน่ว่าความตายจะมาถึงเมื่อใด ท่านเดินทางมาถึงเมืองสาวัตถี ในเวลารุ่งเช้าแล้วรีบ
      ตรงไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อได้ทราบว่า ขณะนี้พระบรมศาสดา เสด็จเข้าไปบิณฑบาตใน
      เมือง จึงรีบติดตามไปในเมืองและได้พบพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่ ด้วยความปีติ
      ยินดีอย่างที่สุดได้เข้าไปกราบแทบพระบาทแล้ว กราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธ
      องค์ตรัสห้าวว่า “พาหิยะ เวลานี้ มิใช่เวลาแสดงธรรม”

    • ตรัสรู้เร็วพลัน
      พาหิยะ ได้พยายามกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระบรมศาสดา จึงทรงแสดงพระธรรม
      เทศให้ฟัง โดยตรัสสอนให้สำรวมอินทรีย์ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า
      ได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้มรสก็สักแต่ว่าลิ้มรส และสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัสเท่านั้น อย่า
      ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น และหมั่นสำเหนียกศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่เป็น นิตย์
      พาหิยะ ส่งกระแสจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลในทันที
      ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ในอดีตชาติท่าน
      พาหิยะ ไม่เคยทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรด้วยบาตรและจีวรเลย เมื่อบวชแล้วบาตรและ
      จีวรที่จะเกิดด้วยบุญฤทธิ์ ก็จะไม่มีจึงรับสั่งให้ท่านไปหาบาตรและจีวรมาให้ครบก่อน และใน
      ขณะที่ท่านกำลังแสวงหาบาตรและจีวรอยู่นั้นได้ถูกอมนุษย์ผู้เคยเป็นศัตรูกันมากแต่อดีตชาติ เข้า
      สิงร่างแม่โคลูกอ่อนวิ่งเข้าขวิดท่านตาย จึงถือว่าท่านนิพพานตั้งแต่ยังไม่ได้บวช
      พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นศพของท่านนอนอยู่ริมทาง
      จึงรับสั่งให้ภิกษุที่ติดตามเสด็จมา จัดการฌาปนกิจให้ท่าน และทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง
      เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน
    แม้จะบรรลุแล้วแต่ด้วยกรรมเก่าก้ยังตามให้ผล ท่านทั้งหลายขอจงอย่าประมาทในธรม ประกอปแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว และทำจิตให้บริสุทธิก่อนจะเข้าถึงพระนิพพานกัน
     
  12. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493


    ฮูๆปลาๆ อ้างธรรม อะไรๆก็ธรรม ธรรมที่ตนเองคิดไว้ในใจนั้น ได้แก่ อะไร ? ข้อที่หนึ่ง

    ข้อสอง ชาติปัจจุบันนี้เกิดเรื่องอะไรขึ้น ก็ว่ามันเป็นกรรมเก่า นั่นๆนี่ๆ ก็ว่ากรรมเก่าๆๆๆ แต่ชาติปางก่อน ถ้าว่าเช่นนั้น มีคำถามงูๆปลาๆ ดังต่อไปนี้

    เมื่อชาติก่อนเกิดเป็นคน ชาตินี้ก็ต้องเป็นคน เปลี่ยนไม่ได้ ใช่ไหม ?

    เมื่อชาติก่อน เกิดเป็นชาย ชาตินี้ก็ต้องเกิดเป็นชาย เปลี่ยนไม่ได้ ใช่ไหม ?

    เมื่อชาติก่อน เกิดปวดหลัง ชาตินี้ก็ต้องปวดหลัง เปลี่ยนไม่ได้ ใช่ไหม ?

    เมื่อชาติก่อน เกิดเป็นคนจน ชาตินี้ก็ต้องจน เปลี่ยนไม่ได้ ใช่ไหม ?

    เมื่อชาติก่อน เป็นคนรวย ชาตินี้ก็ต้องรวย เปลี่ยนไม่ได้ ใช่ไหม ?

    เมื่อชาติก่อน กินหนมปัง ชาตินี้ก็ต้องกินหนมปัง เปลี่ยนไม่ได้ ใช่ไหม ?

    ชาตินี้เกิดมามีแต่ทุกข์ๆๆ แสดงว่า ชาติก่อนเกิดเป็นทุกข์มาแล้วใช่ไหม ?

    ชาตินี้เกิดมามีแต่ความสุขๆๆ แสดงว่า ชาติก่อนเกิดเป็นสุขมากมายมาใช่ไหม ?


    ฯลฯ

    มีประเด็นอื่นๆก็เทียบตัวอย่างนั้นๆได้อีกมากมาย
     
  13. งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อ่านเนื้อความไห้ดีก่อนนะครับ ไม่มีเนื้อความหรือธรรมข้อไหนบ่งบอกเลยว่า ชาติก่อนเป็นอย่างไรชาตินี้เป็นอย่างนั้น
     
  14. งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    จากประโยคที่กล่าวอ้าง
    พระพุทธเจ้าท่านก้ได้บอกไว้นะ ไม่ใช่ทุกๆคนที่สอนได้ แต่ธรรมที่เหมาะสำหรับบางคน ด้วยกรรมเก่า

    มจด จากระโยคนี้ หมายถึง ผู้พร้อมต่อการเรียนรู้นั้นพระพุทธเจ้าแยกบุคคลไว้ดั่งบัว 4 เหล่า มจดคงจะเคยได้ยินคำนี้ ดังนั้นธรรมที่แสดงจะใช้พระญานตรวจแล้วว่าใครเหมาะแก่การเสด็จไปโปรดด้วยธรรมใดและด้วยสั่งสมกรรมใดๆมา ดังนั้นไม่ใช่ทุกคนที่ฟังธรรมแล้วจะได้เข้าถึงธรรมทุกคนไป

    กรรมเก่า ตรงนี้ไม่ใช่อย่างที่ มจด เข้าใจ เช่นเป็นชายก้เกิดเป็นชายตรรงนั้นไม่ใช่กรรมเก่า

    แต่หมายถึง การประกอปการกระทำ ดี กระทำชั่ว มาอย่างไร มีการสั่งสมบุญ บารมี ปัญญา มาอย่างไร ต่างหากที่ทำให้ผลของกรรมนั้นแตกต่างกันไป
     
  15. บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,044
    ข้อแรก สำคัญที่สุดครับ
    จิตจะต้องแยกรูป แยกนามให้ได้ก่อนนะครับ
    ถึงจะเริ่มเดินปัญญาได้
    ความเข้าใจทางด้านนามธรรมถึงจะไปถูกทาง
    ถ้าข้อแรก เปิดทางให้แล้ว
    ข้อที่เหลือจะตามมาได้ของมันเองครับ

    ถ้าข้อแรกไม่ได้

    แม้เดินถูกทาง ยังไงก็หลงครับ
    ถ้าข้อแรกได้
    ต่อให้เดินไปผิดทาง ยังไงก็ไม่หลงครับ
    ขีดเส้นใต้เป็นนัยยะนะครับที่พูด
     
  16. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถ้าข้อแรกไม่ได้
    แม้เดินถูกทาง ยังไงก็หลงครับ
    ถ้าข้อแรกได้
    ต่อให้เดินไปผิดทาง ยังไงก็ไม่หลงครับ


    คำพูดขัดแย้งกันอยู่ในตัวเอง :) ทบทวนดูนะ

    คคห. แรกที่ขีดเส้นใต้

    เริ่มต้น ตนเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด หลงเข้าใจผิดเสียแล้ว เขาจะเดินถูกทางได้อย่างไร

    ต่อมา เริ่มต้นตนมีสัมมาทิฐิ มีความเห็นชอบ เห็นถูกต้องแล้ว เขาจะเดินหลงทางเดินผิดทางได้อย่างไร
     
  17. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ธรรม ตามที่งูๆปลาๆคิดนึกนี้ ได้แก่ อะไรคับ เอาชัดๆ
     
  18. งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    จั๋วหัวมาแบบนี้ขอให้ย้อนไปอ่านความทั้งหมดที่งูๆปลาๆลงไว้ด้วยครับเพราะมีการอทิบายและยกตัวอย่างมาพร้อมด้วย เช่น พระพาหิยเถระ ธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ท่านคืออะไรครับ มจด และแตกต่างจากที่แสดงแก่ท่านอื่นๆอย่างไร

    เพราะธรรมที่ควรแสดงต่อแต่ละบุคคลนั้น ไม่ได้สามารถใช้เพียงแต่เรื่องเดียวกันได้ แต่ยังต่างเหตุต่างกรรมที่เคยทำไว้ด้วย และโอกาสในการเข้าถึงธรรมนั้นด้วย
     
  19. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    กรรมเก่า ตรงนี้ไม่ใช่อย่างที่ มจด เข้าใจ เช่นเป็นชายก้เกิดเป็นชายตรรงนั้นไม่ใช่กรรมเก่า

    แต่หมายถึง การประกอปการกระทำ ดี กระทำชั่ว มาอย่างไร มีการสั่งสมบุญ บารมี ปัญญา มาอย่างไร ต่างหากที่ทำให้ผลของกรรมนั้นแตกต่างกันไป


    งูๆปลาๆ พูดเหมือนว่า การกระทำดี ทำชั่ว มาทำในชาตินี้ไม่ได้ยังงั้นแหละ ใช่ไหม มจด.เข้าใจถูกไหม ถึงพูดทำนองว่า ...มาอย่างไร ก็อย่างนั้น
     
  20. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นี่แหละ ถึงว่า คุณเอาอดีตชาติมาตัดสินปัจจุบัน คิกๆๆ แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของกรรมแต่ปางก่อน
     

แชร์หน้านี้