มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 มกราคม 2008.

  1. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (68) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">6 ตุลาคม 2548 18:42 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> กระบวนการเข้าฌานเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นลำดับไป แต่กระบวนการออกจากฌานนั้นเหมือนกับการเดินถอยหลัง จึงต้องระวังและทำความเข้าใจให้ดี ที่สำคัญก็คือทุกครั้งที่เข้าฌานหรือฝึกฝนอบรมจิตเมื่อภาวะของจิตก้าวหน้าไปถึงลำดับหนึ่งแล้ว ดำรงอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็ต้องถอยออก กระบวนการถอยนี่แหละที่สำคัญ

    ในยามที่จิตยังไม่ถึงฌานหรือยังไม่ได้เข้าฌาน เมื่อการฝึกฝนอบรมก้าวหน้าไปถึงขั้นใดขั้นหนึ่ง เวลาจะถอนจิตออกหรือหยุดการฝึกฝนอบรมจิต เพียงแต่คิดรำลึกว่าจะหยุดหรือยุติการฝึกฝนอบรม จิตก็จะถอยออกมาจากอารมณ์ที่ตั้งอยู่นั้นสู่ภาวะอันเป็นปกติ

    แต่สิ่งที่ติดตัวติดจิตมาก็คือภูมิธรรมที่สูงขึ้นจากการฝึกฝนอบรมจิตนั้น ดังที่ได้อุปมาเปรียบเทียบมาแล้วว่าเหมือนกับคนยกน้ำหนัก ยกน้ำหนักได้เท่าใดแล้วแม้จะวางลูกตุ้มน้ำหนักลงก็ยังมีขีดความสามารถที่จะยกน้ำหนักนั้นได้อีก แม้จิตจะยังไม่ถึงขั้นฌาน สิ่งที่ติดตัวติดจิตมาก็เป็นอย่างเดียวกัน

    แต่เมื่อถึงขั้นฌานแล้วในช่วงการออกจากฌานหรือถอยออกจากฌานนั้นกระบวนการของจิตจะเกิดขึ้นจากการตั้งจิตว่าจะออกจากฌานเมื่อนั้นเมื่อนี้ หรือจะถอยออกจากฌานขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อถึงเวลานั้นจิตก็จะเกิดการกระเพื่อมถอยออกจากฌานได้โดยลำดับลงมา จึงกล่าวได้ว่าการออกจากฌานหรือการถอนจิตออกจากฌานย่อมต้องเริ่มจากการกำหนดที่จิต ไม่ว่าจะกำหนดโดยการอธิษฐานไว้ล่วงหน้าแล้วพอครบกำหนดเวลานั้นจิตก็จะถอนออกจากฌานเอง หรือกำหนดเอาในขณะนั้นจิตก็จะถอนออกในขณะนั้น

    ภาวะของจิตในขณะที่อยู่ในจตุตถฌานเมื่อจะถอนออกมาก็จะถอนออกมาโดยลำดับสู่ตติยฌาน ทุติยฌาน และปฐมฌาน หรือแม้จิตอยู่ในตติยฌานก็จะถอยออกมาโดยลำดับในลักษณะเดียวกัน

    องค์ของปฐมฌานประกอบด้วยองค์ห้า แต่เมื่อถึงฌานขั้นสูงโดยเฉพาะจตุตถฌานแล้วจิตนั้นก็จะมีความเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ไม่มีโสมนัส ไม่มีโทมนัส มีความเป็นอุเบกขาอยู่และถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ แต่เวลาจะถอยออกจากฌานองค์ทั้งห้าก็ไม่เกิดกลับมาใหม่ เพราะสิ่งใดละแล้วดับไปแล้วก็เป็นอันละและดับไป ไม่ฟื้นกลับมาอีกเพราะการออกฌานนั้น แต่หากจะฟื้นกลับมาใหม่ก็ด้วยเหตุปัจจัยที่กิเลสและอาสวะมีเหตุให้เกิดขึ้น เช่น การละทิ้ง การฝึกฝนอบรม หรือการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อเป็นเช่นนั้นอำนาจแห่งฌานก็จะเสื่อมลงดังที่ปรากฏให้พบเห็นอยู่เสมอ ๆ

    การถอยออกจากฌานไม่ทำให้กิเลสอาสวะที่ละและดับไปแล้วกลับขึ้นมาใหม่และไม่ทำให้นามกายที่พัฒนาก่อตัวขึ้นแล้วเสื่อมสภาพลงไปหรือสลายไป เพราะกำลังแห่งจิตที่ได้ฝึกดีแล้วย่อมดำรงอยู่ต่อไป แต่สิ่งที่เป็นอุปกรณ์หรือเป็นสื่อหรือบันไดในการถอนออกจากฌานก็คือกำลังสมาธิ

    สมาธิในขั้นสูงของจตุตถฌาน หรือตติยฌาน หรือทุติยฌาน หรือปฐมฌานนั้นเมื่อจะถอนออกจากฌานแล้วกำลังของสมาธิก็จะค่อย ๆ คลายตัวลงจากกำลังสมาธิในจตุตถฌานถอยมาเป็นกำลังสมาธิในตติยฌาน ถอยมาสู่กำลังสมาธิในทุติยฌาน และปฐมฌานโดยลำดับ

    เพราะเหตุที่การถอนหรือการออกจากฌานเป็นการถอนออกโดยสมาธิ ดังนั้นจึงทำให้นามกายและอารมณ์ที่ได้ละหรือขจัดแล้วไม่ฟื้นกลับมาและไม่เกี่ยวข้องกัน

    การถอนออกจากฌานในครั้งแรกๆ จะเป็นไปอย่างเชื่องช้าโดยลำดับ ๆ แต่เมื่อมีความชำนาญในการออกฌานแล้วก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็วในทันทีทันใดได้

    ภาวะของจิตที่ถอนออกมาจากฌานเป็นภาวะที่อิ่มเอิบ เปรียบเทียบได้กับคนที่กินข้าวอิ่มแล้วออกมายืนตากอากาศอยู่ฉะนั้น ภาวะอิ่มเอิบที่ว่านี้เป็นภาวะที่ดำรงต่อเนื่องมาจากภาวะของจิตตั้งแต่ขณะอยู่ในฌาน เป็นภาวะที่ต่อเนื่องกับภาวะที่จิตผ่องใสเป็นประภัสสรเด่นดวงจรัสจ้า

    ดังนั้นในยามออกจากฌานแม้ว่าร่างกายจะไม่ได้หลับนอนมาเป็นเวลานานเท่าใดก็ตาม แต่ก็เหมือนกับได้พักผ่อนหลับนอนอย่างเต็มอิ่มเต็มที่ เพราะอย่างน้อยที่สุดอาหารของจิตคือปิติและกำลังสมาธิที่เกิดหรือเนื่องจากฌานได้หล่อหลอมทั้งกายและจิตให้มีความอิ่มเอมเปรมปรีดิ์เป็นที่สุด

    เพราะเหตุนี้พระอริยเจ้าจึงสรรเสริญนักว่าผู้ที่เข้าถึงฌานแล้วเป็นผู้ที่อยู่เป็นสุขคืออยู่เป็นสุขทั้งขณะอยู่ในฌาน และอยู่เป็นสุขแม้ในขณะออกจากฌานแล้ว

    เมื่อได้พรรณนากระบวนการขั้นตอนในการพัฒนาจิตในขั้นของรูปฌานคือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานมาโดยลำดับดังนี้แล้ว แต่นี้ไปจักได้พรรณนาถึงกระบวนการขั้นตอนในการพัฒนาจิตในขั้นตอนที่สูงขึ้น คือจากรูปฌานสู่อรูปฌานซึ่งมีอยู่สี่ขั้นตอน

    ได้แก่ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ซึ่งฌานทั้งหมดนี้เป็นฌานที่ไม่อาศัยรูป ไม่ตั้งอยู่กับรูป และไม่เกิดจากรูป ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าอรูปฌาน

    อรูปฌานทั้งสี่นี้เป็นความรู้ เป็นความสัมผัสและเป็นภาวะที่ยากอธิบายเสียจริง ๆ ในบรรดาคัมภีร์และอรรถกถาทั้งหลายจะปรารภถึงอรูปฌานแต่เพียงโดยย่อ โดยสรุป โดยสังเขป หรือโดยเชิงปริยัติที่อรรถาธิบายถ้อยคำและความหมายของภาษาเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นนับแต่อดีตกาลเป็นต้นมา จึงยากนักที่คนทั้งหลายจะสามารถเข้าใจอรูปฌานทั้งสี่นี้ได้

    เพราะความจำกัดทางภาษาอย่างหนึ่ง เพราะความจำกัดของความรู้ด้านปริยัติและการปฏิบัติ จึงทำให้เรื่องอรูปฌานได้รับการอรรถาธิบายน้อยกว่าน้อยนัก จึงหาที่อ้างอิงอย่างสมบูรณ์ได้ยากยิ่ง การพรรณนาเรื่องนี้จึงมีทางที่จะถูกติฉินนินทาได้โดยง่ายว่าเป็นการพรรณนาโดยว่าเอาเอง หรือนึกเอาตามใจชอบเอง หรือไม่เป็นไปตามความในบางคัมภีร์ดังเช่นที่บางคัมภีร์ระบุว่าการฝึกฝนปฏิบัติในขั้นอรูปฌานนี้ยังมีการภาวนากันอยู่เป็นต้น ทั้งๆ ที่ความจริงนับแต่บรรลุถึงจตุตถฌานแล้วเป็นอันเลยขั้นเลยตอนที่จะนั่งภาวนากันแล้ว เป็นเรื่องของการยกระดับกำลังอำนาจแห่งจิตและปัญญา เป็นเรื่องภายในทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องการท่องหรือติดยึดอยู่กับการท่องอีกต่อไปแล้ว

    ดังนั้นอรูปฌานทั้งสี่ขั้นซึ่งเป็นขั้นสูงและละเอียดประณีตยิ่งกว่าขั้นรูปฌานจึงไม่มีการภาวนาใด ๆ อีกเลย เป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมยกระดับจิตและพัฒนาปัญญาทั้งสิ้น เพราะเหตุนี้จึงจำต้องกราบขออภัยท่านผู้สนใจทั้งหลายหากว่าจะกล่าวความที่ไม่สอดคล้องต้องกับที่ได้เรียนได้รู้กันมาแต่ก่อน ขอได้โปรดทนอ่าน ทนฟัง และทดลองปฏิบัติดูเถิด อย่างไหนสอดคล้องตรงกับที่พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้และให้ผลจริงตามที่ทรงแสดงไว้อย่างนั้นแหละเป็นทางที่ถูกที่ชอบ

    เพราะเหตุที่อรูปฌานทั้งสี่ขั้นเป็นเรื่องที่เนื่องกันอยู่และเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งสี่ขั้น จึงขอพรรณนารวมกันไป แต่จะมุ่งเน้นที่รอยต่อระหว่างขั้นตอนจตุตถฌานซึ่งเป็นฌานขั้นสุดท้ายของรูปฌานกับอากาสานัญจายตนฌานซึ่งเป็นฌานขั้นแรกของอรูปฌาน

    ในยามที่บรรลุถึงจตุตถฌานอย่างสมบูรณ์แล้ว ภาวะของจิตนั้นจะละทุกข์ ละสุข ดับโสมนัส โทมนัส ที่มีอยู่แต่ก่อนนั้น แล้วเข้าจตุตถฌานซึ่งไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่อุเบกขา สติ และความบริสุทธิ์ของจิตเท่านั้น ภาวะของจิตในยามนี้ทำให้นามกายแปรเปลี่ยนเป็นทิพยกาย ทำให้สมาธิอยู่ในขั้นสูงสุดของรูปฌานแล้วก็จริง แต่ทั้งหมดนั้นยังคงเป็นภาวะที่ยังหยาบอยู่ เพราะทุกข์และสุขยังดับไม่ได้สิ้นเชิง เพียงแต่ละได้เท่านั้น ยังอยู่ในวิสัยที่จะฟื้นคืนกลับมาใหม่ได้ทันทีที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ที่ดับไปแล้วก็คงมีแต่โสมนัสและโทมนัส แม้แต่อุปกิเลสซึ่งได้แก่กามฉันทะ พยาบาท ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย ก็เพียงแต่สงบรำงับไป ยังไม่ถูกถอนรากถอนโคนสิ้นเชิง อาจจะฟื้นคืนกลับมาใหม่ได้ตามเหตุและปัจจัย

    ทั้งนี้ก็เพราะว่ากิเลสหลักคือโลภะ โทสะ โมหะ ยังไม่ได้หมดสิ้นไป ยังคงเป็นตะกอนนอนนิ่งอยู่ที่ก้นบ่อ พร้อมที่จะพัดฟุ้งขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ และนั่นก็หมายความว่าทุกข์ยังไม่อาจหมดสิ้นไปได้เพียงแต่ละไปเท่านั้น

    กิเลสหลักคือโลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นเพราะตัณหา มีตัณหาเป็นปัจจัย คือความอยากได้ ใคร่มี ใคร่เป็น ความไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น และความอยากที่เป็นเฉย ๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ ทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่น ทำให้โลภ โกรธ หลงตั้งอยู่ได้ ปรากฏได้ และเมื่อเหตุแห่งทุกข์ยังคงดำรงอยู่ ทุกข์ก็ต้องดำรงอยู่

    ทุกข์ดำรงอยู่ที่ไหนเล่า? พระตถาคตเจ้าทรงตรัสไว้ชัดเจนว่าขันธ์ห้านั่นแหละคือตัวทุกข์หรือกองทุกข์

    การฝึกฝนอบรมปฏิบัติในขั้นอรูปฌานคือการยกระดับภาวะของจิตไปโดยลำดับเพื่อถึงซึ่งวิมุตตะมิติในที่สุด นั่นคือเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ปรากฏ ถึงซึ่งความดับทุกข์สิ้นเชิง อันเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากขั้นรูปฌาน

    การฝึกฝนอบรมทั้งสี่ขั้นของอรูปฌานจึงเป็นการฝึกฝนเพื่อทำลายที่ตั้งแห่งกองทุกข์ ทำลายทุกข์ นั่นคือการทำลายขันธ์ห้า ทำลายอายตนะทั้งภายนอก ภายในและการปรุงแต่งทั้งหลายที่เกิดจากการสัมผัสของอายตนะภายนอกและภายใน เพื่อถึงซึ่งความว่างสูงสุดในความหมายของความว่างที่ว่านิพพานัง ปรมัง สุญญัง ซึ่งแปลว่านิพพานคือความว่างอย่างยิ่ง แล้วถึงภาวะสุขสูงสุดของพระอริยเจ้าคือสุขเกิดแต่นิพพาน ดังที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสสอนว่านิพพานัง ปรมัง สุขขัง ซึ่งแปลว่านิพพานคือบรมสุขนั่นเอง

    โปรดทรงจำและสังเกตให้ดีว่าการฝึกฝนอบรมทั้งสี่ขั้นของอรูปฌานคือการฝึกฝนเพื่อทำลายกองทุกข์ที่ตั้งแห่งทุกข์และทำลายทุกข์ด้วยการทำลายขันธ์ห้า ทำลายอายตนะทั้งภายนอก ภายใน ทำลายสัมผัสและเวทนาทั้งหลาย การทำลายที่ว่านี้หมายถึงการชำระจิตเพื่อไม่ให้ขันธ์ห้าและอายตนะทั้งหลายส่งผลอิทธิพลต่อจิตอีกต่อไปอย่างถึงที่สุดและอย่างสิ้นเชิง

    คำสอนของพระตถาคตเจ้าในเรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องขันธ์ห้า เรื่องอายตนะ เรื่องอนัตตะลักขณะ เรื่องอริยสัจ เรื่องโพชฌงค์ เมื่อสรุปรวมกันแล้วก็ลงตรงขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติในขั้นอรูปฌานสี่ โดยนัยคล้าย ๆ กันกับการเดินหนทางปัญญาวิมุติดังที่แสดงมาแล้วนั่นเอง

    ซึ่งเป็นธรรมดาของกระแสน้ำสองสายคือหนทางปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติที่กำลังใกล้ชิดกันเข้ามาทุกที เพื่อจะรวมบรรจบกันที่พระมหาสมุทรคือพระนิพพานหรือวิมุตตะมิติ

    อากาสานัญจายตนฌานคือฌานที่เข้าถึงความไม่มีที่สุดของช่องว่าง หรือที่เรียกว่าความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ เป็นภาวะที่พ้นเหนือรูปเพราะได้ทำลายรูปแล้ว จึงเป็นฌานจำพวกที่ทำลายรูป ฝึกฝนอบรมจิตเพื่อเข้าฌานนี้ก็เพื่อถึงซึ่งการทำลายรูป ซึ่งเป็นองค์หนึ่งแห่งขันธ์ห้า

    วิญญาณัญจายตนฌานคือฌานที่ถึงซึ่งความรู้สูงสุดเกี่ยวกับวิญญาณหรือความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ เป็นภาวะที่วิญญาณขันธ์ไม่อาจบงการสั่งการหรือกำหนดการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการปรุงแต่งได้อีก

    อากิญจัญญายตนฌานคือฌานที่เข้าถึงความไม่มีที่สุดของความไม่มีอะไรเลย หรือที่เรียกว่าความไม่มีที่สุดแห่งความว่าง เป็นภาวะที่ทำลายเวทนา หรือทำลายเวทนาขันธ์ ทำให้กระบวนการเวทนาแห่งขันธ์ห้าไม่ส่งอิทธิพลให้ก่อเกิดเป็นตัณหาได้อีก เพราะรากฐานถูกทำลายสิ้นเชิงหรือยอดถูกทำลายเป็นตาลยอดด้วนนั่นเอง

    สำหรับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานคือฌานที่เข้าถึงภาวะวิเศษสุดอีกภาวะหนึ่งที่ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นสัญญาหรือไม่ใช่สัญญา ถึงที่สุดของภาวะที่ความทรงจำได้หมายรู้หมดสิ้นอิทธิพลใด ๆ ต่อการปรุงแต่งของสังขาร และส่งผลเป็นเวทนาอีกต่อไป จึงเป็นฌานที่ทำลายทั้งเวทนาและสัญญาไปพร้อม ๆ กัน

    เพราะเหตุนี้อรูปฌานทั้งสี่นี้จึงถือได้ว่าเป็นฌานที่ทำลายอายตนะทั้งหมด ทำลายขันธ์ทั้งหมด เป็นทางที่ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ดังคำของพระตถาคตเจ้านั้น
     
  2. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (69) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">13 ตุลาคม 2548 17:36 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5"></td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="325"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="325"> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> อากาสานัญจายตนฌานเป็นอรูปฌานที่อยู่ใกล้กับรูปฌานคือจตุตถฌานและยกระดับขึ้นไปจากจตุตถฌานเพื่อทำลายรูปหรืออยู่เหนือพ้นจากรูป และเมื่อพ้นจากรูปไปแล้วก็จะเหลือแต่ภาวะที่ว่าง หรือภาวะที่เป็นอากาศอันว่างเปล่าอันหาที่สุดมิได้

    การยกระดับจิตจากจตุตถฌานเพื่อเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานจะไม่มีการภาวนา จะไม่มีการเพ่ง หรือกำหนดอารมณ์ใด ๆ อีก แต่เป็นเรื่องของกำลังของจิตอันเกิดจากการตั้งมั่นบริสุทธิ์และแกล้วกล้า โดยมีปัญญาเป็นตัวหนุนควบคู่ตามมา

    ภาวะของจิตในยามที่ถึงจตุตถฌานคือ ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ละทุกข์ ละสุข ดับโทมนัสและโสมนัส มีความเป็นอุเบกขาและถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ดังนั้น การฝึกฝนอบรมจิตเพื่อยกระดับไปสู่อากาสานัญจายตนฌานก็คือการยกระดับของจิตให้มีความเป็นอุเบกขาที่สูงขึ้น มีสติ มีสัมปชัญญะ และมีปัญญาที่สูงขึ้น

    ภาวะเช่นนั้นจิตก็จะรู้เห็นสัมผัสได้เองว่าการที่ยังดับทุกข์และสุขไม่ได้สิ้นเชิงโดยเพียงแต่ละไว้ไม่ให้แสดงฤทธิ์หรือส่งอิทธิพลต่อจิตนั้น ก็เพราะว่าเหตุแห่งทุกข์ยังไม่ได้ระงับดับสิ้นไป และเหตุแห่งทุกข์หรือกองทุกข์ที่สำคัญก็คือขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งพระตถาคตเจ้าได้ตรัสยืนยันอย่างมั่นคงว่าขันธ์ห้านี่แหละกองทุกข์หรือเป็นตัวทุกข์

    และย่อมเห็นต่อไปด้วยว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าความสัมผัสระหว่างอายตนะภายในคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธรรมารมณ์เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความอยากได้ อยากมี อยากเป็น เกิดความไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น หรือเกิดความรู้สึกเฉย ๆ ต่อความอยาก และความไม่อยากนั้น

    เมื่อเห็นเช่นนั้นก็จะเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความรังเกียจ จิตก็จะละถอนออกมาเป็นลำดับ ๆ อุเบกขาฌานก็จะแก่กล้าขึ้นไปเป็นลำดับ ๆ

    ก็เป็นดังที่ได้อุปมาไว้แต่ต้นแล้วว่า จิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาและธาตุรู้อันเป็นธรรมดาธรรมชาตินั้น ก็จะเห็นและรู้อย่างชัดเจนขึ้นโดยลำดับว่าขันธ์ห้าซึ่งจัดเป็นรูปเป็นต้นเหตุสำคัญและเป็นที่ตั้งของทุกข์ จึงเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ห้า จิตก็จะละถอยออกมาจากความติดยึดในขันธ์ห้า มีความวางเฉยในขันธ์ห้าในระดับที่สูงขึ้น ๆ

    จิตจะมีความวางเฉยต่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต่อรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ทั้งปวงเป็นลำดับไปด้วยจนถึงที่สุดแล้วแม้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์มีอยู่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็มีอยู่ การสัมผัสก็ยังมีอยู่ แต่ความสูงส่งของอุเบกขาฌานที่สูงขึ้นไปโดยลำดับและปัญญาที่เห็นความจริงตามความเป็นจริงชัดขึ้นตามลำดับ จิตก็จะมีความวางเฉย ตั้งมั่นในความวางเฉย มีความผุดผ่องต่อความวางเฉยมากขึ้นเป็นลำดับไปด้วย

    ในที่สุดอายตนะภายนอกและภายในแม้มีอยู่ก็เหมือนไม่มี สัมผัสแม้เกิดขึ้นก็เหมือนไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ทำให้จิตกระเพื่อมหวั่นไหวได้อีก จึงกล่าวได้ว่ารูปทั้งหลายเป็นอันสิ้นสลายไป ไม่ส่งผลกระทบกระเทือน และไม่ส่งอิทธิพลใด ๆ ต่อจิตได้อีก เพราะมีแต่ความวางเฉยหรือความเป็นอุเบกขาที่ถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา

    ยามนั้นจึงเหลือแต่อากาศที่ว่างเปล่าหรือช่องว่างที่ว่างเปล่า โดยไม่มีรูปทั้งปวงตั้งอยู่อีกต่อไป ความว่างเปล่านั้นเหมือนดังอากาศใส ๆ ที่ไร้ขอบเขต แม้ร่างกายนั้นจะยังตั้งอยู่ ดำรงอยู่ แต่จะรู้สึกเหมือนว่าเป็นเพียงก้อนอากาศใส ๆ ก้อนหนึ่ง ภายนอกอัตภาพนี้ก็เช่นเดียวกัน ก็เหมือนกับเป็นก้อนอากาศใส ๆ ที่กว้างใหญ่หาที่สุดมิได้ ภาวะเช่นนั้นจิตย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน ที่เป็นอันว่ารูปได้ถูกทำลายสิ้นไปแล้ว

    รูปที่ว่านี้ย่อมหมายรวมถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย ตัวอย่างที่อุทกดาบสเข้าอยู่ในฌานนี้แล้วขบวนเกวียนถึง 500 เล่มผ่านมาก็ไม่ได้ยิน ก็เพราะว่าเสียงซึ่งจัดเป็นรูปอย่างหนึ่งถูกทำลายไปแล้วนั่นเอง

    เมื่อจิตเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานได้แล้วย่อมเป็นอันว่ารูปขันธ์ได้ถูกทำลายด้วยอุเบกขาฌานขั้นสูง ภาระแต่นี้ไปจึงเหลือการขจัดทำลายระบบสั่งการหรือกำหนดการปรุงแต่งอันเป็นวิญญาณขันธ์ต่อไป โดยการยกระดับอุเบกขาฌานให้สูงขึ้นไปอีก

    เพราะมีรูปจึงมีเวทนา และเวทนาที่อาศัยสัญญาจึงเกิดการปรุงแต่งหรือเป็นสังขารโดยมีวิญญาณเป็นตัวกำหนดบัญชาการ การทำลายตัวกำหนดหรือตัวบัญชาการก็คือการทำลายวิญญาณขันธ์นั่นเอง

    การฝึกฝนอบรมปฏิบัติเพื่อเข้าสู่วิญญาณัญจายตนฌานก็คือการเข้าถึงภาวะที่อุเบกขาฌานเจริญในขั้นสูงขึ้น ทำให้วิญญาณขันธ์มีความเป็นอุเบกขา มีความวางเฉยต่อผัสสะทั้งหลาย ไม่ยินดียินร้าย ไม่บงการ ไม่สั่งการ ไม่กำหนดการ ที่ทำให้จิตปรุงแต่งใด ๆ ในทางอยากมี อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น หรือความรู้สึกเฉย ๆ อันเป็นตัณหาได้มากขึ้นอีกขั้นหนึ่ง

    นั่นคือเมื่อจิตประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ปัญญา และอุเบกขาและทำลายรูปขันธ์ไม่ให้ส่งอิทธิพลใดๆ ได้แล้วจิตก็จะเห็นต่อไปว่ากองทุกข์หรือที่ตั้งของทุกข์ รวมทั้งกิเลสและอาสวะทั้งหลายที่หลงเหลืออยู่นั้นแสดงฤทธิ์แสดงอิทธิพลได้ก็เพราะวิญญาณหรือวิญญาณขันธ์เป็นตัวกำหนด เป็นตัวสั่งการหรือบัญชาการ ดังนั้นจึงต้องขจัดหรือทำลายต้นเหตุคือวิญญาณขันธ์ไม่ให้กำหนด ไม่ให้สั่งการหรือบัญชาการตามอำนาจของกิเลสได้อีกต่อไป

    อุเบกขาฌานที่เจริญสูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งและปัญญาที่เจริญควบคู่ตามกำลังของจิตอีกขั้นหนึ่งจะทำให้จิตมีความวางเฉยต่อการรับรู้สัมผัสทั้งปวงในระดับที่สูงขึ้นเพื่อระงับดับความอยาก ความไม่อยากหรือความรู้สึกเฉย ๆ ไปโดยลำดับ และในที่สุดวิญญาณขันธ์ก็จะมีความวางเฉยต่อผัสสะทั้งหลาย ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ไม่คล้อยตามอำนาจของกิเลสที่ซ่อนเงียบอยู่กับจิตอีกต่อไป

    วิญญาณขันธ์ที่แม้ยังอยู่ก็อยู่ด้วยอุเบกขาจึงเรียกว่าวิญญาณขันธ์ดับ เพราะครอบงำและครองด้วยอุเบกขาฌาน วิญญาณขันธ์จึงมีความเป็นอิสระ มีความบริสุทธิ์ และไร้ขอบเขตหาประมาณมิได้ ภาวะเช่นนั้นย่อมได้ชื่อว่าจิตถึงซึ่งวิญญาณัญจายตนฌาน คือภาวะที่ถึงความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ หรือภาวะที่วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะมีความเป็นอิสระแล้ว ปราศจากการครอบงำหรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใด ๆ ไม่กำหนด ไม่สั่งการ ไม่บัญชาการ ตามอำนาจของกิเลสอีกต่อไป

    เป็นอันว่าเมื่อถึงซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานนั้น รูปขันธ์และวิญญาณขันธ์เป็นอันถูกทำลาย คือแม้ว่ายังคงอยู่แต่อยู่โดยความถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะและอุเบกขา ถึงพร้อมด้วยปัญญา จึงยังคงเหลือเวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ และสัญญาขันธ์ ซึ่งจะต้องขจัดหรือทำลายต่อไป นั่นคือการยกระดับของจิตให้สูงขึ้นต่อไปอีก

    ได้แก่การทำลายการปรุงแต่งของจิต และทำลายความรู้สึกคือเวทนาอันเป็นที่ตั้งของทุกขเวทนา สุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นั่นคือทำลายเวทนาทั้งปวง

    การปรุงแต่งหรือสังขารขันธ์กับเวทนาขันธ์เป็นกองสองกองหรือขันธ์สองขันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันสัมพันธ์และส่งผลถึงกันมากที่สุด ใกล้ชิดที่สุด นั่นคือเมื่อจิตปรุงแต่งใด ๆ แล้วก็จะส่งผลออกในทางเวทนาซึ่งเป็นตัวทุกข์ ตัณหาทั้งหลายจะแสดงออกได้ก็ด้วยการผ่านบทบาทของสังขารขันธ์และเวทนาขันธ์นี่เอง

    แม้ว่ารูปขันธ์และวิญญาณขันธ์จะถูกระงับดับไปแล้วแต่ยังมีเชื้อเหลืออยู่คือสังขารขันธ์ เวทนาขันธ์ และสัญญาขันธ์

    ยามที่จิตบรรลุถึงวิญญาณัญจายตนฌาน กำลังตั้งมั่น ความบริสุทธิ์ ความแกล้วกล้าของจิต ปัญญา สติสัมปชัญญะ และอุเบกขาจะเจริญกล้าขึ้นโดยลำดับมา ก็ย่อมเห็นถึงที่ตั้งของกองทุกข์อันสำคัญที่จะต้องถูกขจัดไม่ให้ส่งผลอิทธิพลในลำดับถัดไปก็คือการปรุงแต่งและความรู้สึกซึ่งเป็นภาวะที่เกิดอยู่กับจิต ซ่อนตัวอยู่อย่างมิดชิดในภายในของจิต ซึ่งยากจะค้นพบได้แต่กลับจะเห็นได้อย่างชัดเจนในยามที่ถึงซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว

    เมื่อรู้ เมื่อเห็นแล้วจิตก็จะเร่งความเพียร เพิ่มพลังแห่งอุเบกขาเพื่อละวางความสามารถในการปรุงแต่ง นั่นคือแม้อายตนะภายในยังอยู่ อายตนะภายนอกยังอยู่ แต่ถูกกำจัดหรือถูกทำลายจนผัสสะไม่อาจส่งอิทธิพลต่อรูป ต่อการสั่งการแล้ว สิ่งที่ต้องละต่อไปหรือยกระดับต่อไปก็คือการทำให้ภาวะปรุงแต่งนั้นถึงซึ่งความเป็นอุเบกขา ไม่ยินดียินร้าย ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำที่จะต้องปรุงแต่งใด ๆ ไปตามอำนาจของกิเลส ทำให้การปรุงแต่งหรือสังขารขันธ์นั้นไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสอีกต่อไป

    เท่านั้นยังไม่พอ จิตจะเห็นด้วยปัญญาต่อไปว่าเวทนาที่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขก็ดี แท้จริงแล้วก็คือตัวทุกข์ และยังเป็นรากเหง้าของทุกข์อยู่ เป็นหน้าต่างที่ทำให้ตัณหาสามารถโผล่หน้าออกมาแสดงอิทธิพลบทบาทได้ จึงเกิดความเบื่อหน่าย เกิดการสละละถอน

    ดังนั้นเมื่อจิตทำลายสังขารขันธ์หรือทำให้สังขารขันธ์อยู่ภายใต้อิทธิพลของอุเบกขาหรืออุเบกขาได้เข้าครอบงำการปรุงแต่งด้วยปัญญาโดยชอบแล้ว พัฒนาโดยลำดับไปแล้ว เวทนาขันธ์ก็จะมีความเป็นอิสระมากขึ้นโดยลำดับ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือรับแรงกระเพื่อมใด ๆ ตามอำนาจของกิเลสได้อีก

    สังขารขันธ์ตั้งอยู่ก็เพียงแต่ตั้งอยู่ เวทนาขันธ์ตั้งอยู่ก็เพียงแต่ตั้งอยู่ และเป็นการตั้งอยู่โดยมีอุเบกขาฌาน มีสติสัมปชัญญะ มีความบริสุทธิ์ มีปัญญาครอง ดังนั้นสังขารขันธ์และเวทนาขันธ์จึงเป็นอันถูกทำลายและไม่เป็นที่ตั้งของกองทุกข์อีกต่อไป ภาวะเช่นนั้นถึงจะมีสิ่งใด ๆ อยู่ก็ได้ชื่อว่าไม่มี และภาวะที่ไม่มีเช่นนั้นหาที่สุดหาประมาณมิได้

    ยามใดที่จิตเข้าสู่ภาวะเช่นนี้ ย่อมได้ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งอากิญจัญญายตนฌาน เป็นฌานที่ถึงพร้อมด้วยกำลังของจิตและปัญญา และมาถึงขั้นที่ทำลายรูป ทำลายวิญญาณ ทำลายสังขาร และเวทนาอันเป็นสี่กองใหญ่แห่งขันธ์ห้าแล้ว

    เมื่อจิตถึงซึ่งอากิญจัญญายตยฌานที่เป็นอันทำลายรูป เวทนา สังขาร และวิญญาณอันเป็นสี่กองใหญ่แห่งขันธ์ห้าแล้ว เป็นภาวะที่ขันธ์ทั้งสี่กองดังกล่าวแม้มีอยู่ ตั้งอยู่ก็มีอยู่ ตั้งอยู่ภายใต้สติสัมปชัญญะ ปัญญา และอุเบกขา โดยจิตตั้งมั่นสูงยิ่ง มีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง และแกล้วกล้าอย่างยิ่ง

    ยามนั้นจึงยังคงเหลือสัญญาขันธ์อีกกองหนึ่ง ซึ่งยังเป็นกองทุกข์กองสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ เพราะความทรงจำได้หมายรู้นั้นเป็นภาวะที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ประณีตที่สุด เกาะสนิทติดแน่นอยู่กับจิตมากที่สุด จึงเหลือท้ายสุดที่จะต้องถูกทำลาย

    โดยทั่วไปหรือปกติยากที่จะสัมผัสรู้เห็นตัวสัญญาขันธ์นั้นได้เพราะเกาะสนิทแน่นแฟ้นเหมือนเป็นตัวเดียวกับจิต แต่เมื่อจิตได้บรรลุถึงอากิญจัญญายตนฌานแล้วครอบงำรูป เวทนา สังขาร วิญญาณด้วยอุเบกขาฌาน สติสัมปชัญญะ และปัญญาด้วยกำลังอันแกล้วกล้าสูงยิ่งของจิตแล้ว จิตก็จะเห็นด้วยปัญญาว่าสัญญาขันธ์ยังหลบซ่อนอยู่ในหลืบเงื้อมของจิต และเป็นตัวทรงจำกำหนดหมายทั้งหลายทั้งปวงไว้กับจิต และเป็นกองทุกข์กองสำคัญที่ติดมั่นอยู่กับจิตและทำให้จิตไม่มีความเป็นอิสระถึงที่สุดได้

    เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็จะเกิดความเบื่อหน่ายขยะแขยง และเพ่งเพียรเพิ่มกำลังแห่งอุเบกขาฌานเพื่อให้สัญญาขันธ์นั้นไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสและอาสวะทั้งหลายอีกต่อไป

    ในที่สุดสัญญาขันธ์แม้มีอยู่ เหลืออยู่ ตั้งอยู่ แต่ภาวะที่จะทรงจำกำหนดหมายภายใต้อำนาจของกิเลสและอาสวะย่อมเป็นอันถูกขจัดและหมดสิ้นไปโดยลำดับ สัญญาขันธ์มีอยู่ก็เหมือนไม่มีอยู่ จะว่าไม่มีอยู่แต่ก็มีอยู่ นั่นคือมีความเป็นอิสระ มีความเป็นอุเบกขา ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา ภาวะเช่นนั้นจึงเรียกว่าภาวะที่เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ นั่นคือถึงซึ่งอากิญจัญญายตนฌาน

    เมื่อบรรลุถึงอากิญจัญญายตนฌานย่อมเป็นอันบรรลุถึงอรูปฌานสี่ ที่ขันธ์ทั้งห้าและอายตนะภายในมีความเป็นอิสระ มีความบริสุทธิ์ ถึงซึ่งอุเบกขา ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำใด ๆ ของกิเลสและอาสวะอีก ถึงจะสัมผัสกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นที่ตั้งของกองทุกข์อีกต่อไป

    ภาวะเช่นนี้คือภาวะที่พระตถาคตเจ้าได้สำเร็จการศึกษาจากอุทกดาบสและเป็นภาวะที่ทุกข์ดับแล้ว สุขดับแล้ว คงเหลือแต่ต้นเหตุแห่งทุกข์คือตัณหาและอุปาทานที่ยังไม่ดับสิ้นเชิง เพราะเหตุนี้ทุกข์ สุข จึงยังไม่ดับสิ้นเชิง จึงเป็นภาวะที่พระตถาคตเจ้าตรัสว่าเป็นภาวะที่เหมือนกับก้อนหินทับต้นหญ้า ที่ต้นหญ้าอาจจะงอกขึ้นใหม่ได้อีก หากว่าได้ยกก้อนหินออกไป

    เพราะเหตุนั้นพระตถาคตเจ้าหลังจากจบการศึกษาจากอุทกดาบสแล้วจึงยังต้องบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป

    เหตุนี้อรูปฌานสี่แม้เป็นฌานขั้นสูง ถึงซึ่งความดับทุกข์แล้ว แต่เหตุแห่งทุกข์ยังไม่ดับ จึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ และยังไม่ถึงซึ่งวิมุตติมิติซึ่งจะต้องฝึกฝนอบรมปฏิบัติต่อไป เพื่อดับทุกข์ให้หมดจดสิ้นเชิง
     
  3. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (70) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">20 ตุลาคม 2548 17:41 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5"></td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="380"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="380"> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> พระตถาคตเจ้าก่อนที่จะทรงตรัสรู้ก็ได้บรรลุถึงรูปฌานสี่และอรูปฌานสี่ตั้งแต่เมื่อครั้งยังสำนักอยู่กับอาฬารดาบสและอุททกดาบสแล้ว แต่ทรงเห็นว่าแม้จะบรรลุถึงฌานดังกล่าวนี้ก็ยังไม่สามารถดับทุกข์ได้สิ้นเชิง จึงทรงอำลาพระอาจารย์ไปแสวงหาความหลุดพ้นด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาลัยโพธิญาณในวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธปรินิพพาน 45 ปี

    การที่ทุกข์ยังไม่ดับสนิทแท้ก็เพราะเหตุแห่งทุกข์ยังไม่ดับ และที่เหตุแห่งทุกข์ยังไม่ดับนั้นก็เพราะว่าอวิชชายังคงดำรงอยู่

    ระยะเวลา 6 ปี นับแต่พระตถาคตเจ้าได้ลาสำนักพระอาจารย์ไปศึกษาด้วยพระองค์เองนั้นคือการศึกษาเรื่องทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางแห่งการดับทุกข์ ทรงทราบถึงทางอันเป็นที่สุดโต่งทั้งสองทางอย่างแจ่มแจ้ง คือ ทั้งสายตึงและสายหย่อนว่าไม่ใช่หนทางที่จะดับทุกข์ได้ จึงทรงแสวงหาหนทางใหม่และทรงค้นพบในที่สุด

    สภาวะธรรมเมื่อได้บรรลุถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานทำให้อายตนะภายในทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แม้มีอยู่และสัมผัสกับอายตนะภายนอกคือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ได้อยู่ ความจำได้หมายรู้ก็มีอยู่ แต่ไม่รับรู้อะไรตามอำนาจแห่งกิเลสเลย

    สภาวะเช่นนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากจิตมีอุเบกขาเข้าครองในระดับสูง จึงทำให้ความทรงจำได้หมายรู้มีสภาพเป็นสัญญาก็มิใช่ ไม่เป็นสัญญาก็มิใช่ ภาวะเช่นนี้แม้ละเอียดประณีตถึงปานนี้แล้วก็ยังคงมีความยึดมั่นถือมั่นเหลือเชื้อรากเหง้าอยู่เพราะอวิชชาซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ยังคงมีอยู่ จึงทำให้ทุกข์ไม่ดับมอดสิ้นเชิง และทำให้จิตยังไม่เข้าถึงภาวะที่สงบสูงสุดอีกภาวะหนึ่ง ทั้งทำให้ปัญญายังไม่บริสุทธิ์ถึงที่สุดอีกด้วย

    ดังนั้นจิตจึงเห็นด้วยปัญญาที่อบรมบ่มเพาะสูงขึ้นมาในขั้นนี้ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นยังเป็นสภาวะที่หยาบอยู่ ต้นเหตุแห่งทุกข์คืออวิชชายังอยู่ จึงต้องละหรือยกระดับภาวะจิตให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อไปสู่หนทางในการขจัดต้นเหตุแห่งทุกข์ให้ดับมอดสิ้นเชิงต่อไป

    ในที่สุดกำลังอำนาจของจิต กำลังอำนาจของสมาธิ และกำลังอำนาจของปัญญาจะค่อย ๆ ยกระดับขึ้นโดยกำลังของอุเบกขาฌานก็ยกระดับสูงขึ้นไปด้วย และก้าวข้ามพ้นหรือละหรือดับเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นได้สำเร็จ

    ภาวะเช่นนั้นจิตก็จะถึงซึ่งความสงบขั้นสูงสุดขั้นใหม่ ปัญญาก็จะบริสุทธิ์แจ่มจ้ายิ่งกว่าทุกระยะที่ผ่านมา อุเบกขาฌานก็จะละเอียดประณีตกว่าทุกระยะที่ผ่านมา จิตว่างหรือหลุดพ้นจากสัญญาสิ้นเชิง คือว่างจากความทรงจำได้หมายรู้หรือกำหนดรู้อารมณ์ใด ๆ ยกเว้นก็แต่อุเบกขาประเภทที่เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์เท่านั้น

    เมื่อดับหรือละเนวสัญญานาสัญญายตนะและถึงภาวะดังกล่าวแล้ว ภาวะเช่นนั้นโลกภายนอกกับโลกภายในจะถูกตัดขาดออกจากกัน หรือที่เรียกกันว่าตัดขาดจากกระแสโลก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ ไม่อาจส่งอิทธิพลหรือผลกระทบกระเทือนใด ๆ ต่อจิตได้อีก

    ความยึดมั่นถือมั่นในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ ก็จะดับลงในขั้นนี้ ภาวะเช่นนี้จึงทำให้หลุดพ้นออกจากโลก นั่นคือได้บรรลุถึงภูมิธรรมขั้นใหม่ที่เรียกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ และจิตซึ่งดำรงอยู่ในภาวะเช่นนี้ย่อมได้ชื่อว่าอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ คือที่อาศัยของจิตในขั้นสูงคืออริยวิหาร และเป็นอริยวิหารที่เป็นภูมิธรรมขั้นที่สูงกว่าอริยวิหารในขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    ภาวะของจิตที่หลุดออกจากกระแสโลกและถึงซึ่งความสงบขั้นสูงสุดใหม่ดังกล่าวนี้เรียกว่าเป็นการหลุดพ้นในระดับโลกิยะ คือกุปปาเจโตวิมุตติ

    แม้จิตจะหลุดพ้นออกจากกระแสโลกและถึงซึ่งกุปปาเจโตวิมุตอันเป็นสภาวะที่ละเอียดประณีตสูงส่งปานนี้แล้ว แต่ในภายในนั้นเหตุแห่งทุกข์ยังไม่ดับสิ้นไปเพราะอาสวะยังอยู่ ยังคงเป็นตะกอนนอนนิ่งอยู่กับก้นบึ้งจิต เพียงแต่สำแดงฤทธิ์เดชใด ๆ ตามกระแสโลกหรือตามอำนาจกิเลสไม่ได้เท่านั้น

    นั่นเป็นเพราะอวิชชายังอยู่ ยังเป็นปัจจัยของการปรุงแต่ง เป็นกระแส เป็นวัฏฏะอยู่ภายใน ที่สำคัญคือยังเป็นรากเหง้าของตัณหาและอุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ดังที่พระตถาคตเจ้าตรัสสอนในหลักปฏิจจสมุปบาทว่าอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณะ

    โดยรวมก็คือสมุทัยอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ยังไม่ถูกดับสิ้นไป ยังคงนอนนิ่งเป็นตะกอนอยู่กับจิต ดังนั้นจิตจึงยังไม่ถึงซึ่งความหลุดพ้นสิ้นเชิง ภาวะที่หลุดพ้นในขั้นกุปปาเจโตวิมุตตินั้นเป็นเพียงการหลุดพ้นจากกระแสโลกภายนอก หรือนัยหนึ่งก็คือเป็นการหลุดพ้นในระดับโลกิยะ แต่ในโลกภายในหรือระดับโลกุตระนั้นสมุทัยอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ยังอยู่ วัฏฏะแห่งปฏิจจสมุปบาทยังอยู่ และเมื่อยังอยู่ตราบใดตราบนั้นก็ไม่มีทางดับทุกข์สิ้นเชิงได้

    พระอัสสชิได้สรุปคำตรัสสอนของพระตถาคตเจ้าบอกแก่พระสารีบุตรว่า พระมหาสมณะมีปกติสอนว่าธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ทรงตรัสถึงเหตุแห่งธรรมนั้นตลอดจนความดับแห่งธรรมนั้น และโดยนัยยะนี้ก็คือทุกข์ทั้งหลายเกิดแต่เหตุ เมื่อจะดับทุกข์ก็ต้องดับที่เหตุ และต้นเหตุแท้ของทุกข์ก็คือสังสารวัฏซึ่งมีต้นรากอยู่ที่อวิชชาที่เป็นต้นตอและเป็นปัจจัยให้เกิดวัฏฏะ จนมีภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นที่สุด

    เหตุที่อวิชชายังอยู่ก็เพราะวิชชายังไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เมื่อใดที่วิชชาเกิดขึ้นแล้ว สมบูรณ์แล้ว เมื่อนั้นอวิชชาก็ย่อมดับไป และเมื่อใดที่อวิชชาดับการปรุงแต่งทั้งหลาย วัฏฏะทั้งหลายที่เป็นกระแสตามปฏิจจสมุปบาทอันมีภพ ชาติ ชรา มรณะเป็นที่สุดนั้นก็ย่อมดับตามไปด้วย นั่นคือเมื่อดับเหตุแล้วผลของเหตุนั้นก็ย่อมดับตามไปด้วย

    การเจริญวิชชาและดับอวิชชาเป็นเรื่องของปัญญา ดังนั้นในขั้นตอนแต่นี้ไปจึงเป็นเรื่องของการเจริญปัญญา ฝึกฝนอบรมปัญญาให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง วิชชาก่อตัวยกระดับและพัฒนาไปเพียงใด อวิชชาก็จะระงับดับไปเพียงนั้น

    ในภาวะเช่นนี้กำลังอำนาจของจิตสูงถึงระดับสูงสุดแล้ว กำลังสมาธิก็สูงถึงระดับสูงสุดแล้ว กำลังอุเบกขาก็ใกล้ถึงที่สุดเต็มทีคือใกล้จะเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์เต็มที แต่กำลังปัญญานั้นยังตามหลังกำลังอำนาจของจิตอยู่ จึงต้องเจริญปัญญาให้ยกระดับขึ้นมาเคียงคู่และนำหน้ากำลังของจิต เพราะการเห็นและการถึงซึ่งวิชชาโดยลำดับ ๆ ไปนั้นเป็นการเห็นและได้โดยกำลังแห่งปัญญา ที่ยกระดับสูงขึ้น มีความบริสุทธิ์ผ่องแผ้วในระดับที่สูงขึ้น

    จิตจะใช้ปัญญาพิจารณาความจริงตามความเป็นจริง และในที่สุดก็จะเห็นทุกข์กระจ่างแจ้งว่าความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ ความโศกาอาดูรเหี่ยวแห้งใจเป็นทุกข์

    แล้วจิตก็จะเห็นด้วยปัญญาอันยิ่งขึ้นไปอีกว่าทุกข์นั้นเป็นภาวะที่ควรละหรือดับให้สิ้นเชิง และต้องใช้วิธีการที่ถูกต้องในการดับทุกข์ และต้องดับที่เหตุแห่งทุกข์

    จากนั้นก็จะเห็นว่าวิธีการที่ถูกต้องในการดับทุกข์ก็คืออริยมรรคอันมีองค์แปด และวิธีการที่ถูกต้องในการดับทุกข์นี้เป็นวิธีที่ต้องเจริญให้ถึงที่สุด

    อริยมรรคอันมีองค์แปดที่จะดับทุกข์นั้นก็ต้องดับที่เหตุแห่งทุกข์ และเมื่อนั้นจิตก็จะเห็นด้วยปัญญาอีกว่าเพราะอวิชชามีอยู่จึงเป็นเหตุให้สังสารวัฏหรือกระแสวัฏฏะตามปฏิจจสมุปบาทดำรงอยู่ ทำให้ตัณหาและอุปาทานดำรงอยู่

    ในที่สุดจิตก็จะเห็นด้วยปัญญาอันยิ่งและบริสุทธิ์ยิ่งว่าตัวตัณหาและอุปาทานนี่แหละที่เป็นต้นเหตุหลักแห่งทุกข์ นั่นคือเป็นสมุทัย และสมุทัยนี้จะต้องละหรือดับเสียให้สิ้นเชิง ทุกข์จึงจะดับได้สิ้นเชิง

    จิตจะมีปัญญาเห็นความจริงโดยลำดับต่อไปว่าการที่ตัณหาและอุปาทานดำรงอยู่และเป็นปัจจัยไปสู่ภพ ชาติ ชรา มรณะ ในที่สุดนั้นก็เพราะไม่เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าภาวะที่มีการปรุงแต่งทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง ล้วนเกิดมาแต่เหตุและปัจจัยอันไม่มีใครจะบังคับควบคุมหรือยึดถือเอาเป็นตัวกูของกูได้ และเห็นความจริงตามความเป็นจริงอีกว่าภาวะที่มีการปรุงแต่งทั้งหลายนั้นตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ ต้องปรวนแปร เปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และดับไปเป็นธรรมดา

    ในที่สุดก็จะเห็นว่าบรรดาสิ่งทั้งหลายที่มีการปรุงแต่งก็ดี หรือที่ไม่มีการปรุงแต่งก็ดี ล้วนไม่ใช่ตัวตนของตนทั้งสิ้น

    ความหลงเพราะความไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริงถึงภาวะดังกล่าวนั้นจึงทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวกูของกู แล้วทำให้เกิดตัณหาอุปาทาน ตลอดจนภพ ชาติ ชรา มรณะ ในที่สุด นั่นก็คือเป็นวัฏฏะแห่งทุกข์อันน่ารังเกียจ

    เมื่อจิตเห็นด้วยปัญญาอันยิ่งเช่นนั้นแล้วปัญญาก็จะมีความเจิดจ้า ผ่องใส คมกล้าเป็นที่สุด แล้วเกิดความเบื่อหน่าย จางคลาย ละถอนออกมาจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงโดยลำดับ และในที่สุดจิตก็จะหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงด้วยปัญญาที่เห็นแจ้งความจริงตามความเป็นจริงว่าสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และสิ่งที่ปรุงแต่งทั้งหลาย รวมทั้งสิ่งที่ไม่ปรุงแต่งทั้งหลายไม่ใช่ตัวตนอันจะพึงยึดมั่นถือมั่น หรือที่เรียกกันว่าเห็นพระไตรลักษณ์นั่นเอง

    ภาวะเช่นนั้นจิตย่อมถึงภาวะใหม่ที่กำลังจิตก็อยู่ในขั้นสูงสุดอยู่แล้ว ปัญญาก็ได้พัฒนายกระดับถึงขั้นสูงสุด เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนละหรือดับสมุทัยคือความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงได้สิ้นเชิง และเมื่อเหตุแห่งทุกข์ดับสิ้นเชิงแล้วทุกข์ก็ย่อมดับสิ้นเชิงด้วย ภาวะนี้คือภาวะที่เรียกว่าอกุปปาเจโตวิมุตติ คือการหลุดพ้นในระดับโลกุตระซึ่งเหตุแห่งทุกข์ดับสนิท และทุกข์ก็ดับสนิทด้วยกำลังแห่งปัญญา จิต และอุเบกขาที่พัฒนายกระดับถึงขั้นสูงสุด อวิชชาก็ดับมอดสนิทด้วย วัฏฏะแห่งปฏิจจสมุปบาทก็เป็นอันขาดสะบั้นและดับสนิทลงเช่นเดียวกัน

    ภาวะนี้คือภาวะที่บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นภาวะเช่นเดียวกันกับภาวะของจิตที่บรรลุถึงความหลุดพ้นในขั้นตอนสุดท้ายของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในหนทางปัญญาวิมุตติ

    ภาวะของจิตในภายในจะบริบูรณ์ด้วยองค์แห่งโพชฌงค์ คือ บริบูรณ์ด้วยสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ซึ่งเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ดังที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสสรรเสริญเป็นอันมากนั้น

    เมื่อจิตหลุดพ้นในขั้นระดับโลกุตระเพราะดับทุกข์ได้สิ้นเชิง โดยได้ดับเหตุแห่งทุกข์สิ้นเชิงแล้วนั้นจะเกิดญาณชนิดหนึ่งที่รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว พรหมจรรย์จบสิ้นแล้ว การศึกษาจบสิ้นแล้ว ถึงซึ่งภาวะดุจดังตาลยอดด้วนคือทุกข์ดับมอดสนิท ไม่ฟื้นคืนได้อีก นั่นคืออาสวักขยญาณ

    ในภาวะนั้นจิตก็จะรู้ว่าอวิชชาดับแล้ว วิชชาเกิดแล้ว บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วคือ อาสวักขยญาณนั้น จิตก็จะน้อมไปบรรลุถึงวิชชาและวิมุตติ เป็นอันถึงซึ่งความเป็นที่สุดแห่งความเป็นอริยบุคคล

    ในยามนั้นวิชชาคือญาณหยั่งรู้อดีต ญาณหยั่งรู้อนาคตที่บรรลุมาก่อนหน้าแล้ว ตั้งแต่ขั้นจตุตถฌาน ก็จะมีความบริบูรณ์ บริสุทธิ์ ตามกำลังจิตและปัญญาที่บรรลุถึงอาสวักขยญาณด้วย

    ญาณหยั่งรู้อดีต ญาณหยั่งรู้การเกิดดับของสัตว์ทั้งหลาย และญาณแห่งความหลุดพ้นหรืออาสวักขยญาณถึงซึ่งความสมบูรณ์แล้ว อวิชชาดับมอดสิ้นสมบูรณ์แล้ว สังสารวัฏถูกตัดวงจรดับสิ้นเชิงแล้ว จึงถึงซึ่งวิมุตตะมิติด้วยประการฉะนี้

    ภาวะของจิตในยามที่บรรลุถึงอกุปปาเจโตวิมุตติและการน้อมจิตไปสู่วิชชาและวิมุตตินั้นเป็นภาวะชั่วแวบเดียว เพราะเป็นเหตุปัจจัยที่ใกล้ชิดอย่างยิ่ง คือเมื่อบังเกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วจิตก็จะน้อมเข้าสู่แดนวิชชาและวิมุตติทันทีซึ่งอาจจะเร็วกว่าสายฟ้าแลบเสียอีก

    ภาวะที่จิตสถิตอยู่ในแดนแห่งวิชชาและวิมุตตินั้นคือภาวะที่เป็นอริยวิหาร ที่สูงและประณีตกว่าอริยวิหารของขั้นสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ถ้าเป็นกรณีของพระบรมศาสดาภูมิธรรมนี้จะสูงกว่าพระสาวกทั่วไป จึงมีชื่อเรียกเฉพาะว่าตถาคตวิหาร

    นามกายซึ่งได้ก่อตัวพัฒนายกระดับและแปรเปลี่ยนเป็นทิพย์กายในขั้นจตุตถฌานนั้น เมื่อมาถึงขั้นนี้ทิพย์กายนั้นก็จะแปรเปลี่ยนบริบูรณ์ประณีตละเอียดถึงที่สุด ใสบริสุทธิ์ถึงที่สุด และเรียกว่าธรรมกาย.

    จบภาคเจโตวิมุตติ
     
  4. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (71) (ภาคสาม : อิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">27 ตุลาคม 2548 17:56 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5"></td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="250"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="250"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> การฝึกฝนอบรมจิตเพื่อถึงซึ่งความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในหรือวิมุตตะมิติโดยหนทางเจโตวิมุตตินั้นมีผลหรือมีอานิสงส์ที่เป็นธรรมดาธรรมชาติของการฝึกฝนอบรมในหนทางสายนี้ คือ อิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ ผลโดยตรงตามธรรมดาธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้และต่างจากการฝึกฝนอบรมแบบปัญญาวิมุตติก็เพราะว่าได้ตั้งอยู่บนฐานกำลังอำนาจของจิต

    กำลังอำนาจของจิตที่ได้รับการอบรมจนแกร่งกล้าขึ้นทำให้นามกายแปรเปลี่ยนเป็นทิพยกาย มีอินทรีย์และพละแก่กล้าขึ้น ทั้งมีรากฐานมาจากกัมมัฏฐานวิธีที่เกื้อกูลต่อการเกิด การกระทำ และการใช้อิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ด้วย

    ส่วนการฝึกฝนอบรมโดยหนทางปัญญาวิมุตตินั้นแม้จะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำ แต่กำลังอำนาจของจิต อินทรีย์และพละก็ได้พัฒนายกระดับตามไปด้วย เป็นแต่ว่าไม่มีจุดเด่นหรือไม่เด่นชัดเหมือนกับการฝึกฝนอบรมโดยหนทางเจโตวิมุตติ ทั้งการเดินหนทางปัญญาวิมุตติ ปัญญาจะแก่กล้าจึงก้าวข้ามพ้นจากการเห็นความสำคัญของอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ ดังนั้นผู้ที่เดินหนทางสายนี้จึงมักที่จะไม่นิยมในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์

    แต่ใช่ว่าอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ จะไม่เกิดขึ้น หรือกระทำไม่ได้ นั่นคือสามารถกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ได้ เป็นแต่ไม่อยากทำ ไม่สนใจที่จะทำ หรือฝึกฝนยกระดับพัฒนาความสามารถในทางนี้

    ดังตัวอย่างในระยะใกล้คือท่านเจ้าคุณพุทธทาสซึ่งแม้ว่าท่านจะเดินหนทางปัญญาวิมุตติ แต่ก็ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณสามารถกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ได้ในบางระดับ เช่นการทดลองกระทำฤทธิ์ครั้งหนึ่งที่ทำให้ปลามาอยู่ในมือที่ชูขึ้นในอากาศ ซึ่งท่านเจ้าคุณเห็นว่าได้สัมผัสกับฤทธิ์แบบกระจุ๋มกระจิ๋มแล้วแต่เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ จึงตั้งจิตว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกต่อไป เหตุนี้หลังจากท่านเจ้าคุณเริ่มเปิดการอบรมสั่งสอนแก่เวไนยสัตว์เป็นล่ำเป็นสันแล้วจึงไม่เคยปรากฏคุณสมบัติในเรื่องนี้

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเดินหนทางปัญญาวิมุตติเช่นเดียวกัน แต่ก็มีหลายครั้งที่ทรงกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ เช่นการกระทำโทรจิตนิมนต์พระอริยสงฆ์ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนา หรือการเจริญอิทธิบาทเพื่อให้คลายจากอาการพระประชวรตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2547 เป็นต้น

    สำหรับหลวงตาพระมหาบัวนั้นได้เดินในหนทางเจโตวิมุตติเช่นเดียวกับพระป่าในสายพระอาจารย์มั่น จึงสามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ได้ตามธรรมดาธรรมชาติของผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติในหนทางเจโตวิมุตตินี้ ในห้วงเวลาอันเป็นปัจจุบันนี้ก็ปรากฏว่าเคยกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์ถึงสองครั้ง คือการกระทำอิทธิฤทธิ์แปลงมวลสารโมเลกุลในเลือดเพื่อรักษาโรคร้ายของบุคคลสำคัญจนรอดพ้นจากเงื้อมมือมัจจุราชได้อย่างมหัศจรรย์ และการกระทำอิทธิฤทธิ์ช่วยเหลือชีวิตบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งให้รอดพ้นจากเหตุการณ์ระเบิดเครื่องบิน

    ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏว่ามีพระมหาเถระหลายรูปที่เดินหนทางเจโตวิมุตติและสำเร็จอภิญญาชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า ผู้เป็นพระอาจารย์ของเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือแม้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ดังที่ปรากฏคำประกาศพระคุณว่า “เจ้าพระคุณฯ ผู้ทรงบำเพ็ญพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ สำเร็จพรหมวิหารชั้นสูง เป็นเอกพระมหาเถราจารย์ ทรงพระอิทธิปาฏิหาริย์อันศักดิ์สิทธิ์ …” เป็นต้น

    การฝึกฝนอบรมโดยหนทางเจโตวิมุตติจะทำให้ได้รับผลหรือบรรลุถึงวิชชาแปดประการ หรือได้รับสมาบัติ หรือฌานสมาบัติแปดประการ คือ

    ประการแรก อิทธิวิธิญาณ หรืออิทธิ ฤทธิ์ คือความรู้หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่กระทำให้เกิดความสำเร็จหรือความมหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดา

    ประการที่สอง ทิพยโสตญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้หูเป็นทิพย์

    ประการที่สาม เจโตปริยญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการรู้ความคิดจิตใจของผู้อื่น

    ประการที่สี่ ทิพยจักษุญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้ตาเป็นทิพย์

    ประการที่ห้า มโนมยิทธิญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการกระทำความมหัศจรรย์ให้สำเร็จได้ด้วยใจ

    ประการที่หก บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการหยั่งรู้อดีตชาติหรือชาติก่อน ๆ ได้

    ประการที่เจ็ด จุตูปปาตถญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการหยั่งรู้การเกิด ดับ ของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป

    ประการที่แปด อาสวัคขยญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งหล

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="200"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="200"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5"></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> ในแปดประการนี้ที่เป็นวิชชาในระดับโลกิยะ คือในระดับที่ยังไม่ดับทุกข์สิ้นเชิง หรือยังไม่เหนือพ้นไปจากโลกเจ็ดประการ คือประการที่หนึ่งถึงประการที่เจ็ด และอยู่ในระดับที่เหนือพ้นไปจากโลกหรือระดับโลกุตระคือในระดับขั้นที่ดับทุกข์สิ้นเชิงแล้วคือประการที่แปด

    สำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณ ระดับของญาณที่เข้าถึงจึงเป็นระดับของโลกียะ แต่เมื่อเข้าถึงอาสวักขยญาณแล้วนอกจากระดับของญาณจะเป็นระดับโลกุตระในประการที่แปดแล้ว ยังยกระดับวิชชาหรือความรู้หรืออำนาจตั้งแต่ประการที่หนึ่งถึงประการที่เจ็ดให้เป็นญาณในระดับโลกุตระด้วย

    ญาณในระดับโลกียะนั้นหากยังไม่บรรลุถึงระดับโลกุตระตราบใดย่อมอยู่ในวิสัยที่จะเสื่อมถอยได้ ดังที่ปรากฏอยู่เสมอ ๆ ว่าผู้ที่มีคุณวิเศษบางคนนั้น ในห้วงเวลาหนึ่งสามารถแสดงคุณวิเศษได้จริง แต่เมื่อถูกลาภสักการะหรือกิเลสครอบงำมากขึ้นอำนาจหรือคุณวิเศษนั้นก็เสื่อมถอยจนกลายเป็นคนลวงโลกในที่สุด

    แต่ถ้าเป็นญาณที่ยกระดับถึงขั้นโลกุตระแล้วก็เป็นอันตัดขาดจากกระแสโลกและสังสารวัฏเด็ดขาดสิ้นเชิง เพราะเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟื้นกลับไม่เกิดขึ้นได้อีก ดังที่พระตถาคตเจ้ามักตรัสว่าเป็นดั่งตาลยอดด้วน ดังนั้นญาณทั้งหลายจึงดำรงคงอยู่เป็นนิรันดร์ ไม่หวนคืนกลับหรือเสื่อมถอยได้อีก

    คำตรัสสอนในเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่ว่าอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารคือการปรุงแต่งนั้น อวิชชาที่ว่านี้ก็คือภาวะที่ตรงกันข้ามกับวิชชา ไม่ใช่ความไม่รู้ซึ่งถูกเพียงส่วนน้อยเท่านั้น และหากจะแปลอวิชชาว่าเป็นความไม่รู้ก็จะทำให้ไม่รู้เรื่อยไป แต่ถ้าแปลอวิชชาว่าเป็นภาวะที่อยู่ตรงกันข้ามกับวิชชาแล้วก็จะทำให้เกิดความรู้ ความสว่าง และสามารถรับรู้ความจริงอันประเสริฐได้

    วิชชาที่ตัดสังสารวัฏในปฏิจจสมุปบาทนั้นก็คือวิชชาแปดประการที่ว่านี้ในระดับที่เป็นโลกุตระโดยเฉพาะคืออาสวักขยญาณนั่นเอง
    วิชชาเจ็ดประการที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณ แม้จะยังไม่ถึงขั้นโลกุตระก็จริงแต่ก็ทำให้ก้าวพ้นจากความเป็นเปรต ผี อมนุษย์ มนุษย์ ถึงซึ่งความเป็นเทพ พรหม และพระอริยะ แต่ถ้าเมื่อใดที่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณเป็นวิชชาที่แปดแล้วก็จะถึงซึ่งความเป็นพระอรหันต์ ดังนั้นอาสวักขยญาณจึงเป็นวิชชาเอกในการตัดสังสารวัฏถึงซึ่งความดับทุกข์สิ้นเชิง

    ทั้งยังส่งผลให้วิชชาเจ็ดประการข้างต้นหรือญาณเจ็ดประการข้างต้นสามารถเปล่งอานุภาพในระดับที่สูงขึ้นกว่าขั้นที่ยังไม่บรรลุถึงระดับโลกุตระ

    เพราะเหตุที่บรรลุถึงหรือทรงไว้หรือมีวิชชาแปดประการนั้นแล้ว จึงมีขีดความสามารถที่จะกระทำสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์หรือที่เรียกว่าปาฏิหาริย์ได้ และสามารถกระทำได้ในระดับสูงสุด ส่วนการบรรลุถึงวิชชาเจ็ดประการโดยที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวักขยญาณนั้น แม้มีขีดความสามารถที่จะกระทำปาฏิหาริย์ได้ทำนองเดียวกัน แต่ขีดความสามารถนั้นก็อาจเสื่อมถอยได้ดังที่ได้พรรณนามาแล้ว ความต่างกันจึงอยู่ที่ความเสื่อมถอยอย่างหนึ่ง และระดับของการกระทำปาฏิหาริย์อีกอย่างหนึ่ง

    สิ่งที่เรียกว่าปาฏิหาริย์หรือความมหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดานั้นมีสามประการคือ

    ประการแรก ได้แก่อิทธิปาฏิหาริย์ ได้แก่การกระทำความมหัศจรรย์โลดโผนต่าง ๆ ล่วงพ้นวิสัยของมนุษย์ เช่น คนเดียวทำเป็นหลายคน หลายคนทำเป็นคนเดียว หายตัวไป เหาะเหินเดินอากาศ เดินฝ่ากำแพงภูเขาได้ เดินไปบนน้ำได้ ดำดินได้ ลุยไฟได้ เป็นต้น

    ประการที่สอง ได้แก่อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือการทายใจหรือการกำหนดรู้ใจผู้อื่นแล้วกระทำการที่ตรงกับใจเป็นที่อัศจรรย์ ทำให้เกิดความสว่างกระจ่างแจ้ง ตรงกับปัญหาค้างคาอยู่ในใจนั้น

    ประการที่สาม ได้แก่อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือการสอนเป็นที่อัศจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ด้วยอรรถะ พยัญชนะ งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และได้รับผลของความรู้นั้นอย่างรวดเร็ว ดังที่ปรากฏคำสรรเสริญพระตถาคตเจ้าจากบรรดาผู้ฟังธรรมมากหลายในพระไตรปิฎกว่า “แจ่มแจ้งดังเปิดของคว่ำให้หงายขึ้น”

    ในบรรดาปาฏิหาริย์ทั้งสามประการนี้ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสสรรเสริญเฉพาะอนุสาสนีปาฏิหาริย์เพราะเป็นความมหัศจรรย์ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของเวไนยสัตว์ โต้แย้งไม่ได้ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ต่างกับปาฏิหาริย์สองประเภทแรกซึ่งผู้ที่ไม่เห็นด้วยตาหรือผู้ที่ไม่เชื่ออาจตำหนิติเตียนได้ และทำให้เกิดข้อโต้เถียงวิวาทได้

    เพราะในอินเดียเวลานั้นมีวิชาพิสดารอยู่สองวิชา วิชาหนึ่งเป็นของชาวคันธาระ มีชื่อว่าคันธารวิชา และวิชาของชาวมณีปุระที่เรียกว่ามณีวิชา เป็นวิชาที่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์บางประการได้ สามารถทายดักใจได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้โยคีในอินเดียก็ยังใช้วิชาเช่นนี้อยู่ บางคนเข้ามาในประเทศไทยแล้วใช้วิชาดักทายใจให้ปรากฏมาแล้วมากมาย

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5"></td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">พระธรรมโกษาจารย์(พุทธทาสภิกขุ)</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> วิชาดังกล่าวนี้ไม่เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งหรือเพื่อความดับทุกข์ เป็นวิชาเพื่อแสวงหาลาภสักการะที่ทำให้เกิดความละโมบโลภมากกระทั่งกลายเป็นเรื่องลวงโลก ดังนั้นพระตถาคตเจ้าจึงได้ตรัสสรรเสริญเฉพาะอนุสาสนีปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นประโยชน์จริง เป็นประโยชน์แท้แก่เวไนยสัตว์

    เพื่อป้องกันการแปรผันจนกลายเป็นการลวงโลกและการถกเถียงโต้แย้ง พระตถาคตเจ้าจึงตรัสห้ามพระสาวกแสดงอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ในลักษณะที่เป็นการโอ้อวด และถ้าไม่มีคุณสมบัตินี้ในตนแล้วอวดอ้าง หากเป็นพระภิกษุก็ทรงบัญญัติโทษสถานหนัก ถึงขั้นพ้นจากความเป็นภิกษุคือเป็นความผิดขั้นปาราชิก

    แต่ทว่าที่ทรงตรัสห้ามนั้นไม่ได้ทรงตัดผลที่เกิดขึ้นตามธรรมดาธรรมชาติ ไม่ได้ทรงห้ามกระทำในคราวหรือโอกาสอันจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ในการพระศาสนาดังที่ทรงตรัสสั่งให้พระสาวกกระทำอิทธิปาฏิหาริย์หลายครั้งหลายหน แม้พระองค์เองก็ทรงกระทำเช่นเดียวกัน เป็นแต่ทรงเลือกกาล เลือกสถานที่อันสมควรที่เหมาะสมและจำเป็น

    แต่คนในชั้นหลังห่างเหินออกไปจากการฝึกฝนอบรมจิต ไม่สามารถได้รับคุณวิเศษและกระทำคุณวิเศษดังกล่าวได้ กลับใช้เป็นข้ออ้างว่าทำอิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้เพราะพระตถาคตเจ้าทรงห้ามซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากพุทธประสงค์โดยแท้

    อิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์เป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรมจิตและเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความศรัทธาเพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่พระศาสนา ทั้งเป็นประจักษ์พยานแห่งความตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า ตลอดจนวิชชาแปดประการที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ทรงแสดงไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องฝึกฝนปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ให้มากที่สุด เพราะวิชชาทั้งแปดประการนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ตน เพื่อประโยชน์ท่านโดยเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพ่รพระศาสนาให้บังเกิดประโยชน์สุขแก่มวลชนด้วย

    ในภาคสามแห่งมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนี้มุ่งเน้นพรรณนาเฉพาะอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ โดยจะไม่ก้าวล่วงถึงอานุสาสนีปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ในการสั่งสอนเผยแผ่พระธรรมคำสอนหรือความจริงอันประเสริฐซึ่งเป็นเรื่องอีกส่วนหนึ่ง และสำหรับผู้สนใจในเรื่องนี้ก็สามารถฝึกฝนและใช้ได้ตามแนวทางที่ทรงแสดงไว้ในส่วนที่ว่าด้วยเรื่องวิธีการสอนของพระตถาคตเจ้านั้น

    อิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์คือการกระทำความมหัศจรรย์เหนือมนุษย์โดยอาศัยวิชชาห้าประการในแปดประการคือ อิทธิวิธี มโนมยิทธิ เจโตปริยญาณ ทิพยโสต และทิพยจักษุ ซึ่งจักได้พรรณนาต่อไปโดยลำดับ
    </td></tr></tbody></table>
     
  5. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (72) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">3 พฤศจิกายน 2548 16:50 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5"></td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> อิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์นั้นอาจเรียกรวมกันว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งแปลความหมายให้เข้าใจได้โดยง่ายว่าหมายถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในการทำให้เกิดความสำเร็จแบบมหัศจรรย์ คือเกิดความสำเร็จแบบมหัศจรรย์ในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะในการเผยแผ่ความจริงอันประเสริฐตามที่พระตถาคตเจ้าได้อบรมสั่งสอนไว้

    การกระทำอิทธิปาฏิหาริย์บางทีก็เรียกว่าการกระทำฤทธิ์ คือกระทำเพื่อให้เกิดความสำเร็จด้วยอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ การกระทำฤทธิ์ที่ว่านี้มีทั้งสิ้น 10 ชนิด คือ

    ชนิดที่หนึ่ง อธิษฐานฤทธิ์ คือฤทธิ์ประเภทที่ทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการอธิษฐานหรือตั้งจิตอธิษฐาน

    ชนิดที่สอง วิกุพพนาฤทธิ์ คือฤทธิ์ประเภทที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่างแปรสภาพเป็นต่าง ๆ

    ชนิดที่สาม มโนมยิทธิฤทธิ์ คือฤทธิ์ประเภทที่สามารถเนรมิตให้เกิดรูปหรือเกิดร่างขึ้นอีกรูปหรือร่างหนึ่งที่มีความสมบูรณ์เหมือนกับร่างเดิม สามารถกระทำการใด ๆ ได้เช่นเดียวกับร่างเดิม

    ชนิดที่สี่ ญาณวิปผาราฤทธิ์ คือฤทธิ์ประเภทที่ทำให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน เป็นฤทธิ์สำคัญที่เป็นกำลังของญาณในการตัดสังสารวัฏให้ขาดไปอย่างสิ้นเชิง ฤทธิ์ชนิดนี้เกิดขึ้นจากญาณคือญาณหรือความรู้ยิ่งในขณะที่ตัดสังสารวัฏได้เด็ดขาดสิ้นเชิง ไม่ว่าโดยหนทางปัญญาวิมุตติหรือเจโตวิมุตติ พระอรหันต์ทั้งหลายล้วนมีญาณวิปผาราฤทธิ์เป็นผลทั้งสิ้น

    ชนิดที่ห้า สมาธิวิปผาราฤทธิ์ คือฤทธิ์ประเภทที่ทำให้เกิดกำลังและความรู้ในการละหรือดับนิวรณ์อันเป็นอุปกิเลสได้หมดสิ้น เป็นฤทธิ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ละหรือดับนิวรณ์หมดสิ้นแล้ว จึงเป็นฤทธิ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป เพราะตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปนั้นเป็นอันได้ละนิวรณ์และขจัดนิวรณ์ได้แล้ว ฤทธิ์ชนิดนี้จึงเกิดขึ้น

    ชนิดที่หก อริยฤทธิ์ คือฤทธิ์ของพระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระอรหันต์ รวมทั้งพระตถาคตเจ้าด้วย เป็นฤทธิ์ที่ทำให้สามารถกำหนดความว่างเปล่า ความไม่ยึดมั่นถือมั่น และบรมสุขในความหมายที่เป็นสุขจากนิพพาน หรือสุขเกิดจากสมาธิในระดับขั้นที่บรรลุความเป็นโสดาบันแล้ว

    ผู้ได้ฤทธิ์ชนิดนี้จะสามารถกำหนดให้เห็นความเป็นปฏิกูลในสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูล สามารถกำหนดให้เห็นความไม่เป็นปฏิกูลในสิ่งที่เป็นปฏิกูล โดยเห็นเป็นแค่ธาตุเฉย ๆ เท่านั้น นั่นคือเห็นด้วยกำลังแห่งอุเบกขา

    ชนิดที่เจ็ด กัมมวิปากชาฤทธิ์ ได้แก่ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรมหรือวิบากกรรมที่ทำมาแต่ก่อน ดังเช่นนกสามารถบินไปในอากาศได้เพราะกรรมที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเป็นนก หรือบรรดารุกขเทวดาทั้งหลายสามารถกระทำฤทธิ์ตามปกติของความเป็นรุกขเทวดาได้ หรือพรหมทั้งหลายสามารถกระทำฤทธิ์อันเป็นวิสัยปกติของพรหมได้ ทั้งนี้ด้วยอาศัยแห่งวิบากกรรมที่ทำให้เกิดอยู่ในภพและเพศเช่นนั้น

    กัมมวิปากชาฤทธิ์นี้เป็นฤทธิ์ที่อาจเกิดขึ้นหรือมีขึ้นกับมนุษย์ได้ ดังเช่นบางคนที่มีฤทธิ์หรืออำนาจวิเศษเหนือความเป็นมนุษย์ธรรมดา เช่น เกิดมาอายุยังน้อยนักแต่สามารถบรรเลงเพลงดนตรีไทยเดิมที่ล้ำลึกได้ หรือสีไวโอลินบรรเลงเพลงของอัจฉริยะกวีได้ หรือสามารถแผ่พลังเป็นกระแสไฟฟ้าออกไปยังบุคคลอื่นหรือวัตถุอื่นได้

    ชนิดที่แปด บุญญฤทธิ์ คือฤทธิ์ของผู้มีบุญ เป็นผลจากอานิสงส์แห่งการสะสมบุญบารมีมาแต่ก่อน ดังตัวอย่างเช่นบางคนคิดอ่านทำอะไรก็สำเร็จได้ทั้งนั้น อุดมมั่งคั่งไปด้วยทรัพย์สิ่งศฤงคาร มากไปด้วยสติปัญญาและอำนาจวาสนา เกิดมาแต่อายุยังน้อยๆ ก็กลายเป็นหัวหน้าหรือเจ้านายคนนับหมื่นนับแสนนับล้านได้

    ชนิดที่เก้า วิชชามัยฤทธิ์ คือฤทธิ์ที่เกิดจากการศึกษาฝึกฝนวิชาบางชนิด เช่น เวทมนต์คาถา ดังตัวอย่างเช่นร่ายมนต์แล้วสามารถเหาะไปในอากาศได้ เสกเป่าแล้วทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นสิ่งอื่น หรือปลุกเสกแล้วทำให้สิ่งของมีความศักดิ์สิทธิ์ มีความขลัง หรือปลุกเสกด้วยพิธีกรรมแล้วมีผลในการดลจิตใจผู้อื่นให้เป็นไปดังปรารถนา

    ชนิดที่สิบ อิชฌนัฏเฐนฤทธิ์ หรือบ้างก็เรียกว่าสัมมัปปโยคปัจจัยอิชฌนฤทธิ์ เป็นฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกรณียกิจอย่างใดอย่างหนึ่งจนมีความเชี่ยวชาญช่ำชอง ตั้งแต่ความเชี่ยวชาญช่ำชองในเรื่องปกติธรรมดา เช่น การยกน้ำหนัก การว่ายน้ำ เป็นลำดับสูงขึ้นไป จนกระทั่งการออกจากกาม การละอกุศลธรรมอย่างแคล่วคล่องว่องไว อาจกล่าวให้เข้าใจได้โดยง่ายว่าเป็นฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากความชำนาญ เชี่ยวชาญช่ำชองในการใดการหนึ่ง จนเป็นอำนาจหรือมีขีดความสามารถเหนือกว่าปกติธรรมดา ตั้งแต่ระดับโลกียะขึ้นไปจนถึงระดับโลกุตระ

    ในบรรดาฤทธิ์สิบชนิดดังกล่าวนี้ บางชนิดเป็นฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากญาณ จากฌาน จากความเชี่ยวชาญ จากการศึกษาร่ำเรียนซึ่งเป็นฤทธิ์อันเป็นผลธรรมดาธรรมชาติโดยไม่ต้องมีวิธีการกระทำอย่างไรอีก ก็บังเกิดและมีฤทธิ์เช่นนั้นแล้ว แต่ฤทธิ์บางชนิดยังต้องมีกรรมวิธีในการกระทำฤทธิ์จึงจะเกิดเป็นฤทธิ์ หรืออิทธิปาฏิหาริย์ดังที่มุ่งหมายจะพรรณนาได้

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5"></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> ฤทธิ์ประเภทที่ต้องมีกรรมวิธีในการกระทำจึงจะสำแดงออกเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ได้คืออธิษฐานฤทธิ์ วิกุพพนาฤทธิ์ มโนมยิทธิฤทธิ์ รวมสามชนิด ส่วนอีกเจ็ดชนิดคือญาณวิปผาราฤทธิ์ สมาธิวิปผาราฤทธิ์ อริยฤทธิ์ กัมมวิปากชาฤทธิ์ บุญญฤทธิ์ วิชชามัยฤทธิ์ และอิชฌนัฏเฐนฤทธิ์ รวมเจ็ดชนิด เป็นฤทธิ์ประเภทที่เป็นผลและเกิดขึ้น มีขึ้น ปรากฏขึ้นในลักษณะหรือฐานะที่เป็นผลโดยไม่ต้องมีกรรมวิธีกระทำฤทธิ์ใด ๆ

    ในภาคที่สามแห่งมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนี้จึงไม่มีข้อที่ต้องพรรณนาเกี่ยวกับฤทธิ์เจ็ดชนิดที่ไม่จำต้องมีวิธีการกระทำฤทธิ์ แต่จักพรรณนาเฉพาะฤทธิ์สามชนิดที่จำต้องมีวิธีการกระทำฤทธิ์ นั่นคืออธิษฐานฤทธิ์ วิกุพพนาฤทธิ์ และมโน มยิทธิฤทธิ์

    และเพื่อให้เกิดความสะดวก ความเข้าใจในการใช้ถ้อยคำภาษา จะขอเรียกอธิษฐานฤทธิ์ วิกุพพนาฤทธิ์ และมโนมยิทธิฤทธิ์โดยถ้อยคำเดียวกันว่าอิทธิปาฏิหาริย์

    สิ่งที่เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นและกระทำได้ในภาวะที่จิตถึงซึ่งทิพย์ภาวะหรือทิพยภูมิแล้วเป็นต้นไป ในภาวะเช่นนั้นพระตถาคตเจ้าตรัสว่าการอยู่ในภาวะเช่นนั้นก็คือการอยู่ในทิพยวิหาร ไม่ว่าจะยืน จะนั่ง จะเดิน จะกินหรือจะนอนในที่เหล่านั้นก็เป็นทิพย์ไปหมด อำนาจหรือฤทธิ์ของผู้ที่ถึงภาวะเช่นนั้นจึงเป็นอำนาจทิพย์ เหนือความสามารถปกติของมนุษย์

    จึงอาจเรียกอิทธิปาฏิหาริย์ได้อีกในความหมายหนึ่งว่าทิพยอำนาจ คืออำนาจที่เป็นทิพย์ เกิดขึ้นและใช้ในทิพยภูมิ โดยทิพยกาย ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (เส็ง) รักที่จะใช้ถ้อยคำในเรื่องนี้ว่าทิพยอำนาจ แต่ในที่นี้จะขอใช้คำว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นถ้อยคำภาษาที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจและรู้ได้โดยง่าย แต่หากท่านผู้ใดรักที่จะใช้ถ้อยคำว่าทิพยอำนาจก็ย่อมทำได้เพราะเป็นความหมายอย่างเดียวกันและเป็นถ้อยคำที่ไพเราะเพราะพริ้งส่อนัยความหมายไปในทางบริสุทธิ์มากกว่าถ้อยคำว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งหากได้ยินคราวใดใจก็มักโน้มน้าวไปนึกถึงหนังอินเดีย

    ลักษณะของการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์มีอยู่ทั้งสิ้น 20 ลักษณะ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ที่กระทำโดยอิทธิวิธี 16 ลักษณะ โดยมโนมยิทธิ 1 ลักษณะ โดยเจโตปริยญาณ 1 ลักษณะ ทิพยโสต 1 ลักษณะ และทิพยจักษุอีก 1 ลักษณะ ทั้งนี้โดยไม่นับบุพเพนิวาสานุสติญาณคือญาณหยั่งรู้อดีตชาติ จุตูปปาตญาณคือญาณหยั่งรู้การจุติของสัตว์ทั้งหลาย และอาสวักขยญาณคือญาณแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์สิ้นเชิง ตัดกระแสโลก ขาดจากกระแสโลกสิ้นเชิง

    การกระทำอิทธิปาฏิหาริย์โดยอธิษฐานฤทธิ์ 16 วิธีนั้นได้แก่

    วิธีที่หนึ่ง ได้แก่การทำให้คนเดียวกลายเป็นหลายคน ไม่ว่า 2 คน 3 คน 100 คน หรือ 100,000 คน หรือนับไม่ถ้วน ดังตัวอย่างของพระจูฬปันถกได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ให้บังเกิดตัวท่านพร้อมกันเต็มไปทั้งวิหาร จนผู้มาอาราธนาไม่รู้ว่าพระจูฬปันณถกองค์จริงคือองค์ไหน

    วิธีที่สอง ได้แก่การทำให้หลายคนกลายเป็นคนเดียว ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้สภาพซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์วิธีที่หนึ่งคืนกลับสภาพเดิม แต่ก็มีอีกอย่างหนึ่งคือทำให้คนจำนวนมากเหลือเพียงคนเดียว เช่น ทำให้ทหารทั้งกองทัพถูกมองเห็นว่าเหลือเพียงคนเดียว ซึ่งออกจะก้ำกึ่งกับวิธีการกำบัง แต่ก็อาจจัดอยู่ในวิธีที่สองนี้ในลักษณะที่ว่านี้

    วิธีที่สาม ได้แก่การทำให้มองเห็นในสิ่งที่มองไม่เห็นตามปกติ ดังเช่นการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ทำให้มองเห็นพรหมโลก ยมโลก รวมทั้งโลกธาตุอื่น ๆ ดังตัวอย่างเมื่อครั้งที่พระตถาคตเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์ที่ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์เปิดโลก ทำให้มนุษย์มองเห็นเทวดาได้ เป็นต้น

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5"></td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> วิธีที่สี่ ได้แก่การกำบังตัวหรือการหายตัวในหลายลักษณะ เช่น ทำให้มีสิ่งปิดบังแล้วมองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นภูเขา กำแพง หรือสิ่งปิดบังอย่างอื่น หรือกำบังจากความสามารถในการมองเห็นด้วยตาก็ได้ ดังตัวอย่างเมื่อครั้งที่พระตถาคตเจ้าทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์กำบังไม่ให้พระยัสสะเถระกับบิดามองเห็นกันได้ทั้งๆ ที่อยู่ในระยะที่มองเห็นกันได้

    วิธีที่ห้า ได้แก่การทำให้เกิดเป็นความว่างหรือที่ว่างขึ้นในสิ่งต่าง ๆ เช่นการทำให้เกิดเป็นช่องว่างหรือความว่างขึ้นในภูเขา กำแพง ฝาผนัง รั้ว หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ ทำให้สามารถเดินหรือผ่านไปได้โดยไม่ติดขัด ซึ่งเรียกโดยอาการว่าล่องหนก็ได้

    วิธีที่หก ได้แก่การดำดิน คือการดำแล้วแหวกว่ายเคลื่อนไหวเดินไปในแผ่นดิน หรือภูเขาได้โดยไม่ติดขัดเหมือนกับว่าว่ายอยู่ในน้ำหรือเดินอยู่ในน้ำ ดังตัวอย่างพงศาวดารเรื่องขอมดำดิน เป็นต้น

    วิธีที่เจ็ด ได้แก่การเดินบนน้ำ คือการเดินไปบนผิวน้ำหรือเดินลงไปในระดับที่น้ำเสมอหลังฝ่าเท้า หรือกลางหน้าแข้ง หรือแค่หัวเข่า เหมือนกับเดินไปบนแผ่นดิน

    วิธีที่แปด ได้แก่การเหาะไปในอากาศเหมือนกับนกบินไปในอากาศ ดังตัวอย่างเช่นพระโมคคัลลานะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ตามคำท้าของเศรษฐี เหาะขึ้นไปหยิบบาตรไม้จันทน์ซึ่งวางไว้ในที่มีความสูงถึงเจ็ดชั่วต้นตาล

    วิธีที่เก้า ได้แก่การทำให้สิ่งที่อยู่ไกลมาปรากฏในที่ใกล้ แม้กระทั่งพระอาทิตย์และพระจันทร์อันมีฤทธิ์ก็ทำให้เข้ามาอยู่ใกล้และสามารถลูบคลำได้ด้วยกาย หรือการย่นย่อระยะทางจากไกลให้เป็นใกล้ ดังตัวอย่างเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาเสด็จไปบิณฑบาตรถึงอุตรกุรุทวีป เป็นต้น วิธีนี้อาจเรียกว่าเป็นวิธีย่นย่อระยะทางก็ได้

    วิธีที่สิบ ได้แก่การทำให้สิ่งที่อยู่ใกล้ปรากฏไปอยู่ในที่ไกล นั่นคือการขยายระยะจากใกล้เป็นไกล ดังตัวอย่างเมื่อครั้งที่องคุลิมาลไล่ตามพระตถาคตเจ้าแต่ไล่เท่าใดก็ไม่ทัน ทั้ง ๆ ที่พระตถาคตเจ้าเสด็จพุทธดำเนินตามปกติ นั่นเกิดจากทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ขยายระยะทางนั่นเอง

    ***************
    หมายเหตุ
    คาดว่าเรื่องมหัศจรรย์แห่งโลกภายในจะจบลงภายในตอนที่ 80 คือในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ และเมื่อมหัศจรรย์แห่งโลกภายในจบลงแล้ว จะได้นำเสนอเรื่อง “ศิษย์สมเด็จ” ซึ่งเขียนโดยเรืองวิทยาคม เจ้าของนามปากกาผู้เขียนเรื่องสามก๊กฉบับคนขายชาตินั่นเอง จึงขอบอกกล่าวมายังบรรดาแฟน ๆ ทั้งหลาย ของเรืองวิทยาคม โปรดติดตาม “ศิษย์สมเด็จ” ต่อไป
    เรื่อง “ศิษย์สมเด็จ” เป็นนิยายกึ่งชีวประวัติที่ดำเนินและแฝงไว้ด้วยธรรมะตลอดทั้งเรื่อง จึงเป็นที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตปัจจุบันของทุกคน และหวังว่าจะได้รับความสนใจเหมือนดังเคย
    .

    กองบรรณาธิการ</td></tr></tbody></table>
     
  6. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (73) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">10 พฤศจิกายน 2548 20:14 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5"></td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> วิธีที่สิบเอ็ด ได้แก่การทำให้ของมากกลายเป็นของน้อย เช่น การทำให้ข้าวสารซึ่งเต็มยุ้งฉางเหลืออยู่เพียงถังเดียวหรือไม่กี่เมล็ด หรือการทำให้ปริมาณน้ำที่มากเหลือเป็นปริมาณน้ำที่น้อย โดยอาจสรุปได้ว่าเป็นอิทธิฤทธิ์จำพวกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปริมาณมากสู่ปริมาณน้อย

    วิธีที่สิบสอง ได้แก่การทำให้ของน้อยกลายเป็นของมาก เช่น การทำให้ข้าวหม้อหนึ่งเพียงพอต่อคนกินนับพัน ๆ คน โดยตักไม่รู้จักหมดสิ้น หรือการทำให้น้ำในเหยือกหนึ่งเพียงพอต่อคนกินนับร้อยนับพันคนโดยไม่รู้จักหมดสิ้น โดยอาจสรุปได้ว่าเป็นอิทธิฤทธิ์จำพวกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปริมาณน้อยสู่ปริมาณมาก

    วิธีที่สิบสาม ได้แก่การเคลื่อนย้ายตนเองหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในชั่วแวบความคิดเดียว ซึ่งถ้าหากกล่าวในแง่ของวิทยาศาสตร์ปัจจุบันคือการเคลื่อนย้ายมวลสาร เป็นอิทธิฤทธิ์ที่กระทำได้ยากเพราะต้องอาศัยกำลังจิตที่แรงกล้า

    วิธีนี้เคยปรากฏตัวอย่างเมื่อครั้งที่พระตถาคตเจ้าเสด็จไปโปรดท้าวพกาพรหม โดยเสด็จจากภควันวิหารแคว้นอุกกัฏฐะ เสด็จไปโปรดท้าวพกาพรหมถึงพรหมโลกในชั่วแวบเดียว การเคลื่อนย้ายชนิดนี้ร่างกายเดิมจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังที่ที่กำหนดโดยคำอธิษฐาน

    วิธีที่สิบสี่ ได้แก่การเคลื่อนย้ายทิพยกายออกจากร่างเดิมไปปรากฏหรือไปกระทำการใดการหนึ่งในที่อื่น ๆ ทั้งใกล้และไกล โดยร่างกายเดิมยังอยู่ในที่เดิมในท่วงท่าอริยาบถเดิม แต่นามกายซึ่งได้แปรเปลี่ยนเป็นทิพยกายถอดเคลื่อนออกไปปรากฏอยู่ ณ ที่ต้องการ โดยมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างเดียวกันกับร่างกายเดิม และแสดงอาการกิริยาอริยาบถต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับร่างกายปกติ

    อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้พระตถาคตเจ้าทรงใช้บ่อยครั้งเพื่อประโยชน์ในการโปรดพระสาวกหรือเวไนยสัตว์ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางหรือเคลื่อนย้ายร่างกายเดิม

    ในช่วงหลังเกิดเหตุการณ์วาตภัยแหลมตะลุมพุกในพื้นที่ภาคใต้ราว ๆ สิบปี ก็เคยปรากฏพระมหาเถระในจังหวัดสงขลารูปหนึ่งกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้โดยนั่งเข้าฌานอยู่ในกุฏิแต่ถอดกายทิพย์ออกไปช่วยเหลือชาวประมงที่เป็นลูกศิษย์ ซึ่งถูกพายุพัดเรือล่มลอยคออยู่ในทะเลถึง 7 วันให้รอดตายได้อย่างปาฏิหาริย์

    พระมหาเถระรูปนี้ปิดห้องเข้าฌานถอดกายทิพย์ออกไปเป็นเวลาถึง 7 วัน ในขณะที่ลูกศิษย์ซึ่งลอยคออยู่ในทะเลนั้นได้ตั้งจิตขออัญเชิญพระมหาเถระผู้เป็นอาจารย์ให้มาช่วย ในยามตื่นได้เกาะไม้กระดานเรือพอลอยตัวได้ แต่ในยามหลับด้วยความอิดโรยเรี่ยวแรงก็รู้สึกว่าพระอาจารย์ได้เหาะลอยมาในอากาศแล้วเอามือมาช้อนศีรษะไว้ไม่ให้จมน้ำเป็นเช่นนี้ถึง 6 คืน

    แม้ยามที่ปลาฉลามร้ายกรายเข้ามาใกล้ก็ปรากฏเป็นน้ำวนโดยรอบตัว โดยไม่ปรากฏสาเหตุ แต่ทำให้ฉลามร้ายว่ายหลีกหนีไปเป็นที่อัศจรรย์

    วิธีที่สิบห้า ได้แก่การสร้างม่านควันกำบังตนทำให้มองไม่เห็น เป็นอิทธิฤทธิ์ประเภทที่พระตถาคตเจ้าเคยใช้ในการทรมานพวกนาคเพื่อให้ยอมรับนับถือ และเป็นอิทธิฤทธิ์ที่พระตถาคตเจ้าเคยตรัสสั่งให้พระสาวกใช้ในการทรมานพวกนาคด้วย

    อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้พระมหาเถระในภาคอีสานบางรูปและพระมหาเถระในภาคใต้บางรูปในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้เคยกระทำให้ปรากฏมาแล้ว แม้กระทั่งโจรร้ายคนหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์ของพระมหาเถระรูปหนึ่งก็มีขีดความสามารถที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ได้ และเคยเป็นเรื่องฮือฮาเล่าขานในพื้นที่ภาคใต้มาแล้ว

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">พระครูบรรหารศาสนกิจหรือพ่อท่านพลับ ถ่ายในขณะอายุ 97 พรรษา 77</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5"></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> วิธีที่สิบหก ได้แก่การทำให้เกิดเปลวเพลิงลุกโชติช่วงขึ้น ไม่ว่าเป็นการเนรมิตให้บังเกิดเพลิงลุกโชติช่วงล้อมรอบตัวเองสกัดกั้นผู้อื่น หรือเนรมิตให้บังเกิดเพลิงลุกโชติช่วงท่วมตัวผู้อื่นหรือสิ่งอื่น

    อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้พระตถาคตเจ้าทรงใช้ในการทรมานพวกนาคเมื่อครั้งที่เสด็จไปโปรดชฎิลสามพี่น้องหลายครั้งหลายหน และเคยทรงใช้ให้พระโมคคัลลานะกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ในการทรมานนันโทปะนันทนาคราชด้วย

    ทั้งสิบหกวิธีของการกระทำอิทธิฤทธิ์ดังกล่าวนั้นเป็นวิธีที่ต้องกระทำโดยอธิษฐานฤทธิ์ คือใช้การอธิษฐานเป็นตัวกำหนดเป้าหมายและผลของการกระทำอิทธิฤทธิ์

    เพื่อให้วิธีการกระทำอิทธิฤทธิ์ต่อเนื่องไปจึงขอพรรณนาเรื่องมโนมยิทธิ เจโตปริยญาณ ทิพยโสต และทิพยจักษุ เป็นเรื่องของอิทธิฤทธิ์อีก 4 วิธี ต่อไป

    วิธีที่สิบเจ็ด การกระทำอิทธิฤทธิ์โดยวิธีมโนมยิทธิหรือมโนมัยฤทธิ์ มี 1 วิธีคือการแปลงร่างจากร่างกายเดิมเป็นร่างกายอื่นหรือสิ่งของอื่น ๆ ตามแต่ปรารถนา เช่น การแปลงร่างจากร่างกายเดิมเป็นเพศอื่น หรือวัยอื่น หรือในรูปร่างหน้าตาอื่น ๆ แม้กระทั่งแปลงร่างเป็นสัตว์หรือวัตถุอย่างอื่น

    ความจริงมโนมยิทธินี้ในทางปริยัติจะจัดอยู่ในประเภทวิชชาหนึ่งในวิชชา 8 ประการ แต่เพราะเหตุที่เป็นวิชชาที่ทำให้เกิดความมหัศจรรย์ เกิดผลสำเร็จที่มหัศจรรย์ในที่นี้จึงจัดเป็นอิทธิฤทธิ์อีกชนิดหนึ่ง

    อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ทางฝ่ายนิกายมหายานนิยมชมชอบยิ่งนัก วรรณคดีเรื่องไซอิ๋วที่เฮ่งเจียเล่าเรียนวิชาแปลงร่างถึง 72 ชนิดนั้นแท้จริงแล้วมีรากฐานมาจากอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ จึงทำให้วรรณคดีเรื่องไซอิ๋วมีความมหัศจรรย์และสนุกสนาน แต่โดยรวมก็ยังคงอยู่ในกรอบของการกระทำอิทธิฤทธิ์เพื่อประโยชน์ในการประกาศพระศาสนาเช่นเดียวกับทางฝ่ายเถรวาท

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ยังหมายความรวมถึงการเนรมิตร่างกายเหมือนร่างกายเดิมขึ้นมาอีกร่างกายหนึ่ง ซึ่งจะคล้ายคลึงกับอธิษฐานฤทธิ์วิธีที่สิบสี่ที่ถอดทิพยกายออกจากกายเดิมไปปรากฏในที่ที่ต้องการ และกระทำการต่าง ๆ ได้ ความแตกต่างจะอยู่ตรงที่การกระทำอิทธิฤทธิ์โดยวิธีมโนมยิทธินี้เป็นการเนรมิตร่างกายเพิ่มขึ้นมาอีกร่างหนึ่ง ในขณะที่ร่างกายเดิมยังอยู่และทิพยกายก็ยังอยู่ เป็นแต่ร่างกายใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกเนรมิตขึ้นใหม่ และถูกส่งออกไป ณ ที่ใดที่หนึ่ง

    ความแตกต่างอีกประการหนึ่งก็คืออิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ร่างกายที่เนรมิตขึ้นนั้นจะกระทำการหรือแสดงออกในอริยาบถต่าง ๆ เหมือนกับร่างกายเดิมที่ตั้งอยู่ ในขณะที่อธิษฐานฤทธิ์วิธีที่สิบสี่คือการถอดทิพยกายนั้น ทิพยกายที่ถอดออกไปปรากฏในรูปร่างที่สมบูรณ์สามารถกระทำการและมีอริยาบถต่างหากออกไป ในขณะที่ร่างกายเดิมยังอยู่ในลักษณะเข้าฌาน

    เพราะเหตุที่ร่างกายใหม่ที่ถูกเนรมิตขึ้นนี้จะมีอริยาบถท่วงท่าเช่นเดียวกันกับร่างกายเดิม ดังนั้นเมื่อจะให้ร่างกายใหม่กระทำการหรือพูดจาประการใด ร่างกายเดิมก็ต้องกระทำการหรือพูดจาอย่างนั้น

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5"></td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">"พระครูบรรหารศาสนกิจ หรือพ่อท่านพลับ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2505 ในขณะที่มีอายุ 75 พรรษา 55" เป็นพระมหาเถระที่ทรงอิทธิปาฏิหาริย์มาก มีศิษยานุศิษย์มาก แต่ไม่เคยปรากฏภาพถ่ายในสื่อมวลชนใด ๆ มาก่อน จึงนำมาลงไว้</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> พระตถาคตเจ้าทรงเคยกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ในการเนรมิตพระวรกายเหมือนกับพระองค์เองขึ้นมาอีกรูปหนึ่ง แล้วเสด็จไปโปรดพระโมคคัลลานะที่บ้านกัลวาฬมุตตะคาม ครั้งนั้นพระโมคคัลลานะถึงกับต้องปูลาดอาสนะถวาย เมื่อรูปเนรมิตเสด็จไปถึงที่พระโมคคัลลานะแล้วพระตถาคตเจ้าก็ตรัสวิธีแก้ถีนมิทธะหรือความง่วงซึมจากที่ประทับเดิมผ่านพระวรกายที่เนรมิตขึ้น จนกระทั่งพระโมคคัลลานะสามารถแก้ปัญหานี้ได้

    มโนมยิทธิเป็นอิทธิฤทธิ์ที่เน้นหนักไปในเรื่องการแปลงร่าง ซึ่งเป็นนัยและเนื้อหาสำคัญของอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ แต่ส่วนที่คาบเกี่ยวหรือคล้ายคลึงกับอธิษฐานฤทธิ์วิธีที่สิบสี่คือการถอดทิพยกายนั้น แม้อาจสับสนหรือคาบเกี่ยวในทางปริยัติบ้าง แต่ในการกระทำอิทธิฤทธิ์ให้บังเกิดสัมฤทธิผลตามปรารถนาจะไม่มีปัญหาเรื่องการตีความว่าเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ประเภทใดแต่อย่างใดเลย

    วิธีที่สิบแปด เจโตปริยญาณซึ่งเป็นหนึ่งในวิชชา 8 ประการ ซึ่งในที่นี้ขอจัดเป็นอิทธิฤทธิ์ชนิดหนึ่ง คือเป็นอิทธิฤทธิ์ประเภทที่ล่วงรู้ใจของผู้อื่นได้เป็นที่มหัศจรรย์

    อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้เป็นญาณที่หยั่งรู้ใจของผู้อื่นหรือหยั่งรู้ใจของผู้อื่นได้ด้วยญาณ จึงมีชื่อว่าเจโตปริยญาณ

    เป็นอิทธิฤทธิ์ที่สามารถล่วงรู้ใจผู้อื่นได้ทั้งที่อยู่เฉพาะหน้าและทั้งที่อยู่ในที่ห่างไกล การล่วงรู้จิตใจด้วยอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้จะล่วงรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายทั้งปวงของผู้อื่นว่ากำลังครุ่นคิดอยู่ในเรื่องอะไร คิดจะทำอะไร คิดอยากได้อะไร คิดจะเป็นอะไร แม้กระทั่งกังวลอยู่ด้วยปัญหาใด ๆ รวมทั้งล่วงรู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่ครอบงำจิตอยู่ในแต่ละขณะด้วย

    นับเป็นอิทธิฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อล่วงรู้ความคิดจิตใจอารมณ์และปัญหาของผู้อื่นแล้วก็สามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหาได้โดยถูกต้องตรงกับความรู้สึกนึกคิดนั้นในลักษณะที่ทำให้เกิดความมหัศจรรย์แก่ผู้อื่น ทำให้เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาในการน้อมรับเอาพระธรรมอันประเสริฐ

    พระตถาคตเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้เกือบจะมากที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าทรงใช้อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้เป็นประจำทุกวัน เพราะพระพุทธจริยวัตรในแต่ละวันนั้นปรากฏว่าทุกวันเวลาใกล้รุ่งพระตถาคตเจ้าจะเข้าฌานชนิดนี้เพื่อตรวจส่องดูเวไนยสัตว์ทั้งหลายว่าผู้ใดมีวาระจิตอันสมควรที่จะทรงเสด็จไปโปรด และจะทรงทราบว่าเขาผู้นั้นมีความคิดจิตใจอารมณ์และปัญหาที่ติดอยู่ในใจประการใด

    เมื่อทรงทราบแล้วก็จะเสด็จไปโปรดและตรัสโปรดในข้อธรรมหรือข้อความที่ตรงกับความคิดจิตใจหรือตรงกับปัญหาที่ค้างคาอยู่ในใจของผู้นั้น ทำให้เกิดความมหัศจรรย์และศรัทธา เป็นผลให้การโปรดเวไนยสัตว์ของพระองค์ได้ผลอย่างรวดเร็ว

    มีตัวอย่างมากหลายในพระไตรปิฎกว่าเมื่อเสด็จไปถึงก็จะตรัสสอนตรงเป้าเข้าจุดกับจิตใจของผู้ที่จะทรงโปรดเสมอ ทรงสอนในเรื่องที่ค้างคาหรือเป็นปัญหาอยู่ในหัวใจของเขาอย่างถูกตรงเสมอ เพียงเท่านี้ก็เกิดความศรัทธาและเกิดความมหัศจรรย์ ครั้นทรงแสดงธรรมอันกระจ่างแจ้งแล้วเวไนยสัตว์นั้นก็จะเข้าใจพระธรรมอันประเสริฐได้โดยง่าย เป็นผลให้การตรัสสอนของพระองค์ก่อให้เกิดพระอริยบุคคลในเวลาอันรวบรัดรวดเร็วเป็นจำนวนมาก

    อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้พระสาวกก็เคยใช้ให้ประจักษ์มากหลายกรณี และพระมหาเถระในยุคปัจจุบันก็มีอยู่หลายรูปที่สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์หรือทรงวิชชานี้ และนี่ก็คือพยานหลักฐานที่สำคัญประการหนึ่งแห่งการตรัสรู้ของพระบรมศาสดา

    วิธีที่สิบเก้า ทิพยโสต ความจริงก็เป็นหนึ่งในวิชชา 8 ประการเหมือนกัน แต่เพราะมีความมหัศจรรย์เป็นไปเพื่อความสำเร็จอย่างมหัศจรรย์จึงจัดเป็นอิทธิฤทธิ์ด้วย

    ทิพยโสตคืออิทธิฤทธิ์จำพวกที่ทำให้หูมีความเป็นทิพย์ สามารถได้ยินเสียงที่ไกลออกไปและเสียงอื่นที่ล่วงพ้นวิสัยหูมนุษย์ปกติจะพึงได้ยิน

    เมื่อนามกายแปรเปลี่ยนเป็นทิพยกายหรือกายทิพย์แล้ว กายทิพย์นั้นก็จะมีอินทรีย์และพละ รวมทั้งอายตนะเช่นเดียวกันกับร่างกายนี้ คือมีทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่มีความสามารถในการรับรู้เหนือกว่าวิสัยของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจปกติ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ไกลออกไป หรือที่เป็นทิพย์ หรือที่มีความละเอียดประณีตล่วงพ้นวิสัยที่มนุษย์ธรรมดาจะสัมผัสได้

    ทิพยโสตจึงนอกจากสามารถได้ยินเสียงที่พึงได้ยินตามปกติในระยะที่ไกลออกไปไม่มีที่สุดแล้ว ยังสามารถได้ยินเสียงในโทนเสียงที่ต่ำที่มนุษย์ปกติไม่ได้ยิน และสามารถได้ยินเสียงในโทนเสียงที่สูงที่มนุษย์ปกติไม่ได้ยิน จึงเป็นอิทธิฤทธิ์ที่สามารถได้ยินเสียงเปรต ภูตผี เทวดา พรหม และมนุษย์ด้วยกันได้

    วิธีที่ยี่สิบ ทิพยจักษุหรือตาทิพย์ เป็นหนึ่งใน 8 วิชชาในพระพุทธศาสนา แต่เพราะมีความมหัศจรรย์ยังให้เกิดความสำเร็จแบบมหัศจรรย์ในการเห็นล่วงพ้นจักษุมนุษย์ธรรมดา จึงจัดเป็นอิทธิฤทธิ์อีกชนิดหนึ่ง

    ทิพยจักษุคืออิทธิฤทธิ์ที่สามารถมองเห็นในระยะไกลออกไปไม่มีที่สิ้นสุดล่วงพ้นสายตามนุษย์ รวมทั้งสามารถมองเห็นสิ่งที่ละเอียดประณีตที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยสายตามนุษย์ธรรมดา จึงเป็นอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้สามารถเห็นเปรต ภูตผีปีศาจ เทวดา พรหม รวมทั้งเหตุการณ์ในอดีตหรือในอนาคตที่เกิดขึ้นได้

    เป็นการเห็นด้วยทิพยกายโดยอาศัยทิพยจักษุคือจักขุธาตุที่สามารถรับสัมผัสเป็นรูปธาตุทั้งหลายทั้งปวงได้.
    </td></tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (74) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">17 พฤศจิกายน 2548 19:50 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> การกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้ง 20 วิธีนั้น จะกระทำได้ผลสำเร็จมากและน้อยย่อมต้องอาศัยเหตุปัจจัย 2 ประการ คือ กำลังของฤทธิ์มากและน้อยประการหนึ่ง และกรรมวิธีในการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ถูกต้องสอดคล้องกับอิทธิฤทธิ์แต่ละวิธีอีกประการหนึ่ง เมื่อครบทั้ง 2 ประการนี้แล้วอิทธิฤทธิ์นั้นก็จะปรากฏขึ้นดังปรารถนา

    กำลังของฤทธิ์เป็นอย่างไร และกรรมวิธีในการกระทำอิทธิฤทธิ์เป็นอย่างไร จะได้พรรณนาต่อไปโดยลำดับ

    กำลังของฤทธิ์ประกอบด้วยองค์ 4 ประการ คือ กำลังอิทธิบาทหรือรากฐานแห่งฤทธิ์ประการหนึ่ง กำลังของจิตประการหนึ่ง กำลังของฌานประการหนึ่ง และกำลังอธิษฐานอีกประการหนึ่ง ซึ่งจะพรรณนาแต่ละประการไปโดยลำดับ

    ประการแรก อิทธิบาทแปลว่ารากฐานของอิทธิปาฏิหาริย์หรือรากฐานของอิทธิฤทธิ์ เป็นองค์ธรรมสำคัญเพื่อความสำเร็จทั้งปวง พระตถาคตเจ้าทรงสรรเสริญอิทธิบาทไว้เป็นอเนกอนันต์ประการ ในฐานะที่เป็นรากฐาน เป็นบาทฐานแห่งความสำเร็จทั้งปวง

    คือเป็นรากฐานหรือบาทฐานของความสำเร็จในการทั้งปวง ทั้งในระดับโลกิยะและโลกุตระ การฝึกฝนอบรมจิตตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุดแห่งทุกข์จักสำเร็จได้จริงแท้ก็ต้องอาศัยอิทธิบาท และประกอบขึ้นจากอิทธิบาท การกระทำการงานทั้งปวงในระดับโลกียะไม่ว่าเรื่องเล็กน้อยใหญ่ประการใด หากประกอบด้วยอิทธิบาทแล้วการงานทั้งปวงนั้นก็จักสำเร็จดังประสงค์

    อิทธิบาทประกอบด้วยองค์ 4 ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา

    ฉันทะ คือ ความพึงใจ ความพอใจ ความตั้งใจ ที่จะทำการใดให้สำเร็จจงได้ ไม่มีวอกแวก ผันแปรเปลี่ยนแปลง มีความแน่วแน่ตรงดิ่งถึงที่สุด เป็นองค์ธรรมที่ทำให้การประกอบการงานทั้งปวงทั้งฝ่ายกาย ฝ่ายจิต ทั้งระดับโลกิยะและโลกุตระดำเนินไปได้อย่างสะดวกสบาย และมีความโปร่งโล่งเบิกบานเป็นสุข

    วิริยะ คือ ความเพียร ความมานะบากบั่น ไม่ย่อหย่อน ไม่ผัดผ่อน มุ่งมั่นบรรลุถึงความปรารถนาให้สำเร็จประการเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะทุกข์ยากลำบากลำเค็ญยากเข็ญและใช้เวลามากน้อยเท่าใด

    จิตตะ คือ ความใส่ใจหรือการเอาใจใส่ในการนั้น ๆ อย่างเต็มที่เต็มเปี่ยม จิตใจและการที่กระทำทั้งปวงนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แปลกแยกออกจากกัน การเป็นอย่างใดใจก็เป็นอย่างนั้น ใจเป็นอย่างใดการก็เป็นไปอย่างนั้น ความเป็นหนึ่งเดียวเช่นนี้การที่ทำกับใจก็ผนึกเป็นหนึ่งเดียวกัน รู้ถ่องแท้ทั่วถึงในการทั้งปวง ทั้งเหตุทั้งผลทั้งการเริ่มต้น การดำเนินไปจนถึงที่สุด รู้เบื้องต้น รู้ท่ามกลาง รู้ที่สุด จนสำเร็จในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด

    วิมังสา คือ ความใคร่ครวญทบทวนเหตุผล เป็นองค์ธรรมเพื่อการยกระดับความรู้ความชำนาญให้สูงขึ้นเป็นลำดับ ๆ ไป จนรู้และเข้าใจเหตุแห่งความล้มเหลวผิดพลาดทั้งปวง รู้และเข้าใจเหตุแห่งความสำเร็จทั้งปวง รู้และเข้าใจถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการที่ทำนั้นอย่างถ่องแท้ รู้เหตุ รู้ผล ของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปในการทั้งปวงที่ทำอยู่นั้น

    อิทธิบาทจึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่าอิทธิบาท 4 เมื่อบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วย่อมก่อเกิดเป็นองค์ธรรมที่เป็นเอกภาพ คือเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทั้งปวง มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    แม้กระทั่งเกี่ยวกับการขยายเวลาอายุขัยของคนก็ต้องอาศัยอิทธิบาท ดังที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “ดูกรอานนท์ ผู้หนึ่งผู้ใดเจริญอิทธิบาทสี่ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งไว้เนือง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดีโดยชอบแล้ว ผู้นั้นเมื่อปรารถนาก็พึงดำรงชีวิตได้ตลอดกัลป์หรือเกินกว่ากัลป์”

    เมื่อครั้งที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสป่วยหนักใกล้จะถึงกาลดับขันธ์นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนาท่านเจ้าคุณว่าอย่าเพิ่งดับขันธ์ ขอให้อยู่ช่วยจรรโลงพระศาสนาก่อน ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณพุทธทาสได้รับอาราธนาโดยมีเงื่อนไขว่าจะอยู่เพียงเท่าที่เหตุปัจจัยจะอำนวยให้อยู่ได้

    ในคืนวันนั้นท่านเจ้าคุณก็ได้เจริญอิทธิบาท 4 เป็นผลให้อาการป่วยหนักใกล้จะดับขันธ์นั้นสร่างหายอย่างรวดเร็ว และดำรงอายุสังขารต่อมาอีกหลายปี จนกระทั่งถึงวาระปลงอายุสังขารก่อนสิ้นปีที่รุ่งปีขึ้นก็ถึงกาลดับขันธ์ เป็นที่อัศจรรย์

    หรือเมื่อครั้งที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงประชวรมีพระอาการมาก ในวันที่ 14 สิงหาคม 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้เสด็จไปเยี่ยมและได้อาราธนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ว่าพระอาจารย์อย่าเพิ่งละสังขาร ขอให้อยู่ช่วยหม่อมฉันก่อน สมเด็จพระสังฆราชทรงพยักหน้ารับคำอาราธนา

    หลังจากนั้นก็ทรงเจริญอิทธิบาท 4 เป็นลำดับมา เป็นผลให้พระสุขภาพอนามัยของพระองค์ดีขึ้นแบบดีวันดีคืน จนสามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติอีกครั้งหนึ่ง เป็นที่อัศจรรย์

    นี่คือตัวอย่างในยุคใกล้ ๆ ที่ประจักษ์ชัดแก่มหาชนแล้วว่ากำลังแห่งอิทธิบาทหรืออิทธิบาท 4 นั้นมีผล มีอานิสงส์มาก สมดังที่พระบรมศาสดาได้ทรงตรัสสอนไว้ นับเป็นประจักษ์พยานหลักฐานที่ชัดเจนและโด่งดังมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 นี้

    กำลังอิทธิบาทหรือกำลังอันเป็นรากฐานแห่งอิทธิฤทธิ์มากและน้อยเพียงใดย่อมส่งผลให้กำลังของอิทธิฤทธิ์เป็นผลมากหรือน้อย อ่อนหรือเข้มตามไปด้วย อุปมาดั่งความแข็งแรงของร่างกายมากน้อยประการใด ย่อมมีผลต่อกำลังที่จะยกน้ำหนักของบุคคลนั้นมากและน้อยประการนั้น

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้งปวงจะต้องเจริญอิทธิบาท 4 ให้ครบถ้วน ให้บริสุทธิ์ ให้บริบูรณ์ก่อนเสมอไป เมื่อบริสุทธิ์ บริบูรณ์แล้วก็เพิ่มความเข้มข้น เพิ่มพลังของอิทธิบาทนั้นให้มากขึ้นเป็นลำดับ ๆ ไปจนเต็มที่ นี่คือการเจริญอิทธิบาทเพื่อความเข้มข้นเข้มแข็งแกร่งกล้าของอิทธิฤทธิ์

    ประการที่สอง กำลังจิตก็เช่นเดียวกับกำลังของกาย ร่างกายจะแข็งแรงแกร่งกล้าเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและการฝึกฝนทางกาย ร่างกายจะสามารถยกน้ำหนักได้ถึง 120-150 กิโลกรัม ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของร่างกาย และการฝึกฝนในการยกน้ำหนัก ยิ่งฝึกฝนมาก อบรมมาก พยายามมาก ก็มีกำลังมาก สามารถยกน้ำหนักได้มาก

    กำลังจิตขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิ เมื่อผ่านการฝึกฝนอบรมจิตโดยหนทางเจโตวิมุตติไปโดยลำดับแล้วกำลังสมาธิจะส่งผลให้กำลังของจิตที่บางเบาไร้พลังให้ก่อตัวมีพลังมากขึ้นโดยลำดับ ๆ

    กำลังของจิตในที่นี้ก็คือนามกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือร่างกายของจิตนั่นเอง ร่างกายของจิตมีความสมบูรณ์เต็มที่จนเทียบได้แต่เหนือกว่าร่างกายธรรมดาก็ในยามที่นามกายได้แปรเปลี่ยนเป็นทิพยกายเมื่อถึงทิพยภูมิคือจตุตถฌานแล้ว

    ความจริงกำลังของจิตหรือนามกายก็ได้เริ่มหรือค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นการฝึกฝนอบรมจิต นับแต่ย่างก้าวเข้าสู่แดนอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตแล้ว เป็นแต่ว่ายังไม่เข้มแข็งแกร่งกล้า แต่จะค่อย ๆ เข้มแข็งแกร่งกล้าขึ้นโดยลำดับเมื่อบรรลุถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และสมบูรณ์เต็มที่จนมีสภาพเหมือนกับร่างกายธรรมดา แต่มีภาวะที่เป็นทิพย์ ประณีต ผ่องใสไร้รูป แต่มีอินทรีย์และพละทำนองเดียวกับกายธรรมดา นั่นคือเมื่อถึงทิพยภูมิที่นามกายแปรเปลี่ยนเป็นทิพยกายแล้ว เมื่อนั้นกำลังของจิตก็จะสมบูรณ์เต็มที่ อีกนัยหนึ่งก็คือร่างกายของจิตมีความครบถ้วนสมบูรณ์ มีพละกำลังสมบูรณ์ที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์แล้ว

    บางท่านแม้การฝึกฝนอบรมจะอยู่ในขั้นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตหรือแม้แค่ปฐมฌาน แต่สามารถกระทำการที่เหนือกว่าความเป็นสามัญของมนุษย์ได้เป็นครั้งเป็นคราวบ้าง เล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง นั่นก็เป็นเพราะความเข้มแข็งแกร่งกล้าของนามกายที่ก่อตัวแล้วนั่นเอง นั่นคือแม้ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่แต่ก็พอทำการบางสิ่งบางอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้

    ทำนองเดียวกับเด็กเล็ก ๆ ก็สามารถหยิบฉวยสิ่งของเล็ก ๆ น้อยได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

    ประการที่สาม กำลังฌานหรือนัยหนึ่งก็คือขีดความสามารถในการออกกำลังของจิต ซึ่งแต่ละฌานก็มีขีดความสามารถไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน นั่นคือ

    เมื่อเข้าสู่ปฐมฌานกำลังของฌานจะประกอบด้วยวิตก วิจาร ปิติ และสุข หรือกล่าวโดยย่อว่ากำลังของฌานประกอบด้วยปิติและสุข แต่เป็นปิติและสุขที่เกิดแต่วิเวก กำลังของฌานที่ประกอบด้วยปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนี้เหมาะที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์บางประการ

    เมื่อเข้าสู่ทุติยฌานกำลังของฌานจะประกอบด้วยปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ กำลังของฌานนี้ก็ย่อมเหมาะที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์อีกบางประการ

    เมื่อเข้าสู่ตติยฌานกำลังของฌานจะประกอบด้วยสุข โดยมีอุเบกขาเจริญขึ้นมา กำลังของฌานชนิดนี้ย่อมเหมาะที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์อีกบางประการ

    เมื่อเข้าสู่จตุตถฌานกำลังของฌานจะประกอบด้วยอุเบกขา กำลังของฌานชนิดนี้สมบูรณ์เต็มเปี่ยมมีสมรรถนะที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้งปวงได้

    กำลังของฌานใดเหมาะสมที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์ประเภทใดจะได้พรรณนาต่อไปในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมวิธีในการกระทำอิทธิฤทธิ์

    แม้ว่าการกระทำอิทธิฤทธิ์จะก่อประสิทธิผลได้ครบถ้วนสมบูรณ์ต่อเมื่อบรรลุถึงจตุตถฌานก็จริง แต่ในการกระทำอิทธิฤทธิ์แต่ละวิธีนั้นก็ต้องกระทำโดยสอดคล้องกับกำลังของฌานของอิทธิฤทธิ์วิธีนั้น ๆ

    ดังนั้นหากการกระทำอิทธิฤทธิ์วิธีใดเหมาะสมกับกำลังฌานในขั้นจตุตถฌานก็กระทำอิทธิฤทธิ์ในจตุตถฌานนั้นได้โดยตรง แต่ถ้าหากอิทธิฤทธิ์วิธีใดเหมาะสมกับกำลังฌานในขั้นตติยฌานก็ต้องเข้าฌานถึงระดับจตุตถฌานก่อน แล้วค่อยถอยฌานลงมาสู่ตติยฌาน และใช้กำลังฌานในภูมิของตติยฌานนั้นกระทำอิทธิฤทธิ์

    เช่นเดียวกันหากการกระทำอิทธิฤทธิ์วิธีใดเหมาะสมกับกำลังฌานในขั้นทุติยฌานหรือปฐมฌานก็ต้องเข้าฌานถึงระดับจตุตถฌานก่อนเสมอ แล้วค่อยถอยฌานลงมาสู่ทุติยฌานหรือปฐมฌานแล้วแต่กรณีเพื่อกระทำอิทธิฤทธิ์ในภูมิของฌานนั้น ๆ ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์วิธีนั้น ๆ

    ได้กล่าวมาบ้างแล้วว่าการถอยฌานออกจากฌานขั้นสูงลงมาสู่ฌานขั้นต่ำนั้นเป็นการถอยออกมาด้วยกำลังของสมาธิ ไม่ใช่ถอยลงมาเพื่อให้อารมณ์อื่นติดตามมา หรือเกิดขึ้นใหม่

    แต่ทว่าในการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือเมื่อถอยฌานลงมาแล้วก็ต้องกำหนดอารมณ์ให้องค์แห่งฌานของฌานขั้นนั้นๆ ปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ปรากฏขึ้นบนรากฐานหรือพื้นฐานของกำลังอีกสองอย่าง คือกำลังของอิทธิบาทและกำลังของจิตหรือทิพยกาย นั่นคือเมื่อถอยมาถึงตติยฌานก็ต้องกำหนดอารมณ์สุขให้เป็นสุขกับภูมิอันเหมาะสมแก่การกระทำฤทธิ์ หรือเมื่อถอยมาถึงทุติยฌานก็ต้องกำหนดอารมณ์ปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิให้ปรากฏขึ้น เหมาะสมแก่การกระทำฤทธิ์ หรือเมื่อถอยมาถึงปฐมฌานก็ต้องกำหนดอารมณ์ปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกให้ปรากฏขึ้น เหมาะสมแก่การกระทำฤทธิ์นั้น ๆ

    การฟื้นอารมณ์เหล่านี้ขึ้นมาไม่ทำให้ภูมิธรรมหรือภูมิจิตที่ถึงซึ่งจตุตถฌานแล้วอ่อนด้อยถอยลง อุปมาดั่งบุคคลที่สามารถยกน้ำหนักถึงระดับ 120-150 กิโลกรัมได้แล้ว เมื่อจะยกน้ำหนักระดับ 80 กิโลกรัม หรือ 60 กิโลกรัม หรือ 40 กิโลกรัม ก็ย่อมกระทำได้โดยไม่ทำให้ขีดความสามารถในการยกน้ำหนักระดับ 120-150 กิโลกรัมสูญเสียไป ฉันใดก็ฉันนั้น

    โดยเหตุนี้การถอยฌานจากจตุตถฌานลงมาเพื่อการกระทำอิทธิฤทธิ์จึงเป็นคนละเรื่องหรือคนละกรรมวิธีกับการถอยฌานเพื่อออกจากฌานตามปกติ นั่นคือการถอยฌานออกจากฌานตามปกติจะเป็นการถอยโดยกำลังสมาธิ โดยไม่ต้องฟื้นอารมณ์ของฌานนั้น ๆ ขึ้นมาใหม่ แต่การถอยฌานออกจากฌานเพื่อกระทำอิทธิฤทธิ์จะต้องฟื้นอารมณ์ขึ้นมาใหม่ แต่ฟื้นขึ้นบนพื้นฐานของกำลังฌานในระดับจตุตถฌานที่ประกอบด้วยกำลังอิทธิบาท และกำลังทิพยกาย.
     
  8. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (75) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">24 พฤศจิกายน 2548 19:24 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> กำลังอิทธิบาท กำลังจิต และกำลังฌานเป็นกำลังสำคัญที่จะส่งผลให้การกระทำอิทธิฤทธิ์บังเกิดผลเต็มที่หรือมากน้อยประการใด แต่การจะบังเกิดเป็นฤทธิ์ชนิดใดในจำนวน 20 ชนิด ย่อมขึ้นอยู่กับกำลังในประการที่สี่คือกำลังอธิษฐาน

    เป็นธรรมดาของการกระทำอิทธิฤทธิ์ ย่อมต้องมีเจตนาเป็นเบื้องต้นว่ามุ่งหมายที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดใดชนิดหนึ่งในจำนวน 20 ชนิด หรือในส่วนปลีกย่อยที่มากมายขยายออกไป เมื่อมีเจตนาว่าจะกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วก็ต้องมีกำลังของเจตนานั้นที่จะให้บังเกิดผลเป็นอิทธิฤทธิ์ตามที่ต้องการ

    ได้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้ถ้อยคำว่าความปรารถนา หรือความต้องการ หรือความอยากที่จะกระทำฤทธิ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เพราะอาจจะไขว้เขวไปได้ว่าเป็นการส่งเสริมหรือสร้างสมตัณหาเพราะเมื่อเป็นความอยาก ความปรารถนา หรือความต้องการแล้วก็มักจะแยกไม่ออกหรือมักจะเจือปนกับตัณหา ดังนั้นจึงเลือกสรรถ้อยคำว่าเจตนากระทำฤทธิ์ และกำลังของเจตนาในการกระทำฤทธิ์ เจตนาและกำลังของเจตนาดังกล่าวนี้นี่แหละคือกำลังอธิษฐาน

    การกระทำฤทธิ์เป็นคนละเรื่องกับตัณหา ทำนองเดียวกันกับการกินหูฉลามที่กินเพียงสักแต่กินโดยไม่ติดยึดในความอยากซึ่งไม่จัดว่าเป็นตัณหา กับการกินหูฉลามที่มีการติดยึดในความอยากซึ่งเป็นเรื่องของตัณหา ฉันใดก็ฉันนั้น เหตุนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนไขว้เขวจึงเลือกที่จะใช้ถ้อยคำว่าเจตนาและกำลังของเจตนา

    อธิษฐานมีกำลังมากและน้อยประการใดคือกำลังอธิษฐาน ดังนั้นกำลังอธิษฐานจึงมีฐานะที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้น และกำลังอธิษฐานนี้ย่อมประกอบด้วยกำลังถึง 4 ประการ คือ กำลังในตัวอธิษฐานเองอย่างหนึ่ง กำลังอิทธิบาทอย่างหนึ่ง กำลังจิตหรือกำลังทิพยกายหรือกำลังสมาธิอย่างหนึ่ง และกำลังฌานอีกอย่างหนึ่ง

    เพราะเหตุที่กำลังอธิษฐานมีนัยยะที่สำคัญ มีผลอย่างสำคัญต่อการกระทำและการบังเกิดอิทธิฤทธิ์ ดังนั้นย่อมจำเป็นที่จะต้องพรรณนาเรื่องกำลังอธิษฐานนี้ให้กระจ่างสักหน่อยหนึ่ง

    อธิษฐานมี 3 ระดับหรือ 3 ชั้นคือระดับการกระทำอธิษฐานของคนทั่วๆ ไป ระดับการอธิษฐานก่อนที่จะได้ทิพยกาย หรือก่อนที่นามกายแปรเปลี่ยนเป็นกายทิพย์ และระดับการอธิษฐานหลังจากได้ทิพยกายแล้ว รวมทั้งระดับที่สูงขึ้นไปกว่านั้น

    ระดับการกระทำอธิษฐานของคนทั่ว ๆ ไปนั้นเป็นเรื่องการอธิษฐานของมนุษย์ธรรมดาสามัญที่ยังไม่บรรลุถึงฌานใด ๆ มีปรากฏให้เห็นอยู่ดาษดื่นทั่วไป และคนทั่วไปก็ล้วนเคยกระทำการอธิษฐานมาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะหลังเวลาการทำบุญ หรือเมื่อทำการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะมีการตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้นั้นผู้นี้เป็นต้น

    และยังมีการอธิษฐานเพื่อให้สำเร็จความปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการในระดับมนุษย์ธรรมดาสามัญอีกด้วย เช่น การอธิษฐานขอให้สอบไล่ได้ การอธิษฐานขอให้คนป่วยเจ็บหายจากป่วยไข้ อธิษฐานให้ได้พบกับคนอันเป็นที่รัก อธิษฐานให้สมหวังในความรัก หรือในลาภยศตำแหน่ง แม้กระทั่งอธิษฐานเพื่อการเสี่ยงทายหรือการเสี่ยงโชค

    การอธิษฐานในระดับธรรมดาสามัญนี้มีอยู่ในทุกศาสนาและในวรรณคดีสำคัญ ๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลทางศาสนาก็ได้ปรากฏถึงการอธิษฐานอยู่เสมอ ๆ ดังตัวอย่างในรามเกียรติ์เมื่อครั้งที่นางสีดาถูกทศกัณฐ์ลักตัวไปแล้วจะทำการลวนลาม นางสีดาได้ตั้งอธิษฐานเอาความสัตย์และความภักดีต่อพระรามผู้เป็นสามีให้คุ้มครองป้องกันนางให้พ้นภัย ก็บังเกิดไฟทิพย์ลุกโชนขึ้นเป็นวงกลมโดยรอบตัวนางสีดาจนทศกัณฐ์เข้าใกล้ไม่ได้

    แม้ในวรรณคดีสามก๊กก็ปรากฏว่าเมื่อครั้งที่ขงเบ้งกรีธาทัพตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ทหารได้รับความยากลำบากเป็นอันมาก ขุดบ่อลึกเท่าใดก็ไม่ได้น้ำ ขงเบ้งจึงกระทำอธิษฐานอ้างเอาความสัตย์และความภักดีต่อพระเจ้าเล่าปี่เป็นที่ตั้งขอให้บังเกิดน้ำขึ้นก็ปรากฏน้ำผุดขึ้นมาเต็มบ่อทุกบ่อ

    ในพงศาวดารของพม่าก็ปรากฏว่าบางครั้งที่บุเรงนองเผชิญหน้ากับปัญหาสำคัญและแก้ไขไม่ตกก็ได้กระทำอธิษฐานว่าหากเบื้องหน้ามีบุญญาธิการจะได้ครองเศวตฉัตรเหนือเมืองตองอูแล้วไซร้ก็ให้แก้ไขปัญหานั้นสำเร็จ แล้วก็แก้ไขปัญหาได้สำเร็จดังปรารถนา

    การทำอธิษฐานในระดับบุคคลธรรมดานี้โดยปกติแล้วย่อมไม่มีกำลังอธิษฐานในตัวเอง เพราะกำลังของจิต ของสมาธิ และของฌานยังไม่มีหรือยังไม่ถึงขนาด ดังนั้นการกระทำอธิษฐานจึงต้องอ้างหรืออิงอย่างอื่น ได้แก่

    การอ้างอิงเอาความสัตย์ซึ่งเป็นหลักทั่วไปในการอ้างอิงเพื่อกระทำอธิษฐาน จนมีคำกล่าวขานเฉพาะว่าสัตยาธิษฐานหรือสัจจาธิษฐาน หรือไม่ก็เป็นการอ้างอิงเอาความซื่อสัตย์จงรักภักดี หรืออ้างอิงเอาอำนาจแห่งความกตัญญู หรืออ้างอิงเอาความบริสุทธิ์ของตนเอง หรืออ้างอิงเอาบุรพกรรมที่เคยทำมาแต่ก่อน โดยเฉพาะคือการอ้างอิงเอาบุญกุศลจนเกิดถ้อยคำเฉพาะว่า “เดชะบุญ”

    นอกจากนั้นยังมีการอ้างอิงเอาความเพียรหรือความอดทนอดกลั้นเป็นที่อ้างอิง แม้กระทั่งการอ้างอิงเอาบุญวาสนาอันจะบังเกิดเป็นอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่งในภายภาคหน้า เช่น การกระทำอธิษฐานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนกระทำยุทธหัตถีที่อธิษฐานเอาพระบารมีในเบื้องหน้าว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ก็ขอให้ได้รับชัยชนะในการกระทำยุทธหัตถี เป็นต้น

    ยังมีอีก การกระทำอธิษฐานบางครั้งก็อ้างอิงอัญเชิญบุญญาบารมีของผู้มีบุญญาบารมีอื่นให้มาช่วยเหลือ ดลบันดาลให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่มาของการบนบานศาลกล่าวและการแก้บนทั้งหลาย

    การกระทำอธิษฐานของบุคคลธรรมดาจึงอาศัยปัจจัยอื่นทั้งที่เกี่ยวกับตนเองและที่เป็นปัจจัยภายนอกมาเป็นกำลัง จึงอาจกล่าวได้ว่าบุคคลธรรมดาก็สามารถกระทำการอธิษฐานโดยอาศัยกำลังอธิษฐานในลักษณะที่ว่านี้เพื่อให้สำเร็จผลดังปรารถนาในระดับหนึ่ง ๆ ได้

    และความปรารถนาในระดับนี้แบบนี้มักเจือปนด้วยกิเลส และมีตัณหาเป็นรากฐาน ดังนั้นจึงมีความจำกัดอย่างยิ่ง เว้นเสียก็แต่เป็นผู้มีบุญญาธิการจริง ๆ ก็สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ได้ ดังเช่นพระมหากษัตริย์บางพระองค์ได้ทรงกระทำอธิษฐานขอฝนก็บังเกิดฝนขึ้นตามคำอธิษฐาน การทั้งนี้บังเกิดได้ก็ด้วยบุญญาบารมีเฉพาะพระองค์

    ส่วนการอธิษฐานระดับก่อนที่จะได้ทิพยกายหมายถึงการกระทำอธิษฐานของบุคคลที่ฝึกฝนอบรมจิตมาดีแล้ว จิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ และมีความแกล้วกล้าระดับหนึ่ง ๆ แล้ว กล่าวโดยง่ายก็คือเป็นการอธิษฐานของผู้ฝึกฝนอบรมจิตที่ได้อุคหนิมิตขึ้นไปจนกระทั่งถึงตติยฌาน

    การอธิษฐานในระดับนี้มีกำลังอธิษฐานสูงกว่ากำลังอธิษฐานของคนธรรมดาสามัญ ไม่ว่าการอธิษฐานนั้นจะอ้างอิงอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวกับตนหรือปัจจัยภายนอกด้วยหรือไม่ก็ตาม กำลังอธิษฐานที่มากนั้นเกิดแต่กำลังของจิตและสมาธิที่มีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ และมีกำลัง ดังนั้นสิ่งที่ตั้งความปรารถนาหรือตั้งเจตนาว่าจะให้บังเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งจึงเกิดขึ้นได้ตามขั้นและระดับของกำลังอธิษฐานนั้น

    แต่ไม่สามารถบังเกิดอิทธิปาฏิหาริย์ 20 ชนิดดังที่ได้พรรณนามาข้างต้น ยกเว้นเสียก็แต่ผู้มีบุญญาบารมีพิเศษที่มีเหตุปัจจัยภายนอกเสริมส่งให้เป็นไป

    แม้กระนั้นอิทธิปาฏิหาริย์ 20 ชนิดนั้นถึงจะไม่บังเกิดปรากฏอย่างสมบูรณ์ แต่ก็อาจบังเกิดปรากฏขึ้นเป็นส่วน ๆ หรือบางระดับได้ เช่น มีความสามารถในการได้ยินเสียงที่ไกลออกไป หรือได้ยินเสียงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน หรือเดินเร็วขึ้นกว่าปกติ เป็นต้น

    หรือแม้มีเจตนาจะเหาะแต่อาจเกิดแค่การสั่นไหวของร่างกายในระดับที่ตัวเบากว่าปกติหรือลอยขึ้นเหนือพื้นเล็กน้อย ดังตัวอย่างการเหาะหรือการลอยตัวของโยคีบางคนที่เปิดการแสดงในบางประเทศ เป็นต้น

    สำหรับการอธิษฐานระดับหลังจากได้ทิพย์กายแล้วเป็นต้นไปนั้นก็คือการอธิษฐานของผู้ที่สำเร็จจตุตถฌานขึ้นไปจนกระทั่งถึงระดับพระอรหันต์หรือพระตถาคตเจ้า

    กำลังอธิษฐานประเภทนี้จึงเป็นกำลังอธิษฐานที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม มีสมรรถนะเพียงพอในการกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้ง 20 ประการ ดังที่ได้พรรณนามาข้างต้นนั้น คงเหลืออยู่แต่ความชำนาญ ความแคล่วคล่องว่องไว ความประณีตหมดจดที่ยังคงแตกต่างกันตามระดับของกำลังอธิษฐาน

    เพราะเหตุที่กำลังฌาน กำลังสมาธิ ของผู้บรรลุถึงจตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ กุปปาเจโตวิมุตติ อกุปปาเจโตวิมุตติ และอาสวักขยญาน สูงขึ้นไปเป็นลำดับ ๆ มีความละเอียดประณีตมากขึ้นเป็นลำดับ ๆ ดังนั้นกำลังอธิษฐานจึงสูงขึ้นและละเอียดประณีตขึ้นเป็นลำดับ ๆ เช่นเดียวกันด้วย

    สำหรับพระตถาคตเจ้านั้นทรงมีกำลังอธิษฐานสูงกว่ากำลังฌาน กำลังสมาธิทั้งหมดนี้ และเป็นกำลังอธิษฐานชนิดพิเศษเฉพาะพระพุทธเจ้า จึงทรงสามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ได้มากกว่า พิสดารกว่า ประณีตกว่า และมีพลังอานุภาพกว่าของพระอรหันต์และพระสาวกทั้งหลาย

    แต่ทว่าการกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้ง 20 วิธีนั้นหากได้อาศัยกำลังอธิษฐานในระดับจตุตถฌานแล้วก็เพียงพอที่จะสามารถกระทำให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์ได้

    อิทธิฤทธิ์บางชนิดต้องกระทำโดยภูมิจิตในระดับที่ต่ำกว่าตติยฌาน เช่นอิทธิฤทธิ์บางชนิดที่ต้องอาศัยสุขภูมิหรือปิติภูมิ ก็ต้องกระทำฤทธิ์โดยถอยลงมาในภูมินั้น ๆ ในขณะที่กำลังสมาธิยังคงมีขีดความสามารถในระดับตติยฌานอยู่ ดังที่เคยอุปมาไว้ว่าเหมือนกับบุคคลสามารถยกของหนัก 150 กิโลกรัมได้ แล้วมายกน้ำหนัก 80 กิโลกรัมนั่นเอง

    ภาวะของจิตในขณะที่ได้จตุตถฌานนั้นจะมีกำลังสมาธิและอยู่ในสมาธิที่นิ่งหรืออัปปนาสมาธิ ซึ่งสมาธิชนิดนี้ใช้ในการกระทำอิทธิฤทธิ์ไม่ได้ อุปมาดั่งคนที่นอนอยู่กับที่จะไปหยิบข้าวของอะไรย่อมไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

    ดังนั้นในการกระทำอิทธิฤทธิ์จึงต้องเคลื่อนระดับของสมาธิจากอัปปนาสมาธิลงมาสู่อุปจารสมาธิเสมอ เพราะอุปจารสมาธิเป็นระดับของสมาธิที่เคลื่อนตัวและขับเคลื่อนกำลังอำนาจของจิตได้

    หากไม่เคลื่อนสมาธิออกมาจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิแล้ว กำลังอิทธิบาทก็ขับเคลื่อนไม่ได้ กำลังฌานก็ขับเคลื่อนไม่ได้ กำลังจิตและกำลังอธิษฐานก็ขับเคลื่อนให้บังเกิดเป็นอิทธิฤทธิ์ไม่ได้

    อุปมาดั่งกองทัพที่เตรียมสรรพกำลัง ไพร่พล อาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียงกรังเพียบพร้อมครบครันแล้วแต่แม่ทัพไม่สั่งเคลื่อนทัพ ก็ขยับขับเคลื่อนอะไรไม่ได้ฉันใดก็ฉันนั้น

    ดังนั้นเมื่อถอนสมาธิออกจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิแล้ว กำลังอิทธิบาท กำลังฌาน กำลังจิตและกำลังอธิษฐานก็ขับเคลื่อนจนบังเกิดอิทธิฤทธิ์ได้ดังเจตนา

    การถอนสมาธิออกจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธินั้นย่อมกระทำได้ด้วยการกำหนดกับจิตหรือจิตกำหนดให้ถอนสมาธิจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิ แล้วเคลื่อนสมาธินั้นออกจากอัปปนาสมาธิก็จะมาสู่อุปจารสมาธิในทันทีและจะมีความแคล่วคล่องว่องไวมากขึ้นตามระดับของการฝึกฝนจนชำนาญการ

    เหล่านี้ล้วนเป็นกระบวนการหรือกรรมวิธีเตรียมการทั้งกายและจิตเพื่อที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์ต่อไป
     
  9. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (76) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">1 ธันวาคม 2548 17:29 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> เมื่อกำลังอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌาน และกำลังอธิษฐานอยู่ในระดับขั้นที่สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ได้แล้ว ก็นับว่ามีความพร้อมในการที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์ให้บังเกิดเป็นอิทธิฤทธิ์ได้ดังเจตนา ลำดับแต่นี้ไปจึงเป็นกรรมวิธีในการกระทำอิทธิฤทธิ์ซึ่งจะได้พรรณนาไปโดยลำดับ

    เมื่อจะกระทำฤทธิ์ก็ต้องถอนจิตออกมาจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิเสมอ เพื่อให้กำลังอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌาน และกำลังอธิษฐาน สามารถเคลื่อนไหวขับเคลื่อนการกระทำอิทธิฤทธิ์ได้

    เพราะดังที่ได้พรรณนามาบ้างแล้วว่าขณะที่จิตอยู่ในอัปปนาสมาธินั้นเป็นภาวะที่นิ่งลึก อุปมาดั่งคนนอนหลับสงบสงัดนิ่ง ย่อมทำการงานสิ่งใดไม่ได้โดยสะดวก จึงต้องตื่นออกจากความหลับนิ่งก่อน ฉันใดก็ฉันนั้น คือเมื่อจะกระทำอิทธิฤทธิ์ก็ต้องถอนจิตออกมาสู่อุปจารสมาธิซึ่งเป็นภาวะที่อาจกล่าวให้เข้าใจได้โดยง่ายว่าเป็นสมาธิที่ตื่นพร้อมที่จะทำการงานในหน้าที่ของจิตคืออิทธิฤทธิ์ได้

    การถอนจิตดังกล่าวก็คือการกำหนดจิตถอนออกมาจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิ เพียงแต่กำหนดจิตเท่านั้น จิตก็จะถอนออกมาในทันที โดยจะมีความแคล่วคล่องว่องไวประณีตมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะหรือความชำนาญในการฝึกฝน

    อุปมาดั่งคนลุกออกจากที่นอนนั่นแหละ เมื่อฝึกฝนจนชำนาญดีแล้วอาการตื่นและลุกขึ้นจากที่นอนก็จะแคล่วคล่องว่องไวแต่มีความประณีต ไม่โฮกฮากโครมคราม และทำให้จิตกระเพื่อมโดยไม่จำเป็น

    เมื่อจิตถอยออกมาสู่อุปจารสมาธิแล้ว ลำดับแต่นั้นไปก็คือการหลอมกายและจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกัน คือจิตกำหนดกายได้อย่างสมบูรณ์ กายก็กำหนดจิตได้อย่างสมบูรณ์

    กายกำหนดอย่างไรจิตก็เป็นไปอย่างนั้น จิตกำหนดอย่างไรกายก็เป็นไปอย่างนั้น จนเป็นประหนึ่งว่าเป็นอย่างเดียวกัน ดังที่ท่านได้อุปมาว่าการหลอมกายกับจิตในชั้นนี้เหมือนกับการหลอมเหล็กให้อ่อนจนกระทั่งสามารถหลอมหรือดัดเป็นรูปอะไรก็ได้

    การหลอมจิตกับกายในขั้นนี้ก็คือการหลอมด้วยกำลังอิทธิบาท กำลังจิต และกำลังฌาน โดยที่กำลังอธิษฐานยังรอคอยจังหวะการทำหน้าที่อยู่ในขั้นถัดไป กำลังจิต กำลังฌาน เมื่อประกอบเข้ากับกำลังอิทธิบาทในระดับขั้นที่มีสมรรถนะที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์ดังได้พรรณนามาแล้วนี้ จะทำให้รู้สึกได้อย่างแจ่มแจ้งว่ากายกับจิตซึ่งเป็นสองสิ่งค่อย ๆ หลอมรวมกันจนเป็นหนึ่งเดียวกัน

    แต่ทว่าในความเป็นจริงนั้นแม้จะรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่จิตก็ยังเป็นองค์นำ เป็นองค์กำหนดอยู่นั่นเอง เพราะจิตเป็นประธาน เป็นหลัก เป็นตัวกำหนด เป็นตัวขับเคลื่อนทั้งปวง

    จิตจะรู้ด้วยจิตเองตามสภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยลำดับไป คือจากภาวะที่กายกับจิตเป็นสองสิ่งแยกกันก็จะค่อย ๆ รู้สึกว่ากำลังถูกหลอมรวมกันจนกระทั่งค่อย ๆ เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความรู้สึก มีขีดความสามารถ มีกำลังเป็นอย่างเดียวกัน

    ภาวะเช่นนั้นเป็นภาวะที่มีความพร้อมอย่างยิ่งแล้วที่จะกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้ง 20 วิธี ซึ่งในทางความเป็นจริงอิทธิฤทธิ์ 20 วิธีนี้ก็เป็นแม่บทแม่แบบเหมือนกัน ยังสามารถจำแนกแยกย่อยหรือพิสดารพลิกแพลงออกไปต่าง ๆ นานาได้ตามระดับขั้นของการฝึกฝนอบรมและความชำนาญ

    ในบรรดาอิทธิฤทธิ์จำนวน 20 วิธีนั้นเป็นอธิษฐานเสีย 16 วิธี และเป็นอิทธิฤทธิ์เฉพาะอีก 4 วิธี ในลำดับนี้จักได้พรรณนาในส่วนอิทธิฤทธิ์วิธีที่จะต้องกระทำโดยการอธิษฐานเป็นหลัก 16 วิธีก่อน ส่วนที่เหลือจะได้พรรณนาเป็นลำดับต่อไป

    ในอธิษฐานฤทธิ์ 16 วิธีนั้นอาจจำแนกกลุ่มได้ดังต่อไปนี้

    กลุ่มแรก คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้คนเดียวเป็นหลายคนอย่างหนึ่ง ทำให้หลายคนเป็นคนเดียวอย่างหนึ่ง ทำให้ของมากเป็นของน้อยอย่างหนึ่ง และทำให้ของน้อยเป็นของมากอีกอย่างหนึ่ง รวมเป็น 4 อย่าง

    กลุ่มที่สอง คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้เห็นในสิ่งที่ปกติมองไม่เห็น และการกำบังตน รวมเป็น 2 อย่าง

    กลุ่มที่สาม คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้เกิดช่องว่างแล้วเดินฝ่าไปในกำแพง ภูเขา ฝาผนัง อย่างหนึ่ง การดำดินอย่างหนึ่ง การเดินบนน้ำอย่างหนึ่ง รวมเป็น 3 อย่าง

    กลุ่มที่สี่ คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่เหาะไปในอากาศประดุจดังนก

    กลุ่มที่ห้า คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้สิ่งอยู่ไกลมาปรากฏอยู่ในที่ใกล้อย่างหนึ่ง และการทำให้สิ่งที่อยู่ใกล้ปรากฏอยู่ในที่ไกลอีกอย่างหนึ่ง รวมเป็น 2 อย่าง

    กลุ่มที่หก คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ก่อให้เกิดเป็นม่านควันกำบังตัวอย่างหนึ่ง หรือทำให้เกิดเป็นเพลิงลุกไหม้อีกอย่างหนึ่ง รวมเป็น 2 อย่าง

    กลุ่มที่เจ็ด คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตนเองหรือมวลสารจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งอย่างหนึ่ง และการถอดทิพยกายออกไปปรากฏอยู่ในอีกที่หนึ่งอีกอย่างหนึ่ง รวมเป็น 2 อย่าง

    เหตุที่จำแนกการกระทำอิทธิฤทธิ์ประเภทอธิษฐานฤทธิ์ 16 วิธีออกเป็น 7 กลุ่มนั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการพรรณนาความ เนื่องจากแต่ละกลุ่มนั้นมีวิธีการที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็มีบางอย่างที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน จึงจัดกลุ่มที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันเป็นกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องพรรณนาซ้ำแล้วซ้ำอีก

    การกระทำอิทธิฤทธิ์กลุ่มแรก คือการทำให้คนเดียวเป็นหลายคน การทำให้หลายคนเป็นคนเดียว การทำให้ของมากเป็นของน้อย และการทำให้ของน้อยเป็นของมาก รวม 4 อย่าง

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ในกลุ่มนี้จะกระทำด้วยวิธีอธิษฐานฤทธิ์โดยตั้งอธิษฐานที่จะให้ปรากฏดังเจตนา คือ เมื่อเจตนาจะให้คนเดียวเป็นหลายคน หรือให้หลายคนเป็นคนเดียว หรือให้ของมากเป็นของน้อย หรือให้ของน้อยเป็นของมาก ก็กำหนดจิตอธิษฐานให้ปรากฏเป็นดังที่ต้องการ

    การกำหนดจิตอธิษฐานนี้ต้องไม่ลืมว่าจิตกำลังอยู่ในอุปจารสมาธิ มีกำลังอิทธิบาท กำลังจิตและกำลังฌานในสมรรถนะที่กระทำอิทธิฤทธิ์ได้แล้ว คงขาดแค่อธิษฐานและกำลังอธิษฐาน

    ดังนั้นเมื่อตั้งอธิษฐานด้วยกำลังอิทธิบาท กำลังจิตและกำลังฌาน พร้อมกับเพิ่มความเข้มข้นของกำลังอธิษฐานขึ้นเพื่อให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์ดังเจตนาก็จะปรากฏบังเกิดเป็นอิทธิฤทธิ์ดังที่ได้ตั้งอธิษฐานนั้น

    ในส่วนการอธิษฐานให้คนเดียวเป็นหลายคน กำลังของจิตจะก่อและพุ่งอยู่ที่ตัวเอง แล้วทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปรากฏเป็นหลายคนได้ดังอธิษฐาน

    ในส่วนของการอธิษฐานให้หลายคนเป็นคนเดียว โดยทั่วไปจะเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ถัดหรือต่อเนื่องจากการทำให้คนเดียวเป็นหลายคน เพื่อให้กลับคืนสู่สภาวะเดิม หรือในบางกรณีก็กำหนดอธิษฐานให้ผู้คนจำนวนมากในที่ใดที่หนึ่งรวมเหลือปรากฏเป็นคนเดียว ในกรณีนี้เวลาจะคืนสภาพเดิมก็ต้องกระทำอธิษฐานให้คืนสู่สภาพเดิมด้วย

    แต่สำหรับการอธิษฐานให้ของมากเป็นของน้อย หรือของน้อยเป็นของมาก กำลังของจิตเมื่อก่อตัวขึ้นแล้วก็จะเพ่งพุ่งไปยังของที่ต้องการให้น้อยเป็นมากหรือให้มากเป็นน้อยนั้นโดยตรงก็จะบังเกิดอิทธิฤทธิ์ได้ดังเจตนา

    การทำให้คนเดียวเป็นหลายคนมักจะเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์เพื่อให้เกิดความศรัทธาประสาทะในการที่จะยอมรับหรือเพื่อให้เห็นความมหัศจรรย์แล้วเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา หรือเพื่อการป้องปรามในการป้องกันขจัดเหตุร้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง

    ส่วนการทำให้หลายคนเป็นคนเดียวนั้นโดยทั่วไปจะเป็นการกระทำเพื่อคืนสู่สภาพเดิม หรือเพื่อให้มีพื้นที่พอเหมาะพอสมต่อการที่จะรองรับผู้คนในการปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง

    การทำให้ของมากเป็นของน้อยก็เพื่อสร้างความพิศวงมหัศจรรย์หรือป้องกันปัญหาหรือเหตุร้ายไม่ให้เกิดขึ้น อาจจะตรงกันข้ามกับการทำให้ของน้อยเป็นของมาก ซึ่งมักเป็นไปเพื่ออำนวยประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ ไม่ว่าในการตั้งศรัทธาประสาทะหรือในการอื่น

    ดังตัวอย่างเช่นการกระทำอิทธิฤทธิ์ให้การหุงข้าวหม้อหนึ่งแต่สามารถเลี้ยงดูผู้คนหลายร้อยคนได้โดยไม่รู้จักหมด หรือการแจกผ้าประเจียดที่ล้วงออกมาจากย่ามประจำกายขนาดไม่ใหญ่เท่าใดนักแต่สามารถแจกทหารได้ทั้งกองทัพ เป็นต้น หรืออย่างเช่นการมอบน้ำมนต์ให้กับผู้มีจิตศรัทธาจากขันน้ำมนต์เล็ก ๆ แต่แจกให้กับผู้คนนับพัน ๆ คนได้โดยไม่รู้จักหมดสิ้น

    การกระทำอธิษฐานฤทธิ์ในกลุ่มนี้หากได้ผ่านการฝึกฝนอบรมโดยปฐวีกสิณก็จะทำให้บังเกิดฤทธิ์ได้เร็วและสมบูรณ์ เพราะพื้นฐานของปฐวีกสิณนั้นรองรับและมีอานิสงส์ต่อการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้

    กลุ่มที่สอง คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้เห็นในสิ่งที่ปกติมองไม่เห็น และการกำบังตน รวมเป็น 2 อย่าง

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ในกลุ่มนี้อำนาจของฤทธิ์จะไปปรากฏบังเกิดขึ้นกับผู้อื่น ทำให้สามารถเห็นในสิ่งที่ปกติมองไม่เห็น หรือทำให้มองไม่เห็นในสิ่งที่ปกติมองเห็น

    กลุ่มนี้ก็เป็นอธิษฐานฤทธิ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องอาศัยกำลังและการอธิษฐานอย่างเดียวกันกับกลุ่มแรก จะต่างกันก็ตรงเจตนาในการอธิษฐานที่ต้องการให้มองเห็นในสิ่งที่ปกติมองไม่เห็น หรือให้มองไม่เห็นในสิ่งที่ปกติมองเห็น

    เมื่อกำลังอธิษฐานขับเคลื่อนกำลังอิทธิบาท กำลังจิต และกำลังฌาน ในอุปจารสมาธิตามลักษณะแห่งการอธิษฐานแล้วก็จะบังเกิดฤทธิ์ดังประสงค์ แต่จะบังเกิดช้าเร็วประการใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับความชำนาญและการฝึกฝนอบรม

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ในกลุ่มนี้จะบังเกิดผลเร็วและสมบูรณ์มากถ้าหากได้ผ่านการฝึกฝนอบรมกสิณวิธีจำพวกอากาศกสิณ หรือกสิณจำพวกแสงหรือความสว่าง เพราะกสิณวิธีลักษณะนี้มีอานิสงส์ที่เกื้อกูลต่อการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ให้มองเห็นในสิ่งที่ปกติมองไม่เห็นนั้น พระตถาคตเจ้าทรงแสดงไว้เป็นแบบอย่างในการกระทำอภินิหารเปิด 3 โลกให้พรหม เทวดา มนุษย์ และนรกมองเห็นกันได้ พระสาวกหรือพระมหาเถระในชั้นหลัง ๆ ก็เคยกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ ทำให้มนุษย์เห็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเห็นภูตผีปีศาจ แม้กระทั่งญาติพี่น้องที่ประสบชะตากรรมลำบากอยู่ในนรก เป็นต้น
    ส่วนการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้มองไม่เห็นในสิ่งที่ปกติมองเห็นได้นั้นอาจเรียกได้ว่าคือการกำบังตน จักสำเร็จฤทธิ์ในทางที่ทำให้ผู้อื่นมองไม่เห็นตัวเราหรือคนอื่นตามที่ได้ตั้งอธิษฐาน ดังตัวอย่างที่พระตถาคตเจ้าเคยกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้กำบังพระสาวกบางองค์ไม่ให้ญาติมองเห็น

    ลูกศิษย์บางคนของพระอาจารย์นำ วัดเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง ซึ่งคนหนึ่งเป็นตำรวจ อีกคนหนึ่งเป็นไอ้เสือหรือโจรผู้ร้าย ก็สำเร็จอิทธิฤทธิ์นี้จนสามารถล่องหนกำบังตนได้ และในที่สุดศิษย์พี่ที่เป็นตำรวจก็ต้องไปปราบศิษย์น้องจนดับสูญไป

    การกำบังไม่ให้มองเห็นในสิ่งที่เห็นได้อาจเป็นได้ทั้งคนและวัตถุ ซึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็มีศิษย์ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนโมลีหรือพ่อท่านเส่งถูกทหารญี่ปุ่นล้อมไว้ไม่มีทางหนีรอดออกไปได้ ก็ได้กระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ ทำให้ทหารญี่ปุ่นมองไม่เห็นและรอดปลอดภัยได้เป็นที่อัศจรรย์

    *********
    หมายเหตุ-ได้รับแจ้งว่าเรื่อง “มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน” นั้นสิริอัญญาได้เขียนต้นฉบับครบจบ 80 ตอนตามที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้แต่เดิม และที่ได้บอกกล่าวท่านผู้มีอุปการคุณทั้งหลายแล้วเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 และคงจะลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันครบ 80 ตอนในวันที่ 30 ธันวาคม 2548 ดังนั้นตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2549 เป็นต้นไปจะได้ลงตีพิมพ์ธรรมนิทานเรื่อง “ศิษย์สมเด็จ” ต่อไป ท่านผู้สนใจในธรรมนิทานและอิทธิปาฏิหาริย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และที่สนใจลีลาการเขียนของเรืองวิทยาคมเจ้าของผลงานเรื่อง “สามก๊กฉบับคนขายชาติ” มาแล้ว โปรดติดตามได้
     
  10. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (77) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">8 ธันวาคม 2548 18:50 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จักได้พรรณนาการกระทำอิทธิฤทธิ์กลุ่มที่สาม คือ การกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้เกิดช่องว่างแล้วเดินฝ่าไปในกำแพงภูเขาฝาผนังอย่างหนึ่ง การดำดินอย่างหนึ่ง และการเดินบนน้ำอีกอย่างหนึ่ง

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ในกลุ่มที่สามนี้ยังคงเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ประเภทอธิษฐานคือที่ต้องอาศัยกำลังอธิษฐานเป็นองค์นำว่าจะให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์เป็นประการใด

    ดังนั้นกรรมวิธีโดยรวมในการกระทำอิทธิฤทธิ์จึงเป็นเช่นเดียวกันกับการกระทำอิทธิฤทธิ์ในกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สอง คงมีส่วนต่างอยู่บ้างก็ตรงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่จะให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์ และอานิสงส์จากกสิณวิธีที่เกื้อกูลต่อการกระทำอิทธิฤทธิ์แต่ละอย่างในกลุ่มนี้

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้เกิดช่องว่างแล้วเดินฝ่าไปตามช่องว่างนั้นเป็นอิทธิฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำอธิษฐานโดยกรรมวิธีดังที่ได้พรรณนามาแล้ว เป็นแต่เป้าหมายที่ต้องเพ่งกำลังอธิษฐานไปก็คือสิ่งที่ขวางอยู่เบื้องหน้า หรือสิ่งที่ต้องการจะฝ่าไป

    สิ่งที่ต้องการจะฝ่าไป เช่น ภูเขาบ้าง กำแพงบ้าง ฝาผนังบ้าง ประตูบ้าง หรือแม้กระทั่งรั้ว รวมความก็คือบรรดาสิ่งทั้งหลายอันเป็นที่กีดขวางอยู่ข้างหน้านั้นคือสิ่งที่เป็นเป้าหมายของการกระทำอิทธิฤทธิ์

    การอธิษฐานจะเป็นการอธิษฐานขอให้สิ่งที่กีดขวางหรืออยู่ข้างหน้านั้นเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นช่องว่างที่มีขนาดตามที่ต้องการ คือเท่าตัวคนบ้าง ใหญ่กว่าตัวคนบ้าง นั่นคือการทำเป้าหมายให้บังเกิดเป็นช่องว่าง โดยร่างกายของผู้กระทำอิทธิฤทธิ์ยังคงเป็นเนื้อหนังธรรมดา

    ด้วยกระบวนการกระทำอิทธิฤทธิ์ดังกล่าว เมื่อตั้งอธิษฐานและเพ่งกำลังอธิษฐานแล้ว สิ่งที่ขวางหรืออยู่ข้างหน้านั้นก็จะบังเกิดเป็นช่องว่างที่สามารถเดินฝ่าไปได้ไม่ยากไม่ลำบากเหมือนกับการเดินไปในช่องว่างธรรมดานั่นเอง และเมื่อเดินผ่านไปแล้ว หมดความประสงค์แล้ว สิ่งที่เป็นช่องว่างนั้นก็จะคืนกลับอยู่ในสภาพเดิม

    กสิณวิธีบางประเภทดังที่ได้พรรณนามาข้างต้นมีอานิสงส์เกื้อกูลต่อการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ เพราะมีความแคล่วคล่องว่องไวและชำนาญได้โดยง่าย เหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่าอานิสงส์ของกสิณวิธีจำพวกช่องว่างหรืออากาศมีอานิสงส์เกื้อกูลต่อการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้

    เมื่อราว 60 ปีมานี้บรรดาผู้เรืองวิทยาคมในพื้นที่ภาคใต้จำนวนไม่น้อยที่ได้สำเร็จอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ กระทั่งสามารถอบรมสั่งสอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามได้อีกด้วย

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ยังหมายความรวมถึงการทำให้ร่างกายนี้มีความใสโปร่งที่สามารถฝ่าสิ่งกีดขวางที่อยู่ข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นภูเขา กำแพง ฝาผนัง ประตู หรือรั้วออกไปได้

    พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้ร่างกายนี้มีเซลล์หรือโมเลกุลแปรเปลี่ยนไปจนโปร่งใสละเอียดประณีต จนกระทั่งสามารถแทรกฝ่าสิ่งกีดขวางดังกล่าวไปได้ไม่ขัดสน

    กรรมวิธีเช่นนี้เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการหลอมกายและจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกัน คือ กายอ่อน โปร่ง ใส ละเอียด ประณีต เหมือนกับจิต จิตกับกายเหมือนกันเป็นอย่างเดียวกัน

    กรรมวิธีอธิษฐานจึงแทนที่จะมุ่งเพ่งไปที่สิ่งกีดขวางข้างหน้า จึงอยู่ที่ตัวเอง คือเพ่งกำลังอธิษฐานในการหลอมกายนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับจิตที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น ใสและโปร่งยิ่งขึ้นตามความแน่นหนา หรือที่สามารถแทรกฝ่าความแน่นหนาที่ขวางอยู่ข้างหน้าไปได้

    การหลอมกายและจิตโดยอธิษฐานฤทธิ์เช่นนี้ยังคงเป็นคนละเรื่อง คนละส่วนกับการถอดกายทิพย์

    นั่นคือเมื่อเพ่งกำลังอธิษฐานหลอมกายและจิตจนใสโปร่งและมีสมรรถนะพอเพียงที่จะฝ่าข้ามสิ่งกีดขวางได้แล้ว ก็กำหนดจิตเคลื่อนตัวฝ่าเข้าไปในสิ่งที่กีดขวางนั้นและเมื่อพ้นไปแล้วก็คลายกำลังทั้งหลายลง ก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม

    ภูตบางชนิด เทวดา และพรหม มีกายอันใสโปร่งละเอียดประณีตเป็นทิพย์ กายแบบนี้จึงสามารถแทรกฝ่าสิ่งกีดขวางดังกล่าวไปได้ ความใสโปร่งละเอียดประณีตของการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้จึงเท่ากับการทำให้มีความใสโปร่งละเอียดประณีตเท่ากับกายของภูต เทวดา และพรหมดังกล่าวนั่นเอง

    ในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ที่ขุนแผนสามารถเดินฝ่าฝาผนังและประตูเข้าไปได
    ้ในบางครั้งและบางครั้งก็ใช้วิธีสะเดาะกลอนประตู นี่ก็เป็นอิทธิฤทธิ์ที่นักอ่านขุนช้างขุนแผนเคยได้ยินได้ฟัง

    ส่วนการดำดินก็คือการเดินหรือแหวกว่ายในผืนแผ่นดินเหมือนกับการแหวกว่ายดำอยู่ในน้ำอย่างหนึ่ง และยังหมายความรวมถึงการทำให้ผืนแผ่นดินนั้นเป็นช่องว่างดังกรรมวิธีที่ได้พรรณนามาแล้วอีกประการหนึ่งด้วย โดยประการหลังนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับที่ได้พรรณนามาแล้วนั่นเอง

    การทำให้ผืนแผ่นดินเป็นดั่งน้ำที่สามารถดำว่ายไปได้นั้นกระบวนการและกรรมวิธีก็เหมือน ๆ กัน ต่างกันก็ตรงการอธิษฐานที่ทำให้ผืนดินเป็นผืนน้ำ แล้วดำว่ายไปได้ดังประสงค์ ดังที่เรียกกันว่าดำดิน เช่นตัวอย่างที่มีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องขอมดำดินแล้วถูกพระร่วงสาปให้กลายเป็นหิน เป็นต้น

    การอธิษฐานที่ทำให้ผืนดินเป็นน้ำนั้นหากได้ผ่านการฝึกฝนอบรมอาโปกสิณหรือกสิณธาตุน้ำแล้วก็จะมีอานิสงส์เกื้อกูล
    ที่จะทำให้เกิดความแคล่วคล่องว่องไวได้โดยง่ายเพราะกำลังกสิณธาตุน้ำนั้นมีความคุ้นเคยและสะดวกต่อการเพ่งให้กลายเป็นน้ำได้ง่ายกว่ากสิณวิธีอื่น ๆ แม้ในส่วนของปฐวีกสิณก็มีส่วนเกื้อกูลด้วย โดยอาศัยกำลังกสิณประกอบกำลังอธิษฐานทำให้ผืนแผ่นดินอ่อนเป็นประดุจน้ำ

    เพราะเหตุที่การดำดินมีอยู่สองลักษณะ คือ ลักษณะที่ทำให้ผืนแผ่นดินเป็นช่องว่าง หรือแปรสภาพเป็นดังน้ำ ดังนั้นการจะเลือกใช้อิทธิฤทธิ์ลักษณะใดจึงขึ้นอยู่กับความสอดคล้องเหมาะสมและวัตถุประสงค์ในการกระทำฤทธิ์ แต่ถ้าจะให้สะดวกสบายก็เห็นว่าวิธีที่ทำให้เป็นช่องว่างจะสะดวกสบายกว่า เพราะอาการเดินไปในช่องว่างยังคงเป็นอาการที่คนคุ้นเคยยิ่งกว่าอาการแหวกว่ายซึ่งเป็นกริยาของปลามากกว่า

    สำหรับการกระทำอิทธิฤทธิ์เดินไปบนน้ำนั้นก็อยู่ตรงที่การอธิษฐานและกำลังอธิษฐานที่ทำให้ผืนน้ำนั้นเป็นประดุจดังแผ่นดิน จนกระทั่งสามารถเดินข้ามไปได้เหมือนกับเดินบนดิน

    กสิณวิธีที่เกื้อกูลต่อการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้มีตัวอย่างเช่นปฐวีกสิณเพราะแคล่วคล่องคุ้นเคยในการทำให้ปรากฏเป็นแผ่นดินได้ง่ายกว่า รวมทั้งอาโปกสิณหรือกสิณน้ำ ที่มีความคุ้นเคยแคล่วคล่องว่องไวในการที่จะทำให้น้ำแปรสภาพแข็งเหมือนแผ่นดินแล้วเดินข้ามไปได้

    อิทธิปาฏิหาริย์ของพ่อท่านโคะหรือหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เหยียบน้ำทะเลจืดก็คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้อาจจะทำถึงขนาดเดินไปบนน้ำเหมือนกับเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ หรือเดินไปในน้ำแต่ให้น้ำจมแค่หลังเท้าหรือครึ่งหัวเข่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังอธิษฐานและกำลังสมาธิที่ต้องการให้เป็นไปเช่นนั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและวัตถุประสงค์

    ในห้วงเวลาราว 50 ปีมานี้พระครูบรรหารศาสนกิจหรือพ่อท่านพลับเคยกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ และไม่ใช่ทำแต่เพียงรูปเดียว องค์เดียว หากยังมีพระเณรได้อานิสงส์ตามไปด้วย

    วัดของท่านสมภารด้านเหนือติดลำคลอง มีน้ำลึกขนาดค่อนลำไม้ไผ่ แม้จะมีน้ำขึ้นลงเป็นธรรมดาบ้างแต่ก็ยังจัดว่าน้ำลึกอยู่นั่นเอง ในยุคโน้นมีจระเข้ชุกชุมมาก หลายครั้งที่ท่านสมภารมีกิจนิมนต์ต้องพาพระเณรไปต่างพื้นที่อีกฝั่งคลองหนึ่งในเวลากลางวันก็พอได้อาศัยเรือพายเรือแจวของชาวบ้านที่ผ่านไปมาข้ามฟาก

    แต่ครั้นขากลับมืดค่ำแล้วไม่มีผู้คนสัญจร ไม่มีเรือผ่านไปมาในลำคลองนั้นอีก ฟ้ามืดสนิท น้ำก็ลึก ท่านพระครูนิยมจะกล่าวกับพระเณรที่ตามไปด้วยว่าเวลานี้น้ำลงตื้นแล้ว ให้ทุกรูปกลั้นหายใจหลับตาเกาะชายจีวรต่อ ๆ กันเดินตามท่านพระครูไป ก็สามารถเดินข้ามคลองจากฝั่งหนึ่งไปยังฝั่งวัดได้ ราวกับว่าคลองนั้นลึกแค่ครึ่งหน้าแข้งเท่านั้น

    การทั้งนี้คงเป็นเพราะไม่ประสงค์ที่จะให้เกิดความมหัศจรรย์พิลึกพิลั่นจนเกินไป จัดเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ตามความจำเป็นและเหมาะสมแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา

    ลำดับนี้จะได้พรรณนาการกระทำอิทธิฤทธิ์กลุ่มที่สี่ คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่เหาะไปในอากาศประดุจดังนก

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ก็เป็นอธิษฐานฤทธิ์และสำเร็จฤทธิ์ได้ด้วยอธิษฐานและกำลังอธิษฐานเป็นองค์นำ

    การอธิษฐานจะเป็นการอธิษฐานเพื่อทำให้กายนี้เบาดุจดังปุยนุ่น พูดให้เป็นภาษาปัจจุบันก็คือทำให้ร่างกายนี้มีมวลเบาเท่าหรือเบากว่าอากาศ ทำให้สามารถล่องลอยไปในอากาศได้ดังประสงค์

    กสิณวิธีที่เกื้อกูลต่อการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้มีเช่นอากาศกสิณ เป็นต้น จึงมีอานิสงส์และเกื้อกูลต่อความแคล่วคล่อง ความสะดวกรวดเร็วในการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ และเมื่อกระทำอธิษฐานเพ่งกำลังอธิษฐานให้กายนี้เบาดุจดังนกแล้วก็กำหนดจิตด้วยกำลังสมาธิให้เคลื่อนไปในอัตราเร็วเท่าใดก็ได้ ไปไกลเท่าใดก็ได้

    แต่ก็มีอีกวิธีหนึ่งโดยต่อเนื่องจากกระบวนการหลอมกายและจิตให้เป็นหนึ่งเดียวแล้ว กำหนดเป็นลหุสัญญาหรือกำหนดให้มีความเบาดุจดั่งขนนก นั่นคือเบาเท่ากับอากาศหรือเบามากกว่าอากาศ อันเป็นวิธีที่อาศัยสัญญากำหนดอาการเบา

    เมื่อไปถึงที่หมายดังประสงค์แล้วก็ถอนจิตออกมาเพื่อกลับสู่สภาพเดิม

    ในสมัยพุทธกาลนั้นสำหรับพระตถาคตเจ้าแล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงอีก เพราะทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ให้ปรากฏได้อยู่แล้ว ส่วนพระสาวกอื่น ๆ ดังเช่นพระโมคคัลลานะก็เคยกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้แล้วดังความที่ปรากฏชัดแจ้งแล้วในพระสูตรนั่นเอง

    พระมหาเถระในภาคอีสานหลายรูปตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็เคยมีปรากฏถึงการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้พวกโยคีในอินเดียก็สามารถกระทำได้ โดยอาศัยพื้นฐานกำลังกสิณ ในปัจจุบันนี้โยคีบางคนไปเปิดสำนักสอนอยู่ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐเป็นต้น เปิดการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ฝรั่งให้ลอยตัวได้ แต่ลอยได้แค่คืบ แค่ศอก หรือแค่วาเท่านั้น ซึ่งเป็นหลักฐานกระจุ๋มกระจิ๋มอันปรากฏแล้วจากพวกโยคีในปัจจุบัน ในขณะที่ผู้ที่คุ้นเคยและอ้างตนว่าเป็นชาวพุทธยังคงใส่ใจปฏิบัติน้อยกว่าน้อยนัก

    แต่ทว่าการแสดงการลอยตัวแบบโยคีนั้นก็ไม่ได้มีผลในการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ให้เกิดขึ้น เป็นเพียงแค่การแสดงอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความแปลกแก่คนทั่วไปเท่านั้นโดยที่ยังประโยชน์อันใดไม่ได้นอกจากลาภผลสำหรับคนสอนซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการเข้าถึงซึ่งความมหัศจรรย์แห่งโลกภายใน
     
  11. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (78) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">15 ธันวาคม 2548 18:06 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จักได้พรรณนาการกระทำอิทธิฤทธิ์กลุ่มที่ห้า คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ให้สิ่งที่อยู่ไกลมาปรากฏอยู่ในที่ใกล้อย่างหนึ่ง และการทำให้สิ่งที่อยู่ใกล้ปรากฏอยู่ในที่ไกลอีกอย่างหนึ่ง โดยทั้งสองอย่างนี้ล้วนเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ต้องใช้อธิษฐานหรืออธิษฐานฤทธิ์

    กระบวนการกระทำฤทธิ์ก็เหมือนกับที่ได้พรรณนามาก่อนหน้า ต่างกันก็ตรงที่อธิษฐานที่เพ่งกำหนดไปที่วัตถุสิ่งของหรือระยะทาง ตลอดจนคนหรือสัตว์ ทั้งที่อยู่ใกล้และทั้งที่อยู่ไกล

    ในกรณีกระทำอิทธิฤทธิ์ให้สิ่งที่อยู่ไกลมาปรากฏอยู่ในที่ใกล้ก็ตั้งอธิษฐานด้วยกำลังอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌาน และกำลังอธิษฐาน ให้สิ่งที่อยู่ไกลมาปรากฏอยู่ในที่ใกล้ และถ้าเป็นกรณีกระทำอิทธิฤทธิ์ให้สิ่งที่อยู่ใกล้ไปปรากฏในที่ไกลก็ตั้งอธิษฐานเช่นเดียวกันให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์เป็นเช่นนั้น

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ให้สิ่งที่อยู่ไกลมาปรากฏในที่ใกล้นั้นกระทำได้มากมายหลายประการ แม้กระทั่งการทำให้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มาปรากฏในที่ใกล้ แล้วลูบคลำด้วยอำนาจทางกาย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์พันลึก ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดกระทำฤทธิ์ดังกล่าวนี้ แต่เป็นสิ่งที่พระตถาคตเจ้าทรงแสดงทรงยืนยันไว้ในหลายที่หลายแห่ง

    ศิษย์แห่งพระตถาคตเจ้าในชั้นหลังที่กระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ให้ปรากฏมีมากมายสุดจะพรรณนา และส่วนมากเป็นไปเพื่อประโยชน์ในกิจแห่งพระศาสนาที่ต้องการย่นย่อระยะเวลาในการเดินทางให้สั้นลง เสียเวลาน้อยลง หรือขจัดอุปสรรคและความลำบากในการเดินทางให้น้อยลง

    พระมหาเถระในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้หลายรูปเคยกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ให้ปรากฏ ที่เคยรู้เคยเห็นและเคยได้ยินกิตติศัพท์เป็นเรื่องของพระมหาเถระในภาคใต้ ซึ่งผ่านวันเวลามาไม่นานเท่าใดนัก ยังไม่ถึงครึ่งศตวรรษเลย

    อาการกระทำฤทธิ์ที่ปรากฏมีสองลักษณะ คือในเวลาไปบิณฑบาตรที่หมู่บ้านห่างไกลจากวัดมาก สมภารท่านชราภาพแต่ก็ไม่เคยลดละสมณกิจนี้ เป็นแต่ว่าได้กระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ในการย่นย่อระยะทางที่ไกลให้เป็นใกล้ ในบางครั้งแม้มีศิษย์วัดถือปิ่นโตติดตามแต่พอลับพุ่มไม้เท่านั้นขรัวเจ้าก็หายไปแล้ว ไปคอยอยู่ที่วัด สรงน้ำอาบท่ารอเวลาฉันเท่านั้น

    อีกลักษณะหนึ่งเป็นกรณีออกบิณฑบาตรทางเรือ ท่านสมภารออกบิณฑบาตรโดยเรือพายลำเล็ก ๆ ไปตามลำคลองซึ่งห่างไกลจากหมู่บ้าน มีเด็กวัดหรือเณรตัวน้อย ๆ คอยพายท้ายโดยสมภารนั่งกลาง บางทีก็พายเรือกันไปตามปกติ แต่บางครั้งอาจจะเหนื่อยล้าเพราะความชราภาพหรือเพราะเวลาใกล้พ้นเพลาจังหัน พอพ้นเขตชุมชนขรัวเจ้าก็จะบอกให้ศิษย์ตัวน้อยหลับตาลง พลันที่ลืมตาขึ้นอีกครั้งหนึ่งเรือเพรียวลำเล็กก็จะมาจอดที่ท่าหน้าวัดแล้วฉะนี้

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ให้สิ่งที่อยู่ใกล้ไปปรากฏในที่ไกลก็ทำได้เป็นอเนกประการ พระตถาคตเจ้าทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ในการกำราบองคุลีมาล ซึ่งเป็นมหาโจรร้ายที่ถูกหลอกจากอาจารย์ให้สังหารผู้คนแล้วเอานิ้วแต่ละคนเพียงนิ้วเดียวคล้องคอไว้จนกว่าจะได้นิ้วครบพันนิ้ว กระทั่งคิดจะสังหารมารดาตนเพื่อให้ได้นิ้วครบพัน

    พระตถาคตเจ้าได้เสด็จไปโปรดองคุลีมาล ครั้นพอเห็นพระองค์ องคุลีมาลก็ติดตามพระองค์เพื่อจะสังหารเอานิ้วเหมือนอย่างเคย เดินเร็วขึ้นเท่าใดระยะห่างก็ยังไกลอยู่เท่านั้น ออกวิ่งก็แล้ว ใช้ความสามารถในการวิ่งเร็วจนเต็มที่แล้วระยะห่างอยู่เท่าใดก็ยังไกลอยู่เท่านั้นเหมือนเดิม

    องคุลีมาลจึงร้องเรียกพระตถาคตเจ้าให้หยุดก่อน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเราหยุดแล้วเธอสิยังไม่หยุด องคุลีมาลจึงกล่าวหาพระพุทธองค์ว่าทรงเปล่งวาจาเป็นอาสัตย์

    พระตถาคตเจ้าทรงยืนยันว่าเรามีสัจธรรมวาจา เราหยุดแล้วเพราะเราหยุดกระทำผิดบาปทั้งปวง เธอสิยังไม่หยุดเพราะยังสังหารผลาญชีวิตอันเป็นบาปอยู่ คำตรัสด้วยพระบรมศาสดาปฏิภาณนี้ทำให้องคุลีมาลได้ยั้งคิดหยุดกึกอยู่กับที่ สำนึกได้ถึงความผิดพลาดของตน และในที่สุดก็ทรงโปรดอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาและพระองคุลีมาลได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ นับเป็นพระสาวกองค์สำคัญอีกองค์หนึ่ง

    การทั้งนั้นเกิดจากพระตถาคตเจ้าทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ยืดระยะทางที่ใกล้ให้ไกลออกไป และให้คงระยะทางนั้นไว้ไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าอัตราเร่งจากก้าวเดินเป็นวิ่งเร็วสุดก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงระยะทางห่างกันนั้นได้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทำของใกล้ให้ปรากฏในที่ไกลนั้นล่วงพ้นมิติแห่งความเร็ว นี่ก็นับว่าเป็นความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในอีกประการหนึ่ง

    สำหรับกลุ่มที่หกเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์เพื่อการกำบังตน โดยให้บังเกิดเป็นม่านควันอย่างหนึ่ง หรือทำให้เกิดเป็นเพลิงลุกไหม้ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถึงแม้จะเป็นอธิษฐานฤทธิ์ แต่ก็เป็นอธิษฐานฤทธิ์จำพวกที่เนื่องหรือใกล้ชิดหรือเป็นผลโดยตรงจากอานิสงส์ของกสิณจำพวกไฟคือเตโชกสิณ

    พวกโยคีหรือพวกผู้ถือลัทธิบูชาไฟทั้งหลายมีความคุ้นเคยแคล่วคล่องว่องไวในการฝึกฝนเตโชกสิณหรือกสิณไฟ ดังนั้นโยคีจำพวกนี้จึงมีความถนัด มีความแคล่วคล่องในการทำอิทธิฤทธิ์ให้บังเกิดควันหรือบังเกิดไฟ ใครที่ดูหนังอินเดียแม้กระทั่งรามเกียรติ์ก็คงจะเคยพบเคยเห็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ของพวกโยคี

    การกระทำอิทธิฤทธิ์กลุ่มนี้เป็นอธิษฐานฤทธิ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเจตนาและกำลังเจตนาจึงเป็นองค์หลักในการกระทำฤทธิ์ โดยตั้งเจตนาให้บังเกิดเป็นควันหรือเป็นไฟในปริมณฑลตามที่ประสงค์ มีความหนาแน่นของควันหรือปริมณฑลที่กว้างขวางของไฟในลักษณะเป็นวงรอบ หรือเป็นแถบ หรือเป็นแนว หรือจากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นไปข้างบนก็ได้

    พระตถาคตเจ้าเคยกระทำฤทธิ์ชนิดนี้ด้วยพระองค์เองในการกำราบพวกชฎิลโดยเฉพาะคือชฎิล ผู้พี่ซึ่งเป็นผู้ถือลัทธิบูชาไฟ และในโรงบูชาไฟของชฎิลก็มีพญานาคอันมีฤทธิ์กล้า แต่ไม่ปรากฏในพระสูตรว่าชฎิลเลี้ยงพญานาคไว้หรือพญานาคมาอาศัยเป็นครูบาอาจารย์ของชฎิลหรือร่วมกันในลัทธิบูชาไฟนั้น

    ชฎิลผู้พี่จัดที่พำนักให้พระตถาคตเจ้าไปพักในโรงบูชาไฟหวังจะให้ตกเป็นเหยื่อของพญานาค แต่ในที่สุดก็ทรงปราบพญานาคได้สำเร็จ ทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ประเภทนี้เป็นอเนกประการ จนชฎิลต้องจำใจยอมแล้วบังเกิดศรัทธารับฟังพระธรรม

    จากนั้นก็ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรเป็นการเบิกโรง ทรงแสดงอานุภาพความรุ่มร้อนตามความเคยชินคุ้นเคยของชฎิลเป็นตัวตั้ง แล้วทรงชี้ว่าไฟที่แท้จริงนั้นคือไฟแห่งกิเลสอันประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ที่ทำให้เกิดความรุ่มร้อนทั้งภายนอก ภายใน จากนั้นก็ทรงตรัสถึงวิธีดับไฟไปจนถึงอริยสัจสี่ เป็นเหตุให้ชฎิลผู้พี่เข้ารับอุปสมบทเป็นพระสาวกของพระพุทธองค์

    พระตถาคตเจ้าเคยตรัสสั่งให้พระสาวกแสดงอิทธิฤทธิ์ดังกล่าวนี้คือทั้งควันทั้งไฟเพื่อปราบพญานาคหลายครั้งหลายหน แต่ทั้งหมดนั้นก็เป็นไปเพื่อความศรัทธาประสาทะของเวไนยสัตว์แล้วน้อมนำจิตใจให้อ่อนลงพร้อมที่จะรับฟังพระธรรมอันประเสริฐ

    ไม่เคยปรากฏสักครั้งเดียวว่าการกระทำอิทธิฤทธิ์ของผู้ถึงซึ่งความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในแล้วว่าเป็นไปเพื่อการแสวงหาลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ทั้งพระตถาคตเจ้าก็ตำหนิติเตียนการเช่นนั้นอย่างเข้มงวด ดังนั้นการกระทำอิทธิฤทธิ์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของเวไนยสัตว์ในการน้อมนำให้รับพระธรรมอันประเสริฐไปประพฤติปฏิบัติให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นเวไนยสัตว์ในชาตินี้

    ลำดับนี้จักพรรณนาการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่เคลื่อนย้ายตนเองจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง กับการถอดทิพยกายออกไปปรากฏอยู่ในอีกที่หนึ่งอันเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ในกลุ่มที่เจ็ดต่อไป

    ทั้งสองลักษณะนี้ก็เป็นอธิษฐานฤทธิ์คือเป็นฤทธิ์ที่ต้องอาศัยการอธิษฐานและกำลังอธิษฐาน ดังนั้นกระบวนการจึงเหมือนกับที่ได้พรรณนามาแล้ว คงเหลืออยู่ที่เจตนาในการกระทำฤทธิ์ให้เป็นไปตามความประสงค์

    อิทธิฤทธิ์ทั้งสองลักษณะนี้ต่างกัน อย่างแรกเป็นการเคลื่อนย้ายร่างกายตนเองจากที่หนึ่งไปอยู่อีกที่หนึ่ง ส่วนอย่างที่สองเป็นการถอดกายทิพย์ออกจากกายนี้แล้วไปสู่ที่หมายตามต้องการ เพื่อกระทำการใดกระทำการหนึ่ง

    พระบรมศาสดาทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้งสองชนิดนี้บ่อยครั้งมาก ดังนั้นระยะเวลา 45 ปีนับแต่ทรงตรัสรู้ถึงปีแห่งพุทธปรินิพพานจึงทรงสามารถปฏิบัติพุทธกิจได้มากหลาย เพราะหากจะคำนวณระยะทางพุทธดำเนินจากที่นี่ไปที่นั่น จากที่นั่นไปที่โน่นโพ้นไกลออกไป หากเป็นการเสด็จตามปกติก็ย่อมยากที่จะทรงบรรลุพุทธกิจได้เช่นนั้น เหตุนี้จึงทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้งสองลักษณะนี้เป็นเนืองนิตย์ หรือจะเรียกว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ที่ทรงกระทำบ่อยมากที่สุดอย่างหนึ่งก็ได้

    การกระทำอิทธิฤทธิ์เคลื่อนย้ายตนเองจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไม่ว่าใกล้ไกลเพียงใดเป็นการกระทำอิทธิฤทธิ์ที่ทำให้ร่างกายนี้เคลื่อนตัวไปปรากฏในที่ที่ประสงค์ ในชั่วพริบตาเดียว ดังที่ปรากฏความหนึ่งในรามเกียรติ์ว่า “ชั่วลัดนิ้วมือเดียวเร็วรีบ ถึงทวีปอุดรรังสรรค์”

    ตัวตนของผู้กระทำฤทธิ์จะไปปรากฏในที่ที่ประสงค์ และกระทำการใดๆ ได้ทุกอย่างตามปกติ พระตถาคตเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในต่างทวีป ในต่างประเทศ และในโลกอื่นก็ด้วยอำนาจแห่งอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้

    หลายครั้งเสด็จไปโปรดพระสาวกหรือเวไนยสัตว์ในที่ไกลหรือไกลโพ้นออกไป ครั้นโปรดพระสาวกหรือเวไนยสัตว์เสร็จพุทธกิจแล้วก็ทรงเสด็จกลับมายังที่ประทับดังเดิม

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ลักษณะนี้จึงต้องตั้งอธิษฐานกำหนดการเคลื่อนย้ายตนเองหรือมวลสารอื่นให้เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งก็คืออาศัยอธิษฐานและกำลังอธิษฐานเป็นตัวนำแล้วตามด้วยกำลังฌานเพื่อให้มีอานุภาพในการเคลื่อนตัวอย่างเร็วรีบ ที่ถึงขนาดเร็วเท่าหรือเร็วกว่าความเร็วของแสงเสียอีก

    และอาจกระทำโดยวิธีหลอมกายและจิตให้เป็นหนึ่งเดียวแล้วกำหนดลหุสัญญาจนบางเบาโปร่งใสประณีตสูงสุดแล้วขับเคลื่อนด้วยกำลังฌานและกำลังจิตหรือกำลังสมาธิให้ไปปรากฏอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งดังประสงค์

    พระมหาเถระในภาคอีสานหลายรูปเคยกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระและเพื่อนสหธรรมมิกที่ใกล้ชิดมีภูมิธรรมเสมอกันของท่านเคยกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ในการเดินทางไปอบรมสั่งสอนศิษย์อยู่เสมอ ๆ

    ส่วนการกระทำอิทธิฤทธิ์จำพวกที่ถอดกายทิพย์ออกไปจากร่างกายเดิมนั้นก็มีความคล้ายคลึงกันกับการกระทำฤทธิ์อย่างแรก เป็นแต่ร่างกายเดิมยังคงอยู่หรือตั้งอยู่ในที่เดิม แต่ถอดกายทิพย์หรือนามกายอันเป็นทิพย์นั้นออกไปจากร่างกายเดิม ไปสู่ที่หมายใดๆ แล้วปรากฏกายใหม่เหมือนกับกายเดิมและแสดงอริยาบถหรือกระทำการใด ๆ ได้ทุกประการ

    กรรมวิธีทั้งปวงก็เป็นอย่างเดียวกัน แต่ไม่อาจใช้กรรมวิธีหลอมรวมกายกับจิตเป็นหนึ่งเดียวกันเท่านั้น เพราะกรรมวิธีนี้กายเดิมจะตั้งหรืออยู่ในที่เดิม ส่วนกายทิพย์จะถูกถอดออกไป เมื่อเสร็จกิจแล้วกายทิพย์ก็กลับมาสู่กายเดิมตามปกติ โดยช่วงเวลาที่ถอดกายทิพย์ออกไปนั้นความผูกพันกับกายเดิมได้อาศัยกระแสของจิตเป็นตัวเชื่อมจึงทำให้กายกับจิตไม่ขาดจากกัน และทำให้ไม่เป็นความตาย

    พระตถาคตเจ้าและพระสาวกได้กระทำอิทธิฤทธิ์วิธีนี้มากมายซึ่งสามารถตรวจสอบศึกษาดูโดยง่ายในพระไตรปิฎก จึงขอยกแต่ตัวอย่างในห้วงเวลาใกล้ ๆ ที่พระมหาเถระรูปหนึ่งในภาคใต้ได้กระทำฤทธิ์ชนิดนี้ถอดทิพยกายออกไปช่วยลูกศิษย์ที่ถูกพายุพัดเรือแตกอยู่ในทะเลถึงเจ็ดวันให้รอดตายได้เป็นปาฏิหาริย์ดังที่ได้พรรณนามาข้างต้นแล้ว

    อธิษฐานฤทธิ์ทั้ง 16 วิธีดังพรรณนามาราวกับว่าช่างง่ายดายในการกระทำอิทธิวิธีเสียนี่กระไร เพราะเป็นเรื่องของการพูด การเขียน การพรรณนาความ แต่การทำให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์ดังที่ได้พรรณนามานี้ต่างหากที่เป็นเรื่องต้องฝึกฝน ต้องอบรมจิตปฏิบัติ ต้องทดสอบทดลองให้แคล่วคล่องชำนาญจนสามารถทำการได้ดังประสงค์

    อิทธิฤทธิ์ทั้ง 16 วิธีดังพรรณนามานี้เป็นส่วนของอธิษฐานฤทธิ์ที่อาศัยอธิษฐาน กำลังอธิษฐานเป็นองค์นำ โดยมีกำลังขับเคลื่อนคือกำลังอิทธิบาท กำลังจิตหรือกำลังสมาธิและกำลังฌานเป็นตัวหนุนกำหนดการให้เป็นไปดังอธิษฐานนั้น
     
  12. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (79) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">22 ธันวาคม 2548 17:25 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> ลำดับแต่นี้ไปจักได้พรรณนาอิทธิวิธีอีก 4 ชนิดซึ่งได้นับเนื่องเป็นอิทธิฤทธิ์ด้วย คือ มโนมยิทธิหรือมโนมัยฤทธิ์ เจโตปริยญาณ ทิพยโสต และทิพยจักษุ ก็จะเป็นอันครบวิธีกระทำอิทธิฤทธิ์ทั้ง 20 วิธี ดังที่ได้ตั้งเป็นหัวข้อพรรณนามาแต่ต้น

    อิทธิฤทธิ์ทั้ง 4 วิธีนี้ไม่เรียกว่าเป็นอธิษฐานฤทธิ์ แต่นับเป็นอิทธิวิธีเฉพาะ เพราะมีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง และไม่ได้อาศัยกำลังอธิษฐานเป็นกำลังนำอีกอย่างหนึ่ง

    แต่ทว่าในการกระทำอิทธิฤทธิ์นี้ก็ยังคงต้องประกอบด้วยกำลังทั้งสี่ คือกำลังอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌานและกำลังอธิษฐานเหมือนกัน และต้องอาศัยการอธิษฐานคือการตั้งเจตนาประสงค์ที่จะให้บังเกิดฤทธิ์ด้วย

    แต่กำลังหลักที่จะให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์ก็คือกำลังอิทธิบาทและกำลังฌาน ส่วนกำลังอื่นๆ เป็นตัวหนุน

    จะได้พรรณนาการกระทำอิทธิฤทธิ์วิธีมโนมยิทธิหรือมโนมัยฤทธิ์ก่อน การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้คือการเนรมิตหรือการแปลงร่าง นั่นคือเนรมิตร่างขึ้นมาอย่างหนึ่ง และการแปลงร่างเดิมเป็นร่างอื่นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งได้พรรณนามาบ้างแล้วว่าฝ่ายมหายานนั้นนิยมชมชอบอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ดังตัวอย่างในเรื่องไซอิ๋วที่เฮ่งเจียแปลงร่างได้ถึง 72 ชนิด

    เป็นเรื่องแปลกที่ในพระสูตรมักไม่ปรากฏเรื่องราวของการแปลงร่าง ซึ่งอาจเป็นเพราะพระตถาคตเจ้าและพระสาวกทรงครองเพศพรหมจรรย์อันประเสริฐ จึงไม่มีพุทธประสงค์หรือความประสงค์ที่จะแปลงร่างเป็นเพศอื่นซึ่งต่ำกว่า

    ในประเทศไทยของเรานั้นในระยะร้อยกว่าปีนี้ที่ปรากฏขึ้นชื่อลือชามากก็คือการกระทำอิทธิฤทธิ์ของหลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า พระมหาเถระผู้เป็นพระอาจารย์ของเสด็จในกรมฯ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ที่สามารถแปลงร่างได้มากมายหลายประการ และเนรมิตสัตว์อื่น ๆ ให้ปรากฏได้มากมาย

    ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนก็มีเรื่องราวของเถรขวาดที่สามารถแปลงกายเป็นจระเข้ได้ ในพื้นที่ภาคใต้ก็เคยปรากฏผู้สำเร็จวิชานี้แต่ยังไม่เต็มที่นัก สามารถแปลงกายเป็นจระเข้ได้แล้วเรียกชื่อเฉพาะว่าจระเข้ปรอท คือควบคุมจิตตัวเองได้ไม่เต็มที่จึงมีความดุร้ายเหมือนจระเข้จริง ๆ

    นั่นเป็นส่วนของการแปลงกาย แต่ในส่วนของการเนรมิตก็คือการเนรมิตร่างกายขึ้นมาอีกร่างหนึ่งเหมือนกับร่างกายเดิม แล้วไปทำการใด ๆ ในอีกที่หนึ่ง โดยที่ร่างกายเดิมก็ยังคงอยู่ตั้งอยู่ ซึ่งคล้าย ๆ กันกับการถอดกายทิพย์ออกไป ต่างกันก็เฉพาะที่ไปนั้นเป็นกายที่เนรมิตขึ้นหรือเป็นกายทิพย์ที่ถอดออกไป และที่ต่างกันอีกอย่างหนึ่งก็คือในกรณีกายเนรมิตจะกระทำการได้เหมือนและเช่นเดียวกันกับร่างกายเดิมที่กระทำอยู่ นั่นคือกายเดิมทำการใด ๆ แล้วไปปรากฏเป็นการกระทำของกายเนรมิตเหมือนกันทุกประการส่วนกายทิพย์นั้นสามารถกระทำการใดๆ ได้ทุกอย่าง ในขณะที่กายเดิมยังคงตั้งหรือนั่งอยู่ที่เดิม อาการเดิม

    กระบวนการทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ก็เช่นเดียวกันกับการกระทำอธิษฐานฤทธิ์ คือต้องถอนจิตจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิก่อน อาศัยกำลังอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌาน และกำลังอธิษฐานประกอบด้วยการอธิษฐานให้บังเกิดฤทธิ์ดังที่ต้องการ

    เมื่อบังเกิดเป็นอิทธิฤทธิ์แล้ว การจะคลายอิทธิฤทธิ์สู่สภาพเดิมก็ด้วยการกำหนดจิตให้คืนสู่สภาพเดิม เมื่อเป็นสภาพเดิมแล้วจึงค่อยถอนจิตออกจากฌานสู่ความเป็นปกติ

    ส่วนอิทธิฤทธิ์ชนิดเจโตปริยญาณนั้นเป็นอิทธิวิธีและเป็นวิชชาหนึ่งในวิชชาแปดประการ เป็นอิทธิฤทธิ์ที่สามารถล่วงรู้ใจผู้อื่นได้

    ต่างกันกับวิชาบางอย่างในอินเดียขณะนั้นที่สามารถล่วงรู้ใจผู้คนได้เหมือนกัน แต่เป็นการล่วงรู้ในระดับโลกียะซึ่งพวกโยคีหรือพวกเล่นกลในอินเดียมีความสามารถ มีความรู้ และมีความชำนาญเป็นอันมาก จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ยังมีปรากฏคนจำพวกนี้เข้ามาหลอกลวงต้มตุ๋น แม้กระทั่งในประเทศไทยเป็นประจำ

    การต้มตุ๋นก็มีวิธี เช่น ให้เขียนตัวหนังสือหรือตัวเลขในฝ่ามือแล้วเขาจะทายว่าเป็นตัวหนังสือหรือตัวเลขอะไร เป็นต้น นี่เป็นวิชาที่ว่านั้น

    วิชาดังกล่าวนี้ไม่ได้อาศัยกำลังอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌาน และกำลังอธิษฐาน แต่เป็นวิชาไสยชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกเดียวกับวิชาไสยศาสตร์ที่อ่านเวทท่องมนต์หรือกระทำวิธีไสย แต่ไม่เป็นไปในทางบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงเรียกว่าวิชาดำ ต่างกับวิชาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกว่าวิชาขาว ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของเวไนยสัตว์ที่จะได้เข้าถึงพระธรรมอันประเสริฐ

    คนเราทุกคนล้วนมีจิต จิตนั้นมีกระแสเปล่งออกจากตัว เป็นแต่ว่าตามนุษย์ธรรมดามองไม่เห็น แม้กระนั้นวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็ได้ประสบความสำเร็จในการตรวจวัดกระแสของจิตได้บ้างแล้วว่าจิตแต่ละขณะ แต่ละความรู้สึกสามารถวัดออกมาเป็นสีอะไร กระแสนี้นี่แหละที่จะเป็นตัวส่งสัญญาณมายังตัวรับสัญญาณคือจิตของผู้กระทำอิทธิฤทธิ์

    คนแต่ละคนมีกำลังจิตไม่เท่ากัน กำลังจิตน้อยกระแสที่แผ่ออกไปก็แคบและใกล้ แต่ผู้มีกำลังจิตสูงสามารถแผ่กระแสจิตออกไปได้กว้างขวางกว้างไกลจนกระทั่งหาประมาณมิได้ ดังนั้นผู้ที่สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้จึงเป็นผู้ที่สามารถแผ่กำลังจิตออกไปอย่างกว้างขวางหาประมาณมิได้ หรือหากจะกล่าวโดยนัยทางวิทยาศาสตร์ก็อาจกล่าวได้ว่าผู้กระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้มีขีดความสามารถที่จะแผ่กระแสของเครื่องรับออกไปรับสัญญาณจากเครื่องส่งได้ไกลแสนไกลหาประมาณมิได้ ต่างกับการส่งสัญญาณทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีที่ปกติเครื่องส่งจะต้องมีสัญญาณแรงกว่าเครื่องรับ

    กำลังอิทธิบาท กำลังฌาน และกำลังอธิษฐาน จะทำให้กำลังจิตซึ่งเป็นตัวนำแผ่กระแสจิตออกไป หรือส่งสัญญาณการรับออกไป ไกลออกไป โพ้นออกไป สู่ที่หมายได้แก่บุคคลอันเป็นที่หมาย

    เมื่อกระแสของตัวรับสัญญาณแผ่ออกไปถึงกระแสของตัวส่งสัญญาณคือบุคคลอื่น ซึ่งส่งสัญญาณอาการความรู้สึกนึกคิดโดยกระแสของจิตแล้ว ตัวรับสัญญาณก็จะอ่านและรับรู้ความหมายว่าผู้นั้นมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรโดยถ่องแท้ไม่มีแปรผันเป็นอย่างอื่น

    เพราะกระแสของจิตนั้นโกหกไม่ได้ และไม่มีการโกหกหลอกลวงกัน กระแสที่เปล่งออกจากจิตจึงเป็นของจริง เป็นเรื่องจริง และเป็นความจริงที่สะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดตลอดจนความรู้ความเข้าใจของผู้นั้น ด้วยเหตุนี้ผู้กระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้จึงสามารถล่วงรู้ความรู้สึกนึกคิดและจิตใจทั้งปวงของผู้อื่นนั้นได้อย่างถ่องแท้ถูกต้อง

    การสัมผัสกันของกระแสรับและกระแสส่งดังกล่าวนี้บางคนบังเกิดมีขึ้นในตัวมากเป็นพิเศษ โดยที่ไม่มีการฝึกฝนอบรมจิตเลย บางคนขอเพียงมีสมาธิเล็กน้อยก็สามารถล่วงรู้จิตใจคนอื่นในระดับหยาบ ๆ ได้

    ตัวอย่างง่าย ๆ ที่บางครั้งคนเราเพียงแค่เดินผ่านหรือเห็นหน้าอีกคนหนึ่งก็จะรู้ว่าเขาพอใจหรือไม่พอใจ เป็นต้น ซึ่งความจริงสิ่งเหล่านี้หลายคนอาจจะประสบพบพานด้วยตนเองมาบ้างแล้ว แต่หวนทวนไปใคร่ครวญดูเถิดว่ามักเกิดในขณะที่จิตสงบจิตนิ่ง จึงมีกระแสส่งสัญญาณรับไปสัมผัสกับสัญญาณส่งได้

    พระตถาคตเจ้าทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้มากที่สุดอย่างหนึ่ง จึงทำให้พระองค์สามารถตั้งคำถามหรือตรัสสอนได้ตรงกับความรู้สึกนึกคิดของผู้นั้นได้ในทันที

    ดังเช่นครั้งหนึ่งพระยัสสะบุตรมหาเศรษฐีผู้มีความสมบูรณ์พูนสุขพร้อมทุกอย่างในทางโลกียสุข แล้วเกิดความอัดอั้นอึดอัดขัดใจเห็นเป็นเรื่องรำคาญวุ่นวายจึงเดินหนีออกจากบ้าน พร้อมกับเปล่งเสียงรำพึงรำพันไปตลอดทางว่าที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ

    พระพุทธองค์ได้สดับเสียงเปล่งรำพึงของพระยัสสะแล้วก็ทรงรู้ด้วยเจโตปริยญาณถึงความรู้สึกนึกคิดทั้งปวงของพระยัสสะ จึงทรงเปล่งพระวาจาตรัสขึ้นบ้างว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ ที่นี่ไม่ขัดข้องหนอ เข้ามาเถิด เราจะสนทนาด้วยท่าน” เป็นเหตุให้พระยัสสะตื่นจากภวังค์แล้วเข้าไปฟังพระธรรม ในที่สุดก็ขออุปสมบทเป็นพระอรหันตสาวกรูปต้น ๆ ของพระตถาคตเจ้า

    หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง พระตถาคตเจ้าทรงเล็งด้วยเจโตปริยญาณในเวลาใกล้รุ่งสาง เห็นพราหมณ์ผู้หนึ่งที่อาบน้ำในเวลาเช้าตรู่ทุกวันก็ทรงรู้ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวงและทรงเล็งเห็นว่าความเพียรและภูมิจิตอยู่ในระดับที่จะยอมรับพระธรรมอันประณีตลึกซึ้งได้แล้วจึงเสด็จไปโปรด แล้วถามพราหมณ์นั้นว่าพราหมณ์เอ๋ยท่านอาบน้ำทุกเวลาเช้าทำไม

    พราหมณ์ตอบว่าน้ำในแม่น้ำนี้ศักดิ์สิทธิ์ อาบแล้วจะได้ไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่าถ้าเป็นจริงดังที่พราหมณ์ว่า ฝูงเต่าปูปลาในแม่น้ำนี้คงจะไปสวรรค์กันหมดก่อนพราหมณ์เสียอีก

    พราหมณ์ได้ฟังพระพุทธดำรัสก็ตื่นตะลึงได้คิดแล้วขอฟังพระธรรม

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้เป็นประโยชน์ยิ่งต่อการประกาศเผยแผ่พระธรรมคำสอนเพราะเมื่อรู้ความคิดจิตใจ ความรู้สึก ตลอดจนอารมณ์และปัญหาต่าง ๆ ที่ค้างคาใจของผู้นั้นแล้วก็สามารถกล่าวความหรือแสดงธรรมให้ถูกตรงกับที่ขุ่นข้องติดขัดในจิตของผู้นั้นให้กระจ่างสว่างไสวได้โดยง่าย และทำให้เขาเข้าใจเข้าถึงพระธรรมได้โดยง่ายด้วย

    เพราะเหตุนี้เมื่อสิ้นคำตรัสสอนของพระตถาคตเจ้าจึงมักปรากฏคำสรรเสริญของผู้ที่เสด็จไปโปรดในแทบทุกพระสูตรว่า “ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแจ่มแจ้งจริงหนอ ดุจดังทำของคว่ำให้หงายฉะนั้น”

    จึงอาจกล่าวได้ว่าวิชชานี้หรืออิทธิฤทธิ์ประการนี้มีอานิสงส์ มีผลมากต่อการประกาศศาสนาของพระตถาคตเจ้า ซึ่งพระมหาเถระในยุคปัจจุบันนี้ก็มีหลายรูปที่บรรลุถึงอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ ดังตัวอย่างของหลวงปู่แหวนหรือหลวงตาพระมหาบัวหรือหลวงพ่อคูณ เป็นต้น

    พระมหาเถระเหล่านี้บางทีก็ลัดคิวเรียกผู้ที่ไปคอยพบบางคนเข้ามาหาแล้วพูดจาต้องด้วยความรู้สึกนึกคิดที่ติดขัดอยู่นั้นเป็นที่อัศจรรย์

    จะขอยกตัวอย่างหนึ่งซึ่งอดีตรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่งเดินทางไปดูงานที่ประเทศอินเดีย ครั้นเผลอเมามายแล้วไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ จากนั้นก็มีความเป็นทุกข์เป็นร้อนกลัวว่าจะติดโรคเอดส์ มีความกลัดกลุ้มรุมเร้าอยู่เป็นนิตย์ จะบอกจะกล่าวกับผู้ใดก็ไม่กล้า จะไปหาหมอก็กลัว

    วันหนึ่งไปหาหลวงพ่อคูณ ไปเข้าแถวอยู่ปลายแถว ครั้นหลวงพ่อคูณเดินเคาะศีรษะเป็นลำดับมาถึงตัว หลวงพ่อคูณได้เคาะหัวให้ตามธรรมเนียมแล้วกล่าวความขึ้นว่า “มึงไม่ได้เป็นอะไรที่มึงเป็นห่วงเด้อ”

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ยังสามารถทำให้ผู้กระทำอิทธิฤทธิ์ล่วงรู้เหตุการณ์ที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น รู้ว่าคนผู้นั้นเป็นสุขสบายดีหรือป่วยไข้ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เป็นหรือตาย หรือคิดอ่านทำการสิ่งใดอยู่

    การที่พระมหาเถระบางรูปสามารถบอกกล่าวเหตุการณ์เช่นนี้ได้ก็เพราะได้กระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้ แต่ก็ต้องตระหนักว่าลำดับ ขนาด ความถูกต้องแม่นยำย่อมขึ้นอยู่กับกำลังอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌาน และกำลังอธิษฐานนั่นเอง บางรูปกำลังเหล่านี้ยังไม่ถึงขนาดนัก แต่เพราะอาศัยความบริสุทธิ์ของศีลและบุญฤทธิ์ก็เป็นกำลังเสริมที่ทำให้เจโตปริยญาณปรากฏขึ้นในบางระดับได้ แต่พอติดยึดในโลกธรรมคือลาภ ยศ สุข สรรเสริญแล้วอิทธิฤทธิ์นั้นก็สร่างคลายลงไป ดังนั้นจึงปรากฏเสมอว่าบางครั้งถูกต้องแม่นยำ บางครั้งผิดพลาดคลาดเคลื่อนก็ด้วยเหตุดังกล่าวนี้

    การที่ล่วงรู้เหตุการณ์หรือความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นเป็นครั้งเป็นคราวของคนธรรมดาที่ไม่เคยผ่านการฝึกฝนอบรมหรือที่ไม่สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ได้นั้นก็มีอยู่จริงเป็นครั้งเป็นคราว สาเหตุก็เกิดจากเทพยดาบันดาลให้กระแสของจิตถึงกันได้อย่างหนึ่ง หรือด้วยอำนาจแห่งบุญฤทธิ์ทำให้บังเกิดฤทธิ์เฉพาะครั้งเฉพาะคราวอีกอย่างหนึ่ง

    อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้จัดเป็นวิชา 1 ใน 8 วิชาในพระพุทธศาสนา มีผลมาก มีอานิสงส์มากในการช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายให้คลายออกจากทุกข์ในบางระดับบางขั้นได้ แม้กระทั่งในขั้นสูงสุดก็ได้
     
  13. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (80-จบ) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">29 ธันวาคม 2548 18:38 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"></td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จักได้พรรณนาอิทธิฤทธิ์ลำดับที่ 19 ซึ่งเป็นอิทธิวิธีเฉพาะอีกประการหนึ่ง คือ ทิพยโสตหรือหูทิพย์ ซึ่งเป็น 1 ในวิชชา 8 ประการในพุทธศาสนา แต่เพราะมีความมหัศจรรย์ เป็นไปเพื่อความสำเร็จอย่างมหัศจรรย์จึงจัดเป็นอิทธิฤทธิ์ด้วย

    อิทธิฤทธิ์ชนิดนี้จัดเป็นอิทธิวิธีเฉพาะก็เพราะว่าเป็นอานิสงส์หรือเป็นผลหรือเป็นขีดความสามารถที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่บรรลุภูมิธรรมตั้งแต่ระดับชั้นจตุตถฌานแล้ว

    ทิพยโสตหรือหูทิพย์มีความหมายอยู่สองนัยยะ นัยยะแรกคือขีดความสามารถของหูซึ่งเป็นเครื่องรับฟังอย่างหนึ่ง และความสามารถได้ยินเสียงอันล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ที่จะได้ยินได้อีกอย่างหนึ่ง

    หูของคนเรานั้นได้ยินเสียงก็เพราะว่าได้อาศัยประสาทสัมผัสในการรับฟังหรือได้ยิน แต่มีขีดความสามารถที่จำกัดมากๆ คือได้ยินเสียงบางเสียงเท่านั้น เสียงที่สูงกว่าระดับที่มนุษย์จะได้ยินหรือที่ต่ำกว่าระดับที่มนุษย์จะได้ยินก็ไม่สามารถได้ยิน เพราะต้องมีคลื่นเสียงขนาดที่หูสามารถรับฟังได้มากระทบประสาทการรับฟังของหูจึงจะสามารถได้ยิน

    หากจะเปรียบช่วงคลื่นความถี่ของเสียงที่มีขนาดต่าง ๆ กันว่ามีความยาวสักร้อยเมตร คลื่นเสียงที่หูคนเราสามารถได้ยินจะอยู่ในช่วงกลาง ๆ ราว ๆ 4-5 เมตรเท่านั้น เสียงที่ต่ำลงมาหรือที่สูงเกินไปกว่านี้หูของมนุษย์ไม่สามารถได้ยินได้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าในบรรดาเสียงทั้งหลายที่มีอยู่ หูของมนุษย์เราสามารถได้ยินน้อยกว่าเสียงที่ไม่สามารถได้ยิน

    เพราะเหตุนี้เสียงบางเสียงที่หมาได้ยินแต่คนเรากลับไม่ได้ยิน เสียงบางเสียงที่แมลงสาบได้ยิน คนเรากลับไม่ได้ยิน เสียงบางเสียงที่ปลาวาฬได้ยิน คนเราก็ไม่สามารถได้ยิน นั่นเป็นเพราะว่าเป็นเสียงที่มีคลื่นเสียงสูงหรือต่ำกว่าขนาดของคลื่นเสียงที่หูมนุษย์จะได้ยินได้

    ดังนั้นมนุษย์เราจึงไม่ควรจะอวดรู้มากเกินไปเพราะที่เข้าใจว่ารู้นั้นช่างน้อยกว่าน้อยนัก นี่ยังไม่รวมถึงเสียงอีกมากหลายที่หลายคนอาจจะไม่คิดหรือไม่เชื่อ เช่น เสียงภูต เสียงผี เสียงเปรต เสียงเทพ เสียงพรหม

    ลองนึกดูเถิดหากหูคนเรามีความสามารถได้ยินเสียงที่มีคลื่นความถี่ต่ำหรือสูงกว่าที่เราเคยได้ยินหรือที่ไม่สามารถได้ยินมาแต่ก่อนแล้ว ขีดความสามารถนั้นจะต้องสูงส่งถึงปานไหน

    นอกจากนั้นระยะของการได้ยินเสียงของคนเราก็จำกัดนัก แค่เสียงนาฬิกาเดินพอห่างออกไปหน่อยก็ไม่ได้ยินแล้ว สำมะหาอะไรจะได้ยินเสียงแผ่นดินขยับตัวใต้ทะเลซึ่งฝูงปลาได้ยินมาก่อนแล้ว และยิ่งไม่ต้องพูดถึงการได้ยินเสียงในที่ห่างไกลโพ้นออกไป

    การกระทำอิทธิฤทธิ์วิธีนี้ก็คือการเพิ่มขีดความสามารถได้ยินของหูให้สามารถได้ยินเสียงที่มีขนาดความถี่ของคลื่นสูงหรือต่ำกว่าที่เคยได้ยินมาแต่ก่อน และมีขีดความสามารถได้ยินเสียงที่ไกลออกไปโพ้นได้ นี่จึงกล่าวว่าเป็นความสามารถในการได้ยินเสียงล่วงพ้นวิสัยของมนุษย์หรือหูทิพย์

    ความสามารถในการได้ยินเสียงของคนเราไม่ได้อยู่ที่ใบหูหรือที่ทางพระเรียกว่าโสตะ สังเกตดูง่าย ๆ ว่าในบางครั้งยามนั่งเหม่อลอยนั้นต่อให้รถไฟทั้งขบวนวิ่งผ่านมาก็ยังไม่ได้ยิน ทั้ง ๆ ที่หูก็มีอยู่เหมือนเดิม นั่นเพราะว่าตัวความสามารถในการได้ยินไม่ทำงาน ไม่ทำหน้าที่

    ตัวความสามารถในการได้ยินเป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่าโสตะธาตุหรือธาตุในการได้ยินของหู เชื่อมเนื่องอยู่กับโสตะวิญญาณ คือพลังในการได้ยิน แล้วเชื่อมอยู่กับสัญญาและสังขาร คือความทรงจำได้หมายรู้และการปรุงแต่ง ดังที่ได้พรรณนามาแต่ต้นแล้ว

    โสตะธาตุ โสตะวิญญาณ เป็นสิ่งที่มีอยู่และทำหน้าที่อยู่ตามปกติ แต่ธาตุหูหรือความสามารถในการได้ยินของหูนั้นต่ำหรือน้อยนัก มีขีดความสามารถในการได้ยินอยู่ในระยะไหนก็ได้ยินอยู่ในระยะนั้นเป็นระยะสูงสุด ยิ่งมีสิ่งรบกวนระยะการได้ยินก็สั้นลง ถ้าสิ่งรบกวนกระทบถึงใจก็ไม่ได้ยินเอาเลย

    โสตะธาตุและโสตะวิญญาณคือตัวรับสัญญาณคลื่นเสียงแล้วส่งเข้าศูนย์การอ่านความหมายคือสัญญาขันธ์ และกำหนดปฏิกิริยาตอบโต้โดยสังขารขันธ์ ซึ่งมีวิญญาณขันธ์เป็นตัวกำกับบงการ ภายใต้อำนาจของจิตไม่ว่าจะมีกิเลสหรือบริสุทธิ์ก็ตาม

    อิทธิฤทธิ์วิธีนี้ก็คือการทำให้โสตะธาตุและโสตะวิญญาณซึ่งก็คือตัวรับสัญญาณคลื่นเสียงมีขีดความสามารถในการรับสัญญาณคลื่นเสียงที่ไกลโพ้นออกไปและในทุกขนาด ทุกระดับของคลื่นเสียง

    พูดง่าย ๆ ก็คล้ายกับเจโตปริยญาณที่มีการส่งสัญญาณภาครับออกไปไกลโพ้นเพื่อรับรู้สัญญาณการส่งทางจิตคือความรู้สึกนึกคิด ในขณะที่ทิพยโสตนั้นเป็นการส่งสัญญาณภาครับเสียงที่มีขีดความสามารถในการรับสัญญาณความถี่ทุกระดับทั้งที่สูงและต่ำกว่าขีดความสามารถปกติที่จะได้ยิน และสามารถส่งสัญญาณภาครับออกไปไกลโพ้นหาประมาณมิได้ แม้กระทั่งถึงโลกธาตุหรือจักรวาลอื่น กาแล็คซี่อื่นอันไม่มีที่สิ้นสุด

    ความจริงคนเราขอเพียงมีจิตใจที่สงบเล็กน้อย ความสามารถในการได้ยินก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทดลองดูง่าย ๆ จากการเอานาฬิกาตั้งวางไว้ใกล้ ๆ ให้พอได้ยินเสียงการเดิน แล้วทำจิตให้ค่อย ๆ สงบลง ก็จะได้ยินเสียงชัดขึ้น แล้วลองขยับนาฬิกาให้ไกลออกไปอีกหน่อยหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ยินแล้วหรือได้ยินไม่ชัด แต่เมื่อจิตสงบลงก็จะสามารถได้ยินเสียงนาฬิกาเดินได้อีก

    นั่นเป็นเพราะมีการส่งสัญญาณภาครับออกไป รับสัญญาณเสียงจากการเดินของนาฬิกา นี่เป็นเรื่องกระจอกงอกง่อยกระจุ๋มกระจิ๋มเท่านั้น และยิ่งกำลังภาครับในการได้ยินของหูได้ขับเคลื่อนด้วยกำลังแห่งอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌาน และกำลังอธิษฐานแล้ว ก็จะยิ่งมีขีดความสามารถในการได้ยินมากขึ้น

    ในวันนี้โลกวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์พบแล้วว่ายังมีเสียงอีกมากหลายทั้งที่ใกล้ ที่ไกลที่มนุษย์ไม่ได้ยิน นั่นเป็นเพราะมนุษย์เราไม่ยอมจำนนหรืออับจนต่อความสามารถ เป็นแต่วิธีที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการได้ยินต่างกันออกไปเท่านั้น โลกวิทยาศาสตร์ได้อาศัยเครื่องมือทางวัตถุซึ่งก็เป็นวิธีหนึ่ง และคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีแสงกว่าจะก้าวหน้าไปถึงครึ่งหนึ่งในการได้ยินเสียงที่ไม่เคยได้ยิน

    แต่สำหรับความเป็นมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนั้น พวกโยคีก่อนโพธิกาลก็เคยกระทำได้เนื่องจากโยคีจำนวนหนึ่งก็สามารถบรรลุจตุตถฌานได้ ดังเช่นอาฬารดาบสและอุทกดาบส จึงไม่ใช่ของใหม่ของวิเศษอะไร

    พระตถาคตเจ้าและพระสาวกจำนวนมากก็ได้ฝึกฝนอบรมจิตจนถึงซึ่งความมหัศจรรย์แห่งโลกภายใน ทำให้ขีดความสามารถในการได้ยินล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ที่จะได้ยินได้ เป็นแต่ว่าการฝึกฝนอบรมนั้นผู้คนในชั้นหลัง ๆ ทั่ว ๆ ไปขาดการฝึกฝนอบรมมาเป็นเวลานานแสนนาน ยกเว้นก็แต่ผู้ปฏิบัติที่ฝึกฝนอบรมอยู่ไม่ขาดสาย ท่านเหล่านั้นย่อมสามารถกระทำอิทธิฤทธิ์คือทิพยโสตได้

    การกระทำอิทธิฤทธิ์ชนิดนี้อาศัยกำลังอิทธิบาท กำลังจิต กำลังฌาน และกำลังอธิษฐานเหมือนกับการกระทำอิทธิฤทธิ์วิธีอื่น ๆ แต่อาศัยกำลังอิทธิบาท กำลังจิตและกำลังฌานเป็นตัวนำ โดยมีอธิษฐานและกำลังอธิษฐานเป็นตัวกำหนดประเภทของเสียงหรือเสียงที่ประสงค์จะได้ยิน

    ดังได้พรรณนามาแล้วว่ากายของคนเรานี้มีอยู่หลายกาย ในที่นี้คือร่างกายและนามกาย ใบหูเป็นส่วนของร่างกายแต่โสตะธาตุและวิญญาณธาตุเป็นส่วนของนามกายแล้วแปรเปลี่ยนเป็นทิพยกาย เมื่อการฝึกฝนอบรมจิตถึงซึ่งทิพยภูมิคือจตุตถฌาน

    หูของทิพยกายหรือนัยหนึ่งก็คือทิพยโสตคือโสตะธาตุและโสตะวิญญาณ เมื่อขับเคลื่อนด้วยกำลังอิทธิบาท กำลังจิตและกำลังฌานโดยมีกำลังอธิษฐานเป็นตัวหนุนแล้ว ทิพยโสตนั้นก็จะมีขีดความสามารถในการได้ยินเสียงที่มีคลื่นความถี่ทุกขนาด ทุกระดับได้ล่วงพ้นวิสัยของมนุษย์ธรรมดาที่จะได้ยิน และสามารถแผ่สัญญาณรับฟังไกลออกไป

    เสียงก็มีสัญญาณส่งโดยคลื่นเสียง เมื่อตัวรับสัญญาณภาครับคือทิพยโสตแผ่พลังไปสัมผัสจึงสามารถได้ยินเสียงได้

    เพราะเหตุนี้เสียงทั้งหลายทั้งใกล้ ทั้งไกล จึงเป็นเสียงที่สามารถได้ยินได้ด้วยทิพยโสตฉะนี้ ดังนั้นพระตถาคตเจ้าก็ดี พระสาวกก็ดี และผู้ที่บรรลุถึงจตุตถฌานก็ดีจึงสามารถได้ยินเสียงภูตผีปีศาจ เปรต รุกขเทวดา เทพ พรหมได้ และสามารถได้ยินเสียงที่ไกลโพ้นออกไปถึงโลกธาตุ หรือจักรวาล หรือกาแล็คซี่อื่น ๆ ได้อีกด้วย

    ระยะทางและความเร็วไม่เป็นอุปสรรคและขีดกั้นในการได้ยินเลย เพราะมิติแห่งความมหัศจรรย์ของโลกภายในนั้นเป็นคนละมิติกับกาลเวลาหรือความเร็ว ดังนั้นหน่วยนับปีแสงหรือหน่วยนับความเร็วใด ๆ จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับมิตินี้ มิฉะนั้นแล้วถึงหากมีขีดความสามารถได้ยินเสียงจากกาแล็คซี่อื่นแต่กว่าจะได้ยินก็ต้องกินเวลาหลายปีแสงตามมิติของเวลาและความเร็ว ผู้รับฟังก็จะตายเสียก่อน ดังนั้นความสามารถในการได้ยินของทิพยโสตจึงเป็นปัจจุบันกาล ต้องการได้ยินเมื่อใดก็ได้ยินเมื่อนั้น ล่วงพ้นอำนาจแห่งกาลและความเร็วคือเหนือพ้นไปจากมิติของความเร็วและกาลเวลานั่นเอง

    ส่วนทิพยจักษุหรือตาทิพย์ซึ่งเป็นอิทธิวิธีที่มีความมหัศจรรย์เป็นไปเพื่อความสำเร็จในการเห็นอย่างมหัศจรรย์และจัดเป็นอิทธิฤทธิ์อีกอย่างหนึ่งคือเป็นอิทธิฤทธิ์ชนิดที่ 20 นั้นก็เป็นอิทธิวิธีชนิดหนึ่งที่จะบังเกิดขึ้นได้เมื่อการฝึกฝนอบรมจิตถึงขั้นจตุตถฌานเช่นเดียวกับทิพยโสต

    การเห็นของคนเราก็คล้ายกับการได้ยินเสียง ตาเป็นตัวรับการมองเห็น แต่ตัวเห็นจริง ๆ นั้นคือจักษุธาตุและจักษุวิญญาณทำนองเดียวกับการได้ยินเสียง

    ตาของคนเราเห็นภาพก็เพราะคลื่นแสงกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตา โดยมีจักษุธาตุเป็นตัวรับสัมผัส และมีจักษุวิญญาณเป็นตัวอ่านภาพ แต่ทว่าตาของคนเราก็มีขีดความสามารถจำกัดเหมือนกับหูคือสามารถรับสัญญาณภาพจากคลื่นแสงบางความถี่ บางขนาด บางระดับเท่านั้น คลื่นแสงที่มีความถี่สูงหรือต่ำกว่าที่เห็นได้ก็มองไม่เห็น หรือที่ไกลโพ้นออกไป หรือหากมีสิ่งกีดขวางก็ไม่สามารถรับได้จึงไม่สามารถมองเห็นเช่นเดียวกัน

    ดังนั้นสิ่งที่คนเรามองเห็นทั้งที่ใกล้ ที่ไกล จึงมีน้อยกว่าน้อยนัก และน้อยกว่าที่มองไม่เห็นมากมายก่ายกองนักหนา จึงอย่าได้อวดรู้กันนักเลย และที่เข้าใจกันว่าเห็นนั้นจริง ๆ แล้วก็เป็นมายาเกือบทั้งหมด เช่น เห็นดอกกุหลาบสีแดง แล้วยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นกุหลาบสีแดง ความจริงสีแดงนั้นไม่มีดอก มันเกิดจากคลื่นแสงขนาดหนึ่งกระทบกับวัตถุคือดอกกุหลาบแล้วปรากฏเป็นภาพหนึ่ง สมมติว่าเป็นดอกกุหลาบและสมมติว่าเป็นสีแดงเท่านั้น

    เพราะเหตุนี้คนเราจึงไม่สามารถมองเห็นกายบางชนิดที่ละเอียดประณีตเกินกว่าขีดความสามารถของตาจะมองเห็น และไม่สามารถมองเห็นสิ่งใด ๆ ที่อยู่ไกลออกไป หรือที่มีสิ่งกีดขวางจากขีดความสามารถที่ตาจะมองเห็นได้

    แต่การมองเห็นที่ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์กลับไม่ต้องอาศัยตา แต่อาศัยตาของจิตคือทิพยจักษุอันเป็นจักษุของกายอันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ที่บรรลุจตุตถฌานขึ้นไป

    กระบวนการในการกระทำอิทธิฤทธิ์ประเภททิพยจักษุก็เหมือนกับการกระทำอิทธิฤทธิ์ประเภททิพยโสตนั่นเองจึงไม่จำต้องกล่าวซ้ำอีก พึงศึกษาฝึกฝนโดยอนุมานเถิด

    มหัศจรรย์แห่งโลกภายในอันได้พรรณนามาโดยลำดับนับถ้วน 80 ตอนนี้แล้วเป็นอันครบจบตามที่ตั้งความปรารถนาในการรจนาถวายไว้ในพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนเวไนยสัตว์ที่ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายทั้งหลาย จะได้ใช้เป็นแนวทางฝึกฝนอบรมปฏิบัติ

    และต้องกราบขออภัยท่านทั้งปวงทั้งในบัดนี้ ในบัดหน้าไว้เสียตรงนี้ว่าบรรดาที่ได้พรรณนามานี้บางสิ่งบางเรื่องก็ไม่เคยพบปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะยังไม่ถึงซึ่งภูมิธรรมอันประเสริฐคือความมหัศจรรย์แห่งโลกภายใน ขอท่านทั้งปวงได้กรุณาให้อภัยในปัญญาและวาสนาอันน้อยนัก แต่ด้วยความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์งานถวายไว้ในพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนเวไนยสัตว์ จึงสู้มานะพยายามขวนขวายหาความรู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติและจากท่านผู้รู้ ตลอดจนประสบการณ์ที่ผ่านมาแต่กาลก่อนซึ่งได้คุ้นเคยรับใช้ใกล้ชิดสนิทสนมกับครูบาอาจารย์ผู้ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐ จึงได้หาญกล้าพรรณนาความใหญ่สำคัญถึงปานนี้

    อานิสงส์อันพึงมีจากการพรรณนามหัศจรรย์แห่งโลกภายในนี้ขออุทิศแด่บุพการีผู้มีพระคุณที่ได้ให้กำเนิดชีวิตเป็นตัวตนแล้วทะนุถนอมเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ให้ได้มีโอกาสสัมผัสกับพระธรรมอันประเสริฐเป็นปฐม ขออุทิศแด่พระอุปัชฌายาจารย์ที่ได้สอนสั่งให้การอบรมศึกษาและปฏิบัติจนพอมีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมอันประเสริฐบ้าง ขออุทิศแด่ผู้มีอุปการคุณและผู้ที่เป็นขวัญเป็นกำลังใจทั้งปวงที่มีส่วนส่งเสริมให้กำลังศรัทธาที่จะพรรณนาเรื่องมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนี้ ขอกราบขอบพระคุณพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และพลเอก พัฒน์ อัคนิบุตร อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเสนาธิการทหาร ที่ได้ให้กำลังใจและช่วยผลักดันการเขียนเรื่องนี้ด้วยใจหวังจะให้เป็นผลงานอันทรงค่าในพระศาสนาอีกชิ้นหนึ่ง ขอขอบใจทีมงานอีก 2 คนที่ได้ช่วยพิมพ์ ช่วยตรวจจนการสำเร็จดังประสงค์ ขออานิสงส์นี้จงดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายประสบความสำเร็จในการฝ่าข้ามห้วงมหรรณพแห่งสังสารวัฏโดยถ้วนหน้ากัน

    ขออานิสงส์แห่งการพรรณนามหัศจรรย์แห่งโลกภายในนี้จงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ข้าน้อยนี้ถึงซึ่งพระนิพพานในกาลข้างหน้าด้วยเถิด นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
    ---------------------
    หมายเหตุ : มหัศจรรย์แห่งโลกภายในนี้เริ่มเขียนตอนแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 จบ 80 ตอนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548
     
  14. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    สาธุ ธรรมที่กล่าวมา ยอดเยี่ยม ไม่มีใครแจงธรรมได้สวยงามเหมือนความในพระไตรปิฎก
    ขอบคุณ จขกท ที่ นำธรรมที่ถูกต้องมากล่าวให้คนอ่านได้อ่านกัน
     
  15. คนขายเทียน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +518
    สิริอัญญา คือ นามปากกาหนึ่งของ อ.ไพศาล พืชมงคล ผู้ที่แต่งเรื่องสามก๊กฉบับคนขายชาติ ใช้ชื่อว่า "เรืองวิทยาคม" ครับ มาดูประวัติของท่านกันนะครับ





    แม้ว่าอาชีพหลักของไพศาล คือ นักกฎหมาย แต่คนในวงการโทรคมนาคมกลับพร้อมใจกันเรียกเขาว่า "นักประสานผลประโยชน์" แห่งพรรคความหวังใหม่มากว่า
    หากเอ่ยชื่อของไพศาล พืชมงคล ในธุรกิจโทรคมนาคมเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว คงแทบไม่มีใครรู้จัก แต่สำหรับวงการค้าความด้วยกันแล้ว แทบไม่มีใครไม่รู้จักชื่อของเขา

    ไพศาล ปลุกปั้นธรรมนิติจากสำนักงานทนายความเก่าแก่ จนมีชื่อเสียงจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของสำนักงานทนายความใหญ่ที่สุดของไทยจนหลายคนคิดว่า เขาเป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานทนายความแห่งนี้

    ไพศาลมีพื้นเพเป็นชาวอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา มีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ครอบครัวค้าขายอยู่ในตลาดระโนด ไพศาลเป็นลูกชายคนโตมีน้องอีก 5-6 คน ซึ่งตามธรรมเนียมจีนแล้วลูกชายคนโตหากไม่สืบทอดธุรกิจก็มักจะส่งเสียให้เรียนสูง ๆ ซึ่งไพศาลเลือกอย่างหลัง

    ไพศาลจบจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 12 สมัยเรียนเคยสอบผ่านวิชา "วิแพ่ง" ด้วยคะแนน 84% มาแล้ว ซึ่งในยุคนั้นนักกฎหมายจะวัดความเก่งกาจกันด้วยวิชานี้ หากใครได้คะแนนเกิน 70% ต้องถือว่าเยี่ยมมาก

    เริ่มทำงานครั้งแรกที่บริษัทสากลสถาปัตย์ของเกียรติ วัธนเวคิน แต่อยู่ได้ไม่นานถูกทาบทามจากประดิษฐ์ เปรมโยธิน ผู้ก่อตั้งสำนักงานทนายความธรรมนิติ
    ต่อมาภายหลังเมื่อประดิษฐ์ เสียชีวิตลงในปี 2520 ไพศาลซึ่งในเวลานั้นเป็นทนายความอาวุโสอันดับ 1 ในธรรมนิติเป็นผู้รับช่วงผู้ดำเนินงานต่อ

    หลังไพศาลเข้ามาบริหารธรรมนิติได้นำเอารูปแบบของบริษัทจำกัดมาใช้กับงานอาชีพทนายควา
    ม ทำให้ทนายความของธรรมนิติมีเงินเดือนประจำ มีโบนัสปลายปี แทนที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากการว่าความตามธรรมเนียมที่เคยนิยมปฏิบัติก
    ันมา

    ผลงานในครั้งนี้ได้สร้างชื่อให้กับไพศาลและธรรมนิติไม่น้อย
    ยิ่งไปกว่านั้น ธรรมนิติในยุคไพศาล ยังได้ชื่อว่า ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายภาษีอากรและบัญชีเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นจุดที่สร้างชื่อเสียงให้กับธรรมนิติค่อนข้างมาก
    ไพศาล เคยว่าความคดีสำคัญ ๆ ทางธุรกิจมาหลายคดี เช่น คดียึดแบงก์แหลมทอง ซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ และสุระจันทร์ จันทร์ศรีชวาลา โดยไพศาลรับเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายให้กับสมบูรณ์ แต่ภายหลังสมบูรณ์ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สูญเสียแบงก์ให้กับสุระจันทร์ไปในที่สุด

    แม้ไพศาลจะไม่ใช่หนึ่งในท็อปเทนของทนายความชื่อดังของไทย แต่ไพศาลได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความคิดแปลกใหม่ และกว้างไกลแตกต่างไปจากทนายทั่วไป
    ธรรมนิติในยุคของไพศาล จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเป็นสำนักงานทนายความ หรือสำนักงานบัญชีเท่านั้น แต่ยังขยายไปทำธุรกิจรับจัดสัมมนาทางด้านภาษีอากรและบัญชีและยังมีโรงพิมพ์เป็นของตั
    วเอง เพื่อพิมพ์ตำราทางด้านภาษี เรียกว่าทำแบบครบวงจร ซึ่งก็นับเป็นจุดที่แตกต่างจากสำนักทนายความอื่น ๆ อย่างชัดเจน

    "ไพศาลเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก เป็นนักคิดนักวางแผน เป็นคนมีไอเดียมาก คิดเร็ว เขียนเร็ว" คนใกล้ชิดกับไพศาลสะท้อนถึงบุคลิกของไพศาล
    ไพศาลจัดเป็นหนอนหนังสือตัวยง หนังสือที่ชื่นชอบและมักหยิบมาอ่านเป็นประจำ คือ ตำราพิชัยสงคราม, สามก๊ก เขามักสอนลูก ๆ อยู่เสมอว่า ควรจะอ่านหนังสือไม่ต่ำกว่าปีละพันเล่ม

    ไพศาลยังชอบเขียนหนังสือ แต่งกลอน เคยแต่งเนื้อเพลงธรรมนิติคู่ไทย ไว้เป็นเพลงประจำของธรรมนิติกรุ๊ป ยังชอบศึกษาวงโคจรของดวงดาวในแง่ของโหราศาสตร์ เคยเขียนเรื่องโหราศาสตร์ดวงดาวลงในหนังสือพิมพ์มติชนมาแล้ว

    "หมากรุก" เป็นกีฬาฝึกสมองที่ไพศาลโปรดปรานเป็นพิเศษ สมัยเรียนธรรมศาสตร์ ไพศาลเคยได้เป็นแชมป์ 5 มหาวิทยาลัยของรัฐ คือ จุฬาลงกรณ์, ธรรมศาสตร์, มหิดล, รามคำแหง, และศิลปากร และถึงขนาดเขียนตำราหมากรุกออกวางขาย

    ชีวิตครอบครัวของไพศาลค่อนข้างราบรื่น ภรรยามีอาชีพพยาบาล แต่ต่อมาลาออกมาดูแลลูกชายหญิงสองคนอยู่กับบ้าน ไพศาลปลูกบ้านพักอยู่บริเวณใกล้เคียงสำนักงานของธรรมนิติในย่านบางโพ ช่วงเย็น ๆ มักจะชวนน้อง ๆ ที่มีบ้านอยู่ในแถบเดียวกันมานั่งจิบไวน์ราคาแพง

    แต่ในระยะไม่กี่เดือนมานี้ เวลาส่วนหนึ่งของไพศาลต้องถูกแบ่งไปให้กับการหัดกอล์ฟ กีฬายอดนิยมของนักธุรกิจยุคใหม่ที่ผู้บริหารหลายคนเคยตกลงธุรกิจกันอย่างง่ายดายบนสน
    ามกอล์ฟ

    นอกจากตัวไพศาลแล้วน้องชายหลายคนของเขาก็ทำงานอยู่ในธรรมนิติกรุ๊ป แต่ที่มีบทบาทมากที่สุด คือ พิชัย พืชมงคล น้องชายคนรอง ที่จบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเคยเป็นนักกิจกรรมตัวยงในสมัย 6 ตุลาคม ซึ่งในสมัยหนึ่งของธรรมนิติจะรับว่าคดีความที่เกี่ยวเนื่องจาก 6 ตุลาคมมาแล้วหลายคดี
    พิชัยนั้นนอกจากเป็นหนึ่งในกรรมการของธรรมนิติกรุ๊ปที่มีหน้าที่บริหารงานโดยรวมแล้ว
    ปัจจุบันยังนั่งเป็นบอร์ดหนองงูเห่า ซึ่งเป็นโควต้าของพรรคความหวังใหม่
    ด้วยวิชาชีพนักกฏหมาย ซึ่งต้องคลุกคลีอยู่กับลูกความมากหน้าหลายตา ทั้งนักธุรกิจ นักการเมือง ประกอบกับเป็นผู้ใฝ่รู้แสวงหาความสำเร็จ ไพศาลจึงไม่ยอมหยุดนิ่งอยู่กับเป็นนักกฎหมาย แต่เขายังพาตัวเองไปใกล้ชิดกับวิถีทางการเมือง

    "เป็นตามธรรมดาของนักกฎหมายที่ต้องพบปะทั้งนักธุรกิจ นักการเมืองที่มารับบริการปรึกษาทางกฎหมาย ตัวคุณไพศาลก็รู้จักคนมีชื่อเสียงเยอะ ลูกความของธรรมนิตินั้นมีแทบทุกพรรคการเมือง และโดยส่วนตัวคุณไพศาลเองก็สนใจการเมืองมาตลอด และเป็นคนมีไอเดียมากอยู่แล้ว ก็ถูกเรียกใช้จากนักการเมือง" คนใกล้ชิดกับไพศาลย้อนอดีต

    แม้เส้นทางการเมืองของไพศาลที่ผ่านมา มักปรากฏอยู่ในฐานะของผู้ที่อยู่เบื้องหลังมากกว่า แต่เมื่อ "โอกาส" มาถึงเมื่อใด ไพศาลก็พร้อมที่จะคว้าทันที
    ไพศาล เคยนั่งเป็นบอร์ดองค์การสื่อสารมวลชน (อ.ส.ม.ท.) ในช่วงปี 2531 สมัยที่เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคมวลชนเป็นผู้กำกับดูแลหน่วยงานนี้อยู่

    แม้ว่าในแวดวงนักการเมืองจะรู้จักชื่อเสียงของไพศาลอยู่ก่อนแล้ว แต่การนั่งเป็นบอร์ด อ.ส.ม.ท. ในสมัยนั้น ถือได้ว่าเป็นการนั่งตำแหน่ง "ทางการเมือง" ครั้งแรกของเขา ซึ่งไพศาลให้เหตุผลของการรับตำแหน่งในครั้งนั้นว่า รู้จักกับเฉลิมมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยยังอยู่กองปราบจนกระทั่งมาเป็นฝ่ายค้านก็ช่วยกันมาตลอด
    "นอกจากทนายความแล้ว ผมยังเป็นนักเขียนด้วย สิ่งนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับ อ.ส.ม.ท." คือ เหตุผลที่ไพศาลให้ไว้ในครั้งนั้น

    แต่ไม่ทันที่ไพศาลจะสร้างชื่อใน อ.ส.ม.ท. ก็มีการเปลี่ยนแปลง ชื่อของไพศาลจึงเงียบหายไปพักใหญ่ แต่ใช่ว่าไพศาลจะสลัดทิ้งเส้นทางการเมือง เพียงแต่รอเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น

    แม้ว่าไพศาลจะอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาให้กับบิ๊กจิ๋ว แต่คนในพรรคความหวังใหม่มักจะไม่ยอมเอ่ยถึง ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วไพศาลมีบทบาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากุนซือคนอื่น ๆ หรือ ส.ส.ในสังกัดแม้แต่น้อย

    ไพศาลรู้จักกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ตั้งแต่ยังรับราชการทหารเป็นผู้บัญชาการทหารบก จนกระทั่ง พล.อ.ชวลิต ตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางการเมือง ซึ่งไพศาลก็เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นิยม พล.อ.ชวลิต ที่ร่วมกันสนับสนุนการก่อตั้งพรรคความหวังใหม่

    ผู้หนึ่งที่ชักนำให้ไพศาลรู้จักกับ พล.อ.ชวลิต คือ พล.ต.ศรชัย มนตรีวัต รมช.ว่าการกระทรวงมหาดไทยคนสนิทกับบิ๊กจิ๋ว
    ด้วยวิชาชีพทางกฎหมายและสายสัมพันธ์ส่วนตัวที่ไพศาลพยายามบ่มเพาะกับผู้มีชื่อเสียงใ
    นวงการ เป็นจุดโยงใยให้ไพศาลเข้าไปรู้จักกับ พล.อ.ชวลิต จนกลายเป็นหนึ่งใน "กุนซือ" ทางกฎหมายที่บิ๊กจิ๋วต้องหารือตลอดเวลา นอกเหนือจากมือกฎหมายคนอื่น ๆ

    ว่ากันว่า ในการให้เปิดประมูลซื้อยางมะตอยของกระทรวงคมนาคม ก็เป็นไอเดียของไพศาล ซึ่งทำเอาเจ้าเก่าต้องวิ่งเต้นกันเท้าแทบขวิด
    "คุณไพศาล เป็นคนที่ละเอียดลึกซึ้งและมักจะวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนทำอะไรลงไปเสมอ เรียกว่าต้องมีจุดมุ่งหมายและเห็นประโยชน์ที่ชัดเจน" อดีตผู้ร่วมงานของไพศาลสะท้อนบุคลิก

    นอกจากที่ตั้งของพรรคความหวังใหม่ในช่วงแรก จะใช้สถานที่ของสำนักงานธรรมนิติ แถบบางโพเป็นที่ทำการแล้ว ไพศาลยังเป็นผู้จัดทำหนังสือเฉพาะกิจร่วมกับกลุ่ม ผู้ศรัทธาบิ๊กจิ๋ว มีชื่อว่า "ชายคนนี้ ชื่อชวลิต" ซึ่งทำขึ้นมาเพื่อเผยแพร่อัตชีวประวัติ และแนวคิดทางการเมืองของบิ๊กจิ๋วในช่วงเข้าสู่เส้นทางการเมืองใหม่ ๆ

    ภาพของไพศาลแห่งธรรมนิติ และบิ๊กจิ๋วจากพรรคความหวังใหม่ จึงแยกไม่ออกนัก แม้ว่าเจ้าตัวจะพยายามปฏิเสธความสัมพันธ์นี้
    "ผมสนิทกับทุกพรรค" คือ คำตอบของไพศาล เมื่อถูกถามถึงความสัมพันธ์กับพรรคความหวังใหม่ แต่บทบาทของไพศาลในยามนี้คำปฏิเสธของเขาดูจะไม่มีพลังเท่าใดนัก

    <!--coloro:#008000--><!--/coloro-->จาก นิตยสารผู้จัดการ เดือนสิงหาคม ปี 2539 ครับ



    **********************************

    เซี่ยงเส้าหลงแห่ง ผู้จัดการ ได้กล่าวข้อความหนึ่งถึง อ.ไพศาล ว่า <!--colorc--><!--/colorc-->" ขอเปิดเผย ณ ที่นี้เป็นครั้งแรกว่าบุรุษคนนั้นคือเจ้าของนามปากกา สิริอัญญา, เรืองวิทยาคม ที่ปรากฏงานเขียนจำนวนมากตลอดหลายปีมานี้ทั้งทางโลกทางธรรมใน ผู้จัดการรายวัน

    นามจริงของผู้กล้าคนนี้คือ ไพศาล พืชมงคล ลักษณะเด่นของนักเขียนคนนี้คือแม้จะ เชี่ยวชาญในสารพัดศาสตร์ เขียนหนังสือได้ เร็วมาก ระดับ วันละ 3-4 ชิ้น แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อกันละว่าคนคนนี้ เขียนโดยปากกาก็ไม่ได้, พิมพ์ดีดก็ไม่เป็น มิหนำซ้ำ คอมพิวเตอร์ก็ไม่สู้สันทัด ใช้วิธีผลิตงานโดย Dictate หรือ บอกจด, บอกพิมพ์

    โดยมีเสมียนกิตติมศักดิ์ที่รู้ใจกันและมีความสามารถในทางภาษาอยู่คนหนึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ แปรความคิดเป็นตัวอักษรที่สละสลวย เธอมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า รุ่ง (คนละคนกับ รุ่งมณี เมฆโสภณ และ รุ่งอรุณ สุริยามณี) บุรุษผู้กล้าคนนี้จบ นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่นปี 2509 ประสบความสำเร็จสูงสุดใน วิชาชีพนักกฎหมาย และได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 3 นักกฎหมายทางสงขลาผู้เยี่ยมยุทธ์ ร่วมกับคู่ลูกผู้พี่ลูกผู้น้อง วิษณุ เครืองาม, บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แต่โชคชะตาทำให้ อยู่คนละฟากฝั่งมาโดยตลอด "


    *******************************

    Website ธรรมนิติ Dharmniti.co.th<!--colorc--><!--/colorc-->

    "ธรรมนิติ" สำนักทนายความที่อ.ไพศาล ได้ขยับขยายจนมีชื่อเสียงโด่งดัง ต่อมาจากยุคบุกเบิก ซึ่งตอนนี้อ.ก็ยังเขียนบทความอยู่เรื่อย ไม่ว่าที่ ผู้จัดการ ซึ่ง ตอนนี้เขียนเรื่อง" ศิษย์สมเด็จ" ซึ่งเป็นประสบการตรงของ อ. หรือ ก่อนหน้านี้ นามปากกา สิริอัญญา ก็ได้เขียน "มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน"(เป็นเรื่องราวเกียวกับการปฏิบัติธรรมในหลักพระพุทธศาสนาขั้นสูง ได้แก่ ฌาน ญาณ) ได้เรียบเรียงเป็นรูปเล่มขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเนื่องในวโรกาสครองราชย์ ๖๐ปี และ ที่เวปธรรมนิติเองก็ตาม อ.ก็ได้เขียนบทความธุรกิจเชิงกลยุทธ์ เป้นการนำเอาศาสตร์ตะวันออกไปประยุกต์ใช้



    ******************************

    ขอสดุดีแด่อาจารย์ ผู้ที่เรียบเรียง มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน และ สามก๊กฉบับคนขายชาตินี้ ด้วยการเจาะรายละเอียดที่ลำลึกด้วยศาสตร์ต่างๆที่มีอยู่ในสามก๊กออกมาอธิบาย ทำให้ผมได้ยกระดับปัญญาในการมองโลก และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างมากมายครับ
     
  16. sapporo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +53
    อนุโมทนาครับ
     
  17. อิสวาร์ยาไรท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,608
    ค่าพลัง:
    +1,955
  18. parapuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +250
    ขออนุโมทนาด้วยครับ อนุโมทานัง สาธุภันเต

    निब्बान
     

แชร์หน้านี้