มหาเปรียญ 18

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 1 ตุลาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 30px">มหาเปรียญ 18
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD>พ.ศ. 2369 สามเณรสา วัดสังเวชวิศยาราม อายุ 14 ปี ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม การแปลปริยัติธรรมสมัยนั้น เป็นการแปลแบบปากเปล่า ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระสังฆราช และพระเถระผู้ทรงภูมิอีกมากมาย
    ผลปรากฏว่า สามเณรสาสอบได้เพียง 2 ประโยค เป็นอันว่าไม่เป็นมหาเปรียญ เพราะหลักสูตรเปรียญตรี เริ่มต้นที่ 3 ประโยค
    ต่อมา สามเณรสาได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ สำนักสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฏ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) มุมานะร่ำเรียนเป็นการใหญ่ จนมีโอกาสได้เข้าสอบไล่ปริยัติธรรมสนามหลวง อีกครั้งเมื่ออายุ 18 ปี พ.ศ. 2374 คราวนี้ สามเณรสา สอบได้เปรียญ 9 ประโยค
    พ.ศ.2379 พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ทรงเป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร สามเณรเปรียญ 9 ก็ตามไปรับใช้พระอาจารย์ อายุครบ 20 ปี บวชเป็นพระ อายุ 26 ปีก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอมรโมลี
    ต่อมาพระอมรโมลี ศิษย์เอกของพระเจ้ามงกุฏ ก็ขอลาสึกไปมีครอบครัว
    พ.ศ.2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ได้พร้อมกันอัญเชิญท่านเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ลาผนวช เพื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฏขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงขอร้องให้อดีตเจ้าคุณสากลับเข้ามาอุปสมบทใหม่ เพื่อช่วยกันทำนุบำรุงพุทธศาสนาคณะธรรมยุต บวชเป็นพระแล้ว โปรดให้ทดสอบภูมิ ด้วยการแปลปริยัติธรรมใหม่
    ผลปรากฏว่า สอบได้ 9 ประโยค เหมือนครั้งเป็นสามเณร
    สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงพอพระทัยมาก ทรงตั้งฉายาว่า พระมหาสา เปรียญ 18 ประโยค
    พ.ศ. 2401 โปรดให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระสาสนโสภณ และต่อมาได้เลื่อนเป็นชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม จนถึงชั้นพรหม ในพระนามเดิม
    พ.ศ. 2407 สมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดให้สร้างวัดราชประดิษฐ์ ขึ้นในที่รกร้างสวนกาแฟเดิม ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ตอนแรกๆ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดไม่ค่อยถูก เป็นวัดราชบัณฑิตบ้าง วัดทรงประดิษฐ์ ทรงขัดเคืองพระทัย สั่งให้ออกประกาศว่า
    ตั้งแต่นี้สืบไป ห้ามอย่าให้ใครเรียกร้องแล กราบบังคมทูลพระกรุณา และเขียนลงไป หนังสือ บัตรหมายในราชการต่างๆ ให้ผิดๆไปจากชื่อที่พระราชทานไว้นั้นเป็นอันขาด
    ให้ใช้ว่า วัดราชประดิษฐ์ หรือว่าให้สิ้นชื่อว่า วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม ให้ยั่งยืนคงอยู่ดังนี้
    ถ้าผู้ใดได้อ่านแลฟังคำประกาศนี้แล้ว ขัดขืนใช้ให้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนแปลงไป จะให้ ปรับ ไหมแก่ผู้นั้น เป็นเงินตรา 2 ตำลึง มาซื้อทราย โปรยในพระอารามวัดราชประดิษฐ์นั้นแล...
    เมื่อสร้างวัดราชประดิษฐ์เรียบร้อย โปรดให้ อาราธนาพระสาสนโสภณ (สา) จากวัดบวรนิเวศมาครองวัดราชประดิษฐ์ ต่อมาก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่พระธรรมวโรดม ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    พ.ศ.2434 สมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้รับพระ กรุณาโปรดเกล้าให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชโดยลำดับ นับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์.
    "บาราย"​
    (ข้อมูล หนังสือ 19 สมเด็จพระสังฆราช กรุงรัตนโกสินทร์ โดย โกวิท ตั้งตรงจิตร นักเขียนสารคดีดีเด่นแห่งชาติ)
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...