-
<TABLE cellSpacing=8 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>มะเขือเทศ...อาหารมากคุณค่า</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left background=../../images/dot3.gif></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left>
คุณรู้จักมะเขือเทศมากน้อยแค่ไหนคะ ?
เพราะมะเขือเทศมีสีแดงสวย จึงมักถูกหยิบฉวยให้กลายเป็นเครื่องประดับจานอาหาร จัดวางเคียงคู่กับผักใบเขียวฉ่ำ เช่น ผักกาดหอม หรือแตงกวา ตกแต่งอาหารจานต่างๆ ให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น แต่ก็เห็นบ่อยครั้งที่พออาหารถูกยกมาเสิร์ฟปุ๊บ หลายคนก็ตั้งหน้าตั้งตากินอาหารหลักในจาน แถมเขี่ยเครื่องประดับผักข้างจานออกไปอย่างไม่ค่อยใยดีกันเลย
แหม อย่างนี้มะเขือเทศก็น้อยใจแย่ซี !
แท้ที่จริงการเขี่ยมะเขือเทศออกไปเสียอย่างนั้น เท่ากับว่าคุณกำลังตัดตอนตัวเองออกจากอาหารคุณค่าเลิศอย่างน่าเสียดายเชียวนะคะ มาดูกันว่ามะเขือเทศนั้นมีอะไรดีบ้าง เชื่อว่าพออ่านจบแล้วคุณจะรักและอยากรับประทานมะเขือเทศมากขึ้นอีกเยอะเลย
มะเขือเทศนั้นโดยตัวมันเองเป็นผลไม้ ที่มักจะถูกจัดใหม่ให้มาอยู่ในกลุ่มเดียวกับผัก นักพฤกษศาสตร์ฝรั่งเขาจัดมะเขือเทศอยู่ในกลุ่มผลไม้ประเภทเบอร์รี่ เพราะเห็นว่ามันเป็นลูกกลมๆ ที่มีเนื้อในเหลว แถมยังมีเมล็ดที่กินได้อีกต่างหาก มะเขือเทศช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหารเพราะมีกรดอะมิโนที่ชื่อว่ากลูตามิกสูง อันเป็นกรดอะมิโนตัวเดียวกับที่มีในผงชูรสนั่นเองค่ะ จึงไม่แปลกที่อาหารที่ปรุงด้วยมะเขือเทศมักจะอร่อย คนแถบเมดิเตอร์เรเนียนอย่างอิตาลี หรือกรีกล้วนกินมะเขือเทศกันเป็นว่าเล่น ไม่ว่าจะเป็นพาสต้า พิซซ่า ทาโก้ หรือสลัดใดๆ เขาว่ากันว่าหากไร้ซึ่งมะเขือเทศก็เหมือนชีวิตที่ขาดวิญญาณเชียวนั่น
แต่ที่สำคัญที่ทำให้มะเขือเทศกลายเป็นพระเอกสำหรับข้อเขียนคราวนี้เลยก็คือ คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้หลายอย่าง อย่างที่มีหลักฐานยืนยันค่ะ
ไลโคปีน พระเอกประจำตัวของมะเขือเทศ
เนื่องจากในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน ซึ่งจัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่ง แคโรทีนอยด์นี้เป็นเม็ดสีธรรมชาติที่ละลายในไขมันซึ่งให้สีเหลืองสด ส้ม แดง และเขียวสดกับผัก ผลไม้ อย่างเช่น แครอท ฟักทอง บร็อคโคลี่ ฯลฯ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลของเซลล์ในร่างกายมีอนุภาคเป็นกลาง ช่วยหยุดยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระต่างๆ ซึ่งเจ้าไลโคปีนนี้จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังที่สุด และช่างบังเอิญเสียจริงที่มะเขือเทศนั้นมีไลโคปีนอยู่มากเหนือกว่าแตงโมเกือบสองเท่า นั่นเท่ากับว่าหากเรากินมะเขือเทศเป็นประจำ ก็จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระได้ไม่น้อยเลยทีเดียว มันจะช่วยชะลอความแก่ชรา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น
มะเร็ง หรือโรคหัวใจได้มาก
มะเขือเทศกับงานวิจัย
เคยมีคนทำวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของมะเขือเทศเอาไว้มากมาย อย่างเช่น พบว่าการกินอาหาร เช่น พาสต้าราดซอสมะเขือเทศทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จะช่วยลดอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากลงได้ ส่วนในผู้หญิงสูงอายุหลังวัยหมดประจำเดือน การกินอาหารที่มีแคโรทีนอยด์และไลปีนสูง เช่น แครอท หรือมะเขือเทศ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ แถมไลโคปีนปริมาณสูงๆ ยังช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลส่วนไม่ดี หรือ LDL ซึ่งช่วยให้โอกาสเกิดโรคหัวใจลดน้อยลงด้วย
มีการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ พบว่าผู้ชายวัยกลางคนที่มีระดับไลโคปีนในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย อัมพาต และโรคหลอดเลือดตีบมากขึ้น ส่วนในเนเธอร์แลนด์ก็เคยมีการศึกษาคล้ายๆ กัน พบว่าคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำหากได้รับไลโคปีนในปริมาณสูง จะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดตีบ และการเกิดหัวใจวายได้
ไม่เพียงแต่มะเขือเทศจะมีไลโคปีนเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ อี และซี ซึ่งในวารสารสมาคมแพทย์แห่งสหรัฐอเมริการะบุไว้ว่า วิตามินอีและซีทั้งสองตัวนี้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ ส่วนวิตามินเอ ก็จะช่วยบำรุงสายตา และดีต่อสุขภาพผิว ช่วยให้ผิวเปล่งปลั่งสดใส โดยเฉพาะผิวหน้า ในขณะที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเทล อะวิฟก็ศึกษาพบว่า ผู้ชายที่รับประทานซอสมะเขือเทศประมาณ 3 ใน 4 ถ้วยต่อวัน จะช่วยพัฒนาความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับโรคหืดหอบได้ถึง 45% ด้วย
กินมะเขือเทศมากเท่าไหร่จึงเพียงพอ
จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครรายงานว่าการได้รับไลโคปีนจากมะเขือเทศมากไปจะมีผลเสียอย่างไรหรือเปล่า ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงว่าหากเราเป็นคนชอบกินอาหารที่มีมะเขือเทศมากๆ แต่ก็เคยมีการศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดบอกว่า การป้องกันมะเร็งให้ได้ผลโดยการกินมะเขือเทศ ควรได้ไลโคปีนในปริมาณอย่างน้อย 6.5 มก.ต่อวัน เทียบเท่ากับการกินอาหารที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนผสมหลักประมาณ 10 ครั้งต่อสัปดาห์ คนส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหาอะไรกับการกินมะเขือเทศมากๆ เว้นแต่บางคนอาจพบว่าเกิดผื่นแดงบนผิวหนัง หรือในคนที่แพ้สารประเภทซาลิไซเลทในยาบางอย่างก็อาจเกิดอาการหายใจลำบากได้ หากเกิดอาการเช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์ขอคำแนะนำที่ถูกต้องจะดีกว่า
กินดิบหรือสุกดีกว่ากัน
ส่วนใหญ่เรามักจะแนะนำให้กินผักผลไม้สดเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่สำหรับมะเขือเทศนี้กินได้ทั้งสดและแบบปรุงสุกตามแต่ความชอบใจค่ะ เคยมีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยทางเคมีด้านอาหารและพืชการเกษตรกล่าวไว้ว่า การกินมะเขือเทศแบบปรุงสุกจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหารและไลโคปีนได้ดีกว่าแบบดิบ ถึงแม้ว่าการให้ความร้อนอาจลดปริมาณวิตามินซีลงไป แต่คุณค่าส่วนอื่นๆ ก็ยังดีกว่าอาหารอีกหลายชนิด แถมยังช่วยให้ไลโคปีนอยู่ในสภาพพร้อมถูกดูดซึมโดยร่างกายเราได้ทันทีอีกด้วยค่ะ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงได้เห็นคุณค่าของมะเขือเทศกันมากขึ้น ใครที่ชอบกินมะเขือเทศคงยิ้มได้ แต่ใครที่ชอบเขี่ยมะเขือเทศข้างจานทิ้ง ครั้งต่อไปลองทำใจชิมใหม่ก็ยังไม่สายนะคะ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเขือเทศ
- มะเขือเทศผลขนาดกลางๆ จะมีน้ำหนักประมาณ 5.3 ออนซ์ หรือ 148 มก. ให้พลังงานประมาณ 35 แคลอรี และโคเลสเตอรอลระดับ 0 ให้ใยอาหาร ไขมัน และโปรตีนอย่างละประมาณ 1 กรัม และคาร์โบไฮเดรตประมาณ 6 กรัม มีวิตามินเอ 20% วิตามินซี 40% โปแตสเซียม 10% และเหล็ก 2% (อ้างอิงโดย RDA (Recommended Daily Allowance) ในสหรัฐอเมริกา)
- มะเขือเทศแช่เย็นจะมีรสชาติและสีผิวที่ซีดจางลง หากต้องการกินมะเขือเทศ ควรนำออกจากตู้เย็นวางทิ้งไว้ก่อนสักชั่วโมงหนึ่งเพื่อให้รสชาติที่ถูกกักจากความเย็นกลับคืนมา
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today</TD></TR></TBODY></TABLE>
-
HONGTAY
ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
ทีมงาน
ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
ขอบคุณครับ
ดีจัง ผมทานประจำเลย
-
ขอบคุณค่ะ
บทความเนื้อหาดีมาก
แต่ไม่ชอบทานมะเขือ(ทุกชนิด)
-