มาเตือนความจำ เสรีชน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย banpong, 25 กันยายน 2010.

  1. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,439
    ค่าพลัง:
    +1,770
    สารคดี คลิกทีนี่

    วันนี้คือวัดเกิดของ จิตร ภูมิศักดิ์
    25 ก.ย. 2473
    [​IMG]
    จากโซ่ตรวนถึงความตายวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร ภูมิศักดิ์



    จิตร ภูมิศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2473 เดิมชื่อ "สมจิตร" เกิดที่ ตำบลประจันตคาม อำเภอ ประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายศิริ ภูมิศักดิ์ นายตรวจสรรพสามิต กับนางแสงเงิน (ฉายาวงศ์) ชื่อ "สมจิตร" เป็นชื่อที่ตั้งให้คล้องจองกับ "ภิรมย์" พี่สาวคนเดียวของจิตร แต่เนื่องจากในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการให้ชื่อสื่อลักษณะเพศ "สมจิตร" จึงถูกเปลี่ยนเป็น "จิตร"


    เด็กชายสมจิตร หรือ จิตร ภูมิศักดิ์ในวัยเด็ก



    ในระหว่างปี พ.ศ.2479 - 2482 ด้วยเหตุที่บิดาทำงาน สรรพสามิตจำเป็นต้อง ย้ายที่ทำงานบ่อย บิดาของจิตร ได้ย้าย ไปรับราชการที่จังหวัดกาญจนบุรี จิตร ภูมิศักดิ์ จึงได้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประจำจังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ.2483 บิดาย้ายไปรับราชการ ที่จังหวัด สมุทรปราการ ครอบครัวจิตรอยู่ที่นี่ได้ 7 เดือน บิดาก็ได้ รับคำสั่งย้ายอีก
    ระหว่างปี พ.ศ.2484 - 2489 บิดาได้ย้ายไปรับราชการ ที่จังหวัดพระตะบอง ซึ่งไทยได้คืน มาจากเขมร จิตรได้ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พระตะบอง ทำให้จิตร ได้มีโอกาสศึกษา ภาษาฝรั่งเศส และเขมรจนเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะภาษาเขมร จิตร แตกฉาน ทั้งภาษาพูด ภาษา เขียนและศิลาจารึก
    ต่อมานายศิริ บิดาของจิตรได้บันใจไปรักหญิงอื่น จนในที่สุดบิดาและมารดาได้ตัดสินใจแยกทางกัน และเมื่อ ภายหลัง สงครามอินโดจีน ไทยต้องคืนพระตะบองให้เขมร นางแสงเงินได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ทำการเช่าบ้านเปิด ร้านขายเสื้อผ้า หาเงินส่งลูก 2 คนเรียนหนังสือที่กรุงเทพ จิตรและพี่สาวได้ย้ายเข้ามาเรียนต่อ ที่กรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองพี่น้องเข้าไป พักอาศัยอยู่ที่ย่านอุรุพงษ์ เพื่อที่จะเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 3 ที่โรงเรียน วัดเบญจมบพิตร เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน แต่ว่าทางอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน ไม่เต็มใจรับจิตรเข้าเรียนที่นั่น แม้ว่า ทางรัฐบาลจะได้มีประกาศรับรองผู้อพยพ จากจังหวัดพระตะบอง พิบูลสงคราม เมื่อประเทศไทย ได้คืนดินแดน เหล่านั้นให้เขมรนักเรียนทุกคนสามารถ เข้าเรียนต่อ ในโรงเรียนรัฐบาลใดๆ ก็ได้ โดยมีพี่สาวภิรมณ์ ภูมิศักดิ์ ลงชื่อเป็นผู้ปกครองเด็กชายจิตร ส่วนพี่สาวเข้าเรียน ต่อที่ โรงเรียนเตรียมอุดม ในปีแรกนั้น แม่ของจิตรซึ่งอยู่ที่ลพบุรี จะลงมากรุงเทพฯหาจิตร ทุกเดือน เพื่อมาซื้อผ้าไปขายและเอาเงินมาให้ลูกใช้ ซึ่งเงิน ของจิตร มักจะถูกนำไปใช้ ซื้อหนังสือ โดยยอมอดกับข้าว ในระหว่างเรียนที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรนี้ จิตรมักจะ ถูกครูตราหน้าว่า เป็นเขมร ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็มีแม่และพี่สาวคอยให้กำลังใจ และจิตรก็อดทนจนเรียนจบ



    จิตร ภูมิศักดิ์ ในวัยหนุ่ม



    วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2493 จิตรสอบไล่ได้ เตรียมสอง (ม.ศ.5) จากโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา ด้วยคะแนน 65% หลังจากนั้นจิตร สอบเข้าเรียนต่อที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา พ.ศ.2493 ระหว่างศึกษาอยู่ที่ คณะอักษรศาสตร์ ช่วงหนึ่งจิตรได้ ไปคลุกคลีอยู่กับ ดร.วิลเลี่ยม เจ. เก็ดนี่ย์ ดุษฎีบัณฑิตทางอักษรศาสตร์ ฝ่ายภาษาโบราณ ตะวันออก อดีตที่ปรึกษา ของหอสมุดแห่งชาติ จิตร ซึ่งมีพื้นฐาน ในวิชา ภาษาไทย ดีอยู่แล้ว จึงสามารถช่วยเหลือ ดร.วิลเลี่ยม เจ. เก็ดนี่ย์ ได้อย่างมากในการค้นคว้า และขณะเดียวกัน จิตรก็สามารถ ปรึกษาหารือ กับท่านศาสตราจารย์ ผู้นี้ได้ เช่น การวิเคราะห์ คำบางคำ เช่น คำว่า " กระลาโหม " เป็นต้น
    ขณะเรียนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จิตรได้มีโอกาสเรียนวิชาภาษาไทยกับศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนด้วย ซึ่งจิตรสอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนแต่พระยาอนุมานราชธนหักคะแนนออกเสีย 3 คะแนนเพื่อไม่ให้เหลิง
    วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2496 จิตร ภูมิศักดิ์ ได้รับตำแหน่งเป็นสาราณียกรของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่จัดทำหนังสือ มหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาฯ เพราะต้องการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ซ้ำๆ ซากๆ เหมือนกันทุกปี โดยแหวกกรอบเดิม เอาเนื้อหาในหนังสือที่ตัวเองทำไปรับใช้ประชาชน ด้านหนึ่งของหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 23 ตุลาฯ จิตรได้ชี้ให้เห็น ถึงสภาพที่แท้จริงของประชาชน ในอีกด้านหนึ่งจิตรก็ได้ชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือ
    กันมานาน



    หนังสือ "23 ตุลา" มีเนื้อหาที่เป็นข้อเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ จำนวนอย่างน้อย 3 เรื่อง ได้แก่
    เรื่องแรก คือ บทวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาสังคมตามพุทธปรัชญาและวิจารณ์บุคคลที่หากินโดยใช้ศาสนา บังหน้า ในนาม "ผีตองเหลือง" เป็นการวิจารณ์การทำบุญแบบไม่จำเป็นและวิจารณ์พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ พระบางประเภท ตลอดจนวิจารณ์วิธีแก้ปัญหาแบบลัทธิปฏิรูปของพุทธศาสนา
    เรื่องที่สองคือ "ขวัญเมือง" เป็นนิยายสั้นทางการเมือง สะท้อนภาพผู้หญิงที่มีคุณสมบัติสำคัญคือ ถือเอาภาระ หน้าที่ทางการเมืองและภาระหน้าที่ ทางประวัติศาสตร์ เป็นหน้าที่สูงสุดของชีวิต
    เรื่องที่สามคือ กลอนชื่อ "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน" เป็นการ วิจารณ์หญิงที่มีลูกขึ้นมา เพราะความนึก อยากสนุกทางเพศครั้งแล้วก็ชอบเอาลูกไปทิ้งโดยไม่รับผิดชอบ
    นอกจากนี้ ก็มีข้อเขียนของบุคคลอื่น ได้แก่ เรื่อง "แปรวิถี" ของศรีวิภา ชูเอม เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดของนักปฏิวัติในฝรั่งเศส เช่น วอลแตร์ รุสโซ ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เข้มกว่า ต้นฉบับเดิม



    มีบทแปลของวรรณี นพวงศ์ เป็นการเปิดโปงการค้าฝิ่นและการกินโกง ในวงการรัฐบาลไทย ซึ่งหนังสือพิมพ์ ภาษาต่างประเทศนำไปเขียน
    มีบทความของประวุฒิ ศรีมันตะ เรื่อง "ใครหมั่นใครอยู่ใครเกียจคร้านตายเสีย" เป็นการเขียนโต้กรมประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่ประณามประชาชนผู้ยากจนว่าเป็น "ผู้เกียจคล้าน" ยกย่องพวกมั่งมี ศรีสุขว่าขยัน ชื่อบทความมาจากโคลงสี่สุภาพ บทสุดท้ายของกรมประชาสัมพันธ์
    และมีข้อความชักชวนให้นิสิตน้อมรำลึกถึงกรรมกร คนงานที่สร้างตึกจุฬาลงกรณ์ขึ้นมา ให้นึกถึงคุณของกรรมกร คนงานและประชาชนผู้เสียภาษีบ้าง
    เมื่อหนังสือได้จัดพิมพ์เย็บเล่มเสร็จแล้ว แต่ก่อนที่จะเข้าปก เจ้าหน้าที่ของโรงพิมพ์ "ไทยวัฒนาพาณิช" อันเป็นแหล่งรับพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ได้แอบส่งหนังสือไปให้ทางตำรวจสันติบาลและทางมหาวิทยาลัย จึงทำให้มีการสั่ง อายัดหนังสือเกิดขึ้น



    จากเนื้อหาที่ผิดแผกไปจากปีก่อนๆ นี่เองทำให้เกิด เหตุการณ์สอบสวนจิตร ขึ้นที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและจิตรถูกกลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บ ไปพักรักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลเลิดสินเป็นเวลาหลายวัน
    ต่อมาทางการของมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการ พิจารณาโทษของจิตร และทางคณะกรรมการได้มีมติให้ พักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ.2497 ระหว่างที่ ถูกสั่งพักการเรียน จิตร ได้งานสอน
    หนังสือ เป็นอาจารย์ สอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทรศึกษา
    แต่สอนได้ไม่นาน เนื่องจากจิตรได้นำเอาแนวคิดใหม่ไปวิเคราะห์วรรณคดี ที่สอนพวกนักเรียน ผลก็คือนักเรียนชอบ แต่เจ้าหน้าที่บริหารโรงเรียนไม่ไว้วางใจจึงจำต้องออกจากงาน ต่อมาจึงได้งานใหม่ โดยไปทำหนังสือพิมพ์ที่ "หนังสือพิมพ์ไทยใหม"่ อยู่กับสุภา ศิริมานนท์ ซึ่งเป็นบรรณาธิการ และ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เองเป็นเป็นประโยชน์ ต่อจิตรอย่างมากในการสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่า ต่อประชาชน และวงวิชาการของไทย ผลงานในช่วงที่อยู่หนังสือ พิมพ์ไทยใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจารณ์ เช่น วิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนต์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"
    ขณะพักการเรียนจิตรต้องย้ายที่อยู่อาศัยจากบ้าน ดร.เกดนีย์ ที่ซอยร่วมฤดี ถนนสุขุมวิท เนื่องจากดร.เกดนีย์ ถูกส่งตัวกลับประเทศ จิตรได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับเพื่อนเก่าที่บริเวณสะพานเสาวนีย์ ตรงข้ามกรมทางหลวงแผ่นดิน อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การ ส.ป.อ.ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นย่านสลัมระยะหนึ่ง และเมื่อพี่สาวของจิตร ซึ่งเรียนจบเภสัชฯ ได้ทำงานที่จังหวัดปราจีนบุรี มีเงินอยู่บ้างจึงปลูกบ้านไม้สองชั้นขึ้นมาบริเวณสลัม บ้านหลังดังกล่าว ต่อมาได้ถูกใช้ไปเป็นที่สนทนาทางการเมือง และการสร้างผลงานทางหนังสือเป็นจำนวนมาก
    พ.ศ.2498 จิตรกลับเข้าเรียนต่อในชั้นปีที่ 3 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงระยะนี้ จิตรได้เลิกอาชีพ หนังสือพิมพ์แบบทำประจำ หันมาทำงานเป็นไกด์ พาชาวต่างประเทศท่องเที่ยว กับ "บางกอกทัวร์" มีที่ทำการอยู่ที่ มุมตรอกโรงแรมโอเรียลเต็ลและได้เดินทางไปกัมพูชาหลายครั้งเพื่อนำชาวต่างประเทศเข้าชมนครวัดนครธม
    ซึ่งทำให้ จิตรมี ความเชี่ยวชาญ ทางโบราณคดีภาษาเขมรและการอ่านจารึกได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
    ในการกลับเข้ามาเรียนครั้งใหม่นี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้รวมกลุ่มกับเพื่อนนิสิตที่มีแนวคิดก้าวหน้าจากคณะต่างๆ รวมทั้งจากคณะอักษรศาสตร์ด้วย ทำกิจกรรมที่เน้นหนักไปในการศึกษาต่อมานำไปสู่การปฏิบัติ ในการศึกษาชั้นต้น ของกลุ่มกิจกรรมของจิตร ได้ศึกษา "วัตถุนิยมประวัติศาสตร์" ต่อมาได้มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยมีอธิคม กรองเกรดเพชรลงชื่อเป็นผู้แต่ง เป็นเอกสารที่ปูพื้นทัศนะแบบวัตถุนิยมวิภาษและแบบวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มี การศึกษา "แนวทางมวลชน" ของเหมาเจ๋อตุง โดยคำนึงถึงว่า ถ้าหากใช้แนวทางมวลชนไม่ดีแล้วก็อาจโดดเดี่ยว อาจเคลื่อนไหวอะไรไม่ได้ หรือแม้กระทั่งถูกตีจากพวกปฏิกิริยาได้
    และได้มีการปรึกษางานของกลุ่ม ทั้งงานในระดับคณะ งานในระดับมหาวิทยาลัย และงานในระดับขบวนการ นิสิตนักศึกษา ต่อมากลุ่มกิจกรรมของจิตร คนในกลุ่มได้มีตำแหน่งประธานแผนกปาฐกถาและโต้คารม ได้ใช้แผนก จัดกิจกรรม รายการ "ศิลปินโซเวียต" โดยมีศิลปินจากรัสเซียมาแสดงเป็นครั้งแรก จัดรายการ "บัวบานบนแผ่นดินแดง" โดยเชิญคณะศิลปินกลุ่มที่กลับจากเมืองจีนของ สุวัฒน์ วรดิลกมาแสดง เชิญกมล เกตุศิริ มาบรรยายเรื่อง "ดนตรีไทย" เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม หวงแหนวัฒนธรรมของชาติ อันนำไปสู่การคัดค้านวัฒนธรรมอัน เน่าเฟะของจักรวรรดินิยม และมีความพยายามผลักดันให้มีสภานิสิตและมีคณะผู้บริหารองค์กรนักศึกษามาจากการ เลือกตั้ง แต่ยังไม่เกิดผล
    แนวทางในการเคลื่อนไหวของกลุ่มกิจกรรมนิสิตของจิตร ภูมิศักดิ์ ในระหว่างปี พ.ศ.2498 - 2500 นั้น คือ การกระตุ้นให้นักเรียน นิสิตนักศึกษามีความรักชาติ รักประชาธิปไตย ให้สนใจการเมือง ให้เข้าใจว่า การเมือง เป็นปมเงื่อนในการแก้ปัญหาของประเทศ การคัดค้านวัฒนธรรมอันต่ำทรามของจักรวรรดินิยมอเมริกา พิทักษ์และ ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ คัดค้านความไม่เป็นประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัย คัดค้านระบบอาวุโสลัทธิ นิยมคณะ ลัทธินิยมมหาวิทยาลัย และลัทธิบ้ากีฬาฯ กระตุ้นให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ มีความสามัคคีกัน ตระหนักถึงผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ตระหนักถึงภัยของจักรวรรดินิยม และได้มีความพยายามให้มีองค์การ ร่วมกัน ซึ่งได้แก่ "สหพันธ์นักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย"






    กิจกรรมนิสิตกลุ่มของจิตร ภูมิศักดิ์ ในระยะปี พ.ศ.2498 – 2500
    1. การปลูกฝังนิสิตนักศึกษาให้เกิดความรักชาติรักประชาชน มีการรณรงค์ให้นักศึกษาบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์เพลิงไหมที่พิษณุโลก ปี พ.ศ.2499 ในกรณีการอพยพของชาว อีสานเพื่อเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ เป็นการใหญ่เมื่อ ปี พ.ศ.2500 ชักชวนนิสิตจุฬาฯออกไปปฏิบัติงานตาม หัวลำโพง ตามกรมแรงงาน กรมประชาสงเคราะห์ในเวลาเย็น นำอาหาร เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ไปแจกจ่าย และหาที่อยู่ตามวัดต่างๆให้ผู้อพยพชาวอีสาน และสกัดกั้นไม่ให้ชาวอีสานถูกลวงการใช้แรงงาน โดยมีนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากรเข้าร่วมด้วย
    2. การพยายามจัดตั้ง "สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย" ร่วมกับนึกศึกษาจากสถาบันต่างๆ ได้มีการ จัดทำร่างระเบียบนำเสนอขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคม เรื่องผ่านกรมตำรวจ มาอยู่ในการพิจารณาของ กระทรวงวัฒนธรรม แต่ต่อมาได้เกิด การรัฐประหารขึ้น บ้านเมืองเข้าสู่ยุคมืดจึงไม่ได้เกิดสหพันธ์ขึ้น







    การชุมนุมของนักศึกษาจุฬาในการคัดค้าน

    การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500


    "ตื่นเถิดเยาวชนไทยทั้งผองน้องพี่
    สามัคคีรักร่วมน้ำใจ
    เยาวชนคืออาทิตย์อุทัย
    สาดแสงกำจายเรืองรองแหล่งหล้า
    ปลุกชีวิตและสร้างความหวังเจิดจา
    เพื่ออนาคตผองเพื่อนไทย
    ชาติประชารอพลังเราอันเกรียงไกร
    ด้วยดวงใจร้อนรนเรียกรอ
    มาตุภูมิและประชานั้นคือดวงใจ
    จะพิทักษ์รับใช้เทียนดวงวิญญา
    ร่วมพลังสร้างสรรค์พัฒนา
    ทั้งชาติและประชาไทยมุ่งสู่ความไพบูลย์"
    ทางกลุ่มได้มีการแต่งเพลงมาร์ชเยาวชนไทยไว้ ตั้งใจจะให้เป็นเพลงประจำของสหพันธ์ฯ เป็นเพลงที่นำทำนองมาจากอินโดนีเซีย จิตร ภูมิศักดิ์ช่วยแต่งออกมาเป็นกลอน
    3. การพยายามสร้างความสามัคคีระหว่างจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นบรรยากาศขาดความสามัคคี ด้วยจุฬาฯดูถูกธรรมศาสตร์ว่า "มหาวิทยาลัยไพร่" จบออกมาไม่มีงานทำ เป็นตลาดวิชาลูกตาสีตาสาก็มาเรียนได้ ด้านธรรมศาสตร์ก็ดูถูกจุฬาฯ ว่ามหาวิทยาลัยผู้ดี มีแต่ลูกคนรวยเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ และได้มีการประสานกันให้เกิด ความสามัคคี โดยอาศัยรูปการกีฬาเป็นสื่อกลาง ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัย ทางกลุ่มได้ชูคำขวัญ ที่ก้าวหน้า เพื่อจูงให้นิสิตนักศึกษาจากสองมหาวิทยาลัยลืมลัทธิหลงมหาวิทยาลัย หันมาถือเอาอุดมการณ์รับใช้ ประชาชนร่วมกันแทน ทางกลุ่มได้แต่งเพลง "ธรรมศาสตร์-จุฬาฯชิงชัย" โดยมีจิตร ภูมิศักดิ์เป็นแกนหลักในการแต่ง เนื้อร้องมีดังนี้








    การชุมนุมคัดค้านการเลือกตั้งเมื่อ

    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 ของนักศึกษา


    "ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ชิงชัย
    ทุกคนล้วนใจปลื้มเปรมปรีดิ์
    กลุ่มเกลียวกันน้องพี่
    เพื่อความสามัคคียืนนาน
    เรามาชิงชัยชนะแพ้ใช่สิ่งสำคัญ
    เล่นกีฬาร่วมกันเพื่อสมานสามัคคีพร้อมหน้า
    เรามาชิงชัยแล้วใช่จักร้าวรา
    เรารับใช้ประชาในอนาคตกาลร่วมกัน
    ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ชิงชัย
    ธรรมศาสตร์-จุฬาลงกรณ์
    อย่าให้ใครบั่นทอนมิตรภาพของเรา"
    4. การออกหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย ที่ดำเนินการโดยนิสิต ชื่อว่า "เสียงนิสิต" ออกเป็นรายปักษ์ มีคำขวัญว่า "ศึกษาเพื่อรับใช้ประชาคม" ซึ่งออกมาได้ประมาณ 5-6 เดือน จิตร ภูมิศักดิ์มีข้อเขียนในหนังสือนี้ด้วย
    5. การร่วมคัดค้านการเลือกตั้งที่สกปรก เมื่อปี พ.ศ.2500 ทางกลุ่มได้มีการออกใบปลิวเปิดโปงการโกง การเลือกตั้งของพรรคเสรีมนังคศิลาและพรรคประชาธิปัตย์
    6. การร่วมแต่งเพลง "มาร์ชเยาวชนไทย" เพลง "ธรรมศาสตร์-จุฬาฯชิงชัย" เพลง "มาร์ชกรรมกรไทย"



    ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 จิตร ภูมิศักดิ์จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปริญญาบัตรอักษรศาสตร์บัณฑิต จากนั้นก็เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี วิทยาลงกรณ์ และขณะเดียวกัน ก็เป็นอาจารย์พิเศษวิชาภาษาอังกฤษที่คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปกร พร้อมทั้งเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ สถาบันค้นคว้าเรื่องเด็กของยูเนสโก ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์ สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง โดยได้ค่าสอนชั่วโมงละ 30 บาท จากแนวคิด ของจิตร ทำให้หนังสือรับน้องใหม่ของศิลปากร ปี 2500 ออกมาแหวกแนว เช่นเดียวกับหนังสือรับน้องใหม่ของจุฬาฯ ปี 2496 เป็นหนังสือที่ปฏิวัติแนวคิดเรื่องศิลปะอย่างขุดรากถอนโคน ชี้นำให้เห็นว่า "ศิลปต้องเกื้อเพื่อชีวิต" มิใช่ "ศิลปเพื่อศิลป" อย่างเลื่อนลอย งานเขียนเรื่อง "ศิลปเพื่อชีวิต" บางตอนของจิตร ซึ่งใช้นามปากกาว่า “ทีปกร” ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ หนังสือรับน้องฉบับนี้ จากนั้น สำนักพิมพ์ เทเวศน์จึงได้นำไปรวมพิมพ์เป็นเล่ม "ศิลปะเพื่อชีวิตศิลปะ เพื่อประชาชน" และในปีเดียวกันนี้ จิตรได้เขียนบทความชื่อ "บทบาททางวรรณคดีของพระมหามนตรี" ผู้เขียน ระเด่นลันได มีเนื้อหาล้อเลียน วัฒนธรรมศักดินา โดยเฉพาะวรรณกรรมของชนชั้นสูงในเรื่อง "อิเหนา" "เพลงยาวบัตรสนเท่ห์" สะท้อนการฉ้อราษฎร์ บังหลวง เป็นต้น


    นามปากกา "ทีปกร" จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นคนคิดขึ้นเอง ซึ่งจิตรให้คำแปลว่า "ผู้ถือดวงประทีป" คำที่มีความหมาย อันรุ่งโรจน์โชติช่วงนี้ จิตรได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีภาษาฝรั่งเศสของ วิคเตอร์ ฮูโก ชื่อ "ความสว่างและความมืด" (Les Rayons et les Ombres, I , 1893)
    "กวี ภายใต้วันคืนอันอัปลักษณ์เช่นนี้
    ย่อมจักแผ้วทางไว้เพื่อวันคืนอันดีกว่า
    เขาคือบุรุษแห่งยุคสมัยของความใฝ่ฝัน
    ตีนทั้งสองเหยียบยืนอยู่ ณ ที่นี้
    ตีนทั้งสองเพ่งมองไปเบื้องหน้าโน้น
    เขานั่นเทียว โดยไม่คำนึงถึงคำประณามและเยิรยอ
    เปรียบเสมือนผู้ทำนายวิถีแห่งอนาคต
    จักต้องกระทำสิ่งที่จะมาถึงให้แจ่มจ้า
    เสมือนหนึ่งโคมไฟในมืออันอาจรองรับสรรพสิ่งของเขา
    ซึ่งกวัดไกวจ้าอยู่เหนือศีรษะ ของมวลชนทุกกาลสมัย"
    ความคิดเรื่อง "ศิลปเพื่อชีวิต" ซึ่งถือว่าเป็นความคิดใหม่ในสมัยนั้น ปรากฏว่า "เสฐียรโกเศศ" หรือ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ตรงกับที่ "ทีปกร" เสนอ และในหนังสือรับน้องฉบับ ดังกล่าว "เสฐียรโกเศศ" ได้แปลบทความเรื่อง "ศิลปคืออะไร?" ของตอลสตอยให้ พร้อมกับอาจารย์กุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ได้มอบบทความเรื่อง "ความเป็นมาของประวัติศาสตร์" ซึ่งเขียนถึง "ผู้สร้างประวัติศาสตร์ไม่ใช่กษัตริย์ แต่เป็นประชาชนผู้ทุกข์ยาก" หนังสือรับน้องศิลปากร พิมพ์ไว้ 1,000 เล่ม หลังจากมีการแจกหนังสือดังกล่าว ได้ถูกบรรดานักศึกษาคณะจิตรกรรม ต่อต้านและนำไปทำลายเป็นจำนวนมาก และเกิดการชกต่อยระหว่างผู้มีแนวคิด สองแนวทาง ได้มีการประชุมชักฟอกโดยกรรมการนักศึกษา ว่า "ทีปกร" คือใคร และได้มีนักศึกษาชายคณะจิตรกรรม ชื่อว่ากำจร สุนพงษ์ศรี ออกมารับสมอ้างว่า ตนคือ "ทีปกร" เพื่อไม่ให้เรื่องลุกลามไป



    ตอนเช้าตรู่ของวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2501 จิตรถูกจับกุมพร้อมกับ บุคคลอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ที่ต่อสู้เพื่อ ประชาชนในข้อหา "มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" และ "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายใน และภายนอกราชอาณาจักร" อันเป็นผลมาจากการยึดอำนาจและการใช้นโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จิตรถูกจับกุมคุมขังไว้ที่ กองกำกับการสันติบาล (บริเวณโรงพยาบาลตำรวจในปัจจุบัน) ในวันที่ถูกจับกุม ได้มีลูกศิษดิ์ของจิตรหลายคนไปเยี่ยม เมื่อนักศึกษาถามถึงว่า "อาจารย์จิตรอยู่หรือป่าวคะ" ก็มีเสียงตอบจากผู้ที่ถูก คุมขังร่วมกับจิตร ตอบกลับออกมาว่า "ถ้าเขาไม่อยู่ที่นี่แล้วเขาจะอยู่ที่ไหนละจ๊ะหนู" จิตรถูกคุมขังตามสถานที่ต่างๆ ประมาณสามแห่ง คือ กองปราบปทุมวัน เรือนจำลาดยาวใหญ่ และเรือนจำลาดยาวเล็ก


    จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ใช้วิธีเหวี่ยงแห กวดเอาคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์มาขังไว้หมด ในลักษณะที่ ว่าจับมาสิบคนเป็นคอมมิวนิสต์หนึ่งคนก็ถือว่าใช้ได้ ภายในคุกลาดยาวเมื่อต้นปี พ.ศ.2501 จึงมีคนหลายกลุ่มมารวม กันในคุกการเมือง
    กลุ่มแรก เป็นสมาชิกองค์กรจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) เช่น เปลื้อง วรรณศรี, อุดม สีสุวรรณ , หนก บุญโยดม และคนอื่นๆ
    กลุ่มที่สอง เป็นนักการเมืองแนวสังคมนิยม เช่น เทพ โชตินุชิต , พรชัย แสงชัจจ์ , เจริญ สืบแสง และคนอื่นๆ
    กลุ่มที่สาม เป็นพวกนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ เช่น อุทธรณ์ พลกุล , อิศรา อมันตกุล , สนิท เอกชัย , เชลง กัทลีระดะพันธ์ และคนอื่นๆ
    กลุ่มที่สี่ เป็นนักศึกษาปัญญาชน ที่มาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ , ประวุฒิ ศรีมันตะ, สุธี คุปตารักษ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตร เช่น นิพนธ์ ชัยชาญ , บุญลาภ เมธางกูร และนักศึกษาหนุ่มอีกหลายคน
    กลุ่มที่ห้า เป็นชาวนาจากบ้านนอก และชาวเขาจากดอยในภาคเหนือ เป็นพวกที่ไม่รู้เรื่องอะไร ซึ่งถูกกล่าวหาว่า เป็นชาวนาที่อยู่ในสายจัดตั้งของ พคท.
    กลุ่มนักศึกษารวมกันในนาม "กลุ่มหนุ่ม" หรือ "กลุ่มเยาวชน" โดยมีจิตร เป็นแกนหลักคนหนึ่งของกลุ่ม ในคุกลาดยาว องค์กรพรรคคอมมิวนิสต์ได้แยกออกเป็นสองปีก ปีกขวาประกอบด้วยกรรมการกลางพรรคฯกับสมาชิก พรรคฯภาคใต้ ส่วนปีกซ้ายมีสมาชิกพรรคฯภาคอีสานร่วมมือกับกลุ่มหนุ่ม
    ปีซ้ายโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่า เป็นพวกฝันกลางวัน หรือนักประนีประนอม "พวกฉวยโอกาสเอียงขวา" หรือ "พวก ลัทธิยอมจำนน" ด้านปีกขวาก็โจมตีปีกซ้ายว่า เป็น "พวกโฉยโอกาสเอียงซ้าย" หรือ "พวกลัทธิสุ่มเสี่ยง"
    ในปี พ.ศ.2503 ชาวลาดยาวทั้งซ้ายและไม่ซ้ายได้รวมกัน ก่อตั้งรูปก่อร่างคณะกรรมการสามัคคีเพื่อช่วยเหลือ เพื่อนๆที่อยู่ร่วมกัน มีการแบ่งงานออกเป็นแผนกการผลิต แผนกการศึกษา แผนกดนตรีและกีฬา แผนกสวัสดิภาพผู้ ต้องขัง โดยมีประธานคือเทพ โชตินุชิต



    ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2507 จิตร ภูมิศักดิ์ได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากศาลกลาโหมยกฟ้อง รวมเวลาที่จิตรถูกคุมขังโดยไม่มีความผิด 6 ปีเศษ ระหว่างที่จิตรอยูในคุก จิตรได้ทุ่มเวลาในการเขียน หนังสือ ผลงานเด่นๆ ของจิตรที่เกิดขึ้นในคุก อาทิเช่น ผลงานแปลนวนิยายเรื่อง "แม่" ของแมกซิมกอร์กี้ , โคทาน นวนิยาย จากอินเดียของเปรมจันท์ (แปลไม่จบ) และผลงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ คือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคม ของชื่อชนชาติ"
    เดือนตุลาคม พ.ศ.2508 จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับ พรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย ( พคท.) ในนาม "สหายปรีชา" และในเดือนพฤศิจกายน พ.ศ.2508 สายปรีชา ได้เดินทางไปที่ บ้านดงสวรรค์ ชายป่าดงพันนาโดยมีไสว นักรบแห่งบ้านเปือยไปรอรับ มุ่งสู่ที่มั่นกลางดงพระเจ้า ในฐานะ "คนผ่านทาง" ซึ่งจะได้รับการส่งตัวไปปฏิบัติงานในจีนตามคำขอของสหายไฟ (อัศนี พลจันทร) ต่อ พคท. แต่จิตรขอ เรียนรู้การปฏิวัติในชนบทไทยเสียก่อนระยะหนึ่ง
    สหายปรีชาใช้ชีวิตอยู่ที่ดงพระเจ้าได้ไม่นาน กองทหารป่าก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ากวาดล้าง นับเป็นครั้ง แรกที่มีการแตกเสียงปืนในดงพระเจ้า





    วันเสียงปืนแตก
    วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2508 มีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับทหารป่าเป็นครั้งแรก ที่บ้านนาบัว อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นของสงครามประชาชน ในที่ประชุมกรมการเมืองขยายวงที่ดงพระเจ้าเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2508 ก็มีมติรับรองและอนุมัติให้ตอบโต้ฝ่าย รัฐบาลด้วยกำลังอาวุธได้ กองกำลังทหารป่าที่ยังไม่มีชื่อหน่วยมาก่อนก็ได้มีชื่อขึ้นมาบ้างแล้วว่า " พลพรรคประชาชน ไทยต่อต้านอเมริกา" เรียกย่อๆว่า "พล.ปตอ." ธง แจ่มศรี(ลุงธรรม) ได้มอบหมายให้จิตร ภูมิศักดิ์แต่งเพลง มาร์ชประจำพลพรรค ด้วย
    สหายปรีชาและพวกได้ถอยทัพจากเหล่าขี้เหล็ก ตัดผ่านป่าไปทางบ้านส่งดาว หยุดพักพลที่บ้านบ่อแกน้อย ซึ่งมี นายพลจำปา หรือ พ่อจำปา เป็นแกนนำ และขบวนถอยทับได้ข้ามภูผาเหล็กไปยังภูผาดง ผ่านภูผาลมไปที่ภูผาหัก ซึ่ง ใกล้ๆกันนั้นมีหมู่บ้านผาหัก (หรือบ้านผาสุก) และด้านข้างของหมู่บ้านเป็นภูเขาที่ชื่อว่า "ภูผาตั้ง" ซึ่งภูผาแห่งนี้กลาย เป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของทับใหญ่ สหายปรีชาได้ปฏิบัติงานมวลชนที่นี่ โดยมีสหายสวรรค์เป็น "ทหารพิทักษ์" คอยติดตาม และเป็นเพื่อนร่วมงาน ที่ภูผาลมสหายปรีชาได้แต่งเพลง "ภูพานปฏิวัติ" ขึ้นกลายเป็นเพลงต่อต้านอันโดดเด่นของ ขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย



    วันที่ 4 พฤษภาคม 2509 สหายปรีชาและพลพรรคอีก 5 คนข้ามทางสายวาริชภูมิ-ตาดภูวง มาทำงาน มวลชนที่บ้านหนองแปน และบ้านคำบ่อ ในวันรุ่งขึ้นได้ถูกล้อมปราบจากฝ่ายรัฐบาล สายปรีชา สหายสวรรค์และ สหายวาริช ได้หลบหนีไปทางเทือกเขาภูอ่างศอ แต่ได้หลงทางไปถึงบ้านหนองกุงในเวลาเย็น ด้วยความหิว
    สหายปรีชาได้เข้าไปขอข้าวในหมู่บ้านหนองกุ่ง ที่บ้านของ นางคำดี อำพล แต่นางคำดีได้แอบให้คนไปแจ้งแก่ กำนันคำพล อำพน (กำนันแหลม) เมื่อจิตรได้รับห่อข้าวก็ เดินทางออกมา ที่ชายป่าท้ายหมู่บ้านเพื่อนำห่อข้าวมาให้ กับสองสหาย แต่ถูก กำนันแหลมและกลุ่มทหาร อส.ตามมาทัน ที่นาจารย์รวย และสหายปรีชาได้ ถูกล้อมยิงเสียชีวิต
    วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2509 จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกล้อมยิงเสียชีวิตลงที่ชายป่าบ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร






    บริเวณนาจารย์รวย ที่ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ ถูกล้อมยิงเสียชีวิต



    บทกวีบางส่วน จากจิตร ภูมิศักดิ์
    สู้อย่างไร ? นักปรัชญาบอกข้าที
    แสงดาวแห่งศรัทธา
    เสียงเพรียกจากมาตุภูิมิ
    กลิ่นรวงทอง

    อ้างอิง
    จิตร ภูมิศักดิ์ (สิงหาคม ๒๐๐๕) : ComBioLaw.De
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1150064/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    แต่ตอนสมัยนี้ อุดมการณ์บริสุทธิ์ไม่มีแล้ว มีแต่รับคำสั่งจากนายทุนที่อ้างว่าตนนั้นเลิศแล้วดีแล้วเพื่อประชาชนที่แท้จริงแล้ว

    ประวัติศาสตร์ควรศึกษาให้รอบด้าน เพราะการนำประวัติศาสตร์บางหัวข้อ บางคน หยิบยกขึ้นมา แล้วสร้างกระแสปลุกระดมคนนั้น ก็ยังถือว่ายังไม่รอบคอบอยู่ดีนั่นแหละ
    คนเราทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อเสียกันทั้งนั้น และการที่จะเอาข้อเสียของอีกคนมาพูดให้เกิดข้อดีกับพวกของตน หรือการเอาข้อดีของตนมาปิดบังข้อเสียเพื่อหลุดพ้นจากความผิดมันก็ไม่ถูกเหมือนกัน

    จงตั้งสติดีๆนะ หากใครอยากจะศึกษาประวัติศาสตร์ก็จงสำนึกไว้ว่าประวัติศาสตร์แท้จริงแล้วมีไว้เพื่อศึกษาเป็นแนวทางจากอดีตเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันและแสวงหาแนวโน้มในอนาคต ขออย่าได้ศึกษาแล้วจมปักษ์อยู่แต่กับอดีต คิดแล้วแค้น คิดแล้วแค้น
    มีไม่น้อยนักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา ที่ไม่จบเพราะเกิดสติแตก เพี้ยน แอ๊บๆ (พูดไม่หยุด) ขอให้ตั้งสติไว้ดีๆ


    อนุโมทนาครับ
     
  3. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,439
    ค่าพลัง:
    +1,770
    อุดมการณ์บริสุทธิ์ ยังมีอีกมากมาย ไม่ไหวนับ
    อยู่ที่จะ เปิดใจรับ หรือขัดขวาง
    หากคนจน กรรมชน ยังไม่จาง
    ไม่เหินห่าง สังคมไทย ไปนานวัน
    อันคนจน ผู้ที่ถูกมอง อย่างเหยียดหยาม
    มองว่า รับเงินจ้าง ราคาต่ำ
    มองดูว่า ชาวนา ผู้ตรากตรำ
    ต้องมานั่ง ขายใจ อุดมการณ์
    ขอให้เปลี่ยน ความคิด เช่นนั้นเถิด
    เพื่อนร่วม เกิดชาติไทย เคยสมานท์
    คนยากจน ลำบาก ตรากตรำนาน
    เขาแสดง อุดมการณ์ ให้ท่านดู
    โปรดอย่ามอง ว่าพวกเขา เห็นแก่ได้
    ถ้าได้เงิน แล้วมาตาย มันคุ้มหรือ
    ขอแค่ รัฐสวัสดิการ ที่คลุมครือ
    มีโครงสร้าง เศษฐกิจ อันยั่งยืน
    ไม่ผูกขาด กับผู้บริหาร อำนาจใด
    อันกระจาย รายได้ สู่คนยาก
    ท่านนาย ทุนผู้ราก อย่าสงสัย
    อย่ากอบโกย กสิกรรม ชาวนาไทย
    ขอทุนนิยม แบบใหม่ ที่ยั่งยืน
     
  4. Heureuse

    Heureuse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    857
    ค่าพลัง:
    +3,446
    เเต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ไทยไม่เคยเปลี่ยนคือชอบ ดูถูก
    ดูถูกเเม้กระทั่งตัวเอง
     
  5. ^ ^

    ^ ^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +1,279

    ผมรู้จักอยู่ท่านนึงครับ ที่ไม่ดูถูกตัวเอง ทำทุกอย่างเพื่อเพื่อนร่วมชาติ
    มนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณท่าน เพราะ ท่านรวมงานวิจัยยารักษาโรคมาเลเลีย
    กับ ม.ฮาร์หวัด จนสำเร็จ และ ปล่อยให้เป็นฟรีลิขสิทธ์ เพื่อให้ยาราคาถูก
    ใครจะผลิตก็ได้ คนไทยจนๆ จะได้มีเงินซื้อยา จะได้ไม่ตายเพราะมาเลเลียอีก
    ทั้งๆ ที่ บุกป่าฝ่าดง เพื่อเข้าไปเก็บตัวอย่างยุงมาทำกาวิจัย ทดลอง ค้นคว้า
    โดยไม่กลัวโรคมาเลเลีย และ อันตราย อะไรเลย
    (ป่าเมืองไทยสมัยก่อนยังกะป่าดงดิบ - -")


    คนไทยคนนี้เขาเป็นเจ้าของสโลแกนว่า "ยุงนั้นร้ายกว่าเสือ" เพราะว่า
    ตามสถิติในสมัยนั้นแล้ว คนตายเพราะมาเลเลีย มากกว่า โดนเสือกัดตาย


    คนไทยคนนี้ ที่ มนุษยชาติ เป็นหนี้เขา มีชื่อว่า นพ.ดร.พยุง พยุงเวช ครับ
     
  6. tony2002

    tony2002 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2006
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +178
    อันนี้ถูกใจผมจริงๆ.....สันดานคนไทยชอบดูถูกความเป็นมนุยษ์ของผู้ที่ต่ำต่อยกว่า และมักจะต่อต้านทำลายผู้ที่เหนือกว่าตน
    บางคนอาจจะไม่รู้สึกตัวเพราะว่ามันอยู่ในกมลสันดาน
     
  7. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    การไล่ล่าความอยากนั้น เปรียบเสมือนการวิ่งแข่งไปให้ถึงขอบฟ้า :cool::cool:
     
  8. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +3,592
    ข้าพเจ้าไม่ใช่เสรีชน และ ก็ไม่ใช่แต่เพียงข้าพเจ้าคนเดียวที่ไม่ใช่เสรีชน
     
  9. gun2555

    gun2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    701
    ค่าพลัง:
    +1,205
    ปัจจุบัน เศรษฐกิจแย่มาก ๆ พ่อค้าแม่ค้าบ่นขายสิ้นค้าไม่ค่อยได้ วันเสาร์อาทิตย์ ตามตลาดและห้างไม่ค่อยมีคนจับจ่ายสินค้า รัฐบาลบอกเศรษฐกิจดีมันอยู่ที่ไหนนะ พวกข้าราชการหนี้ท่วมหัว เพราะธนาคารเอาเงินไปปล่อยแต่กับข้าราชการ
     
  10. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,439
    ค่าพลัง:
    +1,770
    คนไม่ค่อยมีเงินก็ไม่ค่อยจับจ่าย เงินบาทที่แข็งค่าทำให้ส่งออกไม่ได้กำไร
    ราคาข้าวสารที่แพง แต่ราคาข้าวเปลือกที่ต่ำ ปัญหาน้ำท่วม
    ปัญหาการประมูล 3G ของเมืองไทย รัฐวิสาหกิจแบบผูกขาดพัฒนาประเทศยาก ตุลาการภิวัฒน์แบบถอยหลัง ปัญหาการคอรัปชั่น
    เมืองไทย ขาดแนวทางแห่งรัฐสวัสดิ์การ ถอยสู่ทุนิยมแบบเก่า
    โครงสร้างสังคมแบบอณุรักษ์ นิยม และพวก NGO ที่ไม่รู้ว่าอุดมการ์ณรักธรรมชาติจริงรึเปล่า ...........................พอละพิมพ์เมื่อยละ
    ปัญหามันเยอะเมืองไทยนี้.........
     
  11. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,439
    ค่าพลัง:
    +1,770
    ที่การท่าเรือ ยังพัฒนาเป็นระบบ E-port ไม่ได้ เพราะถ้าพัฒนาแล้ว ระบบจ๊ะ จะหมดไป ระบบจ๊ะ คือระบบสินน้ำใจค่าน้ำชา ซึ่งมีผลต่การทำงานอย่างมากในองค์กร
    หรือเงินนอกระบบ ที่มีตั้งแต่20บาท ถึงหลักล้าน
     
  12. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682

    คนไม่จับจ่ายใช้สอยเพราะเขารู้แล้วว่า ไม่มีเงินฟรีไหล่บ่าเข้ามา เงินทองที่ได้มาต่อไปนี้นั้นคือได้มาจากการขายบริการ แรงงาน และการค้าการลงทุน เงินฟรีนอกบัญชีหรืออาจจะนอกประเทศตอนนี้ยังไม่ไหลเข้ามา เพราะท่อระบายน้ำเต็มไปด้วยเรด้าจับความเคลื่อนไหวการไหลไงล่ะจ๊ะ :cool:

    เงินบาทแข็งค่าก็มีทั้งผลดีและผลเสียนั่นแหละจ่ะ
    ดีตรงซื้อของเมืองนอกได้มากขึ้นในอัตราเดียวกัน (ในที่นี้หมายถึงการซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ)
    เสียก็ตรงได้เม็ดเงินที่ตีกลับเข้ามาน้อยลง (ในกรณีผู้ประกอบการส่งออกและได้เม็ดเงินกลับเข้ามาเป็นดอลล่าแล้วเอามาแลกเป็นเงินตามอัตราแลกเปลี่ยน)

    จะเห็นได้ว่าเกิดช่องว่างตรงนี้เกิดขึ้น ผู้บริหารที่มีความชำนาญตรงนี้ก็จะสามารถบริหารช่องว่างตรงนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เช่นกัน
    ธุรกิจก็เหมือนกับธรรมะนี่แหละไม่มีความแน่นอน ฉนั้นผู้บริหารก็ควรจะสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าไว้อยู่บ้าง แต่ก็อย่างว่าบางสถานการณ์ถึงแม้จะทราบล่วงหน้าก็ไม่สามารถแก้ไขได้


    เคยขายของหรือเคยสังเกตุคนขายของไหมครับ ?

    ถ้าสังเกตุดูดีๆนะครับ ร้านขายข้าวแกง มีด้วยกัน 3 ร้าน แต่ละร้านทำอาหารมาจากแหล่งเดียวกัน แต่ทำไมมีเพียงร้านเดียวที่ขายดี
    เมื่อพิจารณาดูถึงพฤติกรรมการขายแล้วสามารถแยกแยะข้อแตกต่างได้พอสังเขบดังนี้

    ร้านที่ขายดี จะยืนตลอดเวลา และทำนั่นทำนี่ อยู่เนืองๆ
    ร้านที่ขายไม่ดี จะนั่งรอให้ลูกค้ามาซื้อจึงจะขาย
    ร้านขายเสื้อผ้าที่ขายดี มีเสื้อผ้าแปลกๆเก๋ๆ คนขายก็ยิ้มแย้มแจ่มใส
    ร้านที่ขายไม่ได้ ไม่อยากจะคุย ไม่อยากจะทักกับลูกค้า เสื้อผ้าก็เดิมๆ

    ลองไปสังเกตุดูนะครับ ดังนั้นนะครับในมุมมองของผมถ้ารัฐบาลออกมาประกาศปาวๆ "พี่น้องประชาชนครับ เศรษฐกิจประเทศเราแย่มากครับ ขอให้พี่น้องจงประหยัดอย่าไปจับจ่ายใช้สอย อย่าซื้อของกิน อย่าซื้อของใช้" ถ้าประกาศอย่างงี้ก็จบเห่กันทั้งประเทศพอดี
    จึงได้กล่าวเรียนไว้ว่า "เรื่องบางเรื่องถึงมันจะจริง แต่มันก็ไม่ได้ส่งผลดีและไม่เกิดประโยชน์ก็ควรต้องเป็นเรื่องที่ไม่พูดกัน" เห็นไหม ผมถึงได้บอกว่ายุคนี้มันเป็นยุคการควานหาความจริง คือ อะไรก็ได้ที่มันเป็นความจริงก็จะมีคนนิยมเก็บเกี่ยวเข้ามาปั้นๆแล้วก็รวมเป็นอัลบั้มความจริง เสร็จแล้วก็รอจังหวะมาแฉกันปลายปีนี้ก็คงได้ดูอัลบั้มอีกแน่นอน

    ก็ว่ากันไป จะแดงหรือเหลืองก็ดีขอให้เราอาศัยอยู่บนแผ่นดินนี้ด้วยนะ เพราะเราก็เสียภาษีเหมือนกัน เหล้าน่ะอยากกินก็แชร์กันไปซื้อนะ ถ้าอยากกินน่ะ อย่าไปเป็นทาสคนอื่นเพื่อแลกกับน้ำเมาเพียงขวดเดียว

    จะไม่พูดแล้วนะเรื่องการเมืองน้ำเน่า เสียเวลา
     

แชร์หน้านี้

Loading...