มาแสดงความคิดเห็น คำว่า "พระนิพพานา"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย deelek, 22 พฤศจิกายน 2012.

  1. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ขอให้เพื่อนสมาชิกและญาติธรรม ทั้งหลาย
    ลองมาแสงความคิดเห็นคำว่า
    "พระนิพพาน" ซึ่งเป็น เป้าหมาย
    อันสูงสุด ในพระพุทธศาสนา
    ว่าท่านมีความเข้าใจกันอย่างไรบ้าง
    ลองแสดงความคิดเห็นกันดูนะครับ
    (ไม่ต้องซีเรียส)
    เผื่อเป็นบุญกุศลสำหรับ
    ผู้กำลังศึกษาและแสวงหากันอยู่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2012
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    พระนิพพาน
    พระนิพพาน
    1) บรรดานักคิดนักแต่งทั้งหลาย ได้พากันโฆษณามาหลายร้อยปีแล้วว่า พระนิพพานเป็นสภาพสูญ แต่พอมาอ่านหนังสือของพระอรหันต์ท่านเขียน คือ หนังสือวิสุทธิมรรค ท่านกลับยืนยันว่าพระนิพพานไม่สูญ ดังท่านจะเห็นตามบาลีทั้ง 8 ที่ท่านยกมาเป็นองค์ภาวนานั้น คือ มัททนิมมัทโน พระนิพพานตัดความเมาในชีวิต วิปาสวินโย นิพพานบรรเทาความกระหายในกามคุณ 5 อาลยสมุคฆโต พระนิพพานถอนอาลัยในกามคุณ วัฏฏปัจเฉโท พระนิพพานตัดวนสามให้ขาด ตัณหักขโย พระนิพพานมีตัณหาสิ้นแล้ว หรือสิ้นตัณหาแล้วเข้าสู่พระนิพพาน วิราโค มีความเบื่อหน่ายในตัณหา นิโรโธ ดับตัณหาได้สนิทแล้ว โดยตัณหาไม่กำเริบอีก นิพพานัง มีความดับสนิทแล้วจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม อันเป็นเหตุให้เกิดอีกในวัฏฏสงสาร
    ความหมายตามบาลีที่ท่านว่าไว้นี้ ไม่ได้บอกว่าท่านที่ถึงนิพพานแล้วสูญ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นความเห็นผิด เมื่อบาลีท่านยันว่า นิพพานไม่สูญแล้ว ท่านบรรดานักเขียนนักแต่งทั้งหลาย ท่านเอามาจากไหนว่า นิพพานสูญ อันนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่าง เพราะมีพระบาลีบทหนึ่งว่า นิพพานัง ปรมัง สุญญัง แปลว่า นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ท่านอาจจะไปคว้าเอา ปรมัง สุญญัง โดยเข้าใจว่า สูญโญเข้าให้ เรื่องถึงได้ไปกันใหญ่
    2) นิพพาน นิพพาน เขาแปลว่า ดับ คือดับความชั่ว ได้แก่ โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง เป็นอารมณ์จิตที่บริสุทธิ์ ไม่มีความชั่วเจือปน เขตของพระนิพพานไม่มีความตาย ไม่มีการป่วย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น ถ้าท่านพุทธบริษัทสงสัย ก็พยายามฝึกมโนมยิทธิ หรือ ทิพย์จักขุญาณได้พอสมควร ท่านจะรู้ได้รู้จักสภาวะของ พระนิพพาน ดีกว่าอ่านหนังสือแล้วก็เดาเอา
    3) พระนิพพาน มีแดนไหม หรือว่าพระนิพพานสูญ สูญหรือไม่สูญมีแดนหรือไม่มีแดน ถ้าเราคือสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ต้องคิด คิดว่าธรรมใดที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสร สอนเราในชาตินี้ ที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ว่า นี่เป็นเชื้อของความทุกข์ มันก็ทุกข์จริง ๆ อันนี้เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข มันก็สุขจริง ๆ อันนี้ของสกปรกโสมมมันไม่สะอาด มันก็สกปรกจริง ๆ ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเรา เราพิจารณาเห็นแล้วว่าเป็นความจริงทุกอย่าง ฉะนั้นแดนที่มีความสุขจริงอย่างยิ่ง ไม่มีทุกข์เจือปน ก็คือ แดนพระนิพพาน แดนพระนิพพานก็เป็นแดนจริง ๆ มีความสุข จริง ๆ และก็ต้องมีจริง
    4) สำหรับท่านที่รักการปฏิบัติจริง เรื่องมรรคผลนิพพานเป็นเรื่องใหญ่ นิพพานที่เข้าใจกันว่าสูญนั้นเป็นการเข้าใจผิดชัด ๆ ความจริงนิพพานไม่สูญ เป็นแดนพิเศษที่เหนือเทวดาและพรหม มีความสวยสดงดงามมากกว่าเทวดาและพรหม มีความสุขละเอียดกว่า สุขุมกว่า ไปไหน มาไหนได้สบาย ไม่มีสภาพสิ้นซากหรือไร้ความรู้สึก
    5) ถ้าอยากจะเห็นพระนิพพาน ต้องเจริญวิปัสสนาญาณ ให้ได้บรรลุพระโสดาบันเป็นอย่างต่ำ อาศัยญาณที่ได้ไว้ในสมัยโลกียฌาน และอาศัยผลที่เป็นพระอริยะ ท่านเรียกญาณที่ได้ว่า วิมุตติญาณทัสสนะ แปลว่า หลุดพ้นจากกิเลสพร้อมด้วยฌานเป็นเครื่องรู้ เท่านี้พระนิพพานก็ปรากฏชัดแก่ญาณจักษุ พระโสดาบันนี้ได้แต่เห็นพระนิพพาน ยังอาศัยนิพพานเป็นที่พักผ่อนไม่ได้ ถ้าสำเร็จอรหัตตผลแล้ว ท่านก็ไปนอนค้างบนนิพพาน อันเป็นสถานที่อยู่สำหรับตนได้เลย บนนิพพานก็คล้ายกับพรหม มีวิมาน แต่วิจิตรมาก ร่างของท่านที่เข้าพระนิพพานเป็นทิพย์ ละเอียด ใสสะอาด ใสคล้ายแก้วประกายพรึก มีรัศมีสว่าง มากกว่าพรหม อย่างเทียบกันไม่ได้เลย มีความสุขที่สุด อย่างไม่มีอะไรเปรียบ เพราะความรู้สึกอย่างอื่นไม่มี มีแต่จิตสงเคราะห์
    6) ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปพระนิพพานเป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ 99 เปอร์เซ็นต์ที่ตอบว่า คำว่าอยาก แปลว่า ตัณหา ในเมื่ออยากไปพระนิพพาน ก็แสดงว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน ก็เลยบอกว่านี่แกเทศน์แล้วแกก็เดินลงนรกเลยสบาย ไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้านเขาไปอีก ถ้าต้องการไปนิพพาน เขาเรียกว่า ธรรมะฉันทะ มีความพอใจในธรรม เป็นอาการซึ่งทรงความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก
    7) การเข้าพระนิพพานไม่มีอะไรยาก เพียงแต่ชนะใจตัวเองเท่านั้นคือ
    - ไม่ทำหรือคิดว่าจะทำความชั่วทุกอย่าง(ตามแบบศีล 5 )
    - สร้างความดีที่ทำให้เกิดความสุขแก่ตนและคนอื่นทุกอย่าง
    - ชำระใจให้เข้าใจในเหตุผล เคารพตามความเป็นจริง ไม่มีอารมณ์ฝืนกฎธรรมดา เห็นโลกเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง รู้เหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์ คือ ความอยากไม่รู้จบ ไม่สนใจกับความเคลื่อนไปของสิ่งมีชีวิต ไม่ต้องการความเกิดรู้ตัวเสมอว่าทรัพย์สินที่หามาได้นั้น เราไม่มีโอกาสปกครองได้ตลอดกาล เมื่อถึงเวลาต้องพลัดพรากจากมันเป็นปกติ เมื่อมันจากเรา หรือเราจากมัน ไม่มีอารมณ์เป็นห่วงหรือหนักใจ เห็นความตายเป็นกีฬาสำหรับเด็ก เท่านี้จะทำให้ใจสบาย เรื่องสวรรค์หรือพรหมถือว่าต่ำเกินไป ไปนิพพานเลยดีกว่า นิพพานมีแต่สุข หาทุกข์ไม่ได้
    8) ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง มีอารมณ์จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ จิตมันก็ไม่ถอย เมื่อจิตมันไม่ถอยทำอย่างไร ก็มีอย่างเดียว การก้าวไปสู่พระนิพพาน
    9) แต่ว่าขอเตือนสักนิด ถ้าจะทำจิตของเราให้ทรงอารมณ์เป็นพระนิพพานจริง ๆ ขอบรรดาท่านภิกษุ สามเณร และท่านพุทธบริษัทชายหญิง จงพยายามทรงทรงอารมณ์ บารมี 10 ประการ ไว้ให้ครบถ้วน อันนี้ทิ้งไม่ได้ เกาะบารมี 10 ประการ ว่าสิ่งไหนบ้างที่ยังไม่มีสำหรับเราเรายังบกพร่อง อย่าให้บกพร่อง และใช้กำลังสมาธิควบคุมให้ทรงตัวให้มีกำลัง จรณะ 15 ที่เป็นกำแพงกั้น ที่จะไม่ให้เราตกอยู่ในภาวะของความชั่วแห่งจิต และใช้ อิทธิบาท 4 เป็นเครื่องสนับสนุน ให้เราเข้าถึงความสุข ทรงกำลัง 3 ประการให้ทรงตัว แล้วใคร่ครวญหาความจริงว่า ร่างกายมันเป็นโทษ มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา หาความดีไม่ได้ เกิดเป็นคน เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ก็ไม่พ้นทุกข์ จิตยึดอารมณ์พระนิพพานเป็นอารมณ์
    10) การเป็นพระอรหันต์ไม่เห็นยาก คือ ตัดความพอใจในโลกทั้งสาม มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ตัดราคะ ความเห็นว่ามนุษย์โลกสวย เทวโลกสวย พรหมโลกสวย โลกทั้งสามไม่มีความหมายสำหรับเรา เราไม่ต้องการสิ่งที่เราต้องการคือ พระนิพพาน มีความเยือกเย็นเป็นปกติ ไม่เห็นอะไรเป็นเราเป็นของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากระทบถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา มีขนตกอยู่เป็นปกติ คือว่าไม่มีการสะดุ้งหวาดหวั่นอันใด
    11) พระอรหันต์ย่อมไม่ปรากฏเห็นว่าอะไรในโลกนี้เป็นเราเป็นของเรา ไม่เห็นว่าอะไรในโลกนี้เป็นของดีและก้ไม่เห็นว่าอะไรในโลกนี้เป็นของเลว ทั้งนี้เพราะพระอรหันต์ยอมรับนับถือกฎแห่งความเป็นจริง ว่า ธรรมดาของโลกนี้เป็นอย่างนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เป็นกฎธรรมดาไปหมด ไม่มีอะไรเป็นเครื่องสะเทือนใจ พระอรหันต์ เขาด่าก็ไม่สะเทือนใจ เขาชมก็ไม่สะเทือนใจ อะไร ๆ เกิดขึ้นมาทั้งทีก็เป็นเรื่องธรรมดา
    12) ถ้าจะถึงอรหันต์ ทีนี้อารมณ์ใจมันสบายทุกอย่าง คือว่าไม่หลงในฌาน ฌานทุกอย่าง ทั้ง รูปฌาน และ อรูปฌาน เราพอใจ แต่คิดแต่เพียงว่านี่เป็นบันไดก้าวขึ้นสู่อริยะเบื้องสูงเท่านั้น ไม่ใช่มานั่งหลงว่ากันทั้งวันทั้งคืน นั่งกรรมฐานตลอดวันตลอดคืน นั่นมันยังเป็นเด็กเล็ก ๆ อยู่ ทีนี้หลงในฌานไม่มี ตัวมานะ ถือว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขาไม่มี และอาการณ์ฟุ้งซ่าน สอดส่ายไปสู่อารมณ์อกุศลไม่มี และตัวสุดท้ายก็เห็นว่าโลกทั้ง 3 โลก คือ มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ไม่มีความหมายสำหรับเรา เห็นสภาวะของโลกทุกอย่างนี้ทั้ง 3 โลก มันเป็นแดนของความทุกข์ สิ่งที่มีความสุขที่สุดคือ พระนิพพาน อันนี้ ถ้าเป็นสุขวิปัสสโก ท่านจะมีความสบายมาก สบายในอารมณ์ ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า พระนิพพานมีจริง และพระนิพพานเป็นดินแดนของความสุข แม้ท่านจะไม่เห็น หากว่า พระวิชชาสาม ก็ดี อภิญญา 6 ก็ดี ปฏิสัมภิทาญาณก็ดี นี่เขาไปที่พระนิพพานได้เลย จะสามารถเห็นพระนิพพานได้เท่า ๆ กับเห็นของที่มองอยู่ตรงหน้า แล้วเขาก็จะรู้สภาวะว่า ถ้าเขาทิ้งอัตภาพนี้แล้ว เขาจะไปอยู่ตรงไหน เพราะพระนิพพานไม่ได้มีสภาพสูญ เขาก็เข้าสู่จุดของเขาเลยที่พระนิพพาน เข้าที่อยู่ได้ ไปไหวพระพุทธเจ้าได

    นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่จิตมีความสงบสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ ไร้สุข เป็นอิสรภาพสมบูรณ์

    "นิพพาน" จากบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

    ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน ธรฺม ธาตุ ปรกฺฤตย อวตาร สูตฺร(入法界體性經 ) โดยอธิบายว่า ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึง'ไม่มีผู้ใดเกิด' แต่นิกายมหายานส่วนใหญ่มักมุ่งสู่การไปเกิด ณ แดนสุขาวดี (หนึ่งในพุทธเกษตร ซึ่งเป็นโลกธาตุที่พระอมิตตายุสสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เนรมิตขึ้น ) โดยมีคติการบรรลุธรรมคนเดียวเป็นการเห็นแก่ตัวดังนั้นจึงอยู่ช่วยสรรพสัตว์จนถึงคนสุดท้าย

    พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ทรงตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"

    คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน 2 ประเภท คือ

    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก
    [แก้] การถกเถียงเรื่องสภาวะของนิพพานอนึ่ง การถกเถียงเรื่องสภาวะของนิพพาน มีมานานเป็นพันปีแล้ว ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มที่มีความเชื่อไว้สองกลุ่มดังนี้

    1. กลุ่มที่เชื่อว่า นิพพานมีสภาวะเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา กลุ่มนี้เชื่อว่า สภาวะของนิพพานนั้นต้องตรงข้ามกับกฏไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)โดยเฉพาะข้อความใน อนัตลักขณสูตร ที่กล่าวไว้ชัดเจนว่า สิ่งไดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ และอนัตตา โดยทรงยกเอาขันธ์๕มาเป็นตัวอย่างในคุณลักษณะแห่ง สภาวะที่ตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์
    เมื่อนิพพาน อยู่นอกเหนือจากกฏไตรลักษณ์ นิพพานจึงมีคุณลักษณะที่เที่ยงแท้ แน่นอน และเป็นบรมสุข ดังนั้นนิพพานจะเป็นอนัตตาไม่ได้ เพราะถ้านิพพานเป็นอนัตตานิพพานก็จะมีสภาวะเดียวกับขันธ์๕ แต่นิพพานไม่ใช่เบญจขันธ์(ขันธ์ 5) นิพพานนั้นเป็นธรรมขันธ์ นิพพานจึงไม่สามารถเป็นอนัตตา กลุ่มที่มีความเชื่อเช่นนี้มักเป็นกลุ่มธรรมกาย เป็นส่วนใหญ่

    การเชื่อเรื่องนิพพานเป็นอัตตานั้นปรากฏหลักว่าเริ่มมีมาตั้งการสังคายนาครั้งที่ 2เช่น นิกายวัชชีปุตวาท เป็นนิกายที่แยกออกมาจากเถรวาทเมื่อครั้งการสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้ได้แพร่หลายจากมคธไปสู่อินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ไม่มีปกรณ์ของนิกายนี้เหลืออยู่เลยในปัจจุบัน หลักธรรมเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือนิกายนี้ยอมรับว่ามีอาตมันหรืออัตตาจึงถูกโจมตีจากนิกายอื่น เช่น นิกายมหาสังฆิกะ(มหายานในปัจจุบัน) เถรวาทและนิกายเสาตรันติกวาท

    2. กลุ่มที่เชื่อว่า นิพพาน มีสภาวะ เป็นอนัตตา เป็นสุขสูงสุดคือความสงบ ไม่ใช่สุขอย่างโลก ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่การมา ไม่ใช่การไป ไม่สถานที่ คือความหยุดโดยสมบูรณ์สิ้นสุดความเปลี่ยนแปลงจึงคงอยู่ในสภาพเดิมหรือ เป็น ตถตาคือความเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ ประกอบด้วยความเป็น สุญญตา(บาลี-เถรวาท)หรือศูนยตา(สันสกฤษ-มหายาน) หมายความว่า “ว่าง” ธรรมธาตุของนิพพานนั้นจึงเป็นธาตุว่างพุทธศาสนานั้นปฏิเสธทิฐิเรื่องอัตตาหรืออาตมันในสมัยพุทธกาลลัทธิต่างๆจะเน้นย้ำเรื่องอาตมันนี้มาก และทิฐิที่เห็นว่าเป็นอุจเฉททิฐิ(ขาดสูญ)

    ในกลุ่มแรกจะแย้งว่านิพพานไม่ใช่อนัตตาเพราะเนื่องจากอนัตตาคือสิ่งที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คืออนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง(เป็นทุกข์) อนัตตา(ไม่มีตัวตน) แต่การนิพพานนั้นเป็นการดับสนิท โดยไม่เหลือเหตุปัจจัย ได้แก่ กิเลส ตัณหา อุปาทาน(เช่นการยึดมั่นถือมั่นในอัตตา) ทั้งปวง จึงเป็นการดับไม่เหลือหรือ “นิพพาน”

    [แก้] สภาวะของนิพพานจากหลักฐานในพระไตรปิฎกคำว่า "นิพพาน" เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่า นิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานเช่นเดียวกับคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์

    คัมภีร์ชั้นอรรถกถา ของฝ่ายเถรวาท ระบุว่า "นิพพานอันว่างจากตน" "นิพพานเป็นอนัตตา" เช่น ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ปริวารระบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194)

    นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450) แปลว่า: "สัจจะทั้ง 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว (คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ (ทุกข์) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา " อรรถกถาอธิบายว่า อนตฺตฏฺเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา อนตฺตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ.2/229)

    ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" คำว่า "อนัตตา" มีความหมายระดับปรมัตถ์ มีนัยที่ต้องไขความต่ออีก โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังจะบอกว่า "ที่ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกัน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอยู่ ไม่มีตัวตนที่คงที่ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้เสวย ไม่มีอำนาจในตัวเอง บังคับให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ แย้งต่ออัตตา"

    ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

    "ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

    ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะพยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย

    ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น

    พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด

    นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึงไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

    เมื่อนิพพานพ้นไปจากบัญญัติในทางโลก การอธิบายถึงนิพพานจึงเป็นเพียงการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบกับความว่างเปล่า หรือไฟที่ดับไป เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า "เพราะพระนิพพานเป็นคำสุขุมนัก...เป็นธรรมที่ต้องเห็นด้วยอริยจักษุ เป็นธรรมอันบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมรรค (เท่านั้น) จะพึงถึงได้" นิพพานจึงมิใช่เรื่องของการเข้าใจ แต่อยู่ที่การเข้าถึง อันเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของตนเอง

    หลวงปู่ดู่ กล่าวถึง แดนพระนิพพาน
    « เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2010, 11:27:34 AM »

    --------------------------------------------------------------------------------
    แหล่งที่มา : หนังสือร่มเงาพุทธฉัตร พระอาจารย์ศุภรัตน์เป็นผู้เขียน

    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ท่านเป็นพระเถระ ลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ พระปรมาจารย์สายกรรมฐานของภาคอีสาน ผู้เขียนได้รับฟังข่าวคราวจากทางหนังสือพระเครื่อง เกี่ยวกับรูปถ่ายที่ช่างภาพถ่ายรูปท่านในท่านั่งห้อยขา แต่พอล้างฟิลม์ออกมากลับมีรูปซ้อนเป็นภาพนั่งสมาธิ โดยที่ท่านไม่ได้เปลี่ยนอริยาบท ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นกายทิพย์ที่ท่านแสดง ขณะนั้นผู้เขียนทำงานเป็นพนักงานสินเชื่อ หัวหน้าแม่สอด-แม่ระมาด จังหวัดตากอยากไปนมัสการท่าน ความตั้งใจตอนนั้นเพียงเพื่อไปขอวัตถุมงคลและมีความเชื่อลึกๆ ในใจว่าท่านเป็นพระอรหันต์ เมื่อหยุดพักร้อนจึงเดินทางไปหาเพื่อนซึ่งจบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นเดียวกัน ซึ่งรับราชการเป็นอาจารย์ที่วิทยาเขตเกษตรสุรินทร์ พอถึงสุรินทร์เรียบร้อยเพื่อนก็ถามว่าทำไมอยากมากราบหลวงปู่ ได้ตอบเพื่อนว่า”เขาว่าท่านเป็นพระอรหันต์เลยอยากมาขอเหรียญทีท่านปลุกเสก” โดยใจตอนนั้นไม่ปรารถนาธรรมอะไรจากท่าน เพราะอยู่ในช่วง เป็นนักล่าวัตถุมงคล


    พอผู้เขียนไปถึงวัดหลวงปู่กำลังตื่นจาก จำวัดพอดี เพราะขณะนั้นท่านอายุมากแล้วจำเป็นต้องพักผ่อน เมื่อทางพระอุปัฎฐาก อนุญาตให้เข้าพบผู้เขียน ได้เข้าไปกราบท่านและได้ถวายปัจจัยแล้วนั่งเงียบอยู่ ไม่ทราบจะเริ่มต้นอย่างไร เสียงหลวงปู่พูดขึ้นว่า “เณรไปหยิบเหรียญมาให้ข้าที เขาอยากได้” ผู้เขียนดีใจมากรับเหรียญมาเก็บไว้แล้วกราบลาท่านกลับ


    ภายหลังได้อ่านหนังสือหลวงปู่ฝากไว้ ทำให้นึกเสียใจว่า ทำไมเราไม่ไปขอฟังธรรมจากท่านในตอนนั้นเพราะเนื้อธรรมที่แสดงนั้นเป็นธรรม ล้วนๆไม่ว่าทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม โดยเฉพาะเรื่องจิตคือพุทธะ และประโยคที่กินใจมากคือ “คนเราเป็นทุกข์เพราะความคิด”


    มีคำพูดของหลวงปู่ที่กล่าวถึงความว่าง หรือสูญญตาว่า เป็นสมบัติของจิตเรา หรือที่เรียกว่าจิตเดิมแท้ มีสภาพบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ถ้าเราทำให้ปราศจากความปรุงแต่ง จึงจะถึงสภาวะนี้ได้ แต่หลวงปู่ไม่ได้พูดถึงแดนนิพพานเหมือนกับสาย มโนมยิทธิของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และหลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ สิ่งเหล่านี้อยู่ในความกังขาข้องใจของผู้เขียนมาก หลวงพ่อดู่ท่านคงรู้ความคิด ท่านจึงพูดว่า “นิพพานจริงๆ แล้วเป็นความว่าง ไม่มีอะไรเลย” ผู้เขียนจึงเรียนถามว่าแล้ววิมานแก้วพระพุทธเจ้าที่เราขึ้นไปกราบกัน “ไม่ใช่หรือ” ท่านตอบว่า”ใช่” เป็นพุทธนิมิตเป็นเครื่องรองรับผู้ปฏิบัติ ทำให้นึกถึงในประวัติของพระอาจารย์มั่น ตอนที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาแสดงนิมิตให้เห็นพระอาจารย์มั่นเกิดความสงสัย จนกระทั่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสขึ้น “จนถึงบัดนี้เธอยังสงสัยอะไรอีกหรือ ตถาคตมาในรูปธรรม ไม่ได้มาในนามธรรม” นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังได้แสดงนิมิต ให้พระอาจารย์มั่นดู คือในสมาคม เณรน้อยอรหันต์มาถึงก่อนก็นั่งหัวแถว พระผู้ใหญ่,พระพุทธเจ้าเสด็จมาทีหลังก็นั่งตามลำดับมา ซึ่งพระอาจารย์มั่นก็เข้าใจว่า “ความบริสุทธิ์ของพระองค์เสมือน ไม่มีใครมากน้อยไปกว่ากัน “แสดงถึงว่าเมื่อความเป็นพระอรหันต์แล้วถึงวิมุติธรรมคือความเสมอภาคของธรรม แต่ถ้าเป็นพุทธประเพณี นิมิตนั้นก็แสดงอีกโดยพระพุทธเจ้านั่งเป็นประธานตามด้วยพระอัครสาวกและพระ ผู้ใหญ่ตามลำดับอาวุโส


    วันหนึ่งหลวงพ่อ(ดู่)ได้เล่าถึงการปฏิบัติ โดยท่านเป็นผู้บอกว่า “เมื่อ ไปถึงวิมานแก้วได้แล้ว เป็นวิมานแก้วของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกุฏิของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ก็มีวิมานพระธรรม อยู่ไปทางขวามือของพระพุทธเจ้ามีตู้พระไตรปิฎกอยู่หลายตู้ เขียนเป็นภาษาบาลีอักษรขอม ถ้าอยากรู้แปลว่าอะไรให้ถามหลวงปู่ทวด ซ้ายมือเป็นวิมานของพระสงฆ์ มีพระสงฆ์อยู่พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แกเดินจิตให้ดีจากวิมานแก้วจะไปถึงพระพุทธรูป 4 องค์ของกัปป์นี้ มีลักษณะหน้าตักกว้างไม่เท่ากันตามบารมี องค์แรกเป็นของพระกกุสันโธมีหน้าตักกว้าง 20 วา องค์ที่สองพระโกนาคม หน้าตัก 15 วา องค์ที่สาม ของพระกัสสปหน้าตัก 10 วา องค์ที่สี่ หน้าตัก 5 วา ถ้าเป็นพระศรีอริย์องค์ที่ห้า ยังไม่ปรากฎถ้าอธิษฐาน ขอดูจะพบว่ามีหน้าตักเท่ากับองค์แรก เพราะท่านสร้างบารมีมาถึง 16 อสงไขยกับแสนมหากัปป์ ทำจิตให้ดี เดินจิตให้ถึงที่หลังพระทั้ง สี่องค์ มีที่เวิ้งว้างไม่มีประมาณนั้นแหละคือ แดนพระนิพพานจริงๆ ไม่มีอะไรเลยเป็นสภาพของความว่าง แต่ไม่ใช่สูญนะแก”


    ผู้เขียนถึงบางอ้อในคำสอนของท่าน ซึ่งสุดท้ายก็มาอยู่ในแบบเดียวกันตรงกับที่หลวงปู่ดุลย์ พูดไว้ไม่มีผิดเพี้ยน แต่หลวงพ่อท่านสอนแบบพระโพธิสัตว์ที่บุญญาธิการเต็มเปี่ยมแล้ว สาธุ สาธุ สาธุ


    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 11, 2010, 11:35:15 AM โดย kittinun » บันทึกการเข้า

    --------------------------------------------------------------------------------
    " เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว ให้พากันปฏิบัติ "
    " โลกต้องไม่ให้ช้ำ ธรรมต้องไม่ให้เสีย อย่าปฏิบัติตนสุดโต่ง
    ต้องปฏิบัติธรรมสมกับฐานะและสภาพของแต่ละบุคคล "




    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2012
  3. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ...ตราบใดที่ยังถือตำราคนละฉบับ ตราบนั้นหาข้อสรุปไม่ได้หรอกครับ....
    ***เอาเป็นว่า ทำอย่างไรเมื่อกายแตกดับจากภพนี้แล้ว จะไม่ไปอบาย...
     
  4. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ในความเห็นของดิฉัน จากการที่เคยนั่งสมาธิและได้ฌาณ 4 ในครั้งหนึ่ง คิดว่านิพพานคือสภาวะที่ดวงจิตเองถูกฝึกจนมีสันดารสงบเป็นอารมย์ ชนิดทีไม่มีสิ่งใดสามารถทำให้
    ดวงจิตเกิดความปรารถนาไปตามแรงกิเลสอันจะทำให้ก่อกำเนิดทุกข์ได้อีก(ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง)

    นิพพานมิใช่สวรรค์ แต่เป็นสภาวะอารมย์โดยสันดาร ที่ฝึกให้เกิดได้จากการฝึกดวงจิต..... อารมย์ หรือสภาวะนิพพานนั้นดวงจิตจะนิ่งอยู่เฉยๆ มีความสุขเป็นนิจ ไม่รู้สึกอยากใดๆ แต่รู้สึกว่าอิ่มและเต็มกับทุกอย่างที่อยาก อย่างเป็นนิจ ในขณะที่ก็ไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่ายเช่นกัน

    การจะสำเร็จฌาณไม่เพียงแต่จะแค่อยากนั่งหรือ แค่พุธ โธ เข้า ออกไปเรื่อยๆจะทำให้ดวงจิตเข้าสู่ชั้นฌาณได้เร็ว หากแต่การทำอารมย์ หรือมีอารมย์ กพื้นฐานตลอดจนวิธีการคิดและมองโลกก็มีส่วนสำคญในการจะทำให้สำเร็จฌาณด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2012
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (ของหนัก ห้า อย่างที่เราแบกไว้แล้วเข้าใจว่า เป็นเรา ของเรา ตัวตนเรา คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
    ทำสมาธิได้ ปฐมฌาน วาง นิวรณ์ ๕ ได้ก็มีความเบาสบายมีความสุข นี้ก็เป็นตัวอย่าง นิพพาน ได้ฌาน ๔ วาง รูป ได้ก็มีความเบาสบายขึ้นไปอีก นี้ก็เป็นตัวอย่าง นิพพาน
    แต่ออกจากสมาธิ ก็เอา รูป มาแบกเหมือนเดิม มีแต่ พระอนาคามี ขึ้นไปเท่านั้นที่วาง รูป ได้ถาวร ขันธ์เดียว
    ยังเหลืออีกตั้ง ๔ ขันธ์ ท่านก็เบากว่าเรามากแล้ว พระอรหันต์ วางได้ ๕ ขันธ์ได้ถาวร วางของหนักได้แล้วไม่ต้องวิ่งหาความเบา ไม่ต้องวิ่งหา นิพพาน วิธีวาง พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วคือ มรรค ๘ พูดย่อ ๓ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อ ๒ สมถะ วิปัสนา ย่อ ๑ อานาปานสติ)

    ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้
    บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
    ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๕๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๘๗
     
  6. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เรื่องพระนิพพาน เป็นอีกเรื่องที่คิดยังไงก็ไม่ถูก
    จนกว่าจะสำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์นั่นแหละ
     
  7. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ขอบคุณทุก ๆ ท่าน ที่ได้แสดงความคิดเห็น
    ซึ่งจะเป็นบุญกุศลกับผู้ที่กำลังได้ศึกษากันต่อ ๆ ไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...