มีคำถามค่ะ-พรหมลิขิต,เนื้อสัตว์,ขี้กังวลกับเรื่องงาน

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย tydyislover, 29 ตุลาคม 2012.

  1. tydyislover

    tydyislover สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    1. การที่เราถูกเลือกมาอยู่ในจุดๆหนึ่ง หมายถึงในสังคมใหม่ อย่างเช่นนักเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ การที่ได้พบกับคนคนนึงและรู้สึกดีอย่างแปลกประหลาดในหลายมุม มันเป็นดวงหรือความผูกพันในอดีตหรืออะไรหรือเปล่าคะ แต่จำได้ว่าเคยอ่านแล้วเค้าบอกว่า พรหมลิขิต หรือการที่ทุกๆอย่างจำเป็นต้องเกิดขึ้น เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ สรุปยังไงดีคะ

    2. เรื่องของการฆ่าสัตว์ ที่มันเจตนากึ่งไม่เจตนา อย่างเช่น โต๊ะอาหารแล้วมดขึ้น ต้องทำอย่างไรกับมัน จะไม่ฆ่า เราก็กินอาหารไม่ได้ หรือว่าแผ่เมตตากึ่งขอโทษแล้วก็ฆ่าไปได้ไหม ส่วนเรื่องของการไม่กินเนื้อสัตว์ ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าตรัสไว้กับเรื่องนี้อย่างไรหรือคะ ให้มองเป็นธาตุดินหรือเปล่า เพราะเรากินเนื้อสัตว์ก็เท่ากับสนับสนุนให้ฆ่า หรือเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนั้น เป็นสัตว์อาหารอยู่แล้ว

    3.อันนี้เป็นปัญหาส่วนตัวค่ะ คือชอบกังวลกับเรื่องงาน แต่วันกำหนดก็ยังไม่ถึง แต่ยังไม่ต้องทำให้เสร็จตอนนี้ก็ได้ แต่ในสมองชอบคิดว่า ต้องทำให้เสร็จเร็ว ๆ วันนี้ เดี๋ยวนี้ วันหยุดข้างหน้าจะได้พักผ่อนๆ คิดแบบนี้จนทำให้รู้สึกอยากอาหารน้อยลง ไม่กินจุเหมือนเมื่อก่อน อีกใจก็วิตกว่า จะทำได้หรือเปล่านะ งานจะเสร็จทันเวลามั้ย จะลองนั่งสมาธิ ทำใจสบาย ๆ ดูนะคะ แต่ว่ายังหาแนวคิดที่จะปลอบประโลมสมองตัวเองไม่ให้คิดล่วงหน้าไปถึงอนาคตอันใกล้อย่างวุ่นวายอยู่ทุกนาทีอย่างไรดีค่ะ

    ขอบคุณมากนะคะสำหรับทุกคำตอบและคำแนะนำ :)
     
  2. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,940
    ก่อนอื่น พึงทราบว่า ไม่มีพระพรหมหรือเทพอะไรที่ใหนจะสามารถลิขิตอะไรๆให้ใครได้เลยและไม่พึงเข้าใจผิดว่า"เราถูกเลือก"ไปใหนๆทั้งนั้น..ที่แท้ พิจารณาดูจริงๆจะพบว่า "เราเป็นผู้เลือก" ที่จะไปใหนๆหรือทำอะไรๆเองทั้งสิ้น...

    ดูเถิด เมื่อคิดอยากจะไปกินอาหารอร่อยๆ เราก็พาตนไปยังจุดหมายที่ประสงค์คือร้่านที่มีอาหารใช่หรือไม่?...แม้คิดจะไปเรียนต่อต่างปท ก็ขวนขวายดิ้นรนทำตามขั้นตอนเพื่อสนับสนุนให้ตนย้ายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจนได้มิใช่หรือ?..ไม่เห็นว่าจะมีพระพรหมที่ใหนมาwarp ให้ใครไปใหนๆได้เลย..ถ้ามีได้คงวิเศษแท้ ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบินที่แสนแพง อยากกลับบ้านเต็มที..

    สรุปคือ ให้ยุติความเชื่องมงายในคำกล่าวที่ว่า"พรหมลิขิต"ในทุกกรณี เพราะเป็นเรื่องใช้หลอกคนเขลาเท่านั้น พรหมไม่มีเวลาว่างเที่ยวลิขิตอะไรๆใครๆเลย.. ท่านมีความสุขกับการเข้าฌานเกือบตลอดเวลาเท่านั้น..

    หากท่านจขกท นับถือศาสนาอื่น ไม่ใช่ชาวพุทธก็ต้องขออภัยในคำตอบต่อไปนี้..

    การที่เราจะไปประสบพบที่ดีหรือคนดีหรือไม่ดีนั้น ส่วนหนึ่งมาจากบาปและบุญที่ตนเคยทำมาแล้ว เรียกว่ากรรมเก่า..กรรมคือเจตนาของตน ในการทำ พูด คิด..เมื่อทำแล้วย่อมมีผลที่สอดคล้องกับเจตนาเดิมปรากฏให้ได้รับเมื่อได้เหตุปัจจัยประชุมพร้อม..เช่นตนเคยใจดีพูดดีมีเมตตากับใครๆมาแล้ว แม้จะไปอยู่ถิ่นฐานอื่นๆ ก็ย่อมได้พบคนใจดีมีเมตตากับตนเป็นต้น...

    เรื่ิองเหล่านี้ คำสอนในพุทธศาสนาสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล และไม่มีศาสนาอื่นใดอธิบายได้ จึงแต่งตั้งให้พรหมบ้าง เทพเ้จ้าต่างๆบ้างเป็นผู้เสกสร้างหรือลิขิต เพื่อตอบคำถามคนที่ไม่รู้แบบง่ายๆ..หากมีปัญญาคิดได้ จะสงสัยหนักขึ้นไปอีกในแง่มุมต่างๆ เขาจึงห้ามถาม โดยขู่ว่าเป็นการไม่เคารพเทพเจ้าจะถูกลงโทษเป็นต้น คนไม่รู้กลัวมากสมกับความไม่รู้ จึงเชื่อไปง่ายๆ..

    หลักกรรมนั้นเป็นความจริงสากล เมื่อมีเจตนาฆ่า ก็เป็นบาปอยู่เสมอ ไม่เหมือนกฏแบบโลกๆ ที่สมมุติกันขึ้นเพื่อประโยชน์บางอย่าง อาจแปรเปลี่ยนแก้ไขปรับไปตามต้องการเพื่อเอาใจใครๆได้..แต่กฏแห่งกรรมนั้นไม่อาจหาข้ออ้างต่างๆมาเพื่อรองรับว่าสิ่งที่ผิด อาจเป็นถูกได้เลย..ดังนั้น การฆ่ามด แม้จะแผ่เมตตาให้เขาสักล้านครั้งก็ไม่อาจทำให้การฆ่ามดกลายเป็นบุญหรือเป็นกลางๆไปได้..ขึ้นชื่อว่าฆ่าแล้ว เป็นบาปแต่อย่างเดียว เว้นฆ่ากิเลสเท่านั้นที่เป็นบุญ..

    มีหลักฐานจากพระไตรปิฎกดังนี้...

    ....พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ได้เสด็จมา ณ หมู่บ้านแห่งนี้.
    อามคันธดาบสฟังคำนั้นแล้วจึงพูดว่า คหบดีทั้งหลาย พวกท่านพูดว่า พุทฺโธ ดังนี้หรือ?
    มนุษย์ทั้งหลายกล่าวขึ้นสิ้น ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าย่อมกล่าวว่า พุทฺ<wbr>โธ ดังนี้.
    อามคันธดาบสยินดีแล้วเปล่งวาจาแสดงความยินดีว่า แม้เสียงว่า พุทฺ<wbr>โธ นี้แลเป็นเสียงที่หาได้ยากในโลกดังนี้ จึงได้ถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบหรือหนอแล หรือว่าไม่เสวยกลิ่นดิบ.

    พวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไรคือกลิ่นดิบ.
    อามคันธดาบสกล่าวว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ.

    มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลาและเนื้อ. ...


    ต่อจากนั้น ดาบสนั้นจึงได้ไปยังที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ถามหนทางนั้นกะมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รีบร้อนประดุจแม่โคที่หวงลูก ได้ไปถึงกรุงสาวัตถีโดยการพักคืนหนึ่งในที่ทุกแห่ง เข้าไปยังพระเชตวันนั้นแล พร้อมกับบริษัทของตน.
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับนั่งบนอาสนะเพื่อแสดงธรรมในสมัยนั้น ดาบสทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้นิ่งไม่ถวายบังคม ได้นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปราศรัยแสดงความชื่นชมกับดาบสเหล่านั้น โดยนัยว่า ท่านฤาษีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพออดทนได้ละหรือ ดังนี้เป็นต้น. แม้ดาบสเหล่านั้นก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายพออดทนได้ ดังนี้เป็นต้น.
    ลำดับนั้น อามคันธฤาษีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบหรือไม่เสวย.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พราหมณ์ ชื่อว่ากลิ่นดิบนั้นคืออะไร?
    ดาบสนั้นทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ปลาและเนื้อไม่ใช่กลิ่นดิบ ก็แลกิเลสทั้งปวงที่เป็นบาป เป็นอกุศลธรรม ชื่อว่ากลิ่นดิบ แล้วตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ตัวท่านเองได้ถามถึงกลิ่นดิบในกาลบัดนี้ก็หามิได้ แม้ในอดีต พราหมณ์ชื่อว่าติสสะก็ได้ถามถึงกลิ่นดิบกะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะแล้ว ก็ติสสพราหมณ์ได้ทูลถามแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์แล้วอย่างนี้ดังนี้ แล้วได้ทรงนำมาซึ่งพระคาถาที่ติสสพราหมณ์ และพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะตรัสแล้วนั้นแล


    อ่านเรื่ิองทั้งหมดที่นี่ครับ

    <center><big>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค</big><center class="D">อามคันธสูตร</center></center>
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=315
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=7747&Z=7809

    สรุปคือ เมื่อไม่ได้ฆ่า ไม่ได้สั่ง/ ใช้ให้เขาฆ่า ไม่ทราบว่าเขาฆ่ามา"เจาะจง"เพื่อเรา การกินเนื้อย่อมไม่เป็นบาปแต่อย่างใด..

    เพราะไม่มั่นใจในงานที่ตนทำ จึงเกิดความกังวลขึ้น ท่านจขกท ควรลงมือทำงานให้เสร็จโดยเร็วน่าจะดีกว่ารอเวลาใกล้กำหนด เมื่อท่านทำเสร็จ ความวิตกกังวลย่อมไม่เกิด..หรือหากมีปัญหาติดขัดจะได้หาทางแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ทันกำหนด..

    ที่จริงท่านจขกทคิดถูกแล้วที่ว่า..."สมองชอบคิดว่า ต้องทำให้เสร็จเร็ว ๆ วันนี้ เดี๋ยวนี้ วันหยุดข้างหน้าจะได้พักผ่อนๆ.." เมื่อคิดแล้วทำได้ทันที ย่อมหมดกังวลนะครับ..พยายามอย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เพราะจะเป็นที่มาของความวิตก ..

    ด ูแล้วท่านขกท ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากเลยนะครับ..

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  3. tydyislover

    tydyislover สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณค่ะ เป็นชาวพุทธค่ะ แต่ว่าไม่ได้ศึกษามากนัก นอกจากเรียนในโรงเรียน และก็ค่ายปฏิบัติธรรมเมื่อนานมมาแล้วค่ะ เลยคิดจะวนเวียนอ่านบทความอยู่ในเว็บนี้ หรือตั้งคำถามที่อยากทราบเกี่ยวกับธรรมะค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...