มีบทสวดไหนบ้างที่แผ่เมตตาให้สัตว์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย พวงแก้ว, 7 มิถุนายน 2021.

  1. พวงแก้ว

    พวงแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2021
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    สอบถามเพื่อนๆพี่น้อง เว็บพลังจิต
    ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำว่า สวัสดีเพราะเป็นการโพสต์เว็บบอร์ดครั้งแรก เนื่องจากมีปัญหาอยากขอความช่วยเหลือคะ มีน้องหมาตัวผู้สีขาวมาขออาศัยอยู่คะเป็นหมาข้างบ้าน ซึ่งเลี้ยงไว้ 2 ตัวเขาไม่เคยเลี้ยงคะและไม่มีเวลาดูแลมันเท่าไรนักแต่อาหารการกินเขาเลี้ยงดีคะ แต่น้องหมามีนิสัยขี้เล่นซุกซนตามวัย มันชอบไปไล่กัดไก่ข้างบ้านคะ พร้อมทั้งกินด้วยทั้งสองตัว เจ้าของเขาเลยจับมันล่ามไว้ตัวหนึ่ง(อีกตัวไม่ล่าม)ไม่ปล่อยมันออกมามันส่งเสียงร้องโหยหวน มีวันนึงตัวไม่ล่ามมันไปกัดไก่ลากไก่มากินเจ้าของเห็นเลยจัดการโดยการเอาไม้ตีและพุ่งไปโดนตามันเกือบบอดมันเลยหนีมาที่บ้านไม่กล้บไปบ้านนั้นอีกเลย เขาเหมือนคุยกับเราว่าจะเอามันไปฆ่าทิ้งทางเราสองคนสงสารก็เลยช่วยรับไว้ดูแล แต่มันก็กลับไปนิสัยเดิมอีก มีบทสวดมนต์หรือแผ่เมตตาอันไหนบ้างคะไม่อยากตีไม่อยากสร้างบาปคะช่วยแนะนำหน่อยคะ เวลาเห็นมันทำเราก็อดไม่ได้ที่จะตีสั่งสอน พร้อมว่าดุพูดสอน(แต่ช่วยไก่ได้ทุกครั้งไม่ตายคะ) ว่าถ้าฟังภาษามนุษย์ออกอย่าสร้างกรรมอีกเลยอย่าไปกินเขารังแกเขาเราไม่อยากตีนะ รบกวนวิงวอนช่วยด้วยนะคะ ที่รับเลี้ยงไว้เพราะสงสารคะแต่กลับว่าเราจะเป็นบาปที่ตีเขาบอกตรงๆไม่อยากทำเลยคะ
     
  2. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
    บทสวดทิพย์มนต์สมัยพระสมณโคดมเสวยพระชาติเป็นพระฤาษี ;

    ท่านพ่อลี วัดอโศการาม


    ในสมัยหนึ่งที่พระพุทธเจ้าพระสมณโคดม เสวยพระชาติเป็นพระฤาษีอยู่ในป่า ท่านได้สวดบททิพย์มนต์ เป็นประจำทุกวัน มีสิ่งน่าอัศจรรย์เกิดขึ้นคือ บรรดาสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่านั้น เมื่อได้เข้ามาสู่บริเวณที่พำนักของพระฤาษี สัตว์ทั้งหลาย อาทิเช่น ช้างป่า เสือ หมี เก้ง กวาง เหล่านี้ จะกลายเป็นมิตรกันทันที ไม่มีการไล่ล่าทำลายกัน สัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ต่างก็พากันเป็นมิตรต่อกันด้วยอานุภาพแห่งทิพย์มนต์ที่แผ่ออกไปทุกวันในเขตที่พระฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่

    ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่หลอดได้เดินทางจากป่ามาสู่กรุงเทพเป็นครั้งแรก ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอโศการาม ของท่านพ่อลี ศิษย์หลวงปู่มั่น ซึ่งบททิพย์มนต์นั่นเอง ซึ่งท่านพ่อลีเป็นผู้ค้นพบจากพระไตรปิฎกท่านนำมาศึกษา และนำมาให้พระ เณร แม่ชี ที่วัดอโศกรามสวดกัน หลังจากทำวัตรเช้า วัตรเย็นทุกวัน

    การสวดทิพย์มนต์เพื่อสิริมงคลแก่ผู้สวด เพื่อให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ เพื่อส่งกุศลให้ผู้ป่วยให้ทุเลาจากอาการเจ็บป่วย หรือสวดส่งกุศลให้หลวงปู่ ครูอาจารย์ที่มีอายุมากให้มีพละกำลัง หรือสวดเพื่อบรรเทาเวทนา หรือสืบชะตาต่ออายุ



    ทิพย์มนต์

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สามจบ)

    พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิ พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิ พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑. วาโย จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    วาโย จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

    วาโย จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๒. เตโช จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    เตโช จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

    เตโช จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๓. อาโป จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    อาโป จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

    อาโป จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๔. ปะฐะวี จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    ปะฐะวี จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

    ปะฐะวี จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะ
    วะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๕. อากาสา จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    อากาสา จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

    อากาสา จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๖. วิญญาณัง จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    วิญญาณัง จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

    วิญญาณัง จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ธาตุประริสุทธานุภาเวนะ สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วิมุจจันติ อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง สัพพะธิ สัพพัตตะตายะ สัพพาวันตังโลกัง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา สะหะคะเตนะ เจตะสา จะตุททิสัง ผะริตตะวา วิหะระติ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฎิพุชฌะติ นะปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ มะนุสสานัง ปิโย โหติ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ เทวะตา รักขันติ นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ มุขวัณโณ วิปปะสีทะติ อะสัมมุฬะโห กาลังกะโรติ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโล กูปะโค โหติ อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง อะเวรัง อะเวรา สุขะชีวิโน กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง สัพเพภาคี ภะวันตุเต ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะ เทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ โสตถี โหนตุ นิรันตะรุง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง



    เปิดดูไฟล์ 5679724 ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
    เจริญสุข ยืนตระกูล เรียบเรียง. "ความเป็นมาของบทสวดทิพย์มนต์"
    โลกทิพย์ ๒๕๘ ปีที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๖. หน้า ๖๙-๗๑.


    http://www.dannipparn.com/thread-55-1-1.html



    1c444361656653d715331887115b7978.jpg

    6ac23af64fe9154af3284385244ee890.jpg

    c90adc4cd7f13bc1828a2209cac02cba.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...