มีวิธีที่ทำยังไงให้เร่งปฏิภาคนิมิตได้เร็วๆไหมครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย padaone, 26 พฤษภาคม 2007.

  1. padaone

    padaone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +154
    คือตอนนี้เห็นนิมิตแบบว่าเป็นฉากดำแต่เห็นแค่วงของนิมิตครับ แบบว่าลางๆ แต่ในบางที่ก็เป็นหมอกสีต่างๆครับ แต่ก็เห็นนิมิตอยู่ข้างหล้งหมอก แต่ว่าลางๆเหมือนกันครับ มีวิธีเร่งให้ชัดเจนไหมครับ ผมฝึกกสินสีขาวครับ วานผู้รู้ช่วยตอบที่น่ะครับ ถ้าตอบทางเมลได้จะเป็นพระคุณมากครับ เพระอ่านง่ายดีครับ
    บ้างที่ผมหากระทู้ที่ผมลงเอาไว้เองไม่เจอครับขอบคุณครับ เมลครับ verapong193@hotmail.com แอดมาคุยก็ได้น่ะครับ(verygood)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2007
  2. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...ระงับนิวรณ์5....
     
  3. manmanee

    manmanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +134
  4. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ใกล้แล้วครับ ทำจิตให้เบา มองนิมิตรเบา ๆ อย่าอยาก มอง(วางจิต)ไปที่กลางกลุ่มหมอกทำอารมณ์ให้เป็นเอกคตา อีกข้อที่อยากแนะนำคือเพิ่มเวลานั่งในแต่ละครั้งให้มากขึ้นครับ ยินดีด้วยครับ
     
  5. มพดา

    มพดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +547
    ปรากฏการณ์เมื่อจิตเป็นสมาธิสงบดีแล้ว<O:p</O:p

    เมื่อพระโยคาวจรเจ้า มีจิตสงบเป็นสมาธิ เพ่งต่ออารมณ์ดีแล้ว จะมี โอภาส เกิดขึ้น สว่างรุ่งเรืองยิ่งนัก แสงสว่างนี้ย่อมส่องสว่างให้เห็นเป็นสิ่งของต่างๆ ที่ปรากฎขึ้นในใจ หรือปรากฎในมโนทวาร คล้ายคนนอนหลับฝัน เห็นอะไรต่างๆ<O:p</O:p
    แต่การเห็นในทางสมาธิ พิเศษกว่าการเห็นในความฝัน เพราะผู้เห็นผ่านการกลั่นกรองของสติ มาก่อน ผู้เห็นจึงมีสติ มิได้นอนหลับอยู่ ในชั้นแรกที่เห็น แสงสว่างมักจะหายไปโดยเร็ว เพราะผู้เห็นเกิด ความสะดุ้ง และความสงสัย สนเท่ห์มากขึ้น จิตก็คลาดเคลื่อนจากสมาธิ เมื่อสำรวมจิต เป็นสมาธิได้อีก ก็คงได้พบแสงสว่างอีก แสงสว่างนี้ยอมส่องให้เห็นภาพต่างๆ เหมือนอย่างเห็นภาพภายนอกใน เวลากลางวัน เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ก็ยังมืดอยู่ ไม่สามารถมองเห็นภาพอะไรต่างๆได้ เปรียบเหมือนจิตยังไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่มีกำลัง เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ก็สามารถมองเห็นภาพอะไรได้ เปรียบเหมือนจิต ที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีกำลังเกิดแสงสว่าง สามารถเห็นภาพอะไรๆได้<O:p</O:p
    การที่ได้พบ ได้เห็นแสงสว่างในเวลาที่ทำสมาธิ หลับตากำหนดจิตอยู่นั้น เรียกว่า โอภาสนิมิต การได้เห็นรูปนิมิตที่เกิดขึ้น เล็กน้อยนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต ถ้าผู้เห็นนิมิต สามารถนึกให้รูปนิมิตเหล่านั้น กลายเป็นรูปขนาดใหญ่ ประกอบด้วยความผ่องใสกว่าหลายเท่า เรียกว่าปฎิภาคนิมิต เห็นรูปต่างๆไม่มีประมาณเรียกว่า มหรคตจิต เป็นข้างฝ่ายอรูปฌาน เห็นแสงสว่าง อย่างเดียวไม่มีรูปนิมิต เป็นบาทฐานแห่งอรูปฌาน รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ สองอย่างนี้รวมเรียกว่า สมาบัติแปด<O:p</O:p
    เหตุที่พระโยคาวจรเจ้า ผู้พากเพียรไม่สามารถทำจิตตั้งมั่น ให้เป็นสมาธิได้เพราะ อุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองในสมาธิ ๑๑ ประการ ดังมีเรื่องราวปรากฎใน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสกสูตรดังนี้ <O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  6. มพดา

    มพดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +547
    คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสกสูตร<O:p</O:p

    เรื่องโอภาสนิมิต อุคคหนิมิต ปฎิภาคนิมิต ไม่เกิดไม่เจริญไม่ตั้งมั่น เพราะอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองในสมาธิ ๑๑ ประการ <O:p</O:p
    ความว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงให้พระอนุรุทธฟังว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงกระทำทุกกรกิริยา บำเพ็ญเพียรเพื่อถึงความตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ ด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงได้ โอภาส แล้ว โอภาสนั้นก็กลับมืดเหมือนก่อน แต่อาศัยที่เพราะพระองค์ทรงพิจารณาเห็นเหตุ จึงได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง<O:p</O:p
    เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงหลับพระเนตร เจริญสมาธิ ณ โพธิพฤกษบัลลังก์ ก็ได้แสงสว่างมองเห็นสรรพรูปต่างๆ พระองค์จึงทรงสงสัยว่า นี่สิ่งใดหนอ นี่สิ่งใดหนอ โอภาสนิมิตนั้นก็ดับศูนย์ไป แล้วก็กลับมาสว่างขึ้นอีก เป็นดังนี้เนื่องๆ ภายหลังจากพระองค์จับได้ว่า เพราะความลังเลสงสัยคือ วิจิกิจฉา ที่คิดว่า นี่สิ่งใดหนอ นี่สิ่งใดหนอ เมื่อคิดดังนั้นจิตของพระองค์ ก็เคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ<O:p</O:p
    คราวนี้พระองค์จึงทรงวางจิตเป็น อมนสิการ คือจิตไม่นึก ไม่กำหนดว่านั้นอะไร จิตก็เลื่อนลอย ไม่มีที่เกาะ ที่ยึด แสงสว่าง ก็ดับอีก<O:p</O:p
    ต่อไปพระองค์ก็ควบคุมสติเพ่งเล็งดู รูปที่พอพระหฤทัย อันเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน เมื่อรูปที่พอพระหฤทัยดับไปหมด เหลือแต่รูปที่ไม่พอพระหฤทัย ไม่เป็นอารมณ์แห่งพระกรรมฐาน จิตของพระองค์ก็ไม่กระทำนมสิการ ไม่อยากเพ่งเล็งนิมิตต่อไป ก็เกิด ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็จับเหตุได้ว่าเพราะละเลยความกำหนดนิมิต จิตจึงง่วงเหงาหาวนอน เป็นเหตุให้แสงสว่างดับ<O:p</O:p
    เมื่อพระองค์ทรงทราบเหตุดังนี้แล้ว พระองค์จึงตั้งไว้ซึ่งวิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง กำหนดเพ่งดูรูปตามลำดับไป ก็ได้เห็นรูปที่น่าเกลียด น่ากลัว ก็เกิด ฉมฺภิตตฺต ความไหวจิต ไหวกาย เกิดขึ้น แสงสว่างจึงดับ รูปจึงดับ<O:p</O:p
    ต่อไปพระองค์ก็ไม่กำหนดดูรูปที่น่าเกลียดน่ากลัว เลือกดูแต่รูปที่ชอบอารมณ์ ภายหลังรูปที่ชอบอารมณ์เกิดขึ้นมากมาย จิตของพระองค์ก็กำเริบ กำหนดจิตทั่วไปในรูป ทุกรูปในนิมิต ทุกนิมิต จนเหลือความสามารถของจิต จิตก็ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็พิจารณาจับเหตุได้ว่า อุพฺพิลวิตก คือกิริยาที่จิตกำเริบกระทำความเพียรมักใหญ่ รวบรัดเพ่งเล็งดูรูปมากๆ แต่คราวเดียวกัน จิตก็คลาดจากสมาธิ โอภาสนิมิต อุคคหนิมิต ก็ดับ<O:p</O:p
    ต่อมาพระองค์ทรงกำหนดเพ่งเล็งดูรูปนิมิต โดยกำหนดแต่ช้าๆไม่รวบรัด จิตหย่อนคลายความเพียรลง จิตก็บังเกิด ทุฎฐุลล คร้านกาย มีอาการให้เกิดกระวนกระวายขึ้น แสงสว่างจึงดับไป<O:p</O:p
    เมื่อพระองค์จับเหตุได้แล้ว จึงกำหนดเหตุด้วย อจฺจารทฺธวิริยะ กำหนดความเพียรขึ้น ให้เคร่งครัดแรงกล้า เป็นเหตุให้แสงสว่างดับ จึงกำหนดลดความเพียรลงให้น้อย เรียกว่า อติลีนวิริยะ คือกระทำความเพียรอ่อนเกินไป แสงสว่างจึงดับ<O:p</O:p
    ต่อมาพระองค์จึงกำหนด กระทำความเพียรแต่พอปานกลาง สถานกลาง ในความเพียรพอให้แสงสว่างทรงอยู่ได้ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมความเพียรกล้าจึงให้โทษด้วย มีอุปมาว่าเหมือนคนที่จับนกกระจอก ต้องการจับนกได้ทั้งเป็น แต่จับบีบโดยเต็มแรง นกกระจอกก็ตาย ถ้าจับนกหลวมๆไม่ดี นกกระจอกก็จะหนีไป ต้องจับนกแต่พออยู่พอประมาณนกกระจอกก็ไม่ตาย จึงจะได้ประโยชน์ คือจิตเป็นสมาธิ<O:p</O:p
    การจับบีบนกโดยแรง เปรียบเหมือนมีความเพียรกล้า จับนกหลวมๆเปรียบเหมือนมีความเพียรน้อย จับนกแต่พออยู่ พอประมาณ เปรียบเหมือน มีความเพียรสถานกลาง<O:p</O:p
    เมื่อทรงทำความเพียรสถานกลางได้แล้ว จึงเห็นรูปเทวดา ที่งดงาม แลเห็นทิพย์สมบัติใน เทวะโลก จิตก็อยากเป็นอยากได้ ในทิพย์สมบัตินั้น แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็ทราบว่าการกำหนดดูรูปปราณีต เช่นเทวดานั้นเป็นเหตุให้ เกิด อภิชปฺปา ตัณหาเกิด แสงสว่างจึงดับ <O:p</O:p
    ต่อมาพระองค์จึงพิจารณาดูรูปที่ปราณีต และรูปที่หยาบพร้อมกัน จิตก็แยกเป็นสองฝัก สองฝ่าย สัญญาต่างกัน ก็เกิดขึ้นมีขึ้น เรียกว่า นานตฺตสญฺญา จิตก็เคลื่อนจากสมาธิ รูป และแสงสว่างจึงหายไป<O:p</O:p
    คราวนี้พระองค์จึงเพ่งพิจารณารูปมนุษย์ฝ่ายเดียว เมื่อเพ่งหนักรูปมนุษย์นานเข้า รูปมนุษย์งดงาม น่าพึงพอใจก็เกิด จึงเกิดความกำหนัดยินดี แสงสว่างจึงดับ พระองค์จึงทรงพิจารณาทราบว่า อตินิชฌายิตตฺต การเพ่งหนักที่รูปมนุษย์ อันปราณีต เป็นเหตุให้ แสงสว่างดับ<O:p</O:p
    พระองค์ทรงกำหนดอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ๑๑ ประการได้แล้ว จึงป้องกันไม่ให้เข้ามาครอบงำในพระหฤทัยของพระองค์ได้ ต่อมาแสงสว่างของพระองค์ก็พ้นประมาณ หาเครื่องกำบังมิได้ พระองค์จึงบรรลุฌาน ๔ วิชชา ๓ สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<O:p</O:p


    อุปกิเลส ๑๑ ประการ<O:p</O:p
    เครื่องเศร้าหมองในการเจริญสมาธิ<O:p</O:p

    .วิจิกิจฉา ความสงสัยในโอภาสนิมิต จิตคลาดเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ<O:p</O:p
    .อมนสิการ จิตไม่กำหนดนึก ว่านั้นอะไร นี่อะไร ทำให้จิตเลื่อนลอย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างก็ดับ<O:p</O:p
    . ถีนมิทธะ จิตละเลยการกำหนดรูปนิมิต จิตจึงง่วงเหง่าหาวนอน จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูปจึงดับ แสงสว่างจึงดับ<O:p</O:p
    .ฉมฺภิตตฺต ความไหวจิต ไหวกาย เพราะจิตเห็นรูปน่ากลัว จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่าง รูปนิมิตจึงดับ<O:p</O:p
    .อุพพิลวิตก ความที่จิต รวบรัด เพ่งเล็งดูรูปนิมิตมากมาย จิตกำเริบฟุ้งซ่าน จิตจึงเคลื่อนจาสมาธิรูปนิมิต และแสงสว่างจึงดับไป<O:p</O:p
    .ทุฎฐุลล ความกำหนดจิตดูรูปนิมิตมาก แต่กำหนดดูแต่ช้าๆ จิตคลายความเพียรลง เกิดความกระวนกระวาย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูปนิมิต โอภาสนิมิตจึงดับ<O:p</O:p
    .อจฺจารทฺธวิริย กำหนดความเพียรมากเกินไป จิตจึงคลาดเคลื่อนจากสมาธิ รูป แสงสว่างจึงดับไป<O:p</O:p
    . อติลีนวิริย กำหนดความเพียรน้อยเกินไป อ่อนเกินไป จิตเคลื่อนจากสมาธิ รูป แสงสว่างจึงดับ<O:p</O:p
    .อภิชปฺปา การกำหนดดูรูปปราณีต ตัณหาเกิด จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูป และแสงสว่างจึงดับไป<O:p</O:p
    ๑๐.นานตฺตสญฺญา การกำหนดดูรูปหยาบ รูปปราณีตพร้อมกัน จิตแยกเป็นสองฝ่าย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิรูปนิมิต และโอภาสนิมิตหายไป<O:p</O:p
    ๑๑. อตินิชฌายิตตฺต การเพ่งเล่งรูปมนุษย์ อันปราณีต เกิดความยินดี จิตเคลื่อนจากสมาธิ รูป แสงสว่างจึงดับ
     
  7. ตาตี่

    ตาตี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +389
    อดีตชั่งมัน อนาคตก้อชั่งมัน อย่าไปคิด ใช้อยู่กับปัจจุบันให้มากสุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...