มีอาการปวดหัวจากการฝึกสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย boy_kmutt, 20 ตุลาคม 2011.

  1. boy_kmutt

    boy_kmutt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +227
    ได้บวชช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ได้ฝึกปฏิบัติกายคตาสติในช่วงแรกและฝึกเพ่งอสภะกรรมฐานให้ความสงบของสมาธิเร็วมากและสังเวชร่างกาย ปฏิบัติได้ประมาณ 2 เดือน ติดสมาธิ นั่งสมาธิวันหนึ่งหลายครั้ง มีอาการปวดหัว แต่ก็ยังไม่หยุดปฏิบัติจนอาการปวดหัวมากๆๆขึ้นเรื่อยๆ จนถึงที่สุด ได้ไปหาหมอมีความดันเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ยังติดสมาธิอยากนั่ง แต่ในเมื่อนั่งไม่ได้ก็กำหนดจิตขนาดเดินบิณฑบาตแทนอาการปวดหัวเริ่มดีขึ้น จนเปลี่ยนวิธีนั่งจากอสภะเป็นอานาปานสติแทน อาการปวดหัวขนาดนั่งกำหนดลมหายไป มีอาการตัวเบาเหมือนลอยได้ ตอนนี้ลาสิกขาแล้วยังมีอาการปวดหัวเป็นบางช่วง แต่พอทำอานาปานสติจนสงบเหมือนตัวลอยความปวดก็จะค่อยๆหาย อาการเหล่านี้เกิดจากอะไรครับ หรือผมเครียดจากการเพ่งมาก หรือเพราะติดสมาธิ
     
  2. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    เรามาทำความเข้าใจ พื้นฐานของสมาธิกันก่อน

    สมาธิ ในพุทธศาสนา เป็นของดี เย็น สงบ สุขุม เบา สบาย โปรง
    สมาธิในพุทธศาสนา จะไม่ทำร้ายใคร เพาะเป็นของดี

    เมื่อเป็นแบบนี้ สมาธิ ที่ทำแล้ว ปวดหัว ไม่มีในโลก
    วิเคราะห์ได้
    1. คุณอาจจะมีอาการป่วย ให้ไปพบแพทย์ตรวจ
    2.คุณอาจจะปฏิบัติ ผิด
    3.คุณอาจจะ เค่ง เร่งสติ ความเพียรมากเกิณไป สติมากไป
    บีบรัดได้ทำให้ปวดหัว มึนหัวได้

    เป็นได้หลายกรณี ไม่อาจจะทราบแน่ชัด
    มองหลักพื้นฐานแล้วสมาธิแล้ว
    สมาธิที่ถูกจะไม่ปวดหัวคับ
    เพราะสมาธิที่ถูกต้อง ยิ่งนั่ง ยิ่งดี ยิ้งเบา ยิ้งโปร่ง โล่ง

    ในทางอานาปานสติ ปฏิบัติแล้วเบาโปร่ง นั้นถูกต้องแล้ว
     
  3. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    เคยเป็นครับ เมื่อหัดทำสมาธิมาช่วงหนึ่ง แต่ในการทำขณะนั้นเพ่งม่านความมืดที่หน้าผาก
    ตอนหลับตานั่งพยายามนึกสร้างดวงกลมๆขึ้นมาเป็นนิมิต คิดว่าเพราะเพ่งมากเกินไปคิ้วจึงกระตุก แสงวาบๆๆ ปวดหัว หลายครั้งเข้าจึงหยุด เปลี่ยนเป็นไม่สนใจสภาวะนั้น จะไม่สนใจได้อย่างไร คิดหาวิธีลองปฏิบัติต่างๆ ตามหนังสือของครูอาจารย์ตามที่จะอ่านเจอ จึงได้คำตอบ ตรงวางจิตที่ท้อง ดูยุบพอง เล็งตรงสภาวะผลัดเปลี่ยนลมช่วงที่หยุด แรกๆทั้งเข้าและออกทั้งสองจังหวะ หลังๆเลือกเอาจังหวะเดียว จึตทำนานเข้าจิตเริ่มดิ่งลงช้าๆ จากการะลึกจุดดับของลมหายใจ ความรู้สึก ผ่านม่านมืด เหมือนค่อยๆจมลงน้ำ วูบช้าๆเป็นช่วงๆบางช่วงอึดอัด ลมหายใจสั้นเบาบางลงเรื่อยๆลืมคำภาวนา จิตเกาะความนิ่ง จนสงบแทบไม่หายใจ แต่หายใจอยู่ บางเบามากๆ เสียงไม่มีผล เมื่อดิ่งลง จิตจะนิ่ง เหมือนลอยในอวกาศที่ไม่มีที่สิ้นสุด ในชีวิตผมทำได้แค่ครั้งเดียวแป๊บๆ ทรงสภาวะไม่ได้ หลังจากนั้นลงลึกแบบนี้ไม่ได้อีก เพราะลงไปทีไร จิตจะฟูขึ้น โลภะเกิด ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทำสมาธิแบบนั่ง วิธีการปฏิบัติและสิ่งที่ถนัดหรือจริตของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน โปรดพิจารณา สังเกตุว่าถ้าศีลบริสุทธิ์จะทำสมาธิได้ดีในขณะทำสมาธิ

    ..บางช่วงเมื่อระลึกลมอยู่จะเห็นอะไรต่างๆเป็นนิมิต ถ้าไม่ได้ทำรูปฌาน จะเห็นสภาวะจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเป็นอดีตสัญญาเป็นปัจจุบันขณะ โผล่ขึ้นมาในความสงบ รู้สึกสิ่งใดระลึกสิ่งนั้น ตามระลึกดูแบบไม่ยึด โดยไม่ทิ้งคำภาวนา ไม่ส่งจิตไปจับให้แน่นเป็นตัวตนแค่ระลึกสภาวะอารมย์ด้วยใจวางเฉย
    ไปพร้อมกับภาวนา เมื่อสภาวะที่ผุดขึ้นมาในความคิดดับไปแล้วน้อมเข้าไตรลักษณ์ พิจารณาความไม่เที่ยง พิจารณาทุกข์ พิจารณาความไร้ตัวตน แล้วจิตจะไม่เกาะอีก เมื่อเห็นอีกก็ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นทุกข์เมื่อทำถูกวิธีจะเกิดการยอมรับตัวตนตามมา ตามมาด้วยปิติสุข น้ำมูกน้ำหูน้ำตาไหล ปล่อยให้จิตไหลไปตามสภาวะ ไม่ปรุงเสริมยึดเพิ่ม เท่าที่สังเกตุระลึกได้และไม่ละเอียดพอ อาจไม่ตรงสภาวะไม่เหมือนกัน แต่ละท่านวิถีปฏิบัติไม่เหมือนกัน โปรดพิจารณาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2011
  4. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    วิธีการปฏิบัติที่กล่าวมาเป็นของครูอาจารย์ทั้งหลายคิดค้นขึ้นมา แต่การปฏิบัติในอดีตเกิดจากอ่านศึกษามาตามหนังสือ ที่ครูถ่ายทอดเอาใว้เมื่อปฏิบัติไม่ครบไม่ถูกถ้วน ไม่ได้ไกล้ชิดครูอาจารย์ เมื่อเจอปัญหาจึงไม่สามารถสอบถามได้ ด้วยสติปัญญาที่มีน้อยจึงไม่สามารถตีความได้แตก เกิดการปฏิบัติไม่ตรงลองผิดลองถูกอยู่นานเป็นการเสียเวลามาก เพราะจับหลักไม่ถูก กิเลสมักพาลงต่ำเสมอ ทำให้ไม่สามารถผ่านข้อสงสัยหรืออุปสรรคบางอย่างได้ บางครั้งพบว่าคนอื่นทำได้แต่เรากลับทำไม่ได้นั่นเพราะไม่มีผู้รู้แนะนำ บางคนจึงต้องเฟ้นหาวิธีที่เหมาะแก่จริตตนเป็นการยากที่จะหาที่ลงตัวได้ และควรไกล้ชิดครูอาจารย์จึงจะปฏิบัติก้าวหน้าเร็วขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2011
  5. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    อาการหลงเพ่ง คือใช้ตามองเพ่งภาพเช่นอสุภะ เราไปใช้ตาจริงเพ่งไปโดยไม่รู้ตัว
    แต่เพียงแค่รู้ตัวว่ากำลังเพ่งอยู่ แล้วลองนึกให้คลายออกจากการเพ่งมันจะคลายออกเอง
    การเพ่งภาพนิมิตรใดๆต้องจำให้ติดใจ ไม่ใช่ให้จำให้ติดตา ถ้าจำติดตามันจะเพ่งๆจน
    ปวดหัวได้ครับ ภาพติดใจ ตรงนี้ต้องทำให้ได้ก่อนน๊ะแล้วเวลาดูก็แค่รู้เบาๆอย่าเพ่ง....
    ถ้ามีอาการปวดหัวเมื่อไร นั่นแหละเริ่มเพ่งแล้ว ให้ผ่อนคลายทันที
     
  6. บริสุทธ์

    บริสุทธ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +4
    พี่สาวฟังรายการธรรมะอยู่ต่างจังหวัด แต่ดิฉันจำชื่อท่านไม่ได้ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ชา ท่านเทศว่าเวลานั่งสมาธิมีอาการปวดศรีษะ เพราะต่อสู้กับความต้องการทางกามราคะโดยไม่รู้ตัวค่ะ แต่ให้ปฏิบัติไปเดียวหายเอง

    อนุโมทนาบุญค่ะ
     
  7. สู่อิสรภาพ

    สู่อิสรภาพ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +5
    เป็นอาการของ myofascial pain syndrome

    การเพ่งทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค่ะ กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอบ่าจะเกร็งค้างโดยที่เราไม่รู้สึกตัว เมื่อเกร็งมากๆทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือด ทำให้สารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการปวดคั่งอยู่ในกล้ามเนื้อบริเวณนั้น จึงก่อให้เกิดอาการปวด และกล้ามเนื้อของเรานั้นก็จะมีการเชื่อมต่อกันรวมทั้งบางมัดก็ใช้เส้นประสาท ตัวเดียวกันมาเลี้ยง จึงมีการปวดศีรษะได้ค่ะ ปวดต้นคอบ่า กระบอกตาด้วยหรือเปล่าคะ ลองค้นหาคำว่า upper trapezius หรือ myofascial pain +upper trapezius ดูก็ได้ค่ะ
     
  8. Heaven alphabet

    Heaven alphabet สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +0
    ปวดหัวทุกขเวทนามันไม่ใช่ตัวของเราหรอก
    พิจารณาลงไปที่ไตรลักษณ์ก็จะบรรลุพระโสดาบัน
    พอจิตละเอียดขึ้นก็จะบรรลุพระสกิทาคามี
    เมื่อจิตละเอียดขึ้นไปอีกก็บรรลุพระอานาคามี
    ถ้าพิจารณาละเอียดถึงที่สุดก็จะบรรลุพระอรหันต์
    ไม่ยากนะคะไม่ยากค่ะ

    _____________________
    [​IMG]
     
  9. สู่อิสรภาพ

    สู่อิสรภาพ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +5
    ดิฉันคิดว่าควรจะยึดทางสายกลางนะคะ ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ณ ตอนนี้เรายังต้องพึ่งสังขารอยู่ เราอยู่กับร่างกายของเรา ถ้าเราไม่รักษาไว้ เราจะอยู่บำเพ็ญเพียรได้แค่ไหนกัน การพิจารณากาย โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่า ถูกต้องแล้วที่ว่ากายไม่ใช่เรา แค่เป็นการมาประชุมกันของธาตุทั้ง 4 แต่เราก็ยังไม่ได้ละสังขาร เรายังอาศัยกายอยู่ เมื่อเกิดปัญญาว่าเราอาศัยกาย ดังนั้นเราต้องรักษากายให้แข็งแรง เพื่อที่จะได้ใช้ความแข็งแรงเหล่านี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลกต่อไป หรือเพื่อปฏิบัติให้รู้แจ้งต่อไป

    กรรมส่วนหนึ่งมาจากการไม่มีปัญญา ที่ไม่มีปัญญาก็เพราะอวิชชาบังไว้
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

แชร์หน้านี้

Loading...