ยังหาคำตอบไม่ได้! พระเรียนบาลีทำไม-จบแล้วไปไหน?

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 29 มกราคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    ช่วงนี้เป็นฤดูกาลของการสอบภาษาบาลีเปรียญเอกของพระภิกษุ-สามเณรคือ ประโยค 7-8-9 สนามสอบน่าจะคงเป็นวัดสามพระยา กรุงเทพมหานครเหมือนเดิม

    การสอบบาลีเป็นการศึกษาแขนงหนึ่งของคณะสงฆ์ไทยที่เชื่อกันว่าเป็น “แก่นแท้ของการศึกษา” สำหรับพระภิกษุสามเณร

    การศึกษาบาลีหากเทียบกันทางโลกความยากลำบาก “คนละชั้น” ภาษาบาลีแค่ประโยค 4 ผมว่า “ยากกว่าปริญญาเอก” ทางโลกเสียอีก

    0b8b3e0b895e0b8ade0b89ae0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894e0b989-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b980e0b8a3e0b8b5.jpg

    เพราะการศึกษาบาลียุคผม “ไม่มีซ่อม” เหมือนสมัยนี้ แค่เขียนศัพท์ผิด จุดผิด แปลผิดประโยคเกิน 12 คะแนน ไม่ได้ 3 ให้ คือตก (การศึกษาของพระภิกษุมีคำว่า ให้ เป็นตัวกำหนดผ่านหรือไม่ผ่าน) ปีหน้าว่ากันใหม่

    ส่วนการศึกษาทางโลก ไม่ว่าจะเป็นปริญญาตรี หรือปริญญาเอก เงินถึง เข้าเรียนสม่ำเสมอ เขียนวิทยานิพนธ์สำเร็จ คือ จบได้ง่ายๆ

    การศึกษาบาลีต้องท่องหลักสูตรอย่างน้อย “หนังสือ 4 เล่ม” ที่เราเรียกว่า หลักไวยากรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนภาษาบาลี หากท่องไม่จบหรือจำไม่ได้ “อย่าริเข้าสนามสอบ”

    สมัยผมเวลาสอบ ห้องน้ำ ผู้คุมสอบก็ไม่ให้เข้า หรือหากให้เข้า ต้องตรวจตราอย่างใกล้ชิด ทั้งในห้องน้ำห้ามมีอุปกรณ์ประเภทกล่องผงซักฟอก (มีคนเคยยัดหนังสือไว้ด้านใน) หรือหนังสือ สมุดอะไรวางอยู่

    ยิ่งสอบเปรียญเอกอย่างประโยค 7-8-9 สนามสอบวัดสามพระยา สอบยุคโน้นถือว่า “หิน” เวลาจะเข้าห้องน้ำ มี “ฉากผ้าจีวรกั้นอยู่ในห้องสอบ ด้านในมีกระโถนสำหรับให้ฉี่” ส่วนถ่ายหนักไม่มีให้

    8b3e0b895e0b8ade0b89ae0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894e0b989-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b980e0b8a3e0b8b5-1.jpg

    ในยุค สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา ประโยค 9 ปีหนึ่งคัดสอบให้ผ่านไม่ให้ถึง 10 รูป บางรูปมั่นใจสอบได้ แต่สุดท้ายก็ไม่ผ่าน เพราะกรรมการอ้างว่า สำนวนแต่งและแปลมือ “ไม่ถึง”

    หลังสิ้นท่าน คนบวชเรียนน้อยลง คณะสงฆ์เริ่มผ่อนคลาย ความเคร่งครัดนี้ลดลงไปบ้าง แต่การศึกษาภาษาบาลีก็ถือว่ายากอยู่ เพราะหลักสูตรไม่เคยเปลี่ยนแปลง

    พระภิกษุ-สามเณรเรียนบาลีทุกรูปมักเจอคำถามที่ว่า “เรียนบาลีทำไม-จบแล้วทำอะไร” ส่วนใหญ่พระอาจารย์จะบอกเพียงว่า เรียนเพื่อรักษาพระพุทธพจน์และสืบทอดพระพุทธศาสนา

    8b3e0b895e0b8ade0b89ae0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894e0b989-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b980e0b8a3e0b8b5-2.jpg

    ทุกวันนี้ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า สืบทอดพระพุทธศาสนาตรงไหน..อยากให้ พระพรหมโมลี แม่กองธรรมบาลี ช่วยอธิบายให้พระภิกษุ-สามเณร ผู้เรียนบาลีด้วย รวมทั้งตอบคำถามที่ว่า เรียนจบแล้วไปไหน ไปทำอะไรได้บ้าง หรือมหาเถรสมาคมเตรียมมอบงานหลังจบประโยค 9 ไปทำอะไรบ้าง

    ทุกวันนี้เพื่อนๆ หลายรูปที่จบประโยค 9 หากไม่สึกออกมาก็ “เฝ้าวัด” รอคอยรับสังฆทาน รับกิจนิมนต์อยู่ที่วัด บางรูปมีเส้นสายหน่อยก็อาจได้ไปช่วยงาน “กิจการคณะสงฆ์” หรือบางรูปมีทุนเรียนต่อ ก็ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง และมีบางรูปจบประโยค 9 มา “ตกงาน” ก็เพียบ แต่ก็มีบางคนสึกออกมามี “งานราชการ” เป็นที่พึ่ง แต่กว่าจะสอบได้ก็ “โครตหิน”

    8b3e0b895e0b8ade0b89ae0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894e0b989-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b980e0b8a3e0b8b5-3.jpg

    ในฐานะคนเคยบวชเรียนและมีประสบการณ์ทางโลกพอสมควร อยากเห็นคณะสงฆ์วางแผนเพิ่มศักยภาพให้กับพระภิกษุสามเณรผู้ศึกษาบาลี เช่น ภาษาอังกฤษ กฎหมาย ไอที เป็นต้น เพื่อชวนคนให้มาอยากเรียน จบออกไปก็มีความรู้ทางโลกรองรับบ้าง หรือหากจะอยู่ต่อ ก็เป็นกำลังสำคัญให้กับคณะสงฆ์ได้บ้าง

    นึกถึงสมัยที่สึกออกมาใหม่ๆ ไปเดินสมัครงานประมาณ 20 บริษัท เวลาสัมภาษณ์คำถามแรก คือ จบอะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง เมื่อรู้ว่า จบจากพระ “ตกรอบ” ทุกครั้ง

    สุดท้ายได้ทำงานโทรทัศน์รายการ “กรองสถานการณ์” ทางช่อง 11 เพราะไปรู้จักกับเจ้าของรายการตอนเรียนปริญญาโทด้วยกัน จึงชวนมาทำงานด้วย

    แต่ก็ไม่วาย ถูกผู้บริหารในออฟฟิตบางคน พูดเชิงดูถูกว่า เอามหามาทำงานโทรทัศน์ได้อย่างไร..เขียนบทสัมภาษณ์นะคะ มิใช่มาเขียนคำเทศน์.
    ……………………………..
    คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
    โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/754346
     

แชร์หน้านี้

Loading...