รบกวนท่านผู้รู้ช่วยไขข้อสงสัยเรื่อง พุทธแบบหินยาน กับพุทธแบบเซน ด้วยครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย illanzer, 5 มีนาคม 2012.

  1. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,944
    ค่าพลัง:
    +3,294
    โลมา สักยันตร์ หนังเหนียว... อือ ไม่กินก็ได้ ยิ่งฟันไม่ค่อยดีอยู่ด้วย

    เก็บเอาไว้เป็นเพื่อนว่ายน้ำเล่นในท้องทะเลด้วยกันดีกว่า คริ คริ
     
  2. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    ชิชะ ว๊าาาา ฟันไม่ค่อยดี กิ๊วๆ
     
  3. น้ำใหลนิ่ง

    น้ำใหลนิ่ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +79
    เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 1 ศตวรรษ คือ ถึง พ.ศ. 100 ภิกษุพวกหนึ่งเรียกว่า "วัชชีบุตร" ได้ ถือตามลัทธิอาจารย์ว่าการไม่ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติบางอย่าง รวม 10 ข้อ ไม่เป็นความผิด เป็นเหตุให้พระเถระ ผู้ต้องการรักษาพระธรรมวินัยไว้ตามเดิมแบบเถรวาท ได้จัดให้มีการสังคายนาครั้งที่ 2 ขึ้น อย่างไรก็ตาม ภิกษุวัชชีบุตรไม่ยอม และได้แยกตัวไปตั้งเป็นนิกายขึ้นต่างหาก เรียกชื่อว่า "มหาสังฆิกะ" (พวกสงฆ์หมู่ใหญ่) เป็นอาจริยวาทกลุ่มแรก พอแยกออกไปแล้ว ปรากฏว่าลัทธิถือตามอาจารย์ (อาจริยวาท) ก็ เกิดมากขึ้น มหาสังฆิกะได้แตกแยกย่อยออกไป จนกลายเป็นอาจริยวาท 6 นิกายย่อย ทางด้านเถรวาทเดิม ก็ได้มีอาจริยวาทแยกตัวออกไป 2 พวก แล้ว 2 พวกนั้น ก็ไปแตกแยกย่อยออกไป เรื่อยๆ จนกลายเป็น 11 อาจริยวาท ความแตกแยกเกิดอาจริยวาทต่างๆ มากมายนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลา 100 ปี ดังนั้น เมื่อถึง พ.ศ. 200 จึงมี พระพุทธศาสนานิกายย่อยรวมทั้งหมด 18 นิกาย1 เป็นเถรวาทดั้งเดิม 1 กับอาจริย-วาท 17 นิกาย โดยนัยนี้ เมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช ใน พ.ศ. 218 พระพุทธศาสนาซึ่งรุ่งเรืองในด้านการ อุปถัมภ์บำรุง กลับไม่มีเอกภาพ มีการสั่งสอนลัทธิแปลกแยกกันมากมายสับสน จนทำให้ต้องจัดการสังคายนา ครั้งใหญ่อีกเป็นครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 235 ซึ่งมีการชำระสะสางทิฏฐิต่างๆ ที่แตกแยกแปลกปลอม ดังที่ประมวลไว้ใน พระไตรปิฎก เล่ม 37 คือ กถาวัตถุ รวม 219 หัวข้อ (เรียกว่า กถา) เริ่มด้วยข้อแรก คือ ลัทธิถืออัตตา ของพวก นิกายวัชชีบุตร และนิกายสมิติยะ พร้อมทั้งอัญญเดียรถีย์มากมาย มีความยาวเป็นพิเศษถึง 83 หน้า เรียกรวมๆ ว่า "ปุคคลกถา" นิกายมหาสังฆิกะเป็นเจ้าของทิฏฐิที่ท่านชำระสะสางครั้งนี้ หลายเรื่อง(ไม่ต่ำกว่า 19 เรื่อง) ยกตัวอย่าง เช่น พวกมหาสังฆิกะบางส่วน ถือทิฏฐิร่วมกับพวกนิกายสมิติยะ นิกายวัชชิปุตตกะ และนิกายสัพพัตถิกวาท (= สรวาสติวาท) ว่า พระอรหันต์ก็เสื่อมถอยจากอรหัตตผลที่บรรลุแล้ว กลับมาเป็นปุถุชนอีกได้ (เรื่องใน "ปริหานิ กถา") ดังนี้เป็นต้น หลังจากสังคายนาครั้งที่ 3 แล้ว ก็เกิดมีเอกภาพขึ้นอย่างน้อยในส่วนกลางแห่งมหาอาณาจักรของพระ เจ้าอโศกมหาราช และได้มีการส่งพระศาสนทูตไปประกาศพระศาสนา 9 สาย ที่รู้กันว่าสายหนึ่งมายังทวาราวดี ซึ่งอยู่ในที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน ด้วย อย่างไรก็ตาม ในรอบนอกของชมพูทวีป ไกลออกไป ก็ยังมีพระภิกษุที่ถืออาจริยวาทต่างๆ ไปเผยแพร่ อยู่ จึงปรากฏต่อมาว่า หลังจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเกือบ 4 ศตวรรษ เมื่อพระเจ้ากนิษกมหาราชครองแผ่น ดินแถบอินเดียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ที่เมืองบุรุษปุระ (ปัจจุบันคือ Peshawar ในปากีสถาน) ไกลออกไปทาง ตะวันตกเฉียงเหนือ จากนครปาตลีบุตร (ปัจจุบันคือ Patna) เมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช ประมาณ 1,625 ก.ม. เมื่อ พ.ศ. 621 พระองค์เลื่อมใสพระพุทธศาสนา ใฝ่พระทัยศึกษาธรรม ถึงกับนิมนต์พระภิกษุไปสอน ธรรมแก่พระองค์ทุกวันๆ ละรูป พระภิกษุแต่ละรูปสอนแตกต่างกันบ้าง ขัดกันบ้าง ทำให้ทรงสับสน จนกระทั่งทรง ปรึกษาพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งได้ถวายคำแนะนำให้จัดการสังคายนาขึ้นประมาณ พ.ศ. 643 สังคายนาครั้งนี้ ถือว่าเป็นของนิกายสัพพัตถิกวาท (สรวาสติวาทะ) และมีภิกษุมหายานร่วมด้วย ต่อมา แม้นิกายสรวาสติวาทะสูญสิ้นไปแล้ว เช่นเดียวกับอาจริยวาทยุคแรกที่เป็นหินยานหมดทั้ง 17 นิกาย (มหาสังฆิ กะได้พัฒนามาเป็นมหายาน) ทางฝ่ายมหายานก็นับเอาสังคายนาครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 ของตน (ไม่ยอมรับ สังคายนาครั้งที่ 3 ที่พระเจ้าอโศกมหาราชอุปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 235; และในทำนองเดียวกันทางเถรวาทก็ไม่นับการ สังคายนาครั้งนี้) พระเจ้ากนิษกะได้อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนา และได้ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาเซียก ลาง ซึ่งได้เป็นแหล่งสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนามหายานแพร่หลายต่อไปสู่จีน เกาหลี มองโกเลีย และญี่ปุ่น เมื่อพระพุทธศาสนามหายาน เจริญขึ้นในประเทศเหล่านั้นแล้ว ก็แตกแยกนิกายและสาขาย่อยออกไปๆ

    เป็นประวัติการเกิดมหายาน(เซนก็เป็นหนึ่งในมหายาน)

    โดย-พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    </pre>
     
  4. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,944
    ค่าพลัง:
    +3,294
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->COME&Z<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5889389", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    ชิชะ ว๊าาาา ฟันไม่ค่อยดี กิ๊วๆ


    อือ... อย่างว่าแหละ ก็ไม่มีหมอฟันคอยดูแลสุขภาพฟันให้นี่นา
     
  5. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    เซนไม่ใช่มหายานนะจ๊ะ
     
  6. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    สวัดดีน้องโฮดี้โจนส์
     
  7. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    ที่จริงเซ็นมาก่อนแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าฮั่นเม่งตี่ ต้นตระกูลสามก๊ก อัญเชิญพระไตรปิฎก แล้วสร้างวัดม้าขาวเมื่อสองพันปีเศษ เป็นประวัติศาสตร์ที่ยอมรับกัน อันนั้นก็มีเซ็นปรากฏอยู่แล้ว และพวกฉันยังเชื่อว่าพุทธศาสนาเข้าสู่เมืองจีนตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ไปแบบพระธุดงค์ไม่เป็นทางการ มีประวัติศาสตร์อ้างอิงอยู่ อย่างในประวัติศาสตร์จีนสมัยเลียดก๊ก "เศ็กเกียม่อนี้ฮุดโจ้ว" นี้คือศากยมุนี สมัยเลียดก๊กทำไมถึงรู้จัก แสดงว่าชาติใหญ่มีความสัมพันธ์กันมาแต่โบราณ (ศาสนาพุทธ) จึงไปแบบพระธุดงค์ ไม่เป็นทางการ พระเจ้าฮั่นเม่งตี่อัญเชิญ (พระคัมภีร์) มาแปล เป็นเรื่องทางการ
    จากฮั่นเม่งตี่อีก ๕๐๐-๖๐๐ ปี ถึงมีโพธิธรรม นำนิกายเซ็น เอาบาตร จีวรของพระพุทธเจ้า หนีสงครามใหญ่ที่เผาอินเดียทั้งหมด โดยอ้อมแหลมมลายูมาไว้เมืองจีน เพราะมองดูว่าอินเดียจะถูกภัยสงครามใหญ่แน่นอน [อาจารย์เสถียร (โพธินันทะ) บอกว่า สงครามครั้งนั้นเป็นสงครามอิสลาม แต่ภาษาจีนบอกแค่ว่า "สงครามใหญ่"]
    ท่านพุทธมองว่ามหายานทั้งหมดเป็นเรื่องงมงาย เป็นเทวนิยม แล้วปัจจุบันร้อยละ ๙๐ ในเมืองไทยก็เทวนิยม บวงสรวง กราบไหว้วิงวอน ขอโชคลาภ ท่านพุทธทาสมองว่าทั่วๆ ไปในมหายานเป็นเทวนิยม ยังมิใช่อเทวนิยม ไม่ใช่พุทธศาสนาจริงๆ แต่เซนไม่ใช่ นี่คือจุดที่ท่านพุทธทาสและนักคิดทั่วโลกมองว่ามหายานต่างจากเซ็น

    ท่าน เจ้าชายสิทธัตถะประสูติในดงเทวนิยมทั้งหมด บวงสรวง ฆ่าสัตว์ บูชายัญ กระทั่งฆ่าคน เสร็จแล้วท่านมองทะลุด้วยปัญญาที่เหนือเขา จึงเห็นว่านั่นขาดหลักวิชาการ งมงาย (ถือ) อารมณ์เกินกว่าเหตุผล ระยะยาว จะไปไม่รอด จึงหนีออกบวช ก็ไปตรัสรู้หลักธรรม อเทวนิยม อนัตตานิยม กรรมนิยม นิพพานนิยม อันนี้กำมือเดียว ฟังได้ทุกคน แต่ปฏิบัติทันทีไม่ได้หมดนะ เคยมีคนกล่าวเป็นโศลกเปรียบเทียบไว้ว่า คน ศึกษาธรรมมีมากเท่าขนสัตว์ แต่ที่บรรลุธรรมมีจำนวนแค่เขาสัตว์เท่านั้น แล้วท่านพุทธทาสชอบเจออาจารย์เสถียร โพธินันทะ เจอพวกผมทีไรมักจะถามทุกที เจออาจารย์เสถียรยิ่งชอบ ชอบถามเรื่องพระสูตร สรุปแล้วพุทธศาสนาของจีนที่บริสุทธิ์จริงๆ คือ มหาสุญญตาสูตร ชื่อเต็มๆ คือ มหาปรัชญาปารมิตาสูตร ๖๐๐ ผูก พระถังซำจั๋งแปลไว้เป็นภาษาจีน พุทธศาสนาไม่ใช่เทวนิยม เป็นอเทวนิยมตาม มหาสุญญตาสูตร
    ตอนแรก กษัตริย์หลี ซี หมิน (ถังไท่จง) ไม่สนพระทัย เพราะมองว่า จีนมีศาสนาขงจื๊อ เต๋า อยู่แล้ว ถ้าไปเพิ่มอีกจะปกครองยาก อีกเรื่องคือ พระองค์มองพุทธศาสนาผิดไป นึกว่าเป็นเทวนิยม เหมือนขงจื๊อ เหมือนเต๋า พระถังซัมจั๋งจับจุดได้ จึงทูลว่า พระอรหันต์ไม่เหมือนกับเต๋า เพราะเหนือบุญเหนือบาป ดับกิเลสตัณหาอุปาทานได้ ดังนั้น พุทธศาสนาจึงไม่ใช่เทวนิยม เป็น อเทวนิยม อันนี้เป็นประวัติศาสตร์ ท่านพุทธทาสบอกว่า "เซ็นเป็นผู้ล้อมหายานเป็นผู้คัดค้านมหายาน" เพราะคำพูดของเซ็นแทบทั้งหมด (ขอโทษเถอะ) เปรียบเทียบก็แบบทุบหม้อข้าว คือจะโจมตีพิธีกรรมที่งมงายจนเกินไป โจมตีการเอาหลักธรรมมาปฏิบัติอย่างไม่ถูกทาง เรื่องเทวนิยมก็ไม่พ้นจะหาเงิน แสวงลาภผล เพื่อปากเพื่อท้อง เทวนิยมที่สุดก็มาลงเอยที่วัตถุนิยม โลกเราที่ฆ่ากันทุกวันนี้ก็เพราะแย่งวัตถุนะ โบราณก็แย่งกัน จึงไปตรัสรู้ อเทวนิยม อนัตตานิยม สุญญตานิยม กรรมนิยม นิพพานนิยม

    เซ็นเข้ากับเถรวาทได้ โดยเฉพาะเรื่อง "สุญญตา" ของเราก็มีในหลักสูตรนักธรรมโท "วิโมกข์สาม" แต่ไม่มีอาจารย์สอนขยายความ ตอนที่คนโจมตีท่านพุทธทาสว่า สุญญตาไม่มีในพระไตรปิฎก

    เจ้าคุณนรฯ (เจ้าคุณนรรัตน์) บอกเลยว่า "ผิด ท่านพุทธทาสถูก คือ มีวิโมกข์สามอยู่(มีอยู่แล้วในคำสอนเถรวาท) เพียงแต่ไม่มีคนอธิบายเอง รุ่นก่อนก็ไม่มีคนอธิบาย เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เป็นคนยืนยันว่ามี แต่หาคนสอนไม่ได้ สุญญตาจึงขาดตอน

    ดังนั้น เซ็นจึ่งเป็นสายสุญญตาโดยเฉพาะ เฉพาะ มหาสุญญตาสูตร นี้ เจ้าคุณฯ หลงเลย เป็นปัญญาวิมุติล้วน แทบจะไม่มีเรื่องอภินิหาร (ขอโทษ) เรื่องงมงายแทบไม่มี สติปัฏฐานสี่ มรรคแปด โพธิปักขิยธรรม อยู่ในนั้นครบ
    แต่ที่ถูกใจท่านพุทธทาสมากที่สุดคือ มหาสติปัฏฐานสี่ของไทยเรามี กาย เวทนา จิต ธรรม เขาบอกว่า พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ครบ แต่ไทยเน้นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาแทบไม่เคยได้พูด ยกเว้นแต่ที่เจ้าคุณพุทธทาส ยกมา ท่านเป็นคนบุกเบิกสุญญตา อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เราได้ยินกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตามหลักเซ็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสุดท้ายเป็นสุญญตา สามอย่างแรกแปลเหมือนกันคือ อนิจจังแปลว่าไม่ เที่ยง ทุกขังคือทนอยู่ไม่ได้ แต่เซ็นเติมไปอีกนิดว่า "ยึดมั่นเป็นทุกข์" ไทยไม่พูดคำนี้ ใช้แต่ว่า "ทนอยู่ไม่ได้" แล้วอนัตตา "ใช่ตัวใช่ตน ไม่มีตัวตน" แปลความหมายตรงกันทั้งสามคำ แต่เซ็นเติมว่า ถ้าเอา มหาสุญญตาสูตร เป็นหลัก สามอย่างนี้ยังเป็นโลกีย ธรรม ไม่ใช่โลกุตตระ เพราะอนิจจัง จิตยังปรุงแต่ง ทุกขังก็ยังปรุงแต่ง อนัตตาก็ยังปรุงแต่ง ต้องจิตหลุดพ้นจากความคิดปรุงแต่ง นั่นถึงจะเป็นสุญญตาเป็นนิพพาน ตราบใดยังอยู่ที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตเธอยังปรุงแต่ง จิตยังวนเวียนเกิดดับ ยังเป็นโลกีย์ ไม่เป็นโลกุตตระ จิตต้องหลุดพ้นจากกระแสดึงดูดของโลกีย์ จึงจะเป็นสุญญตา อย่างกายานุปัสสนานี้ สุดท้ายจิตจะต้องหลุดพ้นเป็นความว่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คุณพูดได้ แต่จิตคุณหลุดพ้นหรือยัง ถ้ายังไม่หลุดพ้นยังไม่เป็นความว่าง ยังไม่เป็นนิพพาน ต้องจิตหลุดพ้นเมื่อไรจึงเป็นสุญญตา นี้คือขันธ์ ๕ ตามแนวจิตว่าง


    โดยธีรทาส กล่าวถึงท่านพุทธทาส และ เซน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  8. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    หวัดดีครับพี่ยม ขออภัยช่วงนี้ไม่มีเวลามาทักเลยเพราะ กำลังใกล้สอบครับ
     
  9. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ไปคุมสอบหรือ คงไม่ไปสอบหลอกมั้ง ล้อเล่น
     
  10. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    ความหมายของคำว่า มหายาน

    มหายาน มาจากธาตุศัพท์ มหา + ยาน แปล
    ว่า “พาหนะที่ใหญ่” เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จาก
    คำว่า “หินยาน” ซึ่งมาจากศัพท์ว่า หีน + ยาน ซึ่งมหายาน
    แปลว่า “พาหนะที่เล็ก ๆ” มหายานยังมีความหมายว่า
    “ยานที่สูงสุด” และตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชน
    ฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่ ยานที่สูง
    สุดเท่านั้น ยังเป็นยานที่รับคนได้ทุกประเภท ทุกอาชีพ ทุกวัย
    และรวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนามด้วย และยานนี้ยังหมายถึงยาน
    ที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้

    มหายาน จึงหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้น
    วัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในมหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์
    คุรุนาคารชุน ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายไว้ว่า

    “พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุติ ความ
    รอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี ๒ ชนิด คือ ชนิดแรก
    เพื่อตัวเอง ชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย”

    พราหมณ์กัสสปโคตร ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า

    “การหลุดพ้นมีความแตกต่างกันด้วยหรือ”

    พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า

    “วิมุตติมรรค หาได้มีความแตกต่างกันไม่ ก็แต่ยาน
    พาหนะที่จะไปนั้น มีความต่างกันอยู่ อุปมาเหมือนถนนหลวง
    ย่อมมีผู้ไปด้วยพาหนะ คือ ช้างบ้าง ม้าบ้าง ลาบ้าง เขาทั้ง
    หลายย่อมบรรลุถึงนครอันตนปรารถนา เพราะเหตุนั้น สาวก
    ยาน ปัจเจกยาน อนุตรสัมโพธิยาน ทั้ง ๓ นี้มีต่างกัน ก็แต่มรรค
    และวิมุติหามีความแตกต่างกันไม่”

    อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งความหลุดพ้น
    เฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ แต่ฝ่ายมหายาน
    ตรงกันข้าม ย่อมมุ่งพุทธภูมิกันเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมด
    สิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปแล้วมุ่ง
    แต่อรหัตภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สาวก
    ยาน” ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานแล้วมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น
    จึงมีชื่อว่า “โพธิสัตวยาน” บ้าง “พุทธยาน” บ้าง


    “หนทางความหลุดพ้นไม่มีต่ำสูง แต่ยานพาหนะทั้งหลาย
    มีความแตกต่าง ผู้มีปัญญาพึงเปรียบเทียบเช่นนี้แล้วพึงเลือก
    เอายานที่ประเสริฐสุด”

    [​IMG]

    ต่อมาไม่นานลัทธิฌานที่ได้ถือการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางและเผยแผ่ไปสู่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๑๑๙๐ ถูกเรียกขนานใหม่ว่า เชน หรือ เซน Zen การเข้าถึงแก่นแท้ของธรรมชาติแห่งตัวเอง ที่จะนำไปสู่การเข้าใจความหมายที่เป็นเหตุผลของสิ่งทั้งมวลในจักรวาล เซนจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา โดยภายหลังนั้นยังสามารถแบ่งออกไปได้อีก ๒ นิกายหลัก คือ

    โซโต
    รินไซ

    ทั้งสองนิกายนี้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่มีความเคารพในทางปันธิธรรมเหมือนๆ กัน รายละเอียดข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับเรื่องเซนยังมีอีกมาก แต่ผู้เขียนพิจารณาว่า เขียนไปก็อาจจะทำให้เกิดความสงสัย ดังนั้น จึงหยิบแต่แนวหลักของเซนแท้ของจีนมาเขียนรวมไว้กับญี่ปุ่น โดยรวม ๆ แล้ว เซนได้เข้าสู่ประเทศอเมริกาเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๕ และได้ความนิยมเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน


    สาธุ

    http://www.baanjomyut.com/library/zen/index.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • home.jpg
      home.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.6 KB
      เปิดดู:
      149
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  11. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    :cool:
    สรุป เซนก็คือพระพุทธศาสนาที่ตัดเรื่องปาฏิหาริย์-อภินิหาร พิธีกรรม ออกไปให้หมด สาธุ ;aa30
     
  12. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    นิทานเซน

    มีเศรษฐีคนหนึ่ง จัดงานเลี้ยงวันเกิดใหญ่โตให้ตัวเอง
    มีผู้คนมาร่วมงานมากมาย รวมถึง อาจารย์เซนท่านหนึ่ง
    ผู้คนในงานต่างเขียนคำอวยพรให้เศรษฐีนั้น
    ร่ำรวยไม่สิ้น พลานามัยแข็งแรง มีความสุข ประสบความสำเร็จ ลูกหลานได้ดิบได้ดี มีลาภยศฐาบรรดาศักดิ์ อายุมั่นขวัญยืน

    ทุกคนจึงขะยั้นขะยอให้ท่านอาจารย์เซน เขียนคำอวยพรให้เศรษฐี เพื่อความสิริมงคล

    อาจารย์เซน จึงลุกขึ้น เขียนคำอวยพรที่กำแพง ทุกคนต่างนิ่งอึ้ง แถมตะโกนด่าทอ ในคำอวยพรของท่านอาจารย์เซน

    ซึ่งมีใจความว่า ...

    ขอให้ปู่ - ย่า ตาย แล้วพ่อ - แม่ ตาย

    แล้วลูก ก็ตาย แล้วหลานก็ตาย

    ตายกันหมดทุกคน ทั้งปู่ - ย่า ทั้งพ่อ - แม่ ทั้งลูก และ หลาน


    อาจารย์เซนยืนสงบนิ่ง ไม่โต้ตอบอะไร จนกระทั่งเศรษฐีทนไม่ไหว จึงเดินมาถามว่า

    " เหตุไฉน ท่านจึงเขียนมาแช่งให้คนตาย ในวันมงคลของเรา "


    อาจารย์เซนตอบว่า .. " เพราะเป็นคำอวยพรที่ดีที่สุด "

    เศรษฐีถามว่า .. " ดีที่สุดอย่างไร ? เป็นการแช่งชัด ๆ "

    อาจารย์เซนอธิบายว่า ..


    " วัฏจักรของการเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เป็นสิ่งธรรมดาที่ไม่มีใครหนีพ้น

    แต่ถ้าครอบครัวใดโชคคี การตายก็มาตามเวลาที่สมควร

    ผู้เกิดก่อน ผู้แก่กว่า ตายก่อน ถือเป็นโชคของเขา ปู่ - ย่า ย่อมแก่กว่า พ่อ - แม่

    ดังนั้น ปู่ - ย่า ต้องตายก่อน พ่อ - แม่ เป็นธรรมดา

    และ พ่อ - แม่ เกิดก่อนลูก พ่อ - แม่ จึงน่าจะตายก่อนลูก

    และ หลานซึ่งเป็นเด็กกว่าลูก ก็น่าจะตายหลังจากลูกตายไปแล้ว "

    อาจารย์เซนอธิบายต่อไปว่า ..


    " หากทุกอย่างเป็นดังนี้ ทุกคนก็มี " ทุกข์น้อยลง " เพราะ เป็นไปตามสิ่งที่น่าจะเป็น

    ถ้าพ่อ - แม่ ตายก่อน ปู่ - ย่า มันก็เป็นความเศร้าของปู่ - ย่า ที่ต้องมาทำศพลูกของตนเอง "


    อาจารย์เซนกล่าวสรุปว่า ..

    " เมื่อยอมรับความจริงของธรรมชาติ(อนิจจัง) เราก็จะปล่อยวางสิ่งหลอกลวง(ทุกขัง)ได้มากขึ้น

    เมื่อเราปล่อยวางสิ่งที่ไม่จริง(อนัตตา)ไปแล้ว เราก็จะ " มีพลัง " มากขึ้น เพราะ ..

    พลังที่มากขึ้นนั้น มาจากการ " ไม่มีกังวล "

    เมื่อกังวลน้อยลง พลังมากขึ้น เราก็สามารถที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จตามประสงค์ได้ " เป็นไปตามไตรลักษณ์นั่นเอง


    สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  13. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529

    [​IMG]

    ถูกแล้วไอ้หนุ่ม เซนคือ พระพุทธศาสนาที่มุ่งที่ปัญญาล้วนๆๆ นั้นเอง หากคนปฏิบัติเถรวาทเอาพวกพิธี พวกไสย์ ออกไป แล้วหันมาเน้นที่ปัญญาล้วนๆ(ที่มีอยู่บริบรูณ์แล้วในเถรวาท) ก็จักเรียกว่าเซนได้เช่นกัน นั้นคือเซนนั้นคือเถรวาทที่แท้ เถรวาทที่เน้นสู่ความเป็นผู้บรรลุแบบปัญญาวิมุตติ(มิใช่ศรัทธา หรือ วิริยะ) อนิจจา เราไม่เป็นกันแบบนั้น เราชอบไปทางทรงเจ้าเข้าผี และ แยกไม่ออกว่าไหนพุทธไหนไสย์ ทั้งๆที่พุทธกับไสย์ มันคนล่ะพวก พุทธะ คือ ตื่น พุทธศาสนาก็ศาสนาของผู้ตื่น แต่ไสย์หมายถึง ความหลับไหล หรือ ลัทธิแห่งความหลับไหลของผู้ไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญญา ยังไม่ตื่นนั้นแล ความหมายยังไปคนล่ะทางเยี่ยงนี้ แล้วจะเอามารวมกันได้อย่างไรเล่า ข้าพูดได้แค่นี้แล คิดเอาเถิด

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=QkSL_DM848E&feature=related"]ZEN 2010 ?????????????????????????? ??? 1 - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=mCcZrbOBueI"]????????? - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=SjEDpml1LqY&feature=related"]?????????????? 1/8 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มีนาคม 2012
  14. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    //-เดิม สรรพสิ่งไซร์.........หนึ่งเดียว
    เคยเกาะเกี่ยว กลมเกลียว......ผูกมั่น
    มาแบ่งแยก เป็น.............แสนล้านอนันต์
    เป็นรูปนามขันธุ์..............อนิจจังฯ

    //-ถูกมายา หลอกให้หลง......ผันหน้าสู้
    แบ่งเป็นตู มึง ตะบึงโลดด้วย.....มานะ อหังการ์ อวิชชา อนิจจา
    ใครจักช่วยชี้ให้เห็น...........วิชชา อวิชชา

    From กำเนิดจักรวาล?

    08/03/2555 (7:33 am)


    โอวาทท่านเว่ยหล่าง

    ทุกสิ่งที่ต้องใช้เทคนิค และวิธีล้วนแต่ต้องใช้ความสามารถจิต
    ย่อมจดจ่ออยู่กับความสามารถในการกระทำนั้น ยังเป็นการยึด
    ติดอยู่กับการกระทำ ยังใช้ไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องไปดับความคิด
    ไม่มีความคิดแล้วจะไปทำอะไรได้

    เราปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพุทธะที่มีชีวิต
    ไม่ใช่เป็นพุทธะที่ตายแล้ว กลายเป็น ทอง ไม้ ดิน หรือหิน
    แล้วจะเป็นพุทธะอย่างไร ?
    ไม่สามารถฉุดช่วยผู้คน แล้วจะมีประโยชน์อะไร

    หากไม่มีความคิดก็เหมือนกับก้อนหินก้อนใหญ่ก้อน
    หนึ่ง เหมือนกับเวลาที่เราแสดงธรรมหรือฟังธรรมต้องใช้
    ความคิดร่วมด้วย แม้มีความคิดแต่ไม่ยึดติดกับรูปลักษณ์
    นั้น ก็เหมือนกับไม่มีความคิด

    ส่วนต้นโพธิ์นั้นแสดงถึงจิตเดิมแท้ของ พุทธะ
    ไม่เพิ่ม ไม่ลด ไม่เกิด ไม่ดับ
    แม้จะปฏิบัติธรรมจนเป็นพุทธะแล้ว
    ก็ไม่ได้เพิ่มอะไรแม้แต่นิดเดียว
    แล้วจะมีอะไรเติบโตได้อย่างไร ?



    สาธุ

    "วิมุติ มีรสเดียว คือ ไม่ทุกข์ ไม่สุข แต่ เย็นและสว่างเป็นอย่างยิ่ง"
     
  15. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    เอ้า นางหนูรึโทษที............
     

แชร์หน้านี้

Loading...