<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สติสัมโพฌงค์</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
โอวาท หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
สตินี้มันก็ทันน่ะ คิดขึ้นเรื่องใดมันก็ดับ คิดขึ้นเท่าใดมันก็ดับ ถ้ามีสติพร้อมกับ...ปรุงขึ้น...ดับ ปรุงขึ้น...ดับ เรียกว่า สติพร้อมกัน คิดไปก็หลงไปลืมไป แปลว่าไม่มีสติ ถ้ามีสติแล้ว คิดขึ้นร้ายก็ดี คิดดีก็ดี รู้พร้อมกันนั้นล่ะ สติรู้พร้อมกันดับลงทันทีนั่นล่ะ ฯลฯ
มีสติแล้ว มีปัญญา... เมื่อไม่มีสติมันก็เผลอ เผลอแล้วมันก็หลงไป ครั้นไม่เผลอแล้วมีสติแนบอยู่ทุกเมื่อแล้ว คิดดีก็ดับลง คิดชั่วก็ดับลง พอใจก็ดับลง ไม่พอใจก็ดับลง เอาลงทันทีนั่นล่ะ...มีสติแล้วก็ใช้ได้ ใจเบิกบานขึ้น ปัจจุบันมีสติพร้อมกันกับคิด...คิดผิดก็ดี คิดถูกก็ดี รู้พร้อมกันก็ดับทันที เรียกว่า สติ... สัมมาสติ สติสัมโพฌงค์ ฯลฯ
อุบายก็อาศัย ความเพียรความหมั่นนั่นล่ะ...ตั้งอยู่นั้นล่ะ ตั้งดูมันอยู่นั้นล่ะ...มันปรุงขึ้นรู้ทันที เป็นสติ
(จากธรรมเทศนาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เรื่อง "สติ" ในหนังสือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ของ กฝผ.จัดพิมพ์ หน้า139...แต่ผมคัดมาเป็นช่วงๆ และใช้ภาษาไทยกลางแทนในบางคำที่หลวงปู่พูดภาษาไทยเหนือปนอีสาน)
คัดลอกมาจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7048
รมณียธรรม ธรรมที่ร่มเย็นจากพระป่า
ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 กันยายน 2008.
หน้า 1 ของ 2
-
-
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
รู้อยู่ที่เดียว</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
สติสัมปชัญญะ …..สัมมาสติก็อันเดียวกันนั่นล่ะ มีหน้าที่กำหนดรู้…
ที่เกิดของธรรม-ที่ดับของธรรม รู้อยู่ที่เดียวนี้ล่ะ…
ละอยู่ที่เดียวนี้ล่ะ วางอยู่ที่เดียวนี้ล่ะ การปารภความเพียรก็เอาสตินี้ล่ะ….เวลาเกิดความคับขันก็ให้น้อมเข้ามา ปฏิบัติอยู่ ให้เพียรเพ่งอยู่จนหายสงสัย……อันนี้สำคัญมาก…..เพ่งเข้ามาสู่จิตสู่ใจ อย่าไปเพ่งออกภายนอก…..เพ่งจนหายสงสัย….จนไม่มีเกิด ไม่มีดับ…..พราหมณาจารย์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เพียรเพ่งอยู่จนมันดับไปเอง….แม้เกิดขึ้นแล้ว มันก็ดับไปเอง แต่อย่าเข้าไปยึดถือในอะไรๆ สิ่งที่มันปรุงขึ้นแต่งขึ้น มักจับมันไม่ทัน….
ให้เพ่งจับอยู่เฉพาะในปัจจุบัน….อย่าไปเพ่งอดีต-อนาคต….อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา….พราหมณาจารย์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ …..เพ่งอยู่ภายใน….ต้องเพ่งเข้าสู่ภายใน….สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อเกิดขึ้น มันก็ดับไปเอง…..อย่าเข้าไปยึดถือสำคัญมั่นหมายว่าเป็นสิ่งนั้น ว่าเป็นสิ่งนี้…..เพ่งอยู่จนหายสงสัย…..ถ้าหายสงสัยมันก็ได้บรรลุมรรค-ผล-นิพพานเท่านั้นล่ะ…..
การเพ่งอย่าให้มันออกไปข้างนอก ….ให้เพ่งเข้ามาหาใจ….ให้เข้าสู่ใจ ให้เข้าสู่ ฐิติ ภูตัง….. ให้ตั้งอยู่ในธรรม อันไม่ไป ไม่มา ไม่เข้า ไม่ออก….
(จากธรรมเทศนาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เรื่อง "ปัจจุบันธรรมเป็นธรรมโม"ในหนังสือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ของ กฝผ.จัดพิมพ์ หน้า67-68) -
ปฏิบัติธรรมะ….อย่าเอามาก
ทำเรื่อยๆ สมควรแล้วล่ะ….
เอามากเกินไปเป็นธรรมเมาน่ะ…..ธรรมเมานี่ลำบากน่ะ มันเอาเรื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์โน่น…..เวลามันตั้งขึ้น มันเกิดมาจากไหนไม่รู้มัน….
ธรรมเมานี่สำคัญ พอเผลอขึ้นมาแล้ว มันเมาคิดเมานึกไปเสียแล้ว….
เอาล่ะน่ะ สมควร…..
อย่าเอามากมาย เอาทีล่ะน้อย….ให้มันรวมเข้า รวมเข้า….รวมเข้าเป็นเอกัคคตาได้เป็นดี….
(จากธรรมเทศนาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ในหนังสือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ของ กฝผ.จัดพิมพ์ หน้า161) -
พึงทำจิตให้ตั้งอยู่ในปัจจุบัน
ตัดอดีต-อนาคตลงให้หมด…..
จิตตั้งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน….
ไปเอาอดีต-อนาคต….ไม่ไหว….
ตั้งความสัตย์ลงไปว่า เวลานี้เราจะทำจิตทำใจให้สงบ อย่าไปคิดอดีต-อนาคต….มันผ่านไปแล้ว….เอา ปัจจุบันนี้ล่ะ.
(จากธรรมเทศนาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ในหนังสือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ของ กฝผ.จัดพิมพ์ หน้า180) -
รู้แล้ว จะวางเอง
ให้พิจารณากาย พิจารณาใจนี้…..
พิจารณาให้รู้แจ้งเป็นจุด แล้วค่อยขยายออกไป….
ครั้นรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็ล่ะวางไปเอง.
(จากธรรมเทศนาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ในหนังสือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ของ กฝผ.จัดพิมพ์ หน้า154)
-
ใช้"พุทโธ"เป็นมรรค
ทางที่ถูก…..เอา"พุทโธ"เป็นมรรค….
พอมันสงบแล้ว……."พุทโธ"นั้นก็วางเสีย…..
พอมันสงบตามสภาพแล้ว……ไม่ต้องบริกรรม….
(จากธรรมเทศนาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เรื่อง สติ ในหนังสือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ของ กฝผ.จัดพิมพ์ หน้า143) -
ฌาน VS ชาน
หลวงปู่สิม พุทธาจโร ท่านได้เคยอยู่ปรนิบัติ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)ที่วัดบรมนิวาส กทม.อยู่ช่วงหนึ่ง.ครั้งหนึ่งสมเด็จท่านมีการรับสั่งถามหลวงปู่สิมว่า "ที่พูดกันว่าได้ฌานนั้น ฌานนี้….คำว่าฌานนี้หมายถึงอะไร เห็นว่ามีตั้งหลายอย่าง มีวิตก มีวิจาร อะไรต่ออะไร มันเป็นยังไง"
หลวงปู่สิมถวายคำอธิบายว่า"เวลาญาติโยมเขาสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างกุฏิให้พระอยู่อาศัย พอขึ้นบันไดบ้านมาก็จะถึงชานก่อนแล้วจึงไปถึงที่นอน"
"อ้อ!!! รู้แล้ว" สมเด็จๆทรงเข้าใจในทันที "มันเป็นที่พักผ่อนชั่วคราวเองน่ะ…ยังไม่ใช่ที่หลับนอนจริงๆ".
(จากหนังสือ พุทธาจรบูชา น.14)
## ชานก็คือที่พักผ่อนของเรา-ท่านชั่วคราวน่ะ….ไม่ใช่ที่พักผ่อนที่แท้จริงของเรา-ท่าน.ฌานก็เป็นที่พักผ่อนของจิตชั่วคราวเหมือนกันฉันนั้น!!!....พระนิพพานต่างหาก ถึงจะเป็นที่พักผ่อนที่แท้จริง -
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
ผู้เห็นภัยในความตาย</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
สิ่งที่บันดาลใจให้ หลวงปู่สิม พุทธาจโร อยากออกบวชก็คือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย….ท่านเล่าว่า "ตั้งแต่ยังเด็กแล้ว เมื่อได้เห็นหรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช" มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาทในวัย ไม่ประมาทในความตาย….
เป็นเพราะหลวงปู่กำหนด "มรณัง เม ภวิสสติ"ของท่านมาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง….ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวช จนถึงปัจจุบัน หลวงปู่ก็ยังคงใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาเป็นประจำ….เรียกว่าหลวงปู่เทศน์ครั้งใดมักจะมี "มรณัง เม ภวิสสติ"เป็น สัญญาณเตือนภัยจากพญามัจจุราช ให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง….
(จากหนังสือ พุทธาจรบูชา น.6)
……อันความตายนั้น
จงระลึกดู ให้รู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตนเอง
ยกจิตใจให้ตั้งมั่นอย่าได้หวั่นไหว
เจ็บจะเจ็บไปถึงไหน….ก็แค่ตาย
อยู่ดีสบาย อยู่ไปถึงไหน….ก็แค่ตาย
แก่ชราแล้ว…..ไม่ตาย ไม่ได้
เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใด….จะให้ผู้อื่นช่วยไม่ได้ๆลๆ
ความตายนั้นไม่มีทางพ้นไปได้…..อยู่ที่การละกิเลส ล้างกิเลสในใจให้หมด. -
มรณกรรมฐาน
มรณกรรมฐานนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย……ไม่ใช่เพียงคำพูด….คำพูดหรือตัวหนังสือมันละกิเลสอะไรไม่ได้….
แต่ถ้าผู้ปฏิบัติน้อมรำลึกในมรณกรรมฐาน…..ไม่ว่าจะเห็นคน เห็นสัตว์ ป่าไม้ ป่าดงพงพี ….ก็เห็นความแตกดับ ความตายของคนสัตว์ของต้นไม้ใบหญ้า.
ผลที่สุดที่เกิดมาแล้วก็ต้องมีความแตกดับทำลายไปเป็นธรรมดา ใครจะมายึดถือว่าตัวเราของเราไม่ได้ทั้งนั้น ยึดไปเถิด เมื่อถึงความตายแล้วก็ต้องทิ้ง ไม่ทิ้งก็จำใจทิ้ง….
เมื่อจิตใจของผู้ภาวนาเข้าถึงซึ่งมรณกรรมฐานแล้ว ไม่ห่วงใคร….บ้านก็ไม่ห่วง….ลูกเต้าก็ไม่ห่วง….ลูกหลานเหลนโหลนอะไรไม่ห่วงทั้งนั้น…..เพราะมันเล็งแจ้งชัดว่า….ตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้….
(โอวาท หลวงปู่สิม พุทธาจโร จากพุทธาจรบูชา น.242 -
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
ดวงจิตผู้รู้อยู่</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails height=40 vAlign=bottom>
เรื่องความรู้ของคนเรานั้น มันมีอยู่2อย่าง….
อย่างหนึ่งคือความรู้ที่แส่ส่าย ฟุ้งซ่านไปในสิ่งต่างๆ ทั้งอดีต อนาคต เรียกว่า"จิตสังขาร" ความปรุงของจิต….
ส่วนอีกอันหนึ่งนั้นเป็นความรู้ที่รู้เรื่องการปรุงของจิตอีกทีหนึ่ง….เป็นสภาพที่รู้อยู่ภายใน.
(โอวาท หลวงปู่สิม พุทธาจโร จากหนังสือพุทธาจรบูชา น.248)
</TD></TR></TBODY></TABLE> -
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
หลวงปู่แหวนสรรเสริญเทวดา</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
หลวงปู่แหวนเล่าว่า ในสมัยที่ท่านอาพาธพักย่างไฟอยู่กุฏีโรงไฟนั้น ขณะที่ท่านภาวนาอยู่ได้ปรากฏว่า บนต้นไทรใหญ่นั้นเป็นที่อยู่อาศัยของพวกรุกขเทพ เป็นวิมานที่อยู่ของเขา.....เมื่อหลวงปู่เข้าไปอยู่ในกุฏีซึ่งอยู่ภายใต้ต้นไทรใหญ่นั้น พวกรุกขเทพทั้งหลายต้องลงมาอยู่บนพื้นดิน ได้รับความลำบากมาก.เมื่อเห็นความลำบากแก่เขาเช่นนั้น ท่านจึงบอกเขาให้ย้ายที่อยู่เสียใหม่ โดยท่านบอกให้เขาย้ายที่อยู่เข้าไปอยู่ข้างในป่าลึกเข้าไป ซึ่งเขาก็ปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคารพ.
ท่านเล่าว่า พวกเทพนั้น ไม่ว่าจะเป็นชั้นต่ำชั้นสูง ความเคารพที่มีต่อพระนั้นมีอยู่เสมอกัน เขาจะไม่ยอมล่วงคารวธรรมเป็นอันขาด การเข้า-การออก เวลาเขามา-เขาไป ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย เชื่อฟังหัวหน้า ดูแล้วงามตาชื่นใจ......ไม่เหมือนมนุษย์เรา!!!
(จากหนังสือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ของ กฟผ. น.47) -
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
มรรค-ผล-นิพพาน อยู่ที่นิกายหรือ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
เป็นโอวาทธรรมที่องค์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ให้เป็นคติแก่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ....จากการที่หลวงปู่แหวนท่านถามหลวงปู่มั่นว่า ทำไมจึงไม่อนุญาตให้หลวงปู่ทองรัตน์(อาจารย์ของหลวงปู่ชา สุภัทโท)ญัตติเป็นธรรมยุติ.ท่านตอบว่า"....ถ้าพากันมาญัตติเป็นธรรมยุติเสียหมดแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครแนะนำปฏิบัติ....." และตามด้วยคติธรรมที่ลึกซึ้งจับใจว่า
"....มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย
แต่มรรคผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว
ละ....ในสิ่งที่ควรละ
เว้น.....ในสิ่งที่ควรเว้น
เจริญ.....ในสิ่งที่ควรเจริญ
นั่นแหละคือทางดำเนินไปสู่มรรค ผล นิพพาน...." -
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
กายคตาสติ.....สนามรบของผู้มุ่งนิพพาน</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านได้เล่าถึงหลักการภาวนาที่หลวงปู่มั่นได้เมตตาแนะนำว่า
"......การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า
จะใช้"พุทโธ"เป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย.....
แล้วพิจารณาร่างกาย ครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถจะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไป-กลับมา หรือที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมแล้ว
เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป.อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ....ต้องค่อยเป็นค่อยไป.....
เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว เมื่อเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่นๆก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน.....
เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ....เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก
ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติ....
เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว......... คำบริกรรม"พุทโธ"ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิทันที....."
ปล.....ผมนำมาลงไว้เผื่อ ผู้มีจริตนิสัยในการเจริญพุทโธและกายคตาสติจะได้ประโยชน์..... -
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
พ่อแม่ครูบาอาจารย์</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
คำกล่าวที่เรียกว่า” พ่อแม่ครูบาอาจารย์”นี้ ในแวดวงพระกรรมฐานสมัยก่อนนั้น เป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งอาจจะหาให้เห็นได้ยากขึ้นทุกๆวัน ในสังคมยุคนี้
หลวงปู่สิม พุทธาจโร ท่านปกครองพระเณรลูกวัดของท่านอย่างอบอุ่นใกล้ชิดเหมือนพ่อแม่ดูแลลูกๆ ภาพในอดีตที่ประทับใจคุณแม่นิ่มนวล(ผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างวัดสันติธรรม)อีกภาพหนึ่งก็คือ เวลาที่พระเณรอาพาธหลวงปู่ท่านจะนั่งเฝ้าไข้อย่างสงบ ไม่ยอมห่างจนกระทั่งผู้ป่วยอาการดีขึ้น
ครั้งหนึ่ง เณรน้อยนอนซมด้วยโรคพยาธิตัวเหลืองซุบซีดผอมเพราะฉันอาหารไม่ได้เลย แม่ไล(โยมอีกท่าน)ได้เอายาถ่ายพยาธิมาถวาย เณรน้อยก็ฉันไม่ได้ อาเจียนออกมา ทำให้แม่ไลโฒโหมากจะบังคับให้ฉันให้ได้ แต่หลวงปู่ซึ่งนั่งเฝ้าอยู่อย่างใจเย็นได้ปลอบประโลมเณรน้อยของท่านขึ้นว่า
“วันพรุ่งเถอะเน้อ!! ไปบิณฑบาตได้กล้วยก่อน จะเอายาใส่ในกล้วยให้เณรน้อยฉัน”
(จาก หนังสือพุทธาจรบูชาหน้า24) -
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
บ่ ต้องท้อแท้อ่อนแอ บ่ ต้องหน่ายแหนง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
คุณแม่นิ่ม สุภาวงศ์ อุบาสิกาลูกศิษย์ของหลวงปู่สิม พุทธาจโร ท่านหนึ่ง ท่านมักจะไปถือศีลแปดและปฏิบัติเนสัชชิกทุกวันพระ……เธอเล่าว่า คืนวันพระวันหนึ่ง เธอเกิดความง่วงขึ้นมาอย่างสุดแสนขะทนทาน จิตใจอ่อนแอท้อแท้ รู้สึกอยู่แต่ว่าการไปถือเนสัชชิกเป็นการทุกข์ทรมานเพียงอย่างเดียว ก็เลยรำพึงรำพันกับตัวเองขึ้นมาว่า
“เออ หนอ ! ที่เรามาปฏิบัติอยู่เวลานี้ถ้าได้สำเร็จมรรคผลขึ้นมาบ้างก็ดีไป แต่ถ้าไม่ได้ไม่ดีอะไรขึ้นมา แล้วเรามาทุกข์ทรมานอย่างนี่เพื่อประโยชน์อะไร ไป..กลับไปนอนเป็นสุขสบายอยู่ที่บ้านเสียไม่ดีกว่าหรือ”
ดูเหมือนว่าเธอจะรำพึงรำพันยังไม่ทันสิ้นกระแสความดีนัก พลันก็ได้ยินเสียงหลวงปู่เทศน์ขึ้นมาว่า
“บ่ ต้องท้อแท้อ่อนแอ บ่ ต้องหน่ายแหนง…… ทำมาได้แค่ไหน ก็ให้ถือว่าเป็นปัจจัยนิสัย เป็นต้นทุนต่อไปในภายภาคหน้า ระวังให้ดีเถอะ เจ้าตัวถีนมิทธะ…… นี่มันตัวร้ายทีเดียว มันเป็นตัวขัดขวางมรรคผลนิพพาน มันนี่ล่ะที่พามาเกิดมาตายวนเวียนอยู่ ไม่รู้จักจบสิ้น”
คำเตือนสติของหลวงปู่ ทำให้คุณแม่นิ่มท่านสามารถมีกำลังใจและสติปฏิบัติอุโบสถศีลและเนสัชชิกต่อไปได้…. (จากหนังสือพุทธาจารบูชา หน้า 24) -
หลวงปู่แสดงฤิทธิ์
เย็นวันหนึ่งมีโยมขึ้นไปหาหลวงปู่สิม พุทธาจโร ที่ถ้าผาปล่อง แล้วก็เอ่ยว่า
“หลวงปู่ หลวงปู่ต้องแสดงฤิทธิ์ให้ผมดู ไม่อย่างนั้นผมจะไม่นับถือพระศาสนา”
“ได้!!!” หลวงปู่ตอบทันที “โยมนั่งๆไปเถอะ เดี๋ยวทนไม่ไหว หิวข้าวก็ลุกไปเอง…….นั่นล่ะหลวงปู่แสดงฤิทธิ์แล้ว”
แต่โยมคนนั้นก็ยังไม่ยอม นั่งคาดคั้นอยู่เป็นชั่วโมงๆ จะให้หลวงปู่แสดงฤิทธิ์ท่านั้นท่านี้ หลวงปู่เอาแต่หัวเราะลูกเดียว จนในที่สุดโยมทนฤิทธิ์หลวงปู่ไม่ไหว(คงหิวข้าวด้วยนั้นล่ะ) ลุกกลับไป ๆลๆ……. พอคล้อยหลังโยม พระอุปัฏฐากซึ่งคงอดกลั้นอยู่นานเต็มทีก็โพล่งออกมาว่า “โอ้ เจออย่างนี้บ่อยๆน่าเบื่อแย่เลยน่ะครับ”
“จะไปทุกข์ร้อนทำไมกับคนใจต่ำ”หลวงปู่ตอบด้วยเสียงเรียบเย็น “ไม่ได้มาเอาธรรมคำสอน จะเอาแต่ฤิทธิ์อย่างเดียว”
อีกโอกาสหนึ่งเมื่อพระอุปัฏฐากปรารภถึงเหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามพระแสดงฤิทธิ์ เพราะในความเห็นของตนเอง น่าจะทรงอนุญาตบ้างเพื่อจูงใจให้คนที่ไม่มีศรัทธา หันมานับถือศาสนา……
หลวงปู่ตอบว่า “….. นั่นแหละคือความเสื่อมของพระพุทธศาสนาละ คือว่าบารมีของพระอรหันต์แต่ล่ะองค์ไม่เท่ากัน พระอรหันต์ทั้งหมดมีกี่องค์ที่แสดงฤิทธิ์ได้ พวกที่ได้โลกียฌานก็แสดงฤิทธิ์ได้เหมือนกัน คนก็จะหลงผิดไปเลือกนับถือแต่ผู้มีฤิทธิ์ ศาสนาก็เสื่อมล่ะทีนี้”
(จาก หนังสือ ละอองธรรม หน้าที่38-39)
-
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
เมตตาพระอาคันตุกะ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
ครั้งหนึ่งมีพระอาคันตุกะไปจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง จะเป็นด้วยสำคัญผิดในความรู้ระดับปริญญาของตนเอง หรือมีมิจฉาทิฏฐิมาแต่ไหนแต่ไรก็ไม่ทราบ แต่ล่ะวันหลวงพี่ก็เลยทำความเพียรด้วยการวิภากษ์ วิจารณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปเรื่อยๆ
“พระพุทธเจ้ามีจริงเรอะ? ที่สอนๆเล่าๆกันมาว่า ปฏิบัติอย่างนั้นได้ผลอย่างนี้ ครูบาอาจารย์องค์นั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อะไรทั้งหลายน่ะ ไม่เชื่อหรอก!!! …..”
หลวงปู่ท่านได้ยินอย่างไรก็ไม่ทราบ วันหนึ่งลูกศิษย์ลูกหาก็ต้องสะดุ้ง เมื่อท่านกัดฟัน(ปลอม )เทศน์เสียงเข้ม เปรี้ยงปร้างออกมาว่า
“ พระพุทธเจ้าน่ะ พระองค์เป็นบุคคลพิเศษ …… คุณวิเศษของพระองค์เกิดจากการบำเพ็ญบารมีมานับอสงไขย…… เป็นคุณวิเศษเฉพาะ ที่ความรู้ความสามารถของคนธรรมดาเข้าใจไม่ได้หรอก”…… และลงท้าย หลวงปู่ก็สรุปเสียงหนักว่า
“ แกไม่เชื่อ ก็แล้วแต่แกสิ”
(จากหนังสือละอองธรรม หน้า90) -
เมตตาพระชะตาขาด
ลูกศิษย์ของหลวงปู่สิมองค์หนึ่ง เป็นโรคลมชักเนื่องจากเนื้องอกในสมอง แต่เมื่อเข้ามาสู่เพศบรรพชิต(บวชเณร)ไม่นาน กลับไปตรวจร่างกายพบว่าเนื้องอกทุเลาไป ท่านจึงอธิษฐานบวชตลอด …… ตอนที่ยังเป็นเณรอยู่ที่ถ้ำผาปล่อง พระได้ใช้ให้ท่านขึ้นต้นมะพร้าว เมื่อหลวงปู่มาเห็นเข้าท่านก็ดุลั่นเลย สั่งให้พระรีบเรียกเณรลงมาพร้อมกับสำทับว่า “….มันยังจะตกต้นมะพร้าวตายน่ะ”
เมื่อถึงโอกาสที่จะได้บวชเป็นพระ ….. ก็มีโยมคัดค้านว่าเณรรูปนี้บวชไม่ได้ เพราะเป็นโรคที่เป็นข้อห้ามตามพระวินัย พระอุปัชฌาย์ก็จนใจจึงแนะนำให้กลับไปบวชที่บ้านเกิด ทำให้เณรรู้สึกผิดหวังมากที่ไม่ได้บวชกับหลวงปู่…… พระอุปัฏฐากเห็นอาการเศร้าสร้อยของเณรแล้วก็สงสาร อยากสงเคราะห์ให้เณรสมปราถนา….. เมื่อได้โอกาสพระอุปัชฌาย์มาทำบุญครบรอบวันเกิดของหลวงปู่ ท่านจึงกราบเรียนหลวงปู่ถึงปัญหานี้ต่อหน้าท่านพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่จึงเอ่ยปากขอร้องว่า “ มหา บวชให้ทีน่ะ เรารับรอง”
เมื่อหลวงปู่ครูบาอาจารย์สั่งขนาดนี้ มีหรือท่านอาจารย์มหาจะขัดข้อง การเตรียมงานอุปสมบทเณรจึงเป็นไปอย่างคึกคัก หลวงปู่เมตตาจัดบริขารทุกอย่างสำหรับการอุปสมบทด้วยองค์ท่านเอง ประคตเอวก็ให้ใช้ของท่าน มีดโกนก็หยิบเอาจากย่ามของท่าน พิธีอุปสมบทมีขึ้นที่วัดสันติธรรม หลวงปู่สั่งพระทุกรูปจากถ้ำผาปล่องไปร่วมงาน องค์ท่านเองไปนั่งเป็นประธาน พระที่วัดสันติธรรมทั้งหมดก็เข้าร่วมงานด้วย วันนั้นมีพระเข้าร่วมอุโบสถกรรมทั้งหมด30รูป ยิ่งใหญ่สมชื่อทีเดียว โยมที่เคยคัดค้านการบวชก็เลยต้องกลับลำกระโดดเข้าช่วยงานอย่างแข็งขันน่าปลื้มใจ
เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงพี่รูปนี้ก็ยังพำนักที่ถ้ำผาปล่องเรื่อยมาจนกระทั่งหลวงปู่ดับขันธ์ …… หลังจากงานพระราชทานเพลิงศพผ่านไปแล้ว ท่านก็กราบลาครูบาอาจารย์ที่ถ้ำผาปล่องกลับไปช่วยพัฒนาวัดที่บ้านเกิด…..ระยะก่อนที่ท่านจะมรณภาพ มีคนได้ยินท่านปารภความฝันให้ฟังว่า” หลวงปู่มาชวนไปอยู่ด้วย “
วันหนึ่งท่านก็สังเกตุเห็นต้นมะพร้าวยืนตายที่ข้างทางเข้าวัด ท่านจึงปีนขึ้นไปเพื่อจัดการกับกิ่งแห้งและลูกมะพร้าวแห้งซึ่งมีอยู่เป็นอันมาก ถ้าเกิดมันหล่นลงมาก็จะเป็นอันตรายกับคนข้างล่างได้….. แต่จะเป็นเพราะโรคประจำตัวกำเริบโดยปัจจุบันทันด่วนหรือเป็นเพราะอะไรก็สุดจะคาดได้ เพราะที่หล่นนั้นไม่ใช่กิ่งหรือลูกมะพร้าว แต่เป็นตัวท่านเอง!!!
………….พรรษาแปด หลวงพี่ มรณภาพในผ้าเหลือง……
“ตกต้นมะพร้าวตาย” อย่างที่หลวงปู่ปารภจริงๆ
(จากหนังสือ ละอองธรรม หน้า 94)
===============================================
ปล. ความเห็นส่วนตัวของผม(ตรงประเด็น) ตรงที่หลวงพี่ได้นิมิตว่าหลวงปู่มาชวนไปอยู่ด้วยนั้น..... หลวงปู่ท่านคงจะไม่ได้มาชวนจริงๆหรอกน่ะครับ หลวงปู่ท่านคงไม่เกิดอีกแล้ว..... ท่านจะมาชวนใครได้เพราะอัฏฐิธาตุท่านเป็นพระธาตุสวยงามมาก -
<TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
ปฏิบัตินอกแบบแต่อยู่ในใจ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
พระเถระอีกรูปหนึ่งเป็น"เจ้าแห่งปัญหา" เพราะในการภาวนานั้น ท่านเล่าว่า มีปัญหาติดขัดต้องไปราบถามบ่อยๆ หลวงปู่สิม ก็เมตตาแนะนำอุบายต่างๆ ซึ่งท่านออกตัวว่าอาจเป็นอุบายเฉพาะสำหรับท่าน(หลวงปู่สิมเอง)ก็ได้
"สำหรับเราน่ะ ......หลวงปู่ไม่เน้นวิธีการ ท่านบอกว่าเอาวิธีไหนก็ได้ มันเป็นภาวนาทั้งนั้น..... ไม่จำเพาะจะต้องภาวนาหลับตา...... สำคัญที่ใจ"
เวลาลูกศิษย์กราบเรียนถามปัญหาในการปฏิบัติ หลวงปู่ไม่ค่อยตอบ บางทีก็เหมือนกับตอบไปคนล่ะเรื่องกับที่ถาม
"ท่านชอบให้ลูกศิษย์ใช้ปัญญาแก้ปัญหาเองมากกว่า ถ้าท่านตอบแล้วเราต้องเอาไปพิจารณา คำตอบของท่านมักให้ไว้ล่วงหน้า บางทีเพียรปฏิบัติตามไปๆ ปีหนึ่งหรือบางทีสามถึงสี่ปี จึงเข้าใจว่าที่ท่านสอนนั้นจริงและตรง"
ครั้งหนึ่งไปกราบเรียนถามท่านว่า” ภาวนาจิตสงบแล้ว….ต่อไปจะทำอย่างไร?”
หลวงปู่ตอบว่า” ภาวนาไม่เป็นนี่…. เราสอนให้ภาวนาละกิเลส แต่นี่ภาวนาเอากิเลส”
ฟังแล้วก็งง หลวงปู่ก็เลยอธิบายต่อไปว่า
”….เห็นในปัจจุบันเป็นหนึ่งเดียว…..
…. มีสติ เห็นตามความเป็นจริงเท่าที่เห็น…..
…..มีปัญญา เลิกละความยึดมั่นถือมั่น จิตก็หยุดไม่สงสัย…..
…..เป็นการเห็นเพื่อการเลิกละทั้งหมด…..
......เป็นการรู้เพื่อการเลิกล่ะทั้งหมด.....
…..การภาวนานั้น ไม่ได้เอา เป็นการละกิเลส…..
…..อะไรๆ ที่จิตมันชอบ-ไม่ชอบ บังเกิดมีขึ้นนะ บ่ ต้องไปเอา…..
…..มรรค ผล นิพพาน ก็ไม่ต้องเอา….."
(จากหนังสือละอองธรรม หน้า30) -
ปล่อยไปก่อน
พระเถระ(ที่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่สิม)องค์หนึ่งซึ่งญาติโยมห่วงใยในข้อวัตรของท่านมาก ...... เมื่อห่วงมากก็กังวลมาก...... จึงมีเรื่องไปารภกับหลวงปู่สิมอยู่เสมอ
"ทำไม ท่านองค์นี้เก็บเนื้อเก็บตัวจังเลยครับหลวงปู่....
สวดมนต์ทำวัตรก็ไม่ค่อยมาประชุมกับหมู่คณะ
อายุพรรษาท่านก็มากแล้ว ทำไมไม่เห็นไปธุดงค์บ้างเลย....ๆลๆ" แล้วก็อะไรต่อมิอะไรอีกสารพัดเท่าที่โยมคิดว่าพระที่ดีในสายตาของโยมพึงปฏิบัติ
โดยมากเมื่อโยมบ่น หลวงปู่มัก"วางเฉย เหมือนแผ่นดิน".....จนกระทั่งเห็นว่า โยมชักกังวลบ่นพร่ำเกินเหตุ ท่านก็ชี้แจงเอื่อยๆว่า
"บ่ต้องไปกังวลกับเพิ่น(ท่านพระเถระองค์นั้น) ถึงเวลาเพิ่นก็ออกมาเอง ฆราวาสเราไม่ค่อยรู้เรื่องพระหรอก...... อยากธุดงค์ก็เดินรอบวัดนี่แหละ ชอบป่าไหน อยากหยุดก็หยุดซิ"
และการณ์ก็เป็นอย่างที่หลวงปู่ว่าไว้ไม่ผิด คือ"ถึงเวลาจำเป็น"ลูกศิษย์ของหลวงปู่ก็ออกมาปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรแก่สถานภาพของตนเองโดยไม่บิดพลิ้ว
(จาก หนังสือละอองธรรม หน้า30)
หน้า 1 ของ 2