รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อุปมากถาปัญหา

    จักกวัตติ วรรคที่ ๓

    องค์ ๕ แห่งแผ่นดิน

    " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งแผ่นดินได้แก่อะไร ? "

    " ขอถวายพระพร ธรรมดา แผ่นดิน ถึงจะมีคนเทของที่น่ายินดีและไม่น่ายินดี คือการบูร กฤษณา จันทน์ หญ้าฝรั่น เป็นต้นก็ดีเทลงไปซึ่งดี เสมหะ โลหิต เหงื่อ มันข้น น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้นก็ดีก็เป็นอยู่เช่นนั้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นเช่นนั้น ในสิ่งที่น่าต้องการ คือ ลาภ ความไม่มีลาภ ยศ ความไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งแผ่นดิน

    ธรรมดาแผ่นดินย่อมปราศจากเครื่องประดับตกแต่ง มีแต่อบรมอยู่ด้วยกลิ่นของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรปราศจากเครื่องประดับตกแต่ง ควรอบรมด้วยกลิ่นศีลของตนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งแผ่นดิน

    ธรรมดาแผ่นดินย่อมไม่มีระหว่าง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นของหนาแน่นกว้างขวางฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้มีศีลอยู่เป็นนิจ อย่าได้ให้ศีลขาดวิ่นเป็นช่องเป็นรู ให้ศีลหนาแน่นกว้างขวางอยู่ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งแผ่นดิน

    ธรรมดาแผ่นดินย่อมทรงไว้ซึ่งคามนิคม นคร ชนบท ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง เนื้อ นก นรชน หญิงชายไม่ย่อท้อฉันใด พระโยคาวจรถึงจะต้องเป็นผู้ว่ากล่าวสั่งสอนผู้อื่น หรือถูกผู้อื่นว่ากล่าวสั่งสอน ก็ไม่ควรย่อท้อฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งแผ่นดิน

    ธรรมดาแผ่นดินย่อมปราศจากความยินดียินร้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ควรปราศจากความยินดียินร้าย ความมีใจเสมอกับแผ่นดินฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งแผ่นดิน

    ข้อนี้สมกับคำของอุบาสิกา จูฬสุภัททา กล่าวสรรเสริญสมณะของตนไว้ว่า

    " ถึงมีผู้ถากข้างหนึ่งด้วยมีดพร้า ทาร่างกายข้างหนึ่งด้วยของหอมให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ไม่มีความยินดียินร้าย จิตของข้าพเจ้าเสมอด้วยแผ่นดิน สมณะทั้งหลายของข้าพเจ้าก็เช่นเดียวกัน " ขอถวายพระพร "
     
  6. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    องค์ ๕ แห่งน้ำ

    " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งน้ำได้แก่อะไร ? " " ขอถวายพระพร ธรรมดา น้ำ อันตั้งอยู่นิ่ง ๆ ไม่ไหว ไม่มีผู้กวน ย่อมบริสุทธิ์ตามสภาวะปกติ คือความเป็นเองฉันใด พระโยคาวจรก็ควรละการลวงโลก การโอ้อวด การพูดเลียบเคียง เพื่อหาลาภ การพูดเหยียดผู้อื่นเพื่อหาลาภเสียแล้ว ควรเป็นผู้มีความประพฤติบริสุทธิ์ตามสภาวะปกติฉันนั้นอันนี้เป็นองค์แรกแห่งน้ำ

    ธรรมดาน้ำย่อมตั้งอยู่ตามสภาพ คือความเย็นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้ทำความเย็นให้แก่ผู้อื่นด้วยขันติ และความไม่เบียดเบียน ความเมตตากรุณาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งน้ำ

    ธรรมดาน้ำย่อมทำสิ่งที่ไม่สะอาดให้สะอาดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำแต่สิ่งที่ไม่มีโทษในที่ทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งน้ำ

    ธรรมดาน้ำย่อมเป็นที่ต้องการ แห่งคนและสัตว์เป็นอันมากฉันใด พระโยคาวจรผู้มักน้อย สันโดษ สงัด เงียบ ก็เป็นที่ต้องการแห่งโลกทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งน้ำ

    ธรรมดาน้ำย่อมไม่นำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เข้าไปให้แก่ใครฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรทำให้เกิดเรื่องทะเลาะวิวาทบาดหมาง ความเพ่งโทษ ความริษยา ให้เกิดแก่ผู้อื่นฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งน้ำ

    ข้อนี้ สมกับคำของพระพุทธเจ้าใน กัณเหชาดก ว่า

    " ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะทรงประทานพรแก่หม่อมฉัน ก็ขอจงประทานพรว่า อย่าให้กายหรือใจของหม่อมฉัน ทำให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นเลย "

    ดังนี้ ขอถวายพระพร "
     
  7. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    องค์ ๕ แห่งไฟ

    " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไฟได้แก่อะไร ? "

    " ขอถวายพระพร ธรรมดา ไฟ ย่อมเผ่า หญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ฉันใด พระโยคายจรก็ควรเผากิเลสทั้งภายนอกภายในด้วยไฟ คือญาณ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งไฟ

    ธรรมดาไฟย่อมไม่มีเมตตากรุณาฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่มีควรมีเมตตากรุณา ในกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไฟ

    ธรรมดาไฟย่อมกำจัดความเย็นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำให้เกิดไฟ คือความเพียรเผากิเลศทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไฟ

    ธรรมดาไฟย่อมไม่มีความยินดียินร้ายมีแต่ทำให้เกิดความร้อนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีใจเสมอด้วยไฟ ปราศจากความยินดียินร้ายฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไฟ

    ธรรมดาไฟย่อมกำจัดความมืด ทำให้เกิดความสว่างฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกำจัดความมืดคืออวิชชา ทำให้เกิดความสว่าง คือญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งไฟ

    ข้อนี้สมกับพระพุทธโอวาทที่ทรงสอน พระราหุล ว่า

    " ดูก่อนราหุล เธอจงอบรมจิตใจให้เสมอกับไฟ เพราะเมื่อเธออบรมจิตใจให้เสมอกับไฟได้แล้ว สิ่งที่ถูกต้องอันเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ย่อมไม่ครอบงำจิตใจได้ " ดังนี้ขอถวายพระพร "
     
  8. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    องค์ ๕ แห่งพายุ ​


    " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งพายุได้แก่อะไร ? "

    " ขอถวายพระพร ธรรมดา พายุ ย่อมพัดหอบเอากลิ่นดอกไม้ที่บานแล้ว ในแนวป่าให้ฟุ้งไปฉันใด พระโยคาจรก็ควรยินดีอยู่ในป่า อันมีดอกไม้คือวิมุตติเป็นอารมณ์ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพายุ

    ธรรมดาพายุ ย่อมพัดหมุนหมู่ไม้ทั้งปวงให้พินาศฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณาสังขารอยู่ในป่า ขยี้กิเลสทั้งหลายให้แหลกลาญ ฉันนี้อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งพายุ

    ธรรมดาพายุ ย่อมเที่ยวไปในอากาศฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้ใจเที่ยวไปในโลกุตตรธรรมฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งพายุ

    ธรรมดาพายุ ย่อมได้เสวยกลิ่นหอมฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเสวยกลิ่นหอม คือศีลอันประเสริฐของตนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งพายุ

    ธรรมดาพายุย่อมพัดเรื่อยไป ไม่ห่วงใยเสียดายสิ่งใดฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรห่วงใยต่อสิ่งทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งพายุ

    ข้อนี้สมกับพุทธภาษิต ที่องค์สมเด็จธรรมสามิสร์ตรัสไว้ใน สุตตนิบาต ว่า

    " ภัยย่อมเกิดจากตัณหา ธุลีย่อมเกิดจากอาลัย ความไม่มีอาลัย ไม่มีตัณหา เป็นความเห็นของมุนี " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
     
  9. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,079
    ค่าพลัง:
    +52,187
  19. Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    อนุโมทนา สาธุ...................
    กับทุกบทความดีๆครับ :cool:
     
  20. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร
    ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสสัย


    นายสารถีผู้ฝึกม้า มีชื่อเสียงคนหนึ่ง มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามถึงวิธีทรมานเวไนย
    พระองค์ทรงย้อนถามนายสารถี ก่อนถึงการทรมานม้า เขาทูลว่ามีม้า ๔ ชนิด คือ
    ๑. ทรมานง่าย
    ๒. ทรมานอย่างกลาง
    ๓. ทรมานยากแท้
    ๔. ทรมานไม่ได้เลย ต้องฆ่าเสีย

    พระองค์จึงตรัสว่า เราก็เหมือนกัน

    ๑. ผู้ทรมานง่าย คือ ผู้ปฏิบัติทำจิตรวมง่าย ก็ให้กินอาหารเพียงพองเพื่อบำรุงร่างกาย

    ๒. ผู้ทรมานอย่างกลาง คือ ผู้ทำจิตไม่ค่อยจะลง ให้กินอาหารแต่น้อยอย่าให้มาก

    ๓. ทรมานยากแท้ คือ ผู้ปฏิบัติทำจิตลงยากแท้ ไม่ต้องให้กินอาหารเลย
    แต่ต้องเป็นอัตตัญญู รู้กำลังของตนว่าจะทนทานได้สักเพียงไรแค่ไหน

    ๔. ทรมานไม่ได้เลย ต้องฆ่าเสีย คือ ผู้ปฏิบัติทำจิตไม่ได้เป็นปทปรมะ
    พระองค์ทรงชักสะพานเสีย กล่าวคือ ไม่ทรงสั่งสอนอุปมาเหมือนฆ่าทิ้งเสียฉะนั้น

    มุตโตทัย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
     

แชร์หน้านี้