ต่อจากนี้ไปผมจะขอรวมรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและอานิสงค์เกี่ยวกับการทำการบุญกับพระปัจเจกและเพื่อรวบรวมเป็นความรู้ต่อไป
<O:p</O:p
ตำนานฉันทันตปริตร<O:p</O:p
ฉันทันตปริตรบทนี้ ไม่ปรากฏว่าใช้สวดตามบ้าน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีใดๆ มานานแล้วสำหรับภายในวัดยังมีสวดกันบ้าง ก็น้อยเต็มที ทั้งนี้เนื่องจากพระผู้สวดเห็นว่าไม่มีคนนิยม ก็เท่ากับไม่ให้ความสนับสนุนทางกำลังใจความพยายามท่องก็ไม่มี แม้เดิมจะท่องไว้ได้ เพราะความจริงก็ไม่มากอะไรนักแต่ครั้งไม่ค่อยจะใช้สวด นานเข้าก็เลือน หลง ลืมในที่สุดก็สวดไม่ได้
<O:p</O:p
แต่เคราะห์ดีที่มนต์บทนี้ยังเป็นที่นิยมของชาวป่าชาวเขาอยู่ แม้คนหัวบ้านหัวเมืองชั้นนอกก็ยังนิยมท่องไว้บริกรรม ด้วยถือเป็นมนต์สำหรับเดินทางเข้าป่าภาวนาป้องกันภัยพิบัติ ด้วยนิยมว่า พระปริตรบทนี้จะช่วยให้ปลอดภัย ไม่ประสบอันตรายไม่พบเห็นสัตว์ร้าย อันจะทำให้ตื่น ตกใจกลัว คนเดินป่า มักนิยมไพร นับถือมากโดยเฉพาะพรานป่า ต่อช้าง คล้องช้าง ต้อนช้างเข้าเพนียด สำหรับควานช้างนับถือเป็นพิเศษ ใช้เป็นคาถาบังไพร คุ้มกันมิให้อันตรายใดๆ เบียดเบียน เรียกว่าฉัทททันตปกาสิต ถือว่าพญาช้างฉัททันต์ซึ่งเป็นเจ้าป่าใหญ่ห้ามมิให้สัตว์ร้ายทั้งหลายเบียดเบียนแล้ว ก็เป็นอันปลอดภัยด้วยประการทั้งปวงทั้งยังถือว่า เป็นมนต์กำบังนัยน์ตาสัตว์ มิให้สัตว์ทั้งหลายมองเห็นอีกด้วยเรียกว่า คาถาบังไพร เป็นมนต์สำคัญบทหนึ่ง
<O:p</O:p
ดังนั้นพระโบราณาจารย์จึงยกขึ้นเป็นพระปริตรบทหนึ่ง ไว้ในมนต์ ๑๒ ตำนาน
<O:p</O:p
ตำนาน ฉัททันตปริตร หรือเรื่องพญาช้างฉัททันต์ นี้ มาในฉัททันตชาดก เป็นเรื่องพิสดารยืดยาวมาก จินตกวีไทยทั้งเหนือและใต้ ได้ร้อยกรองเป็นวรรณคดีไว้ไพเราะยิ่งนัก ในสมัยก่อน พวกมหรสพทั้งนาฏศิลป์และนาฏดนตรี เคยได้นำออกแสดงให้คนชมเสมอ ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความนิยมไม่น้อย พอได้ยินเสียงว่า พญาฉัททันต์ก็รู้ว่าเป็นเรื่องของพญาช้างสำคัญ เป็นพญาช้างบรมโพธิสัตว์ แม้พวกขอทานจำพวกวณิพกมีเพียงกลองกับฉิ่ง สองคนผัวเมียก็ชอบเอาเรื่องนี้ไปร้องตามหมู่บ้านบางหมู่บ้านพอใจฟัง ชวนกันขอให้ร้องให้ฟังจนจบเรื่อง แล้วให้รางวัลจนพอใจมาบัดนี้ดูหายไป คนรุ่นนี้เห็นจะมีรู้จักกันน้อยคน
<O:p</O:p
จะได้นำเรื่องพญาฉัททันต์เจ้าของคาถาบทนี้มาเล่าพอเป็นเครื่องประดับความรู้ แต่จะขอเล่าพอได้ความผู้ประสงค์จะทราบเรื่องราวโดยพิสดาร โปรดไปดูหนังสือฉัททันตชาดกนั้นเถิดเรื่องมีว่า
<O:p</O:p
ครั้นนั้น ช้างโขลงใหญ่มีจำนวนมากอาศัยอยู่ในป่าใกล้สระฉัททันต์ในป่าหิมพานต์ ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นช้าง เป็นบุตรช้างจ่าโขลง สีกายเผือกผ่องงามมีร่างกายสูงใหญ่ งาทั้งคู่ก็งาม มีกำลังเหนือช้างทั้งหลาย เมื่อบิดาสิ้นอายุแล้วได้รับยกย่องจากช้างทั้งหลายให้เป็นพญาช้าง จ่าแห่งโขลงนั้นเพราะเป็นเจ้าแห่งโขลงช้างในเขตแคว้นสระฉัททันต์ จึงได้นามว่าพญาฉัททันต์
<O:p</O:p
พญาช้างฉัททันต์ นั้นมีนางช้างเป็นชายา ๒ เชือก ชื่อว่า มหาสุภัททา เชือกหนึ่ง ชื่อว่า จุลสุภัททาเชือกหนึ่ง ความน้อยเนื้อต่ำใจตามวิสัยของเมียน้อยเมียหลวงก็มีในนามช้างทั้งสองนั้นเป็นประจำ วันหนึ่งพญาฉัททันต์หักพวงมะม่วงมีผลงาม ๒ พวงประทานแก่ชายาทั้งสอง บังเอิญพวงที่ประทานแก่จุลสุภัททามีมดแดงติดไปโดยไม่ทันเห็นทำให้มดแดงกัดจุลสุภัททา แม้จะไม่มาก แต่เพราะนางจุลสุภัททา มีสันดานมากด้วยโทสะคิดไปว่าสามีลำเอียงแกล้ง ก็ผูกอาฆาตคิดตรอมใจ แม้พญาฉัททันต์จะเล้าโลมต่างๆนานาขอให้อดโทษ นางก็ไม่ใยดีและไม่ปรารถนาจะคืนดีเพราะความแค้นไม่กินน้ำกินหญ้าภายหลังนางจุลภัททาก็ล้มเจ็บ และในที่สุดก็ตายในเร็ววันแต่ด้วยอานิสงส์ที่นางได้ถวายผลไม้พระปัจเจกพุทธเจ้าได้นำให้นางไปบังเกิดเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์มัททราชมีรูปโฉมโนมพรรณงามยิ่งนัก พระบิดาขนานนามว่า สุภัทราราชกัญญา ครั้งนางเจริญวัยแล้วพระเจ้ามัททราชได้ส่งไปถวายเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี
<O:p</O:p
นับแต่นางสุภัทราเกิดมาพอมีความรู้สึกเดียงสานางก็รำลึกชาติหนหลังเมื่อครั้งเป็นนางช้างอย่างแจ่มชัดทุกประการระลึกเห็นที่อยู่และเพื่อนฝูงช้างตลอดจนพญาฉัททันต์ผู้เป็นสามีได้ที่สุดแม้การกระทำของสามี ที่ทำให้พระนางโกรธแค้น ครั้นนึกได้แล้วกำลังแห่งความอาฆาตพยาบาทและทวีแรงโหมนางเคียดแค้นทันที ดังนั้นพระนางสุภัทราจึงแสร้งทำประชวร แม้พระราชสามีรับสั่งถามก็ทูลว่าแพ้พระครรภ์ต้องการช้างพญาฉัททันต์พระเจ้าพาราณสีต้องประชุมพรานป่าทั้งหมดในที่สุดก็คัดได้พราน โสณุตดรที่มีความสามารถเป็นพิเศษ เดินทางไปตามแนวมรรคาตามแผนที่ซึ่งพระนางชี้แจงได้พยายามฆ่าพญาฉัททันต์เป็นเวลาหลายปี แต่แล้วก็คิดอุบายได้โดยพยายามลักจีวรของ พระปัจเจกพุทธเจ้า คลุมร่างพรางความชั่วร้ายของตนด้วยช้างทั้งหลายในไพรนั้น เคารพบูชา พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นพรานโสณุตดรเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้าไปจึงวางใจให้พรานประกอบวิธีฆ่าพญาฉัททันต์จนสำเร็จพญาฉัททันต์ต้องอาวุธปืนยาวของโสณุตดร แม้จะลำบากยากกายเพียงใดก็ยังใช้งวงคว้าคอพรานร้ายไว้ได้ ตั้งใจจะเหยียบย่ำเสียให้ตายแต่ครั้นเห็นผ้ากาสาวพัสตร์คลุมตัวอยู่ก็ละอายแก่ใจด้วยความเคารพซึ่งตระกูลฉัททันต์เคยเคารพมาก่อน จึงได้ตำหนิพราณโสณุตดรที่ประพฤติชั่วร้ายใช้ผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นบริขารของท่านผู้ทรงศีล ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาดหุ้มห่อกายอันไม่สมควรแก่ภาวะ ตลอดแก่การกระทำของพรานเลย ไม่ขวยแก่ใจ จัดเป็นบาปหนักมากแล้วได้ถามถึงความประสงค์ที่ได้พยายามมาฆ่าพระองค์
<O:p</O:p
พรานโสณุตดรได้เล่าถวายด้วยความกลัวตลอดทุกประการ<O:p</O:p
เมื่อพญาฉัททันต์ราชาแห่งโขลงช้างในป่าหิมพานต์ได้สดับคำพรานโสณุตดรเล่าให้ฟังก็สลดพระทัยรับสั่งว่าจริงอย่างแกเล่า โสณุตดร ถ้าไม่ใช่นางจุลสุภัททาชายาเดิมของฉันไปเกิดและด้วยความโกรธ ผูกอาฆาตทั้งระลึกชาติได้ แนะนำลู่ทางให้แกมาแล้วอย่างไรแกจะรู้จักฉัน และเล็ดลอดมาถูก เป็นอันว่า พระนางพยายามให้แกฆ่าฉันจนสำเร็จเพราะความพยาบาท โสณุตดรเอย ไม่ใช่เพราะแกผิดดอก ฉันอยากจะโทษว่าเพราะฉันเองต่างหากผิด เพราะความรักตัวการนั่นแหละร้ายกาจเอ็นดูพระนางและเผลอไปโดยไม่ทันสังเกต ทำให้พระนางน้อยใจโดยหาเจตนามิได้เลยและก็เพราะพระนางเองรักฉันไม่ใช่น้อย จึงน้อยใจ แค้นถึงอาฆาตและยอมตาย เพราะความรักอีกเช่นกัน และแล้วก็ไม่ลืม ผูกใจจะล้างผลาญฉันจนแม้ไปเกิดเป็นอัครมเหสีแล้ว ก็ไม่ทอดทิ้งความอาฆาต ส่งเธอมาฆ่าฉันจนสำเร็จความรักนี้ร้ายกาจมาก สร้างเวร สร้างภัย ให้ชอกช้ำ เป็นทุกข์ให้ฆ่ากันได้ถึงเช่นนี้ โสณุตดรเอย ฉันขอยุติแต่เพียงนี้แหละ โสณุตดร ลุกขึ้นเถอะจงทอนงาของฉันทั้งสองข้างไปถวายพระนางชมให้สำเร็จตามที่ผูกใจเจ็บไว้แล้วทูลพระนางว่า ฉันได้ล้มตายสมควรปรารถนาของพระนางแล้วครั้งสั่งแล้วก็หมอบกายลงให้พรานโสณุตดรเลื่อยงาทั้งสองข้างแม้จะปวดร้าวทรมานเพียงใด ก็ทรงทนให้พรานโสณุตดรตัดงาด้วยเลื่อยจนสำเร็จแล้วตรัสถามพรานโสณุตดรว่าแกพยายามดั้นด้นป่าข้ามภูเขามามากมายกว่าจะถึงฉันเป็นเวลานานเท่าใด
<O:p</O:p
“กว่า ๗ ปีแล้ว พระเจ้าข้า” พรานโสณุตดรทูล
<O:p</O:p
“โสณุตดร” พญาฉัททันต์รับสั่งต่อไป “ถ้าแกจะกลับทางเก่าแกอาจตายตามทาง เพราะภัยซึ่งขณะนี้ช้างบริวารของฉันกำลังค้นหาตัวแก เพื่อจะฆ่าอยู่ทั่วไปยังจะสัตว์ร้ายอื่นๆ อนึ่ง ภาระที่จะต้องหาบหามงาทั้งสองข้างก็หนักอยู่ไม่น้อยเอาเถอะฉันจะอนุเคราะห์ให้แกและพระนางสำเร็จความปรารถนาโดยเร็วและให้ถึงพระนครพาราณสีน้อยวันที่สุดและให้ปลอดภัยทุกประการ แกจะไม่ต้องประสบภัยต้องมัวไปหลบหลีกซ่อนเร้นแต่อย่างใดเลย รับสั่งแล้วก็ยกวงขึ้นจนบนกระพองพระเศียรทรงอธิษฐานว่า “สลฺเลน วิทฺโธ พฺยถิโตปิ สนฺโต” เป็นอาทิ ความว่า “ เราถูกลูกศรเสียบแทงแล้ว แม้เวทนาจะครอบงำ ก็สงบใจ ไม่ประทุษร้ายในผู้ทรงผ้ากาสาวะถ้าคุณนี้เป็นความจริง ดังที่เราผู้เป็นหญาช้างได้ตั้งใจไว้แล้วขอบรรดาสัตว์ร้ายในป่า อย่าได้มากล้ำกรายผู้นี้เลย” เมื่อส่งพรานโสณุตดรไปแล้วก็ฟุบกายลงทำกาลกิริยาในขณะนั้น
<O:p</O:p
พรานโสณุตดรอภิวาทลาพญาฉัททันต์ด้วยความเคารพ พร้อมด้วยระลึกถึงพระคุณของพญาฉัททันต์อยู่เป็นกำลัง ทั้งรู้สึกสลดใจเสียดายที่พญาฉัททันต์ต้องถึงแก่ความตายด้วยน้ำมือของตน ทั้งด้วยบัญชาของนางสุภัทราอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ที่ทรงอาฆาตอย่างร้ายแรงพรานโสณุตดรพยายามเดินมาตามทางที่พญาฉัททันต์แนะนำเพียง ๗ วันก็มาถึงเมืองพาราณสีโดยสวัสดีทุกประการ และเอางาทั้งคู่ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระนางพร้อมทั้งคำสั่งของพญาฉัททันต์นั้นด้วย<O:p</O:p
เมื่ออัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสีได้ทอดพระเนตรงาก็จำได้ว่าเป็นงาของพญาฉัททันต์ พระสวามีของพระนาง ปลื้มพระทัยพระราชทานรางวัลแก่พรานไพรโสณุตดรมากมาย หมดความอาฆาต เพราะสมพระทัยแล้วความพยาบาทได้หยุดลง คงเหลือแต่ความรักเดิมของพระนางเมื่อเป็นนางช้างคราวนี้ก็ครุ่นคิดถึงความรัก สงสารพญาฉัททันต์พระสวามีที่รักที่ต้องตายเพราะพระนาง<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com</st1:personName>สุภัทรา ตามพระราชประสงค์เอง ทรงสลดพระทัย และตั้งหน้าแต่เศร้าโศกด้วยเสียพระทัยที่ทำผิดไปอย่างมากและในที่สุดก็สิ้นพระชนม์ชีพด้วยความตรอมพระทัยนั้นเอง
<O:p</O:p
เรื่องนี้แสดงว่า[SIZE=4]คำอธิษฐานของพญาฉัททันต์ได้เกิดศักดิ์สิทธิ์[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=4]เป็นพระปริตรป้องกันภยันตรายเห็นประจักษ์[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=4]จึงเป็นที่นิยมและได้รับยกย่องของท่านผู้รู้ทั้งหลาย[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=4]นับถือมนต์นี้เป็นพระปริตรสำคัญดังกล่าวแล้ว ฯ[COLOR=#711323][FONT=Comic Sans MS][FONT=Tahoma].[/FONT][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE]
[SIZE=4][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=4][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=4][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=4][COLOR=#711323][FONT=Comic Sans MS][FONT=Tahoma]<O:p</O:p[/FONT][/FONT][/COLOR][/SIZE]
[SIZE=4][FONT=Comic Sans MS][SIZE=4][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][FONT=Comic Sans MS][FONT=Tahoma]———————–<O:p</O:p[/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323]
[SIZE=4][FONT=Comic Sans MS][SIZE=4][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][FONT=Georgia][FONT=Tahoma][SIZE=4]([COLOR=#711323][FONT=Tahoma]บรรยาย ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๙๘)<O:p</O:p[/FONT][/COLOR][/SIZE]
[CENTER][SIZE=4][FONT=Georgia][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][SIZE=5][B][COLOR=blue]คาถาเงินล้าน[/COLOR][/B][COLOR=blue]<O:p</O:p[/COLOR][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/FONT][COLOR=#711323][COLOR=#711323][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/CENTER][SIZE=4][COLOR=#711323][COLOR=#711323]
[COLOR=#711323]
[COLOR=#711323]
[SIZE=5][FONT=Georgia][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][B][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]ตั้ง นะโม ๓ จบ [/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
[COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]นาสังสิโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ[COLOR=blue] (คาถาปัดอุปสรรค)[/COLOR][/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=blue][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน) [/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย) [/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน) [/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง [/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ [/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม[COLOR=blue] (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า) [/COLOR][/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=blue][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น) [/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤา ฤา[/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=black]<O:p[FONT=Tahoma][SIZE=5]></O:p>[/SIZE][/FONT][/COLOR]
[CENTER][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][B][SIZE=5][COLOR=blue](บูชา 30 จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด) [/COLOR][/SIZE][/B][/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][COLOR=#711323][/COLOR][/COLOR][/CENTER][COLOR=#711323][COLOR=#711323]
[SIZE=5][COLOR=#711323]
[CENTER][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][B][COLOR=blue]พระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)[/COLOR][/B][COLOR=blue][COLOR=black]<O:p></O:p>[/COLOR][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][COLOR=#711323][COLOR=#711323][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][/CENTER][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323]
[COLOR=blue]
[SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][COLOR=#711323][COLOR=#711323][B][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
[COLOR=#711323]
[COLOR=#711323]
[COLOR=#711323][COLOR=#711323][COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]บทสวดคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือ[COLOR=black][URL="http://palungjit.org/showthread.php?t=13421"][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=#800080]คาถาเงินล้าน[/COLOR][/SIZE][/FONT][/URL]
[COLOR=#711323][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=#ff6600]นำสวดโดยหลวงพ่อและวิธีสวด[/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323][COLOR=black][URL="http://palungjit.org/showthread.php?t=123065"][COLOR=#800080][FONT=Tahoma][SIZE=5]รวมเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ตอนที่ 20 หลวงพ่อเล่าเรื่องประวัติคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า[/SIZE][/FONT][/COLOR][/URL][COLOR=#800080][FONT=Tahoma][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=black]<[/COLOR][/SIZE][/FONT]
[COLOR=#711323]
[COLOR=#711323]
[COLOR=#711323]
[/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/FONT][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE]
รวมเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ตอนที่ 17 เรื่องพญาช้างฉันทันต์
ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 10 เมษายน 2008.