<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
copy from : หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษเล่ม ๒ (ตอบโดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) <HR>
<CENTER> พุทธภูมิ
</CENTER>ผู้ถาม "หลวงพ่อครับ ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมินี่จะทราบได้อย่างไรเขาบำเพ็ญบารมีแบบไหนครับ....?" หลวงพ่อ "ตัวของเขาทราบเอง เหมือนคุณกินเกลือ คุณรู้ว่าเค็มหรือเปล่า....?" ผู้ถาม (หัวเราะ) "แล้วเหตุใดพระโพธิสัตว์บางองค์จึงลาจากพุทธภูมิครับ....?" หลวงพ่อ "เพราะอยากลา นี่ตอบไม่ยาก คือภาระของพุทธภูมินี่เวลาเขาทำๆ ไป ถ้าตั้งระยะไว้ไม่ยาว พวกนี้เขาช่วยพระพุทธศาสนา เขาก็ทำกิจของพุทธภูมิเช่นกัน แต่ว่าถ้าหากจะช่วยพระพุทธศาสนา ถ้าความเข้มแข็งไม่มีมันช่วยไม่ได้ เพราะพวกนี้อารมณ์ของเขามีอย่างเดียว คือไม่ห่วงตัวเอง ถ้าตัวเองไม่มีกิน ถ้าคนอื่นกินได้ ไอ้นี่เขาพอใจ แต่พวกที่ลาจริง ๆ ส่วนใหญ่ก็ใกล้พระนิพพานแล้ว ถ้าไม่ใกล้เขาไม่ลา ลาแล้วไม่กี่วันก็ได้พระอรหันต์ เพราะกำลังเขาเกิน อย่างคุณเรียนเตรียมอุดม ถ้ากลับไปทำงานประเภทหลักสูตรแค่ ม.๓ คุณไม่ต้องใช้กำลังมาก ใช่ไหม....?" ผู้ถาม "ใช่ครับ" หลวงพ่อ "เหมือนกัน คนที่ปรารถนาพระโพธิญาณเรียกว่า พระโพธิสัตว์ ทีนี้พวกที่ใกล้ที่สุดอย่างเช่น ถ้าเป็นปัญญาธิกะอย่างน้อยที่สุดก็ต้องสงไขยที่ ๔ ในกัปนั้นแหละ ท่านจะบรรลุมรรคผลหรือกัปนั้นแหละที่บารมีจะเต็ม สำหรับพวกที่ปรารถนาเป็นสาวกภูมินี่ใช้เวลาอย่างน้อย ๑ อสงไขยกับแสนกัป ส่วนอัครสาวกหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างน้อย ๒ อสงไขยกับแสนกัป เข้าใจไหม...?" ผู้ถาม "เข้าใจครับ...หลวงพ่อครับ หลวงปู่ปานท่านก็บำเพ็ญบารมีเพื่อปรารถนาพระโพธิสัตว์เหมือนกันใช่ไหมครับ....?" หลวงพ่อ "หลวงปู่ปานรู้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ แต่ตอนแรกๆ ไม่รู้ว่าเต็มหรือไม่เต็ม เต็ม หมายความว่า ปรมัตถบารมีเต็ม มารู้ทีหลัง คือว่าเวลาทำบุญ ท่านเปล่งวาจาปรารถนาพระโพธิญาณกลางที่ชุมนุมชน คือท่ามกลางสมาคม ท่านเปล่งชัดออกมาเลยว่า "ผลงานนี้ขอให้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ" ไม่ใช่งุบงิบๆ ถ้างุบงิบละก็ยังอีกนาน กลัวเขาจับได้" ผู้ถาม "หลวงพ่อคะ ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิ จะต้องฝึกอภิญญาไหมคะ....?" หลวงพ่อ "ก็ต้องฝึก ถ้าอุปบารมีนี่ จะทำงานในเรื่องของอภิญญาเป็นปกติ ถ้าอุปบารมีไม่ต้องห่วงหรอก เหาะเกือบทุกชาติเกิดชาติไหนก็เหาะชาตินั้น ต้องได้อภิญญาทุกชาติ พระโพธิสัตว์นี่ถ้าถึงขั้นปรมัตถบารมีแล้วก็ไม่ลงนรก ตอนนี้เข้าขั้นตัดนรก แต่ถ้าอุปบารมีนี่ยังเป็นลูกผีลูกคน ยังแยกไปได้ ๒ ทาง ถ้าปรมัตถบารมีต้องทำ ๑๐ ชาติ พอถึงชาติสุดท้ายตีรวมบารมีเลย พอเข้มข้นหมด เต็มอัตราปั๊บ ท่านก็ยิ้มไปอยู่ชั้นดุสิต รอจนกว่าจะถึงวาระ พอถึงวาระแล้วก็ต้องลงมาเกิดเป็นคนก็ต้องบำเพ็ญบารมีอีก รวบรวมกำลังบารมีแล้วก็ตรัสรู้ บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ก็คือ บรรลุอรหันต์ด้วยตัวเอง"
รวมเรื่องพุทธภูมิที่ได้จากการสนทนากับหลวงพ่อฤาษี
ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 11 มีนาคม 2007.
-
-
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
copy from : หนังสือพ่อสอนลูก โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ <HR>
<CENTER>พุทธภูมิและพระโพธิสัตว์
</CENTER>
ปรารถนาพุทธภูมินี่เหนื่อย ฉันเคยเป็นพุทธภูมิมาก่อน ฉันรู้ว่าพุทธภูมิสู้ทุกอย่าง งานทุกอย่าง ถ้าลาพุทธภูมิปั๊บอารมณ์ตัด ถ้าตัดก็ไม่ได้ทิ้งงานนะ แต่อารมณ์ต่างกันแต่เสริมขึ้น อารมณ์มุ่งเข้าตัดกิเลสตรง เพราะพุทธภูมิไม่ตัดกิเลส พุทธภูมิทรงฌานมากกว่า หนักไปในเรื่องฌาน พอใช้วิปัสสนาญาณมากเข้าอารมณ์มันเบาลง มันต่างกัน
พระโพธิสัตว์นี่ พระอรหันต์ไม่ยอมนั่งหน้านะถ้ารู้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์จริงๆ ถ้าอารมณ์เข้มปั๊บพระอรหันต์ไม่นั่งหน้า แม้พวกนั้นบวชหนึ่งวัน พระอรหันต์บวช ๑๐๐ วัน เขาไม่นั่งหน้าพระโพธิสัตว์ เขารู้ค่า คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องปฏิบัติเลยอรหันต์ พระสาวกปกติบำเพ็ญบารมี ๑ อสงไขยกับแสนกัปเท่านั้น พระพุทธเจ้าปัญญาธิกะ ๔ อสงไขยกับแสนกัป ถ้าจิตของเขาถึงปรมัตถบารมี เขาเลยอสงไขยสองอสงไขยมาแล้วต้องเป็นอสงไขยที่ ๔ จึงจะเป็นปรมัตถบารมี พระโพธิสัตว์เหมือนพวกเรียนวิชาครู เรียนมาเพื่อเป็นครู จะต้องเข้มแข็ง ถ้าไปโดนศรัทธาธิกะ ต้องหวด ๘ อสงไขย ถ้าวิริยาธิกะ ๑๖ อสงไขย
ฉันนี่วิริยาธิกะ ทำงานทุกอย่าง สบายไม่มี สาวกภูมิก็พุ่งจริตอย่างเดียว แต่สาวกภูมิสำหรับพวกฉันนี่ เป็นวิริยาธิกะหมด พวกตามเป็นวิริยาธิกะ เฉพาะลูก ๘๐,๐๐๐ กว่าแล้ว พวกไม่คิด เป็นกองทัพใหญ่เลย ถ้ายกมารวมกันนี่หลายแสน กองทัพนะ ลูกฉันน่ะมีบ้าทุกคน ตีฉิบหายหมด บ้าเหมือนพ่อมัน
เมื่อกี้นั่งคุยกับแม่ศรี อยู่พักหนึ่ง เขาทำภาพเก่าๆคือว่า คนนี้เขาต้องดึงภาพเก่ามาให้เห็นนะเพื่อเป็นการสั่งสอนแนะนำคน โยมท่านพูด บอก "เออ...ลูกคุณ ลูกกับพ่อก็เหมือนกัน แม่พ่อก็แบบเดียวกัน ลูกก็แบบพ่อกับแม่" เราก็ไม่รู้ว่าท่านพูดว่ายังไง แม่ศรีก็ทำตาม บอก "ดูซิ ลูกผู้หญิง ลูกผู้ชายมันบ้าเหมือนพ่อ มันบ้าเหมือนแม่หมด" พ่อแม่มันชอบรบใช่ไหม พ่อแม่คว้าดาบเข้าไป ลูกจะคว้าอีโต้ได้ไง ก็ไปตามเข้าป่าไป ก็รบกันแหลกมานาน พวกนี้จึงต้องใช้พวกวิริยาธิกะ นี่ต้องผ่านหนักทุกอย่างหมด ไม่มีอะไรเบา งานทุกอย่างเต็มไปด้วยความลำบาก
พวกเราที่นั่งๆอยู่ที่นี่ทั้งหมด ท่านถึงพูดได้ว่าไปหมด เพราะกำลังเลย กำลังนี่เลยแล้ว แต่ว่าจุดใดจุดหนึ่งที่จะเข้าถึงมันยังขาดอยู่นิดเดียวเพราะอารมณ์ไม่ถึง ทุกอย่างมันเลยหมด มันเต็มหมด อย่างพวกเรานี่ขาดอันเดียว คือ ขาดอารมณ์ตัดสิน ทำไมจึงขาดอารมณ์ตัดสิน ขาดเพราะว่าอารมณ์เวลานั้นมันยังไม่ถึง เพราะที่ผ่านมานี่ การรบก็ดี การบริหารก็ดี มันมีกรรมบังอยู่หนุนอยู่ พอถึงจุดนั้นปั๊บตัด ๒ เดือนมันหลุดเลย ง่ายนิดเดียว ฉันรู้แล้วว่ามันง่าย
พระโพธิสัตว์จริงๆ เวลานี้มีเกือบแสนที่เต็มอัตรา เต็มอย่างพระศรีอาริย์น่ะ เต็มคอยคิว นั่งยิ้มอยู่ชั้นดุสิต ปรารถนาพุทธภูมิ ยังไม่พบพระพุทธเจ้าพยากรณ์ ยังไม่ถือว่ามีคติแน่นอน ต้องพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์น่ะ มีคติแน่นอน ถ้าเป็นปัญญาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมีต่อไป ๔ อสงไขยกับแสนกัป ศรัทธาธิกะ ๘ อสงไขยกับแสนกัป วิริยาธิกะ ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป สบายมาก อยากเป็นไหม
เป็นสาวกภูมิก็พอแล้ว รีบไปดีกว่า แต่อย่าไปขัดคอกันนะ ถ้าคนที่เขามีวิสัยพุทธภูมิอยู่ก็พูดกันไม่รู้เรื่องเหมือนกัน
ผู้ปรารถนาพุทธภูมิไม่มีความเป็นพระอริยะ มีแต่ฌานโลกีย์เพื่อคุ้มครอง จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องพิสูจน์ทุกอย่าง ตั้งแต่อเวจีขึ้นมาต้องรู้หมด หมายความว่า ถ้าบารมียังต่ำขั้นฌานโลกีย์ ยังคุมไม่ถึงฌานขั้นต้น ฌานก็ไม่มั่นคง ยังมีโอกาสพลาดลงอบายภูมิ ถ้ามีบารมีเป็นอุปบารมี ก็ปลอดบ้างไม่ปลอดบ้าง ถ้าเป็นปรมัตถบารมีนี่ปลอดหมด กว่าจะเลื้อยแต่ละบารมีนี่ โอ้โฮ ฉันลองดูแล้ว
สำหรับท่านที่บำเพ็ญตนปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องสร้างกำลังใจให้ถูกต้อง มิฉะนั้นการก้าวเข้าสู่ฐานะพุทธภูมิจะไม่มีผล การปรารถนาพุทธภูมิเป็นของดี แต่จะต้องทำความรู้สึกไว้เสมอว่า เราปฏิบัตินี้เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เราต้องการรื้อสัตว์ขนสัตว์ที่มีความทุกข์ให้มีความสุข จิตจะต้องคิดอยู่เสมอว่า ทุกข์ของตนไม่มีความหมาย แต่ทุกข์ของชาวประชาทั้งหลายเป็นภาระของเรา เขาทำกำลังใจกันแบบนี้
หมายความว่า เราจะทุกข์แค่ไหนนั้นมันเป็นเรื่องของเรา ไม่มีความสำคัญ จิตใจของเรานั้น เราคิดว่าเราจะพ้นทุกข์ได้ เพราะว่าเราช่วยเหลือความสุขแก่บรรดาประชาชนที่มีความทุกข์ ถ้าเราเปลื้องทุกข์เขาได้ เราก็เป็นคนหมดทุกข์ เราสร้างให้เขาเป็นคนมีความสุขได้เราก็เป็นคนมีความสุข จิตใจของพระโพธิสัตว์มีอารมณ์อย่างนี้ แต่ทว่าให้เป็นไปตามบารมี
บารมีของพระโพธิสัตว์นั้น แม้จะเป็นการเริ่มต้นแห่งการปรารถนาพุทธภูมิ กำลังใจเต็มเปี่ยมด้วยเมตตาปรานี ก็จะมีบริษัทมาก จะมีบริวารมาก เป็นการฝึกกำลังใจของนักปฏิบัติเพื่อจะได้ซ้อมกำลังใจของเราว่ามีความหนักแน่นเพียงใด
นักปรารถนาพุทธภูมิจะต้องมีทั้งขันติและโสรัจจะ ขันติ อดทนต่อความยากลำบากทุกประการ เพื่อความสุขของปวงชน โสรัจจะ แม้จะกระทบกระทั่งทำให้ใจตนไม่สบายเพียงใดก็ตาม ก็ทำหน้าแช่มชื้นไว้เสมอ นี่ก้าวแรกสำหรับพุทธภูมิ และกำลังใจอีกส่วนหนึ่งที่จะเว้นไม่ได้นั่นคือ พระนิพพาน จงอย่าคิดว่าถ้าจิตเราเกาะพระนิพพานแล้วความเป็นพุทธภูมิจะหายไป ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ต้องถือว่า เป็นผู้มีกำลังใจต่ำ ก้าวไม่ถึงก้าวสำคัญของพุทธภูมิ
พุทธภูมิจะต้องมีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราเป็นผู้ที่ต้องการพระนิพพาน อารมณ์ใดที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงแนะนำในด้านวิปัสสนาญาณ ต้องเกาะให้ติด และมีกำลังจิตใช้ปัญญาพิจารณาไว้เสมอ เพื่อความสุขของจิต เพื่อปัญญาเลิศแล้ว ก็มีจิตตั้งไว้เสมอว่า ถ้าหากจิตของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเมื่อไหร่ เมื่อนั้นบารมีของเรานั้นไซร้ จะเข้าเต็มเปี่ยมในขั้น พุทธวิสัย ชื่อว่า การที่เราจะเข้าพระนิพพานคนเดียว เราไม่เข้าใจ มองไว้เข้าใจว่า บุคคลใดที่มีความทุกข์ในโลกที่ยังมีความฉลาดไม่พอ บุคคลนั้นเราเองจะเป็นผู้อุ้มเขาไปสู่แดนเอกันตบรมสุขคือพระนิพพาน อันนี้ เป็นกำลังใจของท่านที่ปรารถนาพระโพธิญาณ
พุทธภูมิมีจุดดึงมาก เพราะเกี่ยวกับครู มีหน้าที่ในการเป็นครู การที่จะเป็นครูเขานี่ จะต้องลำบาก ทุกอย่างจะต้องผ่านหมด พวกพุทธภูมินี่ถ้าไม่จบกรรมฐาน ๔๐ กอง ยังไม่ไปหรอก ต้องล่อกันมาเป็นแสนชาติเลย ไม่ใช่ชาติเดียวนะ ไม่ใช่ชาติสุดท้ายก็ได้ ๔๐ ไม่ใช่ ต้องว่ากันมาเป็นแสนชาติ สังเกตดูพระพุทธเจ้า ท่านได้อภิญญามาตลอด ท่านเหาะตลอด
เมื่อสัก ๒ - ๓ เดือนที่ผ่านมา ฉันป่วยหนัก งานของฉันก็หนักขึ้นมา จะเร่งให้มันเสร็จ ค่าใช้จ่ายสูงมาก วันนั้นก็วิตกว่า ถ้าอาการอย่างนี้ก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ แต่ว่างานจะคั่งค้างหรือไม่มันไม่เกี่ยวกับเรา เราอยู่เราทำ ตายก็ตายไป หมดเรื่องหมดราว ก็ปรากฏว่าวันนั้นพระท่านมา ท่านเรียกประชุมพระโพธิสัตว์ทั้งหมด แล้วท่านก็บอกว่า พระโพธิสัตว์ทุกองค์ก็ขอให้ช่วย ก็เป็นอันว่าพระศรีอาริย์ท่านร่วมด้วย
พระโพธิสัตว์มีเยอะนะ พระโพธิสัตว์จริงๆ เวลานี้มีเกือบแสนที่ยังติดแอ้เต็มอัตราอยู่เยอะแยะ เต็มอย่างพระศรีอาริย์น่ะ เต็มคอยคิด นั่งยิ้มอยู่ชั้นดุสิต วันที่ท่านเรียกประชุม พระโพธิสัตว์ไม่น้อยเลยนะ ขนาดเต็มที่แล้วนี่ สวยจริงๆ แพรวพราวเป็นระยับ ทั้งเต็มและไม่เต็มท่านเรียกมาหมด ท่านบอก "ให้ช่วยกันนะ งานของฉันเอง" ทุกองค์ก็เลยรับ (ถ้าลูกหลานระลึกถึงและขอให้ท่านสงเคราะห์) ก็ทำได้เลย
-
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
copy from : หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม 7 (ตอบโดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) <HR>
<CENTER>ผู้ชายปรารถนาพุทธภูมิ
</CENTER>
ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ ผมดูหนังทางโทรทัศน์เรื่อง พระเวสสันดร ดูแล้วเกิดความเลื่อมใส นั่งดูด้วยความเคารพ โดยคิดว่าเป็นพระเวสสันดรองค์จริง เมื่อท่านให้ทานต่าง ๆ เพื่อปรารถนาพระโพธิญาณ ผมก็ยกมืออนุโมทนาด้วยความยินดี และตั้งจิตอธิษฐานว่า... <MENU>"ด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าได้อนุโมทนา ในการสร้างบารมีของพระเวสสันดรในครั้งนี้ แม้พระเวสสันดร ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพียงไร ขอให้ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญบารมีจนครบถ้วน ๓๐ ทัศ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลองค์หนึ่งเหมือนกับพระเวสสันดรด้วยเถิด"</MENU>กระผมอยากจะทราบว่าการตั้งใจปราถนาของกระผมจะสำเร็จสมความตั้งใจไหมครับ?
หลวงพ่อ : จะเริ่มเป็นพุทธภูมิทันทีเมื่อตัดสินใจ คือว่าเรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่นะ คนที่ถามนี่ใครนะ เข้มแข็งมากนี่ คือว่าเรื่องความปรารถนาพุทธภูมินี่ไม่ใช่เรื่องเล็กนะ ถ้าตั้งใจที่จะปรารถนาพุทธภูมิเป็นพระโพธิสัตว์เดี๋ยวนั้นนะ แล้วก็ถ้าตั้งใจแบบนี้นะ ถ้าคิดว่าจะไปนิพพานชาตินี้ต้องลาพุทธภูมิ ความจริงปรารถนาพุทธภูมิดี...ดีมาก จะเล่านิทานให้ฟังเรื่องหนึ่งเอาไหม แต่เคยเล่าทีไรมันได้แสนบาทนี่...(หัวเราะ)
คือว่ามีพระอรหันต์องค์หนึ่ง เป็นปฏิสัมภิทาญาณในสมัยพระพุทธเจ้า ฉันก็จำชื่อไม่ได้เสียแล้ว ท่านมีสามเณรองค์เล็ก ๆ อายุ ๗ ขวบอยู่องค์หนึ่ง เวลาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าท่านก็เอาสามเณรไปด้วย เวลาไปหาพระพุทธเจ้าท่านก็กราบพระพุทธเจ้าหลายครั้ง
ต่อมาเวลาขากลับเณรน้อยก็เดินตามหลัง เณรน้อยก็คิดว่าอาจารย์ของเราเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอรหันต์อันดับสูงสุด ในด้านของความสามารถอรหันต์อีก ๓ เหล่าสู้ไม่ได้ แต่ทว่าอาจารย์ของเรายังต่ำกว่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั่งสูงกว่า...สู้ไม่ได้ ต่อไปนี้เราปรารถนาพุทธภูมิดีกว่า เราคิดว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าต่อไป พอแกคิดเสร็จอาจารย์ก็หยุด บอก..."เณร! เดินข้างหน้า"
เณรก็เดินไปเดินมาแล้วก็นึก เอ...เป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีมาก เป็นอรหันต์ปกติสาวกบำเพ็ญบารมีแค่ ๑ อสงไขยกับแสนกัปถึงจะเป็นอรหันต์ได้ พระพุทธเจ้าขั้น ปัญญาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย กับแสนกัป ศรัทธาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขยกับแสนกัป วิริยาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป จึงเข้านิพพาน เราเป็นอรหันต์ธรรมดาดีกว่า อาจารย์บอก..."เณร! เดินหลัง" อาจารย์ทำแบบนี้ ๓ เที่ยว
เณรก็ถามว่า "อาจารย์ครับ ประเดี๋ยวให้ผมเดินหน้า ประเดี๋ยวให้ผมเดินหลัง มันเรื่องอะไรกันครับ?"
อาจารย์ก็ถามว่า "ขณะที่ฉันให้เธอเดินหน้า เธอคิดอะไร?"
เณรบอก "ผมคิดอยากเป็นพระพุทธเจ้าครับ"
อาจารย์บอก "นั่นแหละ...มันเป็นกันตั้งแต่ตอนนี้ เริ่มเป็นเมื่อคิด"
ไป ๆ มา ๆ ไม่เอาดีกว่า เป็นสาวกดีกว่า ก็รวมความว่า...ถ้ามีความตั้งใจปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า เริ่มเป็นพระโพธิสัตว์ตั้งแต่เริ่มตัดสินใจ อย่าไปคิดว่ายังไม่เป็นนะ
-
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
written by : หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม 7 (ตอบโดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) <HR>
<CENTER>ผู้หญิงปรารถนาพุทธภูมิ
</CENTER>
ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าขา ถ้าผู้หญิงจะปรารถนาพุทธภูมิบ้างอย่างนี้จะปรารถนาแบบไหน...นานไหมเจ้าคะกว่าจะได้เป็น?
หลวงพ่อ : สองวันก็ได้เป็น!
ผู้ถาม : พุทธภูมินี่นะ...
หลวงพ่อ : ใช่...ความจริงประเดี๋ยวเดียวนะ แป๊บเดียวได้เลย
ผู้ถาม : ก็ไหนเขาบอกว่าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นอสงไขยกำไรแสนกัป
หลวงพ่อ : ไม่ใช่หรอก...มีปากกาด้ามหนึ่ง กระดาษแผ่นหนึ่งเขียน "พุทธภูมิ" ได้เลย ก็บอกแค่ปรารถนานี่...ไม่ได้บรรลุนี่
ผู้ถาม : แหม...เสียท่า
หลวงพ่อ : คือปรารถนาพุทธภูมิได้ จะบรรลุเมื่อไร ฉันพยากรณ์ไม่ได้หรอก ถ้าเราปรารถนาพุทธภูมิยังว่าลอย ๆ ยังไม่พบพระพุทธเจ้าพยากรณ์ใช่ไหม...ยังไม่ถือว่ามีคติแน่นอน ต้องพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์น่ะ...มีคติแน่นอน ถ้าเป็น ปัญญาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมีต่อไป ๔ อสงไขยกับแสนกัป ถ้าเป็น ศรัทธาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขยกับแสนกัป ถ้าเป็น วิริยาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป สบายมาก จะเป็นไหม...? ก็เป็นสาวกภูมิก็พอแล้ว รีบไปดีกว่า แต่อย่าไปขัดคอกันนะ อย่าไปคิดว่าของเขาจะช้าเพราะกำลังเขาพอใช่ไหม...
ผู้ถาม : ครับ ๆ ๆ มิน่าเล่าเจอพระบางองค์ พอคุยถึงเรื่องมโนมยิทธิ โอ๊ย! ไม่ดีหรอก...เราปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ อย่าไปคุยเรื่องนั้นเลย
หลวงพ่อ : ดี...ดีมาก
ผู้ถาม : แสดงว่า...
หลวงพ่อ : พระยายมเขาจะได้ไม่ว่างไง!
ผู้ถาม : ทำไมล่ะครับ?
หลวงพ่อ : ปรารถนาพุทธภูมิไม่มีความเป็นพระอริยะ มีแต่ฌานโลกีย์เพื่อคุ้มครอง ถ้าคนจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องพิสูจน์ทุกอย่าง ตั้งแต่อเวจีขึ้นมาต้องรู้หมด
ผู้ถาม : รู้หมดที่หลวงพ่อว่านี่หมายความว่า...
หลวงพ่อ : คือหมายความว่า ถ้าบารมียังต่ำขั้นต่ำฌานโลกีย์ยังคุมไม่ถึง ฌานขั้นต้นฌานก็ไม่มั่นคง ใช่ไหม...ยังมีโอกาสพลาดลงอบายภูมิ ต่อมาถ้าบารมีเป็น อุปบารมี ก็ปลอดบ้างไม่ปลอดบ้าง ถ้าเป็นปรมัตถบารมี นี่ปลอดหมด กว่าจะเลื้อยได้แต่ละบารมีนี่ โอ้โฮ! ฉันลองดูแล้ว
ผู้ถาม : เป็นยังไงครับ?
หลวงพ่อ : แหม...ไม่มีเหงื่อจะไหล มันไหลเสียจนหาเหงื่อไหลไม่ได้
ผู้ถาม : โอ...หนักจริง ๆ นะ" (พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่เรารู้จักกันดี คือ พระเวสสันดร การบำเพ็ญบารมีของท่านในชาติสุดท้าย กระทำได้ยากอย่างยิ่ง)
-
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
written by : ท่านสมณะโพธิรักษ์ <HR>
<CENTER>ความรัก มิติที่ ๑๐ พุทธภูมินิยม
</CENTER>
มิติที่ ๑๐ คือ ความรักของผู้ที่ "จบสัจจะแห่งความรัก" สำเร็จสมบูรณ์สำหรับประโยชน์ตนแล้ว ตนจึง "ไม่มีความรัก" สำหรับตนอีก เหลือแต่ "ความรัก" ผู้อื่น หรือความรักที่เป็นอุดมการณ์ ความรักเพื่อ มวลมนุษยชาติ
"ความรัก" ที่เป็นอุดมการณ์ ขั้นมิติที่ ๑๐ นี้ก็คือ ความรักที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ชนิดสุจริตใจอย่างบริสุทธิ์แท้ จริง หรือเป็นความต้องการ "ให้" แก่ผู้อื่น ชนิดที่ "ไม่มีความ ลำเอียง" (ไม่มีอคติ ๔) สมดุลสมบูรณ์ที่สุด
เพราะความรักมิติที่ ๑๐ นี้ หากจะพูดให้ละเอียดลงไปอีกที ก็เป็นความรัก ที่"ไม่มีความรัก" ฟังเพียงคำพูดขั้นต้นนี้ ก็คงจะงงๆอยู่ ความจริงของสภาวะก็คือ ในจิตมีอาการ "เกิดความต้องการ" จริง แต่อาการต้องการนั้น มิใช่ "ความต้องการเพื่อตนเองจะได้ ตนเองจะมี ตนเองจะเป็น แม้แต่ตนเอง จะเสพรส" หรือ "มิใช่อาการต้องการเพื่อตนเอง จะได้เสพผล ของความต้องการนั้นๆ ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม" เรียกด้วยภาษากันว่า "ความรัก" หรือเรียกว่า "ความต้องการ" ก็ไม่ผิดเลย แต่เป็น"ความรัก-ความต้องการ" ที่มิได้ "ต้องการผลของความต้องการ จากกรรมหรือจากการกระทำนั้นๆมาเพื่อตนเอง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เพื่อ "เป็นรสอร่อย" (อัสสาทะ) บำเรอตนเลย อย่างสะอาดบริสุทธิ์ที่สุด"
"ความรัก" ที่ไม่มีความรัก นี้ จึงแปลกไปจากความรักมิติอื่นๆ อย่างสัมบูรณ์สูงสุด โดยเฉพาะ แปลกจาก "ความรัก แบบโลกีย์" คนละโลก คนละทิศ คนละเรื่องไปเลย เพราะเป็น "ความต้องการ" ที่ "ปราศจากตัวตน" อย่างสัมบูรณ์ที่สุด ดังนั้น คำว่า "ความเห็นแก่ตัว" จึงไม่มีอย่างสะอาดบริสุทธิ์ที่สุด แต่ผู้ มี "ความรัก"มิติที่ ๑๐ นี้ แน่นอนว่า... หาก "ทำงาน" ท่านก็ต้อง ทำด้วย "ความต้องการ" หรือทำด้วย "ความอยากได้" ด้วย "ความยินดี" ด้วย "ความประสงค์" ด้วย "ความมุ่งหมาย" ด้วย "ความรัก" ด้วย "ความปรารถนา" ด้วย "ความเผื่อแผ่" ด้วย "ความเกื้อกูล" ฯลฯ อะไรอีกมากมาย หลากหลายคำความ ที่มีนัยะนี้ ทว่าท่าน "ทำ" ชนิดไม่มีตัวตนของท่านต้องการมา ให้ท่านได้ ท่านมี ท่านเป็นเลย
แม้คำว่า "เพื่อท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้า" ท่านก็รู้แจ้งเป็นที่สุดแล้วว่า ท่านไม่ต้อง "อยากได้อยากเป็น" เลย เพราะหากท่าน "ทำ" อะไรที่เป็นสมรรถนะ เป็นทักษะใดๆอันจะพึงเกิด พึงเป็น ที่พึงเรียกว่า "บารมี ๑๐ ทัศ" ก็ตาม ที่จะสะสมตามกรรม มันก็ย่อมเป็นไปตาม "กรรม" ที่ท่านต้องอุตสาหะวิริยะนั้นๆ ถ้า แม้นไม่ "ทำ" มันก็ไม่เกิดไม่เป็นไม่มี ไม่ได้สั่งสม หากท่าน "ทำ" มันก็เกิดมันก็มีมันก็สะสม ท่านก็ไม่เห็นจะต้องการ ไม่เห็นจะต้องอยากได้ มันก็เป็นของท่านโดยธรรม โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
เมื่อท่าน "ทำ" ลงไปจริง เท่าที่ท่านสามารถอุตสาหะ "มีกรรม" หรือ "มีการกระทำ" "ทำ" ในที่ลับ "ทำ" ในที่แจ้ง ใครอื่นจะรู้จะเห็น หรือไม่รู้ไม่เห็นด้วยก็ตาม ไม่ว่า "ทำ" ทางกาย (กายกรรม) "ทำ" ทางวาจา (วจีกรรม) "ทำ" ทางใจ (มโนกรรม) ล้วนเป็นของท่านจริงทั้งสิ้น ไม่มีขาดหกตกหล่น หรือไม่มีรั่วซึม สูญหายไปไหน แม้แต่นิดน้อยยิ่งกว่าธุลี ใครแบ่ง "กรรม" ใครแย่ง "การกระทำ" ของท่านไปไม่ได้ ท่านจะไม่รับ ไม่เอาเป็นของท่านก็ไม่ได้ เพราะ "กัมมัสสโกมหิ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ" เป็น "ทรัพย์" ของตนที่แน่นอนที่สุด ยิ่งกว่าสัจจะใดๆ
ชีวิตที่มีของท่านจึงคือ "กรรม" ชีวิตของท่าน ท่านรู้แจ้งชัดที่สุดแล้วว่า มี "กรรม" เป็น "ทรัพย์แท้" ดังนั้น แน่นอน.. ท่านไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพปาปัสส อกรณัง) เด็ดขาด เพราะท่าน สามารถ "ไม่ทำ" ได้เด็ดขาดแล้วจริง ท่านทำแต่กุศลให้ถึงพร้อม (กุสลัสสูปสัมปทา) และเป็น "กุศล" ที่สะอาดบริสุทธิ์ แน่แท้ด้วย เพราะท่านได้ทำการ "ชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วสะอาดหมดจด" (สจิตตปริโยทปนัง) จนเสร็จแล้ว อย่างถาวรยั่งยืนแน่แท้ (ธุวัง, สัสสตัง)
ท่าน "ทำงาน" ก็คือ เพื่องานเท่านั้น ทำให้โลก (โลกานุกัมปา) ทำให้มนุษยชาติ ทำเพื่อความเป็นประโยชน์ ของมวลมนุษยชาติ (พหุชนหิตายะ) ทำเพื่อเป็นความสุข ของมวลมนุษยชาติ (พหุชนสุขายะ)
ดังนั้น "กุศล" ที่ท่านทำทั้งหลาย ย่อมมีเกิด ย่อมมีเป็น ตามจริง ถ้าจะว่า "กุศลกรรม" ที่เกิดที่เจริญนั้น เป็น "ของท่าน" โดยธรรม..ก็ใช่ แต่มันก็เป็นเพียงภาวะของ "รูปธรรม" มันย่อมมีเกิด..มีเป็น..ก็จริง แต่ภาวะของ "นามธรรม" ในจิตท่านมันมิได้มี "ตัวตน" ใดๆเกิด โดยเฉพาะไม่มี "กิเลส" ใดๆเกิดด้วยเลย
นั่นคือ ไม่มี "ความรัก" ที่หมายถึง "ความเห็นแก่ตัว"
ความจริงนั้นอาการชนิดนี้คืออาการของ "ความรู้ขั้นพิเศษ" หรือ "โลกุตรปัญญา" เต็มๆล้วนๆ ที่ "ต้องการทำ" อะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย หรือวาจาหรือใจ ก็ให้เกิดผลเพื่อผู้อื่น เป็นเป้าหมายตรงนั่นเอง เพราะท่านไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง ท่านทำโดยไม่มีความเสพแก่ตนแล้ว แม้แต่ความลำเอียง เพื่อ "เห็นแก่พวกของตัว" ก็ไม่มีแล้วจริง [การ"เห็นแก่พวกของตัว" นั้นก็เพื่อสร้างมวล ขึ้นมาเป็นองค์ประกอบ ให้เกื้อหนุนความได้เปรียบ อันจะมีผลต่อตนในที่สุดโดยแท้] เมื่อไม่เหลือ "ความเป็นตน (อัตตา) และของตน (อัตตนียา)" สิ้นเชิงแล้วฉะนี้ การกระทำใดๆจึงเป็น ความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ที่สุด
ดังนั้น จึงไม่มี "ความรัก" ที่เป็นของตนเอง หรือ เพื่อตนเอง จะมีก็แต่ "ความรัก" ที่เป็นของผู้อื่น หรือท่านจะรักเหมือนผู้อื่นเขารักก็ได้ทั้งนั้น แต่ความรักของท่านเป็นไปเพื่อผู้อื่นเป็นหลัก ที่ตนเองได้นั้น เป็นเพียงผลพลอยได้ ตามธรรมดา
ดังนั้น หากจะมี "ความรัก" ท่านก็สามารถมีได้หลายแบบ <MENU>ท่านสามารถมี "ความรักแบบ 'อมตชน' ก็ได้"</MENU>
ท่านสามารถมี "ความรักแบบ 'อาริยชน' ก็ได้"
ท่านสามารถมี "ความรักแบบ 'พระเจ้า' ก็ได้"
ท่านสามารถมี "ความรักแบบ 'กัลยาณปุถุชน' ก็ได้"
ยกเว้น "ความรักแบบ 'ปุถุชน' ไม่มีอีกแล้ว ท่านมีไม่ได้" <MENU></MENU>สรุปแล้วก็คือ ท่านสามารถมี "ความรักแบบโพธิสัตว์" ตามฐานะของแต่ละท่าน เท่าที่ "ภูมิจริง" ของแต่ละท่านมี หรือเท่าที่ท่านได้สร้าง สะสมบารมีมาเท่าใด ก็เท่านั้น ของแต่ละท่าน
ลองนึกทบทวนดูซิ ที่ได้อธิบายมาแล้วในมิติที่ ๘ ว่า "ความรัก" นั้น มันคืออะไร? ความรัก ก็คือ "ความปรารถนา" หรือแปลว่า "ความต้องการ" และแยกเป็นความต้องการ "ให้" กับ ความต้องการ "เอา" สำหรับผู้มีความรักมิติที่ ๑๐ นี้ มีแต่ความต้องการ "ให้" ไม่มีความต้องการ "เอา" แล้วนั่นเอง
และคงพอจำได้ ภาษาทางศาสนาเรียก "ความต้องการ" ว่า ตัณหา ซึ่งแบ่งออกเป็น <MENU>๑. กามตัณหา </MENU>
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา<MENU></MENU>แต่สำหรับผู้มีความรักมิติที่ ๑๐ นี้ มีก็เพียงวิภวตัณหาเท่านั้น ไม่มีกามตัณหา ไม่มีภวตัณหาแล้ว อีกทั้งวิภวตัณหาของผู้มีความรักระดับมิติที่ ๑๐ นี้ ก็มิใช่วิภวตัณหาที่มีคุณลักษณะ อยู่แค่ขั้น "กัลยาณปุถุชน" หรือ "อาริยชน" เท่านั้นแค่นั้น แต่เป็น วิภวตัณหา ที่มีคุณภาพถึงขั้น "อมตชน" ซึ่งสูงขึ้นๆไปตามภูมิ แห่งบารมีของพระโพธิสัตว์ แต่ละองค์กันทีเดียว
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มี "ความรักขั้นมิติที่ ๑๐" จึงได้แก่บุคคลที่เป็น "อมตชน" เท่านั้น จึงจะเป็น "ความรัก มิติที่ ๑๐" ได้อย่างเข้มข้นบริสุทธิ์สัมบูรณ์จริง -
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
written by : ท่านสมณะโพธิรักษ์ <HR>
<CENTER>เกิดมาเพื่อสะสม สัพพัญญูตญาณ
</CENTER>
คนเรามาปฏิบัติธรรมเพื่อหวังอะไร ? ยังหวังวิมุติ-นิพพาน ก็เท่ากับยังมีสิ่ง แลกเปลี่ยน จะว่าเป็นอามิสล่อ ก็ไม่ว่าอะไร ขอให้เป็นวิมุติ-นิพพานแท้
เราล้าง "โลกียสุข" ทั้งปวงที่มี จนสูญ หมดเกลี้ยง ถึงขั้นนิพพาน-วิมุติจริง แล้วรสสุขก็ไม่มี ทุกข์ก็เลย พลอยไม่มีไปด้วย แล้วอย่างนี้ได้อะไรมาแลกเปลี่ยน
สิ่งเหล่านี้สูงสุดแล้วไม่มีภาษาเรียก แต่เป็นสิ่งจริง
อัตตภาพของ "พระโพธิสัตว์" ชั้นสูง ไม่ติดโลกธรรม ไม่มียินดีกับสรรเสริญ ไม่มียินร้ายกับทุกข์-นินทา - กล่าวร้าย เฉยได้ วางได้ เหลือแต่สภาพอุดมคติแท้ๆ เป็น "วิภวตัณหา" ที่เป็นอุดมการณ์ชัดๆ
มี "วิภวตัณหา" ปรารถนา "พุทธภูมิ" ก็เป็นอัตภาพ เป็นจิตวิญญาณ เป็นความปรารถนาอย่างถูกธรรม ทำงานด้วยความรู้ มี "โลกวิทู" มีความรู้รอบ เท่าทันโลกธรรมได้มากมาย ไม่ยินดี -ยินร้าย ว่าง สิ่งไม่เคยพบ - ไม่เคยเห็น ก็ได้ผ่าน-ได้พบ มีสติปัญญา มี "สัพพัญญุตญาณ" มี "โพธิญาณ" มากขึ้น กว้างขวางขึ้น ซ้อนเชิง ลึกลงไปในนั้นอีก ก็จะทำงานได้มาก เป็นประโยชน์ก้าวหน้าสูงส่งขึ้นไปอีก
ได้ "สัพพัญญุตญาณ" แล้ว ฟูใจไหม ? หรือ ติดใจจนปล่อยไม่ได้
เป็น "โพธิสัตว์" อย่าง "อวโลกิเตศวร" ไม่ยอมเป็น "พระพุทธเจ้า" จะเป็น "พระโพธิสัตว์" นิรันดร์ จะเป็น อย่างนั้น ก็ว่ากันไป ก็เป็นความจริงของผู้นั้น
"พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" จะมาทำงานกับโลกมนุษย์ ทุกยุคสมัยอย่างนี้ นิรันดร์ หนักหนาเหน็ดเหนื่อย อย่างไร ก็สู้ ! ก็นิมนต์เถอะ ! เพราะไม่ได้สร้างความเดือดร้อนอะไรแก่โลก เป็นบุญ-เป็นคุณแก่โลก
ศาสนาที่มีอัตตาเป็นปรมาตมัน ไม่ได้ทำลายโลก เพียงแต่ว่า "นิพพานของตนไม่มีเท่านั้น" ยิ่งเป็น "อัตภาพ" ที่ไม่ละเอียดลอออย่าง "พุทธศาสนา" ก็จะไม่มี "นิพพาน" ให้แก่ตน แล้วจะถูกทางสมบูรณ์ หรือไม่ ก็ยังไม่รู้
เรื่องซับซ้อนซ่อนเชิง ที่เป็นอามิสแลกเปลี่ยนอย่างลึกซึ้งเป็นธรรม ก็ใช้สิ่งนี้ประโลมใจฟูใจ เป็นความสุขใจ จะมาก หรือน้อยก็ตาม เหลือน้อยๆ ก็ยังไม่หมด บำเรอตนอยู่ เป็นอัตภาพที่แท้ ฟูใจนิดๆ ก็อิ่มใจ ได้สร้างสรร สิ่งดีงามเพื่อพระเจ้า ก็เป็น "วิภวตัณหา" เป็นอุดมการณ์ ใช้ประโยชน์ในโลกได้อยู่
จิตวิญญาณพระเจ้าส่งให้มาเกิด ก็เป็นพระบุตรมาทำหน้าที่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นหน้าที่ พระพรหม ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ "พระเจ้า"
ถ้ายังวนเวียนเกิดอยู่ ก็เป็นพระบุตรอยู่อย่างนั้น เป็นจิตวิญญาณที่ยังมีอยู่ ไม่หมดอัตภาพ ยังเป็นอัตภาพ ยังไม่มีนิพพาน
มี "สอุปาทิเสสนิพพาน" แต่สังสารวัฏยังไม่หมด
ร่างกายนี้ ตาย "อนุปาทิเสสนิพพาน" ก็ยังไม่ปรินิพพาน ก็จะยังวนเวียนมาเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ ทำประโยชน์ -ท่านต่อไป ประโยชน์ตน ก็คือ ตนเองเก่งขึ้น ยังยินดีใน "โพธิญาณ" สะสมไปๆๆ มากเท่าไร ก็แล้วแต่ จะไม่ปฏิญาณ ขอเป็น "พระโพธิสัตว์" อย่างพระอวโลกิเตศวร ก็เชิญ !
ถ้าไม่ปฏิญาณอย่าง "พระอวโลกิเตศวร" สะสมโพธิญาณมาก จนถึงขีดขั้นเป็น "พระพุทธเจ้า" จริง จะปฏิญาณตนเป็น "พระพุทธเจ้า" เมื่อไร ก็ปฏิญาณได้เมื่อนั้น ก็ทำได้ ! เมื่อถึงกาละเทศะ ที่ควรจะทำ !
ถึงขีดสูงสุด เป็น "พระพุทธเจ้า" จะเลิก-จะอยู่-จะดับอย่างไร ก็รู้สูงสุด เรียกว่า "โลกุตระ" เหนือโลกจริงๆ เหนือภพชาติ เหนือสังสารวัฏ
สุดท้ายแล้วก็ "ปรินิพพาน" จบจริงๆ สูญไปเลย เลิกกัน
แต่ถ้ายังไม่จบ ก็ยังไม่จบก่อน เป็นธาตุรู้ที่ต้องรู้ตัวตน มีสติสัมปชัญญะ ไม่มี บังเอิญ รู้ว่า "ควรอย่างไร ไม่ควรอย่างไร" ก็พยายามทำให้แม่น คม ชัด
จะเกิดก็เกิดอย่างที่รู้ จะดับก็ดับอย่างที่รู้ รู้ความเกิด-ดับสูงสุด เกิดดีที่สุด ดับก็ดับอย่างไม่มีอะไรเหลืออีก ดับอย่าง "ปรินิพพาน" เรียนให้จริง แล้วจะรู้ แม้ลึกซึ้งก็จะพูดถูก ไม่สับสน
สุดสิ้นความเป็นอัตภาพ อย่างพุทธศาสนา ก็จะเป็นพระโพธิสัตว์ที่ไม่มีสภาพของโลกียะเลย เป็นสุญภาพ เป็นอัตภาพ ที่สุญตวิหาร เป็นเมตตาวิหาร เป็นเมตตา ที่ไม่ต้องการอะไรแลกเปลี่ยน มีความเป็น "พรหม" อย่างสมบูรณ์
"พราหมณ์ หรือ พรหม" หมายถึง "จิตบริสุทธิ์ หมดสิ้นอนุสัยอาสวะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์" คำว่า "พราหมณ์" จึงหมายถึง "อรหันต์" ด้วย
อาตมาพูดเรื่องลึกซึ้งให้ฟัง ระดับ "เบื้องต้น-ท่ามกลาง-บั้นปลาย" แต่ละคน จะทำฐานะไหน ก็ทำไป ตามความเป็นจริง อย่าหลงตนก็แล้วกัน
อย่าทำผิดขั้นตอน ต้องให้ถูกสัดส่วนเหมาะเจาะกับตนเอง
-
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
copy from : หนังสือวิถีอนุตตรธรรม <HR>
<CENTER>บันไดสู่พุทธะ
</CENTER>
1.เคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ศิษย์ทั้งหลาย ! เจ้าเคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่าเพียงแต่เคารพเทิดทูนเฉพาะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้ามองเห็นเท่านั้น ยังต้องเคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในจิตใจของเจ้าทั้งหลายด้วย พวกเจ้าล้วนแล้วแต่พากันเคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในสถานธรรม แล้วพุทธจิตธรรมญาณในจิตใจของพวกเจ้านั้นเล่า พวกเจ้าเห็นความสำคัญและให้ความเคารพเทิดทูนอย่างแท้จริงหรือไม่ ?
ในยามที่พวกเจ้าประสบกับเรื่องราวอันใด มักจะคิดเสมอว่าจะต้องไปถามสิ่งศักดสิทธิ์ แต่พวกเจ้าเคยคิดบ้างหรือไม่ว่าทำไมจึงไม่คิดถามตัวเอง ถามพระพุทธะที่อยู่ในธรรมญาณของเจ้า พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า -
7. อ่อนน้อมถ่อมตนมีอัธยาศัยไมตรี (เชียนกงเหออ่าย)
การแสดงความอ่อนน้อมถ่อม ตนมีอัธยาศัยไมตรีนั้นไม่เพียงเฉพาะ ต่ออาจารย์ชี้แนะ นักธรรมอาวุโสหรือ นักบรรยายเท่านั้น แต่เจ้าจะต้องมี ความอ่อนน้อมถ่อมตน มีอัธยาศัย ไมตรีต่อทุกคน โดยเฉพาะผู้บำเพ็ญ ธรรมลองไตร่ตรองให้ดีว่าควรมีความ อ่อนน้อมถ่อมตัวมีอัธยาศัยไมตรีต่อ คนทุกคน ใช่หรือไม่ ?
ผู้ที่ได้ศึกษาคัมภีร์อี้จิงก็ย่อมจะรู้ดีว่าใน ๖๔ ขีด นั้นมีอยู่ ๖๓ ขีดที่มีทั้งดีและร้ายคู่กัน มีเพียงขีดเดียว เท่านั้นเรียกว่า -
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
written by : ท่านสมณะโพธิรักษ์ <HR>
<CENTER>ชีวิตต้องบำเพ็ญบุญ
</CENTER>
คนเราเกิดมาไม่มีอะไร เกิดมาแล้วจะเอาอะไร
ถ้าไม่มี "ประโยชน์" ก็อย่าเกิดมาเป็น "คน" เลย ! จริงๆ แล้ว คนเราเกิดมา เพื่อ "บำเพ็ญบุญ" สูงสุด !!!
ตราบใดยังไม่ได้พบ "พระพุทธเจ้า" ก็ยังไม่มีความมั่นคงเที่ยงแท้ในองค์ธรรม คนที่ไม่มีโอกาสได้ฟัง ธรรมเลย "วิบากบาป" นับไม่ถ้วน เห็นบ้างไหม ?
ไปตรวจดูได้เลย สังคมในโลกเขาทุกข์ร้อนกันขนาดไหน "วิบากบาป" มาก จนเข้าวัดไม่ได้ นั่นแหละ ไม่มี "วิบากบุญ" เลย เป็น "อเวไนยสัตว์"
ในความเป็นมนุษย์ จึงไม่มีอะไรจริงๆ เกิดมาก็วนเวียนอยู่กับบาปเวร ทุกข์ๆ สุขๆ กุศล อกุศล วนเวียนอยู่ อย่างนั้น นานนับชาติ
เราก็จะเป็นอย่างนั้น ถ้ายังไม่เข้ากระแสแห่ง "พุทธธรรม"
"ศาสนาพุทธ" มีความเที่ยงแท้ เป็นนิยตะในธรรมะที่ได้ไม่เวียนกลับ ไม่ถอดถอน มั่นคง แน่วแน่ แล้วก็ มีสิทธิ์ สั่งสมบุญขึ้นไปๆๆ จนเกิดเป็น "พระโพธิสัตว์" ไม่รู้กี่รอบๆ ก็เพื่อมาบำเพ็ญบุญ มีประโยชน์ต่อโลก ช่วยเหลือโลก
อยากเกิดอีก...ก็เกิดไป อยากอยู่อีก...ก็อยู่ไป เป็น "มหากรุณา" ของท่าน
แต่ถ้าคนไหน มี "ความเลว" อยู่ในตัวสิ ! ก็น่าหวาดเสียว ยิ่งอยู่นาน สักวันหนึ่ง คนเขาก็จะจับได้ ก็จะหมด ความเคารพลง
ถ้าอาตมาจะมีอายุยืนยาวนานสัก ๒๐๐ ปี คุณคิดว่า "อาตมาจะได้รับความเคารพ ลดน้อยลงไปหรือ ?" ก็อาตมา มีแต่ให้-เกื้อกูล-ขยัน-สร้างสรร-เอาไว้น้อย-จนไม่เอาเลย แล้วก็ไม่ได้ทรมานตนเองด้วย (อัตถกิลมถานุโยค)
อาตมายิ่งมีอายุอยู่ยาวนานเท่าไร ก็มีแต่ "บำเพ็ญบุญ" ช่วยคนให้รู้ความจริง ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ความเคารพ นับถือ ก็ต้องมากขึ้นๆ ด้วย
บำเพ็ญบุญสูงสุด ก็ได้เป็น "พระพุทธเจ้า" ช่วยขนาดนี้ พอที จบสุด ท่านก็รู้กาลกิริยาอนาคต ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป เมื่อดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ช่วงนี้ไปจนถึงกลียุค "พระพุทธเจ้า" เกิดอีก ไม่มี ! (จะเกิดอีก ต่อเมื่อ หลังกลียุคล่วงไปแล้ว)
ช่วงนี้ จึงมีแต่ลูกศิษย์ของ "พระพุทธเจ้า" เกิดมาเพื่อจะรังสรรค์สืบทอด ทำงานรับช่วงสืบสานศาสนานี้ไป ให้ถึงกาลยุค พอสมควร ที่จะหมดยุคพุทธันดร หมดช่วงระหว่างหนึ่งของ "ศาสนาพุทธ" ที่สมณะโคดม ทรงสร้างไว้
อาตมาก็เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ที่จะมาช่วยทำงานนี้ มีพระโพธิสัตว์หลายระดับปนเปเสริมสานกันอยู่ อาตมา ก็ระบุบ้าง -ไม่ระบุบ้าง ตามวันเวลาที่อาตมาจะระบุ
ใครอยากรู้ อยากเห็น ก็ติดตามฟังศึกษาละเอียดลออไป คุณก็จะเข้าใจ
แม้แต่ "พระโพธิสัตว์" ด้วยกัน ก็อาจไม่รู้กัน
แต่ "พระโพธิสัตว์" ระดับสูง จะรู้ "พระโพธิสัตว์" ระดับต่ำ และที่อวดดีไม่เคารพ "พระโพธิสัตว์" ที่สูงกว่า ก็มีเป็นธรรมดา ไม่แปลกอะไร เป็นไปได้
เพราะในช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องรับรู้ ถือว่า "เป็นคนอื่นเสียก่อน" แล้วให้ท่านทำงานในระดับอย่างนั้นไป เพราะ ถ้าท่านไม่ทำ ก็จะไม่มีการเชื่อมโยง
"พระโพธิสัตว์" ที่จะมาทำงานเชื่อมโยงกันนั้น จะต้องมี "สาระสัจจะ" ที่จริง
แล้วก็มาทำงานศาสนา ช่วยกันโปรดรื้อขนสัตว์ ชี้สัจธรรม
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องลึกซึ้ง ผู้รู้ก็จะรู้จริงๆ ว่า "ควรพูดหรือไม่ควร ควรเปิดเผยหรือไม่ควร ควรแสดงออก หรือ ไม่ควร"
อาตมาเชื่อว่า "มีหลายคนคงตั้งจิตเป็นพระโพธิสัตว์อย่างอาตมาบ้าง"
เพราะยุคใดที่ "พระโพธิสัตว์" เกิด บริวารของ"พระโพธิสัตว์" ก็ต้องเกิดเยอะ เป็นเรื่องธรรมดา และจะมีคน ตั้งจิตเป็น "พระโพธิสัตว์" เพื่อจะสืบสานงานศาสนา เป็นบริวารพรรคพวกช่วยกันทำงานต่อไป
อาตมาก็จะพากเพียรพยายามไปให้ถึงที่สุด จนเป็น "พระพุทธเจ้า" ให้ได้ ขอตั้ง "พุทธภูมิ" ช่วยรื้อขนสัตว์ ไปเรื่อยๆ เหนื่อย ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทนได้
ยุคใด ที่ "พระอรหันต์" เกิด ก็จะเกิด "พระอรหันต์" มาก
"พระอรหันต์" ก็ทำ "โพธิกิจ" พอสมควร เพื่อรื้อขนสัตว์ ทำงานสืบทอดธรรมทายาท เพราะหมดตัวตนแล้ว แต่ไม่เน้นแรง แบบ "พระโพธิสัตว์"
ถ้าชีวิตนี้ชาตินี้ ขอเป็นแค่ "พระอรหันต์" ไม่ขอต่อภพต่อภูมิสูงขึ้นไปอีกแล้ว ไม่ตั้งจิตตั้งใจเป็น "โพธิสัตว์ โพธิกิจ" ก็จะเลิกเกิด สูญได้
แต่ "พระอรหันต์" ก็เป็น "พระโพธิสัตว์" ในตัว พอจบกิจหมดสิ้นอัตตา ตัวตนทุกเรื่องทุกอย่างแล้ว ก็เหลือ ร่างกายนี้ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ ต่อไป
"พระอรหันต์" มีความสามารถ มีปัญญา มีกิจกรรมอะไร ก็ทำไปอย่างไม่ซังกะตาย เบิกบาน - ร่าเริง - มีกระจิตกระใจ - มีอิทธิบาท -มีความเพียร -ไม่เห็นแก่ตัว -เสียสละ อย่างชัดแจ้ง ให้แรงงานแจกจ่าย - เลี้ยงดู เป็นคนประเสริฐอยู่ในโลก เป็นคนผู้มีคุณค่าต่อโลก เป็นพระพรหม - เป็นพระผู้สร้าง - เป็นพระผู้ประธาน - เป็นพระผู้ให้
จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ต้องการอะไรแลกเปลี่ยน ไม่ต้องการเอามา
-
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
written by : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. ๒๕๒๓ <HR>
<CENTER>ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท
</CENTER>
ผลการวิจัยแสดงว่ามีการใช้ศัพท์ว่า บารมีในพุทธศาสนาเถรวาทมานานแล้วและมีการวิเคราะห์ศัพท์เป็น ๒ แนว <MENU>๑. มาจากศัพท์ ปรม ประกอบปัจจัยเป็นปารมี ให้ความหมายว่าความเป็นเลิศ </MENU>
๒. มาจากการประกอบปารศัพท์กับอิธาตุ ให้ความหมายว่า ธรรมเครื่องถึงฝั่ง <MENU></MENU>ความหมายที่ใช้ในคัมภีร์นั้นพอจะแบ่งกว้าง ๆ คือคัมภีร์ที่ส่วนใหญ่เรียบเรียงขึ้นในสมัยแรก (ดูบทที่ ๓) จะใช้ คำว่าบารมีในความหมายว่า ความเป็นเลิศ ผลสุดท้าย หรือความเต็มเปี่ยม ซึ่งมีทั้งที่ใช้หมายถึง ความเป็นเลิศทั่วๆ ไป ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับพุทธศาสนาบางคัมภีร์หมายถึงความเป็นเลิศในธรรมะบางหมวดธรรม และบางคัมภีร์หมายถึง ผลสุดท้ายในพุทธศาสนา คือ พระอรหัตตผล -
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
written by : คุณวิชา <HR>
<CENTER>บารมี 30 ทัศและอานิสงค์
</CENTER>
กล่าวถึงบารมี 10 ทัศก่อน มีดังนี้ <MENU>1.ทานบารมี คือการให้ทาน ทำบุญ บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ หรือบริจาค สัตว์ 2 เท้า หรือ 4 เท้า หรือไม่มีเท้า </MENU>
2.ศีลบารมี คือการรักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ
3.เนกขัมบารมี คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรือน ถือศีล 8 ขึ้นไป
4.ปัญญาบารมี คือสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมมะให้เพิ่มขึ้น
5.วิริยะบารมี คือมีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะจนกระทั่งสำเร็จ
6.ขันติบารมี คือมีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พอใจ ต่องานการ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย
7.สัจจะบารมี คือการพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดี ตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้
8.อธิษฐานบารมี คือตั้งจิตอธิษฐาน เมื่อสร้างบุญกุศลในสิ่งที่ปารถนาที่เป็นคุณงามความดี
9.เมตตาบารมี คือมีใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน
10.อุเบกขาบารมี คือมีใจเป็นอุเบกขา ต่อความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น <MENU></MENU>บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ
<MENU>1.บารมี ธรรมดาทั่วไป </MENU>
2.อุปบารมี บารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น
3.ปรมัตถบารมี บารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต
เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัส <MENU></MENU>อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์
พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
<MENU>1.เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด </MENU>
2.ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
3.ไม่เป็นคนบ้า
4.ไม่เป็นคนใบ้
5.ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
6.ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
7.ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดังพระโพธิสัตว์มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
8.ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
9.ไม่เป็นสตรีเพศ
10.ไม่ทำอนันตริยกรรม
11.ไม่เป็นโรคเรื้อน
12.เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
13.ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
14.ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
15.ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
16.เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดในปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
17.ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
18.ไม่เกิดในจักรวาลอื่น
<MENU></MENU>อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ) มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
-
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
copy from : หนังสือคุณวิเศษแห่งวิถีอนุตตรธรรม <HR>
<CENTER>จากธรรมะมาเป็นศาสนา
</CENTER>
การดำริรู้ว่า -
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
copy from : หนังสือวิถีอนุตตรธรรม <HR>
<CENTER>ธรรมะกับศาสนา
</CENTER>ธรรมะ มีหลักสัจธรรมเป็นคุณสมบัติ
ธรรมะ จึงเป็นความเที่ยงแท้ของธรรมชาติ
ธรรมะ จึงเป็นรากฐาน เป็นเหตุและปัจจัยในการก่อเกิดศาสนา
ศาสนา คือ พระธรรมคำสอนของพระศาสดา
ศาสนา มีสัจธรรมความเที่ยงแท้ของธรรมชาติเป็นหลักธรรม
ศาสนา จึงเป็นนามรูปในการนำพาให้สาธุชนเข้าไปหาธรรมะ
ธรรมะ ถ้าเปรียบเป็นเช่น ตัวตน อันเป็น หลัก
ศาสนา ก็จะเปรียบเป็นเช่น พฤติกรรม อันเป็นงาน
ถ้า ตัวตนดี หลักดี พฤติกรรม ก็จะดี งานก็จะดี
หากธรรมะกับศาสนาสมบูรณ์อยู่คู่กันในผู้ใด
ผู้นั้นก็จะเป็นปกติสุข ชีวิตมีประสิทธิภาพ
ธรรมะกับศาสนาจึงเป็นของคู่กัน
ธรรมะ ถ้าจะเปรียบเป็นเช่น ประมุขของบ้านเมือง
ศาสนา ก็จะเปรียบเป็นเช่นชาวเมือง
ถ้ามีแต่ประมุขไม่มีชาวเมืองก็จะไม่เป็นบ้านเมือง
ถ้ามีแต่ชาวเมืองไม่มีประมุขบ้านเมืองก็วุ่นวาย
ธรรมะอาศัยศาสนาจรรโลงส่งเสริม
ศาสนาอาศัยธรรมะเป็นหลักนำค้ำชู
ธรรมะกับศาสนาจึงเป็นของคู่กัน
หากอาศัยแต่ศาสนาเป็นเนื้อนาบุญ ไม่เข้าใจให้ถึงแก่นแท้คือธรรมะ
จะเหมือนดอกไม้ได้แต่เบ่งบานไม่ตกผล
หากอาศัยแต่ธรรมะเป็นลำต้น
ไม่มีศาสนาเป็นเนื้อนาบุญหรือเป็นน้ำหล่อเลี้ยง
ธรรมะที่มีอยู่ในตนก็ยากจะยืนต้นยาวนาน
ธรรมะกับศาสนาจึงเป็นของคู่กัน
-
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
copy from : หนังสือวิถีอนุตตรธรรม <HR>
<CENTER>จุดหมายของการเผยแผ่ธรรม
</CENTER>
พุทธวจนะว่า <MENU> -
<SUB>พุ ท ธ ภู มิ</SUB>
<CENTER>คำอธิษฐานวาจา
</CENTER>
<CENTER>" อิมินา ปุญญะกัมเมนะ พุทโธ โหมิ อะนาคะเต กาเล "
" ด้วยบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เทอญ "
</CENTER> -
อนุโมทนาครับ ขอแค่สาวกภูมิก็พอแล้ว เบื่อการเกิดแก่เจ็บตาย หลวงพ่อท่านยังลาแล้วเลย ลูกหลานก็ไม่ขอเป็นสูงกว่าหลวงพ่อครับ สังฆังวันทามิ
-
__/l\__ อนุโมทนาสาธุ
[MUSIC]http://h1.ripway.com/Kelberos/08-(LAOJAOSOO).mp3[/MUSIC] -
ขอบพระคุณเจ้าค่ะ กำลงจะไปสัมภาษณ์หลวงปู่สีทัศน์ เรื่องพุทธภูมิพอดี๊ พอดี
ใครมีคำถามเพิ่มเติม ก็ลองทิ้งคำถามไว้หน่อย ไม่ร้เรื่องพุทธภูมิเล๊ยยยยยย -
กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p