รวมเรื่องเล่า+ประสบการณ์;กรรมฐานมัชฌิมาฯตามรอยพระราหุล(ตามแบบแผนของพระพุทธเจ้า)

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mature_na, 25 มีนาคม 2012.

  1. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    ============================================================================
    ปฐมบท

    กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐานเหมาะกับทุกจริต



    โดยเริ่มแรกของผู้ปฎิบัติลำดับห้อง ในการภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
    ในระดับขั้นต้น พระพุทธานุสสติ มี 3 ห้อง
    คือรูปกรรมฐาน ตอน ๑ ได้แก่
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์


    เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้ มาขอขึ้นกรรมฐานที่วัดราชสิทธารามคณะ5 กับพระครูสิทธิสังวร(หลวงพ่อวีระ) ผู้สืบทอดกรรมฐานมัชณิมาในยุคนี้ (โทร. 084-651-7023;weera2548@yahoo.co.th )


    [size=20pt]ถ้าผู้ใดยังไม่สะดวกมาไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับหลวงพ่อว่าก็สามารถภาวนาไปก่อนได้แล้วค่อยมาไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับพร้อมแจ้งอารมณ์กรรมฐานภายหลัง[/size]


    จากนี้ไปจะเป็นการเริ่มนั่งกรรมฐานตามรูปแบบนะครับ เริ่มโดยกล่าวบททำวัตรพระก่อน


    บททำวัตรพระ
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    (ให้ว่า ๓ หน)
    พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
    เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
    ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
    พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
    พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุํ วรุตฺตมํ,
    พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
    (กราบ)
    ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
    เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
    ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
    สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
    ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ
    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
    (กราบ)
    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
    เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
    สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
    เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
    สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
    (หมอบกราบ แล้วว่า)
    ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
    (กราบ)


    2. จากนั้นให้กล่าวคำขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยซึ่งโทษนั้นๆที่เราเคยทำอาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน
    (สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้องกล่าวทุกครั้งก่อนนั่งกรรมฐาน)

    คำกล่าวขอขมาโทษ
    อุกาสะ วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺ เต มยากตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ (กราบ)
    ข้าขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯด้วยฯ (กราบ)
    สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ขมามิ ภนฺเต (กราบ)
    ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงให้แก่ข้าฯด้วยเถิด ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงที่ข้าฯทำด้วยทวาร(กาย วาจา ใจ) ทั้งสามแก่ข้าฯด้วยเถิด ข้าฯก็อดโทษให้แก่ท่านด้วย (กราบ)
    ก่อนที่จะนั่งภาวนาพระกรรมฐานนั้น จะเกิดผลสำเร็จได้ ต้องมีการขอขมาโทษก่อน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขมานะกิจ คือการนำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาโทษต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ท่านทั้งหลายอาจเคยล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็น อดีต ปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีโทษติดตัว การเจริญกุศลธรรมอาจไม่เกิดขึ้นได้ หรือ เจริญขึ้นได้ และ อาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน จึงต้องมีการ ขอขมาโทษก่อน เพื่อไม่ให้ เป็นเวร เป็นกรรม ปิดกั้น กุศลธรรม ที่กำลังบำเพ็ญอยู่ และเป็น ปฏิปทาห่างจากกรรมเวร


    [​IMG]

    3.จากนั้นกล่าวคำอาราธนาพระกรรมฐานเป็นบาทฐาน(สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้องกล่าวทุกครั้งและเริ่มด้วยพระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า จนกว่าจะสอบอารมณ์กับพระอาจารย์วีระผ่านท่านจึงจะให้เปลี่ยนคำอาราธนาครับ ห้ามเปลี่ยนเองโดยพลการ)



    อธิบายคำอาราธนาสมาธินิมิต(เหตุใดต้องกล่าวคำอาราธนาพระกรรมฐานทุกครั้ง)
    เมื่อจะนั่งเข้าที่ภาวนานั้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ว่า ต้องอธิษฐานสมาธินิมิต หรือ อาราธนาสมาธินิมิต เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป กุศลธรรมในที่นี้หมายถึง สมาธิจิตที่ตั้งมั่น เป็น สัมมาสมาธิ อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการ เตรียมจิต ก่อนที่จะภาวนาสมาธิ ดังปรากฏใน พระสุตตนฺตปิฏก องฺคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปาปณิกสูตรที่ ๑

    คำอาราธนาพระกรรมฐาน
    (อธิษฐานสมาธินิมิต)
    ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

    ข้าฯขอภาวนาพระพุทธคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมาตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ
    อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ


    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจะระณะสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวะมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
    สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ
    อรหํ อรหํ อรหํ
    (องค์ภาวนา พุทโธ)



    ปล.

    การเริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์บอกสืบๆกันมา โดยแรกท่านจะให้ องค์ภาวนาว่าพุท-โธ ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ อยู่ใต้สะดือ2 นิ้ว

    คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง



    4. คำอธิบายเวลากำหนดจิต


    หลังจากอาราธนาองค์พระกรรมฐานแล้ว ครั้งแรกกำหนดจิตให้มารวมไว้ที่ใต้สะดือ ๒ นิ้วมือ(ภาวนา พุท-โธ) กำหนดด้วยความตั้งใจจริง ค่อยดำเนินไปด้วยความเพียรชั้นกลาง แลมีสติค่อยประคับประคองให้ตรงต่อจุดมุ่งหมาย อย่ารีบร้อนให้มี ให้เป็นจนเกินไปกว่าเหตุผลจะอำนวยให้ เพราะคุณสมบัติสมาธินี้เป็นของกลาง เป็นเองด้วย บังคับไม่ได้ เราอยากให้เป็นสมาธิก็ไม่เป็น ไม่อยากให้เป็นสมาธิก็ไม่เป็น เราทำก็ไม่เป็น เราหยุดเสียไม่ทำก็ไม่เป็น แต่จะสำเร็จผลในขณะที่เราทำให้มาก เจริญให้มากโดยสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่ขาดสายทำไปโดยอาการเยือกเย็น และจิตกล้าหาญ ในเมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งได้แล้ว กระบวนการแห่งสมาธิก็จะเป็นไปเอง

    วิธีนั่งเข้าที่ภาวนาโดยละเอียด


    นั่งคู้บัลลังก์ เท้าขวาทับ เท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายตรง บริกรรม พุทโธ กำหนดจิตดังนี้


    ๑.สมาธินิมิต คือเครื่องหมายสำหรับตั้งสมาธิ ให้ตั้งที่ใต้นาภี คือ สะดือ สองนิ้วมือ เป็นที่ชุมนุมธาตุ และ สัมปยุตธาตุ บริกรรมในที่นี้จะเกิดกำลังมาก อันห้องพระพุทธคุณ อยู่ใต้นาภี สองนิ้วมือ
    ๒. ปัคคาหะนิมิต คือการยกจิตไปอยู่ที่สมาธินิมิต คือที่ใต้นาภี สองนิ้วมือ จิต ได้แก่ การนึก การคิด การรับรู้อารมณ์ หรือ สติ
    ๓. อุเบกขานิมิต คือ การวางเฉยในอารมณ์ จิตไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ ที่เป็น อดีต ที่เป็นอนาคต ให้มีจิตอยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน จิตที่แล่นไปใน อดีต อนาคต เป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน
    การกำหนด สมาธินิมิต (นาภี) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
    การกำหนดปัคคาหะนิมิต (ยกจิต) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
    การกำหนด อุเบกขานิมิต (วางเฉย) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่น
    ต้องกำหนดนิมิต สามประการ คือ สมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิต ไปพร้อมกันตลอดกาล ตามกาล จึงทำให้จิตอ่อนควรแก่การงาน จิตที่อ่อนควร แก่การงาน คือ จิต ที่ปราศจากนิวรณธรรม คือ กามฉันท์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พยาบาท ได้แก่การปองร้าย ถีนะมิทธะ ความง่วงหงาวหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ วิจิกิจฉา ความสงสัย
    การกำหนด สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต มาใน พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต สมุคคสูตร ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุประกอบสมาธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหะนิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่องและ ไม่เสียหาย จิตย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นอาสวะ และ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยธรรมอันยิ่งใดๆเธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุเป็นอยู่ มีอยู่
    ก่อนนั่งสมาธิภาวนาพึงสำเหนียกในใจก่อนว่า
    จิตของเราจักเป็นจิตหยุด ตั้งมั่นอยู่ภายใน ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องไม่ยึดจิตของเรา ตั้งอยู่
    เป็นการอธิษฐานจิต ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อมิให้จิตซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ เป็นการวางอารมณ์ ของจิตให้แน่วแน่ มีสติรู้ทัน ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล เช่น นิวรณธรรมเป็นต้น ไม่ให้มารบกวนจิต ยึดจิตติดอยู่ ทำให้จิตไม่บรรลุสมาธิได้ง่าย


    5.
    หลังเลิกนั่งภาวนา

    เมื่อเจริญภาวนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าพึ่งลุกออกจากอาสนะ ให้แผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์ก่อน จึงลุกออกจากที่ เมื่อนั่งแล้วรู้เห็นอะไร ห้ามไปคุยกันเอง ให้ไปแจ้งบอกกล่าว กับพระอาจารย์กรรมฐาน โดยมากพระอาจารย์จะให้กล่าวบทกรวดน้ำยังกิญจิ

    บทกรวดน้ำยังกิญจิ
    ของพระเจ้าโลกวิชัย ผู้เป็นพระบรมโพธิสัตว์

    ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ
    กาเยนะ วาจามะนะสา ติทะเส สุคะตัง กะตัง
    เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ เยจะ สัตตา อะสัญญิโน
    กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
    เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา
    เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ เทวา คันตวา นิเวทะยุง
    สัพเพ โลกัมหิ เย สัตตา ชีวันตาระเหตุกา
    มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ ละภันตุ มะมะ เจตะสาติฯ
    กุศลกรรมอย่าง ใดอย่างหนึ่งเป็นกิจที่ควรฝักใฝ่ ด้วยกาย วาจา ใจ เราทำแล้วเพื่อไปสวรรค์ สัตว์ใดมีสัญญา หรือไม่มีสัญญา ผลบุญที่ข้าฯทำนั้นทุกๆสัตว์ จงมีส่วน สัตว์ใดรู้ก็เป็นอันว่าข้าฯให้ แล้วตามควร สัตว์ใดมิรู้ถ้วน ขอเทพเจ้าจงไปบอกปวงสัตว์ ในโลกีย์ มีชีวิตด้วยอาหาร จงได้โภชนะสำราญ ตามเจตนา ของข้าฯเทอญ ฯ





    6.วิธีแจ้งพระกรรมฐาน
    (รูปกรรมฐาน สอบนิมิต อรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์)


    เมื่อจะไป แจ้งพระกรรมฐาน หรือไปสอบอารมณ์นั้น พระภิกษุให้ห่มผ้าเรียบร้อย ไปพร้อมดอกไม้ธูปเทียน กราบพระพุทธรูปก่อนแล้ว จึงกราบพระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน ถวายดอกไม้ให้พระอาจารย์ด้วย แล้วจึง แจ้งอารมณ์พระกรรมฐาน กับพระอาจารย์(ถ้าเป็นฆราวาสก็เพียงแต่ติดต่อไปยังพระอาจารย์วีระ หรือ
    หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023;หรือแจ้งทาง e-mail : weera2548@yahoo.co.th
    ;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]

    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023)

    รูปพระอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับที่ท่านควรรู้จักครับ



    [​IMG]




    [​IMG]

    [​IMG]
     
  2. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    [size=18pt]ความสำคัญโดยย่อ ของ
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทยนั้นสำคัญขนาดที่ว่า พระมหากษัตริย์ในแทบจะทุกยุคของไทยแลแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัย ทวารวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ทรงให้ความใส่ใจและทรงศึกษาเพื่อรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้คงอยู่ตลอดมา รัชกาลที่1-2-3-4นั้นก็ยังทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้กับสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)[/size]

    [size=20pt]***ข้อควรรู้ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงสังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(กรรมฐานมัชฌิมา)[/size]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ใน ขณะนั้น พระกรรมฐานและเนื้อหาการเรียนรู้ในบวรพระุพุทธศาสนายังไม่้เรียบร้อยและไม่เป็นหมวดหมู่ดีนัก
    ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ ไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ทรงเป็นองค์ประธาน ในการชุมนุมพระสงฆ์สังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๔

    อนึ่งมูลเหตุของการทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเกิดจากการพูดคุยสนทนากัน ในหมู่พระสงฆ์จากหัวเมืองและชานกรุงว่า ...... การปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ถูกการปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ผิด เสียงวิจารณ์เล่าลือขยายไปทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ .......


    ความนั้นทราบไปถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการคณะสงฆ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่สองท่านนั้น จึงนำความทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทราบฝ่าพระบาท

    ต่อมาจึงมีการประสานงานระหว่างทางราชการและคณะสงฆ์ให้ชุมนุมสงฆ์ ทำการประชุมสังคายนาพระกรรมฐานขึ้น3วัน ....พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานถวาย ภัตตาหาร น้ำปานะ แด่พระสงฆ์ ๓ เพลาทุกวัน


    ซึ่งพระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นต่อมาก็ได้เผยแพร่สืบต่อกันเรื่อยๆมาอย่างไม่ขาดสายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย

    ===============================================================



    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด


    [img width=500 height=600]http://images.palungjit.org/attachments/18581-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81-%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-2611-jpg[/img]

    =================================

    ================================


    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    [size=24pt]
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ[/size]
    หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน คณะ5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    www.themajjhima.com
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima

    [size=22pt]
    ติดต่อได้ที่ หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
    ;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]
    [/size]
    [size=20pt]
    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
    [/size]
    [​IMG]
    [​IMG]

    รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด



    ที่ขอเรียกกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ว่า "กรรมฐานตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดฯ" เพราะมีเหตุผลดังนี้ครับ

    1. มีหลักฐานชัดเจนว่า ประเทศไทยของเราตั้งแต่สมัย ทวาวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการฝึก กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เป็นอันมากและเป็นกรรมฐานหลักในการฝึกฝนในประเทศไทย เป็นแบบเดียวที่มีการฝึกฝนกัน พึ่งมาสูญหายในช่วงที่มีการแยกนิกาย นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 มา

    2. แน่นอนว่า หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดนั้นท่านมีชีวิตช่วงพระ เอกาทศรถ ดังนั้นกรรมฐานที่ท่านเล่า้เรียนจึงเป็นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ แน่นอนครับ



    ทีนี้ขออธิบายก่อนนะครับ ว่ากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คืออะไร

    ก่อนอื่นขอกล่าวคำนมัสการพระก่อนนะครับ

    [size=15pt]คำถวายนมัสการ

    ข้าบังคมพระบาทบรมนาถผู้ทรงญาณ พระธรรมอันพิศดารทั้งพระสงฆ์อันบวร
    ข้าเชิญพระญาณสังวรเจ้ามาปกเกล้าฯปกเกษี ชัยชนะแก่โลกีย์ทั้งภัยพาลอันตราย
    ขอให้พบพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอันพากเพียร รู้แจ้งคัมภีร์เรียนสมถะ-วิปัสสนาทุกชาติไป
    ขอเชิญคุณครูบามารักษาให้มีชัย ดลจิตบันดาลใจสำเร็จทุกประการ
    สิทธิกิจจังสิทธิกัมมังสิทธิการิยะตะถาคะโต
    สิทธิเตโชชโยนิจจังสิทธิลาโภนิรันตะรัง สัพพกัมมังประสิทธิเมสัพพสิทธิภะวันตุเม

    ประพันธ์โดย
    พระครูสังฆรักษ์วีระฐานวีโร
    ๕ธันวาคม๒๕๔๖

    [size=18pt]1. ย้อนไปสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

    พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบตามลำดับขั้นตอน

    จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง


    บูรพาจารย์เล่าว่าในสมัยโบราณผู้ศึกษากรรมฐานในพุทธศาสนานั้นมีการฝึกฝนสมาธิและวิปัสสนาตามแบบกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ทั้งสิ้นไม่มีการแบ่งแยกเหมือนสมัยนี้แต่อย่างใด

    รูปพระราหุลมหาเถระเจ้า

    [​IMG]

    เหตุที่เรียก พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง จนถึงลำดับสู่วิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนากรรมฐานทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน เพื่อมิให้แตกกระจายไปในทางปฏิบัติ มิต้องให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง

    สรุปได้้่ว่่ากรรมฐานมัชฌิมา คือการเรียนปฎิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆไป นั่นเองครับ

    จากนั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ได้รับการสืบทอดต่อๆกันมาเรื่อยๆได้เข้ามาแถบเอเชียอาคเนย์ และทางสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ นั่นเองครับ

    รูปภาพที่มีผู้เชื่อว่าเป็นกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ[​IMG]

    จากนั้น ประเทศไทยของเราตั้งแต่สมัย ทวาวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการฝึก กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เป็นอันมากและเป็นกรรมฐานหลักในการฝึกฝนในประเทศไทย เป็นแบบเดียวที่มีการฝึกฝนกัน

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นั้นผู้ที่ สืบทอดต่อมาเป็นปรมาจารย์ต้นของยุคนี้ คือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
    [​IMG]
    รูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)ครับ


    และในช่วงนี้ 2554 ผู้ที่ดำรงการสืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือ พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ) ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
    ผู้บอกวิชชาพระกรรมฐาน ยุคปัจจุบันครับ
    [​IMG]

    [size=20pt]
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ


    [/size]


    [/size]
     
  3. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]



    กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ นั้นมีวิธีการฝึกและ การปฎิบัติที่เป็นแบบแผนแน่นอน สรุปได้ง่ายๆดังนี้ครับ

    1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน
    2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ
    3. เริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์แต่บอก โดยแรกท่านจะให้ ภาวนาว่าพุท-โธ สติตั้งใต้สะดือ2 นิ้ว
    คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็เอาสติไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง

    ทุกครั้งที่นั่งกรรมฐานต้องมีการ ขอขมาพระ และกล่าวคำอาราธนากรรมฐานตามแบบ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับทุกครั้ง และเมื่อนั่งเสร็จต้องแผ่เมตตาก่อนจึงลุกจากที่นั่ง
    4. การเกิดนิมิตรู้เห็นอย่างใดให้แจ้งแก่อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานแต่เพียงผู้เดียวห้ามบอกผู้อื่น และไม่ควรอ่านสภาวะธรรมต่างๆก่อนเพื่อกันอุปาทานและจิตหลอนนั่นเอง

    5. เมื่ออาจารย์ให้ผ่านแล้วก็จะมีการเลื่อนกรรมฐานไปห้องอื่นๆสูงขึ้นไปตามลำดับชั้นของห้องกรรมฐานนั้นๆจนจบกรรมฐาน40 และต่อวิปัสสนากรรมฐานเป็นขั้นๆไปตามลำดับ


    ============================================================================
    ดังที่ว่าไปแล้วในตอนต้นนะครับ ว่าการเริ่มฝึกกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้อง

    1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐานและ
    2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ

    ในยุคนี้สามารถทำได้ที่ ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด ติดต่อหลวงพ่อวีระ(จิ๋ว)โทร. 084-651-7023



    ============================================================================

    [size=18pt]

    [size=18pt]คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ

    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
    วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ

    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง




    [​IMG]


    ============================================================================

    [size=18pt]คำนำ​

    [size=18pt]พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
    สมดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่๒)ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

    พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ

    โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

    ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

    ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรคเพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่ง คัมภีร์อรรถคาถา
    แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึง

    ยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

    ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง

    ต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต่อจากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้

    ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า

    ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
    ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
    คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
    โทรศัพท์-084-651-7023


    ============================================================================​

    [size=18pt]ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ตอนสมถะภาวนา


    รูปกรรมฐาน ตอน ๑
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

    รูปกรรมฐาน ตอน ๒
    ๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
    ๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
    ๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
    ๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
    ๘.ห้องปัญจมฌาน

    ห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    พระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

    อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
    ๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
    ๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
    ๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
    ๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
    ๑๓.ห้อง อรูปฌาน

    ตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา

    (จบสมถะ)

    ============================================================================
    วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ

    ๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
    ๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
    ๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
    ๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
    ๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
    ๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
    ๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
    ๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
    ๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน

    (จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)
    [/size]

    ================================================

    [size=18pt]เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
    เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน


    เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

    บททำวัตรพระ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    (ให้ว่า ๓ หน)

    พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
    พุทโธ ภควาติ ฯ
    เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
    ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
    พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
    พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
    พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
    (กราบ)

    ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
    เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
    ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
    สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
    ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
    (กราบ)

    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
    เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
    สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
    เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
    สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (หมอบกราบ แล้วว่า)
    ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
    (กราบ)

    อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน

    บททำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔

    ================================================
    **** ยังมีต่ออีก จะนำมาลงในครั้งต่อไปนะครับ ****

    ================================================[/size]

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน คณะ5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
     
  4. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    [size=18pt]ยอดวิชาแห่งพระกรรมฐานมัชฌิมาสิ่งที่ท่านจะได้เมื่อเข้าสู่ขั้นสูง


    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเป็นวิชชากรรมฐานของศาสนาพุทธโดยตรง เมื่อท่านฝึกถึงขั้นสูงแบบถูกต้องและมีบุญบารมีเพียงพอจะสามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆเช่นการรักษาโรคของตนเองและผู้อื่นรวมทั้ง การรู้เห็นสัมผัสสิ่งที่เป็นทิพย์ดังจะได้พรรณาดังต่อไปนี้ (ข้อมูลด้านล่างเป็นเพียงข้อมูลโดยสังเขปยังมีเนื้อหาอีกมากมายรอให้ท่านไปเรียนรู้ครับ)


    ๑.วิชาบังคับธาตุขันธ์ ให้บังคับจากรูปกายทิพย์ ให้เปลี่ยนอริยาบทต่างๆ เช่น ยืน เป็นนั่ง เป็นนอน เป็นเดิน ทำให้กายทิพย์เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นแก่
    ประโยชน์ของวิชาบังคับธาตุขันธ์ ยกสมาธิจิตให้สูงขึ้น จิตมีอานุภาพมากขึ้น
    ๒.วิชาแยกธาตุขันธ์ แยกธาตุน้ำก่อน แยกธาตุดิน แยกธาตุไฟ แยกธาตุลม ไม่มีกายมีแต่ธาตุเท่านั้น
    มีประโยชน์ ใช้ทางมรรค ผล จิตขาดจากการยึดมั่นถือมั่น ในรูปกาย
    ๓.วิชาคุมจิตคุมธาตุ ใช้สมาธิขั้นเอกัคตาจิต คุมจิตตัวเอง คุมธาตุทั้ง ๔ ของตัวเองประโยชน์ ทำให้มีสติมีสมาธิเข็มแข็ง
    วิชาธาตุปีติ ยุคล สุข

    ๑.ธาตุปีติ ยุคล สุข รวมกัน เรียกว่าธาตุธรรมกาย ใช้ทำเป็นพื้นฐานแห่งอภิญญา จิตแก่กล้าใช้ตติยฌาน(สุข)ได้เลย ถ้ายังไม่แก่กล้าใช้ถึงจตุถะอรูปฌาน ถอยมา ตติยฌาน(สุข)
    ๒.ธาตุปีติอย่างเดียว เรียกว่า ธาตุปีติวิมุติธรรม ทำให้กิเลสทั้งปวงหลุด พิจารณาโดยวิธี บริกัมว่า นิพพาน
    ๓.ธาตุธาตุยุคลหก เรียกว่า ธาตุกายอมตะ ประโยชน์ใช้ทำจิตให้สงบจากกิเลส พิจารณาว่า สงบ
    ๔. ธาตุสุขสมาธิเรียกว่าธาตุ สุขนิโรธธัม ประโยชน์ ทางสุขอยู่ในความว่าง เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ธาตุปีติทั้งห้า (ธาตุเทวดา) ใช้ได้ทุกอย่างแล้วแต่จิต ธาตุยุคล(ธาตุพรหม) ใช้ทางเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    ธาตุสุข(ธาตุพระพุทธเจ้า) ธาตุกายสุข จิตสุข มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ทำจิตเป็นสุข สยบกิเลส ธาตุ อุปจารพุทธานุสติ ใช้สยบมารทั้งภายนอก ภายใน ใช้สยบภายในภายนอก
    วิชาทำฤทธิ์

    อธิฐานตั้งธาตุ ห้าดวง ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณธาตุ ให้ทำลายธาตุ น้ำ ทำลายธาตุ ไฟ ทำลายธาตุดิน ทำลายธาตุลม เหลือวิญญาณธาตุ ก่อนทำให้อธิฐานเอาฤทธิ์ก่อน
    ธาตุภูสิโต


    (ธาตุยิ่งใหญ่)
    ๑.ชุมนุมธาตุว่า เอหิปถวีพรหมา เอหิเตโชอินทรา เอหิวาโยนรายนะ เอหิอาโบอิสสรัง ว่าสามหน ธาตุทั้งสี่มาตั้งที่หทัยประเทศ
    ๒. เรียกภูตเข้าตัวธาตุ ว่าสามหน จตุรภูตา เอหิสมาคมะ ธาตุทั้งสี่ ปรากฏที่สะดือ
    ๓. เรียกภูตเข้าตัวธาตุ เตโช วาโย อาโบ ปถวี กสินะ นะโมพุทธายุ ภินทะติ นะพุทธัง นะปัจจักขามิ นะสิริ พันธนัง ธาเรมิ ให้ว่าสามหน เป่าเข้าตัวภูตมิออก ธาตุทั้ง ๔ ที่สะดือ มารวมที่หทัย


    องค์ธรรมเก้า แห่งของ จุดอานาปาน


    ๑.ที่สะดือ ตั้งมั่น คือองค์ธรรมพระนาคี ที่ชุมนุมธาตุ
    ๒.จะงอยปาก รู้กำเนิดชีวิต คือองค์ธรรมของ พระธรรมวิมุติ
    ๓. ขื่อจมูก การดำเนินของชีวิต คือองค์ธรรมของพระธรรมกลาง
    ๔.ปลายจมูก ตั้งอยู่ของชีวิต คือองค์ธรรมของ น้ำ
    ๕.ระหว่างตา ความรอบรู้ คือองค์ธรรมของ ไฟ
    ๖. ระหว่างคิ้ว ความเป็นไปเบื้องหน้า คือองค์ธรรมของ สังฆราชา สงฆ์ผู้ใหญ่
    ๗. กลางกระหม่อม รู้แจ้ง คือองค์ธรรมของ ครูบาอาจารย์ และพระพุทธเจ้า
    ๘.ลิ้นไก่ รู้ปัจจุบัน ธรรมชาติ คือองค์ธรรมของ แผ่บารมี
    ๙.กลางหทัย สูญรวมความรู้ต่างๆ คือองค์ธรรมของ พระพุทโธ


    วิชาสลายจิต


    สยบจิต ด้วยเมตตา –อุเบกขา ประโยชน์คือ
    สกดจิต ใช้เอกัคคตาจิต ประโยชน์คือ
    ปลดปล่อยจิต นั่งดูจิต ดูกิเลส ผ่านไปเฉย ประโยชนคือ


    วิชาโลกุดร สยบมาร

    ๑. ตั้งที่กลางสะดือ ภาวนาว่า สติสัมโพชฌงค์
    ๒.ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ๓.ตั้งที่หทัย ภาวนาว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
    ๔.ตั้งที่คอกลวง ภาวนาว่า ปีติสัมโพชฌงค์
    ๕.ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย ภาวนาว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    ๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม ภาวนาว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
    ๗.ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ภาวนาว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    แล้วเปลี่ยนมา ภาวนาว่า โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง
    ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร>>
    ๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก ๒.แผ่บารมีให้มาร ๓.ทำจิตให้หลุดพ้น ๔.บูชาคุณครูบาอาจารย์ ๕. เมตตา ๖.ปราบมาร ๗. มีความเพียร ๘. ปราบคนทุศีล ๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น


    วิชาสำรวมอินทรีย์


    ๑.ที่สะดือตั้ง ศีลวิสุทธิ
    ๒.ที่เหนือนาภีตั้ง จิตวิสุทธิ
    ๓.ที่หทัยตั้ง ทิฏฐิวิสุทธิ
    ๔.ที่คอกลวงตั้ง กังขาวิตรวิสุทธิ
    ๕.ที่โคตรภูท้ายทอยตั้ง มัคคามัคคญาณวิสุทธิ
    ๖.ที่กลางกระหม่อมตั้ง ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ
    ๗.ที่หว่างคิ้วตั้ง ญาณทัสนวิสุทธิ แล้วว่า โลกุตรัง จิตตัง ฌานัง


    ประโยชน์ คล้ายกับ วิชาโลกุตรสยบมาร สำรวมตนเอง ตรวจศีลบริสุทธิ

    วิชาสำหรับผู้มีจิตทิพย์ สำรวจโลกภายนอก


    ๑.สะดือตั้ง อุทยัพพยญาณ เกิด ดับ
    ๒.เหนือสะดือ ภังคญาณ ดับอย่างเดียว
    ๓.หทัย ภยตูปัฏฐานญาณ คือความกลัวทั้งปวง
    ๔.คอกลวง อาทีนวญาณ เป็นโทษทั้งปวง
    ๕.ท้ายทอย นิพพิทาญาณ เกิดความเบื่อหน่าย
    ๖.กลางกระหม่อม มุญจิตุกามยตาญาณ เหมือนอยู่ในแหในชะลอม
    ๗.ระหว่างคิ้ว ปฏิสังขารุเปกขาญาณ อยากพ้นทุกข์แล
    ๘.ระหว่างตา สังขารุเปกขาญาณ วางเฉยสละเสียให้สิ้น
    ๙.ปลายจมูก สัจจานุโลมมิกญาณ หาทางไปนิพพาน


    เข้าจักรสุกิตติมา

    ๑. สะดือ ตั้งสุกิตติมา ใช้ประโยชน์ เจริญแล้วเป็นสมาธิสงบ เกิดปัญญา เรียน
    ๒.เหนือสะดือ ตั้งสุภาจาโร อะไรก็ได้ จำแม่นเกิดปัญญา
    ๓.หัวใจ ตั้งสุสีลวา
    ๔.คอกลวง ตั้งสุปากโต
    ๕ท้ายทอย ไม่มี
    ๖.กลางกระหม่อม ตั้งยสัสสิมา
    ๗.ระหว่างคิ้ว ตั้งวสิทธิโร
    ๘.ระหว่าตา ตั้งเกสโรวา
    ๙.ปลายนาสิก ตั้งอสัมภิโต


    เรียนปฏิจสมุปบาท เพื่อสลายความหลง มีชีวิต ก็มีวิญญาณ มีวิญญาณ ก็มีความยึดมั่น
    ทางไปนิพพาน พิจารณาสังเวศสาม ๑.ปลงต่อความตาย ๒.หน่ายนามรูปแล้ว เอาชีวิตแลกเอาพระนิพพาน ๓.พิจารณาให้เห็นสังขารธรรม รูปธรรม นามธรรม วิบัติไปต่างๆ ปลงตามปัญญาพระไตรลักษณะ
    นั่งจุกหู ใช้ปิดหู ปิดตา ไม่รับกิเลสภายนอก เหมาะสำหรับคนฟุ้งซ่าน ทำเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ท่านให้ตั้งสมาธิที่หทัย ให้ตึงก่อน แล้วยกสมาธิมาปิดหูขวาก่อน สมาธิตึงดีแล้ว ยกมาที่หทัยตึงดีแล้ว ยกสมาธิไปปิดหูซ้าย ตึงดีแล้ว ยกมาที่หทัย ทำปิดตาก็เหมือนกัน
    การเอาชนะกิเลส ให้ตรวจกิเลส ตัวไหนเกิดให้จดจำเอาไว้ แล้วเอาชนะกิเลสตัวนั้น
    กิเลสตัวไหนเกิด ให้แผ่เมตตาให้กิเลส ให้อภัยกิเลส กิเลสจะไม่มาอีก คือมีสตินั้นเอง ให้เจริญความดีงามเหนือกิเลส ให้ยิ่งๆขึ้นๆไป
    ธาตุอัปมัญญา ๔

    เมตตา สีขาวธาตุน้ำ ดับโทสะตัวเอง และดับโทสะผู้อื่นด้วย

    กรุณา ธาตุไฟ สีชมพู ผู้อื่นเดือดร้อน สีแดง ได้รับการช่วยเหลือแล้ว เป็นสีชมพู ดับความมืดในใจ
    มุทิตา ธาตุลม สีฟ้า เหลืองนวล ประกายรุ้ง อากาศธาตุ ยินดีผู้อื่น เรามีความชุ่มชื่น
    อุเบกขา ธาตุดิน สีขาว สีเขียว ประโยชน์ เป็นปัญญาสูงสุด ปัญญาลุ่มลึก มีความเฉยลึกซึ้ง ดินเขียวมีความรู้มากแต่ ไม่ยอมเผยแผ่ เช่น พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ดินขาว เผยแผ่ความรู้ผู้อื่น
    ธาตุรวมอัปมัญญา สีประกายพฤษ สีเงิน ใช้ได้ทุกอย่าง


    ๑.การศึกษามหาสติปัฏฐาน ควรศึกษาตั้งแต่ ๗ ขวบขึ้นไป
    หมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อานาปานปัพพะ ประโยชน์แก้จิตที่วุ่นวาย ฟุ้งซ่าน และวิตก
    หมวดอริยาบท ประโยชน์ ทำให้เจริญสมาธิมั่นคงขึ้น
    สัมปชัญญะปัพพะ ประโยชน์ทำให้เจริญสมาธิมั่นคงขึ้น
    หมวดปฏิกูลปัพพะ ต้องมีสมาธิ มีฌานแล้ว ประโยชน์ตัดราคะ โทสะ
    หมวดธาตุปัพพะ ต้องมีสมาธิ มีฌานแล้ว ประโยชน์ตัดคลายทางโลกลง
    หันมาเรียนทางธรรมมากขึ้น
    หมวดนวสีวถิกาปัพพะ(ป่าช้าเา) มีทวารทั้งเก้า มีองค์ฌาน ประโยชน์ยกจิตจากปุถุชนขึ้นสู่อริยเป็น
    โสดาบันบุคคล
    ๒.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องใช้ฌาน ใช้สมาธิ ประโยชน์ แยกเวทนาออกจากกาย
    ๓.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องใช้สมาธิ และฌาน ประโยชน์ รู้จิตตัวเอง และผู้อื่น
    ๔.ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้สมาธิ และองค์ฌาน ประโยชน์ ฆ่ากิเลสโดยตรง ธรรมาเช่น นิวรณ์ธรรม ๕ ขันธ์ห้า อายตนหก โพชฌงค์เจ็ด หมวดสัจจะ เป็นต้น
    หลวงปู่ ท่านสอนว่า ทำจิตให้เป็นสุขทุกเวลา นึกถึงความสุขต่างๆ เช่น การทำบุญกุศล การช่วยเหลือผู้อื่น การหลุดพ้น
    สอนเดินน้ำ ข้ามห้อย ท่านให้นั่งริมฝั่งแม่น้ำ ให้มองเห็นดิน และเห็นน้ำ ให้เข้าฌาน ทำให้รอบกายเราสว่าง ทำที่นั่งแข็ง ให้นุ่ม ทำที่นั่งนุ่มให้แข้ง ทำอาโบธาตุ ให้เป็นปถวีธาตุ ทำปถวีธาตุ ให้เป็นอาโบธาตุ ทำธาตุน้ำ เป็นธาตุดิน ทำธาตุดินเป็นธาตุน้ำ
    ก่อนทำให้นั่งริมฝั่งแม่น้ำ ให้มองเห็น น้ำ และดิน แล้วให้อธิฐานก่อน แล้วจึงเข้าฌานทำให้รอบกายของเราสว่างไสวอย่างมากมาย ทำที่นั่งแข็งให้นุ่ม ทำที่นั่งนุ่มให้แข็ง อธิฐานธาตุดิน ปถวีธาตุ ให้เป็นอาโปธาตุ ธาตุน้ำ อธิฐานอาโปธาตุ ให้เป็นปถวีธาตุ เวลาทำให้นั่งริมฝั่ง มองให้เห็นน้ำ สามารถเดินข้ามน้ำไปได้
    วิชาเหิน ขึ้นเขา ลงเขา ทำที่ไกล ให้เหมือนที่ใกล้ ให้เข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา แล้วอธิฐาน ทำที่ไกล ให้เป็นที่ใกล้
    ทำได้แล้ว ให้ทำใจให้สงบ ไม่หลงติดในการเหิน ระงับความตื่นเต้น ดีใจ ให้ทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    สอนการดำเนินชีวิต อะไรควรทำก่อนทำหลัง สำรวจจิตตัวเอง ลำดับจิตตัวเอง ลำดับการงานที่จะต้องทำ ลำดับวิชาอะไรที่ ควรเรียนก่อน เรียนหลัง ทำประโยชน์ให้แก่สังคมให้มาก
    ให้ยอมรับสภาพความเป็นจริง ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลง ของตัวเอง ที่บรรลุมรรคผล เจอครูบาอาจารย์มากมาย อย่าหลงตัว ประคองจิตตัวเอง ทำความเป็นอยู่ให้ปรกติ ทำให้มาก
    การอยู่ในความว่าง(สูญญตา) ดีพักผ่อน แต่วิปัสสนาจะไม่ก้าวหน้า ให้ถอยกลับมา สุข แล้ว เจริญวิปัสสนาต่อ จึงจะก้าวหน้า


    วิชาสลายจิต สลายกาย

    ประโยชน์หยุดความวุ่นวายภายนอก (สลายจากกายทิพย์ หายตัว)

    ท่านให้สลายธาตุน้ำก่อน สลายแล้วคอจะแห้ง ต่อมาให้สลายธาตุไฟ ธาตุไฟสลายแล้ว จะรู้สึกหนาว ต่อมาจึงสลายธาตุดิน สลายธาตุดินแล้ว กายจะเบา ต่อมาสลายวิญญาณธาตุ สลายแล้ว จะดับความยึดมั่น ไม่มีร่างกาย ว่างแคว้งคว้าง
    ธาตุลม ท่านห้ามสลาย จิตจะอยู่ที่ถุงลม ถ้าสลายธาตุลมต้องมีจิตกล้าแข็ง และกลับมาได้ เพราะสังขารกายเนื้อยังค้างคาอยู่
    ปู่สอน จิตกับอารมณ์อย่าแยกกัน จิตไม่ไปพร้อมกับอารมณ์ กิเลสแซก จิตไปพร้อม กับอารมณ์ กิเลสไม่แซก เรียกว่ามีสติ ประโยชน์ ใช้คุมตัวเอง ดูแลตัวเอง


    วิชาตัดขันธ์

    ใช้เมื่อมีเวทนา และข่มทุกขเวทนาได้ ต้องมีจิตสมาธิกล้าแข็ง ลืมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ ไม่เอาร่างกายแล้ว ตัดจากกายเนื้อ คล้ายวิธีสลายจิต ให้ตัดธาตุน้ำก่อน ตัดธาตุไฟ ตัดธาตุดิน ตัดวิญญาณธาตุ ดับความยึดมั่น ไม่มีร่างกาย ตัดธาตุลมสุดท้ายก่อนตาย
    วิชาผ่อนคลายจิต เมื่อจิตกำลังสับสน วุ่นวาย ให้ถอยจิต หายใจลึกๆ พุ้งจิตไปที่พระพุทธเจ้า หรือพระพุทธรูป ดูนิ่ง เฉยๆ จะหายวุ่นวายใจเอง
    วิชาสยบทุกขเวทนา ยอมรับทุกขเวทนา ถึงถึงกรรมของตัวเอง เช่น เรามีกรรมเป็นของตัวเอง เรามีกรรมเป็นกำเนิด เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย และระลึกถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้า
    วิชาโลกุตร ๒๐ ประโยชน์ เป็นที่เกิดแห่งปัญญา เป็นที่สิ้นสุดแห่งสังสารวัฏ เป็นที่บรรลุธรรม ปลงอาบัติ อธิฐานได้ต่างๆ
    กิเลสจรมา ให้ใช้จิตดูกิเลสเฉยๆ
    ธาตุโลกุดร ดวงแก้วมนินดำ ธาตุดิน สีเขียว แก้วไพฑูรณ์ ธาตุน้ำ เหลือง แก้วมณีโชติ ธาตุไฟ สีขาว แก้วบุญนาก สีขาว ธาตุน้ำ แก้วธัมราช เหลือง อากาศธาตุ แก้วมโนหอรจินดา ชมพู จิตธาตุ1

    สลายอายตนะหก


    ตา ธาตุน้ำ เห็นรูปดีก็ดี เห็นรูปทรามก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนสายน้ำไหล
    หู ธาตุลม ฟังเสียงที่ดีก็ตาม เสียงที่ชั่วก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนลม พัดผ่านไป
    จมูก ธาตุดิน ได้กลิ่น หอมก็ตาม ได้กลิ่นเหม็นก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนดินสลายไป
    ลิ้น ธาตุน้ำ ได้ลิ้มรสดีก็ตาม ได้ลิ้มรสไม่ดีก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนสายน้ำไหลไป
    กาย ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ สัมผัสดีก็ตาม สัมผัสชั่วก็ตาม ให้ทำจิตสลายธาตุทั้ง ๔
    มโน(ใจ) อากาศธาตุ รู้ธรรมดีก็ดี ธรรมชั่วก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนอากาศสลายหายไป
    ใช้น้ำสิโณทก

    ให้เอาขันน้ำ ตั้งตรงหน้า เอานวหอระคุณ คือ อิติปิโสฯลฯ ภควาติ ตั้งที่ ๙ (ปลายจมูก)ก่อน แล้วมาที่ ๑(สะดือ) มาที่ ๒ (เหนือสะดือ) มาที่ ๓ (หทัย) แล้วไปที่ ๕ (ท้ายทอย) มาที่ ๖ (กลางกระหม่อม) แล้วมาที่ ๗ (ระหว่างคิ้ว) ถึงที่ ๘ (ระหว่างตา) เอาตรงนั้น แล้วเพ่งลงที่น้ำสิโณทก ให้ทำ ๒-๓ ที่
    ถ้าจะใช้ สิ่งใดก็ได้ทุกอัน ตามแต่อธิฐาน ใช้ทางเมตตามหานิยม ใช้ปัดรังควาน
    วิชาดูแลจิต ดูแลกาย
     
  5. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    [size=18pt]


    วิชาระวังจิต ระวังกาย



    วิชาดูแลจิต ดูแลกาย ให้ทำจิตเป็นสมาธิ ถึงองค์ฌานก็ได้ แล้วปล่อยจิตออกไป กำหนดจิตไปที่หทัย ให้หายใจเบาๆ ให้ดูนิมิต เป็นวงกลมสีขาว จะสว่างขึ้น สว่างขึ้น ที่หทัย แล้วค่อยๆเลื่อนวงกลมสีขาว ที่หทัย ลงมาที่สะดือ เป็นจุดที่สอง ให้ค่อยๆเคลื่อน วงกลมสีขาวที่หทัย มาช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน ให้มีสติรู้ได้ทั้งนิมิตดวงกลมสีขาว และลมหายใจ เมื่อนิมิตวงกลมสีขาวนั้น มาถึงที่สะดือแล้ว ให้ตั้งสมาธิอยู่ที่นาภี(สะดือ) ประมาณคำหมากหนึ่ง(สอง-สามนาที) พอจิตสงบนิ่ง เข้าที่ดีแล้ว ก็ให้ตั้งสัจจะอธิฐานในใจว่า…….
    ข้าพเจ้า ขอเรียนพระกัมมัฏฐาน วิชาดูแลจิต ดูแลกาย ขอพระยามารทั้งหลาย อย่าได้มารบกวน ข้าพเจ้า ในตอนนี้เลย



    อธิฐานเสร็จ แล้วให้ปล่อยจิตให้ว่าง ทำใจให้สบาย ให้โปร่ง ให้โล่ง หายใจเข้า-ออก ลึกๆช้าๆ วิชานี้มีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า มีจิตเป็นผู้นำ


    เมื่อจิตสงบแล้ว สติจะตามรู้ได้เท่าทันอารมณ์ วิชาจะอยู่ได้ เฉพาะผู้ที่ปรารถนาที่จะเรียนเท่านั้น หากผู้ไม่ปรารถนาจะเรียน วิชาก็จะไม่อยู่ด้วย วิชานี้ต้องมีจิต ตั้งมั่น แน่วแน่ตัวรู้ ตัวรับรู้ ต้องรู้ให้จริง ไม่มีอุปาทาน ดูแลลมหายใจ ว่าเย็น หรือร้อน ลมหายใจถี่ หรือห่าง เบา หรือแรง จิตต้องรู้ได้ละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง


    การดูลมหายใจ เข้า-ออกนี้มีพระสาวก ของพระพุทธเจ้า เป็นจำนวนมาก ที่เรียนวิชาดูลมหายใจของตัวเอง รู้กิเลส รู้ธรรม และบรรลุธรรม ไปมากมายแล้ว
    ดูจิต แบ่งออกเป็นสองฝ่าย จิตฝ่ายดี จิตฝ่ายชั่ว กรรมฝ่ายดำส่งผล จิตก็ตกอยู่ในอำนาจกรรมนั้น กรรมฝ่ายขาวส่งผล จิตก็ตกอยู่ในอำนาจกรรมนั้น ถ้าจิตฝ่ายชั่วเริ่มมีอำนาจ เกิดขึ้นทีละดวง ทีละดวง จิตก็จะบังคับให้กายลุกขึ้นทำความชั่วต่างๆ จิตจะบังคับให้กายแข็งกระด้าง วจีแข็งกระด้างขณะนั้นอาสวะทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ รุมอยู่ในตัวและจิตทั้งสิ้น กรรมฝ่ายชั่วเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เขาจะค่อยดับไปทีละดวง ทีละดวง


    กรรมฝ่ายดีก็จะค่อยเกิดขึ้น ทีละดวง ทีละดวง ก็จะรู้สึกตัวว่าทำอะไรลงไป ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้ว เขาจะตั้งอยู่ แล้วจะค่อยเปลี่ยนแปลงไป เขาเป็นอย่างนี้เป็นธรรมดา ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตดี กายก็จะดีด้วย ลมหายใจก็จะเย็น สม่ำเสมอ จิตก็จะว่างจากอาสวะกิเลสมารบกวน จิตฝ่ายดี คิดทำดี ทำบุญทำทาน


    ดูลมหายใจ เมื่อมีอารมณ์ภายนอกมากระทบ ก็จะเฉยๆไม่รู้สึกอะไร รู้สึกแปลกใจต่างหาก ลมหายใจเย็นสงบ จิตก็สงบด้วย จิตก็จะไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ใดๆ ดูอะไร รู้เห็นอะไร จิตก็จะรู้จักรูปนาม เกิด-ดับ นั้นได้ จะไม่รู้สึกผูกพันเลย ไม่รู้สึกคล้อยตามด้วย


    ถ้าจะเรียนวิชานี้ ต้องเอาจริง เอาจังกับจิต ต้องรู้ทันอารมณ์ กาย เวทนา จิต ธรรม วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา กิเลสตัวใดมาก็รู้ ทุกสิ่ง ทุกอย่างในโลกล้วนไม่แน่นอน อย่าไปติดอะไรแม้แต่ความสุข ทุกอย่างป็นสิ่งสมมุติขึ้นมา อย่าทำไปตามอารมณ์ ถ้าทำตามอารมณ์ จะโดนหลอกลวง ถ้ารู้ทัน รู้ความจริงแล้ว จะไม่สะเทือน
    การระวังจิต ระวังกาย กายเป็นบ่าว ให้ระวังจิต จิตดีอย่างเดียว จิตสบายอย่างเดียว กายก็ดี กายก็สบาย


    วิชาหนีมนต์


    ให้ฝึกให้เห็นอักขระสามตัว ภาวนาว่า นะเยปะรัง ยุตเต ให้เห็นอักขระ อัง(ขอม) อยู่ระหว่างคิ้ว อักขระ อิง อยู่กลางกระหม่อม อักขระ อิ อยู่ท้ายทอย
    เอา อัง มาติดกับ อิง อยู่หน่อยหนึ่ง จึงนำอักขระสองตัว(อัง อิง) ไปสู่ อิ แล้วจึงยกแต่ สูญเปล่า(สมาธิเปล่า ไม่เอาอักขระมา) คือสมาธิมาตั้งที่ ๗ (ระหว่างคิ้ว) อย่าเอาอักขระสามตัวมาเลย ถ้าสัตรูอยู่หน้าไว้หน้า ถ้าอยู่หลังเอาไว้หลัง อยู่ขวาไว้ขวา อยู่ซ้ายไว้ซ้าย
    ประโยชน์ กันปีศาจ กันคุณไสย กันมารเข้าสิง
    อุเบกขา

    อหัง กัมมัสโก โหมิ เรามีกรรมเป็นของตน สุขก็เป็นของตัว ทุกข์ก็เป็นของตัว (เวทนา ทั้งหมด)ให้อยู่กลางๆเป็นอุเบกขา
    อหัง กัมทายาโท โหมิ เรามีกรรมเป็นมรดก มรกดกรรมคือ กรรมดี กรรมชั่ว ให้ทำจิตเป็นอุเบกขา
    อหัง กัมโยนิ โหมิ เรามีกรรมเป็นกำเนิด กรรมผูกมัดเรามาตั้งแต่ ปฏิสนธิ พร้อมเรา มีรูปสวยงาม จากกรรมดี รูปไม่สวย กรรมไม่ดี ให้ทำจิตเป็นอุเบกขา
    อหัง กัมพันธู โหมิ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เผ่าพันธุ์ของกรรมคือ กิเลส กรรม วิปาก ให้ทำจิตอุเบกขา
    อหัง กัมปฏิสรโณ โหมิ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กาย อาศัยจิต รูปอาศัย ธาตุ และจิตด้วย ทำอุเบกขา
    แก้ให้ขาดรสราคะ จะให้ขาดรส ราคะ ปฏิสนธิ อย่าให้กายชีวิตเนื่องกัน ยกชีวิตให้พ้นกาย คือยกจากที่ ๒ (สะดือ)ไปสู่ที่ ๓(หะทัย) ไม่ถึงที่ ๓ ก็ได้ พอพ้นที่ ๒
    เข้าธาตุทั้ง ๔ แก้สารพักโรคทั้งปวง ได้สิ้น โรคปุราณ ก็แก้ได้ แต่ช้าหน่อย ไม่ต้องภาวนา ให้อธิฐาน ให้แผ่ซ่าน เข้าไปทางสายเลือด ทุกอนุของกาย
    อาราธนาว่า ข้าขอเข้าธาตุทั้ง ๔ อินทรีย์ทั้ง ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ขอให้ระงับจิต ระงับกายให้สบาย ข้าจะขอเข้าเป็นนิคคหะที่ ๑ ข้าจะขอเข้าเป็นปัคคาหะที่ ๑
    อันนิคคหะ คือข่มลงไปในที่ ๑ (สะดือ) อันปักคาหะ คือ ยกจากที่ ๑(สะดือ) มาที่ ๒ (เหนือสะดือ) มาที่ ๓ (หทัย) ทำไปจนกว่าจะได้สุข
    แก้ปวดศรีษะ เส้นกำเริบ ธาตุวิปริต ให้ตั้งแต่ที่ ๙ (ปลายจมูก)มาที่ ๑ (สะดือ) แล้วอธิฐานว่า
    ข้าขอเข้าธาตุทั้ง ๔ อินทรีทั้ง ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗ อธิฐานแล้วจึงมาที่ ๒ (เหนือสะดือสองนิ้ว) จึงชุมนุม ธาตุทั้ง ๔ อินทรีทั้ง ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ในที่ ๒(เหนือสะดือ) นั้น แล้วแบ่งสมาธิออกตามฐานเท้าทั้งสองข้าง แล้วยกแต่ที่ ๒(เหนือสะดือ) ไปถึงที่ ๓ (หทัย) ถึงหทัยแล้ว ขอจะขอสัมปยุตธาตุทั้ง ๔ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ในที่ ๓ นั้นเล่า แล้วจึงแบ่งสมาธิออกไปตามเท้าทั้งสองข้าง แล้วยกสมาธิไปสู่ที่ ๔(คอกลวง) ให้เป็นสุขหน่อยหนึ่งแล้วจึงยกไป ๙(ปลายจมูก) ๘ ระหว่างตา ๗ ระหว่างคิ้ว ๖ (กลางกระหม่อม) ๕ (ท้ายทอย) มาที่ ๔(คอกลวง) แบ่งสมาธิออกไปมือสองข้าง
    ถ้าโรคไม่หนัก อย่าเข้าธาตุ อย่าชุมนุมธาตุ อย่าแบ่งธาตุ


    องค์ธรรมจุด นวหอรคุณ ๙ จุด


    ๑. สะดือ องค์ธรรมคือ พระนาคี
    ๒.เหนือสะดือ องค์ธรรมคือ ธาตุดิน
    ๓.หทัย องค์ธรรมคือ พระพุทโธ
    ๔.สุดคอกลวง องค์ธรรมคือ พระธรรมมา
    ๕.โคตรภูท้ายทอย องค์ธรรมคือ ธาตุลม
    ๖.กลางกระหม่อม องค์ธรรมคือ พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์
    ๗.ระหว่างคิ้ว องค์ธรรมคือ สงฆ์ผู้เป็นใหญ่
    ๘.ระหว่างตา องค์ธรรมคือ ธาตุไฟ
    ๙.ปลายจมูก องค์ธรรม ธาตุน้ำ
    สัมปยุตธาตุ ๑.สะดือ ๒.เหนือสะดือ ๓.หทัย ๔. อุนาโลม
    สัมปยุตปฤกษ์ กลางหทัย เลื่อนมากลางอก
    คว่ำจักร แผ่บารมีธรรมจักรลงล่าง จุดอุณาโลม จุคไหล่ขวา จุคไหล่ซ้าย จุดเหนือสะดือ ทำสมาธิดู สี่ทิศ ลงล่างแผ่บารมี สู่นรกภูมิ
    หงายจักร แผ่บารมีธรรมจักร ขึ้นเบื้องบน จุดสะดือ จุดเหนือสะดือ จุดหทัย จุดอุณาโลม สงเคราะห์ผู้อื่น แผ่ให้ผู้มีคุณ ครูบาอาจารย์ พบพระพุทธเจ้า พบสหายธรรม แผ่เมตตา
    จันทกลา ลมซ้าย ยับยั้งมาร เวลาลมซ้ายออก สุริยกลา แผ่บารมีให้มาร ปราบมาร
    ชักคลองจักษุ ไม้หวั่นไหว ในกิเลสภายนอกที่มายั่ว ตามีธาตุน้ำมาก ตาเห็นรูปที่สวย รูปที่ชอบใจ ทำให้ระงับเหมือนสายน้ำไหลไป ตาเห็นรูปที่ชั่ว รูปที่ไม่ชอบใจ ทำให้ระงับเหมือนสายน้ำไหลไป


    วิชาดูแลจิต ดูแลกาย

    ให้ทำจิตให้ว่าง แล้ววางไว้ที่หทัย ดูที่หทัย แล้วเลื่อนลงมาที่ กลางสะดือ แล้วอธิฐานว่า ข้าพเจ้าจะขอเรียนพระกัมมัฏฐาน ดูแลจิต ดูแลกาย ขอมารทั้งหลาย อย่ามารบกวน ข้าพเจ้าในเวลานี้เลย แล้วนั่งดูความว่างที่สะดือเฉย ต่อมาให้พิจารณาธรรม แล้วประเทืองปัญญา
    วิชาระวัง จิตระวัง กาย กายเป็นบ่าว ของจิต ถ้าจิตใจสบาย กายก็สบาย จิตเป็นสุข กายก็เป็นสุข ไม่นอนกระสับกระส่าย
    เปรียบเทียบ

    วิชาสลายจิต สลายกาย วิชาตัดขันธ์ วิชาทำอิทธิฤทธิ์

    หนีความวุ่นวายโลกภายนอก หนีทุกข์เวทนา จากกายเนื้อ ทำฤทธิ์ได้ต่างๆ

    ให้ตัดจากกายทิพย์ ต้องมีสมาธิจิตกล้าแข็ง ลืมทุกสิ่งฯ มีมโนมฤทธิ์ เป็นต้น


    ๑. สลายธาตุน้ำก่อน(คอแห้ง) ๑.สลายธาตุน้ำ ๑.สลายธาตุน้ำ
    ๒.สลายธาตุไฟ (หนาว) ๒.สลายธาตุไฟ ๒.สลายธาตุไฟ
    ๓.สลายธาตุดิน (หนักเบา) ๓.สลายธาตุดิน ๓.สลายธาตุดิน
    ๔. สลายวิญญาณธาตุ ๔.สลายวิญญาณธาตุ ๔. ห้ามสลายวิญญาณธาตุ
    ดับความยึดมั่น ลืมทุกสิ่งทุกอย่างได้ วิญญาณธาตุรู้แจ้งอิทธิ
    ไม่มีร่างกาย ไม่เอาร่างกาย ทางทวารทั้งหก
    ๕. ห้ามสลายธาตุลม(จิตอยู่ถุงลม) ๕. สลายธาตุลมสุดท้าย ก่อนตาย ๕.สลายธาตุลม-อาธาตุ
    เพราะสังขารยังมีอยู่ ถ้าขันธ์ยังอยู่กลับมาได้


    วิชาธาตุดวงแก้ว ๔ ดวง


    นะ แก้วมณีโชติ อาโบธาตุ น้ำ (หัว)
    มะ แก้วไพฑูรณ์ เตโชธาตุ ไฟ (ใจ)
    อะ แก้ววิเชียร วาโยธาตุ ลม (หลัง)
    อุ แก้วปัทมราช ปถวีธาตุ ดิน (ปาก)
    เสกต่อแตนใช้ใบมะขาม หรือใบไม้อะไรก็ได้ เป็นใบไม้ใต้เกราะกำบัง ใบบนต้นที่ถูกกำบัง เสกด้วย มะ ธาตุไฟ ตามด้วยธาตุลม คือ มะ อะ อุ นะ เป็นต่อแตนแล
    ทำน้ำมนต์ใช้ได้ทุกอย่าง ให้ทำตอนยามสาม ยามสี่ สงัดนักแล เสกแผ่ด้วยอำนาจแห่งเมตตา ใช้ได้ทุกอย่าง ทำลายทุกอย่าง ไม่ว่าเป็นความ สะเดาะเคราะห์ ผีเข้า เป็นไข้ เป็นต้น รดน้ำมนต์เย็นด้วยเมตตา อธิฐาน ขอให้น้ำที่เย็น เย็นเข้าถึงจิตใจผู้รับ เย็นขั้วหัวใจแล
    เป่าให้เย็นทั่วสารพางค์กาย และลมออกทวารแล ต้องประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ๑. จิตผู้เป่าต้องบริสุทธิ์ ๒.จิตผู้รับต้องดี ๓.พระคาถาดี เวลาเป่าให้อธิฐานถ้าคนผู้นี้มีบุญ หรือมีกุศลส่งแล้ว ขอให้รับการเป่าคาถานี้ได้ หรือขอให้เกิดเวลาจิตเขารับได้ จะมีอาการขนพองสยองเกล้าฯ




    การใช้อักขระ ๒๗ ตัว


    ๑. นะ ใช้เรียกฝน ใช้ทางเมตตา นอ นี้ใน ว่าหามิได้ รูปร่างบ่เป็น
    ๒. โม มหาละลวย นิยมชมชอบ คนนิยม โม ว่าอ่อน บ่ห่อนแข็งเข็ญ
    ๓. พุท พระปัตติมาร ตรัสได้ทุกตัว ทำได้ทุกอย่าง , ตรัสรู้เห็นประเสริฐนักหนา
    ๔. ท หนักให้เบา เบาจิต เบากาย
    ๕. ยะ ตัววิญญาณ การเคลื่อนที่ไปของธาตุ ใช้ลงคนที่ซึมเศร้า คนง่วงหงาวหาวนอน คุยแล้วไม่สนใจลงได้ คนสนใจจ้องเขม็งไม่ต้องลง
    ๖. ทา ตรีเพช ปลุกเสกให้มั่น
    ทอ ทา ทอ ทม สี่ตัวอุดม ทรงเป็นอัตตรา
    ๗. สิ เพ็ชน่าทั่ง ตังลง ตัวคุม อักขระ สิ ว่าแข็ง เรี่ยวแรงตัวกล้า ว่ามั่นคง
    ๘. ทอ หนูหมารสะดม เมตตามหานิยม เหนียว ลงเครื่องยนต์
    ออ ว่าเห็นตรง บ่ได้มืดมัว
    ๙. อะ ตัวงาม ตัวดีมีสิ่งไม่ดี เขียนอักขระ อะ ลงไป เป็นสิ่งดีหมด
    ๑๐. อา พระยาราชสีห์ ลงคุมครองผู้ใหญ่ ข้าราชการดี อา ว่าหนา ว่าเล่น มาไม่ถึงอยู่ข้างนอก
    ๑๑. อิ – มิ พระยาราช อักขระ ตัวกัน ของไม่ดี กันของชั่วร้าย
    ( ท.ทา ท.ทม ) ลงเรื่องเกี่ยวกับการเจรจา การทูต ทนาย ทางความ
    ๑๒. อี อิ อี เรี่ยวแรงตัวกล้า
    ๑๓.อึ อื คือไว้ภายในกายา คุ้มครอง ป้องกัน อันตรายภายในภายนอก ลงให้ทหาร
    ๑๔.อื
    ๑๕.อุ อู หาที่เสมอไม่ หาที่สุดมิได้ ถือไว้ให้แน่ จักได้กุศล ถ้าจักภาวนายิ่งกว่าฝูงคน ลงค้าขาย ใช้เรียกอะไร เรียกคนก็ได้ เพิ่มพูลขึ้น ต้องการอะไรมากๆ
    ๑๖.อู
    ๑๗. ฤ ตัวมา ตัวโอม ตัวเป่า อยู่ในใส้
    ๑๘. ฤา ตัวไป ลงท้าย ว่าตรงมา
    ๑๙. ฦ ใช้ได้ไม่เปล่า ใช้เมตตา ว่าได้
    ๒๐. ฦา ไปทั้วจักรวาลย์ กันภัย ฦ ฦา ว่ารู้ ลือไปทั่วทั้ง ๘ ทิศสา
    ๒๑. เอ แอ กุมภัณลับหอก ตัดรอนสิ่งไม่ดีให้ขาด
    ๒๒. แอ ตัวงดแล
    ๒๓.ไอ มีตะบะ
    ๒๔.ใอ พระยาราชสีห์
    ใอ ไอ กล่าวเรื่องราว กล่าวกลอน ว่ากลัว ว่าอย่า
    ๒๕. โอ โหร อง บันลือ หัวทุกทีว่ามีอารมณ์ ควบคุมอารมณ์
    ๒๖. เอา อำ ให้งดไว้ก่อนพิจารณาให่แน่
    ๒๗. อัง
    อะ ปราบศัตรู ไม่มีคู่สู่ ๔ ทวีป ปราบศัตรูในล้ำโลกา

    พุทธานุสสติ


    ปีติ ๕ ทำธาตุ ยุคล ๖ ทำธาตุ สุขสมาธิธาตุ พุทธานุสติ ธรรมมานุสสติ สังหานุสสติ ภาวนาเป็นอนุโลมปฏิโลม ใช้นิ้วเรียกสติกลับ
    ตั้งจุดอานาปาน เป็นอิทธิฤทธิ์
    ๑.สะดือ ตั้งเป็นตุณหิ แต่สมาธิเปล่า ๑ บาท ๕ นาที แต่ละจุด ตั้งสมาธิเปล่า ๕ นาที บริกรรม ๕ นาที ทุกๆที่
    ๒.เหนือสะดือ ๒ นิ้ว อิติปิโสภะคะวา
    ๓.หทัยประเทศ นะ โม พุท ธา ยะ เรียงแถวชั้นนอกนี้จะถอย บริกรรมออกมาได้บ้าง ไปไว้หน้าบ้าง
    ๔.สุดคอกลวง นะจังงัง โมจังงังพุทละลาย ธาคลาย ยะห่ามิตาย หายบัดเดี่ยวใจ แก้อับจน
    ๑๐ ท้ายทอยยะทาพุทโมนะ มหาละลวย
    ๕.โคตรภูมิท้ายทอย นะวาคะภะโสปิติอิ อิทาเรนะ โอนะทา นะปิดตา โม มิเห็น
    ๖.อัชดากาษ บนกระหม่อม นะโมพุทธายะ นะจังงัง โมจังงัง พุท สิทธิกำบัง ลับอยู่ ยะหายไป (๖มา ๗ หว่างคิ้ว เดชะหายลับศูนย์ อัง อะ อะ ศูน ศูน อิ แล้วว่า อิททาเรนะ โอนะทา นะปิดตา โมมิเห็น ปัญญาศูน ธาตุนิพพานังสัมปยุตตัง จะมาจับไปไว้ ๙ หนหลัง หนหน้าอย่าเปลี่ยนเลย
    ๗.อิสวาสุ เมตตา
    ๘.ทิพย์ศุนย์หว่างคิ้ว อีงอะอะ
    ๙..มหาศูนย์หว่างจักษุ ธาตุนิพพานัง
    ๑๐.จุลศูนน้อยปลายนาสิก
    ๔-๓-๖-๗-๘ หายตัว
    ๑-๒-๓ ดำเนินธาตุ
    ๔ กันคุณไสย
    ๕ กำบังภายนอก
    ๖ เมตตา
    ๑๐ งวยงง
    อาการสามสิบสอง
    ใช้รักษาโรค ๓๒ ชนิด
    ธาตุดิน ๒๐ เกศา ผม โลมา ขน นะขา เล็บ ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง มังสัง เนื้อ นะหารูเอ็น อัฏฐิ กระดูก อัฏฐิมิญชัง เยื้อในกระดูก วังกัง ม้าม หะทะยัง หัวใจ ยะกะนัง ตับ กิโลมะกัง พังผืด ปิหะกัง ไต ปัปผาสัง ปอด อันตัง ใส่ใหญ่ อันตุคุนัง ใส่น้อย อุททะริยัง อาหารใหม่ กะรีสัง อาหารเก่า มัตถะรุงคัง สมองศรีษะ>>
    ธาตุน้ำ ๑๒ ปิดตัง น้ำดี เสมหัง เสลด ปุพโพ หนอง โลหิตัง เลือด เสดท เหงือ เมโท มันข่น อัสสุ น้ำตา
    วะสา มันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงหานิกาน้ำมูก ละสิกาไขข้อ มูตตัง น้ำมูต>>
    กสิณ๑๐

    ๑.ปฐวี หม้อใหม่ เดินน้ำ
    ๒.อาโป น้ำใส ดำดิน
    ๓.เตโชเนื้อไป รักษาโรค
    ๔.วาโย ลมข้าวเปลือก บังหวน
    ๕.นีลัง เขียว
    ๖.ปิตัง เหลือง
    ๗.โลหิตัง แดงดอกชบา
    ๘.โอทาตะ ขาวน้ำเงิน
    ๙.อาโลก ขาวเหมือนเงาน้ำต้องแดด ทำให้สว่าง
    ๑๐.อากาศ เปล่าไม่มีอันใด ผ่านฝากำแพง


    อสุภกรรมฐาน ๑๐


    ๑.อุทธุมาตะกะ ซากผีพอง ทำใหญ่ ทำมาก
    ๒.วินิลกะ ซากผีเขียว กำบัง
    ๓.วิปุพพกะ ซากผีน้ำหนองไหล กำบัง เป็นน้ำท่วม
    ๔.วิทฉิททกะ เขาสับฟัน เป็นท่อนๆ ผีขาดสองท่อน แบ่งตัว แยกร่าง
    ๕.วิกขายิตะกะ กา หมา แร้ง กัดกินซากผี เสกเป็นแร้ง เป็นหมา ไล่ข้าศึก
    ๖.วิกขิตตกะ แยกเป็นท่อน หัวขาด ตีนขาด แยกมากๆ
    ๗.หตวิกขิตตกะ ขาดกระจัดกระจาย เขาเชือดเลือดทั้งตัวผี
    ๘.โลหิตกะ เขาเชือดเลือดทั้งตัวผี
    ๙.ปุฬุวะกะ หนอนกินซากผี ตามทวารทั้ง ๙
    ๑๐.อัฏฐิกะ ปรากฏ แต่กระดูกขาว ปากประกาศิต
    ๗-๘-๙-๑๐ เป็นอนุโลม ปฏิโลม เป็นวาจาสิทธิ์ ถอยหลัง เล็กใหญ่
    หตวิกขิตตกะ โลหิตกะ ปุฬุวกะ ถึงอัฎฐิกะ เข้าปฐมฌาน แล้วตรึกไป คือพูดเสียงที่เกิดในใจ
    ตรึก(นึกความเป็นไป แล้ววางเฉย) แล้วจึงพูดออกมาเป็นวาจา ให้เป็นธรรมชาติ เป็นมัชฌิมา
    จึงเป็นประกาศิตแล
    ๑-๑๐ แก้ปัญหา แก้ความ ทำน้ำมนต์ ใช้เทียนขี้ผึ้งหน้าผี ด้ายมัดผี ล้างหมดทำนิมิตจึงถึงกระดูก
    ให้เป็นกระดูกผุหมดกระจายหายไปตามลม
    ๑๐-๑ ชนะหมด ล้างหมด แก้คุณใส ทุกชนิด แก้กระทำ
    ๑-๑๐, ๑๐-๑ แก้คุณใส
    ๑-๕ แก้อาถัน อาเพศ
    ๕-๑ แก้ที่อาถัน
    ๑-๕,๕-๑ เปิดกรุ
    ๕-๑๐ แก้บ้า
    ๑๐-๕ กันพายุ กันลม เสกด้วย เห เห ปฏิเสวามิ กันไฟ เสกนกคุ้ม กันลม กันฟ้า เสกลูกสะกด
    ๕-๑๐, ๑๐-๕ เมตตาเป่าเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง

    [/size]
     
  6. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ สนทนาเรื่องกรรมฐาน กับพระครูสิทธิสังวร


    [​IMG]

    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima โทร.084-651-7023
     
  7. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    โยมมาจากซิดนี่ย์ ออสเตรเลีย มาขึ้นกรรมฐานแบบลำดับและนั่งกรรมฐานแบบลำดับ ที่คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม 4 ม.ค.58 เวลา 12.30 น.

    [​IMG]


    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  8. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    ญาติธรรมพาเพื่อนมาขึ้นกรรมฐาน 23 ธันวาคม 2557 เวลา 14.30 น.



    [​IMG]

    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  9. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764

    [size=18pt]ในนี้เพียงแต่ตัดย่อใจความมาเท่านั้นนะครับห้ามเดินจิตเองโดยไม่มีอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับควบคุมเด็ดขาดเพราะจะเป็นอันตรายได้


    [size=18pt]



    วิธีรักษาโรคตามแบบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ นี้มีความอัศจรรย์เป็นอย่างมากผูู้สนใจฝึกต้องเรียนรู้จากพระอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาเท่านั้นและผู้ที่จะใช้วิชานี้ได้ต้องเรียนรู้พระกรรมฐานผ่านถึงห้องขั้นสูงแล้วเท่านั้นจึงจะมีผลสัมฤทธื์ที่ดีขึ้นมาได้

    ที่นำมาตัดตอนเผยแพร่เพื่อรักษาองค์ความรู้แบบโบราณไว้และเพื่อชักจูงใจกุลบุตร กุลธิดาทั้งหลาย ให้สนใจในกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ นี้และรักษากรรมฐานดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาไว้สืบๆไป

    พระนวหรคุณ 9 ที่
    และ
    วิธีรักษาตัวเอง
    ของ
    สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน
    บัดนี้จะกล่าวในปกิณกะกถา แก้ในพระนวหรคุณที่ตั้ง มี ๙ ที่


    [​IMG]
    ๑.อัชชดากาษเบื้องต่ำ (สะดือ)
    ๒.บนนาภี นิ้วหนึ่ง
    ๓.ห้องหทัยวัตถุ
    ๔.ห้องสุดคอกลวง
    ๕.โคตรภูท้ายทอย
    ๖.อัชชดากาษ เบื้องบน (กระหม่อม)
    ๗.ทิพยสูญหว่างคิ้ว
    ๘.มหาสูญหว่างจักษุ
    ๙.จุลสูญน้อยปลายนาสิก
    ที่ทั้ง ๙ จุดนี้ เป็นทางระงับโทษต่างๆ เป็นทางที่จะซ่อนเร้นเวทนาต่างๆ เมื่อใกล้จะดับสูญ จะเป็นที่พึ่ง แก้ไข ระงับการป่วยไข้ อาพาธทุกขเวทนาต่างๆ ตามลัทธิบูรพาจารย์ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแต่ปางก่อน
    พระโยคาวจรผู้พากเพียร ได้ปฏิบัติสมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ชำนาญวสีดีแล้ว ให้ยกเอานิมิตที่ปรากฏในที่ตั้งพระกรรมฐานนั้นก็ดีด และองค์พระปีติ ๕ องค์ใดองค์หนึ่ง ที่ได้ชำนาญนั้นก็ดีและองค์พระธาตุให้เป็นอารมณ์ จึงยกเอานิมิตเอาไปไว้ในที่ตั้ง ๙ แห่ง ตามเหตุตามผล จะได้แก้ไขเจ็บไข้ทุกข์เวทนา จะให้ระงับโรคาพาธ โทษต่างๆ ได้ ให้รู้บาปธรรม คือ อกุศลจิต ๑๔ ตัว
    บาปธรรม ๑๔ ตัว

    อกุศลเจตสิก ๑๔ ตัว
    ให้พรโยคาวจรเจ้าผู้พากเพียร รู้จักบาปธรรม อกุศลเจตสิก ๑๔ ตัวนี้ให้เข้าใจ จะระงับโทษได้
    โมโห หลง
    อโนตตัปปัง มิกลัวแก่บาป
    โลโภ อยากได้ด
    มาโน มานะ
    อิสสา ริสษา
    กุกกุจจัง กินแหนงใจ
    มิทธัง หลับง่วง

    อหิริกัง มิละอายแก่บาป
    อุทธัจจัง สะดุ้งใจ ฟุ้งซ๋าน
    ทิฏฐิ ถือมั่น
    โทโส โกรธ
    มัจฉริยะ ตระหนี่
    ถีนัง หดหู่
    วิจิจฉา ลังเลสงสัย

    นี้บาปธรรม อกุศลเจตสิก ๑๔ ตัว
    กิเลสบาปธรรมทั้ง ๑๔ ตัวนี้ เมื่อเกิดขึ้นในตัวเราจะทำให้ธาตุทั้ง ๔ กำเริบ เกิดเป็นโรคภัยไข้เจ็บได้

    [​IMG]
    รูป แสดงจุทีตั้งนวหรคุณ ๙ จุด

    ที่ ๑. เป็นที่ระงับเวทนาทั้งปวงแล
    ที่ ๒. เป็นที่เกิดแห่งบาปธรรมทั้งปวง ตั้งที่ ๒ ที่ ๓ เกิดกำลังนัก อันห้องพระพุทธคุณนั้น คือระหว่างที่ ๓ มาถึงที่ ๒ นั้นเป็นชุมนุมธาตุ
    ที่ ๓. เป็นที่ปฏิสนธิ กุศล และ อกุศลสัมปยุตธาตุ
    ที่ ๔. เป็นที่หลับ ที่ขาดรส ที่ภังคะ ที่นิโรธสัจ ร่วมกัน
    ที่ ๕. เป็นที่ซ่อนเวทนาทั้งปวง ทั้งขาดบาปธรรม เมื่อจะอาสันนกรรม ดับพิษงู ฝีทั้งปวง
    ที่ ๖. เป็นที่อดใจ เป็นขันติ ความอดทน โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม
    ที่ ๗. เป็นที่ประหารแห่งโทษทั้งปวง เป็นตบะเดชะด้วย
    ที่ ๘. เป็นที่เกิดปัญญาเห็นโทษ
    ที่ ๙. เป็นที่นำแห่งความยินดีทั้งปวง และนำปฏิสนธิแห่งสัตว์


    แก้ธาตุกำเริบวิบัติ

    ถ้าธาตุทั้ง ๔ กำเริบก็ดี จะแก้ให้ยกจิต ประกอบด้วยนิมิต ลงไปไว้ที่อัชชดากาษเบื้องต่ำ คือ สะดือ ก่อนที่เดียว จึงอธฐานจิต ชุมนุมธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ทั้ง 5 โพชฌงค์ 7 อย่าให้รายออกตามที่นั้นเลย ให้อธิฐานซึ่งธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ทั้ง 5 โพชฌงค์ 7
    ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    อินทรีย์ทั้ง 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    โพชฌงค์ 7 คือ สติสัมโพชฌงวค์ ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชเงค์ ลงในที่อันเดียวกันนั้นเถิด ฯ ครั้นจะรายตามที่ตั้งขึ้นมา ธาตุซึ่งกำเริบนั้น และ โรคที่กำเริบนั้น ก็จะเคลื่อนตามโรคที่ขึ้นมานั้น จึงห้ามมิให้รายขึ้นมา ถ้าว่าจะหายใจก็ดี ให้เอาสติกดรักษาลง ไว้ที่อัชชดากาษเบื้องต่ำ คือสะดือ มิให้ลอยขึ้นมาจนได้ จนกว่าโรคนั้นจะสงบลง
    (จบ แก้ธาตุกำเริบวิบัติ)

    แก้โทสะ โมหะจิตต์ เกิดวิตกหนัก

    ถ้าโทสะจริตได้เกิดโทสะหลง เกิดวิตกหนักก็ดี จะคลายลง ให้เอา เจตสิกกับจิตอารมณ์ที่แต่งให้เป็น กุศล อกุศล อัพยากฤต เป็นต้น กลางๆ ทั้งปวงประมวลลงมาที่ 1 จึงอธิฐานให้ระงับจึงยกไปสู่ที่ 5 เมื้อจะไปนั้นอย่าให้ขึ้นทางตรงทางเก่านั้นจะฟุ้ง ให้ขึ้นชิดสันหลัง จิตไม่ฟุ้ง นี้แก้วิตก แก้โทสะจิตต์ โมหะจิตต์แต่ที่เบาๆ นั้น ครั้นถึงที่ 5 แล้วให้ตั้งอยู่หน่อยหนึ่งจึงถอยไปที่ 9 แล้วปลายสวาสดิ์ไปให้ไกล แล้วเอาสติกลับลงไปตั้งที่ 1 นั้นเล่า ทำให้ได้ 2 – 3 หน จึงจะได้ความสุขนั้น
    ถ้าให้บังเกิดร้อนนักอย่างเดียว จะให้คลายลง ให้ประมวลเจตสิก ตามอย่างเมื่อครั้งแรก แต่เมื่อจะขึ้นจากที่ 1 ไปสู่ที่ 5 นั้น อย่าพึ่งขึ้นตามสันหลังก่อนให้ขึ้นตามทางกลาง จาก 1-2-3-4 สามทีก่อน จึงให้หนี ขึ้นไปทางชิดสันหลังไปสู่ที่ 5 เมื่อจะกลับลงมาทางที่ 1 นั้นให้กลับลงมาทางชิดสันหลังทางเดียวกันนั้นให้ทำอีก 2 ครั้ง รวมเป็น 7 ครั้งด้วยกัน ถ้าความร้อนนั้นมิหยุด ก็ให้รู้ว่าอาสันกรรมจะมาถึงแล้ว ก็ให้ซ่อนอยู่ในที่ อนุโลมนั้นเถิดฯ

    ถ้าจะใช้น้ำสิโณทก

    ถ้าจะใช้น้ำสิโณทกให้เอาน้ำตึงซึ่งหน้า แล้วเอาพระนวหรคุณทั้ง 9 (อะสังวิสุดลปุสะพุภะ) ให้ตั้งที่ 9 ก่อน แล้วไปที่ 1-2-3 แล้วไปที่ 5-6-7 ครั้นถึงที่ 8 ให้เอาตรงที่ 8 แล้วลงน้ำสิโณทกนั้น ให้ทำ 2 – 3 หนเถิด ถ้าจะใช้สิ่งใดก็ได้ทุกอัน ตามแต่จะอธิฐานเถิด ทำเหมือนกันสิ้น
    แก้เป็นวัณโรค
    ถ้าเป็นวัณโรคจะให้เคลื่อน ให้เอาหัวแม่มือกดเพดานบน บริกรรมว่า สูญๆ ให้เต็มกลั่นแล้ว น้ำลายที่ติดหัวแม่มือนั้น ทาที่วัณโรคนั้นสัก 2 – 3 ครั้ง บริกรรมว่า สูญๆ หายแล
    แก้ลมขึ้น
    ถ้าลมขึ้นเบื้องบนให้เดินจงกรม แล้วปรายสวาสดิ์ คือหายใจออก ไปไกลเที่ยวให้เต็มเหนื่อยจงได้ จะขึ้นหนักเท่าไรพึงตั้งที่ 1 ชักที่ 2 ไปที่ 3 ห้องหทัยวัตถุ ขึ้นไปข้างไหนให้ชัดกวาดข้างนั้น เถิดฯ


    แก้ขัดยอก

    ถ้าขัดยอกขาให้เพลียไปก็ดีให้ตึงก็ดี จะแก้ให้นอนหงายก็ได้ นั่งเหยียดเท้า นั่งพิงพนักก็ได้ ให้ตั้งที่ 9 ให้ขาดก่อน จึงส่งไปลงที่ปลายเท้า เอาขึ้นมาปลายเสีย แล้วให้ส่งไปปลายเท้าใหม่เล่าแล้ว จึงขึ้นมาประหารเสียที่ 7 เล่าให้ทำเวียนอยู่ที่นี้กว่าโรคจะหายนั้น
    จะบำเพ็ญทาน
    ถ้าจะบำเพ็ญทานสิ่งใดให้ตั้งที่ขาดบาปธรรม จึงได้ผลานิสงส์มาก ขาดบาปธรรมคือที่ 5
    จะใช้พระคาถา
    ถ้าจะใช้พระคาถาบริกรรมทั้งปวงนั้น ให้เอาพระคาตั้งที่ 9 พร้อมจิต จึงเอาสมาธิวิถีทับลงเถิด


    [/size]



    ในนี้เพียงแต่ตัดย่อใจความมาเท่านั้นนะครับห้ามเดินจิตเองโดยไม่มีอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับควบคุมเด็ดขาดเพราะจะเป็นอันตรายได้

     
  10. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    [size=18pt]
    ในนี้เพียงแต่ตัดย่อใจความมาเท่านั้นนะครับห้ามเดินจิตเองโดยไม่มีอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับควบคุมเด็ดขาดเพราะจะเป็นอันตรายได้

    [​IMG]
    รูปแสดงที่ตั้ง 9 แห่ง

    [size=18pt]ถ้าปวดศรีษะหนักก็ดี เป็นโรคปัจจุบัน โรคบุราณ โรควิปริตทั้งปวง แม้เวทนา ยังพอแก้ไขได้อยู่ ยังมิได้แตกร้าวจะให้แก้ธาตุให้ตั้งที่ 1 โรคไขออหทวาร ถ้มิออกให้นรอนหงายลง เอามือกุมขัดสมาธิยกเท้าขึ้น เอาปัญญาส่งไปทวารเถิด ครั้นออกทวารแล้ว จึงเลื่อนตั้งที่ 2 เป็นที่ชุมนุมธาตุในที่ตั้งนั้นเอง ครั้นสุขแล้วจึงชักลงไปที่ 1 แล้วไขออกทวารเล่า แล้วขึ้นมาตั้งที่ 3 ชักลงไปที่ 1 แล้วไขเสียเล่าให้ขึ้นมาตั้งที่ 2 ให้เป็นสุขแล้วทำฌานทั้ง 4 เถิด ถ้าโรคนั้นหนักแก้ไม่หาย จึงยกหนีไปอยู่ที่ 5 และอนุโลมจนกว่าจะพ้นจากเวทนานั้น ให้ธาตุทั้งปวงดับก่อน ให้ชีวิตดับต่อเมื่อภายหลัง อย่าให้ระคนปนด้วยธาตุ จึงไม่มีความเวทนาครั้นตั้ง ธาตุ 4 สัมยุตด้วยชีวิตจะบังเกิดเวทนา ครั้นยกจิตไปตั้งที่ 5 และที่อนุโลมแล้ว ธาตุทั้งปวงสัมปยบุมิถึงเลยหาความเวทนาจะเบียดเบียนเมื่อจะอาสันกรรมนั้นมิได้ แม้โรคนั้นเบาให้เอาลงสันหลังลงไปชิดที่ 1 จึงชักที่ 2-3 ลงไปที่ 1 อันนี้แก้โทษเบาเล็กน้อยง่ายดี ถ้าจะแก้โรคทั้งปวง ถ้าจะแก้โรคทั้งปวง จำปรายสวาสนั้นด้วยถ้าไม่ปลายมักเกิดโรค
    แก้ไข้หนัก
    ถ้าไข้หนักให้ผลักอารมณ์นั้นขึ้นข้างเคียวคอไปอนุโลม แต่ผลักเปล่านั้นช้าๆ ให้มือกุมศรีษะอย่างพิงพนักอารมณ์ไปเร็ว กุมแต่มือเดียว อย่าให้ลมถูกลิ้นไก่ไหว ค่อยระลายลมแต่เบาๆ

    ปีติ 8 ประการ
    แก้ขัดเบา แก้โรคเกิดในกายต่างๆ ทำให้เลือดลมเดินสะดวก



    ตั้งหทัยแล้วลงไปที่ 1 แล้วกลับมาขึ้นตั้งปิติสัมโพชฌงค์ ที่หทัย แล้วคลุมจากหทัยไปที่ศรีษะก่อน จึงลงมาทั่วตัวจนถึงเท้า
    โลมาปิติ
    สังฆปิติ
    ปัพพวัณณปิติ
    สุขปิติ
    มหาโลมาปิติ
    มหาสังฆปิติ
    มหาปัพพวัณณปิติ
    มหาสุขปิติ
    คลุมแต่ผิวหนัง
    คลุมในเนื้อ
    คลุมในเส้นเอ็น
    คลุมในกระดูก

    แก้ขัดเบา แก้โรคเกิดในกายต่างๆ ทำให้เลือดลมเดินสะดวก
    ครั้นคลุมลงมาถึงคอแล้ว ให้คลุมลงไปในเส้นเอ็นจนถึงเท้า แก้ไข้จับ โรคต่างๆ ก็ได้ ถ้าขัดเบาให้ลงไปตามทวารเบานั้นเถิด ถ้าโรคบังเกิดในผิวหนัง บังเกิดในเนื้อในเส้นเอ็น และ กระดูกก็ดีให้ย้ายไปตามฐานโรค บังเกิด นั้นพิเศษนักแล
    จะขาดบาปธรรม
    อันจะขาดบาปธรรมนั้นให้ตั้งที่ 7 ก่อน ถ้าไม่หายไปที่ 6 ถ้าไม่หายไปที่ 5 หายสิ้นแลตั้งที่ 7 อย่าตั้งลงที่แท้ ให้เคียงลงไปที่ อา นั้น ถ้าตั้งที่ 6 ให้ตั้งที่ใต้ที่นั้นลงมาหน่อยหนึ่ง คือ ที่ อึ นั้น

    ปลูกรสอาหาร แก้อดอาหาร แก้กระวนกระวาย แก้อัสวาสดิ์ 2 อย่าง


    ถ้าจะปลูกรสอาหาร ให้ตั้งถัดที่ 4 ขึ้นมาหน่อยหนึ่ง ตั้งแต่ปลายลิ้นเข้ามากลางแล้วมาต้น ให้เป็นสุขทั้ง 3 ที่แล้ว ให้ข้าวแก่คนไข้เถิด
    แก้กระวนกระวาย แก้อดอาหาร
    ถ้าอดอาหารให้โรโทโรทาอยู่ จะแก้ให้หายให้เอาสมาธิตั้งที่ปลายนาสิกสิ้นแล้ว ชักเขามากลางลิ้น จึงอธิฐานตั้งธาตุทั้ง 4 เข้าสัมปยุตในที่นั้น จึงเอาจิตชักทั้งสี่ทิศเข้ามาที่กลางลิ้นนั้น แล้วจึงเลือนขึ้นไปต้นลิ้นนั้นเล่า แล้วชักไปที่ 5 นั้นเถิด หายอยากรสอาหาร แก้กระวนกระวาย ทั้งชุมนุมธาตุเกิดกำลัง
    แก้อัสวาสดิ์ 2 อย่าง
    อัสวาสดิ์นั้นเป็น 2 อย่าง คือ อัดลงไปตั้งที่ 2 และที่ 3 นั้น จำนั่งเงยหน้าขึ้นด้วย จึงมีเจือกันนั้นอย่างหนึ่ง อัดขึ้นคือภังคะ ดับ ให้ขาดที่นั้น ขึ้นไปตั้งที่นั้น จำนั่งก้มหน้าลงสักหน่อยและย่อกายด้วยจึงมีเจือกันอย่างหนึ่ง อันอัดนี้อย่าให้เจอกันได้เลยทีเดียววิเศษนัก และยิ่งกว่าทั้งปวง แลถ้าอัดขึ้นที่ 4 ถึงจุอยู่ช้าก็หาโทษมิได้ อันอัดขึ้นถึงที่ 5-6-7 นั้น ถ้าหาวิตกเจือมิได้ ถึงจะอยู่ช้าเท้าใดก็ดี แม้วิตกยังเจืออยู่จะอยู่พ้น นาที 1 มิได้ จะฟุ้งเสียแลที่หลับ ที่ขาดรส ที่ภังคะ ที่นิโรจสัจร่วมกัน ที่ตื่น ที่ปลูกรส ที่สมุทัยร่วมกัน

    1.อัชชดากาษเบื้องบน


    ถ้าจะเข้าจักร สุกิตติมา นั้นให้ออกแต่สมาธิเปล่าก่อน ครั้นเจนเข้าที่แล้วจึงออกสุกิตติมาตามอย่างก่อนนั้น แล้วจึงให้ตั้งจักรที่ 5 คือ 1-2-3-4-6 ครั้นครบทั้ง 5 แล้ว จึงให้คลี่ออกเป็นบาท เป็น นาที เล่า อันเป็นบาทนั้นคือ อันเป็นนาทีอันแต่ละที่นั้น บริกรรมให้จนจบ พระคาถาจงทุกที่ทั้ง 8 ที่นั้นเล่า

    สุกิตติมา
    สุภาจาโร
    สุสีลวา
    สุปากโต
    ยสัสสิมา
    วสิทธิโร
    เกสโรวา
    อสัมภิโต
    อยู่ที่ 1
    อยู่ที่ 2
    อยู่ที่ 3
    อยู่ที่ 4
    อยู่ที่ 6
    อยู่ที่ 7
    อยู่ที่ 8
    อยู่ที่ 9

    ฌานโลกุตร 19 คือ โลกุตตะรังฌานัง



    ให้ถอด โลกุตตรัง จิตตัง ฌานัง ออกเป็นพิเศษ เป็นที่เพ่ง ที่เดิน ที่พัก ในที่ตั้งลมคือ ที่ 1 อัชชดากาษเบื้องต่ำ สะดือ ที่ 7 คือทิพยสูญหว่างคิ้ว แล้วทำให้เป็นอนุโลม ปฏิโลม
    ถ้าตั้งมิอยู่ลอยขึ้นมาก็ดี เลื่อนออกมาข้างหน้าก็ดี จะตั้งให้อยู่ให้ตั้งตีนครุ ดังนี้ก่อนจึงให้ตั้งลงกลางตีนครุนั้น มิเลื่อนมิลอยเลย อยู่ได้ที่แล จะตั้งที่ใดให้ตั้งตีนครุที่นั้น จงทุกๆ ที่เถิด ฯ



    จะทำปิติประวัติตั้งแต่ที่ 4 เวียนซ้ายแต่ช้าลงไปที่ 1 แล้วหยุด จึงขึ้นตรงมาเอาที่ 4 แล้วจึงเวียนขวาลงไปจนถึงที่หนึ่งเล่า แล้วเข้ามาอยู่ในที่ 1 นั้น เมื่อเวียนข้างในแต่ให้คลาดออกมาข้างนอกด้วยเหมือนคลุม ถ้าเป็นสุขแล้วก็เอาเถิด ถ้ายังไม่สุขให้ทำอย่างนี้อีก 2 นาทีกว่าจะหาย ถ้ามิหายชักสู่ที่ 5 ลงมาสู่ที่ 9 แล้วปรายสวาสดิ์หายใจออกไป จึงขึ้นเอาที่ 8-7-6-5 ให้ตั้งอยู่ในที่ 5 นั้นเที่ยว 2-3 นาทีแก้สะท้านร้อน หนาว เมื่อยขบ
    แก้เส้นยอกขัดขวาง
    ถ้าเส้นยอกขัดขวางอย่างปัตคาตก็ดี จะให้หาย ให้สูบลม่เข้าไปแต่เบาๆ แล้วกุมไว้ที่คอแต่เบาในลมนั้นค่อยตึงกระสายไปสักหน่อย ถึงที่เจ็บขัดยอกนั้นคลาย ให้ปรายสวาสดิ์หายใจออก ไม่ปรายมักเกิดโรค จามออกมาทีไรฉวยเอาลมนั้น สูบไว้ทุกทีตั้งสมาธิเกิดที่ 5 นั่งก้มคอสักหน่อยจึงจะมิเจือกันแล
    แก้ธาตุทั้ง 4 ดับสูญ

    ถ้าธาตุทั้ง 4 ดับแล้วก็ดีผัดไปได้อีก 7 วัน ถ้าสูญให้สูบลมเข้ามาด้วยหีบ ก่อนแล้ว เอามือปิดข้างหีบไว้ สูบเอาข้างหับเข้ามาแต่ในปรานเดียว ข้างจันทสูบหับก่อนแล้วจึงหีบ (จันทกลา ลมซ้าย สูรย์กลาลมขวา แล้วเอา อะอุทธัง ไปสู่ อเหฏฐา แล้วเอา อา ยก อเหฏฐา ขึ้นมาสู่ อัง ก่อน จงยกไปสู่อัง ให้ติดกัน ถ้ามิไปสู่ อัง ก็ให้ไปสู่ อา เถิด อันสูบเข้ามานี้เป็นชุมชุมธาตุให้พร้อมข้างภายใน กว่าสมาธิจะตั้ง แล้วแก้ธาตุด้วยแล
    แก้ลงท้อง
    ถ้าลงท้องหนักให้ตามสันหลังไปที่ 1 จึงชักแต่ที่ 1 ลงไปทวารเบื้องต่ำ ถึงแล้ว ให้กำอารมณ์ขึ้นมาที่ 1 แล้วเอาอารมณ์ขึ้นมาสู่ที่ 2 พิจารณาดูมีความสุขแล้วเอาเถิด ถ้ายังให้กุมอารมณ์ขึ้นมาที่ 3 ถ้ามิหาย นั่งนอนก็ดี ให้สติกำอารมณ์ไว้ในที่ 2-3 นั้นกว่าจะคลายทีเดียว
    รูปภาพแก้ให้ขาดรสราคะ สูบลมเข้า แก้โรคเขาอื่น

    ถ้าจะให้ขาดรสราคะปฏิสนธินั้น อย่าให้กายกับชีวิตนั้นเนื่องกัน ให้ยกชีวิตขึ้นไปเสียให้พ้นกาย คือให้ยกที่ 2 ขึ้นไปอยู่ ที่ 3 ก็ได้แม้มิถึงที่ 3 แต่พอด้นที่ 2 สักหน่อยหนึ่งก็ได้ แล้วชักเอารสราคะในที่อยู่คือที่ 1 ไปเผาเสียในที่เจ็ดนั้นเถิด
    สูบลมเข้า
    ถ้าสูบลมเข้ามาเท่าใด ก็ให้ปลายออกไปเท่านั้น ไว้มักเกิดโรค ถ้าปรายออกไปมากแล้ว ให้สูบเข้ามาไว้บ้าง อันลมออกมากนั้น จะให้โทษสิ่งใดนักนั้นหามิได้ แต่สมาธิมีสิ่งเดียวนั้นแล
    แก้โรคเขาอื่น
    อันจะแก้โรคเขาผู้อื่นนั้น ให้ตรวจน้ำให้ก่อน ถ้าไม่หายจึงให้ชุมนุมธาตุอินทรีย์ และโพชงค์ ถ้าไม่หายยกไปที่ขาดบาปธรรม ที่ตัวเราเอง ถ้าจิตนั้นมีความกรณุณาผู้ไข้นั้นพักอยู่ อารมณ์นั้นย่อมท้ออยู่ จะทำการมิเป็น ให้ปลงอารมณ์เป็นอุเบกขา ให้ขาดจากความรัก ความกรุณาก่อน จึงทำการเป็น ครั้นแก้แล้วให้ปลายสวาสดิ์ หายใจออกทุกครั้ง แล้วนั่งเป็นสุขในที่ 9 ทุกครั้ง จะมิเสียตัว ถ้ามิทำดังนี้ พลอยเสียตัวมีมากแล้วให้ว่า โอกาเส ติฏฐาหิ ปรายสวาสดิ์แล้วตั้ง ที่ 7 ให้มันสิ้นไปแล
    รูปภาพสูญแตก

    ลักษณะสูญแตกนั้นดังดั่งเสียงปืน อันสูญร้าวดังดั่งคั่วข้าวตอก ถ้าแตกร้าวในที่ 2-3 ได้แก่ตัว ในที่ 7 ได้แก่ผู้มีพระคุณทั้งปวง แตกในที่ 8 ได้แก่พี่น้อง แตกในที่ 9 นั้นได้แก่บุตรทาริศาย์ทั้งปวง ถ้าร้าวแต่ลำบาก ถ้าแตกตายแต่ว่าช้า 30 วันบ้าง 15 วันบ้าง ถ้านิมิตกองเพลิงซึ่งหน้าตายเร็ว 6-7 วันแล
    ภังคะ
    ครั้นกินอาหารแล้วให้กลืนน้ำ 3 ที แล้วให้ภังคะ (ดับ) ในที่รสอาหาร ในที่ 4 หน่อยหนึ่งแล้วชักลงไปที่ 7 นั้นเถิด ให้ทำจงทุกวัน ถึงกินของแสลงก็หาโทษมิได้ อันภังคะคือให้ตั้งสมาธิอยู่กับที่ อย่าให้เลื่อนลงไปตามน้ำที่กลืนนั้น แล้วนำไปที่ 7
    นั่งจุกหู
    นั่งจุกหูนั้นให้ตั้งที่ ภ คำหมากหนึ่งก่อน แล้วยกขึ้นมาปิดหูข้างขวาก่อนครั้นตึงแล้ว ลงไปที่ 3 อยู่คำหมากหนึ่ง แล้วยกขึ้นมาปิดหูข้างซ้าย ครั้นตึงแล้วจึงยกไปที่ 3 เถิด

    แก้ธาตุผูก บอกให้ผู้อื่นแก้ไข้ แก้ไข้กินอาหารมิได้

    ถ้าธาตุผูก 9 วัน 10 วัน จะแก้ให้เอาสมาธิไปตั้งที่ 2 ที่ 3 ที่ 1 แล้วเอาลงไปตั้งทวารที่ประตูนั้นแล้วจึงเอาจิตปรายออกไป ตามทางทวารนั้น 2-3 ที่ให้เอาอารมณ์ตั้งที่ประตูไว้จะลงช้าจน 3 คำหมากถ้าเบาขัดให้ยกไปตามทางนั้นก็ได้
    บอกให้ผู้อื่นแก้ไข้
    อันจะบอกให้ผู้อื่นที่ไม่ได้เรียนพระธรรม จะหักเวทนานั้นให้บริกรรม อรหัง ก่อนโรคนั้นจึงระงับเร็วต่อไกลจึงบริกรรมด้วย อนัตตา ถ้าเวทนามีกำลังนักก็ดี ให้กรวดน้ำให้แก่เจ้ากรรมนายเวรให้คนไข้ยึดขันน้ำแล้วแผ่เมตตา นี้ระงับเวทนาเร็วนัก ถ้าแก้ผ้าให้ว่าโทษเกิดในกายทวาร ถ้าโทษนั้นเกิดในใจให้ว่าโทษเกิดในมโนทวาร ขอพระธรรมเจ้าจงมาประหารเสียซึ่งโทษให้บริสุทธิ์ ด้วยเดชคุณแก้ว 6 ประการจงมาเป็นที่พึ่งแก้นี้เถิด
    แก้ไข้กินอาหารมิได้
    ถ้าไข้มิได้แตกร้าว กินข้าวมิได้ 9-10 วันก็ดี เดินเหินได้อยู่จะแก้ให้ทำอารมณ์ อุเบกขา เป็นอารมณ์ตั้งในที่เกิดรส ถัดที่ 4 ไปมาหน่อยหนึ่งเอาสมาธินำไปที่ 7 มาที่ 1 ชักไปยังที่ 2-3 ตั้งอยู่ที่ 4 เป็นที่สุดทีเดียวที่หลบเวทนานั้นอย่างเก่า
    ออกบัวบานพรหมวิหาร

    ถ้าจะออกบัวบานพรหมวิหาร ครั้นตั้งจักร ด้วยสุขีแล้ว จึงออกแต่สุขี แต่ในภูมิไป ทุติยะถึงทุติยออกด้วย อเวรา แต่ทุตยะนั้นออกขึ้นตรงหน้าถึง พรหมโลก จบ อเวรา จึงคลุมแต่พรหมโลกลงมาเอาขอบจักรวาลให้เห็นขอบจักรวาลอยู่ พอจบ อเวรา แล้วจึงช้อนลงไปตามศิลาปฐพี รอบลงไปเอาอเวจีด้ย อเวรา จบหนึ่งเล่า กลับมายังภูมิ บริกรรมด้วยสุขีสักคำหมากหนึ่ง (จบบัวบาน)
    ห้ามแก้โรคทั้งปวง

    อันจะแก้โรคทั้งปวงเขานั้นทำแต่ตัวเอง ครั้นแก้ผู้อื่นจะเสียตัวด้วยโรค ผู้ใดบอกให้ตัวเขาแก้ตัวเขาเอง แต่ที่ได้เรียนด้วยกัน จะแก้เขานั้นอย่าทำเลย
    ถ้าจะยาตราไป

    ถ้าจะยาตราไปที่แห่งใดๆ ก็ดี ให้ตั้งสัจจบารมีต่อคุณพระพุทธเจ้าก่อน เอาปัญญาพิจารณาเหตุว่าคุณพระพุทธเจ้าจะเป็นที่พึ่งได้แต่เหตุ 3 ประการ คือ อุปเฉทกรรม-อุปปิลกรรม-ปัจจุบันกรรม นี่คุณพระพุทธเจ้าช่วยได้เป็นเที่ยงแท้ แต่โบราณกรรมสิ่งเดียวนี้ คุณพระพุทธเจ้าช่วยมิได้เลยเป็นเที่ยงแท้ อันกุจะไปบัดนี้จะรู้ว่ามีกรรมสิ่งใดมิรู้ได้ ถึงว่าเป็นบุราณกรรมแล้วก็ดี ก็จะเอาชีวิตแรกเอาพระนิพพานเถิด อย่าถือทิฏฐิว่ากูได้เรียนพระธรรมเป็นที่พึ่งแล้ว จะกันอันตรายได้นั้น อย่าให้ไวอารมณ์อย่างนี้ (คือทิฏฐิ) เอาตัวรอดมิได้เลย ให้ปลงต่อความตายแล้ว จึงไปเถิดหาอันตรายมิได้
    แก้จิตต์หยาบ

    ถ้าจิตหยาบจะแก้ให้ละเอียด ให้ทำฌานโลกอุดร ทั้ง 4 นั้น ให้ลงข้างหน้าขึ้นข้างหลัง แล้วลวงทางกลางให้ทำ 4-5 ครั้ง กว่าจิตจะละเอียดนั้น
    แก้หวัดไอ

    แก้หวัดให้ตั้งที่ 9 ก่อน แล้วไปที่ 8-7-6 ครั้นถึงที่ 5 ให้รวยลง ไปแผ่นดินเหล็กขึ้นมาที่ 1 แล้วลงไปแผ่นดินเหล็กเล่า ขึ้นลงอยู่แต่ที่นี้ให้ล่วงนาทีก่อน นาที 1 หกปราณ ปราณหนึ่ง 10 อักษร ครั้นล่วงนาทีแล้วไขลงทวารเบื้องต่ำ ถ้าไม่หายให้ร้อยลงไปไขเล่าทำไปดังนี้ ให้ได้ 2-3 ที่กว่าจะคลาย อย่าขึ้นมาข้างบนเลย
    ตื่น – หลับ

    ตั้งที่ใต้คอกลวงนั้นหน่อยหนึ่ง ที่ขื่อกระดูกคอเป็นที่ระงับเหตุทั้งปวง ตั้งที่นั้นเป็นที่ทดลอง ที่คอนนอนกรนนั้นดู แล้วถึงที่หลับ – ตื่น
    เจริญพรหมวิหาร

    ถ้าจะทำพรหมวิหารแก่ผู้มีเวรนั้น ให้กระทำแก่ผู้มีเวรอันมีคุณนั้นก่อน คือให้ตั้งในภูมิด้วย สุขี คือ ให้สงบอยู่แต่ในภูมิ ก่อนแล้วจึงจะไป ทุติยะ แล้วไป จตุถ ไปปัญจม แล้วไป ทุติยะ เล่า เข้ามายังภูมิให้สงบสักหน่อยหนึ่ง ด้วยสุขี แล้ว จึงออกไปยังทุติยะ ด้วย สุขเล่า ครั้นเมื่อจะออกไปยังผู้มีเวรนั้น ให้ออกด้วยพระคาถานี้
    อเวราโหนตุ อัพยาปัชฌาโหนตุ อนีฆาโหนตุ สุขอัตตานัง ปริหรันตุ สุขี สัตว์ๆ สุข โหนตุ สุขีๆ กัมมัสสโก
    ครั้นเมื่อถึงผู้มีเวรแล้วให้บริกรรมด้วยสุขี ให้สงบหน่อยหนึ่งจึงกลับเข้ามายัง ทุติยะ ด้วยอเวราเล่า แล้วจึงเวียนซ้ายเป็นปฏิโลมด้วยสุขีเล่า แล้วเข้ามายังภูมิให้สงบ เมื่อจะออกไปยังผู้มีเวรทั้งปวงนั้นให้กระทำแก่ผู้มีเวรทั้งปวงนั้นเรียงกันอยู่ก่อน จึงเอาแต่ภูมิมาทุตยด้วย สุขี แล้วจึงออก ทุติยะ ไปด้วย อเวรา จนทุกคนกว่าจะสิ้นผู้มีเวรกัน ถ้าเป็นการเร็วก็อย่าเรียงตัว อเวรา เลยให้ร้อยตลอดไปด้วยสมาธิ ให้สิ้นผู้มีเวรทั้งปวงทีเดียวแล้ว ให้กลับมายังภูมินั้นเล่าด้วย อเวรา เล่าแล้วนำไปยังที่ 7 ทิพยสูญหว่างคิ้ว แล้วให้กลับมายังภูมิ ให้สงบในภูมิสักคำหมากหนึ่ง แล้วเอาเถิด
    ออกสังกระลึกกระนัย

    เครื่องจองจำ

    ถ้าจะออกสังกระลึกกระนัยให้ออกต่อหน้าผู้มีเวรที่เดียว แล้วกลับตรงเข้ามาอย่างเมื่ออกทีแรกนั้น ถ้าออกบัวบานนั้น ให้ออกแต่ภูมิไปยังทุติยะ ด้วย สุขี แล้วส่งขึ้นพรหมโลกด้วย อเวรา เล่า แล้วคลุมลงมใาเอาขอบจักวาลด้วยอเวรา แล้วรวบลงเบื้องต่ำไปถึงอเวจีด้วย อเวรา แล้วกลับไปยังภูมิด้วย อเวรา เล่า ให้สงบอยู่ในภูมิ สักคำหมากหนึ่งแล้วเอาเถิด
    แก้ธาตุหย่อน

    ถ้า ปฐวี อาโป เดิมนั้นหย่อน จึงให้ร้าวเป็นเกล็ดด้วย เตโช วาโย จะลั่นมิตลอด ถ้าจะแก้ให้ชุมนุมธาตุก่อน แล้วอธิฐาน เตโช วาโย ตั้งก่อน แล้วจึงเอา ปฐวี อาโป ช้อนข้างบน คือที่ในภูมินั้นแล้วจึงยกธาตุทั้ง 4 นั้นขึ้นมาชุมนุมในหทัยเล่า แล้วจึงเข้าอินทรีย์ โพชฌงค์ ทับลงเล่า สักคำหมากหนึ่ง 2-3 คำ หมากแล้วจึงประมวลเข้ามาให้สิ้นด้วยประการทั้งปวง คือ ธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ 5 โพชฌงค์ 7 มาตั้งในที่ 4 นั้น เล่า สัก 1-2-3 คำหมาก แล้วจึงยกแต่ที่ 9 นั้นไปยังผู้ใช้นั้น ให้ตั้งอยู่ในภูมิสักคำหมากหนึ่ง แล้วจึงยกประหารเสียในที 7 หาตัวเองนี้เล่าให้ทำ 2-3 ครั้ง แล้วทำเหมือนเมื่อแรกมานั้น ครั้นออกมายังตัวเรานั้นอย่าประหารเลย ให้คลุมลงให้ทั่วกายอย่างคลุม โลมาปิติ นั้น แต่เมื่อจะคลุมนั้นให้นึกว่าด้วยเดชพระพุทธเจ้าขอเอาให้ อาโป ปฐวีธาตุ ที่หย่อนนั้นขอให้พร้อมกัน ขอให้เป็นปรกติธาตุ อย่ามีอันตรายเลย
    รูปภาพแสดงแก้ธาตุทั้ง 4 ให้ระงับจิตระงับกาย

    แก้ปวดศรีษะ แก้พบสัตว์ร้าย
    ข้าจะขอเข้าธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ทั้ง 5 โพชฌงค์ทั้ง 7 ขอให้ระงับจิตตระงับกายให้สบาย จะขอเข้าเป็นนิคคหะที่ 1 จะขอเป็นปัคคาหะที่2 อันนิคคหะคือข่มลงไปถึงที่ 1 และปัคคหะคือยกแต่ที่ 1 มาที่ 2-3 ให้ทำไปจนกว่าจะได้สุขนั้น นี้แก้โรคสารพัด ทั้งปวงได้สิ้นทุกประการ าอย่างบุราณแก้โรคทั้งปวงด้วยกันแต่ช้า
    แก้ปวดศรีษะ
    ถ้าปวดศรีษะหนักก็ดี เส้นกำเริบก็ดี ธาตุวิปริตก็ดี โรคอันหนักจะแก้ให้คลายนั้นให้ตั้งแต่ที่ 9 ลงไป เอาที่ 1 แล้วจึงอธิฐานว่า ข้าขอเข้าธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ทั้ง 5 โพชฌงค์ทั้ง 7 แล้วจึงยกมาที่ 2 จึงขอชุมนุมธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ทั้ง 5 โพชฌงค์ทั้ง 7 นั้นในที่ 3 นั้นเล่าแล้วจึงแบ่งสมาธิชักออกตามเท้าทั้ง 2 นั้นเล่า แล้วยกสมาธิขึ้นมาสู่ที่ 4 ให้เป็นสุขหน่อยหนึ่งแล้วจึงยกไปที่ 9-8-7-6-5 แล้วจึงชักมาสู่ที่ 4 แล้วจึงแบ่งสมาธิไปมือทั้ง 2 ข้างให้ทำไปกว่าจะคลาย ถ้าโรคนั้นมิหนัก ก็อย่าให้เข้าธาตุอินทรีย์ เลยให้แบ่งแต่สมาธิออกก็ได้ อย่าชุมนุมสัมปยุตอย่างแบ่งธาตุนั้นเลย อย่างหนึ่งเร็ว แต่จำศึกษาให้เจนก่อนจึงจะแบ่งได้
    ที่ตั้ง 9 แห่งนี้อย่างหนึ่ง [/size]
     
  11. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    [​IMG]

    [​IMG]

    [size=18pt]


    *กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบต้นสายมาจากพระราหุลเถระเจ้าซึ่งเรียนมาจากพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกผู้ชำนาญทางกรรมฐานแบบต่างๆ แลท่านได้รวมเป็นการศึกษาแบบกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ

    *สมเด็จพระสังราช สุก ไก่เถื่อน (สมเด็จพระญาณสังวรมหาเถรเจ้า) องค์บรมครูวิปัสสนาจารย์ เป็นผู้สืบทอดสายวิชชาประจำกรุงรัตนโกสินทร์

    *พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ถือคติตามพระธรรมวืนัย และพระธรรมปฏิบัติ พระอรหันตสาวก

    *แนวการปฏิบัติสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แบบแผนเดิม มีขั้นตอนลำดับหมวดหมู่จากสมถะ (หยาบ) ไปสู่ขั้นวิปัสสนา (ละเอียด)

    * องค์คุณของการนอบน้อม เริ่มจากพระศรีรัตนตรัยสูงสุด (พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา) และคูณครูบาอาจารยืสืบ ๆต่อ ๆ กันมา

    * วิถีการบอกกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แบบดั้งเดิม จะต้องได้รับการดูแลตรวจสอบสภาวะจิต โดยครูบาอาจารย์ผู้รู้ ที่สุดแห่งสายวิชชา คือ อัปปมัญญาเมตตาเจโตวิมุตติ หรือเรียก การออกบัวบาน(สายวิชชาพระกรรมฐานมิชฌิมา แบบลำดับ - แท้- จะไม่ได้มีการมุ่งเน้นญาณอภิญญาใดใด)

    *จริยประเพณี ไม่ว่าจะมีสาขาแตกสายไปที่ใดใด ครูบาอาจารย์โบราณ จะให้ความเคารพความสำคัญที่สุดแห่งศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ (วัดพลับ - ราชสิทธาราม)

    *ณ ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดพลับ อยู่ระหว่างการฟื้นฟู จัดเป็นตำหนักพิพิธภัณฑ์พระกรรมฐาน เก็บรักษาสิ่งของสำคัญ เช่น ไม้เท้าพระราหุลเถระเจ้า เครื่องอัฐบริขารครูบาอาจารย์ ฯลฯ ซึ่งเดิมเคยเป็นที่ประทับทรงธรรมในล้นเกล้าพระเจ้าอยู่หัวฯ อาทิ ร.๑ ร.๒ และ ร.๓ ปัจจุบัน

    *ปัจจุบันมีพระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร) เป็นผู้สืบทอดสายวิชชาพระกรรมฐาน องค์ปัจจุบัน
    [/size]
    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  12. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    ญาติธรรมมาเยี่ยมพระ+ชมพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน+นั่งกรรมฐาน ที่วัดพลับคณะ๕ วันที่ 27 ธ.ค. 57 เวลา12.00น


    [​IMG]


    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  13. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    ญาติธรรมมาขึ้นกรรมฐาน-นั่งกรรมฐาน 7 ม.ค. 57 เวลา 16.30 น.


    [​IMG]

    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  14. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    ญาติธรรมมานั่งกรรมฐานวันพระ 12 ม.ค. 58 เวลา 08.30น.



    [​IMG]

    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  15. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    เชิญปฏิบัติธรรมพระกรรมฐานตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดฯตามแบบแผนพระพุทธเจ้า

    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ถนนอิสรภาพ ซ.อิสรภาพ23 บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯโทร.084-651-7023


    [​IMG]
    [​IMG]
    http://www.somdechsuk.org/node/573

    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    [size=24pt]
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ[/size]


    [size=22pt]
    ติดต่อได้ที่ หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
    ;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]
    [/size]
    [size=20pt]
    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
    [/size]
    [​IMG]
    [​IMG]

    รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด


    ============


    [size=18pt]ความสำคัญโดยย่อ ของ
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทยนั้นสำคัญขนาดที่ว่า พระมหากษัตริย์ในแทบจะทุกยุคของไทยแลแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัย ทวารวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ทรงให้ความใส่ใจและทรงศึกษาเพื่อรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้คงอยู่ตลอดมา รัชกาลที่1-2-3-4นั้นก็ยังทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้กับสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)[/size]

    [size=20pt]***ข้อควรรู้ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงสังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(กรรมฐานมัชฌิมา)[/size]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ใน ขณะนั้น พระกรรมฐานและเนื้อหาการเรียนรู้ในบวรพระุพุทธศาสนายังไม่้เรียบร้อยและไม่เป็นหมวดหมู่ดีนัก
    ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ ไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ทรงเป็นองค์ประธาน ในการชุมนุมพระสงฆ์สังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๔

    อนึ่งมูลเหตุของการทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเกิดจากการพูดคุยสนทนากัน ในหมู่พระสงฆ์จากหัวเมืองและชานกรุงว่า ...... การปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ถูกการปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ผิด เสียงวิจารณ์เล่าลือขยายไปทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ .......


    ความนั้นทราบไปถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการคณะสงฆ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่สองท่านนั้น จึงนำความทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทราบฝ่าพระบาท

    ต่อมาจึงมีการประสานงานระหว่างทางราชการและคณะสงฆ์ให้ชุมนุมสงฆ์ ทำการประชุมสังคายนาพระกรรมฐานขึ้น3วัน ....พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานถวาย ภัตตาหาร น้ำปานะ แด่พระสงฆ์ ๓ เพลาทุกวัน


    ซึ่งพระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นต่อมาก็ได้เผยแพร่สืบต่อกันเรื่อยๆมาอย่างไม่ขาดสายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย

    ===============================================================

    กัมมัฏฐาน ๓ ยุค

    credit :nathaponson ;http://www.madchima.org



    [img width=342 height=456]http://www.bloggang.com/data/warramutra/picture/1231600642.jpg[/img]​

    [size=18pt]
    ประณามพจน์ปฐมบทเรื่องของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ
    (ประณาม ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี.)

    บทความนี้เป็นความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้บันทึกเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่สุด ในประวัติศาตร์ของชาติสยามในเรื่องพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯที่ผ่านมาเพราะพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯเป็นการดำรงรักษาวิธีการกล่อมเกลา จิตใจเพื่อยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมที่พระเถรานุเถระแต่ครั้งอดีตได้บำเพ็ญ ฝึกฝน เป็นการฝึกจิตระดับเจโตวิมุติที่เพียบพร้อมทั้งสมาธิที่เป็นบาทฐานของอิทธิ ปาฏิหาริย์ที่เหนือปกติธรรมดาและหากน้อมปฏิบัติตามมรรคมีองค์- ๘ ก็จะเห็นแจ้งในสัจธรรมได้ไม่ยากเป็นทางประเสริฐที่อาจทำให้ผู้ก้าวไปบรรลุสู่ความสงบที่แท้จริง

    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯมีความสำเร็จได้ประโยชน์ในสองส่วน เป็นทั้งการบำเพ็ญเพื่อความหลุดพ้นและได้อิทธิฤทธิ์ ไปพร้อมกัน

    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นได้รวมพุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดขั้นตอนทั้งการปฏิบัติสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงพุทธธรรมอื่นๆที่หลอมรวมกันอย่างลงตัว

    [size=25pt]
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นเป็นการปฏิบัติจิต ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาที่ชาวสุวรรณภูมิยึดถือปฏิบัติมาตลอด

    นับแต่ครั้งกรุง สุโขทัย บรรดาพระอริยะเจ้าและพระเถระในอดีตต่างเคยฝึกฝนอบรมภูมิจิตภูมิธรรมในแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น

    ไม่ว่าจะเป็นพระมหาเถระคันฉ่อง (สมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) สมเด็จสวามีรามคุณูปมาจารย์(ปู)ที่รู้จักกันในนามสมเด็จเจ้าพะโคะ(หลวงปู่ ทวดแห่งสทิงพระ) สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ก็ล้วนแล้วแต่ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ

    แม้พระอมตเถระที่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ เลื่องลือด้านอิทธิฤทธิ์ที่แสดงปาฏิหาริย์เป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนชาวพุทธ อย่างเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
    พระครูวิมลคุณากร(หลวงปู่ศุข)วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
    หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จ.พิจิตร
    หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม.
    ซึ่งที่กล่าวนามท่านมาก็เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเราว่าท่านเหล่านั้นทรงภูมิจิตภูมิธรรมสูงส่งเพียงใดก็ล้วนแล้วแต่[size=25pt]
    ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯทั้งสิ้นท่านทราบหรือไม่ครับ
    [/size][/size]

    [​IMG]


    บทความนี้ไม่อาจจะสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความเมตตาข้อมูลจากท่านพระครู สังฆรักษ์ (วีระ)ฐานวีโร แห่งวัดราชสิทธาราม(พลับ) กทม. ที่ ให้คำแนะนำข้อมูลต่างๆอย่างมิรู้เบื่อหน่ายต่อคำซักไซ้ไล่เรียงของผู้เขียน

    แม้ท่านจะเหน็ดเหนื่อยจากกิจทางพระศาสนาเพียงใดก็ตาม ด้วยกำลังใจที่แน่วแน่ของพระคุณเจ้าท่านนี้ที่มุ่งมั่นในการดำรงรักษามรดก ล้ำค่าของพระพุทธศาสนาชิ้นเอกเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของสุวรรณภูมิให้คง อยู่เพื่อลูกหลานอนุชนรุ่นต่อไป เป็นการช่วยการรักษาแก่นธรรมของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตามรอยเท้าบูรพาจารย์ แต่ครั้งอดีตนับล่วงได้ ๑๘๐๐ ปี

    อานิสงส์ประการใดที่ได้จากการรักษา เผยแพร่ มรดกพุทธธรรมอันยอดยิ่งนี้ขอจงสัมฤทธิ์ ผลแก่บูรพาจารย์ บุพพการี ผู้มีบุพกรรมร่วมกันทั้งส่วนกุศลกรรมและอกุศลกรรม เทพยดานับถ้วนทั่วจากภูมิมนุษย์จนพรหมโลกจรดขอบจักรวาล ตลอดจนญาติกัลยาณมิตร
    สรรพสัตว์ทั้งหลายทุกภพภูมิจงโปรดสำรวมจิตตั้งมั่นในสัมมาทิฎฐิ น้อมใจรำลึกคุณพระบรมศาสดาศรีศากยมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัปนี้แล้ว

    อนุโมทนาในกุศลเจตนาครั้งนี้จะก่อเกิดเป็นมหากุศล ให้ทุกท่านถึง “ธรรม” ถ้วนทั่วทุกตัวตนเป็นผู้ถึงสุขที่แท้พ้นภัยภายนอกและภายในทุกกาลสมัยเทอญ


    [​IMG]


    [size=20pt]ความเป็นมาของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ[/size]

    แต่ครั้งพุทธกาลที่พระบรมศาสดาศรีศากยมุนีสมณโคดมยังทรงพระชนม์ชีพทรง อุตสาหะสั่งสอนให้กุลบุตรทั้งหลายฝึกสมาธิ ตั้งสมาธิ ยังสมาธิอบรมสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา พิจารณาเพื่อความหลุดพ้น ได้มรรคได้ผล อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา


    (ข้อด้านล่างนั้นคัดมาจากข้อมูลเท่าที่ปรากฎและเท่าที่ทราบครับซึ่งหากมีความผิดพลาดประการใดต้องกราบขอขมาพระรัตนตรัยมาณที่นี้ครับ)






    [​IMG]


    การสอนกัมมัฏฐานการบอกกัมมัฏฐานแบ่งออกเป็น ๓ ยุคได้คร่าวๆ

    ๑. ยุคที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่และทรงเริ่มประกาศศาสนา พระองค์ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ คือ กำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ มีฐานาฐานญาน เป็นต้น มีอาสวักขยญาณเป็นปริโยสาน
    ฉะนั้น พระองค์จึงเป็นกัลยาณมิตรที่ถึงพร้อมด้วยประการทั้งปวง
    ดังนั้นการศึกษาพระกัมมัฏฐานตามแบบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติและสั่งสอนสาวกไว้แล้วเท่านั้นจึงสมควร




    (เมื่อพูดถึงจุดนี้ก็อยากทวนความจำถึงจุดเริ่มต้นของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้ท่านได้ทราบอีกครั้ง;ในยุคสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

    พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบตามลำดับขั้นตอน

    จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง)


    ๒. ยุคของพระอสีติมหาสาวก ๘๐ พระองค์ ;พระอรหันตสาวก;พระอริยะ และพระสาวกอื่นๆ

    พระภิกษุสงฆ์ทั่วไปและพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเสขบุคคลคือยังไม่ได้บรรลุอรหัตตผลก็ล้วนแล้วแต่เรียนศึกษาและปฎิบัติตามพระกรรมฐานแบบลำดับทั้งสิ้นแล้วแต่ว่าจะศึกษากับพระอสีติมหาสาวกพระอรหันตสาวกหรือพระอริยะ องค์ใด พระอาจารย์ทุกท่านล้วนบอกพระกรรมฐานแบบลำดับให้ลูกศิษย์ทั้งสิ้นตามแต่ผู้ใดไปได้ช้าหรือเร็วประการใด

    [size=18pt] ความสำคัญตรงนี้พระอาจารย์ได้บอกไว้ว่า

    ขั้นตอนการฝึกพระกรรมฐานแบบลำดับซึ่งฝึกกันเป็นมาตรฐานตั้งแต่พุทธกาลนั้นผู้ฝึกล้วนต้องผ่านการฝึกเป็นขั้นๆแต่สมัยพุทธกาลนั้น
    คนมีบุญบารมีมีมากมาย
    ทำให้จิตผ่านแต่ละลำดับได้อย่างรวดเร็วคือผ่านจาก
    รูปกรรมฐาน
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ

    อย่างรวดเร็วจนถึงห้องอานาปานสติกรรมฐานและจิตเข้าสู่มรรคผลอย่างรวดเร็วจนทำให้คนสมัยนี้ส่วนใหญ่เข้าใจคลาดเคลื่อนไป ว่าเริ่มที่อานาปานสติได้เลยแต่จริงๆหาได้เป็นเช่นนั้นไม่เพราะต้องเริ่มที่ ห้องพระปีติทั้ง5 ซึ่งตั้งต้นที่พระขุททะกาปีติ

    [glow=yellow,2,300]โดยเริ่มตั้งองค์ภาวนา ว่าพุท-โธ ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ ตั้งใต้นาภีคือสะดือ 2นิ้วมือ เป็นบาทฐาน[/glow]

    (ส่วนขององค์พระราหุลมหาเถระเจ้าก็ได้ทรงสอนพระกรรมฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมา)และมีศิษย์ของท่านสืบทอดพระกรรมฐานแบบลำดับมาเรื่อยๆ


    ๓. ยุคเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระมหาอสีติสาวกปรินิพพานแล้ว พระภิกษุทั้งหลายจะบอกกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯซึ่งเป็นกรรมฐานแบบมาตรฐาน)เท่านั้น


    อีกทั้งภิกษุในสมัยพระพุทธเจ้าและพระอสีติมหาสาวกนิพพานแล้ว ท่านเคารพในพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ และรู้ประมาณในวิสัยของท่านเอง[/size]

    [​IMG]


    ดังนั้น พระกรรมฐานแต่โบราณจึงบอกกัมมัฏฐานแก่ผู้อื่นด้วย"พระกัมมัฏฐานแบบลำดับ"เท่านั้น (พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)
    ผู้เรียนแบบลำดับแล้วจะรู้ได้ด้วยตนเองว่า กัมมัฏฐานกองไหน
    จะต้องกับ "จริตหรือจริยาที่เป็นอาจิณกรรมในภพก่อนๆ" ของตนเองคือจะขึ้นมาเอง(แต่สำคัญที่ว่าต้องผ่านการเรียน"พระกัมมัฏฐานแบบลำดับ"แล้วจากพระอาจารย์ผู้ประกอบด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิคือผู้เป็นกัลยาณมิตรนั่นเอง )




    กัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)นี้เข้ามาสู่สุวรรณภูมิเมื่อหลังตติยสังคายนาในสมัยพระ เจ้าอโศกมหาราช โดยส่งพระโสณกเถรและพระอุตรเถรมายังสุวรรณภูมิ โดยการเล่าเรียนสืบ ๆ กันมา ยังไม่มีการจดบันทึก

    การเรียนแบบพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนี้สืบทอดเรื่อยๆ มาจนถึงยุคกรุงสุโขทัย มากรุงศรีอยุธยา และครั้งกรุงสุโขทัยนั้น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้มีการนำมาเผยแพร่ด้วยโบราณาจารย์กล่าวว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เป็นคัมภีร์ปฏิบัติที่เน้นปริยัติ จึงทำให้พระสงฆ์ที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานในสมัยนั้นมีความรู้ทั้งทางปฏิบัติและ ปริยัติ ภาคปฏิบัติดี จึงมีความรู้เชี่ยวชาญมาก

    เมื่อถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชการที่ ๑ ได้อาราธนาพระอธิการสุก วัดท่าหอยแขวงกรุงเก่า มากรุงเทพ ฯ
    เมื่อท่านมานั้น ได้นำตำราสมุดข่อยไทยดำบันทึกกัมมัฏฐานแบบลำดับมากรุงเทพฯ ด้วย แล้วรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งท่านให้เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งแบบแผนตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี เป็นพระภิกษุผู้ถือตามโบราณจารย์กัมมัฏฐานแบบลำดับ ด้วยความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์สาวกแต่ปางก่อน

    ต้นที่มา โดยรวมของเรื่อง

    หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
    ;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]

    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    ขอบคุณภาพจากhttp://www.ounamilit.com/,http://www.bloggang.com/,http://www.rmutphysics.com/,
    [/quote]


    ==========================================

    ข่าวสารเกี่ยวกับพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับที่คุณควรรู้



    oxfordทึ่งพบแหล่งเก็บคัมภีร์กรรมฐานแบบลำดับครบถ้วนที่สุดท้ายในโลกที่วัดพลับ



    กรรมฐานตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดฯ

    ==========================================



    [size=16pt]
    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน

    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2015
  16. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    คณะญาติธรรมมา อาราธนากรรมฐานและนั่งกรรมฐาน 17 ม.ค. 58 เวลา 13.05น.

    [​IMG]

    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  17. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    ญาติธรรมมาชมพิพิธภัณฑ์กรรมฐานปู่สุก ไก่เถื่อน และนั่งกรรมฐาน 18 ม.ค. 58 เวลา 13.00 น.


    [​IMG]

    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  18. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    นายริชาร์ด มาปฏิบัติกรรมฐาน แบบลำดับ มกราคม ๒๕๕๘
    (กรรมฐาน แบบลำดับคือกรรมฐานแบบครั้งพระโสณะ-พระอุตตระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แดน สุวรรณภูมิเมื่อเกือบสองพันกว่าปีที่แล้ว)

    [​IMG]

    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima โทร.084-651-7023
     
  19. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    ดร.วีระชัย ถาวรทนต์ นั่งกรรมฐานวันที่ ๒ เวลา 14.30 น.


    [​IMG]


    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     
  20. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,764
    ญาติธรรมมานั่งกรรมฐาน 22 ม.ค. 58 เวลา 14.30 น.

    [​IMG]

    สนใจศึกษากรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)แบบลำดับได้ที่ พระครูสิทธิสังวร ( (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม)
    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โทร.084-651-7023
    พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ;กรรมฐานแนวสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    url=http://www.themajjhima.com]
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
    http://www.facebook.com/themajjhima
    โทร.084-651-7023 (หลวงพ่อจิ๋ว) รองเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
     

แชร์หน้านี้

Loading...