วันนี้จัดส่ง ไปรษณีย์ไทย
ED133607480TH ลาดกระบัง
ขอบคุณครับ
รูปหลังตะกรุดสามกษัตริย์ลพ.แพ ล๊อคเก็ตหลวงพ่อเสียนวัดมะนาวหวาน
ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.
หน้า 20 ของ 101
-
-
พระปิดตาครูบารวยวัดถ้ำมังกรทองรุ่นกันนิวเคลียร์ปี 2539 แจกทหารตำรวจชายแดนใต้
ให้บูชาคู่กัน 2 องค์ 200 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือเคอรี่
-
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) [ เมื่อปีพ.ศ. 2528 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์]
สมณะศักดิ์ : สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประวัติโดยย่อ : สมเด็จอาจ อาสโภ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 แรม 4 ค่ำเดือน 12 ณ บ้านโต้น ต.บ้านโต้น อ.เมือง สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า คำตา ดวงมาลา เป็นบุตรคนโตของนายพิมพ์ และนางแจ้ ดวงมาลา จังหวัดขอนแก่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 4 คนท่านเป็นบุตรคนโต น้องอีกสามคนคือ นางบี้ นายเพิ่ม และนางเอื้อ ตามลำดับ
เมื่ออายุ 14 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีจันทร์ จ.ขอนแก่น โดยมีอาจารย์พระหน่อ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านย้ายมาอยู่กรุงเทพฯเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
จนอายุครบ 20 ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสมโพธิ (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีสมโพธิ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า อาสโภ นอกจากนั้น พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจ้าอาวาสขณะนั้น) ได้เปลี่ยนชื่อท่านจาก คำตา เป็น อาจ เพื่อให้เหมาะกับบุคลิก องอาจ แกล้วกล้า ท่านสอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยคเมื่อ พ.ศ. 2472
และในปี พ.ศ. 2503 ท่านยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมนั้น ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าเสพเมถุนทางเวจมรรค ( การเสพเมถุนทางทวารหนัก ) กับลูกศิษย์ จึงถูกถอดสมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ทว่าต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความเท็จ แม้กระนั้นต่อมาใน พ.ศ. 2505 ท่านได้ถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จึงถูกบังคับสึกเป็นฆราวาส และจำคุกอยู่ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลอยู่หลายปี (กล่าวกันว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากเรื่องการเมืองในวงการคณะสงฆ์ไทยในเวลานั้น) ขณะที่ท่านถูกจองจำในคุก ท่านยังคงปฏิบัติตน เช่นพระสงฆ์ดังเดิม โดยนุ่งห่มขาวเหมือนผู้ถือศีล มีผ้าคลุมสีกากี และ น้ำตาลไหม้ ฉันข้าวมื้อเดียว นั่งกรรมฐาน และเดินจงกรม จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว เมื่อศาลทหารสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของท่านได้และตัดสินยกฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2509 คดีดังกล่าวนี้นับเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาของไทย ซึ่งสร้างความสะเทือนใจให้แก่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อท่านได้รับการปล่อยตัวออกม ท่านได้กล่าววลีเด็ดไว้ว่า “ จงชนะความร้ายด้วยความดี “ และ สร้างเหรียญรุ่นแรก ออกมา เป็น เนื้อทองเหลือง, ทองแดงรมดำ เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้สาธุชนรุ่นหลัง ว่า อย่าได้อาฆาตพยาบาทใคร ดังวลีที่ท่านกล่าวไว้ข้างต้น ไม่ว่าท่านจะถูกใส่ร้ายป้ายสีจากคณะสงฆ์ ขนาดนั้น ท่านไม่เคยถือโทษโกรธเคืองแม้แต่น้อย มิหนำซ้ำยัง บำเพ็ญภาวนา และแผ่เมตตาแก่บุคคลเหล่านั้นอีกด้วย
สมเด็จอาจ ท่านมรณะภาพเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ด้วยอาการอาพาธ และภาวะหัวใจวาย ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 86 ปี 1 เดือน 66 พรรษา
เกร็ดความรู้ : สมเด็จอาจ ท่านยังเป็นบุคคลแรกที่นำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ (หรือแบบยุบหนอ-พองหนอ) จากพม่ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยเปิดสอนครั้งแรกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในปี พ.ศ. 2496 จากนั้นจึงขยายไปเปิดสอนที่สาขาอื่นทั่วราชอาณาจักร มีการตั้งกองการวิปัสสนาธุระที่วัดมหาธาตุฯ ต่อมาถูกยกสถานะเป็นสถาบันวิปัสสนาธุระ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และได้เผยแพร่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบยุบหนอ-พองหนอจนแพร่หลายดังปัจจุบัน
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดมหาธาตุปี 2528 บล็อกกษาปณ์ ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือ kerry
-
เหรียญขอมปิดตาปี 2521 ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือ kerry
-
วันนี้ จัดส่ง เคอรี่
ขอบคุณครับ -
พระครูนนทการประสิทธ์ (หลวงปู่สาย ปภาโส) อดีตเจ้าอวาสวัดบางรักใหญ่ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หลวงปู่่สาย ปภาโส หรือ พระครูนนทประการสิทธ์ ชาติภูมิเดิม ท่านเดิมชื่อ สาย ปลั่งสิทธิ์ ถือกำเนิดที่ บ้านบางรักใหญ่ เมื่อวันศุกร์ เดือน 8 ปีฉลู พ.ศ. 2443 บิดาชื่อ นายเที่ยง มารดา ชื่อ นางแจ่ม มีพี่น้อง 5 คน ท่านเป็นคนโต ครอบครัวประกอบอาชีพ ทำสวนทำนา วัยเด็กท่านได้เล่าเรียนกับ หลวงตาสุด เมือเติบ โตใหญ่ก็ช่วยบิดามารดาทำจน อายุครบ 22 ปี ก็ถูก เกณฑ์ ไปเป็นทหารประจำกองร้อย 5 กองพัน 2 รักษาพระราชวัง หลังปลดประจำการ ในปี พ.ศ. 2468 ได้เข้าอุปสมบท ณ วัดบางรักใหญ๋ โดย หลวงพ่อชุ่ม (พระครูธรรมรักษ์) วัดหญ้าไซ (วัดประชารังสรรค์) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแหลม วัดหญ่าไซ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอาจารย์พรมวัดบางรักใหญ่ เป็นพระกรรมวาจาจารรย์ ตอนบวชท่านได้ตั้งใจศึกษาธรรมะ ท่องสวดมนต์ปฎิบัติ ครูบาอาจารย์ ทั้งศึกษาด้านการปฎิบัติกรรมฐานจนเป็นที่เชี่วยชาญ ด้านวิชาอาคม ท่านได้รับการถ่ายทอด จากโยมพ่อของท่าน ซึ่งเป็นนักเลงคนจริงผู้หนึ่งในยุดนั้น โดยโยมพ่อได้รับการถ่ายทอด มาจาก หลวงพ่อม้วน วัดไทรม้าเหนือซึ่งเก่งทางด้านตะกรุดที่มีอิทธิพุทธทุกประการ หลวงปูสาย ท่านร่ำเรียน วิชาอาถรรพณ์จากโยมจนหมดสิ้นก็เดินทาง ไปเรียนต่อ กับ (หลวงปู่ชุ่ม วัดหญ้าไซ) จานนั้นทางจึงติดตาม (หลวงปู่ ซื่น เกสโร) วัดสระแก บางใหญ่ ซึ่งเป็นพระพี่ชาย ของหลวงปู่ชุ่ม และท่านเป็นศินย์ของ (หลวงปู่่อิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี) และอีกหลายพระอาจารย์ใน แถบจังหวันภาดกลาง อาทิเช่น จังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม อยุธยา หลังเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ แล้วจากนั้น ท่านก็กับ มายังวัดบางรักใหญ่ และได้ รับการขอร้องจาก เจ้าอาวาสที่ชรา มากให้ช่วยเหลืองานก่อสร้าง เสนาสนะ ซึ่งในเวลานั้นชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ท่านจึงต้องรับภาระหน้าที่ในการบริหารงานปกครอง โดย ได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี สมัยนั้นเศรษฐกิจการเงินไม่ค่อยดีนัก การก่อสร้างสิ่งใดก็เป็นไปอย่างล่าช้า แต่ด้วยความพยายามของหลวงปู่สาย บวก กับ เเรง ศรัทธาของชาวบ้าน จึงทำให้งานสร้างเสนาสนะ ในวัดของท่านลุล่วงไปอย่างดีหลวงปู่สายเริ่มสร้างพระเครื่อง และ เครื่องราง ของขลังครั้งเเรกในปี พ.ศ. 2484 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นตะกรุดโทน กับ พระสมเด็จและธง ตะกรุดนั้นมีหลายแบบ ที่ลงยันต์ ส่วนมากจะเป็นยันต์ตรี ใครมีแผ่นทองเหลือง ทองแดงก็เอาไปให้ท่านลงยันต์ทำเป็นตะกรด ถ้าท่านทำเอง นั้นท่านทำด้วย ฝาบาตร ตะกั่ว ทองแดง ทองเหลือง แม้แต่แผ่นอะลูมิเนียมก็มี พอลงเสร็จก็มีคนาขอรับไปเลยกล่าวกันว่ามีประสบการณ์ ด้านคงกระพันชาตรี สูงมาก ส่วนธงท่านสร้างไว้ 2ยุค แบ่งง่ายๆ ยุคแรกๆท่านเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ. 2485 จะเขียนด้วยดินสอ ส่วนยุคที่สองเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จะเขียนด้วยปากกา ท่านทำไว้ 3 ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ (ขนาดใหญ่ท่านสร้างไว้ให้ ติดเสาบ้าน ขนาด เล็ก กับ กลาง ไว้ติดตัว) ส่วนใหญ่จะเขียนด้วยมือเป็นส่วยใหญ่ ลายมือจะไม่ค่อยนัก วัสดุท่านใช่จะใช่จีวร ที่ท่านครอง พอถึงพรรษาที ท่านจะเปลี่ยนจีวรชุดใหม่ จีวรชุดเก่าท่านจะใช้มาทำเป็นธง ส่วนพระสมเด็จ สร้างครั้งแรก ปี พ.ศ. 2499 ท่างสร้างโดยเอากระดาษสา มามาเขียนยันต์ลง อักขระต่างๆ แล้วก็เขียนผงลบผงนะต่างๆ รวมผสมกับปูนเปลือกหอยผงปูนตามเสมาเก่า ผนังวิหารและโบสถ์เก่าชำรุด เนื้อจึงออกยุ่ยไม่เหมือนของพระเกจิ องค์อื่น หลังจากครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดท่าน ได้หยุดสร้างพระเครื่งองไประยะหนึ่ง จนได้รับการเรียงร้องจากลูกศิกย์ ประกอบกับต้อง สร้างเสนาสนะ ต่างๆท่างจึงลงมือสร้าง อีกครั้งเพื่อเป็นสิ่งตอบ แทนแก่ผู้ที่ มาร่วมทำบุญ ส่วนใหญ่ท่านจะสร้างเหรียญรูปเหมือน ที่ดังและมีชื่อเสียงเช่นกันก็คือ พระปิดตา รุ่นฟ้าคำราม และ พระปิดตาเนื้อทองบุญล้น สร้างปี พ.ศ.2528 และ พระปิดตา ของขวัญทรงสี่เหสี่ยมสร้างฉลองอายุครบ 85 ปี หลวงปู่่เป็นพระสมถะ ไม่สะสม พูดไพเราะ และพูดเก่ง เป็นกันเอง ไม่ถือตัว ตลอลชีวิตท่าน มีแต่ให้กับให้ ไม่สนใจเรื่องทรัพย์สินมีค่า ใครขออะไรก็ให้ทั้งนั้น เรียกว่าขอเป็นต้องได้ ถ้าไม่ขอท่านๆก็จะไม่ให้ ช่วงปั้นปลายชีวิต ผู้คนที่ไป กราบมักจะได้ลาภกันเสมอๆ และ ความชราภาพทำให้สังขารทรุดโทรมตามไปกาลเวลา หลวงปู่่สาย ปภาโส มรณะภาพลงเมื่อวันที่ 28 ก.พ พ.ศ.2531 รวมอายุ 85 พรรษา ''ซื่อเสียงคุณงานว่าดีของท่าน ยังถูกกล่าวขานถึงเสมอ สำหรับชาว นนทบุรี และกำหนดทำบุญครบครอบวันมรณะ ภาพทุกปี สรีระท่านยังคงอยู่ เก็บไว้สักการะทุกวันนี้''
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญหลวงปู่สายวัดบางรักใหญ่ปี 2524 สภาพผ่านการบูชา
ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือ kerry
-
รูปถ่ายหลวงปู่บุดดาเลี่ยมเดิมจากวัดไอ้บูชา 100 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash j& t หรือเคอรี่
-
พระธรรมธรร่วงฐานานุกรม(หลวงปู่ร่วง วาจาสิทธิ์) วัดศาลาโพธิ์ ท่านเกิดเมื่อ1 มิย. 2446 ที่ ต.บ้านหาน อ.หาดใหญ่..และได้อุปสมบท ที่วัดศาลาโพธิ์ เมื่ออายุ22ปี ( 28กค.2468) โดยมี พระครูรัตนะโมฬี วัดดอนแย้ เป็นพระอุปัชฌาย์(และเป็นอาจารย์ทางด้านกรรมฐานของท่านด้วยครับ) พ่อท่านขวัญ วัดซลธาราวาส(ท่านนี้มีฤทธิ์อภินิหารมากและเป็นอาจารย์ทางด้านกรรมฐานของพ่อท่านร่วงด้วยครับ) เริ่มเดิมที เมื่อเยาว์วัย ท่านได้เรียนสรรพเวทย์วิทยามาจากคุณปู่ของท่าน ที่มีวิชาขลังมาก ท่านเห็นคุณปู่ของท่าน เสกผ้าขะม้า เป็นงูจงอาง แล้วเสก ผลมะนาวเป็นพังพอน สู้กันให้ท่านดู พ่อท่านร่วงเลยสนใจทางด้านคาถาอาคม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา...หลวงปู่ร่วงท่านนี้ เป็น พระอาจารย์รูปเดียว ที่ หลวงปู่ทวด ได้เข้าฝัน ให้อาจารย์ทิม นิมนต์มาร่วมปลุกเสกพระหลวงปู่ทวด ปี97 ในครั้งนั้น...หลวงพ่อร่วง ธรรมทินโน ได้ถึงแก่กาลมรณภาพเมื่อเวลา 21.35น. วันที่ 5 ธค.2539 (ตามที่ท่านเขียนบอกไว้ บนกระดานดำ ก่อนหน้าท่านมรณะภาพ4ปี...ทุกประการ) ท่านสร้างพระเครื่องที่ออกจากวัด และมีคนทำมาแล้วให้ท่านปลุกเสก ...รุ่นที่สร้างมาให้ท่านปลุกเสก จะเขียนว่า มั่งมีศรีสุข และที่ออกจากวัดจะมีโค๊ดด้านหน้ารูปใบโพธิ์ครับ ถือรุ่นมั่งมีศรีสุขเป็นรุ่น1 ที่มีคนสร้างแล้วนำมาถวาย และจากวัดสร้างเองก็ถือเป็นรุ่น 1 เหมือนกัน แต่ต่างวาระ.
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญพ่อท่านร่วงวัดศาลาโพธิ์สงขลาให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือเคอรี่
-
พระผงหลวงปู่ทวดหลังเตารีดเนื้อว่านพิเศษรุ่นดูดพิษวัดป่าสว่างบุญ 2539 จัดสร้างรุ่นแรก ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือเคอรี่(ปิดรายการ)
-
วัตถุมงคลหลากหลายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศครับค่าจัดส่งต่อครั้ง 30 บาทระบบflash หรือ J&Tและ 50 บาทems ไปรษณีย์ไทย 08--1--70--4--72--64 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง line ตามเบอร์โทรศัพท์
บัญชีธนาคาร กรุงไทย 125-00-89-239
Supachai thu
โอนแล้วแจ้งบอก ทางข้อความ พร้อมที่อยู่จัดส่ง ป้อง กัน การเอาข้อมูลจากมิจฉาชีพครับ -
พระครู กาชาด บุญทอง เขมทตฺโต ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ที่ได้รับการสืบทอดตำราสายเขาอ้อ จาก พระอาจารย์เอียด ท่านพิถีพิถันในการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ตามตำราอย่างเคร่งครัด ดังนั้นของที่ท่านสร้างจึงมีประสบการณ์อย่างมากมาย
ประวัติของท่าน ชาติภูมิ พระครูกาชาด มีนามเดิมว่า บุญทอง นามสกุล มีพลอย เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2463 ตรงกับวันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก ณ บ้านดอนศาลา บ้านเลขที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โยมบิดาชื่อ นายพ้อย มารดาชื่อ นางเขียว มีอาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 3 คน คือ
1 นายด้วง
2 นางผึ้ง
3 พระครูกาชาด (บุญทอง)
การศึกษา เมื่อท่านมีอายุได้ 3 เดือน บิดาก็ถึงแก่กรรม ท่านจึงอยู่ในความดูแลของมารดามาโดยตลอด พออายุได้ 8 ปี จึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดดอนศาลา จนสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2477
ภายหลังที่จบการศึกษาแล้วท่านก็ช่วยทางบ้านประกอบอาช ีพทำนา จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี ท่านจึงได้เข้ารับการอุปสมบทที่วัดดอนศาลา เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2483 โดยมีท่านพระครูสิทธยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
ในปี 2487 พระอาจารย์เอียด ก็ทำพิธีส่งมอบคัมภีร์วิชาการต่างๆของสายเขาอ้อ หรือพิธีมอบภาระการสืบสายวิชาจากสำนักเขาอ้ออย่างเป็นทางการที่วัดดอนศาลาให้แก่พระครูกาชาด โดยมีพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ ในเวลานั้นยังอยู่เพศคฤหัสถ์ร่วมเป็นสักขีพยานพร้อมกับคณะศิษย์เขาอ้ออีกหลายคนในพิธีด้วย
หลังจากพระอาจารย์เอียดมรณภาพลง พระครูกาชาด ก็รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาและเป็นผู้สืบทอดรักษาตำราเขาอ้อ
ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดดอนศาลาอย่างดีเยี่ยม ยังผลให้วัดดอนศาลามีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีกฏเกณฑ์ปฏิบัติต่างๆที่เคร่งครัด ตามพระวินัย ส่งผลให้วัดดอนศาลาเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนโดยทั่วไป
พระครูกาชาด เป็นพระสายเขาอ้อ ศิษอาจารย์เอียดบวชมาตั้งเด็ก เก่งด้านไสยศาสต์มาตั้งแต่วัยหนุ่ม ไม่ว่าจะล่องหนหายตัว สำเร็จมหาชาตรี และวิชาหลายแขนงตามตำราเขาอ้อ พระอาจารย์เอียดชื่นชมท่านมากว่าเก่งจริงรู้จริงด้านไสยเวทย์ ยกย่องให้เป็นศิษย์เอกท่าน
เนื่องจากท่านชอบสันโดษ มักน้อยพูดน้อย เก่งในไสยเวทย์แบบเงียบๆ บางทีทำให้เราหลงลืมท่านไป
สมเด็จ ๙ ชั้น ๙ มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง พุทธาภิเษก โดยพระอาจารย์ สายเขาอ้อปี ปี2535 สภาพสวย พระสมเด็จ ๙ ชั้น ด้วยมวลสารวิเศษที่ศักดิ์สิทธิ์และหายากยิ่ง 9 มงคล พระครูกาชาดทำพิธีปลุกเสกเดี่ยว ภายในไตรมาสนี้ตลอด 3 เดือนอย่างเต็มที่แล้วจัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ซ้ำอีกครั้งใน วันที่ 15 ตุลาคม 2535 ตรงกับวันพฤหัส ดิถี 4 ค่ำ ต้องตามตำราอัฏฐกาลตำรับเขาอ้อ เวลา 19.00น. (ฤกษ์ยามที่ดีที่สุดในวันนั้น มีผลด้านโชคลาภมาก)โดยพระคณาจารย์เรืองวิทยาคมสายเขาอ้อ 11 รูป ดังรายนามดังนี้ 1. หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน 2. หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ 3. พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา 4. หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง 5. หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน 6. หลวงพ่อเทพ วัดประดู่เรียง 7. หลวงพ่อชวน วัดโคกเนียน 8. หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม และสิ่งที่สำคัญยิ่งคือคณาจารย์ผู้มีราชทินนาม พระครู 4 กา 4ท่านนั่งปลุกเศก 4 ทิศ(ตามตำนานประวัติพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ท้าวจัตุโลกบาลทั้ง 4 แปลงร่างเป็น อีกา4 สี รักษาพระบรมธาตุ4 ทิศ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของ กา 4ตัวนี้เองพระบรมธาตุ จึงปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและภัยจากมนุษย์เช่น สงครามมานับพันปีจึงเป็นเหตุให้จะต้องตั้งสมณศักดิ์พระครู 4 รูปเป็นสมมุติ กา 4 ตัว4 สี เพื่อรักษาพระบรมธาตุ) 1. พระครูกาเดิม วัดตะเขียนบางแก้ว นั่งปรกด้านทิศเหนือ (พระครูกาเดิม หมายถึง กา สีดำ) 2. พระครูการาม วัดชายคลอง นั่งปรกด้านทิศใต้ (พระครูการาม หมายถึง กา สีเหลือง) 3. พระครูกาชาด วัดดอนศาลา นั่งปรกด้านทิศตะวันออก (พระครูชาด หมายถึง กา สีแดง) 4 พระครูกาแก้ว วัดอินทราวาส นั่งปรกด้านทิศตะวันตก (พระครูกาแก้ว หมายถึง กา สีขาว) พิธีมหาพุทธภิเษกดำเนินไปอย่างเข้มขลังตลอด 4 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อถึงเวลาดี ๔ ทุ่ม ๓๐ นาที เป็นยามแห่งชัยชนะข้าศึกศัตรูหมู่ร้ายที่ดียิ่งนัก หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน เป็นผู้ดับเทียนชัย พระคณาจารย์โปรยปรายข้าวดอกดอกไม้ และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วอิทธิมงคล เป็นการเสร็จพิธี
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
ให้บูชา บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบฝากซื้อ j&t หรือเคอรี่(ปิดรายการ)
-
หลวงพ่อพรหม ขนฺติโก วัดบ้านสวน
พระครูขันตยาภรณ์ " #เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านสวน #ลุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง ที่มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าของภาคใต้เมืองไทย และได้รับการสืบทอดวิชาสายเขาอ้อ สำนักตักศิลาชื่อดังพัทลุง
เกียรติคุณด้านมงคลปูชนียวัตถุที่มีชื่อเสียงของหลวงพ่อพรหม คือ วัตถุมงคล เหรียญ รุ่น จตุราจารย์ รุ่น 1 ปี 2548 และรุ่น 2 ปี 2549 ตามตำรับหลวงพ่อคง อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน
หลวงพ่อพรหม บำเพ็ญเพียรตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น เป็นร่มโพธิ์ทองของบรรดาพุทธศาสนิกชน
ปัจจุบัน หลวงพ่อพรหม สิริอายุ 76พรรษา 54 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า พรหม ดำรงค์พิพรรธน์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2483 ณ บ้านเลขที่ 115 หมู่ที่ 5 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ในวัยเยาว์ มีอุปนิสัยเรียบร้อย เป็นเด็กดี ฉลาด ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านสวน (คงวิทยาคาร) อ.ควนขนุน และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านสวน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2504 โดยมีพระครูพิพัฒน์สิริธร หรือหลวงพ่อคง สิริมโต เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูคล้อย อโนโม วัดภูเขาทอง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา ขนฺติโก มีความหมายว่า ผู้มีความอดทนเป็นเลิศ
หลังอุปสมบท ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม พ.ศ.2509 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ที่สำนักเรียนวัดบ้านสวน
จากนั้น ได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี พ.ศ.2517 จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ต่อมา พระครูพิพัฒน์สิริธร หรือ หลวงพ่อคง เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน มรณภาพลง ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง คณะพุทธบริษัทของวัดบ้านสวน ได้นิมนต์ท่าน ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาธรรมบาลีอยู่ที่กรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาส
พ.ศ.2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน
พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน
พ.ศ.2531 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูขันตยาภรณ์
หลวงพ่อพรหม เป็นพระนักพัฒนาและเป็นพระผู้มีความรู้ความสามารถสูง มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาในหลากหลายด้าน ทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ ดังที่ปรากฏแก่สาธุชนทั่วไป โดยหลวงพ่อเป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดบ้านสวน จัดหาทุนและมอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดจนนักเรียนที่ขาดแคลนทุนการศึกษา
ตั้งสำนักเรียนแผนกธรรม และดำเนินการสอนแผนกธรรมและธรรมศึกษาขึ้นที่วัดบ้านสวน มีผู้สมัครเรียนและสอบแผนกธรรมและธรรมศึกษาทุกปี
เป็นครูพิเศษอบรมสั่งสอนจริยธรรมแก่นักเรียนในเขตอำเภอควนขนุน อบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่พระภิกษุ สามเณร ศิษย์วัด และอบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่พุทธบริษัทของวัดตลอดมา และยังได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ พระธรรมทูตของจังหวัดพัทลุงอีกด้วย
ด้านการพัฒนา หลวงพ่อพรหม ได้ปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ของวัดมากมาย เช่น ก่อสร้างต่อเติมอุโบสถ 2 ชั้นกำแพงวัด กำแพงอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิเจ้าอาวาส กุฏิพระสงฆ์ สามเณร รูปเหมือนพระครูพิพัฒน์สิริธร อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน เมรุ ไฟฟ้า ประปา ตลอดจนการพัฒนาบริเวณวัดให้เรียบร้อย
ในส่วนสาธารณชน ได้ช่วยเหลือทั้งด้านเครื่องอุปโภค บริโภค ตามความต้องการและความจำเป็น และตามความสามารถที่จะได้รับการอนุเคราะห์ได้ ตลอดจนการเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการพัฒนาท้องถิ่น การจัดสร้างปฏิสังขรณ์ถนนหนทาง การพัฒนาอาชีพของประชาชนในท้องถิ่น ใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมวิชาชีพต่างๆ แก่ประชาชน เป็นต้น
หลวงพ่อพรหม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายเขาอ้อของจังหวัดพัทลุงและภาคใต้ เนื่องจากเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมสายเขาอ้อ จากพระอาจารย์คง สิริมโต หรือพระครูพิพัฒน์สิริธร อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน และพระอาจารย์คง เป็นศิษย์สืบสายของพ่อท่านเอียด หรือพระครูสิทธยาภิรัต อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา อ.ควนขนุน และพ่อท่านเอียด เป็นศิษย์รูปสำคัญที่ได้รับการสืบทอดวิชาจากพ่อท่านทองเฒ่า หรือ พระครูสังฆวิจารย์ฉัททัณต์บรรพต อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 9 ของวัดเขาอ้อ นั่นเอง
ดังนั้น หากจะกล่าวไปแล้ว ทั้งวัดบ้านสวนและวัดดอนศาลา ล้วนแต่เป็นสำนักตักศิลาสายเขาอ้อทั้งสิ้น
มงคลปูชนียวัตถุต่างๆ ที่หลวงพ่อพรหม สร้างไว้ มีครบทุกประเภทและเป็นที่นิยมทั่วไป ทั้งนี้ เนื่องจากประสบการณ์ที่ผู้นำไปใช้ได้พบเห็นด้วยตนเอง โดยเฉพาะเหรียญรุ่น จตุราจารย์ รุ่น 1 ปี 2548 และ รุ่น 2 ปี 2549 มีพระครูโสภณกิตยาทร รองเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ดำเนินการจัดสร้าง และหลวงพ่อพรหม อุปถัมภ์การจัดสร้าง เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมน่าสะสมเก็บไว้บูชา
นอกจากนี้ ยังมีพระปิดตา สร้างด้วยเนื้อผงว่าน 108 ล้วนแต่มีคุณานุภาพ แจกบำรุงขวัญทหาร อาสาสมัครสงครามเวียดนาม และทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวนหนึ่ง ปี 2511 พร้อมด้วยเนื้อโลหะธาตุมหายันต์จำนวนหนึ่ง
พระผงไชยชุม ประด้วยผง นะ ปะ ถะ นะเมตตา ฯลฯ สร้างสองหน้า หน้าหลังเป็นพระอาจารย์ทองเฒ่า หน้าหนึ่งหลวงพ่อคง (คงหน้า ทองหลัง) สร้างปี 2512
พระผงไชยชุม เนื้อเดียวกัน (คงหน้า ทองหลัง) แต่พิมพ์ลายนิ้วหลวงพ่อคงด้านหลัง เป็นรุ่นพิเศษพิมพ์แจกลูกศิษย์สร้างปี 2512
พระผงทุ่งเศรษฐี ผสมว่าน 108 สร้างปี 2511 เป็นต้น
สำหรับวัดบ้านสวน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2070 โดยปรมาจารย์วัดเขาอ้อ และเจ้าอาวาสในอดีตที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ "พ่อท่านนอโม" และยุคต่อมา คือ พ่อท่านคงหรือพระครูพิพัฒน์สิริธร
ถึงแม้อายุขัยหลวงพ่อพรหม จะย่างเข้าสู่วัยชรา แต่ด้วยเมตตา มักจะถูกนิมนต์ไปนั่งร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ ทั่วประเทศอยู่เป็นประจำ และมีใจที่ยังสู้ประกอบกับมีร่างกายที่ยังแข็งแรง มีความคิดที่จะพัฒนาต่อไป
สิ่งเหล่านี้ทำให้ท่านยังมุ่งมั่นทำงานเผยแผ่พระธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ยึดมั่นที่อยากจะเดินหน้าให้ทุกคนได้รับความรู้
สมกับที่เป็นพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองพัทลุงโดยแท้
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญพระปิดตา นะโมเมตตา พ่อท่านพรหม วัดบ้านสวน จ.พัทลุง ปี 2537 หลวงพ่อพรหม ขนฺติโก หรือ พระครูขันตยาภรณ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านสวน ลุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง ที่มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าของภาคใต้เมืองไทย และยังได้รับการสืบทอดวิชาสายเขาอ้อ สำนักตักศิลาชื่อดังแห่งพัทลุงอีกด้วย
(ปิดรายการ)
-
วันนี้จัดส่งเคอรี่
ขอบคุณครับ -
วันนี้ จัดส่งเคอรี่
ขอบคุณครับ -
วันนี้จัดส่ง Flash
ขอบคุณครับ -
จอง ลป ทวดครับ
-
-
เเจ้งโอน ข้อมูลทางpm ครับ ขอบคุณครับ
-
พระดี อย่ามองข้าม"
หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์
หลวงพ่อไวทย์ อินทวังโส ท่านเป็นสหายกับ หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย, หลวงพ่อวาสน์ วัดบ้านแพน หลวงพ่อปี วัดกระโดงทอง และหลวงพ่อกุหลาบ วัดรางจระเข้
หลวงพ่อไวทย์ ท่านเป็นพระที่ยิ้มแย้มตลอดเวลา ไม่เคยดุ ไม่เคยด่า ใจดี เป็นพระที่สมถะเป็นอย่างมาก ขนาดท่านเป็นถึงเจ้าคณะจังหวัด แต่กุฏิของท่านก็ยังคงเป็นเพียงกุฎิเล็ก ๆ เล็กขนาดที่ว่า คนที่สูง ๆ ยืนนี่หัวชนเพดาน หลวงพ่อไวทย์ เป็นพระเกจิมากครู มากอาจาย์ เก่งทั้งบุ๊นและบู๊
วิชาดูดวง วิชาผูกดวงชะตา เป็นหนึ่งในวิชาที่ท่านชำนาญ
สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ ฯลฯ (องค์นี้วิชาดูดวงเข้าขั้น ทำนายเหมือนตาเห็น) ท่านได้ สอนวิชาเหล่านี้ให้กับ หลวงพ่อไวทย์
และในปัจจุบันวิชานี้ ก็ยังมีพระผู้ทรงวิทยาคมสืบทอดอยู่ก็คือ หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน เกจิดังที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยหลวงพ่อพูน เคยบอกไว้ว่า ฉันไปเรียนวิชาดูดวงมาจาก หลวงพ่อไวทย์
นอกจากวัตถุมงคลของท่านแล้ว ของดีอีกอย่างก็คือ "ยาไวทย์ประสิทธิ์" แต่ชาวบ้านจะเรียกว่า "ยาลมหลวงพ่อไวทย์"
คล้ายยา วาสนาจินดามณี ของสายวัดกลางบางแก้ว นครปฐม ยาไวทย์ประสิทธิ์ จึงเปรียบเสมือนดั่ง ยาจินดามณี ฉบับจังหวัดอยุธยา (วัตถุมงคลเนื้อผงของท่าน ก็มียานี้ผสมอยู่)
ตำรายาจินดามณี ยาวาสนา น่าจะมาจากแหล่งวิชาเดียวกัน หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา กระทุ่มแบน สมุทรสาคร เรียนวิชาจากพระอาจารย์ของท่าน ที่เป็นน้องชายหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เลยได้วิชายาวาสนา
นอกจากนี้ครั้งหนึ่งเคยมีลูกศิษย์ของหลวงปู่ดู่ ถามหลวงปู่ดู่ วัดสะแก ว่า
"หลวงปู่รู้จัก หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์ ไหมครับ"
หลวงปู่ "เคยได้ยินชื่อ ไม่เคยพบตัว"
"ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพุธที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ นี้เอง"
หลวงปู่ "ท่านเป็นพระอรหันต์นะ ข้าได้ยินกิตติคุณท่านว่าไม่เอาอะไรกับใคร"
"หรือครับ แสดงว่าอยุธยาคงจะมีหลายองค์"
หลวงปู่ "มี แต่ท่านหลบซ่อนกันอยู่"
หลวงพ่อไวทย์เป็นพระดี พระแท้ พระเก่งอีกรูป ที่มีราคาพระเครื่อง ไม่สูงมาก ราคาถูก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนงบน้อย แต่อยากได้พระแท้ พระดี ไว้บูชา หลวงพ่อไวทย์ ท่านไม่ใช่พระเชียร์โฆษณา แต่เป็นพระประสบการณ์
ครั้งหนึ่งตอนที่หลวงพ่อไวทย์ ไปขอเรียนวิชาจากหลวงพ่อจง
ท่านถูกหลวงพ่อจงตำหนิ ตอนไปขอเรียนวิชาจากท่าน ท่านว่าคุณอยู่กับพระทองคำมาตั้งนาน แต่ไม่ขอเรียนอะไรมาจากท่านเลย หลวงพ่อห่วงน่ะ ท่านเป็นพระอรหันต์
(หลวงพ่อห่วง วัดบางยี่โท เป็นศิษย์พี่ ของหลวงพ่อจง เรียนวิชามาในสาย หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสคันธ์ บางบาล มาด้วยกัน)
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
พระปิดตามหาเศรษฐีหลวงพ่อไวย์ ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือj&T หรือ kerry
-
พระราชมงคลวชิรานุวัฒน์ วิ. (หลวงปู่บุญกู้ อนุวฑฺฒโน) ผู้สืบทอดมรดกธรรม และลูกศิษย์องค์สำคัญชั้นผู้ใหญ่ของท่านพ่อลี ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน นามเดิมท่านชื่อ บุญกู้ นามสกุล น้อยวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๒ ปีมะเส็ง ณ บ้านเลขที่ ๑๙๓ ถนนธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
หลวงปู่บุญกู้" อนุวัฑฒโน ท่านเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2502 โดยมี พระสุธรรมคณาภรณ์ (พระอาจารย์แดง ธัมมรักขิตฺโต) วัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธัมมธโร) วัดอโศการาม เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า “อนุวัฑฒโน”
ครั้นบวชแล้วท่านได้อยู่ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับท่านพ่อลี ธัมมธโร ผู้เป็นบุรพาจารย์ อยู่อุปัฏฐากรับใช้ ปฏิบัติธรรม ศึกษาพระธรรมวินัย รวมทั้งหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา จนมีความรู้ความสามารถแตกฉานในหลักธรรม นำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกกาลสมัย
หลังจากที่ท่านลี ธัมมธโร มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.2505 "หลวงปู่บุญกู้" อนุวัฑฒโน ท่านอยู่ช่วยงานศพจนเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็กราบลาครูบาอาจารย์ ออกเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อหาความสงบวิเวกในการบำเพ็ญสมณธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ซึ่งสมัยก่อนนั้นป่าเขาตามเขตภาคต่างๆ ของประเทศไทย ยังคงความอุดมสมบูรณ์หนาแน่นเขียวขจีจากป่าไม้นานาพันธุ์ สัตว์ป่านานาชนิด มีช้าง เสือ เป็นต้น
"หลวงปู่บุญกู้" อนุวัฑฒโน ท่านได้ไปศึกษา และปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี หลวงพ่อสิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เป็นต้น รวมเวลาที่องค์ท่านไปศึกษา และปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐานตามภาคต่างๆ เป็นเวลา 13 พรรษา ท่านกลับมาพำนักจำพรรษาประจำ ที่วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จ.สมุทรปราการ เพื่ออบรมศีลธรรม อบรมสมาธิภาวนาแก่พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลาย รวมทั้งได้รับอาราธนาไปแสดงพระธรรมเทศนาตามหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ ชั้นนำ ทั่วทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ต่อมาท่านรับอาราธนาไปเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ จำพรรษา ณ วัดต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 4 พรรษา สอนกรรมฐาน อบรมจิตภาวนาแก่พุทธศาสนิกชนผู้ใฝ่ธรรมทั่วไป ทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งรับอาราธนาไปเยี่ยมวัดในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น ประเทศออสเตรเลีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส, สวีเดน, เดนมาร์ก, จีน , ใต้หวัน และ เกาหลีใต้ เป็นต้น
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
พระอุปคุตหลวงปู่บุญคู่วัดอโศการาม 2543 ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือ kerry
หน้า 20 ของ 101