รู้ให้เท่าทัน ร่วมสร้าง ‘คุณธรรม’ ในอินเตอร์เน็ต

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 19 สิงหาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    [​IMG]

    <hr> เคยนำเสนอเนื้อหา งานวิจัยของ จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ นิสิตปริญญาเอก แห่งภาควิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เผยแพร่ข้อเสนอการศึกษาเพื่อเด็กรู้ทัน (รังสรรค์) อินเตอร์เน็ตเพื่อวันหน้า

    ขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2548 นี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากมายของคนใช้ และการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ที่ฮิตฮ็อตกันเกือบทุกบ้านเรือน ให้รู้จักการใช้ "เน็ต" อย่างมีคุณธรรม และศีลธรรม

    เปิดนักษัตรใหม่ ปีไก่ ก็ขอหยิบข้อเสนอและเรื่องราวดีๆ มาบอกเล่ากันผ่านข้อเขียนของ จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ เพื่อเหล่าอินเตอร์ชน จะได้รวมตัวทำสิ่งดีๆ กันตั้งแต่วันใหม่ๆ กับช่วงเวลาใหม่ๆ นับจากนี้ไป

    เพราะการปรากฏตัวของอินเตอร์เน็ตหรือ "เน็ต" ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ และวาทกรรมอีกมากมายที่ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อวัฒนธรรมการสื่อสารและการรับรู้ของคนในสังคมแล้ว อีกทั้งยังสะท้อนถึงนัยของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) ที่มีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ และนัยต่อ "ปฏิรูปการศึกษา" และการ "ปฏิรูปการเรียนรู้" ของเด็กไทยด้วย

    แม้ว่าเรื่องไอซีที อินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ มีการประกาศนโยบายและยุทธศาสตร์การลงทุนและพัฒนาไอซีที การขยายโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปการเรียนรู้ การพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ในประเทศอย่างชัดเจน แต่กระนั้น ช่องว่างระหว่างเด็กไทยผู้ใช้อินเตอร์เน็ตก็ดูยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก

    ปัจจุบันเด็กไทยจำนวนมากที่มีโอกาสเติบโตโดยมีอินเตอร์เน็ตเป็นเพื่อน ขณะเดียวกัน เด็กไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่ด้อยโอกาสที่จะเข้าถึงการเรียนรู้ดีๆ หรือเข้าไปไม่ถึงองค์ความรู้ที่มีคุณค่าในอินเตอร์เน็ต ซึ่งโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวดูยังเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐบาลไม่อาจปฏิเสธได้

    อย่างไรก็ตาม จากการลงทุนจากรัฐแล้ว ในส่วนภาคปฏิบัติการของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตก็ดูเหมือนมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งสังคม โดยเฉพาะยิ่งความรับผิดชอบต่อ "เด็กวัยเน็ต" (เด็กวัยเรียนรู้จักมักใช้อินเตอร์เน็ต) เนื่องจากอินเตอร์เน็ตมิใช่เพียงระบบปฏิบัติการที่เชื่อมโยงความรู้ผู้คนและโลกเท่านั้น แต่มันเต็มไปด้วยสารัตถมากมายและเต็มไปด้วยพหุมิติที่เหนือจริงด้วย พลานุภาพของเทคโนโลยีชนิดนี้อาจจะมิใช่แค่เป็นตัวเร่ง/ตัวนำโลกาภิวัตน์ มาสู่ท้องถิ่นต่างๆ ได้ตามความต้องการเท่านั้น

    แต่ยังอาจชักจูงให้เด็กจำนวนมากหลงใหลอินเตอร์เน็ต จนหลงลืมความจริงบางประการของการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับวัตถุ และที่สุดชีวิตก็อาจตกเป็นทาสของเทคโนโลยีชนิดนี้โดยไม่รู้ตัว ดังที่บทความชิ้นนี้ได้กล่าวมาแต่ต้น

    สำหรับยุทธศาสตร์ในการจัดการนั้นดูจะมีทางเลือกหลากหลาย ตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติการดังที่กล่าว แต่แน่นอนว่า ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่จะเท่าทันสื่อดังกล่าวถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนใกล้ชิดกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และเด็กๆ ด้วย รวมถึงสื่อและชุมชนที่ถือเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อการอบรมบ่มเพาะเด็ก และอยู่ใกล้ตัวเด็ก

    ด้วยเหตุนี้จึงได้มีข้อเสนอบางประการ ที่แม้อาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการจัดการในเรื่องนี้ แต่น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าจะช่วยกันสร้างสรรค์ให้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์สังคมได้ไม่มากก็น้อย ดังนี้

    การส่งเสริมให้ครูในฐานะผู้สอน/ผู้ชี้นำมีความสามารถ "ทันโลก ทันเน็ต ทันเด็ก" ทั้งในแง่ทักษะในการใช้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงความรู้ใหม่ๆ เพื่อประโยชน์การเรียนการสอน ความสามารถในการจัดการเน็ตและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าอย่างเหมาะสม บทบาทการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็กให้เห็นความจริงของเทคโนโลยีชนิดนี้ที่เป็น "ดาบสองคม" การพัฒนาให้เกิดสำนึกในการใช้ไอทีเพื่อสังคม กล่าวอีกนัยก็คือการพัฒนาครูให้มีความรู้เป็น "ครูไอเทค" (I-tech teacher) ที่ใช้ไอทีเพื่อการเรียนรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะสร้างเด็กไอสไตล์ (I-Style) หรือเด็กที่ฉลาดในการใช้ไอที
    การมียุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนรู้ เรื่อง "อินเตอร์เน็ตศึกษา/สื่อศึกษา" (Internet education / media education) ในทุกระดับการศึกษา เพื่อให้เด็กในแต่ละวัยที่มีโอกาสเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เรียนรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง จริยธรรม คุณโทษและและพลานุภาพของอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวพันกับอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างแนวคิดและสาระสำคัญของ "อินเตอร์เน็ตศึกษา" (Internet education / media education)
    ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตรวมถึงสิ่งอื่นที่เกี่ยวพันกับอินเตอร์เน็ต เช่น คอมพิวเตอร์ สื่อแบบต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และสื่ออื่น กับผลกระทบในแง่มุมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่มากับอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสื่อสารแบบต่างๆ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับอินเตอร์เน็ต มีความรู้ความเข้าใจในจริยธรรม มีจรรยาบรรณของการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างเหมาะสม
    ทักษะการเลือกสรรและคัดกรองข้อมูลที่มากับเว็บ/สื่อต่างๆ ทักษะการเลือกสรร การสืบค้นการเข้าถึงหรือลิงค์ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีคุณภาพ ทักษะการจัดการความรู้ที่มากับอินเตอร์เน็ต ทักษะการบริหารเวลาและการใช้เน็ตในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องเหมาะสม
    ทัศนคติที่ถูกต้องในการรับหรือลิงค์ไปยังสื่อประเภทต่างๆ ด้วยความมั่นใจและเข้าใจในตนเอง มีความสนใจใฝ่เรียน ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ที่จะใช้อินเตอร์เน็ตในทางสร้างสรรค์ มีจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
    เรื่องการจัดการความรู้ (knowledge management) การวิจัย ผลิตและการสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การให้การศึกษา (educate) และทำการศึกษา (studies) เพื่อให้เป็นฐานความรู้สำคัญสำหรับการเรียนรู้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ และการพัฒนา ตัวอย่างเช่นเรื่อง "ความเสมือนจริง" ของอินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาผลกระทบและอนาคตของสังคม ซึ่งดูจะเป็นโจทย์สำคัญที่มาแรงในยุคนี้ และ
    สังคมยังขาดองค์ความรู้ที่พอเพียงเกี่ยวกับ "องค์กรเสมือน" "ห้องเรียน/โรงเรียน/ชุมชนเสมือน" หรือแม้แต่ "สื่อ/คนเสมือน" ที่เกิดขึ้นทั้งในมิติการปฏิรูปการเรียนรู้ การพัฒนาคนและประเทศ
    จากที่กล่าวแล้ว แนวทางที่จะทำให้การเรียนรู้อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์สำหรับเด็กได้มากก็คือ การ "มีส่วนร่วม" และรวมพลังภาคีต่างๆ ทั้งครอบครัว ชุมชนและสังคม ในการขัดเกลาทางสังคมและถ่ายทอดวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ รวมไปถึงมาตรการกำกับดูแล/ควบคุมสื่ออินเตอร์เน็ต การจัดระเบียบผู้ประกอบการและผู้บริโภคสื่ออินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการควบคุม/ป้องกันสื่อลามก และการเข้าถึงสื่อผิดประเภทของเยาวชน เป็นต้น

    ดังนั้น ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ (ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือวัยไหน) จึงควรตระหนักให้มากต่อกระบวนการผลิตและบริโภคอินเตอร์เน็ตที่จะมีผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย อย่างไรก็ตาม ทางออกที่ดีจึงอยู่ที่กระบวนการศึกษาและการสื่อสารในสังคม ซึ่งบุคคลทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมีสติ คือมิใช่เพื่อแค่ตนเอง แต่เพื่อความเจริญทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนด้วย

    แม้ในอนาคตอินเตอร์เน็ตจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะอยู่คู่กับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปล่อยให้อินเตอร์เน็ตเติบโตอย่างมีเสรีภาพจนมีอำนาจเหนือ "จิตวิญญาณของมนุษย์"

    ดังนั้น การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเด็กไทยจำเป็นจะต้องปฏิรูปอย่างบูรณาการ ยิ่งในโลกที่อินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแล้ว การเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตกับการเรียนรู้นับว่าสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งสังคม เพราะอินเตอร์เน็ตจัดได้ว่าเป็น "ถนนทางแห่งการเรียนรู้" ที่ความเสมือนจริงของมันก่อให้ทั้งคุณและโทษได้ ฉะนั้นความสมดุลระหว่างการพัฒนาจิตใจ สำนึกทางสังคมกับวัตถุจึงน่าจะถูกตอกย้ำให้เด่นชัดในการเรียนรู้ยุคปัจจุบัน

    ที่สำคัญ สังคมควรมีระบบจัดการและเตรียมพร้อมรับมือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการอย่างจริงจัง เพื่อให้เด็ก (รวมทั้งคนในสังคม) เกิดการเรียนรู้ที่จะ "รู้ทัน เลือกสรร ป้องกัน และรู้จักจัดการ (รังสรรค์) " เทคโนโลยีดังกล่าวควบคู่ไปกับการสร้างระบบคุณค่าทางจริยธรรมที่จะดูแลสิ่งเหล่านี้

    ซึ่งจะช่วยให้สังคมสามารถรักษาดุลภาพระหว่างอำนาจอินเตอร์ที่กำลังอยู่เหนือชีวิตคนปัจจุบันนี้ไม่ให้เป็นดาบสองคมมาทำลายมนุษย์ หากแต่นำไปสู่การสร้างสรรค์เด็ก มนุษยชาติ และสังคมที่อุดมปัญญา หรือสังคมที่ใช้ปัญญานุภาพเพื่อสร้างความผาสุกในอนาคต


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    คัดลอกจาก...
    http://www.phrathai.net/article/detail.php?catid=10&ID=388

    ที่มา : นสพ.มติชน 3 ม.ค.48

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...