รู้ได้อย่างไรว่า บุญบารมีเต็ม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นายเมธี12, 25 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    ผมขอความคิดเห็นของ พี่น้องชาวพลังจิตครับ

    ตัวผมไม่รู้หรอกครับจึงถาม ผมเอง ก็แผ่เมตตาทำบุญอยู่บ่อยๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบุญบารมีเราเต็มแล้ว หรือ บุญเก่า+กับบุญใหม่ อย่างไร ช่วยให้กระจ่างหน่อยครับ ขอบคุณ อนุโมทนาครับ ความรู้สึก ลักษณะ ความเป็นไป ขอผู้ที่มีบุญบารมีที่เต็มแล้วนั้น จะมีอาการ ความรู้สึก ลักษณะอย่างไรครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กุมภาพันธ์ 2009
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตามธรรมดา คนมีอะไรเหลือเฟือ ก็มักจะให้โดยไม่ได้หวังอะไรคืนเลย ซึ่งตัวนี้แหละจะเป็นตัวบอกว่า เราบำเพ็ญมาเต็มหรือยัง คือ ทำเพราะเห็นว่า สมควรทำ ทำด้วย ปรมัตถบารมี คือ ไม่ได้หวังอะไรเข้าตน

    ทานบารมี คนที่บำเพ็ญมาเต็มแล้ว ก็จะเป็น ธรรมทาน และ อภัยทาน โดยที่ให้ด้วยความเต็ม คือ รู้สึกว่า เราไม่ได้ต้องการอะไรแล้ว เราควรจะให้คนอื่นได้แล้ว นั้นแหละคนเต็มแล้ว

    ปัญญาบารมี ก็ไม่ได้อยากรู้อะไรแล้ว มีแต่จะให้เขาแล้ว อะไรๆ ก็รู้มาพอแล้ว ให้คนอื่นบ้างแล้ว

    สรุปว่า คนที่เต็มแล้วมักจะไม่ได้คิดว่า มันเต็มหรือยัง แต่เมื่อมันเต็มแล้วมันจะแสดงผลของมันเต็มที่ ดุจดัง น้ำเต็มโอ่ง ย่อมล้นปรากฎให้เห็น
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ความคิดเห็น....
    โดยว่าหลายคนไม่รู้ว่าฝึกมากันปฏิบัติกันมามากน้อยแค่ไหน ไม่สามารถรู้ได้ อย่างมากก็ถอยไปได้ไม่กี่ชาติ ....สำหรับผมแล้วไม่ได้สะสมน้ำในแก้วที่มีอยู่ให้เต็ม แต่เป็นการทำน้ำให้หมดไปจากแก้วเสีย
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ในการปฏิบัตินั้น หากปฏิบัติถูกต้อง จะต้องเกิดธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่า วิราคะธาตุ

    วิราคะธาตุ มีวิเศษลักษณะคือ ทำให้เรานั้นถอยออกจากโลกของรูปนาม

    เน้นนะครับว่าเป็นการถอยออกจากโลกของรูปนาม อีกครั้งหนึง โลกของรูปนาม

    ที่เน้นหลายหนเพื่อให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ถอยออกจากโลกกลมๆใบนี้ หรือ การถอย
    ออกจากการมีชีวิต จนรู้สึกอยากตาย อันนี้ไม่ใช่ การปฏิบัติธรรมไม่ได้ทำให้รู้
    สึกอยากตายไปจากโลก หรือตั้งเป้าว่าตายเมื่อไหร่เดี๋ยวพ้นเอง(พวกยึดผล
    ดีๆที่เคยทำในอดีต)

    การรู้สึกถอยออกจากโลกของรูปนามนั้น ก็คือ การถอยออกจากการเสพอารมณ์

    เช่น ถอยออกจากการความยินดี(นาม)ในความสุข(นาม)จากการทำกิจกรรมต่าง(รูป)
    อย่างการแผ่เมตตา( ปุญญาภิสังขาร สังขารรูปนามปรุงแต่งฝ่ายดี )

    เนื่องจากไม่ใช่การถอยออกจากโลกใบกลมๆ การแผ่เมตตาจึงเกิดขึ้น และทำอยู่ แต่ทำ
    เพราะรู้ชัดว่าเป็นไปเพื่อศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ใช่ทำเพื่อเอาความสุข เอาผล แต่เป็นการ
    ทำเพราะรู้ว่าเป็นทาง จะเข้าใจคำว่า มรรค(ทาง) มากกว่าคำว่า ผล --- กระทำไม่มุ่งเอาผล
    แต่มุเพราะเป็นทาง(มรรค)

    เพราะผลมันเป็นเรื่องของโลกรูปนาม ทำไมเห็นอย่างนั้น ก็เพราะ ผลที่พ้นโลกรูปนาม
    มันไม่เกิด และเพราะรู้ว่า ผลที่พ้นโลกรูปนามมันไม่เกิดจึงไม่หยุดทำ ไม่ถอยจนอยากตาย
    แต่จะถอยออกจากการหวังผลแบบโลกๆ แบบชาวบ้าน(อภิญญา) ก็จะทำทุกอย่างไปอย่าง
    งั้น และทำเต็มที่แต่ไปอย่างงั้น เกิดความรู้สึก สักแต่ว่า เป็นกลางต่อการปรุงแต่งทั้ง
    ดีและร้ายด้วยปัญญา(สังขารุเบกขาญาณ) ทีเป็นแบบนี้ได้เพราะมีวิราคะธาตุ


    การตรวจสอบว่า มีวิราคะธาตุ ไหม ก็ เวลากิเลสมันเกิดขึ้นเกาะกุมใจ มันปรากฏใน
    มโนทวาร ทั้งๆที่ทำมาอย่างดี แต่มันก็เกิด ถึงแม้จะลากไปกระทำชั่ว ผิดศีลไม่ได้
    เพราะมันเกิดแค่ในมโนทวาร จิตเห็นแล้ว รู้สึกแล้ว ตามดู ตามรู้แล้ว จิตใจมียินร้าย
    กับการเกิดกิเลสหรือไม่ หรือเฉยๆ (จิตยินดีในกิเลศก็จะผิดศีล หากจิตไม่ยินดีก็จะไม่
    ผิดศีล)

    แต่ถ้าเป็นการปฏฺบัติผิดทาง จิตจะนิ่งๆ ว่างๆ มีความสุขสถานเดียว ครองอยู่ ไม่มี
    กิเลสไหวให้เห็น ทั้งๆที่ การปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นไปเพื่อเห็นกิเลส(ทุกข์ของจิต)
    แต่ถ้าปฏิบัติจนกิเลสถูกทับไว้ดั่งหินทับ เพราะเอาแต่ครองภพนิ่งๆ ว่างๆ ซึ่งมักได้
    หลังจากการทำสมถะ ถอยจากสมถะลืมฝึกวิปัสสนา ก็จะลืมเรื่องการพิจารณากิเลส

    การทำสมถะบางกองเช่น อสุภะกรรมฐาน แบบนี้ก็ทำให้เกิดภพนิ่งๆ ว่างๆ เป็นการ
    ถอยออกจากกามราคะซึ่งเป็นนิวรณ์ ตรงนี้เราทำเพื่อลดความฝุ้งซ่านไปในกาม
    แต่ต้องถอยจิตออกมาพิจารณากิเลสชนิดอื่น หลายคนทำตรงนี้เพื่อเอาภพว่างๆ
    ที่ได้จากจิตไม่ฝุ้งซ่านในกามราคะ ก็ทำให้เกิดการติดสมถะ เพราะลืมวิปัสสนา ตรง
    นี้สายพระป่าจะมีวิธีตรวจสอบ ก็คือ การธุดงค์ เดินเข้ามาในเมือง อย่างหลวงปู่มั่น
    หากอ่านประวัติจะมีการเล่าเข้ามาในเมือง เห็นแหม่มกลายเป็นกระดูก แต่ท่านไม่ได้
    เดินมาเพื่อให้เห็นสมถะมันเกิด แต่เดินเข้ามาเพื่อดูกิเลสชนิดอื่นๆ ว่าปรากฏหรือไม่
    อย่างพระบางท่านเดินไป เจอช้างมันร้องใส่ ก็ตกใจ เท่านั้นก็ทราบทันทีว่า จิตนิ่งๆ
    ว่างๆที่ตนมีนั้นยังไม่จริง

    วิราคะธาตุจะเกิดจากการทำวิปัสสนาเท่านั้น

    การค่อยๆ เต็มของวิราคะธาตุ ก็คือ เครื่องมือวัด

    เป็นความเบื่อที่ถอยออกจากโลกรูปนาม ไม่ใช่โลกกลมๆ

    เป็นความเบื่อที่ไม่ได้มุ่งไปที่ความตาย มุ่งไปไม่กลัวตาย
    เพราะปัญญารู้อยู่ว่า ตาย คือ การเปลี่ยนภพรูปนามเท่านั้น

    ดังนั้น จะเกิดความรู้ตายหรือไม่ตาย(ก็ช่าง)มันไม่เกี่ยวกับ
    การถอยออกจากโลกของรูปนาม เพราะมีปัญญา(วิราคะธาตุ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2009
  5. อ_เอกวัฒน์

    อ_เอกวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    279
    ค่าพลัง:
    +270
    อนุโมทนา สาธุ กรรมใดที่เราทำไร้ซึ่งกิเลสและให้ผู้อื่นโดยไม่เดือดร้อน กรรมนั้นเป็นกรรมที่ดี
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พระสุตตันตปิฎก

    เล่ม ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    เทวตาสังยุต
    นฬวรรคที่ ๑
    ------------------------------------------------------------
    โอฆตรณสูตรที่ ๑

    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว
    เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่
    ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

    [๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้
    กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์
    ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่
    ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ
    ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้
    อย่างไรเล่า ฯ
    พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
    เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เรา
    ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ
    เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
    นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว
    ไม่พัก ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก ฯ

    [๓] เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล
    เทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
    ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล ฯ

    * * * **

    คำว่า ลอยขึ้น หมายถึง ไปสู่ภพเทวดา สวรรค์ ไปสร้างวิมานในภพสูง เรียก ลอยขึ้น

    คำว่า จมลง หมายถึง จมไปกับกิเลส ไปสร้างภพทุคติ เรียก จมลง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2009
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    บุญเต็ม ทุกข์มันก็ดับ ^-^
     
  8. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    บุญ ทำยังไงก็ไม่น่าจะเต็มนะ มีแต่ลด กับ เพิ่ม นะ

    ส่วนบารมี หรือกำลังใจ นั้น จะเต็มอย่างไรก็บอกไมไ่ด้เหมือนกันรู้แต่ว่า พยายามฝึกอยู่ตลอด

    ไม่ว่าจะบารมีด้านใดก็แล้วแต่ ให้รู้ว่าตัวเองยังเลวอยู่เสมอ จะได้ไม่มีมานะทิษฐิ หรือความหลง ว่าข้าแน่ ข้าเก่งแล้ว
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ใช่ๆ มานะทิษฐิ หรือความหลง ว่าข้าแน่ ข้าเก่งแล้ว นี่ตัวสำคัญเลย อย่าให้เกิด

    ถ้ามันเกิด มันจะผลิก สิ่งที่ดีไม่เกิด แต่ไปเอาการเกิดที่ไม่ดีมายึด

    เช่น เมื่อวานเราทำได้ครึ่งกำลัง แต่พอกลางคืนทำได้เต็มกำลัง เสร็จแล้วก็เอามายึด

    ลืมดูว่าหากหลับตาลงตอนนี้ มีไหม ทำได้ไหม แล้วถ้าไม่ได้ มานะ มันจะโผล่
    หัวทันที มันจะมาบอกว่า เห้ย ไม่เป็นไร เมื่อคืนไงทำได้เต็มกำลัง แบบนี้โดน
    มันหรอก โดนอดีตที่ผ่านไปแล้วหลอกเอา ไม่ลงเป็นปัจจุบันไปแล้ว ติดรูปอดีต
    แล้วยินดีในอดีต แบบนี้เสร็จกัน

    ยึดอดีตมากๆ จะเริ่มมีอีกคำมากระซิบ เห้ย ที่ผ่านมาทำได้เต็มกำลังทุกครั้งเลย
    เห็นไหมในอดีตนึกอยากจะออกก็พุ่งออกไป แล้วปัจจุบันขณะ กำลังเดินๆอยู่จะ
    น้อมทำ ไม่ได้ แล้วมรณังสติก็เกิด ตายเป็นตายแต่ทว่ามันไม่เห็น ก็เกิดการปลอบ
    ว่า ไม่เป็นไร ไว้ตายจริงๆ ก็คงเห็น แบบนี้เสร็จกัน ลืมปัจจุบันหมด ฝากไว้กับ
    อดีต และ อนาคต อย่างประมาท

    ถ้าฝึกถูกต้องนี่ มรณสติ เกิด จิตถอยออกจากโลก น้อมหลับตาปุ๊ปต้องวืด

    ถ้าไม่ได้นี่สงสัยจะแย่ เพราะลองนึกดู ความตายเวลามาถึงตัวนี่มันไม่บอก
    ล่วงหน้าหรอก รถเข้ามาชนตูม ไม่ทันหลับตา ไม่ทันน้อมเลย หากปฏิบัติได้
    จริงๆ มันจะเคล้าเคลียรกับจิตตลอด วิราคะธรรมจะเกิดตลอดเพราะมันเต็ม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2009
  10. humanbeing

    humanbeing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +214
    "พัก" กับ "เพียร" ในที่นี้ คือ อะไรคะ

     
  11. pop024

    pop024 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +529

    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พัก คือ เลิกทำนานเกิน ลืมน้อมระลึกทบทวน เช่น เราลงมือลงแรงช่วยงาน
    วัด งานบุญ งานกุศล หรือ แม้แต่ทำงานในชีวิตจนขณะนั้นลืมเรื่องปฏิบัติ
    ไปเสียสนิท จิตจมไปกับโลก เห็นไหมมีคำว่าจม เอาแค่จมโลกแบบยัง
    ไม่ต้องพูดถึงผิดศีล ก็จมแล้ว จมกามภพ แบบนี้คือ พัก

    เพียร คือ ทำอย่างเดียว ทำสมถะอย่างเดียว เข้าไปในผลที่ได้เฉพาะระหว่าง
    การทำสมถะ ทำตามรูปแบบอย่างเดียว ไม่เคยถอยออกมาใช้ชีวิตตามปรกติ
    แล้วทบทวนว่ามีหรือไม่มี แบบนี้คือลืมโลก ลอยไปจากโลก ถอยออกจากชีวิต
    ประจำวัน แต่ไปอยู่ในพรหมโลก หรือ เทวดาสมบัติที่ตบแต่งวิจิตรพิศดารดั่งนิรมิต
    กายและคูหา แบบนี้คือ ลอย เพียรเกินไป

    แต่จะเห็นว่า ในพระสูตร ไม่ได้ห้าม พัก และ ห้าม เพียร

    คือ ต้องทำทั้งคู่ แต่ไม่เกินไป ทำสลับกัน หากไปติดข้างหนึ่งมาก ก็ต้องแก้
    ด้วยอีกข้างหนึ่ง แต่ก็อย่าเอาแต่แก้จนไปติดอีกข้าง

    หากคุณสังเกตดีๆ คนที่ทำตัวอย่างให้เห็นก็มีอยู่ หากทำด้านหนึ่งมากไป ก็ต้อง
    ออกไปทำอีกอย่างหนึ่งอย่างมากเพื่อแก้ ถ้าแก้พอดีก็พอดี ต้องไม่มากเกินไป
    เสร็จไม่เสณ้จก็จะปล่อยวางได้ทั้งคู่ แต่ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย หรือทำแต่ข้างเดียว

    "เราไม่พัก และไม่เพียร จึงข้ามโอฆะได้ ด้วยประการฉะนี้" พุทธพจน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2009
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คิดไปไกลแล้ว ไหนลองว่ามาซิว่า แล้วต้องทำอย่างไรจึงจะดี
    ในเมื่อ สิ่งนั้นก็เป็นอนาคต สิ่งนี้ก็เป็นอดีต
    ท่าน กำลัง หาหลักเกณฑ์ อันเป็นที่สุด จนลืมไปว่า อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นนั่นแหละหล่อหลอมให้ เราไปที่สุดได้

    แต่ท่านเลือกที่จะมองไปยังปลายทางอย่างเดียว แล้วปัดทิ้งสิ่งอื่น
    ก็บอกไปแล้วว่า อย่าไปกล่าวเชิงตำหนิ ธรรม แม้ธรรมนั้นจะเป็น สมถะ หรือ เป็น มรณานุสติ

    ท่านระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านกล่าวทำนองแบบนี้มาตลอด คือ สมาธิก็ไม่ดี มรณานุสติไม่ดี
    อย่ายึดอะไรมากมาย
    เพราะว่า จริงๆ ไม่มีใครยึดในธรรม แต่ท่านกำลังยึดธรรมของท่าน ก็จะมองว่า ธรรมอื่นนั้นยึด เพราะไม่โอนมาทางวิธีการของท่าน
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ผมอธิบายไปก่อนหน้าที่คุณจะโพสแล้วครับ เพราะเชื่อว่า ต้องมีคนถาม
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นี่เป็นอีกตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่า ท่านกำลังทำให้คนคลุมเครือ ท่านจะพูดทำไมว่า เพียรไม่ดี หรือ เพียรเกินไป ในเมื่อ ศาสดาก็กล่าวไว้แล้วว่า คนเราล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

    เห็นกิเลส ของตนหรือไม่ ท่านนิวรณ์

    พฤติกรรมแบบนี้แหละ ที่ผมเตือนมาตลอด และ ประเด็นเดิมๆด้วยซ้ำว่า อย่าไปตำหนิธรรม
    การ เพียรมากไป ของคนต้องดูเฉพาะบุคคล ไม่ใช่ พูดครอบ เสมือนว่า ความเพียรจะต้องเป็นเช่นนั้นเสมอ
    และ ถึงแม้ว่า คนจะเพียรมากไป ก็นั่นแหละ ตราบใดที่เขายังมีกำลัง มันก็เรื่องดี
    ไม่ใช่ นั่งรู้ดูเฉย ในวิธีการอันผิดๆ ของท่าน ผมว่า ผมคุยเรื่องนี้กับท่านมามากแล้วนะ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    คุณต้องดูบริบทครับ ว่าตอนนี้ เป็นการสนทนาของใคร

    คุณ จขกท นั้นเข้าปฏิบัติมาได้อย่างดี ประหนึ่งเป็นเทวดาผู้นิรทุกข์แล้ว
    แต่ก็อดเอะใจ นึกคำถามดีๆ ขึ้นมาไม่ได้ เมื่อเห็นว่าเป็นคำถามที่ดี น่า
    ตรึกน่าไตร่ตรอง เขาก็ยกมาถาม

    ผมเห็นว่าบริบทของ จขกท นั้นตรงกับพระสูตร เป็นคนที่ปฏิบัติดีปฏิบัติ
    ชอบแล้ว จึงน่าจะเข้าใจ หรือ น้อมฟังประโยคที่พิศดารออกไปตามที่ว่า

    "เราไม่พัก และไม่เพียร จึงข้ามโอฆะได้ ด้วยประการฉะนี้" พุทธพจน์

    นี้ได้

    เพราะแรกๆนั้น จะได้ยินว่า "ต้องเพียร ไม่เลิก" แต่เมื่อมาถึงระยะหนึ่ง
    ก็จะเกิด กังขาทัสนวิสุทธิ ก็จะตั้งคำถามแบบนี้ ก็เหมือนเทวดาที่เกิด
    กังขาทัสนะวิสุทธิ เห็นพระพุทธองค์ผ่านมาก็เข้าไปถาม

    เมื่อจบกถานี้ของพระพุทธองค์ เทวดาผู้นั้นก็สำเร็จโสดาบัน

    ดังนั้น พุทธพจน์ที่กล่าวว่า

    "เราไม่พัก และไม่เพียร จึงข้ามโอฆะได้ ด้วยประการฉะนี้" พุทธพจน์

    นี้ทำให้เทวดาสำเร็จโสดาบันได้

    ส่วนคุณจะมาตามด่าว่าผม อันนั้นก็ยกไปครับ แต่อย่างไรแล้ว
    พระสูตรนี้จริง และทำให้คนสำเร็จจริง ก็ต้องน้อมไปทำดูครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2009
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    การยกธรรมมาผิดนี้ก็เหมือนกัน กล่าวคือ

    การเดินทางสายกลาง เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินไป
    แต่ไม่ใช่ ตำหนิ การเพียร

    ต้องเข้าใจว่า การเพียร หรือ วิริยะนั้นดี ใครเพียรก็ดี ซึ่งเราจะไปรู้กับเขาได้อย่างไรว่า เขาเพียรมากไป เท่าไร จึงจะไม่ดี
    ก็ต้องพูดว่า ต้องมีทางสายกลาง ประกอบ แต่ไม่ใช่ไปกันไว้ว่า เพียรนั้นจะหลบไปอยู่พรหมโลกบ้าง ไปเรื่อยเปื่อย

    ไม่แตกต่างกับ ใบไม้นอกกำมือ ที่พยายามจะเอาธรรม แต่ละประเภทมารวม โดยดึงมาผิดประเด็น
    ประเด็น ไม่ใช่ความเพียรไม่ดี ความเพียรเป็นคุณธรรมที่ต้องมี อยู่ใน องค์พละ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา ต้องมี แต่ต้องมีทางสายกลางกำกับ
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ นิวรณ์ คุณยกธรรมมาไม่ถูกต้องเลยสักอย่าง
    คุณจะดูจิตก็ดูไป แต่ไม่ใช่ไปบอกว่า ธรรมอย่างอื่นไม่จำเป็น หรือ จะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ตามหลักเกณฑ์ อันหาหลักไม่ได้
    เดี๋ยว บอกว่า ต้องทำสมาธิ เดี๋ยวบอกว่า อย่าไปเจริญมรณานสติ เป็นอดีตเกิน เป็นอนาคตเกิน
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็นี่แหละครับ พุทธพจน์ คุณจะมองว่า พระพุทธองค์กล่าวตำหนิความเพียร
    นั้นก็เป็นเรื่องแปลก จริงๆเป็นเรื่องการตอบคำถามด้วยปริศนา คนที่มีปัญญา
    จะเล็งเห็นคำว่า ทางสายกลางทันที แต่คนที่ไม่ปัญญาก็จะคิดว่าพระพุทธองค์
    พูดตำหนิความเพียร

    การตอบคำถามของพระพุทธองค์นั้นมีหลายแบบ คนที่ชอบธรรมะตรงๆ ก็จะไม่
    มีจริตในการมองเห็นเป็นอุบายธรรม ก็จะคิดเอา เห็นเอาแบบตรงๆ แล้วก็งง
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณมุสาไม่เลิกอีกแล้ว คุณนิวรณ์ ใครว่า พุทธพจน์ตำหนิความเพียร ผมบอกว่า คุณนั่นแหละ ตำหนิธรรม
    ผมก็บอกไปแล้วไม่ใช่หรือ ว่า คุณอย่าหยิบสิ่งอื่นมาเป็นโล่ห์ป้องการทำความผิดของคุณ
    ครั้งก่อน คุณก็หยิบพระมา หยิบซีดีมา ในเมื่อว่า ผมตำหนิคุณ ไม่ได้ไปตำหนิสิ่งอื่น
     

แชร์หน้านี้

Loading...