อรุณสวัสดิ์ครับ
ก็ปิดเกมส์เรียบร้อยเดี๋ยววันนี้ดำเนินการจัดส่งให้นะครับ;)
ร่วมทำบุญบูชา ตะกรุดพ่อสมหวังบรรจุธาตุพระปัจเจก(ขอทรัพย์พระปัจเจก) พ่ออาจารย์พล
ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.
หน้า 205 ของ 456
-
-
แจ้งการส่ง EMSพี่ชัยวัฒน์ ER 5707 9674 9 TH
พี่วิชัย ER 5707 9675 2 TH
พี่ธีรพจน์ ER 5707 9676 6 TH
พี่จิระวัฒน์ ER 5707 9677 0 TH
พี่กัมปนาท ER 5707 9678 3 TH
พี่ฐิตกาญจน์ ER 5707 9679 7 TH
พี่ธเนศพล ER 5707 9680 6 TH
พี่ศิวริศร ER 5707 9681 0 TH
พี่วิสุทธิ ER 5707 9682 3 TH
พี่กิตติกร ER 5707 9683 7 TH
พี่ไววิทย์ ER 5707 9684 5 TH
พี่อัครพงศ์ ER 5707 9685 4 TH
พี่นฐมน ER 5707 9686 8 TH
พี่วีรภัทร ER 5707 9687 1 TH
พี่ปภณ ER 5707 9688 5 TH
พี่ปองภพ ER 5707 9689 9 TH
พี่อภิญญา ER 5707 9690 8 TH
พี่ภัทรมน ER 5707 9691 1 TH
พี่ธรรมนูญ ER 5707 9692 5 TH
พี่จักรกฤษณ์ ER 5707 9693 9 TH
พี่อนุสรณ์ ER 5707 9694 2 TH
พี่ปฎิภาณ ER 5707 9695 6 TH
พี่ประเสริฐ ER 5707 9696 0 TH
พี่ภูธร ER 5707 9697 3 TH
พี่เรืองฤทธิ์ ER 5707 9698 7 TH
พี่ชไมพร ER 5707 9699 5 TH
พี่วิศณุกร ER 5707 9700 7 TH
พี่ศิระ ER 5707 9701 5 TH
พี่ชัยวัฒน์ ER 5707 9702 4 TH
พี่สรวุฒิ ER 5707 9703 8 TH
พี่ภาคภูมิ ER 5707 9704 1 TH
พี่สายเมธี ER 5707 9705 5 TH
พี่ปกรณ์เกียรติ ER 5707 9706 9 TH
* เงินทอนค่าส่งร่วมบริจาคช่วยน้ำท่วมภาคใต้ในกล่องรับบริจาคที่ไปรษณีย์นะครับ แล้วก็ยังมีขาดตกของบางคนวันนี้ยังส่งไม่ครบ สำหรับตะกรุดในวาระนี้นั้นจะเป็นดอกเล็กๆน่ารักแต่พ่ออาจารย์ท่านว่าใช้แทนราหูของหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทองได้เลย ก็เอาไปเลี่ยมห้อยกันนะครับอย่าประมาทของจิ๋ว;) -
อรุณสวัสดิ์ครับ วันนี้ก็จะมาพูดคุยกันต่อในเรื่องของโทษแห่งศีลวิบัติ และคุณแห่งศีลสมบัติกันนะครับ เชื่อได้อย่างจริงใจเลยว่าคุณแห่งศีลนั้นมีอยู่ในโลก ที่เหลือก็สำรวจตนเองกันนะครับว่าเราตกหล่นตรงไหนหรือไม่
ศีล เป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ
ศีล เป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด
ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
• ความเบื้องต้น
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมาก เสด็จไปในเมืองราชคฤห์ผ่านปาฏลิคาม อุบาสกและอุบาสิกาชาวปาฏลิคามมาเฝ้า กราบทูลขอให้ทรงแสดงถึงโทษของศีลวิบัติและคุณของศีลสมบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงให้ฟังว่า
ผู้ทุศีลมีศีลวิบัติย่อมประสบโทษ ๕ ประการ คือ
๑. เสื่อมทรัพย์เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ
๒. ชื่อเสียงทางไม่ดีย่อมฟุ้งขจรไป
๓. ไม่แกล้วกล้าอาจหาญในที่ประชุม
๔. เมื่อจะตายย่อมหลงตาย
๕. เมื่อสิ้นชีพแล้วไปสู่ทุคติ
ส่วนคุณของความเป็นผู้มีศีลหรือศีลสมบัติ มี ๕ ประการ เหมือนกันคือ
๑. ย่อมได้กองแห่งโภคะเป็นอันมาก เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ
๒. ชื่อเสียงอันดีงามย่อมฟุ้งขจรไป
๓. เป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญในที่ประชุม
๔. เมื่อจะตายไม่หลงตาย หมายความว่า ตายด้วยความสงบ มีสติสัมปชัญญะ
๕. เมื่อสิ้นชีพแล้วย่อมบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
อุบาสกและอุบาสิกาชาวปาฏลิคามชื่นชมยินดีในพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วลากลับไป
สมัยนั้น สุนีธมหาอำมาตย์และวัสสการพราหมณ์แห่งนครราชคฤห์ คิดจะสร้างเมืองใหม่ ณ ปาฏลิคาม (ซึ่งต่อมาเป็นเมืองปาฏลีบุตร และปัจจุบันคือเมืองปัตตนะ)
พระพุทธองค์ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ แล้วตรัสกับพระอานนท์ว่า เทวดาผู้มีศีลศักดิ์ใหญ่อยู่ ณ พื้นที่ใด ก็ทำให้จิตของมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่น้อมไปเพื่อจะสร้างที่อยู่ของตน ณ พื้นที่นั้น เทวดาผู้มีศักดิ์ปานกลางและมีศักดิ์ต่ำก็เช่นเดียวกัน สถิตอยู่ ณ พื้นที่ใดก็น้อมจิตของราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ปานกลางและศักดิ์ต่ำให้สร้างที่อยู่ในพื้นที่ของตนๆ
สุนีธมหาอำมาตย์และวัสสการพราหมณ์ได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จผ่านมาทางนั้น จึงได้เข้าเฝ้าและกราบทูลอาราธนาให้ไปเสวย ณ นิเวศของตน พระพุทธองค์เสวยแล้วทรงอนุโมทนาว่า
“บัณฑิตอยู่ ณ ที่ใด ย่อมเลี้ยงดูผู้มีศีล ผู้สำรวมดีแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ณ ที่นั้น และอุทิศส่วนกุศลให้แก่เทวดาทั้งหลายผู้สถิตอยู่ในที่นั้น เทวดาผู้ได้รับการบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ ผู้ได้รับการนับถือแล้วย่อมนับถือตอบ แต่นั้นเทวดาย่อมอนุเคราะห์บุคคลนั้น เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตร บุคคลผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่ดีงาม”
หลังจากภัตกิจและอนุโมทนาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาไปทางฝั่งโน้น สุนีธมหาอำมาตย์และวัสสการพราหมณ์ตั้งใจไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จออกทางประตูใดจะตั้งชื่อประตูนั้นว่า “โคตมะ” เสด็จข้ามฝั่ง ณ ท่าน้ำใดก็จะตั้งชื่อท่าน้ำนั้นว่า “ท่าโคตมะ”
ก็สมัยนั้นแล น้ำในแม่น้ำคงคาปริ่มฝั่งประชาชนผู้ที่ต้องการจะข้ามไป ต่างก็เตรียมเรือบ้างแพบ้างแต่พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ทรงข้ามไปโดยไม่ต้องอาศัยเรือหรือแพเลย ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
“ชนเหล่าใดจะข้ามห้วงน้ำคือสงสาร และสระคือตัณหา ชนเหล่านั้นกระทำสะพานคืออริยมรรค ไม่แตะต้องเปือกตมคือกามทั้งหลาย จึงข้ามสถานที่ลุ่มอันเต็มด้วยน้ำได้ ก็ชนแม้ต้องการจะข้ามน้ำมีประมาณน้อย ก็ต้องผูกแพ ส่วนพระพุทธเจ้าและพุทธสาวกทั้งหลายผู้มีปัญญา เว้นจากแพก็ข้ามได้”
• อธิบายความ
๑. โทษแห่งผู้ทุศีลหรือศีลวิบัติ เช่น เสื่อมทรัพย์เพราะความประมาทเป็นเหตุ ตัวอย่างเช่น ประมาท มัวเมาในอบายมุขต่างๆ ทำให้เสื่อมทรัพย์ ล่วงละเมิดศีล เช่น ไปฆ่าเขา ลักทรัพย์หรือฉ้อโกงทรัพย์ของเขา ถูกจับได้ต้องติดคุกหรือต้องเสียทรัพย์มากมายในการสู้คดีความ ทรัพย์เก่าก็หมดไป ทรัพย์ใหม่ก็หาไม่ได้ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ไม่กล้าหาญในที่ประชุม เพราะเกรงจะถูกท้วงติงถึงความผิด เมื่อจะตายระลึกถึงกรรมชั่วของตนทำให้หลงตาย ตายแล้วยังต้องไปทุคติอีก
ส่วนผู้มีศีลดี มีศีลสมบัติหรือสีลสัมปทา ย่อมได้รับผลตรงกันข้ามกับผู้มีศีลวิบัติ กล่าวคือ ได้โภคะเป็นอันมาก เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ มีความเพียรหมั่นประกอบสัมมาชีพ ได้ความสบายใจ มีชื่อเสียงอันดีงาม เข้าไหนเข้าได้ไม่เก้อเขิน เมื่อถึงคราวจะตายระลึกถึงคุณความดีของตน ทำให้ได้สุขโสมนัส ไม่หลงตาย ตายแล้วไปสุคติ เป็นกำไรของชีวิต
๒. เรื่องเทวดาประจำพื้นที่ซึ่งปรากฏในเรื่องนี้ น่าจะเป็นต้นเค้าให้มีการสร้างศาลพระภูมิ เพื่อให้เทวดาประจำพื้นที่ได้อยู่อาศัย ท่านจะอยู่หรือไม่อยู่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้ที่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีทิพยจักษุ หรือสามารถจะติดต่อกับเทวดาได้ ขอฝากไว้สำหรับท่านผู้อ่านได้พิจารณาต่อไปด้วย
ในพระพุทธพจน์ที่ทรงอนุโมทนาในที่นี้ ทรงแนะนำให้ทำบุญอุทิศให้เทวดา และตรัสว่าเมื่อบูชาและนับถือเทวดา ย่อมได้รับการบูชาและนับถือตอบ จากนั้นเทวดาย่อมอนุเคราะห์เขา เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตร ผู้ที่เทวดาอนุเคราะห์แล้วย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่ดีงาม ตามพระพุทธพจน์นี้แสดงว่า เทวดาที่ช่วยคุ้มครองรักษาคนดีก็มีอยู่
ในอานิสงส์แห่งการเจริญเมตตา ๑๑ ประการก็มีอยู่ประการหนึ่งว่า เทวดาทั้งหลายย่อมช่วยรักษา เทวดาก็ยังต้องการบุญเหมือนกัน เราจึงต้องทำบุญอุทิศให้เทวดาบ้าง เพื่อท่านจะได้อนุเคราะห์ช่วยเหลือในคราวจำเป็นหรือคับขัน แต่เราต้องช่วยตัวเองด้วยให้มาก
๓. เรื่องพระพุทธอุทานในที่นี้เกี่ยวกับเรื่องห้วงน้ำ ถ้าพิจารณาตามต้นเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงข้ามแม่น้ำโดยไม่ต้องใช้เรือหรือแพ คงจะทรงใช้ฤทธิ์ข้ามไป รวมทั้งภิกษุสงฆ์ผู้มีฤทธิ์ด้วย เช่น เดินบนน้ำหรือเหาะไป ส่วนคนทั้งหลายต้องใช้เรือหรือแพข้ามไปเพราะไม่มีฤทธิ์เช่นนั้น
แต่พระอรรถกถาจารย์อธิบายน้อมเข้ามาทางธรรม เช่นว่า ห้วงน้ำคือสังสารวัฏ แม่น้ำคือตัณหา สะพานคืออริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ส่วนเปือกตมนั้น อรรถกถาอธิบายเป็นที่ลาดลุ่มซึ่งเปี่ยมด้วยน้ำ แต่มีพระพุทธพจน์บางแห่งตรัสว่า
“เปือกตมคือกาม หนามคือกาม อันผู้ใดข้ามพ้นได้แล้ว ย่ำยีได้แล้ว ผู้นั้นถึงความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์” (อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ กล่าวว่าเป็นพระพุทธอุทาน เกี่ยวกับเรื่องพระนันทะ)
(จากคัมภีร์อุทาน ปาฏลิคามิยวรรค ในหนังสือพุทธอุทาน โดย อาจารย์วศิน อินทสระ)
-
แจ้งการส่งEMS
พี่ศุภชัย ER 5707 3904 9 TH
พี่ปกรณ์ ER 5707 3905 2 TH
พี่อมรินทร์ ER 5707 3906 6 TH
พี่สมพร ER 5707 3907 0 TH
พี่ธัชนนท์ ER 5707 3908 3 TH -
ได้รับตะกรุดแล้วครับ
-
ติดตามนะครับช่วงตรุษจีนกับของพิเศษซึ่งประกอบขึ้นจากธาตุกายสิทธิของพระแม่ธรณีที่มีอายุนับล้านปี พ่ออาจารย์ท่านว่าธาตุนี้แม้แต่ท่านยังต้องผนึกไว้เสียนานจนนำขึ้นมาสร้างของมงคล อันนี้ติดตามๆ;)
-
ได้รับตะกรุดแล้ว ขอบคุณครับ
-
อรุณสวัสดิ์ครับ เดี๋ยววันนี้มาพูดคุยกันต่อจากเมื่อวาน รอบเช้านี้จะคุยเรื่องวันตรุษจีนก่อนเนื่องจากใกล้เทศกาลแล้ว มาทำความรู้จักไปด้วยกันนะครับ;)
ตรุษจีน 2017 วันไหว้ตรุษจีน 2560 วันจ่าย 26 ม.ค. 60 ส่วนวันไหว้ปีนี้คือ ตรงกับวันที่ 27 วันไหว้เจ้าที่ในตอนเช้า ไหว้บรรพบุรุษตอนสาย ไหว้ผีไม่มีญาติตอนบ่าย ส่วนช่วงกลางดึกของ วันอาทิตย์ ที่ 27 มกราคม 2560 เวลา 23.00 น. – 00.59 น.เป็นช่วงเวลาที่นิยมสุด แต่ต้องดูเรื่องของปีเกิดของผู้ร่วมพิธีประกอบด้วย(ห้าม ไหว้ขึ้นธูปคนแรก) ทำให้ฤกษ์ไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ยหรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ช่วงเวลาที่ดีในการไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภแตกต่างกันบ้าง ฤกษ์ไหว้ตรุษจีน 2560 เป็นช่วงเวลาของคืนวันที่ 27 มกราคม 2560 ต่อเนื่องช่วงเช้า วันที่ 28 โดยปีนี้เทพเจ้าโชคลาภมาทางทิศ....
ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่ ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในเทศกาลวันปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้วกับการฉลอง วันปีใหม่จีน หรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีน
ตรุษจีน นั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลอง ตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้น มากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้าย ให้ออกไป เสื้อตรุษจีน 2560 และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง เมื่อถึง วันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อคำอวยพรวันปีใหม่กล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน คำอวยพรวันตรุษจีน 2560 ภาษาจีน พร้อมคำแปล ภาษาไทย 2017 โดยส่วนใหญ่คำอวยพรวันปีใหม่จะพูดว่า "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ" ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ใน วันตรุษ นี้อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลอง วันตรุษจีน สิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลอง วันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การอวยพร ความสงบและความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน
ตำนานความเป็นมาของวันตรุษจีน
ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อเหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกันเมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดังและไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก
เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุกๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน
ความเชื่อต่างๆใน วันตรุษจีน ที่ห้ามทำและที่นิยมทำกัน
วันตรุษจีน ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัยและคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา วันตรุษจีน ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่
วันตรุษจีน ถ้าหากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่หรือ วันตรุษจีน คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน การแต่งกายและความสะอาดใน วันตรุษจีน เราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วง เทศกาลวันตรุษจีน นี้สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี
วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับ คนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล บุคคลแรกที่พบใน วันตรุษจีน และคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี
การเข้าไปหาใครในห้องนอนใน วันตรุษจีน ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรใน วันตรุษจีน เพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคง ยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียมและวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็นครอบครัวและเอกลักษณ์ของตน วันตรุษจีน 2560
-
เย็นนี้จะมาพูดคุยกันเรื่องสมเด็จพิชัยสมบัติหรือพระแก้วเศวตฉัตรต่อนะครับ มวลสารไม่ธรรมดาเพราะประกอบขึ้นจากธาตุกายสิทธิของพระแม่ธรณีที่มีอายุนับล้านปี;)
-
แจ้งการส่งEMS
พี่กฤตยชญ์ ER 5707 2678 2 TH -
ได้รับตะกรุดเรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณครับ
-
คุยกันรอบเย็น
สมเด็จพิชัยสมบัติหรือพระแก้วเศวตฉัตรนั้นนอกจากประกอบด้วยธาตุกายสิทธิของพระแม่ธรณีที่มีอายุนับล้านปีแล้ว ต้องบอกได้เลยว่ายังประกอบขึ้นมาจากธาตุกายสิทธิ์ชนิดต่างๆที่แรง แปลก และหาหรือครอบครองได้ยากซึ่งเป็นของรุ่นบูรพาจารย์ที่ครอบวิชาให้พ่ออาจารย์หลายๆท่านได้เก็บสะสมรวบรวมไว้และมอบสืบทอดกันมา จะมีอะไรบ้างพรุ่งนี้ต้องติดตามกัน
ท่านเคยเปรยไว้ว่าแรงไม่แรงไม่รู้แต่ธาตุทั้งหมดท่านต้องใส่กล่องเหล็กฝากพระแม่ธรณีไว้ จนท่านสร้างพระแก้วเศวตฉัตรหรือสมเด็จพิชัยสมบัติ ท่านจึงไปกู้ผลึกกายสิทธิ์ต่างๆที่ท่านฝากพระแม่ธรณีไว้ขึ้นมาสร้าง พรุ่งนี้ติดตามกันดีๆ นอกจากธาตุกายสิทธิ์แล้วด้านหน้าองค์พระ พ่ออาจารย์ท่านยังโดยด้วยผงสำคัญสายวัดประดู่ทรงธรรมสมัยอยุธยาไว้ด้วย ทำให้องค์พระนั้นมีลายคล้ายลายหินอ่อนหรือจะเรียกว่าลายพรางทหารก็ได้ เพราะท่านใช้ผงล้วนๆโรยคลุมหน้าทับผงธาตุกายสิทธิ์ไว้อีกคำรบหนึ่งมองดูไปยิ่งมีเสน่ห์แบบพระโบราณ จะสำคัญอย่างไรเป็นผงอะไรพรุ่งนี้ติดตามกันดีๆ
-
อรุณสวัสดิ์วันไหว้นะครับ ก็พอดีช่วงนี้ยุ่งๆ เรียกว่าแทบไม่ได้นอน ไม่ได้ยุ่งเรื่องไหว้เจ้านะแต่พอดีพ่ออาจารย์ท่านแนะนำอะไรให้ทำซึ่งเราเองทำผิดมาตลอดก็เลยรีบๆทำให้มันเสร็จ เลยดูวุ่นๆ วันนี้ก็ติดตามกันดีๆห้ามพลาด ขอยืมวลีท่านมานิดนึง ท่านว่าบางธาตุบางสิ่งชั่วชีวิตคนผู้หนึ่งนั้นอย่าว่าจะได้ครอบครอง แม้แค่บุญได้เห็นยังไม่มี มวลสารพระแก้วเศวตฉัตรนั้นเรียกว่าเป็นประกาบระยิบระยับทีเดียว;)
-
ร่วมทำบุญบูชา พระแก้วเศวตฉัตร(สมเด็จพิชัยสมบัติมหาธาตุล้านปี)
พ่ออาจารย์นั้นท่านมักจะได้รับความเมตตาจากครูบาอาจารย์มากมาย โดยบางสิ่งบางอย่างนั้นครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็ให้ท่านมา แม้แต่พ่ออาจารย์ตัวท่านเองยังกล่าวว่าถ้าเอาจริงๆแล้วชีวิตเราทั้งชีวิตก็ไม่แน่แก่ใจเหมือนกันว่าจะหาของแบบนี้ได้ที่ไหน เพราะเป็นธาตุเฉพาะตัวเฉพาะบารมีเป็นของสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษของบูรพาจารย์ทั้งหลายดุจดวงแก้ววิเศษของหลวงปู่ทวด เขี้ยวงูยักษ์แห่งสมเด็จพระร่วงเจ้า เป็นต้น เมื่อท่านละแล้วสละแล้วท่านก็จะมอบให้เราไว้สืบทอดต่อ โดยพูดเสมือนกันว่าต้องใช้ทำของสำคัญเท่านั้น
เมื่อได้รับพ่ออาจารย์ท่านก็นำไปผนึกฝังดินเอาไว้ ท่านว่าฝากไว้กับพระแม่ธรณี ซึ่งของเหล่านี้ประกอบไปด้วย เหล็กไหลน้ำนมพระธรณี เพชรน้ำรอด ผงเกร็ดแก้วพิศดาร มณีนาคราช(ไข่แก้วพญางู) เกล็ดพญามังกรไฟ สุธรรมธาราธาตุ ผงจันจิราจันทราทิพย์ เหล็กหลบ เหล็กเปียก พญาสมิงเหล็ก ทองคำดำ เหล็กไหลดำ เหล็กไหลแก่น โพธิสัตว์ธาตุ แร่เขาเขียว แร่เพชรนิลกาฬ เกล็ดนาคราช ชินวร ตับหิน ขวานฟ้า เขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก เพชรพญางู งากำจัด งากำจาย งากระเด็น งาช้างกลวง เขี้ยวเสือกลวง ตะขาบทองแดง รกแมว งูปากเป็ด จิ้งจกสองหาง หน้าผากเสือโคร่ง คตผึ้ง คตต่อ คตปลวกขาว ขนุนทองแดง
ซึ่งท่านว่าของแต่ละอย่างนั้นล้วนเป็นธาตุกายสิทธิ์ที่ปัจจุบันแม้แต่จะหาดูยังยาก ล้วนเป็นของมีชื่อแต่โบราณที่บูรพาจารย์อันมีวาสนาและบารมีต้องกันให้บังเอิญได้พบได้เห็นได้ถือครอง บางอย่างก็มีค่าควรเมือง บางอย่างก็มีค่าล่มเมือง ท่านว่าเมื่อได้มาก็ไม่รู้จะนำไปทำอะไรเพราะครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็พูดเสมอกันว่าให้เอาไว้ทำของสำคัญ ท่านจึงไม่ได้นำมาถือครอง แต่นำไปใส่กล่องเหล็กผนึกฝังไว้กับดินใต้รูปปั้นพระแม่ธรณีของท่าน
ในกาลต่อมามีผู้ทรงวิชาได้นำผงรัตนมาลาของก๋งจาบ สุวรรณ หนึ่งในครูใหญ่ทางสายวัดประดู่ทรงธรรมมามอบให้ท่านทำของศักดิ์สิทธิ์โดยจะขอเพียงพระที่ท่านทำขึ้นจากผงนั้นเมื่อแล้วเสร็จไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งก๋งจาบนี้พ่ออาจารย์ท่านว่าเป็นอาจารย์ใหญ่เลยของสายวัดประดู่ทรงธรรม แม้หลวงพ่อปานของเราท่านยังนับถือ และยังเป็นอาจารย์ของพระเกจิรุ่นต่อมาอีกมากเช่นพ่อเทียมวัดกษัตรา พ่อแทนวัดธรรมเสน พ่อกี๋วัดหูช้าง
เมื่อได้ผงของก๋งจาบพ่ออาจารย์ท่านก็ปรารถนาจะทำของดีจริงดีที่สุดไปเลย เรียกว่าใช้ผงวิเศษสูงสุดในสายบูรพาจารย์แห่งสยามประเทศผสมลงไปด้วย ท่านว่าทำไว้เป็นที่ระลึกถึงครูสายวัดประดู่ทรงธรรมเสียหน่อย ท่านจึงนำเอาผงของหลวงปู่รอด(เสือ)ผู้เป็นบูรพาจารย์วัดประดู่ทรงธรรมแต่กาลก่อน ซึ่งตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ท่านว่าหลวงปู่รอดนี้สมัยกรุงศรีแตกท่านเคยมาจำพรรษาอยู่วัดระฆังก่อนจะกลับไปฟื้นฟูสำนักวัดประดู่ทรงธรรมอีกคำรบหนึ่ง ซึ่งผงวิเศษของหลวงปู่รอดเสือนั้นก็มีฤทธิ์มากนักเป็นของตกทอดมาแต่รุ่นสืบรุ่นซึ่งท่านได้มาจากเจ้าคุณวัดระฆังเมื่อนานมาแล้ว เรียกว่าเป็นที่สุดของผงในสยามประเทศ ที่สุดของสายวัดประดู่ทรงธรรมก็ไม่ผิด
เมื่อท่านตั้งใจเช่นนั้น พ่ออาจารย์ท่านจึงได้ขอพระพุทธนิมิตจากเสด็จพระใหญ่(องค์ปฐม)ว่าจะทำพระพิมพ์แบบไหน อย่างไรดี จนได้รับพระพุทธเนรมิตเป็นรูปพระแก้วประทับอยู่เหนือรัตนบัลลังค์ภายใต้เครื่องพระมหาเศวตฉัตร พ่ออาจารย์ท่านจึงคิดว่างานนี้ท่าจะยากและตึงมือเสียมาก เพราะแค่รูปลักษณ์ภายนอกก็สูงเทียมฟ้าซะแล้ว มีเครื่องสูงของสูงครบทั้งนั้น ท่านจึงตั้งใจจะขอบารมีครูอาจารย์เข้าช่วยโดยนึกไปถึงของสำคัญที่ท่านผนึกไว้ และคำสั่งพ่อแม่ครูอาจารย์ ท่านจึงได้กู้ขึ้นมาเพื่อสร้างของต่อไป
นับเป็นวาระมงคลยิ่งที่เมื่อท่านแกะพิมพ์พระแก้วเศวตฉัตรขึ้นมานั้น ก็พอดีกับมีทายาทบุคคลเชื้อสายเก่าแก่นำชิ้นส่วนของฉัตรเก่าโบราณซึ่งมีอาถรรพ์สูงเป็นเครื่องราชูปโภคหรือเกี่ยวเนื่องในพิธีราชาภิเษกตั้งแต่ต้นกรุงได้มาแต่คราปฏิสังขรณ์มาให้กับท่าน อันนี้ขอเก็บที่มาเอาไว้ พ่ออาจารย์ท่านได้นำมาบดทำผงด้วยผสมในคราวเดียวกันท่านว่านี่เป็นของสูงมีพระเสื้อเมืองทรงเมืองรักษา เท่านี้ก็ถือว่าเป็นสิริมงคลสูงสุดแก่ชีวิตคนได้ไว้แล้ว ท่านจึงเร่งแกะพิมพ์องค์พระจนเสร็จก่อนจะอธิษฐานแม่พิมพ์บูชาครูใส่อารรพ์ราชาเวทย์ตามกรรมวิธีของท่าน
หลังจากนั้นพ่ออาจารย์จึงเอาธาตุปิดผนึกทั้งหลายมาตำจนละเอียด บางอย่างก็ต้องผ่านไฟให้กลายเป็นผง บางอย่างก็ต้องมีวิธีในการย่อยสลายต่างๆกันไป ท่านว่าใช้เวลานานมากกว่าจะตำหรือย่อยสิ่งต่างๆให้เป็นผงได้ เพราะท่านถือคติที่ว่าท่านต้องทำของท่านคนเดียวไม่ให้ใครมายุ่ง
เมื่อได้ผงกายสิทธิ์ทั้งหลายรวมกันแล้วท่านจึงบอกกล่าวและอธิษฐานจิตต่อครูบาอาจารย์ขออนุญาติและบอกกล่าวให้ท่านทั้งหลายทราบและลงมาช่วยกันอีกวาระหนึ่ง หลังจากนั้นท่านจึงนำเอาผงธาตุกายสิทธิ์นั้น มาผสมกับผงรัตนมาลาของก๋งจาบ และผงของหลวงปู่รอด(เสือ)ปรมาจารย์แห่งตักศิลาวัดประดู่ทรงธรรม เพื่อเตรียมกดพิมพ์เป็นองค์พระต่อไป พ่ออาจารย์ท่านว่าท่านตั้งใจจะใช้มวลสารล้วนๆ จริงๆไม่ได้มีเท่านี้ แต่ท่านยังผสมผงวิเศษห้าประการตำรับสมเด็จโตลงไปด้วย แล้วก็ยังมีผงเก่าของหลวงพ่อปาน หลวงพ่อแก้ว ท่านว่าท่านใส่ลงไปหมดเน้นผงของบูรพาจารย์ยุคเก่าทั้งสิ้น
ซึ่งพระสมเด็จพิชัยสมบัติหรือพระแก้วเศวตฉัตรนี้ ท่านว่าอย่าเสียเวลาถามว่าดีอย่างไร เพราะท่านว่าดีทุกทางและที่สำคัญพระนั้นมีน้อยเนื่องจากท่านใช้มวลสารล้วนๆประกอบขึ้นมาทำให้องค์พระนั้นจะมีสายแร่เป็นประกาบระยิบระยับโดยพ่ออาจารย์เมื่อกดพิมพ์องค์พระนั้น ท่านยังเมตตานำผงของก๋งจาบและหลวงปู่รอดเสือ เรียกว่าใช้ผงล้วนๆมาโรยพิมพ์ให้เห็นๆไม่มีอะไรค้างคากันไปเลยอีกคำรบหนึ่ง ท่านว่าคนใช้เค้าจะได้สบายใจ เพราะผสมไว้ในเนื้อเค้ามองไม่เห็น ท่านพูดติดตลกเท่านี้ เรียกว่าเป็นมหามงคลอย่างสูงแก่ผู้ที่ได้ครอบครองจริงๆ
เนื่องจากพ่ออาจารย์ท่านโรยผงของบูรพาจารย์ไว้ด้านหน้าตามที่กล่าวมาแล้วทำให้องค์พระมีลักษณะพิเศษสวยงามแปลกตามาก คล้ายลายทหารหรือสีหินอ่อนก็เรียก โดยพระแก้วเศวตฉัตรนั้นพ่ออาจารย์ท่านได้ฝังของวิเศษต่างๆดังนี้
- ตะกรุดพิชัยสมบัติ ท่านว่าจะทำพระทรงเครื่องราชูปโภคนั่งบัลลังค์ภายใต้เครื่องเศวตฉัตรแล้ว ก็ไม่อยากจะให้เป็นเฉพาะรูปทรงเท่านั้น ดังนั้นท่านจึงทำตะกรุดพิชัยสมบัติฝังไว้ให้ด้วย ท่านว่านี่ของสำคัญทรัพย์แผ่นดินมีมากเพียงใด ทรัพย์พระคลังมีมากอย่างไร ทรัพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นอย่างไร วิชาพิชัยสมบัติก็มีมากเสมอกัน เรียกว่าเป็นวิชาที่ช่วยให้คนมีทรัพย์มากได้รับความสุขสบายดุจพระเจ้าจักรพรรดิ์ก็ไม่ผิด ท่านว่าวิชาเช่นนี้จึงนำมาทำเล่นๆไม่ได้ ใช้ได้เพียงในวาระในโอกาศสร้างพระสำคัญเท่านั้น พิชัยสมบัติคือมีชัยชนะในสมบัติ ท่านว่าคนที่ชีวิตไม่เคยชนะ ดวงไปล่มไปตกผิดที่ผิดทาง ทรัพย์ไม่มีติดมือ เรียกว่าหาทรัพย์ไม่ได้เก็บทรัพย์ไม่อยู่ แพ้หมดรูป ท่านว่าเอาให้ย่ำแย่ถึงปานนั้นก็ยังได้ดีเปลี่ยนชีวิตพลิกคืนมาได้ เพราะพิชัยสมบัติคือมีชัยชนะเหนือทรัพย์สมบัติทั้งปวง เหนือทรัพย์พระคลัง เหนือทรัพย์แผ่นดิน เหนือทรัพย์พระเจ้าจักรพรรดิ์วิชานี้ทรงคุณถึงเพียงนั้น
- พญาอนันตนาคราช พ่ออาจารย์ท่านใช้วัชรธาตุ หยาดน้ำฟ้า เหล็กไหลขาวต่างๆมาหล่อหลอมเป็นเอกองค์นาคราชผู้เป็นต้นวงศ์มหานาคราชทั้งปวง คือองค์อนันต์นาคราชหรือพญานาคเศษะ นาคอาสน์พระวิษณุนารายณ์แห่งเกษียรสมุทร ท่านว่าที่จริงพญาอนันต์นี้มีพันเศียร แต่จะให้ท่านแกะพิมพ์มีพันหัวก็ไม่ไหวเหมือนกัน ท่านจึงทำเป็นรูปพญานาคขนดกายแผ่พังพานเก้าเศียร ท่านว่าแค่สัญลักษณ์เก้าเศียรเห็นเพียงเท่านี้ก็รู้แล้วว่าคือพญาอนันต์นาคราช ถือคติขนดกายแผ่พังพานนี้จะได้ปกเกล้าปกหัวคุ้มครองลูกๆที่มีศรัทธาจริต พ่ออาจารย์ท่านว่ารุ่นนี้เน้นเมตตาอย่างแรง กับมีคุณทางด้านโภคทรัพย์บันดาลโชคลาภอย่างมหาศาล สืบเนื่องจากโลกแต่เดิมนั้น แหล่งรวมทรัพย์สมบัติต่างๆล้วนอยู่ในน้ำ อยู่ในพระมหาสมุทร แม้แต่สมบัติเทวโลกต่างๆของเทพเจ้าทั้งหลายอย่างพระอินทร์พระพรหมทั้งหมดก็ล้วนแต่มีอุบัติขึ้นจากมหาสมุทรและพญาอนันต์กับพระสมุทรท่านก็แบ่งสรรค์ปันส่วนให้เหล่าเทวดาไป พ่ออาจารย์ท่านว่าก็นี่แหละองค์นี้เจ้าทรัพย์ จะหาใครมามั่งคั่งเกินท่านเป็นไม่มี อยากสบาย อยากรวย อยากมีโชคอย่างไรก็ให้อธิษฐานเอากับท่านเพราะท่านเป็นมหานาคดึกดำบรรพ์เป็นโคตรวงศ์ของสายสกุลนาคราชทั้งปวง ท่านเสกให้เป็นสื่อดึงโชคลาภโภคสมบัติมาหาตัว ซ้ำดั่งที่บอกว่าท่านเป็นต้นโคตรวงศ์แห่งนาคราชดังนั้นเรื่องเสน่ห์เมตตาไม่ต้องถามเลย เพราะวิสัยมหาพญานาคแล้วเรื่องเจ้าชู้ไม่มีใครเกิน มีลูกหลานนับแสนนับล้าน ขนาดปางอวตารของพญาอนันตนาคราชอย่างพระลักษมัน หรือที่คนไทยเราเรียกว่าพระลักษณ์ก็ยังนำมาผูกเป็นสายวิชาพระลักษณ์หน้าทองที่มีเสน่ห์ดังลือเลื่องทั้งแผ่นดิน ดังนั้นพ่ออาจารย์ทานว่าองค์อนันตภุชคินทร์นี่แรงคูณสิบไม่เฉพาะแต่มนุษย์แม้เทวดานางฟ้าทั้งหลายก็ยังหลงและพึงใจในกลิ่นอายของผู้มีญาณพ่ออนันนี้แฝงอยู่
นอกจากนั้นพ่ออาจารย์ท่านยังเมตตาทำของพิเศษฝังอยู่ในองค์พระด้วยอีกชนิดหนึ่ง ท่านเรียกว่าแก้วสามดวง เป็นดวงแก้วแทนธรรมธาตุของพระอรหันต์ผู้ทรงคุณสามรูป คือครูพระสีวลี ครูพระมหาโมคคัลลานะ ครูพระสารีบุตร ซึ่งการทำดวงแก้วทั้งสามนี้ท่านต้องลบผงต่างๆผสมกับว่านยาและมวลสาร ตลอดจนเสกแยกชนิดและลงวิชาต่างๆแยกกันไปอันประกอบไปด้วย
- ดวงธาตุพระสีวลี พ่ออาจาย์ท่านนำพระธาตุพระสีวลีมาฝนจนเป็นผงผสมเข้ากับผงลบวิชาทางด้านโชคลาภ เมตตาทั้งหลายของท่าน ก่อนที่จะนำมาปั้นเป็นดวงธาตุ ท่านว่าผงนี้อย่างแรง ไม่แต่เพียงเท่านั้นเมื่อทำแล้วยังต้องเชิญองค์พระสีวลีมาแผ่บารมีบรรจุพระญาณธาตุอากาศของท่านอีกคำรบหนึ่ง ท่านว่าดวงธาตุสีวลีสีเหลืองอมส้มนี้ดีทางดึงดูดสิ่งดีๆเข้ามาหาตัว แม้คิดหวังปรารถนาอะไรเทวดาก็จะหามาให้ เป็นเอกทางด้านเมตตาเป็นที่รักของหมู่สรรพชีวิตไม่มีประมาณ ดึงดูดโชคลาภได้ดีที่สุด
- ดวงธาตุพระมหาโมคคัลลานะ พ่ออาจารย์ท่านนำพระธาตุพระมหาโมคคัลลานะมาบดผสมกับมวลสารต่างๆเช่นยาแดงยาสักและยังผสมด้วยผงลบที่เน้นทางด้านอิทธิฤทธิ์อภินิหารย์มีพรรณคุณพิเศษต่างๆมากมาย ก่อนที่จะเชิญญาณของพระมหาโมคคัลลานะมาบรรจุฤทธิ์และสถิตย์พระญาณธาตุอากาศของท่านลงไป ท่านว่าดวงธาตุพระมหาโมคคัลลานะนี้มีฤทธิ์และอภินิหาริย์มากชีวิตไม่ตกต่ำยากไร้เลย ล้มไม่ได้มีสิ่งเสริมสร้างเกื้อหนุนฉุดดึงเราตลอดเวลา
- ดวงธาตุพระสารีบุตร พ่ออาจารย์ท่านใช้พระธาตุพระสารีบุตรมาบดผสมกับผงวิเศษลบถมที่ท่านสร้างขึ้น ท่านว่าเน้นวิชาทางเปิดปัญญา เปิดสมอง วิชาอ้อต่างๆ เสร็จแล้วก็เชิญญาณของพระสารีบุตรมาแผ่อิทธิคุณและประจุพระญาณธาตุอากาศลงไป ท่านว่าดวงธาตุพระสารีบุตรนี้อยู่ที่ไหน ชีวิตคนไม่มีวันตกลงสู่ทางมืดทางเสื่อม มีแต่จะสว่างมากขึ้นและดีขึ้นเป็นลำดับ ดุจแสงแห่งปัญญาที่ทำลายอวิชชา ล้างผลาญความมืดทั้งปวง
พ่ออาจารย์ท่านว่าดวงธาตุทั้งสามนี้ ท่านทำให้ไว้อย่างดีใช้เวลาลบผงทำอยู่ร่วมปี ท่านตั้งใจเอามาฝังไว้ในพระแก้วเศวตฉัตร ดุจว่ามีสามพระอรหันต์ผู้อัครสาวกและเอตทัคคะไปไหนไปด้วย คอยช่วยเหลือเกื้อกูลผู้บูชาให้เสร็จกิจดั่งใจทุกประการ ท่านว่าพระแก้วเศวตฉัตรนั้นปลุกเสกยาก เพราะไม่มีฤกษ์เสกปิดจึงได้แต่ทำเก็บไว้จนกระทั่งได้ฤกษ์เสกปิดตามตำราจึงได้เสกปิดและนำมาให้บูชา
พ่ออาจารย์ท่านว่าฤกษ์เสกปิดพระสำคัญเช่นนี้ ชั่วทั้งชีวิตคนๆนึงอาจจะอยู่ไม่ทันหรือไม่ได้เห็นก็ได้ นั่นคือฤกษ์แห่งการผลัดแผ่นดิน เมื่อองค์พระประมุขในพระบรมโกศเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้วผลัดแผ่นดินสู่รัชกาลใหม่ ในระหว่างนี้ท่านต้องใช้ฤกษ์มงคลในการเสกปิดเพราะเป็นสมเด็จทรงรัตนบัลลังค์ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร จึงต้องสถาปนาเสกปิดเมื่อผลัดแผ่นดินเช่นกันดุจว่าเริ่มต้นรัชกาลใหม่ จะทำเล่นๆขอไปทีไม่ได้ เมื่อเสกปิดแล้วท่านจึงพรมน้ำทิพย์มนต์และพุทธมนต์เป็นอันว่าสำเร็จ พระเช่นนี้ท่านจึงบอกว่าทำยาก
สำหรับพระแก้วเศวตฉัตรนั้นพ่ออาจารย์ท่านนวดผสมเนื้อด้วยน้ำมันกฤษณาผสมน้ำปรุงองค์พระจึงมีกลิ่นหอมอ่อนๆจางๆ พ่ออาจารย์ท่านทำไว้ทั้งหมดเพียง 10 องค์ เท่านั้น
คาถาบูชา
อัตเถวะเตกาเม อะรุอะตูปะผะโลเม มหาผะโลเม ผาลิเต มหาผาลิเต ผาลิตัง มหาผาลิตัง เวสเส อะเวสเส ปุตเต อะปุตเต สัมพุทเธ อิลิติลิรุกโข ภูตังคะโม สุตตังคะโม อิติมุนีโข อันธะธารณปริตตานิ ปริตตา โกฏิสหัสสะสัมมาสัมพุทเธหิ เทสิตานิ ตัสสะ ปริตตัสสะ อานุภาเวนะ เตเชนะ ผะเลนะ ปูติรุกขะสา ฐาปิสาขานิ ปะฏินิ ผะลานิ อะผะลานิ ฐาหิสุ อิทะมะโวจะภควา อายะสาหะนันโท ภควโต เทสิตัง อภินันทิ
* รับจองบูชาเฉพาะทาง PM สำหรับผู้จองให้แจ้งชื่อสกุลไว้ด้วย พ่ออาจารย์ท่านว่าจะชักยันต์นะจักรพรรดิและเจิมประสิทธิให้ทีละองค์อีกคำรบหนึ่ง รายได้ทั้งหมดร่วมบริจาคทุนการศึกษาเด้กที่ด้อยโอกาศต่อไป
ร่วมทำบุญบูชา พระแก้วเศวตฉัตร(สมเด็จพิชัยสมบัติมหาธาตุล้านปี) บูชา 4,000 บาท
-
แจ้งการส่งEMS
พี่นฐมน ER 5707 2782 8 TH -
ก็ทยอยตอบ PM ครบแล้วนะครับ ใครจะฝากคำถามอะไรก็ฝากไว้ได้เลย เมื่อรอบเย็นนำพระไปส่งเลี่ยมให้ตัวพระแก้วเศวตฉัตร แค่จับก็ขนลุกชาขึ้นหัววูบๆเลย องค์พระมีพลังกายสิทธิ์รุนแรงจริงๆขนาดไม่ได้เพ่งจิตหรือตั้งสมาธิอะไรเลย เรียกว่าพลังงานแผ่ออกมาตลอดเวลาก็ว่าได้ พระแบบนี้แรงไม่ลดแรงไม่มีตก อาถรรพ์สูงแน่นอน อันนี้พูดกันแบบผิวเผินนะเพราะมันชัดเจนมาก บูชากันดีๆนะครับ;)
-
สติอรุณสวัสดิ์ครับ ปกติจะพูดกันถึงเรื่องเจริญสติกันบ่อย วันนี้ก็จะมาลงรายละเอียด ก็ขอให้สละเวลาอ่านกันนิดนิง เชื่ออย่างยิ่งว่าจะสามารถทำความเข้าใจได้และเป็นประโยชน์แก่ตัวเองที่สุด
สติ ตามความหมายในทางพุทธศาสตร์แปลว่า ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือการปฏิบัตินั่นเอง
สติเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติในทางพุทธศาสนา เช่น สติในมรรค๘ หรือสติในโพชฌงค์๗ สติในสติปัฏฐาน๔ เป็นต้น. อันเป็นเหตุปัจจัยอันสําคัญยิ่งในการบรรลุถึงจุดหมายในการดับทุกข์ หรือความจางคลายหายจากทุกข์ ในที่นี้ผู้เขียนจะกล่าวจําเพาะเจาะจงลงไปในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะสติให้เห็นเวทนาและจิตเป็นสําคัญ (เวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔)
สตินั้นก็คือ กริยาหรืออาการหนึ่งของจิตนั่นเองที่ทำหน้าที่ระลึกได้หรือสำนึกพร้อม เป็นหนึ่งในเจตสิก๕๒(ข้อที่๒๙) เป็นสังขารขันธ์คือการกระทำทางใจหรือจิตอย่างหนึ่ง และเป็นสังขารขันธ์ที่พระพุทธองธ์ทรงสรรเสริญยิ่งว่า "สติ มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง" จึงเป็นภาเวตัพพธรรม สิ่งที่ควรภาวนาคือทำให้เจริญขึ้น
พึงจดจำไว้ว่า สติที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์นั้น ทำหน้าที่สำคัญที่สุดอย่างยิ่ง คือเพื่อระลึกอย่างเท่าทันในเวทนาและกายคตาสติสูตรนั้น ก็เป็นการฝึกสติและเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดียิ่งอย่างหนึ่ง แต่พึงเข้าใจด้วยว่าเป็นการฝึกสติในเบื้องต้น รวมทั้งเป็นเครื่องอยู่ของจิตไม่ให้ซัดส่ายออกไปปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านออกไปภายนอกให้เป็นทุกข์ ก็เพื่อให้มีสติเป็นสัมมาสมาธิที่หมายถึงต่อเนื่องหรือตั้งมั่นในระดับขณิกสมาธิ เพื่อเป็นกำลังหรือบาทฐานในการฝึกสติต่อไปในขั้นเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนาดังที่กล่าวข้างต้น หรือเพื่อใช้สติไปในการพิจารณาธรรม(ธรรมานุปัสสนา) อันเป็นไปเพื่อการดับอุปาทานทุกข์โดยตรง ดังนั้นถ้าปฏิบัติแต่ตามลมหายใจ อิริยาบถหรือสัมปชัญญะโดยไม่ดำเนินการปฏิบัติในขั้นต่อไปเลย ย่อมก่อให้เกิดความชงักงันเป็นธรรมดา ในขั้นแรกอาจได้ความสงบ แต่ถ้าไม่ดำเนินให้เกิดปัญญาต่อไป จนถึงขั้นไปติดเพลินจึงกลายเป็นมิจฉาสติหรือมิจฉาสมาธิเสียก็เป็นได้
มีสติเห็นเวทนาหรือจิต พร้อมทั้งปัญญาความเข้าใจ(ญาณ)ในเวทนาหรือจิตหรือจิตสังขาร ให้เหมือนดั่งตาเห็นรูป หรือหูได้ยินเสียง กล่าวคือ มีสติระลึกรู้ในเวทนาหรือจิตคิด พร้อมทั้งปัญญาความเข้าใจ ให้ได้อุปมาดั่งตาเห็นรูปหรือตัวอักษร ที่สติเห็นระลึกรู้และปัญญาเข้าใจในสิ่งที่เห็นนั้น หรือดั่งเมื่อหูได้ยินระลึกรู้เสียงไพเราะหรือไม่, พร้อมทั้งเข้าใจในความหมายที่สื่อนั้น หรือกล่าวอย่างสั้นๆว่า
มีสติเพื่อทำญาณให้เห็นจิต ให้เหมือนตาเห็นรูป
อันเป็นไปตามหลักปฏิบัติ สติปัฎฐาน๔
คือเห็นเวทนาหรือจิต(จิตสังขาร)ที่เกิดขึ้นบ้าง หรือเห็นความเสื่อมไปบ้าง หรือเห็นความดับลงไปบ้าง
หรือเห็นความเกิดขึ้นในบุคคลอื่นบ้าง ในตนเองบ้าง ฯ.
อนึ่งควรมีความเข้าใจให้ถูกต้อง เมื่อฝึกสติ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยเครื่องสนับสนุนให้เกิดสมาธิขึ้นด้วยเป็นธรรมดา กล่าวคือ การมีสติ อย่างแน่วแน่คือเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องในการปฏิบัติ
สมาธินี้ จึงหมายถึง ความมีสติต่อเนื่องอยู่ในการปฏิบัติ มิได้หมายถึงสมถสมาธิที่เข้าถึงแต่ความประณีตความสงบความสบายแต่อย่างใด สมถสมาธิเป็นสมาธิเริ่มต้นเพื่อฝึกจิตให้เป็นสมาธิในเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ซัดส่ายเป็นทุกข์ เพื่อให้มีกำลังของจิตใช้ไปในการปฏิบัติขั้นต่อไป คือการวิปัสสนาเพื่อการดับทุกข์อย่างจริงจังเท่านั้น เนื่องจากในปัจจุบันมีการเน้นการฝึกสมถสมาธิแต่อย่างเดียว แต่ก็เรียกกันโดยทั่วไปว่าสมถวิปัสสนาบ้าง พระกรรมฐานบ้าง ผู้ไม่รู้จึงไปเข้าใจผิด คิดว่าปฏิบัติวิปัสสนาที่จำเป็นต้องอาศัยปัญญาให้เข้าใจธรรมอันเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์แล้ว ทั้งๆที่ยังไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนาแต่อย่างใด จึงกลับกลายดำเนินไปในรูปของมิจฉาสมาธิแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ดังเช่นการปฏิบัติอานาปานสติแต่กลายเป็นมิจฉาสติ จึงยังให้เกิดเป็นมิจฉาสมาธิอันให้โทษ ดังนั้นเมื่อปฏิบัติสมถสมาธิแล้ว จึงควรเจริญในวิปัสสนาทุกครั้ง จึงยังให้สมาธินั้นเป็นสัมมาสมาธิอันถูกต้อง กล่าวคือเป็นบาทฐานเครื่องสนับสนุนการวิปัสสนา
วัตถุประสงค์ในการเจริญสติ
๑. ฝึกสติให้เห็นจิต หมายถึง ระลึกรู้เท่าทันจิต (หมายรวมทั้ง เวทนา-ความรู้สึกรับรู้ และจิตสังขาร เช่น ความคิด, คิดปรุงแต่ง, โมหะ, โทสะ, โลภะ ฯ.)
๒. ฝึกสติให้เห็นความแตกต่างของความรู้สึก(เวทนา)ระหว่าง จิตขณะปกติ และขณะที่ จิตปรุงแต่ง เพื่อให้เห็นโดยปัจจัตตัง คือเห็นรู้ด้วยตนเอง
๓. ฝึกสติ ให้ชำนาญอย่างต่อเนื่องในการเห็น จิต (เห็นใน เวทนา+จิตสังขาร อย่างเป็นสัมมาสมาธิ)
๔. ฝึกสติ ไม่ให้ไปคิดนึกปรุงแต่งต่อจากจิต(เวทนา+จิตสังขาร)ที่เห็นหรือเกิดขึ้นนั้น (หมายถึงยังมีคิดเป็นปกติธรรมดาของขันธ์๕ที่ยังกระทบแล้วรู้สึกเป็นธรรมดา แต่ไม่คิดปรุงแต่งชนิดที่ยังให้เกิดทุกข์ต่อ) หรือคือการฝึกสติในการถืออุเบกขานั่นเอง
๕. ฝึกสติให้เห็นความแตกต่างของความรู้สึกระหว่าง เมื่อจิตไม่รู้เท่าทันไปปรุงแต่ง กับ จิตที่รู้เท่าทันแล้วถืออุเบกขา (แลคล้าย ข้อ๒. แต่แตกต่างกัน)
ข้อสําคัญในการปฏิบัติ
ในระยะแรกๆ อย่าปฏิบัติในขณะที่รู้สึกเป็นทุกข์ หรือจิตใจซัดส่าย ข้อสำคัญให้มีใจสบายๆพอสมควร หรือสมาธิก็แค่ระดับขณิกสมาธิคือจิตแน่วแน่ ไม่วอกแวกมากเกินไป ให้มีสติอยู่ในกิจหรือการปฏิบัติ, เพราะต้องการใช้จิตที่อยู่ในสภาวะขณะปกติไปเปรียบเทียบให้เห็นกับขณะจิตปรุงแต่ง จึงจะเห็นสภาวะหรือความรู้สึกที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนอย่างปัจจัตตัง จึงจะคลายวิจิกิจฉาความสงสัย
ถ้าปฏิบัติในรูปแบบ ให้มีสติ อย่าปล่อยให้เลื่อนไหลลงภวังค์ คือไม่เลื่อนไหลไปสู่สมาธิหรือฌานในระดับลึก สมาธิก็แค่ขณิกสมาธิ เพราะเราต้องการฝึกฝนปฏิบัติการใช้สติในการปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทหรือสติปัฏฐาน๔ มิใช่การปฏิบัติสมถสมาธิหรือฌานเพราะถ้าลึกกว่านี้แล้วสติจะไม่บริบูรณ์มีอาการเคลิบเคลิ้ม ลงภวังค์ หรือเกิดนิมิตต่างๆนาๆ ถ้าหลับตาแล้วเลื่อนไหลลงภวังค์หรือหลับง่ายๆก็ให้ลืมตาขึ้น หรือยืน เดิน ในอริยาบทสบายๆได้ โดยไม่ต้องกังวล, ให้มีสติยาวนานต่อเนื่องอย่าง ไม่เลื่อนไหล
ปฏิบัติโดยให้มีสติกํากับความคิด สําหรับนักปฏิบัติใหม่ๆอาจมองไม่เห็นความคิด หรือมีความรู้สึกว่า ไม่รู้จะวางสติไว้กับอะไรหรือ ณ.ตําแหน่งใด ก็ให้ลองบริกรรมพุทธโธ ในใจสักระยะ หรือคิดภาวนาพิจารณาในใจอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุให้ขุ่นเคืองหรือวุ่นวายใจ เพื่อเป็นเครื่องกำหนด เครื่องระลึก โดยปรับกายใจให้ผ่อนคลาย คำบริกรรมอาจสั้นหรือยาวก็ได้ ดังเช่น พุทโธ สั้นๆ หรือดังเช่น
" ที่นี่แหละฐานแห่งจิต " หรือ " มีสติ ไม่คิดปรุง " หรือ " สัมมาอรหัง " เหล่านี้เป็นต้น หรือภาวนาอะไรก็ได้ อย่างสั้นๆตามจริตก็ได้
เพราะคำบริกรรมภาวนาเหล่านี้เอง เป็นจิตสังขารหรือความคิดที่เป็นผลที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่ง หรือการพูดในใจโดยไม่ออกเสียงมานั่นเอง ที่เราต้องการจะฝึกให้มีสติระลึกรู้เท่าทัน ที่บางทีเรียกกันว่า"เห็น" และควรฝึกหัดให้เห็นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง(สัมมาสมาธิ)ไม่เลื่อนไหล และปัญญาที่เกิดแต่การพิจารณาจนเกิดความเข้าใจในสภาวะธรรมจะเป็นผู้แก้ปัญหา อันรวมทั้งจำแนกแจกแจงว่า อันใดเป็นคิดที่ควรเกิดควรมี อันใดเป็นคิดปรุงแต่งให้เกิดทุกข์ที่ควรอุเบกขา
แล้วภาวนาพิจารณาในใจอย่างใจเบาๆนุ่มนวล พร้อมสังเกตุกําหนดชัดว่าอยู่ที่ใด อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ แค่พอให้สังเกตุเห็นฐานแห่งจิต คือหาโฟกัส(จุดรวม)ความคิดให้ชัดเจนของจิตเท่านั้น อย่ากังวล เพียงแต่ให้สติระลึกรู้ว่ามีความรู้สึกชัดเจนที่สุดตรงไหน อาจอยู่ภายในกายหรือนอกกายก็ได้ ก็ให้ถือว่าที่นั่นแหละฐานแห่งจิตหรือตําแหน่งของจิตที่เราต้องมีสติคอยกํากับ คือ จิตหรือสติเห็นคำภาวนานั้นอย่างมีสติได้อย่างต่อเนื่อง, เมื่อฝึกปฏิบัติบ่อยๆจนเกิดความชำนาญแล้ว ก็เปลี่ยนจากจิตหรือสติที่เห็นคำบริกรรมนั้นเป็นคอยมีจิตหรือสติเห็นเวทนาหรือจิตคิดหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นแทนในภายหลัง แล้วมีสติถืออุเบกขาไม่ปรุงแต่ง ไม่แทรกแซง หรือไม่เอนเอียงไปทั้งในด้านดีหรือร้าย เช่น เราดีหรือเขาชั่ว,นั่นดีหรือนี่ชั่ว,เราถูกหรือเขาผิด คืออยู่ในภาวะเหนือดีเหนือชั่ว หรือเหนือบุญเหนือบาปทั้งปวงนั่นเอง ตามที่ได้กล่าวมาในบทก่อนๆแล้ว, ฐานแห่งจิตนี้เป็นนามธรรม เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนจริงๆเป็นเพียงอุบายวิธีในการปฏิบัติเพื่อจําลองเป้าหมาย ช่วยในการก่อสติ ให้สติเกาะระลึกรู้อยู่กับสิ่งที่ตั้งใจอันถูกต้องดีงาม ในแต่ละท่านตําแหน่งอาจไม่เหมือนกัน และบางทีบางครั้งก็รู้สึกคนละตําแหน่งกับที่เคยปฏิบัติมาเป็นเรื่องธรรมดาไม่ต้องใส่ใจ เพราะในที่สุดจะเข้าใจถูกต้องเอง
เมื่อสติกำกับจิต หรือเห็นจิต หรือจิตเห็นจิต ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ให้วางเฉยเสีย อย่าคิดหรือคิดปรุงแต่งใดๆให้ได้สักระยะหนึ่ง ปฏิบัติใหม่ๆก็จะยากอยู่เป็นธรรมดา (เพราะมักเกิดอาการที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวไว้ บอกว่าให้หยุดคิด กลับไปคิดว่าจะหยุดคิดอย่างไร กลับกลายไปคอยคิดคำนึงปรุงแต่งในเรื่องการหยุดคิดนั่นเอง) เมื่อหยุดคิดได้สักระยะหนึ่ง สังเกตุความรู้สึกหรือเวทนาที่มีอยู่ (แต่ไม่ใช่จิตส่งในที่ติดเพลินไม่ปล่อยวาง) จะพิจารณาสังเกตุพบความสงบ สบาย ไม่กระวนกระวาย ไม่ร้อนรุ่ม ไม่เผาลน แล้วต้องปล่อยวาง เมื่อปฏิบัติได้สักพักหนึ่งจิตจะเริ่มส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่งในบางเรื่องขึ้นมาเป็นธรรมดา หมายถึงต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนจึงอย่าไปหงุดหงิดกังวล แต่เมื่อจิตส่งออกนอกไปปรุงแต่งจนอิ่มตัวหรือมีสติกลับคืนมาเห็นจิตปรุงแต่งเหล่านั้นแล้ว สังเกตุความรู้สึก(เวทนา)ที่เกิดขึ้นเพื่อให้รู้ว่าเมื่อจิตส่งออกไปปรุงแต่งแล้วเกิดเวทนาอย่างไรขึ้นมา แล้วปล่อยวาง ให้กลับมาอยู่ที่สติหรือฐานเดิม คือเพียงพิจารณาสังเกตุรู้ในความรู้สึกที่เกิดขึ้น แล้วละเสีย และอย่าปรุงต่อ
จิตที่แว็บออกไปปรุงแต่งดังข้างต้นนั้น มีสองลักษณะ คือ บางครั้งยังไม่ทันก่อทุกข์ขึ้น เป็นแค่การผุดการแว๊บออกไปปรุงแต่งแรกๆ แล้วมีสติรู้ทัน จะได้ประโยชน์ คือ ฝึกสติให้เห็นและรู้ทันจิตที่ส่งออกไปภายนอกหรือผุดหรือแว๊บขึ้นมานั้น, อีกลักษณะหนึ่งคือความคิดที่ผุดขึ้นมานั้นก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นทุกข์เลย หรือขณะแรกไม่เป็นทุกข์แต่ขาดสติปรุงแต่งเลื่อนไหลต่อไปเรื่อยๆจนเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นในที่สุด เมื่อจิตปรุงจนอิ่มตัวแล้วหรือมีสติรู้เท่าทันขึ้นมา ก็ให้หยุดการปรุงแต่งเหล่านั้นเสีย แล้วพิจารณาด้วยปัญญาก็จักได้ประโยชน์คือเปรียบเทียบเห็นความรู้สึก(เวทนา)ที่เป็นทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งด้วยตนเองได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ในขณะฝึกสตินั้นจึงให้ทำจิตว่างๆที่หมายถึงหยุดคิด,หยุดปรุงแต่งชั่วขณะ จุดประสงค์ก็เพื่อให้สังเกตุเห็นความรู้สึกหรือเวทนาที่เกิดขึ้นชัดเจน คือเปรียบเทียบเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างจิตไม่ปรุงแต่งและจิตปรุงแต่งกันให้เห็นหรือเข้าใจอย่างชัดเจน, แต่ระมัดระวังไว้ด้วย อย่าไปยึดในจิตว่างหรือหยุดคิดนั้น เป็นขั้นตอนการใช้ตอนปฏิบัติเท่านั้น ในการดำรงชีวิตโดยทั่วไปนั้น ความคิดนั้นยังต้องมีอยู่ แต่อยู่ในระดับขันธ์๕ คือไม่คิดปรุงแต่งเท่านั้น หรือหยุดเฉพาะคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น อย่าได้พยามยามไปทำจิตว่างหรือพยายามหยุดทุกๆความคิดในการดำเนินชีวิตประจำวัน หยุดแค่การคิดปรุงแต่ง
ข้อสําคัญในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
ไม่ใช่การห้ามหรือหยุดเวทนาหรือจิตคิดอย่างดื้อๆ มันทําหน้าที่ของมันอย่างถูกต้องตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) เป็นขันธ์๕ในการดำรงขันธ์(ชีวิต) ส่วนความคิดนึกปรุงแต่งหรือจิตฟุ้งซ่านออกไปปรุงแต่งนั้นต้องหยุด
เราจึงทําหน้าที่หลักๆ เพียง๒ประการคือ
๑.มีสติรู้ทันเวทนาหรือความคิด(จิต)ที่เกิดขึ้น ก็ให้มีสติรู้ว่ามี คือ เมื่อจิตสอดส่ายออกไปคิดปรุงแต่งเกิดความรู้สึก(เวทนา) หรือจิตสังขารใดๆเช่น จิตปรุงแต่ง จิตหดหู่ โมหะ โทสะ โลภะ ฯ. ก็รับรู้ตามความเป็นจริงอย่างมีความเข้าใจในเวทนาหรือจิต(อ่านในปฏิจจสมุปบาท หรือขันธ์๕) หรือเห็นความเกิดขึ้นบ้าง เห็นความเสื่อม ความดับไปบ้าง (ความสําคัญอยู่ที่รับรู้สิ่งที่กระทบนั้นตามความเป็นจริง แล้วรีบละไม่จดจ้องหรือพิรี้พิไรต่อมัน ) จิตที่สอดส่ายออกไปนี้มันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และเมื่อเกิดการกระทบผัสสะย่อมเกิดผลขึ้นเป็นธรรมดา ตามที่ได้ปัญญาญาณจากปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์๕ ไม่ต้องพยายามทําอื่นใดทั้งสิ้น เช่น ไม่ติดเพลินหรือผลักไสใดๆ ไม่พยายามทําให้ความรู้สึกรับรู้(เวทนา)หายหรือดับไป และควรพิจาณาเมื่อสติกลับมาแล้ว คือรู้ตัว ให้สังเกตุความแตกต่างระหว่างความรู้สึกขณะที่มีสติ กับ ขณะที่จิตคิดปรุงแต่งเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่เห็นได้ด้วยตนเอง(ปัจจัตตัง) ข้อสำคัญแค่สังเกตุอยู่ในความแตกต่าง แล้วต้องไม่ปรุงแต่งต่อ
มีความเข้าใจและรับรู้ตามความเป็นจริง เช่น อร่อยเป็นอร่อย สวยเป็นสวย ทุกข์เป็นทุกข์ สุขเป็นสุข เศร้าเป็นเศร้า มีความจําเป็นอย่างยิ่ง มิฉนั้นจะเกิดการวางอุเบกขาในข้อ๒ทุกๆเรื่อง อันเมื่อเป็นสังขารที่สั่งสมแล้วจะเกิดเป็นปัญหาขึ้น เพราะจะไปถืออุเบกขาเช่นวางเวทนาหรือความคิดหรือสิ่งอื่นที่มีคุณต่อการดำรงขันธ์(ดําเนินชีวิต)ไปโดยไม่รู้ตัว, การรู้ตามความเป็นจริงเช่นเกิดทุกขเวทนาก็รู้และรับรู้ความรู้สึกที่เกิดนั้น เป็นสุขเวทนาก็รู้ เป็นไม่สุขไม่ทุกข์ก็รู้, เห็นจิตคิดชนิดโมหะ โทสะ โลภะ ก็มีสติรู้เท่าทัน อันล้วนมีเจตจํานงให้มีสติรู้เท่าทันเวทนาหรือจิตอันแฝงกิเลสหรือตัณหาอยู่ในที เป็นจุดประสงค์สำคัญ แล้วปฏิบัติตามข้อ๒
๒.แล้วมีสติ ถืออุเบกขา(ในโพชฌงค์) เท่านั้น กล่าวคือเมื่อเกิดรู้สึกสุข,ทุกข์ หรือเห็นจิตสังขารดังที่กล่าวไว้ก็ตาม เพราะย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมคือธรรมชาตินั้นๆในการรับรู้ของชีวิตจากการผัสสะต่างๆ แต่เราต้องมีสติ แล้วเป็นกลาง ด้วยอาการตั้งใจไม่เอนเอียงเข้าไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิด หรือกริยาจิตใดๆในสิ่งนั้น (ไม่ว่าจะ ดีชั่ว บุญบาป ถูกผิด อันล้วนเป็นมายาจิตหลอกล่อให้ไปปรุงแต่งทั้งสิ้น)
อุเบกขานี้จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรม เป็นกลางโดยการวางทีเฉยต่อเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้นอย่างมีสติมีอุเบกขา รู้สึกอย่างไรก็รู้เท่าทันตามความเป็นจริงอย่างนั้น เช่น โกรธ โลภ หลง ฯ. เพียงแต่ไม่เอนเอียง ไม่แทรกแซง ไม่คิดนึกปรุงแต่ง ด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิตใดๆ ไปทั้งในทางดีหรือร้าย, อุเบกขามิใช่การวางจิตเฉยๆ หรือต้องรู้สึกเฉยๆตามที่บางคนเข้าใจ และไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง, จักเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการเจตนาปฏิบัติ หรือสังขารขึ้นเท่านั้น, ปฏิบัติใหม่ๆอาจรู้สึกยากแสนยาก แต่เมื่อปฏิบัติไปอย่างสมํ่าเสมอก็จักราบรื่นขึ้น, ถ้ากระทําด้วยความเพียรไม่เกียจคร้านในที่สุดก็จะเป็นดั่งสังขารที่สั่งสมในปฏิจจสมุปบาทเพียงแต่ว่ามิได้เกิดแต่อวิชชา แต่เกิดจากวิชชาของพระองค์, ซึ่งเมื่อเวทนาหรือจิตคิดมากระทบ อุเบกขา(อันมีญาณรู้เข้าใจว่าสิ่งใดทำให้เป็นทุกข์ จากการปฏิบัติในข้อ๑.)จะกลับกลายเป็นสังขารแล้วก็จักทํางานเป็นธรรมชาติเหมือนหนึ่งดังบุคคลิกลักษณะประจําตัวหรือทำโดยอัตโนมัตินั่นเอง อันทําให้เวทนาหรือจิตคิดที่ยังให้เกิดทุกข์เมื่อมากระทบผัสสะเหล่านั้น ขาดเหตุเกิดอันยังให้ต่อเนื่อง หรือขาดเชื้อไฟที่จะทำให้ลุกไหม้ต่อไปได้ เพราะขาดเวทนาหรือคิดปรุงแต่งต่อสืบเนื่อง จึงยังให้ไม่เกิดเวทนาต่อเนื่องขึ้นมาอีก เมื่อขาดปัจจัยคือเวทนาอันเป็นเหตุเกิดของตัณหา ตัณหาก็ต้องมอดดับลงไป อันเป็นไปตามหลักปรมัตถธรรมปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง, เวทนาหรือจิตคิดเหล่านั้นจะยังคงเกิดแค่ขันธ์๕ อันเป็นเพียงทุกขเวทนาอันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติธรรมดาๆขณะหนึ่งเท่านั้น ไม่เป็นทุกข์จริงๆ(ความทุกข์จริงคือทุกข์อุปาทาน-อันกระวนกระวาย ร้อนรุ่ม และเผาลน อย่างยาวนานและต่อเนื่อง และยังเก็บไปหมักหมมนอนเนื่องเป็นอาสวะกิเลสอันก่อทุกข์โทษภัยในภายหน้า)
ถ้าปฏิบัติแล้วมีความรู้สึก ตึง แน่น เครียด หรืออึดอัด ส่วนหนึ่งส่วนใดมากเกินไป แสดงว่าอาจเกิดจากเหตุปัจจัย ๒ อย่างนี้
๑.อาจกําหนดฐานของจิตผิด เช่นไปกําหนดจดจ่อที่กายส่วนหนึ่งส่วนใดโดยไม่รู้ตัว หรืออาจเป็นไปในลักษณะจิตส่งในโดยไม่รู้ตัว อันมักเป็นผลมาจากการปฏิบัติหรือความเคยชินเก่าๆที่สั่งสม(สังขาร) เช่น อาจรู้สึกหายใจไม่สะดวก หรือตึง แน่น อึดอัดตามจมูก หน้าอก ขมับหรือสมองมากเกินไป เนื่องจากเลื่อนไหลไปกำหนดตามความเคยชินในฐานของสมาธิเดิมๆ ให้ลองปรับฐานจิตแห่งความคิดใหม่
๒.หรืออาจเกิดจากใช้สติระลึกรู้จดจ่อหรือจดจ้องแก่กล้าเกินไป ให้ผ่อนคลายสติระลึกรู้นั้นลง ปรับให้พอดีๆ ระลึกรู้อย่างเบาๆ อันเป็นเรื่องของจริตแต่ละบุคคลที่ต้องหาให้พบ การจดจ่อหรือจดจ้องระลึกรู้(สติ)อย่างแรงกล้ามากเกินไปก็ใช้พลังงานมากและก่อให้เครียดและล้า อาการนี้มักเกิดกับการปฏิบัติในรูปแบบเช่นนั่งในรูปแบบสมาธิและหลับตาอันทําให้เกิดการจดจ้องหรือตั้งใจเกินพอดี ไปจดจ่ออยู่ที่สิ่งๆเดียวอย่างมุ่งมั่นหรือแน่วแน่จนเกินพอดีไป อาจใช้วิธีแก้ไขโดยลืมตาขึ้น หรือเปลี่ยนอิริยาบถเป็นการเดิน หรือการนั่งอย่างสบายๆก็ได้
ปฏิบัติดังนี้ให้ได้ต่อเนื่องยาวขึ้น นานขึ้น และเป็นประจําสมํ่าเสมอขึ้น สามารถกระทําได้ในทุกอิริยาบถ ยิ่งปฏิบัติในขณะดําเนินชีวิตประจําวันได้ยิ่งเป็นคุณอันประเสริฐ อันเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้วผู้ปฏิบัติควรรู้ได้ด้วยตนเองว่าทุกข์นั้นลดน้อยลงไปไหม? มีความเข้าใจเกิดขึ้นไหม? เห็นการดับไปของทุกข์ไหมเมื่อขาดเหตุปัจจัยหรือเหตุเกิดต่างๆ อันเกิดขึ้นจากการถืออุเบกขา? ถ้าปฏิบัติแล้วทุกข์ไม่ลดลงให้หยุดการปฏิบัติ แล้วพิจารณาการปฏิบัติใหม่ให้ดีเช่นพิจารณาในธรรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น อย่าพยายามฝืนปฏิบัติต่อไป ค้นหาจุดบกพร่องหรือข้อสงสัยเสียก่อน.
การปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่างไม่เคร่งเครียด อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดดังสังขารในวงจรปฏิจสมุปบาท หรือเป็นมหาสตินั่นเอง เพียงแต่สังขารนี้มิได้เกิดแต่อวิชชา แต่เกิดจากวิชชาโดยตรง อันเมื่อเป็นสังขารแล้วการปฏิบัติจะเป็นไปเองตามความเคยชินที่ได้สั่งสมอบรมไว้อันเป็นสภาวะธรรมของชีวิตอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง โดยมีกําลังของสัมมาญาณและสติเป็นกําลังแห่งจิต เพราะการดับทุกข์นั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสอยู่เนืองๆว่า ธรรมของพระองค์เป็นเรื่องสวนทวนกระแส, ซึ่งก็เป็นจริงตามพระพุทธดํารัสนั้น เพราะเป็นการทวนสวนกระแสของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ดึงดูดมวลหมู่สัตว์เข้าสู่กองทุกข์โดยธรรมชาติดุจดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่ากว่า แต่ด้วยพระปรีชาญาณจึงได้อาศัยธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้นเอง มาปฏิบัติสวนทวนกระแสธรรมชาติฝ่ายก่อให้เกิดทุกข์จนสําเร็จได้ อุปมาดั่งเรือใบที่แล่นทวนสวนกระแสลมหรือกระแสนํ้าอันเชี่ยวกรากของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้นได้ ก็ด้วยความเข้าใจในธรรมชาติของลมและใช้ธรรมชาติของลมนั้นเองเป็นเหตุปัจจัยเช่นกัน โดยอาศัยใบเรือที่ถูกต้องอันอุปมาได้ดั่งสังขารธรรมหรือธรรมะของพระพุทธองค์ ที่ทําให้สามารถใช้ธรรมชาติของลมนั้นเอง ทําให้เรือแล่นสวนทวนกระแสธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของลมหรือแม้กระแสนํ้าได้
นอกจากปฏิบัติดังกล่าวแล้ว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วยเมื่อมีโอกาส
สติหมั่นพิจารณากาย(กายานุปัสสนา) เช่น กายสักแต่ว่าเกิดแต่ธาตุ๔เป็น เหตุปัจจัย เพื่อให้เกิดนิพพิทาลดละอุปาทานในความเป็นตัวตนของตน และเพื่อความเข้าใจในความเป็นเหตุปัจจัยอันปรุงแต่ง อันล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ขณะหนึ่ง แล้วดับไป
โยนิโสมนสิการ ให้เห็นสภาวะธรรมหรือปรมัตถสัจจะของการกระทบผัสสะ ดังเช่น การที่กายกระทบผัสสะกับสิ่งใด แล้วย้อนกลับมาโยนิโสมนสิการ จิตที่กระทบกับความคิด โดยเฉพาะความคิดนึกปรุงแต่ง
สติหมั่นพิจารณาในธรรมคือธรรมะวิจยะหรือธรรมานุปัสสนา อันเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในอันยังให้เกิดมรรคองค์ที่๙ สัมมาญาณความรู้ความเข้าใจอันเป็นกําลังแห่งจิต และเพื่อใช้แก้ไขปัญหาข้อสงสัยต่างๆที่จักเกิดขึ้นในการปฏิบัติอันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ธรรมที่ใช้ในการพิจารณาอาจเลือกตามจริตของผู้ปฏิบัติ, สําหรับผู้เขียนเองแนะนําปฏิจจสมุปบาทที่ลึกซึ้ง จึงก่อให้เกิดสัมมาญาณได้อย่างดีจึงให้คุณอนันต์สมดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม
จาก เทสรังสีอนุสรณาลัย เรื่อง "สิ้นโลก เหลือธรรม (นัยที่สอง)"
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (หน้า ๙๓) ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง สติ ไว้ดังนี้
"จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่างๆ ที่รวมเรียกว่ากิเลสอันเป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง จึงต้องฝึกหัดให้มีสติระวังควบคุมจิต ให้รู้เท่าทันจิต ซึ่งคำนี้เป็นโวหารของพระกรรมฐานโดยเฉพาะ คำว่า " รู้เท่า " คือ สติรู้จิตอยู่ ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน สติกับจิตเท่าๆกันนั่นเอง คำว่า " รู้ทัน " คือ สติทันจิตว่าคิดอะไร พอจิตคิดนึก สติก็รู้สึกทันที เรียกว่า " รู้ทัน " แต่ถ้าจิตคิดแล้วจึงรู้นี้เรียกว่า " รู้ตาม " อย่างนี้เรียกว่าไม่ทันจิต ถ้าทันจิตแล้ว พอจิตคิดนึก สติจะรู้ทันที ไม่ก่อนไม่หลัง ความคิดของจิตก็จะสงบทันที............"
จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (หน้า ๔๖๙)
.........ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาดเดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกัน(webmaster- สัมมาสมาธิ ของการวิปัสสนา)ไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ (น.๔๖๙)
จาก การฝึกหัดจิตให้มีสติทุกเมื่อ โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ส่วนการสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉยๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่ ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้ เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอๆจนเป็นอารมณ์ มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต รักษาจิต ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก (ไม่มีเสียก็ดำเนินชีวิตเป็นปกติไม่ได้เลย) แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา
การบริกรรมภาวนานี้มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องตน ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น คือหมายความว่าสติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น มหาสติ แท้ทีเดียว
ถ้าบริกรรมอย่างมีสติ ไม่ปล่อยให้เลื่อนไหลไปลงภวังค์ กล่าวคือไม่เป็นฌานหรือสมาธิอันละเอียดลึกจนเคลิบเคลิ้มไปลงภวังค์หรือท่องเที่ยวไปในนิมิต ก็จักเกิดประโยชน์อย่างมาก จะทำให้เห็นจิตคือคำบริกรรมนั้นๆ อันเป็นจิตสังขาร จึงเป็นการฝึกให้เห็นจิตหรือจิตสังขารอย่างหนึ่ง หรือจิตตานุปัสสนาอย่างหนึ่งอย่างดียิ่ง กล่าวคือจะทำให้สังเกตุเห็นจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดี
-
ใครมีคำถามอะไรจาฝากก็ PM ไว้นะครับ แล้วเดี๋ยวตอนเย็นมาพูดคุยกันเรื่องคำถามน่าสนใจที่ส่งเข้ามาแล้วท่านตอบเกี่ยวกับการเสกเรื่องจิตของกุมารทอง
-
จิตกุมาร
เกี่ยวกับเรื่องกุมารทอง จากที่มีคนถามมาหลังจากตอบไปแล้วก็จะขอยกมาพูดอีกทีตรงหน้ากระทู้ เค้าว่าเราจะมีวิธีดูหรือรู้ได้อย่างไรว่าเป็นกุมารเทพหรือพราย
คืออันนี้เราก็ตอบง่ายๆเลยแบบไม่ได้กวนนะ ก็ดูไปเลย คุณมองเห็นมั๊ยล่ะ ถ้าคุณเห็นคุณรู้ก็โอเค แต่ในกรณีนี้คือเค้าไม่เห็นเค้าไม่รู้ถึงถาม เราก็เลยต้องอธิบายยาวเพราะเข้าใจว่าคนที่จะรู้หรือมีตาในจริงๆนั้นมันไม่ได้มีกันทุกคน
ที่ว่ากุมารเทพหรือกุมารพรายนั้น พ่ออาจารย์ท่านเคยจำแนกไว้ว่าดูง่ายๆ คือดูที่คนเสก ตรงนี้สำคัญ ถ้าคนเสกไม่ได้มีบารมีใดๆต่อให้สวดเชิญเทพอย่างไร กุมารนั้นอย่างดีหรือให้ดีก็ไม่ได้มีจิตเทพ หากแต่จะเป็นสัมภเวสีต่างๆเท่านั้น ยิ่งไม่ตั้งธาตุ หนุนธาตุปรุงธาตุให้จุติรูปนามขึ้นมาแก่เค้าเช่นนี้ยิ่งอันตราย เพราะจะไม่ใช่กุมารทองที่สร้างจากวิชาตุ๊กตาทอง แต่เป็นวัตถุที่สิงสู่ของสัมภเวสีแต่เพียงนั้น
อ้างอิงจากคำท่านก็คือเราจะได้วัตถุรูปกุมารแต่ข้างในคือสัมภเวสีที่เป็นรูปกายเดิม ไม่ใช่รูปกายกุมารที่ผู้เสกสร้างขึ้นโดยวิชาของท่านเหล่านั้น อันนี้มันน่ากลัวอยู่อย่างคือกุมารเดี๋ยวนี้มักเน้นมวลสารเฮี้ยนๆแรงๆที่มีอาถรรพ์เกี่ยวเนื่องกับศพ กับวิญญาณนำมาทำ อันนี้ก็ให้พิจารณากันเอง ดูง่ายๆที่ผู้เสกนั้นมีบารมีมั๊ย ถ้าเอาลำพังมวลสารเหล่านั้นอย่างไรมันก็ไม่พ้นสัมภเวสีอยู่แล้ว ถึงจะผ่านพิธีเทพเชิญเทพแล้วอย่างไร เทพมามั๊ยอันนั้นก็ไม่ใช่ รูปแบบที่เห็นน่ารักๆถูกชะตาภายนอกที่หลายๆสำนักมักจะออกแบบมาเพื่อดึงดูดใจมันไม่ใช่คำตอบที่จะมองหรือนำมาพิจารณาได้เลย นี่เองที่เป็นอันตรายที่หลายๆคนต้องการกุมารเฮี้ยนๆ แต่กลับได้สัมภเวสีไปแทน
สุดท้ายก็ต้องเอาไปวางกันตามวัดเกลื่อนไปหมด ดูแลไม่ได้เลี้ยงไม่ได้ กุมารทอง รักยมพวกนี้ถ้าอ้างอิงตามที่พ่ออาจารย์พูดท่านว่ามันเป็นวิชาง่ายๆถ้าเค้าทำได้ไม่ต้องหาศพหาซากอะไรเลย ดูอย่างหลวงพ่อจง รักยมท่านแค่ท่านมองเอาว่าแค่นั้นก็เฮี้ยนมีตัวมีตนแล้ว ดังนั้นคนเช่าเองนั่นแหละคือคนที่ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะเอาแต่มวลสารเฮี้ยนๆแรงๆที่เกี่ยวกับศพมันถึงจะแรง หรือดูแต่ภายนอกว่าน่ารักดี แบ๊วดี แต่มวลสารที่อุดมีผงกระดูกมีอะไรทำนองนี้มันก็คือกันอยู่ดี หลายๆที่เค้าถึงบอกเหมือนกันว่ากุมารเดี๋ยวนี้มีแต่สัมภเวสี ซึ่งกุมารทองหรือตุ๊กตาทองจริงๆนั้นไม่ใช่สัมภเวสีหรือลูกกอกแต่อย่างใด เลือกบูชากันให้ดีชีวิตจะได้ปลอดภัย
-
ผมถามคำถาม PM ไป 2 คำถาม คุณยังไม่ได้ตอบผมเลย เอาแต่ตอบรับทราบๆ หมายความว่าไงครับ
หน้า 205 ของ 456