ต้องรีบออกไปข้างนอก ตอบคร่าวๆนะครับ เพราะเป็นของท่านเสกจนปลวกจะขึ้น55+ ไม่ค่อยออกให้ใครเช่า ตัวนี้ท่านเรียกว่าบรมอินทรา คือท่านลงเสกด้วยวิชาท้าวกำพร้า เวทย์วิชานี้ใช้ได้ล้านเรื่องมีดีล้านอย่างตามเเต่จะปรารถนาเอาเอง เป็นวิชาของพระอินทร์ที่ท่านถ่ายทอดให้ไว้กับมนุษย์สืบสายมาเเต่ลังกาวงศ์ วิชานี้ถ้านมัสการคาถาจะเเรงมาก อยากได้อะไรก็ได้ แต่ได้เร็วเพราะว่าเป็นอำนาจของเทวดาของพระยาอินทร์ท่านสงเคราะห์รายบุคคล เป็นวิชาของพระอินทร์ท่านที่ประทานไว้เฉพาะอันนี้เลือกคนให้ ส่วนใหญ่จะเอาให้เช่าบูชาเฉพาะรายที่พูดกับผมตรงๆว่าอยากรวย
*ย้ำอีกทีว่าถ้าจะเล่นเสน่ห์ก็ใช้ได้คือใช้ได้ล้านเรื่องเเต่เป็นเสน่ห์เเบบค่อนข้างจะสูงๆไม่ใช่เเนวกามตัณหาอะไรเเบบนี้
คาถาใช้กับตะกรุดบรมอินทรา
ท่านให้นมัสการตะกรุดก่อน 3 จบด้วยบทนี้ (ระลึกถึงพระอินทร์เป็นที่สุด)
อนิ อเทวรเวนาเถ กัปปันเน กุลละปุตตัสสะ อินทิเทวินโท กรุณามะยิ
จากนั้นจึงสวดคาถาว่า
โอม อะหังนิรเท สัสสวาสัง วะสะตัง ขะณาเถกะยะเน อินทะเทวินโท กรุณามะยิ สุอะนิอะเท อรัญเญนะนาเถ กุลละปุตตัสสะ นิเทสัตวาสัง วะสันตัง ขณาอุปปันโณ อินทะเทวินโทกรุณามะยิ
ร่วมทำบุญบูชา มงคลขยายผลจุดสิ้นสุดศักติรูปคฑากาละวัชระ(ตัดขาดอกรณี) พ่ออาจารย์พล
ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.
หน้า 55 ของ 460
-
-
จองขุนแผน 1 องค์ครับ
-
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระขุนแผนพรายกุมารบูชาครู เรานำมาเข้าบ้านบูชาเราต้องจุดธูปบอก เจ้าที่ไหมครับ ?
-
อยากรวย ครับ
-
อยากรวยครับ
-
อยากรวยครับ
-
Thanitanont Pandphetpinunt เป็นที่รู้จักกันดี
อยากรวย ครับ
-
จองตะกรุดบรมอินทรา(ท้าวกำพร้า) 1 ดอก
-
ขอจองตะกรุดบรมอินทรา(ท้าวกำพร้า)จำนวน 1 ดอก
อยากรวยครับ -
สาธุ
-
ขอจองตะกรุดบรมอินทรา(ท้าวกำพร้า)จำนวน 1 ดอก
อยากรวยครับ -
คาถาวันละนิด
ตื่นมาเช้านี้ อากาศค่อนข้างดีเหมาะเเก่การพักผ่อน เมื่อคืนฝนน่าจะตกหลายจุด
วันนี้ก็มีคาถามาฝาก จำไม่ได้ว่าให้ไปรึยัง
พระคาถาบทนี้จะใช้สำหรับภาวนา มีพรรณคุณวิเศษคือแก้อาการหลงลืม หากใครเป็นคนขี้หลงขี้ลืม ความจำสั้น ลืมง่ายท่านให้ภาวนาพระคาถาบทนี้ โดยกระทำทุกเช้าค่ำ ทำจิตให้มีสมาธิก่อนภาวนา (ทำให้เป็นประจำทุกเช้าค่ำ) แล้วสังเกตุความเปลี่ยนแปลงของตนเองดู จะพบว่าตนเองนั้นจะมีความจำดีขึ้นระลึกเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วได้เเม่นยำ เป็นคนมีสติไม่ขี้หลงขี้ลืมเหมือนเเต่ก่อนมา พระคาถาว่า
อุอะมะ อิคะระเตชะ -
-
-
อ่านนะแต่ไม่แสดงออก 5555
-
ความรู้วันละนิด (ภาวนาตอนที่2)
ก็เข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 ที่เราจะเรียนรู้กันในเรื่องของภาวนา ซึ่งก็คงมีอีกหลายตอน
พ่ออาจารย์ท่านอธิบายว่าในการปฏิบัติภาวนานั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ครั้งก่อนเราให้เเต่ละท่านพิจารณากันไปแล้วว่าตัวเองนั้นเหมาะกับรูปแบบใด วันนี้ก็มาดูขั้นตอนต่อไป ก่อนที่เราจะปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้ เราจะต้องปฏิบัติตนให้ได้ตามหลักเช่นนี้ก่อน ขั้นตอนนี้นักปฏิบัติทั้งหลายต้องมี นั่นคือ
ความสันโดษ พ่ออาจารย์ท่านว่าพ่อแม่ครูอาจารย์เเต่ก่อนเก่านั้นท่านก็รักษาพรหมจรรย์อยู่ในความสันโดษทั้งนั้น
ความสันโดษนั้น ไม่ได้หมายความว่า มักน้อย เเบบที่นิยมจะเข้าใจกัน แต่ตัวสันโดษนี้ เป็นการพัฒนา ใช้สิ่งที่ตนเองมีอยู่เเล้วให้เกิดประสิทธิภาพเเละมีประโยชน์สูงสุด
ไอ้ตัวสันโดษนี่แหละเป็นพลังงานที่เราใช้สร้างสรรค์ เพราะมันจะช่วยให้ผู้ยึดถือมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆต่อเนื่องไม่มีวันหยุด ถ้าพวกเธอไปเข้าใจว่าเจ้าสันโดษนี้มันคือความมักน้อย มันก็ได้เเค่มักน้อยไม่เจริญอะไร
ปรับตัวกันให้ดี มันจะมีการพัฒนาเป็นลำดับขั้นของมัน เมื่อบุคคลใดมีความสันโดษเเล้ว ความสันโดษนั้นก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดอินทรียสังวร นี่เห็นมั๊ยว่ามันต่อกันเป็นทอดๆเป็นกระบวนการ
อินทรียสังวรนั้น มันคือการสำรวมระมัดระวังความรู้สึกของตนเอง พวกเธอทั้งหลายอาจสงสัยในเรื่องการปฏิบัติ ว่าการฝึกอินทรียสังวรโดยการสำรวมความรู้สึกนั้นมันมีประโยชน์เช่นไรกับสภาวะของจิต
เมื่อพวกเธอทั้งหลายสำรวมระมัดระวังความรู้สึกของตนเองเเล้วมันช่วยในการฝึกจิตสามารถทำให้เราเเยกจิตใจออกเป็นอิสระจากกันได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทั้งหลายที่เกิดกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่จิตมันจะไม่ฟุ้งซ่านไปกับสิ่งเหล่านี้
- ไม่ฟุ้งซ่านไปกับอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
- ไม่ฟุ้งซ่านไปกับรูปที่ตาเห็น
- ไม่ฟุ้งซ่านไปกับเสียงที่หูได้ยิน
- ไม่ฟุ้งซ่านไปกับกลิ่นที่จมูกสัมผัส
- ไม่ฟุ้งซ่านไปกับรสชาติที่ลิ้นได้แตะต้อง
- ไม่ฟุ้งซ่านไปกับสัมผัสต่างๆที่มากระทบร่างกาย
- ไม่ฟุ้งซ่านไปกับอารมณ์ที่ใจได้นึกคิดปรุงเเต่งขึ้นเอง
นี่คือกระบวนการที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นเเละฝึกต่อหลังจากฝึกความสันโดษ เพราะการฝึกแยกจิตนั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสู่การมุ่งหน้าเข้าวิถีเเห่งสัมมาสมาธิ
เมื่อเธอทั้งหลายสำรวมความรู้สึกสามารถเเยกจิตใจให้เป็นอิสระขาดจากกันได้เเล้วก็จะพัฒนาสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง เพราะอินทรียสังวรนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดโภชเนมัตตัญญูตา
โภชเนมัตตัญญุตานั้น คือการรับอาหารเเต่พอดี สิ่งนี้ผู้ปฏิิบัติมักจะประพฤติกัน เป็นวิธีการทานอาหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะกำหนดทานกันเพียงวันละมื้อเท่านั้น การที่จะฝึกมาถึงระดับนี้ ร่างกายจะต้องถูกฝึกมาเเล้วในระดับหนึ่ง ไม่ใช่นึกอยากทำก็ทำ เพราะร่างกายจะต้องมีระบบการย่อยอาหารการเผาผลาญที่มีประสิทธิภาพพอสมควร
อันนี้ว่าอาหารนี้เราเสพย์เพื่อดำรงค์รูปกายมิได้เป็นไปเพื่อกามคุณ5 เพราะการเสพอาหารนั้นส่วนใหญ่จะหมายใจกันว่าเสพเพื่อกามคุณ5เป็นหนึ่งในวิธีการเสพกามโดยจริงเเท้
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะการเจริญสัมมาสมาธินั้นคือสภาวะของจิตนั้นจะต้องพ้นจากกามโดยสิ้นเชิง เพราะการบรรลุสัมมาสมาธินั้นจะเกิดในเวลาที่อาหารหยาบเเละละเอียดทั้งหลายถูกย่อยสลายหมดไปจากท้องเเล้วจนไม่ปรากฏกากในลำไส้ใหญ่หรือเล็กเลย สัมมาสมาธิมักจะเกิดขึ้นในช่วงนี้
เมื่อกระบวนการของโภชเนมัตตัญญุตาเกิดขึ้นเเละพัฒนาเเล้ว ก็จะพัฒนาไปสู่ลำดับขั้นถัดไปที่เรียกว่าชาคริยานุโยค
ชาคริยานุโยค ก็เป็นความหมายที่ตรงตัวว่าการตื่น เเต่ตื่นในที่นี้คือสติเราได้ตื่นขึ้นเเล้ว พ่ออาจารย์ท่านพูดเเฝงความนัยน์ไว้ว่า ตื่นให้มากนอนให้น้อย ก็คงจะจริงตามนั้นเพราะท่านนอนเพียง วันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น พ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งหลายก็เช่นกัน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าภวังคจิตในเวลาที่เกิดฌานนั้นจะประกอบด้วยสติคือมีความระลึกได้อยู่เต็มเปี่ยม แต่โดยลักษณะที่กำลังเกิดฌานหรือสมาธิจิตดวงนั้นก็จะอยู่ในภวังค์คือปฏิกิริยาชนิดหนึ่งที่หลับก็ไม่ใช่ตื่นก็ไม่เชิง เป็นการรักษาสมดุลระหว่างสิ่งที่เรียกว่าไม่หลับไม่ตื่นในขณะที่จิตเกิดสมาธิ เพราะถ้าจะตื่นหรือหลับลงก็จะไม่ได้สมาธิเช่นนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติที่ได้ฌานที่ละเอียดอ่อนมาก ชาคริยานุโยคนี้จึงถือว่ามีผลต่อการเกิดขึ้นของสมาธิโดยเเท้จริง
เมื่อถึงขั้นชาคริยานุโยคเเล้วก็จะพัฒนาต่อไปในลำดับที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการนี้ คือการพิจารณา จะหมายถึงการน้อมใจพิจารณาหลักธรรมต่างๆโดยแยบคายก็ได้ ซึ่งการพิจารณานี้จะเฟ้นวิธีการสร้างสติให้มั่นคงให้ถึงที่สุดคือมีจิตแห่งสัมมาสมาธิปรากฏ หมายถึงปัญญาในรูปการคิดค้นตามวิธีการฝึกจิตในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะกสิณหรืออนุสติทั้งหลาย ซึ่งตัวโยนิโสมนสิการนี้ ก็เป็นเหตุให้เกิดสุขอันเกิดเเต่ความวิเวก
วันนี้ก็พิมพ์สรุปไว้คร่าวๆ ไว้จะมาต่อในภาค 3 ก็คอยติดตามกันดีๆหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับการฝึกตนปฏิบัติบ้างไม่มากก็น้อย -
-
คาถาวันละนิด
เมื่อวานก็พูดถึงคาถากันหลงลืมไป วันนี้ก็มาต่อกันเลย
เนื่องจากสังคมไทยนี้เรามีรากเหง้ามีความเชื่อที่อิงแอบเเนบอาศัยมากับเรื่องบุญและบาปตลอดจนจิตวิญญาณคาถาเเละอาคม ดังนั้นคนในสมัยก่อน เรื่องการเล่นคาถาอาคมนั้นจึงเหมือนเป็นของเล่นเป็นของใช้กันประจำในชีวิตของเค้า
วันนี้เราก็จะมาพูดถึงคาถาที่ให้ประโยช์มากอีกบทหนึ่ง พระคาถานี้จัดอยู่ในหมวดที่ผู้ภาวนาจะมีปัญญาดี ปัญญานี้คืออะไร ลองทำความเข้าใจกันดูนะครับ ไอ้ตัวปัญญานี้ต่างจากพวกความจำความฉลาดอย่างไร
พระคาถานี้สืบมาเเต่โบราณ เวลาคุณพระ เจ้าขุนมูลนาย ท้าวเธอทั้งหลาย จะอ่านความอ่านข้อราชการต่างๆก็มักจะภาวนาคาถานี้ก่อนเสมอ หรือแม้เเต่เด็กน้อยที่ลูกท่านหลานเธอส่งไปยังสำนักเรียนของครูต่างๆ เพื่อศึกษาหาวิชาความรู้ ก่อนที่จะอ่านเขียนก็จะภาวนาพระคาถาบทนี้กันประจำ เรียกได้ว่าถูกอบรมให้ภาวนาบทนี้กันตั้งเเต่เด็กยันโต ถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่นเพื่อปรารถนาเห็นความก้าวหน้าเเละได้ดีในวงศ์สกุลของตนเลยก็ว่าได้
ท่านว่าเมื่อได้ภาวนาหัวใจพระคาถาบทนี้เเล้ว ให้กางตำราอ่านไปเถิด จะเกิดปัญญาแล มีความเข้าใจทะลุปรุโปร่งเเจ่มเเจ้งในสรรพศาสตร์ต่างๆตลอดจนกิจที่ทำอยู่ อันนี้ก็ฝากไว้ลองดูกันนะครับ สั้นๆไม่ยาวดี มีลูกมีหลานอยากเห็นเค้าหัวไวเรียนหนังสือจำหนังสือได้ก็สอนให้เค้าหัดท่องจนเป็นนิสัย ก่อนเค้าเปิดหนังสืออ่านให้ภาวนาบทนี้เสียก่อน หรือแม้เเต่จะเป็นนิสิตนักศึกษาตลอดจนคนทำงานล้วนใช้ได้ทั้งสิ้น ก็ลงไว้เป็นวิทยาทานกันนะครับ ถือว่าเป็นอีกพระคาถาหนึ่งที่มีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยความปรารถนาดี:cool:
โอม ปัญญาทิเต สวาหุม
หน้า 55 ของ 460