รายการที่39 เหรียญรัชกาลที่ 5 หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ปี 2530**มีสมาชิกโทรมานิมนต์ทั้งชุดแล้วครับ**
หลวงพ่อจรัญ หรือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัด อายุท่านได้ประมาณ 82 ปีแล้ว หลวง พ่อจรัญ เป็นพระที่ปฏิบัติดีโดยเฉพาะในสายวิปัสสนาแบบสติปัฏฐานสี่ ในปัจจุบันหลวงพ่อจรัญ มีชื่อเสียงดังไปทั่วไประเทศในฐานะอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน ท่านเขียนตำราธรรมะมากมาย ก่อนที่ท่านจะเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับเจ้าคุณโชดก วัดมหาธาตุ หลวงพ่อจรัญ ก็เหมือนพระเกจิทั่วไปในสมัยนั้น คือศึกษาพระเวทย์วิทยาคมกับหลวงพ่อดังๆในอดีต หลวงพ่อจรัญ เคยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่หลวงพ่อเดิม จะมรณะภาพ นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนวิชากับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา เป็นต้น
เนื่อง จากหลวงพ่อจรัญ มีลูกศิษย์นับถือมากมาย ประกอบกับท่านอายุมากแล้ว ตอนหลังเข้าใจว่าท่านไม่ปลุกเสกวัตถุมงคลแล้ว ดังนั้นทำให้พระเครื่องของหลวงพ่อจรัญ ที่หลวงพ่ออธิษฐานจิตจึงถูกลูกศิษย์ตามเก็บ ทำให้พระของท่านเริ่มหายากและมีราคาสูงขึ้นเื่รื่อยๆ โดยเฉพาะพระที่สร้างก่อนปี 2520 หลายรุ่นราคาสูงมาก
ขอแนะนำเหรียญรัชกาลที่ 5 เป็นรุ่นแรกของหลวงพ่อจรัญ ที่ท่านอธิษฐานจิตในคราวสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 องค์ใหญ่ของวัดอัมพวันเมื่อปี 2530 เหรียญรุ่นนี้สร้างโดยกองกษาปณ์ ออกแบบสวยงามมาก ด้านหลังเป็นดวงมงคลเพื่อเสริมดวงชาตาให้แก่ผู้ที่บูชา เหรียญที่นำเสนอสวยงามมากในสภาพเดิมๆ สวยไม่แพ้ใคร แท้ ดูง่าย รีบเก็บตั้งแต่ตอนนี้นะครับ เพราะพระของหลวงพ่อจรัญ เริ่มหายากแล้ว
**องค์นี้สวย เดิม ซองเดิมๆๆ มี5เหรียญ ให้บุชา เหรียญละ250 บาท**ถ้าท่านใดบูชา5เหรียญเลยคิดแค่1000บาท สมาชิกจองได้เลยครับ ราคาเบาๆ สวยทุกองค์
วัตถุมงคล.คณาจารย์ทั่วไทย..พุทโธน้อย..หลวงปู่จรัญ.วัดอัมพวัน.คุณแม่บุญเรือน..หลวงปู่ดู่..วัดสะแก..อื่นๆๆ
ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 18 เมษายน 2015.
หน้า 4 ของ 25
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่40 รูปหล่อพระพุทธชินราช กะไหล่ทอง สภาพสวย**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ที่มีลักษณะงดงาม ที่สุดในโลกมีขนาดหน้าตักกว้าง ห้าศอก 1 คืบ ห้านิ้ว(2.875 เมตร) สูงเจ็ดศอก(3.5 เมตร) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขัดเงาเกลี้ยง สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงปิดทองเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2146และเมื่อ พ.ศ.2478 ได้มีการลงรักปิดทองเต็มองค์อีกครั้งหนึ่ง และเป็นการถาวร อยู่จนทุกวันนี้
พระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารทางทิศตะวันนตกของวัดพระศรี
รัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร องค์พระนั่งขัดสมาธิอยู่บนฐานชุกชีบัวคว่ำบัวหงายพระพักตร์หันไปทางทิศ ตะวันตก (ด้านริมน้ำน่าน)
พระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้วและสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทอง ประดับเบิ้อง
พระปฤษฎางค์ ปราณีตอ่อนช้อยงดงามช่วยเน้นให้พระวรกายของพระพุทธชินราช งดงามเด่น ชัดเจนยิ่งขึ้น พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปศิลปสุโขทัย แต่มีลักษณะพิเศษที่ แตกต่างไ ปจากสุโขทัยคลาสสิก เพราะมี พระเกศรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง วงพระพักตร์ ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนผลมะตูมเช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีพระอุณาโลมผลิก อยู่ระหว่างพระโขนง พระวรกายอวบอ้วนมีสังฆายาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ ฝังด้วยแก้วนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ฝ่าพระบาท แบนราบ ค่อนข้างแคบ เมื่อเทียบกับยุคสุโขทัย ส้นพระบาทยาว มีรูปอาฬวกยักษ์และรูปท้าวเวสสุวัณ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เฝ้าอยู่ ที่พระเพลาเบื้องขวาและซ้ายขององค์ตามลำดับ
**องค์นี้สภาพสวย พระเก่าเก็บ ให้บูชาเบาๆ 350 บาทไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่41 เหรียญพระราชสุทธิญาณมงคล หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
หลวงพ่อจรัญ หรือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัด อายุท่านได้ประมาณ 82 ปีแล้ว หลวง พ่อจรัญ เป็นพระที่ปฏิบัติดีโดยเฉพาะในสายวิปัสสนาแบบสติปัฏฐานสี่ ในปัจจุบันหลวงพ่อจรัญ มีชื่อเสียงดังไปทั่วไประเทศในฐานะอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน ท่านเขียนตำราธรรมะมากมาย ก่อนที่ท่านจะเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับเจ้าคุณโชดก วัดมหาธาตุ หลวงพ่อจรัญ ก็เหมือนพระเกจิทั่วไปในสมัยนั้น คือศึกษาพระเวทย์วิทยาคมกับหลวงพ่อดังๆในอดีต หลวงพ่อจรัญ เคยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่หลวงพ่อเดิม จะมรณะภาพ นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนวิชากับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา เป็นต้น
เนื่อง จากหลวงพ่อจรัญ มีลูกศิษย์นับถือมากมาย ประกอบกับท่านอายุมากแล้ว ตอนหลังเข้าใจว่าท่านไม่ปลุกเสกวัตถุมงคลแล้ว ดังนั้นทำให้พระเครื่องของหลวงพ่อจรัญ ที่หลวงพ่ออธิษฐานจิตจึงถูกลูกศิษย์ตามเก็บ ทำให้พระของท่านเริ่มหายากและมีราคาสูงขึ้นเื่รื่อยๆ โดยเฉพาะพระที่สร้างก่อนปี 2520 หลายรุ่นราคาสูงมาก
เหรียญหลวงพ่อจรัญรุ่นนี้ ออกแบบสวยงาม ด้านหลังเป็นยันต์เพื่อเสริมดวงชาตาให้แก่ผู้ที่บูชา เหรียญที่นำเสนอสวยงามมากในสภาพเดิมๆ สวยไม่แพ้ใคร แท้ ดูง่าย รีบเก็บตั้งแต่ตอนนี้นะครับ เพราะพระของหลวงพ่อจรัญ เริ่มหายากแล้ว
****องค์นี้สวย เดิม ซองเดิมๆๆ มี5เหรียญ ให้บุชา เหรียญละ150 บาท**ถ้าท่านใดบูชา5เหรียญเลยคิดแค่500บาท สมาชิกจองได้เลยครับ ราคาเบาๆ สวยทุกองค์ เอาไว้แจกเป็นของขวัญในเทศกาลต่างได้ครับไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่42 เข็มกลัดงานนมัสการพระธาตุพนม + เข็มกลัดงานวัดพระศรีมหาธาตุ ลงสี สวย
พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกซึ่งจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า "ธาตุปะนม" เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนพระอุระ ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูรกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข ลักษณะ การก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้งสี่ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัส สปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียว ยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความวว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐
ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
๑. พญาจุลณีพรหมทัค ครองแคว้นจุลมณี ก่อด้านตะวันออก
๒. พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านตะวันตก
๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
๕. พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาโดยลำดับ ซึ่งจะได้นำมาเขียนไว้โดยสังเขปดังนี้
๑. การบูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูง ขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลงแล้ว ) แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์ ( เวลานี้พบแล้ว อยู่สูงจากระดับพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร )
๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูร เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตู และเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์ ( ถูกพระธาตุหักพังทับยับเยินหมดแล้ว )
๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ ให้สูงขึ้นอีกประมาณ ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้ อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่าง ๆ ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม" (ประนม)
๔. การบูรณะครั้งที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปีนั้น ( พ.ศ. ๒๓๕๖ ) ( ฉัตรนี้ ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๗ )
๕. การบูรณะครั้งที่ ๕ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนมใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง
๖. การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ชุมจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้กรมศิลปากรอันมีหลวงวิจิตราวาทการเป็นหัวหน้า สร้างเสริมครอบพระธาตุพนมองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชัน้ที่ ๓ ขั้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
๗. พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาคและได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น ฉัตรทองคำ มีเนื้อทองของวัดอยู่ประมาณ ๗ กิโลกรัม นอกนั้นเป็นโลหะสีทองหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ฉัตรหนักทั้งหมด ๑๑๐ กิโลกรัม ก่อนรื้อนั่งร้าน ทางวัดได้ขอแรงสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร โบกปูนตั้งแต่ยอดซุ้มประตูพระธาตุชั้นที่ ๑ จนถึงยอดสุด ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือนจึงแล้วเสร็จ
องค์พระธาตุพนม
๘. พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้ลงรักปิดทองพระธาตุพนมส่วนยอดประมาณ ๑๐ เมตรจนถึงก้านฉัตร ได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารช่วยทำ ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือน กับ ๑๕ วัน จึงเสร็จเรียบร้อยดี
๙. พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนม ลงรักปิดทองลวดลายองค์พระธาตุพนมช่วงบน ซึ่งทำการประดับใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ ส่วนยอดสูงประมาณ ๕ เมตร ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วจึงลงรักปิดทอง ใช้เวลาทำงาน ๒ เดือนกว่าจึงแล้วเสร็จ
๑๐. ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้าง ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก และไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงเกิดพังทลายลงมาดังกล่าว
๑๑. วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๑๘ หลังจากองค์พระธาตุพนมพังทลายแล้ว ๒๐ วัน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ลงมือทำการรื้อถอนและขนย้ายซากปรักหักพังขององค์ พระธาตุพนม ใช้แรงงานคนงานจำนวน ๕๐ คน ใช้เวลาในการรื้อถอนและขนย้ายอยู่ ๑๗๐ วันจึงเสร็จเรียบร้อยดี
๑๒. วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๘ ทำพิธีบูชาพระธาตุพนมและบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษตลอดถึงเทพเจ้าผู้ พิทักษ์องค์พระธาตุพนม และอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจำลองชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เสร็จแล้ว จะได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่เดิม
ในพิธีนี้มี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระพิมลธรรม ( อาสภมหาเถระ ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และในขณะเดียวกันก็ได้อัญเชีญเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่พระธาตุ จำลองด้วย
๑๓. วันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังแล้ว ๖๒ วัน ) ได้พบพระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหัวอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรจุอยู่ในผอบแก้ว หรือหลอดแก้ว ซึ่งมีสัณฐานคล้ายรูปหัวใจ ผอบแก้วใบนี้หุ้มทองมีช่องเจาะสี่ด้าน มีฝาทองคำปิดสนิทสูง ๒.๑ เซนติเมตร มีสีขาวแวววาวมาก คล้ายกับแก้วผลึก ภายในผอบมีน้ำมันจันทน์หล่อเลี้ยงอยู่และมีพระอุรังคธาตุบรรจุอยู่ ๘ องค์
๑๔. วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากพบพระอุรังคธาตุแล้ว ๒ เดือน ๒๕ วัน ) ได้จัดสมโภชพระอุรังคธาตุขึ้นรวม ๗ วัน ๗ คืน งานเริ่มวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ถึงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๙
ในงานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์สถานที่ประกอบพิธีอยู่ที่สนามหญ้าหน้าบริเวณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุพนม
๑๕. วันที่ ๑๐ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออบมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา และนำสิ่งของที่พบในองค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนชมตลอดงาน
๑๖. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๙ บริษัท อิตาเลียน - ไทย ได้ขุดหลุมลงเข็มรากพระธาตุพนมองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ ๒๘ - ๒๙ พฤษภาคม ศกเดียวกัน ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อันมีพระเทพรัตนโมลี เป็นประธาน ได้ทำพิธีลงเข็มรากพระธาตุพนมเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ ใหม่
๑๗. วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๙ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาเยี่ยมคณะสงฆ์และประชาชนทั่วัดพระธาตุพนม ได้ตรวจดูการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม และได้ทรงนมัสการพระอุรังคธาตุด้วย
๑๘. วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๙ ถึงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๐ ทางวัดได้ขอแรงประชาชนในเขตอำเภอธาตุพนม มาขนเศษอิฐเศษปูนจากบริเวณสนามหญ้าข้างในวิหารคตออกไปกองไว้ข้างนอกทางด้าน ทิศเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้หอพระนอน
๑๙. วันที่ ๑๙ มกราคม ถึงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีกธาตุ ออกไปให้ประชาชนชมและสักการะบูชาอีก และมีการแสดงนิทรรศการของโบราณเหมือนปีก่อน
๒๐. วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ลงมือประดับตกแต่งลวดลายองค์พระธาตุพนม
๒๑. วันที่ ๑๗ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาจนตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนครพนม และนายสมพร กลิ่นพงษา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่โดยตั้งขบวนแห่ที่ถนนหน้าวัดแล้วเดินทางไปตามถนนชยางกูร เลี้ยวเข้าถนนหน้าพระธาตุพนมจำลอง ตรงไปยังเบญจาซึ่งตั้งอยู่สนามหญ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เบญจา เสร็จงานแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการแสดงนิทรรศการเหมือนปีก่อนฯ
๒๒. วันที่ ๖ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดได้จัดงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีเหมือนปีก่อน ๆ และได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และนายพิชิต ลักษณะสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่รอบองค์พระธาตุ ๑ รอบ แล้วจึงได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้ บนพระเบญจาตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้ายของงานพระเทพรัตนโมลี พร้อมด้วยพระสงฆ์และญาติโยมได้ทำพิธีคาระวะพระอุรังคธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการนำเอาของมีค่าซึ่งค้นพบที่องค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนได้ชม จนตลอดงานเหมือนปีที่แล้วมา
๒๓. วันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ ทางรัฐบาลได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีบรรจุ ในวันแรกของงานได้ทำพิธีแห่พระอุรังคธาตุ ในวันที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานยกฉัตรพระธาตุ ในวันที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
ดพระศรีมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๘ ตำบลอนุสาวรีย์ (เดิมชื่อตำบลกูบแดง) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร มีประวัตรการก่อสร้างโดยสังเขป ดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้น มียศและบรรดาศักดิ์เป็น พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ใคร่จะขออนุมัติเงินสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่ง เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย และใคร่จะให้แล้วเสร็จทันในงานวันชาติวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔ สถานที่จะสร้างนั้น ควรจะสร้างใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์หลักสี่ ทั้งนี้มีเหตุผลว่าชาติกับศาสนาเป็นของคู่กัน เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ เพราะศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและกล่อมเกลาอุปนิสัยและน้ำใจประชาชนให้บำเพ็ญตน และปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเสริฐสุด อันมวลประชาราษฎรชาวไทยและชาติอื่น ๆ อีกหลายประเทศยึดถืออยู่ เป็นศาสนาที่ทันสมัยอยู่เสมอ และยิ่งเป็นประเทศไทย เป็นประเทศประชาธิปไตยด้วยแล้ว พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่เหมาะสมยิ่งด้วยประการทั้งปวง เพราะเป็นหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย อีกประการหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ดี งานสร้างชาติซึ่งกระทำภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ดี ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีมาแล้วก็โดยอาศัยพุทธานุภาพคุ้มครองป้องกันประเทศชาติราษฎร และอำนวยความสถาพรสำเร็จประโยชน์อย่างดีที่สุดที่จะเป็นได้ จึงสมควรที่จะสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่เชิดชูพระบวรพุทธศาสนาคู่กันไปกับเกียรติศักดิ์ของประเทศชาติ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว ลงมติเห็นชอบด้วยเป็นเอกฉันท์ให้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งในที่ใกล้อนุสาวรีย์หลักสี่ และให้ชื่อว่า "วัดประชาธิปไตย"
ในขณะที่กำลังดำเนินการพิจารณาจัดสร้างอยู่นี้ ก็เผอิญมีศุภนิมิตอันประเสริฐ โดยที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้จัดส่งฑูตพิเศษ อันมี พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นมียศและบรรดาศักดิ์เป็น นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้า ไปเจริญสันถวไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในจักรภพอังกฤษภาคเอเชีย เมื่อคณะฑูตพิเศษเดินทางไปถึงประเทศอินเดีย ก็ได้ติดต่อขอพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และขอให้รัฐบาลอินเดียตอนกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ให้ ๕ กิ่ง จากต้นที่สืบเนื่องมาแต่ต้นเดิมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ พุทธคยา อินเดีย พร้อมทั้งดินจากสังเวชนียสถาน คือ ที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาเห็นว่า ประชาชนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีอยู่ในนานาประเทศเป็นอันมาก แต่ประเทศเอกราชที่ยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นทางราชการ และพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก ก็มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น จึงได้มอบพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบ ณ มหาสถูปธรรมราชิกะ และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พร้อมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ์และดินจากสังเวชนียสถาน ให้ตรงความประสงค์ รัฐบาลจึงได้ตกลงจะอัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดที่สร้างใหม่นี้ และเห็นว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์กับพระบรมสารีริกธาตุเป็นสิริมงคลแก่วันที่สร้างใหม่นี้ จึงตกลงตั้งนามวัดว่า "วัดพระศรีมหาธาตุ"
การสร้างวัดพระศรีมหาธาตุนี้ รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย การสร้างวัดนี้ จึงควรยกให้เป็นงานของชาติ ให้เป็นการกุศลสาธารณะ ซึ่งประชาชนและรัฐบาลได้ร่วมกันทำเพื่อให้บรรลุผลเป็นสุขประโยชน์ทั่วประเทศ รัฐบาลจึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการกุศล โดยบริจาคทรัพย์ชวยการสร้างวัดนี้ตามกำลังศรัทธา สาธุชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็ได้ร่วมการกุศลนี้เป็นสมานฉันท์ โดยการบริจาคที่ดิน เงินและทรัพย์สมบัติอื่น ๆ เป็นอันมาก
โดยเหตุที่วัดนี้เป็นวัดเริ่มแรกในสมัยประชาธิปไตย และประสงค์จะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเป็นการเชิดชูพระบวรพุทธศาสนาและรักษาศิลปของไทย รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทางการช่างต่าง ๆ ร่วมมือกันสร้าง ในชั้นแรกได้มอบให้ พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ซึ่งขณะนั้นมียศและบรรดาศักดิ์เป็นพันเอกหลวงเสรีเริงฤทธิ์ กับหลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง กรมศิลปากร โดยหลวงวิจิตรวาทการ กับ พระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบ นายช่างกรมศิลปากร และกรมรถไฟเป็นนายช่างก่อสร้าง และต่อไปก็ได้เชิญผู้มีเกียรติอีกหลายท่านให้ช่วยเหลือร่วมมือจนสำเร็จ กระทำพิธีเปิดและถวายเป็นเสนาสนะแห่งพระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕..
**เข็มกลัดที่ระลึกสภาพสวย ให้เป็นของขวัญ กลัดติดกระเป๋า ให้บูชา คู่ละ 400 บาทไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่43 เหรียญพ่อท่านคลิ้ง ปี2521 รุ่นฉลอง 93 ปี วัดถลุงทอง จ.นครศรีธรรมราช**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
เหรียญนี้เป็นเหรียญทองแดงรมดำ ลักษณะเหรียญด้านหน้าจะคลัายกับเหรียญปี 2521 หลังภปร.แต่เหรียญนี้ด้านหลังจะเป็น ยันต์ห้าแทน ด้านหน้าของเหรียญที่สังฆาฎิ จะมีคำว่านะโม ที่สังฆาฏิ
**สภาพสวย น่าใช้ เจตนาดี ให้บูชา 350 บาท -
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่44 พระปิดตามหาลาภ หลวงปู่สี วัดสะแก สภาพสวย**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
ลป.สี วัดสะแก อ.อุทัย จ.อยุธยา ท่านอยู่ในวัดสะแก ในฐานะพระลูกวัดธรรมดารูปหนึ่ง ไม่มีตำแหน่งสมณศักดิ์ใดๆทั้งสิ้น หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือนแปด ปีมะแม พ.ศ.2438 โยมบิดาชื่อก๊วน โยมมารดาชื่อเล็ก นามสกุลเดิม บำรุงกิจ สถานที่เกิด ตำบลกระจิว อ.อุทัย จ.อยุธยา มีพี่น้อง6คน ชาย3หญิง3 หลวงปู่สีเป็นคนโตสุด
เมื่ออายุได้12ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ.วัดราษฎร์บูรณะ (วัดเลียบ)กทม. ได้ศึกษาวิชาภาษาไทยและมูลกัจจายน์ โดยมีพระอาจารย์โปร่ง และพระอาจารย์ยัง เป็นผู้สอน สามเณรสี มีความขยันขันแข็งเอาใจใส่การศึกษาเล่าเรียนด้วยความตั้งใจ จึงเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ผู้สอน จวบจนอายุครบบวชเป็นพระภิกษุ สามเณรสี จึงได้กลับมาบ้านเดิมของท่าน เข้ารับการอุปสมบท ณ.วัดสะแก โดยมีหลวงพ่อกลั่น ธรรมโชติ วัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแด่ วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อพุฒ วัดสะแก เป็นพระอานุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พินทสุวัณณ
เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้จำพรรษาอยู่วัดสะแก มาโดยตลอด ในฐานะพระลูกวัดธรรมดารูปหนึ่ง จากพศ.2458 จนถึงพศ.2526 เป็นระยะเวลา66ปีเต็ม ในตอนบวชเป็นพระใหม่ๆนั้น หลวงปู่สีสนใจในด้านไสยศาสตร์ คาถาอาคม พุทธาคม เป็นอันมาก จึงได้เดินทางมาศึกษา เล่าเรียนวิชาการจาก หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ พระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น นอกจากนี้หลวงพ่อกลั่นยังได้มอบตำราเวทย์มนตร์คาถาและยันต์ต่างๆ เป็นสมุดข่อยของเก่าโบราณ ทุกเล่มปิดทองลงชาดอย่างสวยงาม กล่าวว่าเป็นของวัดประดู่โรงธรรม ซึ่งได้รับตกทอดมาสมัยกรุงศรีอยุธยา
จากความรู้ความสามารถนี้เอง ท่านจึงได้ร่วมกับ อ.เฮง ไพรยวัลย์ ซึ่งเป็นฆราวาส ผู้แก่กล้าสามารถทางวิชาอาคม สร้างเหรียญพระพรหม สี่หน้า โดยอ.เฮง มีอายุแก่กว่าหลวงปู่สี 2-3ปี ถึงแก่กรรมเมื่อปี2503 เคยบวชเรียนมาแล้ว2ครั้ง ครั้งหลังได้บวชกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯเช่นกัน จึงถือได้ว่ามีอาจารย์ร่วมกัน
อาจารย์เฮง บวชเรียนมาแล้วก็ลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส ตอนที่สร้างเหรียญพระพรหมกับหลวงปู่สีนั้น ก็ได้ลาสิกขาออกมาแล้วเช่นกัน แต่ได้มาอาศัยในเรือขนาดใหญ่ ผูกอยู่ริมตลิ่งในคลองหน้าวัดสะแก ในเรือก็มีอุปกรณืการสร้างเครื่องรางของขลังไว้ครับ หลวงปู่สียกย่องอาจารย์เฮงมากนับถือในความเก่งกล้าในทางไสยศาสตร์และเล่าว่า อาจารย์เฮงยังมีฝีมือทางด้านการวาดเขียน ดนตรีไทย และแม้แต่การทำอาหารก็มีฝีมือเป็นเลิศ
การสร้างเหรียญพระพรหม สี่หน้านั้น หลวงปู่เล่าว่า สร้างครั้งแรกเมื่อปี2480เศษ ตอนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยความคิดริเริ่มมาจากอาจารย์เฮง หลังจากนั้นก็มีการสร้างมงคลวัตถุอื่นเช่นแหวน ผ้าขอด ตะกรุด เหรียญ รูปเหมือน เป็นต้น ในการสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่นนั้น หลวงปู่มิได้เป็นผู้ลงทุนเอง ในการสร้างวัตถุมงคลแต่ละครั้งจึงเป็นการสร้างโดยลูกศิษย์ลูกหาที่ไปขออนุญาติจากท่าน เมื่อได้รับอนุญาติแล้วก็สร้างไปถวายให้หลวงปู่ปลุกเสก หลวงปู่ก็จะเสกให้เป็นอย่างดี อย่างรอบคอบพิถีพิถันเป็นพิเศษ
การปลุกเสกวัตถุมงคล ของขลังทุกอย่างของหลวงปู่สี ท่านจะทำจนมั่นใจแล้วจึงบอกให้นำไปใช้ และที่พิเศษอย่างยิ่งก็คือ ของทุกอย่างทุกชิ้นของท่านต้องมีการลงเหล็กจาร ด้วยเสมอไป และเหล็กที่ใช้จารก็ต้องเป็นของที่ท่านได้ใช้อยู่เป็นประจำ ผู้ที่สร้างมงคลวัตถุของหลวงปู่จะรับของกลับไปส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะถวายให้หลวงปู่ไว้แจกแก่ผู้ต้องการ หลวงปู่สี มรณภาพ เมื่อ30 มกราคม 2526 ด้วยโรคชรา หลวงปู่จากไป
**รุ่นนี้หายากครับ พบเจอน้อย ให้บุชา 800 บาท -
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่45 ธงหลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ ขนาดกลาง สภาพสวย
**มีสมาชิกพีเอมมาจองแล้วครับ**
หลวงปู่สาย ปภาโส หรือ พระครูนนทการประสิทธิ์ (เจ้าอาวาสวัดองค์ที่ 8) วัดบางรักใหญ่ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนนทบุรี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2444 ปีฉลู บิดาชื่อ เที่ยง มารดาชื่อ แจ่ม เป็นคนจังหวัดนนทบุรีแต่กำเนิด
เข้าบวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.2468 ที่วัดบางรักใหญ่ มี หลวงพ่อชุ่ม วัดประชารังสรรค์(วัดหญ้าไทร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแหล่ม วัดประชารังสรรค์(วัดหญ้าไทร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อพรหม เจ้าอาวาสวัดบางรักใหญ่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากบวชแล้วท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมสอบได้นักธรรมชั้นตรี ,นักธรรมโท และนักธรรมเอก หลังจากนั้นท่านได้เรียนกรรมฐานกับครูบาอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงหลายรูป เป็นต้นว่า ทางด้าน วิชาอาคมขลัง ทางลงเลขยันต์ปลุกเสก ด้านเครื่องรางของขลังต่าง ๆ จาก หลวงพ่อม้วน วัดไทรม้าเหนือ ท่านศึกษาอยู่กับหลวงปู่ชุ่ม ได้ความรู้ทางด้านวิชาแล้วยังได้ความรู้อื่นๆ อีกมากมายรวมทั้งการปฏิบัติ
ต่อมาท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ชื่น เกสโร เจ้าอาวาสวัดสะแก เล่าเรียนทางด้านแพทย์แผนโบราณ วิชาทางคงกระพันชาตรี ทางน้ำมนต์ ทางรักษาโรคต่างๆ หลังจากนั้นก็กลับมาจำพรรษาที่วัดบางรักใหญ่เพื่ออบรมสั่งสอนพระ-เณร ท่านเป็นพระปฏิบัติดี มีเมตตาสูง มีวาจาสิทธิ์ มีเมตตารักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่ญาติโยมที่เจ็บป่วยเป็นประจำ
ขณะเดียวกันบรรดาศิษยานุศิษย์ก็ได้ขอเมตตาจากหลวงปู่ทำเครื่องรางของขลัง เพื่อใช้ติดตัวเมื่อต้องเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นเหรียญทองแดง หรือพระปิดตา หรือยันต์ชายธง ผู้ได้บูชาก็ประสบกับเหตูการณ์ต่างๆ แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ หรืออันตรายต่างๆ ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันมาก ทำให้วัดบางรักใหญ่มีผู้มาทำบุญไม่ขาดสาย วัดจึงมีปัจจัยพัฒนา เสนาสถานต่างๆ เกิดความสะดวกแก่ญาติโยมที่มาทำบุญกันถ้วนหน้า สร้างความเจริญแก่ชุมชนเป็นอย่างมาก
หลวงปู่สายเริ่มสร้างพระเครื่อง และ เครื่องราง ของขลังครั้งเเรกในปี พ.ศ. 2484 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ยันต์ชายธงท่านสร้างไว้ 2 ยุค แบ่งง่ายๆ ยุคแรกๆท่านเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ. 2485 จะเขียนด้วยดินสอ ส่วนยุคที่สองเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จะเขียนด้วยปากกา ท่านทำไว้ 3 ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ (ขนาดใหญ่ท่านสร้างไว้ให้ ติดเสาบ้าน ขนาด เล็ก กับ กลาง ไว้ติดตัว) ส่วนใหญ่จะเขียนด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ ลายมือจะไม่ค่อยดีนัก วัสดุท่านจะใช้จีวรที่ท่านครอง พอถึงพรรษาที ท่านจะเปลี่ยนจีวรชุดใหม่ จีวรชุดเก่าท่านจะใช้มาทำเป็นยันต์ชายธง
ส่วนพระสมเด็จ สร้างครั้งแรก ปี พ.ศ. 2499 ท่านสร้างโดยเอากระดาษสา มามาเขียนยันต์ลง อักขระต่างๆ แล้วก็เขียนผงลบผงนะต่างๆ รวมผสมกับปูนเปลือกหอย ผงปูนตามเสมาเก่า ผนังวิหารและโบสถ์เก่าชำรุด เนื้อจึงออกยุ่ยไม่เหมือนของพระเกจิ องค์อื่น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ท่านได้หยุดสร้างพระเครื่องระยะหนึ่ง จนได้รับการเรียงร้องจากลูกศิษย์ ประกอบกับต้อง สร้างเสนาสนะต่างๆ ท่านจึงลงมือสร้างอีกครั้งเพื่อเป็นสิ่งตอบแทนแก่ผู้ที่มาร่วมทำบุญ
พระส่วนใหญ่ท่านจะสร้างเหรียญรูปเหมือน ที่ดังและมีชื่อเสียงเช่นกันก็คือ พระปิดตา รุ่นฟ้าคำราม และ พระปิดตาเนื้อทองบุญล้น สร้างปี พ.ศ.2528 และ พระปิดตา ของขวัญทรงสี่เหสี่ยมสร้างฉลองอายุครบ 85 ปี
หลวงปู่่เป็นพระสมถะ ไม่สะสม พูดไพเราะ และพูดเก่ง เป็นกันเอง ไม่ถือตัว ตลอดชีวิตท่าน มีแต่ให้กับให้ ไม่สนใจเรื่องทรัพย์สินมีค่า ใครขออะไรก็ให้ทั้งนั้น เรียกว่าขอเป็นต้องได้ ถ้าไม่ขอท่านๆก็จะไม่ให้ ช่วงปั้นปลายชีวิต ผู้คนที่ไป กราบมักจะได้ลาภกันเสมอๆ และความชราภาพทำให้สังขารท่านทรุดโทรมตามไปกาลเวลา
นับแต่หลวงปู่สาย ท่านบวชเมื่อปี พ.ศ. 2468 จนถึงปี พ.ศ.2530 ท่านทำงานเพื่อทำนุบำรุงพระศาสนาอย่างเต็มกำลังความสามารถ จนถึงสุดท้าย วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ท่านก็มรณภาพ สิริรวมอายุได้ 87 ปี พรรษา 58 นับแต่นั้นสังขารของหลวงปู่สาย ก็ยังคงสภาพไม่เน่าเปื่อย จนถึงปัจจุบันนี้
**ธงหลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ ถือเป็นเครื่องรางอันเป็นเอกลักษณ์ของท่านเลยก็ว่าได้ ให้บูชา 1000 บาท -
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
ให้บูชาพระเครื่อง วัตถุมงคล หลากหลายรายการ ค่าจัดส่ง50บาททั่วประเทศครับรับประกันแท้ยินดีคืนเงินเต็มจำนวน โดยไม่มีเงื่อนไขครับ (พระต้องกลับมาสภาพเดิมครับ)
ท่านที่สนใจจองได้ไม่เกิน3วัน โอนเงินได้ที่รายละเอียดที่อยู่ด้านล่าง หลังจากโอนแล้ว รบกวนโทร.หรืออีเมล์มาบอกชื่อที่อยู่สำหรับจัดส่งด้วยครับ
ติดต่อสอบถามได้ที่
- Pm
- เบอร์โทร 0817933946
ชำระเงินได้ที่
ธ.กรุงไทย สาขา ศรีย่าน
ชื่อบัญชี นายวรัญญู เล้ารัตนอารีย์
เลขที่บัญชี 012-0-14398-4 -
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่46 เหรียญหลวงปู่บุญฤทธิ์ อายุวัฒนะมงคล 96 ปี**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต แห่งที่พักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี หลวงท่านเป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่ทั้งพระและคณะญาติโยมในวงกรรมฐานรู้จักท่านเป็นอย่างดี
ประวัติ(คร่าวๆ) ของหลวงปู่บุญฤทธิ์ ก็เป็นที่น่าสนใจและน่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง คือในอดีตนั้นท่านเป็นนักเรียนนอกจบการศึกษาจากต่างประเทศ รู้ดีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ท่านเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการหนุ่มที่มีอนาคตสดใส แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงลาออกจากราชการแล้วบวชและปฏิบัติธรรมแบบถวายชีวิตต่อพระศาสนา ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด
องค์ท่านเป็นศิษย์กรรมฐานของ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ,และออกธุดงค์อยู่ตามป่ากับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม นานถึง 9 ปี ในช่วงหลัง ท่านได้รับบัญชาจากคณะสงฆ์ธรรมยุตให้ท่านไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศ ออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 30 กว่าปีแล้ว ท่านจึงกลับมายังเมืองไทย และได้อยู่ที่ สวนทิพย์ จ.นนทบุรี เป็นต้นมา
**เหรียญหลวงปู่บุญฤทธิ์ สร้างออกแจกงานวัดเกิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นเนื้อทองแดงผิวไฟแดงๆ ไม่ผ่านการใช้+ กล่องเดิมๆ สภาพสวยเดิมๆ หายากครับ วัตถุมงคลที่ระลึกของหลวงปู่บุญฤทธิ์ ไม่ใช่พระเครื่องที่จะเจอในสนามพระสักเท่าไร ส่วนใหญ่จะอยู่กับลูกศิษย์ ลูกหา ที่เก็บไว้บูชากันจึงไม่ได้พบเห็นบ่อยนัก ให้บูชา 500 บาทไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่47 เหรียญหลวงปู่เจียม อติสโย 30 ปี พลังชีวิตมิตรประชา เนื้อทองแดง
๏ อัตโนประวัติ
“พระครูอุดมวรเวท” หรือ “หลวงปู่เจียม อติสโย” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสุรินทร์ เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรดีงาม ไม่บกพร่องเสื่อมเสีย ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด กอปรด้วยวิทยาคม มีลูกศิษย์ลูกหามากมายให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก หลวงปู่เจียม มีนามเดิมว่า เจียม นวนสวัสดิ์ (เดือมดำ) เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน สายเลือดกัมพูชา ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านดองรุน ต.ประเตียเนียง อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน ท่านเป็นบุตรคนโต
๏ การศึกษาเบื้องต้น
ในเยาว์วัย เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ศึกษาภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศส ตามหลักสูตรที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดไว้
เมื่อเรียนจบในระดับชั้นประถมศึกษา ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในจังหวัดพระตะบอง แต่เรียนได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น มีเหตุให้ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน อีกทั้งได้รับผลกระทบจากสภาวะสงครามภายในประเทศ เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ได้ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ เป็นต้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น ครั้นเมื่ออายุ 26 ปี ท่านได้สมรสกับหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกัน มีบุตรธิดารวมทั้งหมด 4 คน เนื่องจากขณะนั้นประเทศกัมพูชาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส ท่านเป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติรักแผ่นดิน ต้องการให้ประเทศชาติบ้านเมืองเป็นเอกราช จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มชาวเขมรที่รักชาติ จัดตั้งกองกำลังเขมรเสรีเพื่อกอบกู้ประเทศชาติ โดยสู้รบกับทหารฝรั่งเศสอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และต่อมากองกำลังเขมรเสรีถูกปราบปรามอย่างหนัก จนต้องหลบหนีเข้ามายังเขตประเทศไทย โดยหวังว่าจะรวมตัวกันกลับเข้าไปต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ.2485 จึงตัดสินใจอพยพครอบครัว มุ่งหน้าเข้าสู่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โดยเดินทางมากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อ พระครูดี ใช้วิธีเดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆ ค่ำไหนก็พักนอนที่นั่น แล้วออกตระเวนรับจ้างชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสังขะ เพื่อหาเลี้ยงชีพไปตามอัตภาพ ในที่สุดได้แวะพักที่วัดทักษิณวารี (วัดทักษิณวารีสิริสุข) บ้านลำดวน ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พร้อมทั้งได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต ที่วัดแห่งนี้ ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนรับใช้หลวงพ่อวางอย่างดียิ่ง จนทำให้บรรดาโยมอุปัฏฐากของหลวงพ่อวาง เกิดความรักความศรัทธา จึงขอเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 47 ปี
๏ การมรณภาพ
ย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมก็ยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ลูกศิษย์ลูกหาสม่ำเสมอ กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 นาฬิกา ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษยานุศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียมได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์รวมไปถึงชาวบ้านได้นำร่างหลวงปู่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทราสุการาม เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้รำลึกถึงคุณงามความดี สำหรับกำหนดการเบื้องต้น จะมีการบรรจุศพหลวงปู่เจียมที่วัดอินทราสุการาม เป็นเวลา 15 วัน เพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้ร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน ทราบมาว่าหลวงปู่กำลังเป็นที่โด่งดังที่ 3 จังหวัด ชายแดนใต้
***เหรียญสวยเดิม สำหรับองค์นี้จัดว่าสวย งามมาก พระสวย พระแท้ ให้บูชา 300 บาทไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ธงหลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่ โอนเงินให้แล้วครับ เวลา 11.58 น. จัดส่งตาม pm ครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
รายการที่48 ปรกใบมะขาม หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง รุ่นอุปถัมภ์ ปี 37 เนื้อเงิน สภาพสวย
***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
กิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2440 ณ.บ้านวังหว้า โยมบิดาชื่อ นายครวญ โยมมารดาชื่อ นางต้อย นามสกุลอรัญวงศ์ หลวงปู่เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ครอบครัวของท่านยึดอาชีพทำสวนพริกไทย เริ่มศึกษาครั้งแรกที่วัดวังหว้า เมื่ออายุราว 11 -12 ปี และ ย้ายไปเรียนที่วัดพงช้างเผือก เมื่ออายุได้ 15 ปี จึงกลับมาช่วยบิดา – มารดา ทำสวน ครั้นอายุครบ 20 ปี ท่านจึงได้อุปสมบท ที่วัดวังหว้า
พ.ศ.2463 สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ.2464 เป็นเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ( ขณะนั้นอายุได้ 24 ปี )
พ.ศ.2474 ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ และ ได้รับสมณศักดิ์พระครูชั้นประทวน
พ.ศ.2479 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ
พ.ศ.2491 ได้เลื่อน สมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ พระครูสุตพลวิจิตร
พ.ศ.2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
ต่อมาเมื่อท่านอายุสุงขึ้น สุขภาพพลานามัยไม่สมบูรณ์แข้งแรง และ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ และ สมณกิจ ในตำแหน่งได้ดีเท่าที่ควร ท่านจึงขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะตำบล เมื่อ พ.ศ.2507
หลวงปู่มรณะภาพ ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2540 รวมสิริอายุได้ 100 ปี 1 เดือน 11 วัน
**เหรียญนี้สภาพสวย พร้อมกล่องเดิม พิเศษเนื้อเงิน ให้บูชาเบาๆ300บาทไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
-
-
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
-
ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
หน้า 4 ของ 25