วันที่ศาสนาพุทธหายไปจากอินเดีย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    วันที่'ศาสนาพุทธ'หายไปจากอินเดีย

    วันที่ศาสนาพุทธ หายไปจากอินเดีย



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    วัดพุทธฝ่ายตันตรยานที่รัตนคีรี รัฐโอริสสา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ปกติตำราเรียนพุทธศาสนาของไทยเราที่ร่ำเรียนกันมานาน บ่งบอกว่าศาสนาพุทธเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ชัดเจนมากขึ้น ข้อมูลก็ยักย้ายมาว่าศาสนาพุทธเกิดที่เนปาล

    ข้อเท็จจริงเรื่องนี้มีนักการศาสนา หรือผู้เชี่ยวชาญ แม้แต่นักประวัติศาสตร์ได้เขียนหนังสือไว้ให้อ่านกันหลายเล่ม

    แต่วันนี้มีหนังสือชื่อ "ตามรอยพระพุทธเจ้า" ออกมาวางบนแผง ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องของศาสนาพุทธ

    ที่จริงเรื่องนี้เคยทำเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท แล้ว และจบไปเมื่อไม่นาน

    ตอนเป็นสารคดีทางโทรทัศน์น่าติดตามและน่าสนใจมาก ดังนั้น จึงได้ถ่ายทอดมาเป็นหนังสือไว้ให้สามารถหยิบอ่านกันได้ทุกเมื่อ

    เรื่องราวของประวัติศาสตร์อ่านกันเมื่อไหร่ก็ไม่มีวันเบื่อ

    "ตามรอยพระพุทธเจ้า" เป็นของแพรวสำนักพิมพ์ พิมพ์ออกเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ก เล่มหนาพอสมควร จำหน่ายราคาเล่มละ 225 บาท เนื้อหาภายในเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ และเป็นการนำเสนอเพื่อให้เห็นว่าพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่จริง แต่เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ได้ใช้ความเพียรพยายามจนค้นพบกฎแห่งความจริงของธรรมชาติที่เรียกว่า "ธรรม" และนำสิ่งนั้นมาประกาศต่อชาวโลก ในขณะที่สภาพของสังคมอินเดียยุคนั้นเต็มไปด้วยความเชื่อเรื่องของเทพเจ้า และปาฏิหาริย์ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    สาธุนับถือพระวิษณุ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นอกจากนี้ยังบอกเล่าถึงความรุ่งเรืองถึงขีดสุดจนถึงการเสื่อมถอยจนพุทธศาสนาแทบจะสูญหายไปจากแผ่นดินอินเดีย

    ประเด็นหลังนี้ มีบอกเล่าในหนังสือเล่มดังกล่าว เป็นการตอบคำถามที่หลายคนอาจสงสัยเช่นกันว่า

    "ศาสนาพุทธหายไปจากอินเดียได้อย่างไร?"

    คำตอบจากหนังสือ "ตามรอยพระพุทธเจ้า" สรุปออกมาให้ทราบกัน..

    ..ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ที่ตั้งของเมืองมถุรา ซึ่งในวรรณกรรมมหาภารตะ กล่าวว่าเป็นบ้านเกิดของพระกฤษณะ

    ที่นี่จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูเดินทางมาแสวงบุญกันเป็นประจำ พวกเขาเคารพนับถือและผูกพันกับพระกฤษณะอย่างมาก เพราะเป็นทั้งวีรบุรุษและเทพเจ้าผู้ทรงความยุติธรรมในมหาภารตะที่ชาวอินเดียทุกคนรู้จักอย่างดี ส่วนคัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ที่อ่านได้เฉพาะคนในวรรณะพราหมณ์เท่านั้น

    ลัทธิวิษณุอวตารเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ศาสนาพราหมณ์ในยุคนั้น

    ในคัมภีร์พระเวทกล่าวไว้ว่า เมื่อย่างเข้าสู่กลียุค พระวิษณุได้อวตารมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อสอน

    "อธรรม" แก่เหล่าอสูร เป็นการชักพาศัตรูของเทพยดาให้หลงผิดและออกไปเสียจากศาสนาฮินดู

    *เหตุนี้ถ้าใครหันมานับถือศาสนาพุทธจะถูกมองว่าเป็นพวกอสูรหรือศัตรูของเทพเจ้า*

    ในยุคนั้นได้เกิดการเผชิญหน้ากันทางความคิดเพื่อแย่งชิงมวลชนให้เข้ามานับถือลัทธิ ศาสนาของตน แม้แต่ชาวพุทธเองก็ได้ตอบโต้ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าว โดยสร้างรูปพระโพธิสัตว์ทำท่าหยาบหยามรูปเทพเจ้าและศาสดาต่างลัทธิ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่ใช่หลักคิดของพุทธที่ยึดถือในเรื่องเหตุผลและคุณธรรม

    ศาสนาพุทธเองนั้น เมื่อเข้าสู่ยุคมหายาน ก็ได้แตกเป็นนิกายต่างๆ อีกมากมาย พระสงฆ์ต่างมุ่งศึกษาคิดค้นหลักปรัชญาความคิดที่ลึกซึ้ง ซับซ้อน มากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่พระธรรมเคยเป็นแนวปฏิบัติใช้ในชีวิตจริง ก็กลายเป็นของยากสำหรับสามัญชน

    *กลายเป็นเรื่องของนักปราชญ์ในวัด ชาวบ้านทั่วไปไม่เข้าใจว่าพุทธศาสนาคืออะไร?*

    จนกล่าวกันว่าความรุ่งโรจน์ของมหาวิหารพุทธในเมืองใหญ่ได้ดึงดูดให้พระสงฆ์เข้าศึกษาพุทธปรัชญากันมากมายจนว่างเว้นการออกเผยแผ่พระธรรมสู่ชาวบ้านในชนบท

    พอพุทธศตวรรษที่ 14 เกิดลัทธิตันตระที่ค่อยๆ ซึมซับเข้าสู่แนวคิดของพุทธมหายานมาเรื่อยๆ จนในที่สุดพุทธศาสนานิกายตันตระยานก็ได้เกิดขึ้นอย่างเต็มตัว ในพระอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละ

    พุทธตันตรยานถือว่า "ตัณหา" เป็นเพียงสิ่งลวง เป็นมายา การปลดเปลื้องตัวเองให้พ้นจากอำนาจของตัณหา ไม่ใช่การทำลาย แต่จะต้องเปลี่ยนให้เป็นความรู้แจ้งเห็นจริง คือ ปัญญา จึงสามารถหลุดพ้นจากบ่วงตัณหาได้

    มาถึงเวลานี้ "ศาสนาพุทธ" และ "ศาสนาฮินดู" ก็ละม้ายคล้ายคลึงกันเข้าไปทุกที โดยเฉพาะเมื่อพุทธนำหลักตันตระมาใช้เช่นเดียวกับฮินดูตันตระ

    แม้ว่า "พุทธตันตระ" จะมีจุดมุ่งหมายแท้จริงอยู่ที่การบรรลุโพธิญาณเหมือนพุทธนิกายอื่น แต่ความซับซ้อน สูงส่ง ของหลักปรัชญาอาจทำให้คนส่วนใหญ่สัมผัสได้เพียงเปลือกนอก จนไขว่เขวไปจากจุดมุ่งหมายเดิมของพระพุทธเจ้า

    จนกล่าวกันว่าการที่พุทธบริษัทในสมัยนั้นให้ความสำคัญกับเวทมนตร์คาถาและพิธีกรรมมากจนเกินไป จนไม่ใส่ใจแก่นแท้ของคำสอน ทำให้ศาสนาพุทธเข้าสู่ยุคเสื่อมโทรมที่สุดของประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย

    หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสุดท้ายของศาสนาพุทธในอินเดีย เป็นเหตุให้ประทีปแห่งพุทธศาสนาอ่อนแสงลงอย่างมาก จนไม่อาจต้านทานแรงลมใดๆ

    กระทั่งเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 18 นักรบชาวเติร์กก็ได้ยกทัพเข้ามาถึงอินเดียตะวันออก และทำลายอาณาจักรในลุ่มแม่น้ำคงคา ตลอดจนวัดวาอาราม มหาวิทยาลัยสงฆ์อย่างสิ้นซาก

    *ศาสนาพุทธก็ถึงคราวดับสูญไปจากอินเดียในที่สุด*


    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra04270949&day=2006/09/27
     
  2. A~MING

    A~MING เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,734
    ค่าพลัง:
    +1,730
    ขอบพระคุณที่นำเรื่องดีๆ มาฝากนะคะ ^_^
     
  3. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    อนุโมทนา กับ พุทธศาสนา ที่ได้อยู่ให้เราได้เกิดมาชื่นชมกันทัน ก่อนที่อีกไม่กี่พันปี ก็จะสลายไป ดั่งพุทธทำนายครับ เพราะ ฉะนั้น ควรเร่งปฏิบัติตามคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าเถิด อย่าช้าอยู่เลย ครับ ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กันยายน 2006
  4. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

    <TABLE cellPadding=5 width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] ความหมาย</TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 align=left bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>
    [​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระพุทธศาสนา (Buddhism) คือ ศาสนาที่ถือว่าธรรมะเป็นความจริงสากล ที่ใครก็ตามหากสิ้นกิเลสก็จะพลได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้ และสามารถตั้งพุทธบริษัทปัจจุบันขึ้นได้ คือ พระพุทธโคตม ซึ่งเป็นองค์หนึ่งในบรรดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายที่ได้เคยตั้งพุทธบริษัทมาแล้ว และที่จะตั้งต่อไปในอนาคต ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากที่ตรัสรู้แต่ไม่มีบารมีพอให้ตั้งพุทธบริษัทได้ จึงให้ผลเฉพาะตัวเรียกว่า ปัจเจกพุทธเจ้า

    จึงเห็นได้ว่า จากความสำนึกดังกล่าวข้างต้น ทำให้ชาวพุทธมีใจกว้าง เพราะถือเสียว่าธรรมะมิได้มีในพระพุทธศาสนาของพระโคตมเท่านั้น แต่คนดีทั้งหลายก็อาจจะพบธรรมะบางข้อได้ และแม้แต่ชาวพุทธเอง พระพุทธเจ้าก็ทรงปรารถนาให้แสวงหาและเข้าใจธรรมะด้วยตนเอง พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง คือ ผู้ช่วยเกื้อกูลให้แต่ละคนสามารถพึ่งตนเองในที่สุด "ตนของตนเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง" อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนิกที่แท้จริง คือ ผู้ที่แสวงหาธรรมะด้วยตนเองและพบธรรมะด้วยตนเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า พยายามพัฒนาธาตุพุทธะในตัวเอง


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellPadding=5 width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] ลักษณะคำสอนของพระพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top>ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา คือ เป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ กล่าวคือ เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ทั้งความเป็นจริงและข้อธรรมได้ดีเยี่ยมเป็นพิเศษ เช่น วิเคราะห์จิตได้ละเอียดลอออย่างน่าอัศจรรย์ใจ วิเคราะห์ธรรมะออกเป็นข้อ ๆ อย่างละเอียดสุขุมและประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบที่แน่นแฟ้น หากจะพยายามอธิบายธรรมะข้อใดสักข้อหนึ่ง ก็จะต้องอ้างถึงธรรมะข้ออื่นๆ เกี่ยวโยงไปทั้งระบบ วิธีการวิเคราะห์ธรรมะอย่างนี้ บางสำนักของศาสนาฮินดูได้เคยทำมาบ้าง แต่ก็ไม่สามารถทำได้เด่นชัดอย่างธรรมะที่สอนกันในพระพุทธศาสนา จึงควรยกย่องได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ และเมื่อกล่าวเช่นนี้ก็มิได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาไม่สนใจด้านอื่นๆ ทั้งมิได้หมายความเลยไปถึงว่าศาสนาอื่นๆ ไม่รู้จักวิเคราะห์ หามิได้ ต้องการหมายเพียงแต่ว่าพระพุทธศาสนาเด่นกว่าศาสนาอื่นๆ ในด้านวิเคราะห์เท่านั้น และถ้าหากศาสนาต่างๆ จะพึ่งพาอาศัยกันและกันก็พระพุทธศาสนานี่แหละสามารถให้ตัวอย่างในการวิเคราะห์ข้อธรรมะได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่ศาสนาอื่นๆ อาจจะบริการด้านอื่นๆ ที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเด่นชัด เช่น ศาสนาพราหมณ์ในเรื่องจารีตพิธีกรรม ศาสนาอิสลามในเรื่องกฎหมาย เป็นต้น แต่ทั้งนี้แล้วแต่ว่าสมาชิกแต่ละคนของแต่ละศาสนาจะสนใจร่วมมือกันในทางศาสนามากน้อยเพียงใด


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellPadding=5 width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] บ่อเกิดของพระพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 align=left bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>
    [​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>แม้ชาวพุทธจะมีความสำนึกว่า สัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีมาแล้วมากมายในอดีต และจะมีอีกมากมายต่อไปในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม คำสอนของอดีตพระพุทธเจ้าไม่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษาได้อีกแล้ว ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จะมาในอนาคตก็ยังไม่มีใครรู้ ดังนั้น บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันจึงมาจากคำสอนของพระพุทธโคตมแต่องค์เดียว คำสอนของนักปราชญ์อื่นๆ ทั้งในและนอกพระพุทธศาสนา อาจจะเสริมความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ แต่ไม่อาจจะถือว่าเป็นบ่อเกิดของพระพุทธศาสนา
    อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนไว้ว่า ความรู้ที่พระองค์ทรงรู้จากการตรัสรู้นั้นมีมากราวกับใบไม้ทั้งป่า แต่ที่พระองค์นำมาสอนสาวกนั้นมีปริมาณเทียบได้กับใบไม้เพียงกำมือเดียว พระองค์ไม่อาจจะสอนได้มากกว่าที่ได้ทรงสอนไว้ ดังนั้น หากมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้น ให้ตกลงกันด้วยสังคายนา (ร้องร่วมกัน) คือ ประชุมและลงมติร่วมกัน ส่วนในเรื่องธรรมวินัยปลีกย่อย หากจำเป็นก็ให้ประชุมตกลงปรับปรุงได้ ดังนั้น บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งก็คือสังคายนา สังคายนาจึงกลายเป็นเครื่องมือให้เกิดการยอมรับร่วมกันในหมู่ผู้ยอมรับสังคายนาเดียวกัน แต่ก็เป็นทางให้เกิดการแตกนิกายโดยไม่ยอมรับสังคายนาร่วมกัน นิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้น เพราะการยอมรับสังคายนาต่างกัน และนิกายต่างกันนั้นก็ยอมรับคัมภีร์และอรรถกถาที่ใช้ตีความคัมภีร์ต่างกัน
    อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธแม้จะต่างนิกายกันก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน ทำบุญร่วมกันได้ และร่วมมือในกิจการต่างๆ ได้ ผู้ใดนับถือพระพุทธเจ้าและแม้จะนับถือสิ่งอื่นด้วย เช่น พระพรหม พระอินทร์ ไหว้เจ้า หรือภูตผีต่างๆ ก็ยังถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน มิได้มีความรังเกียจเดียดฉันกันแต่ประการใด ดังนั้น การที่จะมีบ่อเกิดเพิ่มเติมแตกต่างกันไปบ้าง ตราบใดที่ยังยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันเป็นส่วนมาก ก็ไม่ถือว่าต้องแตกแยกกัน



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellPadding=5 width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD height=28>[​IMG] คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top>เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด
    เนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellPadding=5 width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD height=28>[​IMG] นิกายมหายาน</TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 align=left bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>
    [​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้" (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่า แค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย และไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดลงไปว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ที่แน่ชัดก็คือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศต.1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกของฝ่ายเถรวาท
    ฝ่ายมหายานมิได้ปฎิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดมีความสำนึกร่วมขึ้นมาว่า นามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระ ไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญไปโดยการเผาเป็นเพียงภาพมายา พระธรรมกายของพระองค์อันเป็นธาตุพุทธะบริสุทธิ์ยังคงอยู่ต่อไป มนุษย์ทุกคนมีธาตุพุทธะร่วมกับพระพุทธเจ้า หากมีกิเลสบดบังธาตุพุทธะก็ไม่ปรากฏ กิเลสเบาบางลงเท่าใดธาตุพุทธะก็จะปรากฏมากขึ้นเท่านั้น มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและมีความสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า หากได้ฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยเมตตาบารมี พระโพธิสัตว์จึงมีมากมาย พระโพธิสัตว์ทุกองค์ย่อมเสริมงานของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก เมื่อสำนึกเช่นนี้ ฝ่ายมหายานจึงมีคัมภีร์ในระดับเดียวกับพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นอีกมากและอาจจะเพิ่มต่อไปได้อีก หากยอมรับหรือมีศรัทธาต่อพระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน ความสำนึกและการแสดงออกก็ย่อมจะผิดเพี้ยนกันออกไปได้ ทำให้มีลัทธิต่างๆ มากมายในนิกายมหายาน และอาจจะเกิดใหม่ต่อไปได้อีก แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกในศาสนาหรือนิกาย เพราะทุกลัทธิย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายาน ด้วยเหตุผลเช่นนี้แหละฝ่ายมหายานจึงภูมิใจว่านิกายของตนใจกว้าง เป็นยานใหญ่ สามารถบรรทุกคนได้มาก และบันดาลใจให้ผู้มีจิตศรัทธาบำเพ็ญเมตตาบารมีได้อย่างกว้างขวาง อย่างที่มูลนิธิหัวเฉียวแห่งประเทศไทยพิสูจน์ตัวเองให้เห็นอยู่


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellPadding=5 width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD height=28>[​IMG] การวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top>ผู้ใดสนใจคงได้ศึกษาตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนามาแล้วไม่มากก็น้อย จนพอจะสังเกตได้ว่า เมื่อกล่าวถึงธรรมะข้อใดในพระพุทธศาสนา ก็มักจะไม่กล่าวลอยๆ แต่จะต้องมีจำนวนเลขกำกับแสดงการวิเคราะห์หรือการจำแนกธรรมด้วยเสมอ เช่น อริยสัจ 4, มรรค 8, ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10, ศีล 227, มงคล 38, กรรมฐาน 40, เจตสิก 52, จิต 89, จิต121 เป็นต้น
    ให้สังเกตด้วยว่า การวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนานั้นมิได้วิเคราะห์ชั้นเดียวแล้วจบ แต่มีการวิเคราะห์ต่อๆ ไปอีกหลายชั้นหลายเชิงเกี่ยวโยงกันทั้งหมด ไม่ใช่เหมือนสายโซ่ แต่เหมือนอวนผืนใหญ่ที่ตาทุกตาของอวนมีสายโยงถึงกันได้ทั้งหมด จะขอยกให้ดูเป็นตัวอย่างการศึกษาเท่านั้น เช่น การวิเคราะห์จิต และเจตสิก เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการมองตน รู้ตน และพัฒนาตน ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ธรรมะเรื่องใดเพิ่มเติมอีกเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellPadding=5 width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD height=28>[​IMG] ชีวประวัติของพระพุทธเจ้า</TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตั้งแต่ตรัสรู้ถึงปรินิพพานเป็นระยะเวลา 45 พรรษา พระองค์จาริกไปยังแว่นแคว้นต่างๆ ในชมพูทวีปตอนเหนือ เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระองค์ พร้อมทั้งอบรมสาวกตั้งพุทธบริษัทขึ้นอย่างมั่งคั่ง ยากที่จะเรียงลำดับได้ว่าปีใดพระองค์เสด็จไป ณ ที่ใดและทรงสั่งสอนอะไรบ้าง เท่าที่นักวิจารณ์ได้พยายามวิจัยไว้พอจะเรียบเรียงได้ตามช่วงการเข้าพรรษาของพระองค์ในที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
    พรรษาที่ 1 ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ณ คืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (กลางเดือน 6) 2 เดือนต่อมา คือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ (กลางเดือน 8) ทรงเทศนาโปรดเบญจวัคคีย์ (คณะ 5 คน) ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ด้วยธรรมจักกัปปวัตนสูนร ต่อมาอีก 5 วันทรงเทศนาโปรดเบญจวัคคีย์ด้วยอนัตตลักขณสูตร วันต่อมาได้พระยสเป็นสาวก ทรงจำพรรษาที่เมืองพาราณสี แคว้นกาสี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตรประเทศ)
    พรรษาที่ 2 เสด็จเสนานิคม ในตำบลอุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ กับศิษย์ 1000 คน ตรัสอาทิตตปริยายสูตรที่คยาสีสะ เสด็จราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ กษัตริย์เสนิยะพิมพสารทรงถวายสวนเวฬุวันแต่พระสงฆ์ ได้สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก 2 เดือนต่อมา เสด็จกบิลพัสดุ์ ทรงพำนักที่นิโครธารามได้สาวกมากมาย เช่น นันทะ ราหุล อานนท์ อุบาลี เทวทัต และพระญาติอื่นๆ อนาถปิณฑิกะอาราธนาสู่กรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ถวายสวนเชตะวันแด่คณะสงฆ์ ทรงจำพรรษาที่นี่
    พรรษาที่ 3 นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่
    พรรษาที่ 4 ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ
    พรรษาที่ 5 โปรดพระราชบิดาจนบรรลุอรหัตผล ทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโรหินี ทรงบวชพระนางปชาบดีโคตมีและคณะเป็นภิกษุณี
    พรรษาที่ 6 ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ในกรุงาสวัตถี ทรงจำพรรษาบนภูเขามังกลุบรรพต
    พรรษาที่ 7 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาเสด็จขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โปรดพระมารดาด้วยพระอภิธรรม
    พรรษาที่ 8 ทรงเทศนาในแคว้นภัคคะ ทรงจำพรรษาในสวนเภสกลาวัน
    พรรษาที่ 9 ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี
    พรรษาที่ 10 คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีแตกแยกอย่างรุนแรง ทรงตักเตือนไม่เชื่อฟัง จึงเสด็จไปประทับและจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์และรับใช้ตลอดเวลา
    พรรษาที่ 11 เสด็จกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา
    พรรษาที่ 12 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา เกิดความอดอยากรุนแรง
    พรรษาที่ 13 ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
    พรรษาที่ 14 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถึ ราหุลอุปสมบท
    พรรษาที่ 15 เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ สุปปพุทธะถูกแผ่นดินสูบเพราะขัดขวางทางผ่าน
    พรรษาที่ 16 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่อาลวี
    พรรษาที่ 17 เสด็จกรุงสาวัตถี กลับมาอาลวีและทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
    พรรษาที่ 18 เสด็จอาลวี ทรงจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
    พรรษาที่ 19 ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
    พรรษาที่ 20 โจรองคุลีมาลกลับใจเป็นสาวก ทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ ทรงเริ่มบัญญัติพระวินัย
    พรรษาที่ 21-44 ทรงยึดเอาเชตะวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์เผยแผ่และที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่างๆ โดยรอบ
    พรรษาที่ 45 และสุดท้าย ปรากฎในมหาปรินิพพานสูตร มหาสุทัสนสูตร และชนวสภสูตร ความว่า พระเทวทัตปองร้ายพระพุทธเจ้าบริเวณเขาคิชฌกูฎใกล้กรุงราชคฤห์ ถึงกับพระบาทห้อโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวก วัสสการเข้าเผ้า เสด็จอัมพลัฎฐิกา นาลันทา และปาฎลิคามตามลำดับ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่โตมดิตถ์ เสด็จต่อไปยังโกฎิคาม นาทิคาม และเวสาลี ทรงพำนักในสวนของนางคณิกาอัมพปาลี เสด็จจำพรรษาที่เวฬุวัน ทรงเริ่มประชวร และ 3 เดือนต่อมาเสด็จสู่ปรินิพพานในเมืองกุสินาราแห่งแคว้นมัลละ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    และ สำหรับผู้ที่สนใจอยากรู้ข้อมูล " ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย " เชิญหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ


    [​IMG]

    >> Click <<

    ข้อมูล : [​IMG]

    _____________________________________

    อนุโมทนาสาธุอย่างยิ่งครับ (f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กันยายน 2006
  5. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,981
    วันที่ศาสนาพุทธ หายไปจากอินเดีย

    โอ้... ขออย่าให้ประเทศไทยเป็นเช่นนั้นเลย ยินดีกับทุกคนที่เกิดมาในยุคนี้ ยุคที่คนยัง get พระพุทธศาสนาอยู่ และในยุคเดียวกับพ่อหลวงของเรา ขอให้กอบโกยเพชรลอยในพุทธศาสนาเอาไปให้มากที่สุดนะครับ สาธุ
     
  6. motana

    motana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +233
    พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาจะไม่ไปไหนตราบใดที่ยังมีคนปฏิบัติธรรมดั่งคำที่พระพุทธองค์ทรงตรัสประทานไว้
    "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา"
     
  7. cpari

    cpari เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +184
    รู้สึกว่าวัฏจักรแห่งความเสื่อมใกล้เข้ามาทุกทีๆ แล้ว ขอให้พุทธศาสนิกชนจึงถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ดำรงอยู่นานที่สุดเถิด
     
  8. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,093
    ค่าพลัง:
    +62,396
    ยังไงๆ แก่นแท้ของธรรม ยังคงอยู่ไม่สูญหายแน่นอนครับ
    คัมภีร์หลายตอนของแต่ละศาสนาอาจถูกตัดทอนเปลี่ยนแปลงได้
    "ศาสนา"เกิดขึ้นเพื่อนำทาง อยู่ที่ผู้ปฎิบัติธรรมร่วมจรรโลงไว้
    แต่ธรรมชาติของพุทธะก็อยู่ในตัวเราทุกคน ค้นหาให้พบนะครับ...


     
  9. ren

    ren เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +2,646
    คิดถึงพระพุทธเจ้าจัง *_*
     
  10. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,672
    ค่าพลัง:
    +51,946
    ****************
    ศาสนาพุทธ มิสูญหาย
    ****************

    ศาสนาพุทธ...มิใช่ วัตถุ
    ศาสนาพุทธ....มิใช่ คน
    ศาสนาพุทธ...คือ ความจริง

    ศาสนาพุทธ...จึง ไม่มีเสื่อม ไม่สูญหาย
    แต่....เสื่อมที่ คนนับถือ

    ศาสนศาสตร์...มีหนึ่งเดียว
    คือ ศาสนา....ที่กล่าวถึง "หลักสัจจะธรรม"

    ศาสนาพุทธ...ดูเหมือน เสื่อม
    เพราะ....คน
    นำ...ความเชื่อ และ พิธีกรรม ....นอกศาสนา เข้ามาปะปน
    จนบดบัง...แก่นคำสอน...ในพุทธศาสนาที่แท้จริง

    สาวกในพุทธศาสนา...มิได้เริ่มบันทึก ทุกเหตุการณ์ ครั้งพระพุทธกาล
    แต่...ทุกย่างก้าว ของพระพุทธเจ้า....ถูกบันทึกไว้โดย พราหมณ์ !!!
    คำสั่งสอนต่างๆ ในปัจจุบัน...จึง ผิดเพี้ยน...ยากยิ่งนัก ที่จะนำพาให้หลุดพ้น สู่นิพพานได้ !!!



    “ ครึ่งทาง” :eek:
    ยามสิบหกครึ่งสามสิบสอง...ถึงครรลองกึ่งพุทธกาล....ธรรมเที่ยงหมอกบดบัง...จำมีผู้สืบทอดต่อไป<O:p</O:p
    โลกนี้แสนน่าอนาทร....คำสอนท่านกลับสูญหาย...ต่างหลงต่างงมงาย....ทำจนตายบ่ได้ธรรม<O:p</O:p
    โลกุตตระมาปรากฏ...พระไตรปิฎกมาสอนธรรม....หาผู้อ้างอิงธรรม...เป็นหลักฐานสู่จักรวาล<O:p</O:p
    การกระทำผองชาวไทย....ค้าขายพระหน้าตาเฉย....ศาสดาท่านกล่าวเคย...เลยทำลายศาสนาตน <O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ---------------------------
    รีบค้นหา "สัจจะธรรม"
    อ่าน ศึกษา พิจารณาทุกถ้อยคำ
    ในกระทู้ "แก่นพุทธศาสนา...เท่าปลายเข็ม...สัจจะ"
    และกระทู้ "ที่พึ่งสุดท้าย คือ สัจจะ...กับ....โลกุตตระ"


    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2006
  11. {ผู้ชนะสิบๆทิศ}

    {ผู้ชนะสิบๆทิศ} เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +917
    ขอให้ศาสนาพุทธได้ช่วยสรรพสัตว์ให้มากต่อมากก่อนที่จะสูญหายไปจากโลกนี่ด้วยเถิด สาธุ
     
  12. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีมาก็หลายพระองค์แล้ว พระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็มีมาหลายสิบพระองค์แล้วและในอีกไม่นานพระศรีอาริยะเมตตรัยก็จะมาช่วยพระศาสนาของพระสมนโคดมในแดนสยามให้รุ่งเรืองอีกครั้ง ใยพวกเรายังต้องกลัวว่าว่าจะสูญหายไปจากแดนสยามด้วยเล่า จงทำใจให้สบายและเตรียมพร้อมกับการมาของพระศรีอารย์ดีกว่าครับพวกเราจะทำอะไรกันได้บ้างอยู่ที่การฝึกปฏิบัติธรรมของเรานั่นเองจะเป็นสิ่งที่จะบอกเราได้
     
  13. Forest_Sa

    Forest_Sa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,444
    คำสอนที่ดี อยู่ที่คนปฏิบัติ

    ผมว่าเราโชคดีนะที่เกิดมาในดินแดนพุทธและนับถือพุทธนี่
    ถือว่าเรามีบุญพอสมควรอยู่ ว่ามั้ย

    คุณว่ามีความเป็นไปได้มั้ยที่พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปเป็นคนไทย
    เพราะศาสนาพุทธ ประดิษฐานมั่นคงมากในไทย
     
  14. Forest_Sa

    Forest_Sa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,444
    อย่าลืมสิ ครับ ว่าท่านเคยบอกแล้ว ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

    ผมว่าทำอย่างที่ท่านบอก รับรองลึกซึ้งกว่าคิดถึงอีกนะ
     
  15. เจสุน ลาโม

    เจสุน ลาโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2006
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +218
    น่าเสียดายเนอะ
     
  16. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    ‘นาลันทา’
    มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก


    [​IMG]

    บัญชา ธนบุญสมบัติ buncht@mtec.or.th



    หากถือว่ามหาวิทยาลัยมีความสำคัญ เพราะอาจใช้เป็นดัชนีที่สะท้อนความรู้ และศักยภาพของสังคมหนึ่งๆ ก็น่ารู้ไว้ว่า มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกนั้นเกิดขึ้นในอินเดีย ภายใต้วัฒนธรรมพุทธศาสนานี่เอง


    [​IMG]


    ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึง นาลันทามหาวิหาร (Nalanda Mahavihara) ซึ่งฝรั่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยนาลันทา ทั้งนี้เพราะแม้สถานที่แห่งนี้จะเริ่มจากการเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาก่อนในระยะแรก

    แต่ต่อมาได้ขยายขอบข่ายวิชาการครอบคลุมสาขาวิชาอื่นๆ เช่น การแพทย์ กฎหมาย และดาราศาสตร์ อีกทั้งยังรับคฤหัสถ์เข้าเรียนด้วย


    จริงๆ แล้ว หากคิดเฉพาะแค่การศึกษาทางพุทธศาสนา ก็อาจถือได้ว่านาลันทาเป็นสถานศึกษานานาชาติอีกด้วย เพราะพระสงฆ์ที่มาร่ำเรียนที่นี่ ไม่ได้มีเฉพาะพระอินเดียเท่านั้น พระจากทิเบตก็มี พระจากจีนก็มา แถมยังมีพระจากอาณาจักรศรีวิชัยอีกต่างหาก



    คำว่า นาลันทา หมายถึงอะไร? มาจากไหน?


    เรื่องนี้มีข้อสันนิษฐานหลายอย่าง เพราะบ้างก็ว่ามาจากคำว่า นาลัน (ดอกบัว) + ทา (ให้) หมายถึง ให้ดอกบัว โดยมีตำนานเสริมว่า บริเวณนี้มีดอกบัวมาก จึงเป็นเสมือนสถานที่ให้ดอกบัว บ้างก็ว่ามาจาก น + อลัง + ทา หมายถึง ให้ไม่รู้จักพอ ความหมายอย่างนี้ฟังแล้วงงๆ แต่อาจจะชัดเจนขึ้น หากได้อ่านบันทึกของพระถังซำจั๋ง ความตอนหนึ่งว่า

    "ผู้สูงอายุเล่าสืบมาว่า มีสระแห่งหนึ่งในป่าอามรเบื้องใต้ของอาราม พญานาคที่อาศัยอยู่ในสระนามว่า นาลันทา เมื่อมาสร้างอารามอยู่ใกล้สระ จึงตั้งชื่อสระตามชื่อนาค
    แต่ความหมายที่แท้จริงแล้วคือ เมื่อครั้งพระตถาคตเจ้าเสวยพระชาติโพธิสัตว์เป็นพระราชาของแว่นแคว้นใหญ่แคว้นหนึ่ง ได้สร้างราชธานี ณ ที่แห่งนี้ พระองค์มีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ทรงมีความยินดีในการบริจาคทานแก่ผู้ยากไร้ ผู้คนทั้งหลายจึงสรรเสริญ ยกย่องพระองค์ว่า ผู้ไม่เบื่อในการให้ทาน เมื่อสร้างอารามเสร็จก็ขนานนามอารามตามชื่อนี้"

    [​IMG]

    แล้วนาลันทามหาวิหารสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อไร?
    เรื่องนี้ดูเหมือนจะยังไม่ชัด เพราะเอกสารบางแห่งระบุว่าราวปี พ.ศ. 993 แต่หากเชื่อแหล่งข้อมูลของทิเบตซึ่งระบุว่า ปราชญ์คนสำคัญของพุทธศาสนานิกายมหายาน คือ พระนาคารชุน (Nagarajuna) เคยมาอยู่ที่นาลันทานี้ ก็จะสรุปว่านาลันทาน่าจะสร้างก่อนช่วงปี พ.ศ. 613-713 ซึ่งเป็นช่วงสมัยของนาคารชุน (ช่วงอายุของนาคารชุนที่ให้ไว้นี้ เอกสารแหล่งอื่นๆ อาจจะให้ตัวเลขต่างกันไป)

    ส่วนบันทึกของพระถังซำจั๋งก็เล่าไว้ว่า พระเจ้าศักราทิตย์ (จีนสมัยถังเรียกว่า ตี้เย่อ) เป็นผู้สร้างอารามแห่งนี้เป็นคนแรก โดยกษัตริย์องค์ต่อๆ มาได้สร้างอารามหลังอื่นทางทิศต่างๆ เพิ่มเติม โดยพระถังซำจั๋งเขียนไว้ว่า

    "… บริเวณอารามทั้งหมดนี้มีกำแพงเดียวกันสูงล้อมรอบ และมีประตู [เข้าออก] เดียวกัน จากการก่อสร้างของกษัตริย์หลายยุคหลายสมัย ที่นี่จึงเป็นอารามที่จำหลักกันอย่างสุดฝีมือ วิจิตรโอฬารหาใดเทียม"

    ในยุคแรกๆ นั้น นาลันทามหาวิหารนับเป็นแหล่งชุมนุมของนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน) มากมาย เช่น นาคารชุน อสังคะ ทินนาค และท่านอื่นๆ อีกหลายท่าน รวมทั้งพระถังซำจั๋ง จึงนับเป็นศูนย์กลางในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พุทธศาสนา

    อย่างไรก็ดี ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ได้ชี้ให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือ การที่มีอาจารย์เก่งๆ มากระจุกรวมกันนี่เอง ทำให้พระดีมีความสามารถมุ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง ผลก็คือวัดพุทธในชนบทได้อ่อนแอลง จนทำให้วัดฮินดูเข้มแข็งขึ้น จนในที่สุด วัดพุทธในชนบทก็ถูกฮินดูกลืนไป
    ส่วนในตัวนาลันทาเองนั้น เมื่อพระอยู่สบาย คือ ได้รับการอุปถัมภ์จากทางการอย่างดี ก็เลยขาดความสัมพันธ์กับชาวบ้าน แถมตัวพระเองก็หันไปสนใจเรื่องทางปรัชญา อภิปรัชญา หรือถกเถียงกันด้วยเหตุผล และทฤษฎีต่างๆ อีกทั้งยังมัววุ่นวายกับพิธีกรรมต่างๆ มากมาย


    [​IMG]

    ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ทำให้พระห่างจากการปฏิบัติ นั่นคือ มัววุ่นกับเปลือกจนลืมแก่น และเหตุการณ์ทำนองนี้ไม่ได้เกิดกับกับนาลันทามหาวิหารเท่านั้น แต่สถาบันทางพุทธศาสนาใหญ่ๆ ในช่วงเวลานั้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
    ในที่สุด อวสานที่แท้จริงก็มาถึง เมื่อกองทัพเติร์กซึ่งทำสงครามชิงดินแดนไล่มาเรื่อยบุกมาถึงนาลันทาในปี พ.ศ. 1736 โดยเผาทำลายอาคาร ส่งผลให้พระสงฆต้องหนีกระจัดกระจายไป สิ้นสุดพุทธศาสนาในอินเดีย

    ซากปรักหักพังของนาลันทามหาวิหาร อาจทำให้เรานึกได้ว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธศาสนาในอินเดียได้เจริญรุ่งเรืองอย่างสูง แต่ก็ได้ผันผวนตกต่ำลงไปตามหลักเหตุปัจจัย อันเป็นหลักสำคัญในพุทธธรรมนั่นเอง

    ขุมทรัพย์ทางปัญญา ขอแนะนำหนังสือ จาริกบุญ จารึกธรรม เขียนโดยท่านพระธรรมปิฎก (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) สนพ.มูลนิธิพุทธธรรม (ISBN 974-7890-74-7) หน้า 46-66 และถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง เขียนโดย ชิว ซูหลุน สำนักพิมพ์มติชน (ISBN 974-323-332-6) หน้า 379-386



    ที่มา : <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]



    </TD><TD vAlign=top align=right>[​IMG]
    [​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=260 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=F1 vAlign=center>ฉบับที่ 384 วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2549</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ภาพประกอบจาก www.beva.org
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...