วันนี้ของ "ปาว" สองล้อ..สู่รถตู้กู้ชีวิต

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 15 พฤษภาคม 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    คอลัมน์ สดจากเยาวชน

    ปฤษณา กองวงค์



    [​IMG]"คนเก่งมีมาก แต่ที่หายากคือคนดี การมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่นเป็นความสุขที่แท้จริง"

    คติของ "ปาว" นายภาณุพงศ์ ลาภเสถียร วัย 22 ปี หนึ่งในอาสาสมัครหน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

    ผ่านมาแล้วกว่า 5 ปี หลายคนคงคุ้นเคยภาพของปาวปั่นจักรยานคู่ใจที่พ่อซื้อให้เป็นของขวัญวันเกิด ออกตระเวนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ และยึดพื้นที่หน้าอนุสาวรีย์พระแม่ธรณีบีบมวยผมเป็นฐานประจำการ

    แต่หลังจากประสบอุบัติเหตุ จักรยานที่มีเครื่องมือแพทย์ครบครันน้ำหนักร่วม 100 กิโลกรัม เสียหลักล้มทับขาขณะไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บบริเวณท้องสนามหลวง ทำให้กระดูกข้อเท้าข้างซ้ายของปาวหักทั้ง 2 ข้าง เวชภัณฑ์ที่เจียดเงินซื้อมาเสียหาย รถจักรยานพังและต้องหยุดงานอาสาสมัครไประยะหนึ่ง

    มาวันนี้ปาวยังคงร่าเริงสดใส แม้จะเดินลงน้ำหนักมากไม่ได้ เพราะขายังดามเหล็กและมีเลือดคั่งอยู่

    ปาวเล่าว่า "นั่งขัดสมาธิยังไม่ได้เลย นั่งห้อยขามากๆ ก็ปวด ถ้ากระดูกหักตรงหน้าแข้งก็ไม่เป็นไรยังขี่จักรยานได้แต่นี่เป็นตรงจุดหมุนพอดี"

    และนี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปาวไม่สามารถปั่นจักรยานได้อีกตามที่ใจต้องการ

    หลังร่วมรายการอัจฉริยะข้ามคืนซึ่งออกอากาศทางช่อง 3 ทุกคืนวันจันทร์ และคว้าเงินรางวัล 1 ล้านบาท
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    "บางคนบอกว่าผมรวยไปแล้ว เลยไม่ขี่จักรยานซึ่งมันไม่ใช่" น้ำเสียงปาวอัดอั้น ก่อนเล่าต่อว่าทีแรกคิดว่าจะเอาไปเรียนต่อปริญญาโท แต่ยังอยากทำงานอาสาสมัคร จะหยุดทำเพราะขาหักหรือ คงเหมือนนักฟุตบอลที่เตะบอลแล้วขาหัก เขาก็ต้องเลิก ถามว่าเขาอยากเล่นต่อไหม เขาอยากเล่นต่อแต่ไม่มีโอกาส เหมือนผม ถ้าไม่ไปเล่นเกมโชว์ก็ไม่ได้เงิน ก็ต้องหยุดไปโดยปริยาย

    "ถ้าไม่หาวิธีต่อก็จะไม่ได้ทำงานอาสาสมัครนี้อีกเลย ไหนๆ จักรยานก็ขี่ไม่ได้แล้ว จึงต้องหาพาหนะอื่นๆ ที่มีประโยชน์และปลอดภัยกว่า จึงนำเงินที่ได้มาซื้อรถตู้ 3 แสนบาท ไม่รวมค่าซ่อมและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลอีก 5 แสน ทีแรกคิดว่าซ่อมรถคงเหลือค่าน้ำมันบ้าง แต่มันซ่อมเยอะกว่าที่คิค สรุปว่าที่คำนวณค่ารถไว้ไม่มีเหลือ ติดลบอีกต่างหาก"

    จากล่วมยาใบเล็กจุดเริ่มต้นงานอาสาสมัครวันนั้น กลายเป็นถังใบใหญ่ราคาเรือนแสนท้ายจักรยาน ตอนนี้เปลี่ยนเป็นรถพยาบาลสีขาว ป้ายทะเบียน 1 ฝ 6349 กรุงเทพมหานคร ด้านหน้าติดสัญญาณไซเรน ภายในมีถังออกซิเจนถังใหญ่อยู่ข้างคนขับ ส่วนตู้ เปลผู้ป่วย ไม้กระดาน จัดวางเป็นสัดส่วนไว้ตรงกลาง ขณะที่ SUCTION หรือที่ดูดเสมหะหรือของเหลวต่างๆ รวมถึงเครื่องช่วยหายใจ ชุดทำแผล อุปกรณ์วัดความดัน เฝือกแขน คอ หลัง ถูกเก็บไว้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีตู้เก็บของใบเล็ก เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ครบครัน สำหรับปาวแล้วนอกจากผู้ปฐมพยาบาล ยังพ่วงคนขับรถอีกหนึ่งตำแหน่ง <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ปาวเล่าต่อว่า 6 ปีแล้วที่ทำงานอยู่แบบนี้ ยังไม่เหนื่อย และใช้รถตู้มาได้ 6-7 เดือน ค่าน้ำมัน 2 วันเติมครั้ง ก็ราวๆ 1,400 บาท แต่หลังจากสื่อนำเสนอเรื่องราวออกไป การทำงานก็ไม่ยุ่งยาก สะดวกกว่าแต่ก่อน หลายคนเริ่มรู้ว่าทำอะไรอยู่ เรื่องภาระเครื่องเวชภัณฑ์ก็เบาลง และมีโทรศัพท์มาให้กำลังใจ บอกว่าถ้ามีอะไรให้ช่วยเหลือก็ให้โทร.มา แต่ผมไม่เคยโทร.กลับเลย ผมไม่อยากกวนใจ เพราะงานนี้เป็นงานอาสาสมัคร ถ้าเราเดือดร้อนไปเรียกร้อง มันคือการบังคับให้ทำ แต่สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ไม่มีใครบังคับ หากถึงจุดๆ หนึ่งรับภาระไม่ไหวก็ขอพักก่อน

    ช่วงเดือนที่ผ่านๆ มางานเยอะ ยังไม่ถึงสิ้นเดือนมีประมาณ 50 เคส ไม่รวมผู้ที่ไม่ได้ขึ้นรถอีก ซึ่งปกติต้อง 60-70 คน เคสที่พบยังมีหลากหลายทั้งผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ เมาทะเลาะวิวาทและอุบัติเหตุรถชนช่วงเช้ามืด บางวันหนักถึง 8 เคส และทุกๆ ปีช่วงเทศกาลจะไม่ไปไหน อุบัติเหตุเยอะกว่าเดิม เรื่องเที่ยวจะไปเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะชีวิตคนสำคัญกว่า

    ถ้าถามถึงหน่วยงานของภาครัฐยังไม่มีมาช่วยเหลือ ไม่ข้องเกี่ยวการทำงานแค่รับรองการทำงานเท่านั้น และทุกครั้งเวลาทำงานจะมีแบบฟอร์มจดบันทึกเอาไว้เป็นข้อมูล ทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร. อาการผู้ป่วย เลขไมล์ที่วิ่งเป็นระยะทางเท่าไหร่ ใช้อะไรปฐมพยาบาลบ้างเป็นหลักฐาน

    เมื่อก่อนทำคนเดียว เดี๋ยวนี้ทำเป็นทีมต้องแบ่งหน้าที่กัน แต่อยากขี่จักรยานมากกว่า จักรยานไม่มีค่าน้ำมัน ผมได้เงินเดือนเดือนละ 8,000 บาท หักเป็นค่าเช่าห้อง 3,000 บาท ค่ายาอีก 2,000 บาท ใช้จักรยานเสียเหงื่อ แต่รถพยาบาลเหงื่อคือน้ำมัน แต่ก็ไม่สน เราต้องบริหารเงินให้ได้ ไม่มีการขอเพิ่ม แค่ไหนแค่นั้น แต่หารายได้เพิ่มโดยเป็นวิทยากร ออกบรรยายตามสถานที่ต่างๆ หาอะไรที่เราทำแล้วสบายใจเป็นประโยชน์กับสังคมและหนุนกันได้กับงานของเรา ล่าสุดไปเป็นวิทยากรโครงการอบรมเยาวชนอาสาสมัครเครือข่ายชุมชนของศาลจังหวัดตราด

    ตอนนี้ได้ทุนเรียนต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาบริหารงานยุติธรรม ซึ่งรายละเอียดของวิชาจะเน้นไปทางจิตวิทยา

    "เพราะทุกวันนี้สังคมแย่ลง อยากให้ดีกว่านี้ คนเราเห็นแก่ตัวมากขึ้น ไม่เข้มแข็ง กระแสมาก็ไหลตามไป หลายหน่วยงานเริ่มหันมาสนใจเรื่องของเยาวชนมากขึ้น ซึ่งเป็นงานหนักและเป็นเรื่องท้าทายที่น่าติดตาม ว่าจะแก้ไขกันอย่างไรต่อไป"

    ปาวทิ้งท้ายพร้อมกับออกทำงานช่วยเหลือผู้คนต่อไป

    แม้ในวันที่ข้อเท้ามีนอตฝังเพิ่มเข้ามาอีก 8 ตัว
    http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03you02150550&day=2007/05/15&sectionid=0311
     

แชร์หน้านี้

Loading...