วันพระ ???

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย phuang, 17 มีนาคม 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ทำไมวันพระ หรือวันสำคัญทางศาสนา พระจันทร์ถึงเต็มดวง

    เพราะ พระจันทร์โคจรไปตามปกติอยู่แล้ว คนต่างหากที่ไปยึดพระจันทร์เป็นกำหนดเวลาสำคัญ โดยเฉพาะสมัยก่อนไม่ได้มีนาฬิกาหรือปฏิทินแขวนให้ดู คนเราก็ต้องอาศัยธรรมชาติสิ

    สำหรับวันพระไม่ได้มีเฉพาะวันพระจันทร์เต็มดวงเท่านั้น

    วันพระ หมายถึงวันฟังธรรม คือวันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และวันขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 ค่ำ หรือแรม 14 ค่ำในกรณีเดือนขาด

    ประวัติความเป็นมา เริ่มเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชกูฏ เมืองราชคฤห์ ครั้งนั้นนักบวชนอกศาสนาได้ประชุมแสดงธรรมทุกวัน 14 ค่ำ และ 8 ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม ชาวเมืองราชคฤห์ทราบข่าวก็พากันไปฟังธรรม และเกิดความเลื่อมใสมากขึ้นโดยลำดับ

    ต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธทรงทราบข่าวนี้ จึงนำขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า พร้อมขอพระบรมพุทธานุญาตพระสงฆ์ให้ประชุมแสดงธรรมในวันดังกล่าว สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นชอบและประทานอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์แสดงธรรมในวัน 14 ค่ำ 15 ค่ำ และ 8 ค่ำของทุกปักษ์

    ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงให้พระสงฆ์นำสิกขาบท หรือศีลของพระภิกษุ 227 ข้อมาสวดให้กันฟังทำนองทบทวน และตรวจสอบศีลของกันและกันทุกๆ กึ่งเดือน คือทุกวันขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 ค่ำ หรือ 14 ค่ำในเดือนขาด เรียกว่า "การสวดพระปาติโมกข์" และวันดังกล่าวของพระภิกษุเรียกว่า "วันอุโบสถ"

    เมื่อพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย วันธรรมสวนะหรือวันพระ ที่ถือปฏิบัติกันมีเดือนละ 4 วัน คือวันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ หรือแรม 14 ค่ำ กรณีเดือนขาด ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย เรียกวันธรรมสวนะ ขึ้นและแรม 8 ค่ำว่า "วันศีลน้อย และวันขึ้นและแรม 15 ค่ำว่า "วันศีลใหญ่"

    ในปี 2499 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุให้วันธรรมสวนะหรือวันพระ และวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนรำลึกถึงความสำคัญของพุทธศาสนา แต่ต่อมายกเลิกประกาศนี้ โดยให้วันพระเป็นวันทำงานปกติ



    <CENTER>Attached Image</CENTER>
    <TABLE class=fancyborder cellSpacing=0 cellPadding=4 width="50%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...