วันออกพรรษา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 7 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    วันออกพรรษา 1

    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด



    วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 มีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว ทำปวารณากัน

    ปวารณา หมายถึง การยอมให้ใช้ ยอมให้ขอ และยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน

    พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาจำนวนมาก อาจจะปฏิบัติผิดพลาดบกพร่องหรือล่วงเกินกัน ถ้าไม่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือน จะเข้าใจว่าความประพฤติของตนถูกต้อง ความเสื่อมเสียจะเกิดขึ้นแก่หมู่คณะ ทำให้เกิดการแตกสามัคคีได้

    พระภิกษุชาวโกสัมพี 2 พวกคือ พวกพระวินัยธร และ พวกพระธรรมกถึก ถือทิฐิมานะเข้าหากัน แม้พระพุทธองค์ทรงชี้โทษแห่งความแตกสามัคคี ทรงขอร้องให้ปรองดองกัน ภิกษุเหล่านั้นไม่ยอมเชื่อฟัง

    เพราะอาศัยเหตุเพียงน้ำชำระที่เหลือไว้ในภาชนะที่ห้องสุขานิดเดียวเท่านั้น

    พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำปวารณาแก่กัน เพื่อว่ากล่าวตักเตือนให้เกิดสติ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เห็น ได้ยิน หรือมีความสงสัยข้อบกพร่อง เกิดความรังเกียจกัน โดยถือหลักที่ว่า

    ผู้ชี้โทษเป็นเหมือนชี้ขุมทรัพย์

    ปวารณาเป็นเหมือนการให้โอกาสแก่กันและกัน จะว่ากล่าวตักเตือนได้สนิทใจ ไม่ต้องระแวง ฝ่ายที่ถูกว่ากล่าวตักเตือนจะโกรธ ตรงตามพระพุทธประสงค์ที่จะให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ด้วยกัน ด้วยความรัก ห่วงใย และความสามัคคีกัน

    วิธีทำปวารณา คือการประชุมสงฆ์แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบว่า

    วันนี้เป็นวันปวารณา หากพร้อมแล้ว ขอให้ทำปวารณากัน กล่าวคำปวารณาใจความว่า ขอปวารณาต่อสงฆ์ หากท่านได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่ามีความประพฤติบกพร่อง น่ารังเกียจ ขอให้อนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน

    เมื่อได้ทราบแล้วจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป

    พุทธศาสนิกชนควรนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น เป็นธรรมดาของคนที่อยู่ร่วมกันอาจจะทำ พูด คิด ผิดจารีตประเพณี บกพร่องหรือล่วงเกินกันและกันบ้าง

    ถ้าเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกันด้วยความหวังดี บริสุทธิ์ใจ จะทำให้การอยู่ร่วมกันมีแต่ความรัก ห่วงใย และสามัคคีกัน

    กิจกรรมวันออกพรรษาตามที่ปฏิบัติเป็นธรรมเนียมถึงปัจจุบัน คือการตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมกระทำในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันออกพรรษา เป็นการทำบุญระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่เมืองสังกัสสนคร โดยเสด็จลงบันไดแก้ว อยู่ในท่ามกลาง หมู่เทวดาตามส่งเสด็จลงบันไดทองอยู่ข้างขวา หมู่พรหมทั้งหลายตามส่งเสด็จลงบันไดเงินอยู่ข้างซ้าย

    หลังจากที่พระองค์เสด็จไปจำพรรษาอยู่ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

    การทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ หนึ่งปีจะมีครั้งเดียว

    จัดเป็นกาลทาน




    Ref.
    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud09071049&day=2006/10/07
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    วันออกพรรษา 2

    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด



    วันออกพรรษา เป็นเรื่องสังฆกรรมสำหรับพระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว ทำปวารณา แทนการสวดพระปาฏิโมกข์

    ปวารณา หมายถึง การยอมให้ใช้ ยอมให้ขอ และยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ทุกกรณี

    มูลเหตุที่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำปวารณา มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งอยู่จำพรรษาที่อาวาสแห่งหนึ่ง ท่านมีความประสงค์จะป้องกันการทะเลาะวิวาทกัน จึงตั้งกติกาไว้ จะไม่พูดกัน ต่างทำกิจหน้าที่แต่ไม่ยอมพูดจากันตลอดเวลา 3 เดือน

    กติกานี้เรียกว่า มูควัตร คือปฏิบัติเหมือนคนใบ้

    เมื่อออกพรรษาพระภิกษุจะพากันเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลเรื่องความสุขความทุกข์ในสถานที่อยู่จำพรรษา และกราบทูลเรื่องมูควัตรที่ได้ปฏิบัติให้ทรงทราบ ตรัสตำหนิว่า

    วิธีนี้เป็นอาการเหมือนสัตว์เดรัจฉาน เพราะว่าพวกสัตว์จะไม่ถามถึงสุขทุกข์ของกันและกัน พวกเธอปฏิบัติเช่นนี้ไม่สมควร แล้วทรงอนุญาตให้พระภิกษุจำพรรษาครบ 3 เดือน ทำปวารณากัน ด้วยการชี้โทษความพลั้งพลาดตามที่ได้เห็น ได้ยิน หรือมีข้อรังเกียจกัน

    พุทธศาสนิกชนควรนำเรื่องปวารณามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น คนเราอยู่ร่วมกันควรเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกันด้วยความหวังดี บริสุทธิ์ใจ จะทำให้มีแต่ความรัก ห่วงใย และสามัคคีกัน

    "ตักบาตรเทโวโรหณะ" นิยมทำในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันออกพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นการทำบุญระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระเจ้าเปิดโลก" กล่าวกันว่า มนุษย์และเทวดาพร้อมสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างมองเห็นกายของกันปรากฏชัด พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดท่านเหล่านั้นให้ได้บรรลุธรรมนับไม่ถ้วน

    พุทธศาสนิกชนต่างรอคอยเข้าเฝ้ากราบไหว้พระพุทธองค์ พร้อมใจกันจัดเตรียมอาหารใส่บาตรโดยมิได้นัดหมายกัน

    ภัตตาหารที่จัดเตรียมใส่บาตรมีมาก ผู้คนยิ่งแออัดมากเข้าไม่ถึงพระ จึงนำเอาข้าวสาลีทำเป็นห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆ บ้าง โยนเข้าไปหาพระ ด้วยประสงค์จะใส่บาตร จึงเป็นเหตุที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนเป็นภัตตาหารในการตักบาตรเทโวโรหณะ

    แต่ปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้าวต้มลูกโยน ซึ่งยังคงมีอยู่บ้าง บางวัดอาจมีพิธีตักบาตรรดอกไม้ โดยส่วนมากจะเป็นประเภทข้าวสารอาหารแห้ง หรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับพระสงฆ์

    พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา เมื่อเทศกาลออกพรรษามาถึงแล้ว ไม่ควรพลาดโอกาสสร้างบุญความดีชำระกาย วาจา และใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการรักษาศีล บริจาคทาน เจริญภาวนา เพื่อเติมความสุขให้ชีวิต อีกทั้งเป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม เป็นการช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป


    Ref. http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud08081049&day=2006/10/08
     

แชร์หน้านี้

Loading...