วันเบาหวานโลก World Diabetes Day

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 14 พฤศจิกายน 2018.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135
    46095511_272434133345321_4213026557012213760_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_ht=scontent.fbkk14-1.jpg
    องค์การอนามัยโลก สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น"วันเบาหวานโลก”ซึ้งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าที่ควรจะเป็นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเป็นเวลานาน(เกิดเป็นพิษ) ทำให้ส่วนต่างๆของรางกายเสื่อมเร็วขึ้น มีปัญหาที่หลอดเลือด และอาจทำให้เกิดความพิการ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้
    .
    โรคเบาหวานมีหลายชนิด ที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด
    - เบาหวานชนิดที่ 1 อาการของโรคจะปรากฏอย่างรวดเร็ว และ พบในเด็กหรือวัยรุ่น
    (การหลั่งอินซูลินที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอ “มีภาวะขาดอินซูลิน”)
    - เบาหวานชนิดที่ 2 อาการจะค่อยปรากฏ และพบในผู้ใหญ่อายุ 30 ปีขึ้นไป
    (ความสามารถในการตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินลดลง “มีภาวะดื้ออินซูลิน”)
    - เบาหวานในสตรีที่ตั้งครรภ์
    - เบาหวานชนิดที่มีสาเหตุจำเพาะ สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เป็นเบาหวานได้ (เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนถูกตัด โรคที่มีเหล็กสะสมมากเกินไปในตับจนทำให้ตับเสียหาย การรับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ การได้รับสารเคมี ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต)
    .
    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
    - กรรมพันธุ์(ประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน)
    - วิถีชีวิตความเป็นอยู่
    - อายุมากขึ้น
    - น้ำหนักตัวเกิน
    - มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย≥140/90 มิลลิเมตรปรอด
    - มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) อยู่ในระดับต่ำ ≤35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    - มีไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในระดับสูงในเลือด≥250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    - มีประวัติโรคเบาหวานเมื่อตั้งครรภ์
    - เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดเกิน 4กิโลกรัม (9 ปอนด์ขึ้นไป)
    - มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
    (polycystic ovary syndrome :pCOS )
    - ไม่ได้ออกกำลังกาย
    - ไขมันในเลือดสูง
    - เคยตรวจพบน้ำตาลในเลือดไม่ได้อยู่ในระดับปกติ
    (มีความทนต่อกลูโคสที่ผิดปกติ
    (impaired glucose tolerance ,IGT) )
    .
    อาการของโรคเบาหวาน
    - ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน หิวน้ำบ่อย ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลด ผิวแห้ง เป็นแผลหายช้า ตาพร่ามัว ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า (ความรู้สึกลดลง) การมองเห็นบกพร่อง หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น อย่ารอช้า ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
    .
    การป้องกันโรคเบาหวาน
    - การควบคุมน้ำหนักตัว
    - การรับประทานอาหาร
    - ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หรือการมีกิจกรรมออกแรงที่มากเพียงพอ เป็นการสร้างเสริมสุขภาพ และทำให้ภาวะดื้ออินซูลินลดลง ระดับน้ำตาลดีขึ้นด้วย
    (สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานลงได้ประมาณร้อยละ 50)
    .
    การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
    ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดได้ โดยการคบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติหรือใกล้เคียงปกติ ตรวจเช็คร่างกาย กินยาตามเวลา และต้องควบคุมภาวะหรือปัจจัยเสี่ยงอื่น อย่างเข้มงวดด้วย
    .
    “A Full Life Despite Diabete”
    “แม้เป็นเบาหวานชีวิตก็เบิกบานได้”
    ดูแลเรื่องอาหารการกิน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลืมใช้ยาตามแพทย์สั่ง กินยาตามเวลาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจะได้มีชีวิตทีดี และอายุยืนยาว
    ----------------------------------------------------------------------------------------------
    Credit: Healthy Me
    https://www.facebook.com/Good.Healthy.Me/
     

แชร์หน้านี้

Loading...