วิกฤตสิ่งแวดล้อมเป็นพิษเพชฌฆาตรอวันประหารคนเอเชีย!

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 10 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    วิกฤต'สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ'เพชฌฆาตรอวันประหารคนเอเชีย!

    วิกฤต"สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ" เพชฌฆาตรอวันประหารคนเอเชีย!

    เรียบเรียงจากบทความ Asia"s Environment : Living Dangerously นิตยสารไทม์ เอเชีย เอดิชั่น ฉบับต.ค.2549



    [​IMG]

    พัฒนาการอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมในทวีปเอเชีย ประกอบกับการบังคับใช้กฎหมายพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอันแสนจะหย่อนยาน ทำให้สภาพแวดล้อมทั่วทั้งเอเชียได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของประชากรเอเชียมากขึ้นทุกขณะ ทั้งในรูปแบบของภาวะแห้งแล้ง น้ำท่วมผิดธรรมชาติ แหล่งน้ำปนเปื้อน มลพิษทางอากาศ ฯลฯ

    ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประชาชาติเอเชียจะเร่งขบคิดถึงภัยสิ่งแวดล้อมและร่วมมือกันแก้ปัญหา เพื่ออนาคตของคนรุ่นลูกหลานต่อไป

    กลุ่มเมฆมัจจุราช

    ทุกวันนี้ประชากรเอเชียส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้ว่า

    ทุกครั้งที่ฤดูหนาวของแต่ละปีเวียนมาถึง

    ในชั้นบรรยากาศเหนือพื้นดินภูมิภาคของเรา จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า

    "เมฆสีน้ำตาล" (Asian Brown Cloud)

    ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงฤดูหนาวของทุกปี เมื่อสภาพอากาศแห้งพอ และเปิดทางให้สารพัด "มลพิษในอากาศ" จับกลุ่มรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆสีน้ำตาลเข้มขนาดยักษ์

    แผ่รัศมีปกคลุมอาณาบริเวณไล่ไปตั้งแต่ตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย เอเชียใต้บางส่วน ประเทศอินเดีย ปากีสถาน จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย



    กำแพงบังแสงอาทิตย์
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    นักวิทยาศาสตร์พบ "เมฆสีน้ำตาล" เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2542

    ภายในกลุ่มเมฆประกอบด้วยฝุ่นละออง ซัลเฟต ไนเตรท เขม่าถ่านหิน ก๊าซและสารเคมีมีพิษ รวมตัวกันจนหนา 3 กิโลเมตร

    กลุ่มเมฆพิษเหล่านี้ มีที่มาจากมลพิษที่มีต้นกำเนิดจากไฟป่า ควันโรงงานอุตสาหกรรม-โรงไฟฟ้า ไอเสียยวดยานพาหนะ และแหล่งผลิตกลุ่มควันอื่นๆ

    ผลกระทบจาก "เมฆสีน้ำตาล" ก็คือ มันแปรสภาพเป็นเหมือนกับกำแพงลอยฟ้า ทำให้แสงอาทิตย์ตกลงมาบนพื้นโลกน้อยลงกว่าปกติ 15 เปอร์เซ็นต์

    นอกจากนั้น มันยังเป็นต้นตอของโรคระบบทางเดินหายใจ และกำลังเริ่มทำลายรูปแบบสภาพอากาศให้ผิดเพี้ยนไป

    เช่น ในพื้นที่หนึ่งน้ำท่วมอย่างหนัก แต่อีกพื้นที่ต้องเผชิญภาวะแห้งแล้งรุนแรง

    ล่าสุด พื้นที่เกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของอัฟกานิสถาน ส่อเค้าเสี่ยงกลายเป็น "ทะเลทราย" เพาะปลูกไม่ได้โดยสมบูรณ์



    แชมป์เมืองมลพิษ

    จากการสำรวจล่าสุด พบว่า เมืองที่ทำสถิติมีมลพิษสูงสุด 25 แห่งนั้นอยู่ในเอเชียไปแล้วถึง 24 แห่ง

    ในจำนวนนี้เป็นเมืองของจีน 17 แห่ง เมืองของอินเดียอีก 5 แห่ง

    โดยกรุงนิวเดลี เมืองหลวงอินเดีย ครองตำแหน่งสุดยอดเมืองมลพิษ <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ทางการอินเดียพยายามบรรเทาวิกฤตอากาศเมืองหลวงเป็นพิษ ด้วยการสั่งห้ามรถบัสโดยสารใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยเด็ดขาดเมื่อปี 2541

    พร้อมกับสั่งให้รถยนต์รุ่นเก่าที่วางตลาดก่อนหน้าปีค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) ตั้งไปเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งมีคุณภาพดีขึ้น ถ้ายังต้องการใช้วิ่งบนถนนต่อไป

    ปัจจุบัน สภาพอากาศนิวเดลีดีขึ้น

    แต่ก็ยังไม่ดีพอจะถีบตัวเองให้หลุดพ้นจากตำแหน่งยอดเมืองมลพิษไปได้



    "แม่คงคา"ร่ำไห้

    "คงคา" และ "พรหมบุตร" แม่น้ำสำคัญ 2 สายของเอเชีย ก็ตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ไม่ต่างกัน

    ทั้งแม่คงคาและพรหมบุตร ถูกจัดอันดับติดกลุ่มแม่น้ำที่มีสารพิษปนเปื้อนสูงที่สุดในโลก

    สารปนเปื้อนหลักๆ ในแม่น้ำทั้ง 2 สายประกอบด้วยธาตุปรอท โครเมียม แคดเมียม ตะกั่ว

    ผลตรวจวิเคราะห์แม่น้ำในอินเดียและบังกลาเทศ พบระดับสารพิษข้างต้นสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานสูงตั้งแต่ 10-100 เท่า

    หันมาดู "แม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา" เส้นเลือดสำคัญความยาวนับพันกิโลเมตรที่ไหลจากที่ราบสูงทิเบต ลงมาหล่อเลี้ยงหลายประเทศทั้งจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม

    ผลจากการที่แต่ละชาติต่างแก่งแย่งกันก่อสร้างเขื่อนตามแนวแม่น้ำโขงเพื่อการชลประทานและผลิตไฟฟ้า ทำให้การไหลเวียนของกระแสน้ำถูกรบกวนขัดขวาง เมื่อเป็นเช่นนั้น "น้ำเค็ม" จากมหาสมุทรจึงหนุนลึกเข้ามาอย่างง่ายดายถึงสามเหลี่ยมลุ่มน้ำโขง

    ปลาน้ำจืดอยู่ไม่ได้ต้องตายเป็นเบือ และยังส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกข้าวอีกด้วย



    "ป่าไม้-ปะการัง"สาบสูญ

    สถิติการตัดไม้ทำลายป่าทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ

    พื้นที่ป่าไม้ของเวียดนาม ลดลงในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี

    ขบวนการกินป่าไม้ ยังทำกิจกรรมผิดกฎหมายต่อไปอย่างสบายใจในอินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา

    ในส่วนของกัมพูชานั้นยังมีอีกปัญหาใหญ่ ภายหลังจากขบวนการล่าสัตว์ป่าบุกเข้าไปล่าสัตว์เพื่อนำไปขายให้กับภัตตาคารเมนูเปิดพิสดารและใช้ทำยาจีน

    จนสัตว์ป่าท้องถิ่นบางสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์

    นอกจากนี้ กลุ่มคนประมงเอเชียไร้ความรับผิดชอบบางกลุ่มก็ใช้ยาพิษและระเบิดในการหาปลา

    โดยไม่สนใจว่านั่นเป็นการทำลาย "แนวปะการัง" ซึ่งเป็นขุมทรัพย์แห่งความหลากหลายทางชีวภาพ และขณะนี้ก็เสียหายมากพออยู่แล้วจากภาวะสภาพอุณหภูมิน้ำทะเลสูงผิดปกติเพราะวิกฤตโลกร้อน





    ที่มา:ข่าวสด
    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03tec06101049&day=2006/10/10
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    โลกร้อน ธรรมชาติลงโทษ ! ต้องแก้จริงจังจริงใจ

    [​IMG]

    โลกร้อนทำให้เกิดทั้งฝนฟ้าวิปริต แห้งแล้งยาวนาน และหิมะลูกเห็บตกหนัก

    มันโยงกับการจัดการที่ดินของโลก

    ถ้าไม่แก้ไขในวันนี้ ในวันหน้าลูกหลานจะไม่มีแผ่นดินอยู่ !

    "ศ.ดร.นิพนธ์ ตั้งธรรม" ผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อีกประมาณ 70 ปี บ้านเราจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นไปอีก 4 องศาเซลเซียสโดยเฉลี่ย ซึ่งปกติบ้านเราสูงปรี๊ดอยู่แล้ว และคราวนี้ไม่ใช่เป็นแนวโน้มประเภทขึ้นๆ ลงๆ แต่เป็นการขึ้นแบบค่อนข้างจะถาวร (permanent) ซึ่งถ้าสูงขึ้นแค่ 2-3 องศาเซลเซียส ก็ทำให้เกิดผลกระทบมากมาย

    นอกจากนี้น้ำทะเลที่สะสมความร้อนมาเป็นหมื่นๆ ปีแล้ว และโดยที่น้ำทะเลเป็นมวลใหญ่ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงก็เกิดผลกระทบ จะเห็นว่าเอลนิโญ ลานินญา เกิดถี่มากขึ้น

    "ไม่มีใครคาดว่าจะเร็วขนาดนี้ เวลาน้ำร้อนมากขึ้น มวลของไอน้ำก็จะระเหยมากขึ้น ทำให้ลมฟ้าอากาศค่อนข้างจะวิปริต ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การหมุนเวียนของลมฟ้าอากาศเปลี่ยนไป"

    โดยในแถบเอเชียจะมีภาวะที่เรียกว่า extreme case เช่น ฝนตกหนักๆ เกิดถี่ขึ้นทั่วเอเชีย ได้มีการทำนายไว้ว่าเขตร้อนเขตเส้นละติจูด 10 เหนือถึง 10 ใต้ อยู่ใกล้เขตศูนย์สูตร จะมีปริมาณฝนที่รุนแรงมากกว่าเดิม และมีปริมาณมากกว่าเดิม ส่วนในละติจูด 10-30 เหนือ-ใต้ ของไทยก็ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นไปจนเลยเชียงใหม่ไปหน่อย ตรงนี้จะเกิดความผันผวนโดยที่จะมีความแห้งแล้งจะยาวนาน แต่เลยละติจูด 30 ขึ้นไปจะมีฝน หิมะ ลูกเห็บ มากกว่าที่เคยเป็น

    ถามว่า การใช้ประโยชน์จากที่ดินทั้งโลกไปโยงกับเรื่องความร้อนของโลก (global warming) ได้อย่างไร ?

    แต่ก่อนนี้ตอนที่เรายังไม่มีอุตสาหกรรมมาก หรือเมืองขยายมาก พวกพืชสีเขียวจะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีความสมดุลของมันอยู่ แต่ตอนนี้พืชสีเขียวน้อยลง อย่างในแถบร้อนเห็นได้ชัด เพราะเป็นประเทศกำลังพัฒนา ต้องใช้ทรัพยากรจำพวกป่าไม้-ดินเป็นฐานในการพัฒนาเป็นหลัก

    "เราไม่ได้ตัดต้นไม้อย่างเดียว แต่เป็นการตัดแล้วเผา คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในเนื้อไม้ครึ่งหนึ่ง ก็จะกลับไปสู่บรรยากาศ ขณะเดียวกันพืชสีเขียวน้อยลง ดูดกลับได้น้อยลง มันไม่มีตัวบาลานซ์ มันก็ไปสะสม มีการห่วงกันว่าต่อไปนี้จะไม่มีตัวช่วยบาลานซ์ มันคงยากที่จะเอาอย่างอื่นมาช่วยแก้ นอกจากพืชสีเขียวเพื่อให้บาลานซ์กันเอง"

    เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์สะสมมากขึ้นในบรรยากาศ และตัวพืชสีเขียวที่จะดูดก็น้อยลง ความสมดุลก็หายไป เป็น energy imbalance เพราะว่าไปติดชั้นบรรยากาศที่เป็นคาร์บอนได ออกไซด์ เหมือน greenhouse effect เวลาฝนตกมันจะร้อนระอุ หลักการเดียวกัน เมื่อความร้อนขึ้นไปไม่ได้ก็เด้งกลับมา แต่เมื่อก่อนท้องฟ้าเปิดมันก็ไป แต่ตอนนี้มีชั้นคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ข้างบน เมื่อไปไม่ได้ก็ต้องสะสม ความร้อนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    ตอนนี้มีการพูดคุยกันเรื่องคาร์บอนเทรด ประเทศไหนต้องการจะแลกเปลี่ยนคาร์บอน ก็ต้องให้เงินเพื่อไปปลูกป่าเพื่อดูดก๊าซคาร์บอน

    ไดออกไซด์กลับคืน จีนเขารับแล้ว ประเทศไทยนโยบายไม่ค่อยแน่นอน เลยยังไม่เป็นเรื่องเป็นราว

    "แคนาดาและญี่ปุ่นเริ่มคิดแล้วว่า ถ่านหินหรือน้ำมันนั้นก็ได้มาจากไม้ เขาคิดต่อไปถึงเรื่องการคั้นน้ำมันจากต้นไม้ ซึ่งเป็นโครงการที่ชนะด้วยกันทั้งคู่ (วิน-วิน) ชาวบ้านก็ได้รายได้จากการปลูกต้นไม้ สังคมก็ได้จากการที่เอาต้นไม้ไปดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยแคนาดาเป็นต้นคิดของกระบวนการในการทำ แต่ญี่ปุ่นจะคิดเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ"

    ซึ่งต้นไม้เวลามันโตเต็มที่ ความสามารถในการดูดมันจะน้อยลง เพราะฉะนั้นต้องปลูกต้นไม้วัยหนุ่มขึ้นมา ควรปล่อยให้ป่ามันขึ้นมา ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดไฟไหม้ มันไม่มีตัวดูดกลับ

    ศ.ดร.นิพนธ์กล่าว่า เราเองก็ต้องคิดในอีก 70 ปีข้างหน้า ซึ่งลูกหลานเราจะต้องอยู่กับมัน

    ถึงเวลานั้นน้ำมันจะต้องแพงเท่าไหร่ ต้องคิดไปให้ไกล ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงคิดมานานแล้ว

    ทำพวกแก๊สโซฮอล์ เอทานอล แต่ว่าเราไม่ค่อยสนใจกัน

    นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงถึงต้องเข้ามา ถ้าเราขืนเอาแต่เม็ดเงินๆ แม้แต่คนที่รวยเจ็ดหมื่นล้านก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าสามารถทำให้ทั้งโลกอยู่ได้ เป็นแนวคิดที่ทันสมัย เพราะหากว่าเราเอาเปรียบธรรมชาติมากๆ มันก็เริ่มลงโทษเรา"

    "เมื่อฤดูร้อนผมไปต้นน้ำน่าน ผมยังบอกกับลูกศิษย์ว่า หน้าร้อนนี้น่าดู เมื่อขึ้นไปดูแล้วมันน่าเศร้าใจ เพราะภูเขาโล้นไปหมดเลย ผมเลยบอกว่าไม่มีแผ่นดินจะอยู่แล้วนี่ เมื่อเห็นต้นน้ำลำธารเป็นแบบนี้"

    ต้องคิดในมุมกลับว่า คนเรามีความต้องการทั้งนั้น เรื่องเม็ดเงินก็ต้องการ แต่เราให้หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ และขณะเดียวกันเราก็มีแรงจูงใจ ชาวบ้านสามารถอยู่ตรงนั้นได้ แต่ต้องปลูกป่า แล้วเป็นมรดกตกทอดไปสู่ลูกหลาน ห้ามไปทำอย่างอื่น

    "คุณรู้ไหมว่าเวลานี้เราสั่งไม้จากต่างประเทศเข้ามาปีละ 7-8 หมื่นล้านบาท ไม้ในบ้านเรานั้นไม่ค่อยมีแล้ว คนเมืองแพร่เมื่อก่อนทำเฟอร์นิเจอร์อะไรต่ออะไร ก็เอาไม้ในป่า พอหมดต้นจามจุรีสองข้างทางก็ฟาดเรียบ เวลานี้คนเมืองแพร่ผ่านไปลำปาง คนลำปางก็ตกใจ ฉะนั้นคนเมืองแพร่น่านจะต้องคิดเรื่องการปลูกป่า"

    ธรรมชาติมันเริ่มลงโทษแล้ว เราก็หวังว่ามันจะทำให้ได้คิด หวังว่าบทเรียนที่เกิดขึ้นกับทั่วโลกครั้งนี้ มันต้องช่วยกันแคมเปญ เศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้เป็นหลักจะเข้ามาช่วย อยู่ที่รัฐบาลด้วยว่าจะนำทิศทางให้ไปยังไง คราวที่แล้วเน้นเงินอย่างเดียว มันเลยเละไปหมด บนป่าก็เละ

    "รัฐบาลนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ก็พูดไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าท่านมีบารมีพอ อาจจะทำให้คนข้างล่างเริ่มสำนึกได้"

    ศ.ดร.นิพนธ์กล่าวว่า อยากให้คนอยู่ตรงนั้นได้ แต่ต้องมีแรงจูงใจให้เขา ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีอะไรที่จะได้กลับคืน เช่น พื้นที่ที่ปลูกกะหล่ำปลีอยู่ มันไม่เหมาะที่จะปลูกกะหล่ำปลี ก็ให้หันไปปลูกป่า จะปลูกเลี้ยงตัวเองสักสิบไร่ก็ว่าไป ไม่ใช่ปลูกทั้งขุนเขา แต่การปลูกป่าช่วง 5-10 ปีแรกไม่ได้อะไร ก็ต้องอัดเงิน อัดแรงจูงใจให้เขา แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเข้าไปดูแล เข้าไปติดตาม ไม่ให้เงินไปก็ไปเอาของเขาอีก

    "จริงแล้ว อบต.มีเงินสำหรับดูแลทรัพยากร

    ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถึง 20% จากงบประมาณที่ได้รับ อยากให้เขาแอ็กทีฟที่จะเข้าไปดูแล ถ้าเกิดว่ายังไม่พอ รัฐบาลก็ต้องสนับสนุน อย่างญี่ปุ่นในพื้นที่ที่เสี่ยงแผ่นดินถล่มมากๆ เขาจะซื้อกลับคืน ผมคิดว่าต้องมีอินเซนทีฟ"

    รัฐอาจจะต้องลงทุนบ้าง ไอ้เงินรากหญ้าอะไรนี่ให้มันออกมาในรูปนี้บ้าง และให้ อบต.แต่ละแห่งแข่งขัน เพราะเขาต้องดูแลสิ่งแวดล้อม แล้วมีรางวัลให้ เพราะถ้า อบต.ไม่รักถิ่นของเขา เขาเองก็แย่ ล่มจม ถ้าเขายังไม่เห็นว่าจะให้ถิ่นของเขาดีขึ้นยังไง มันก็หมดทั้งถิ่น

    อย่างจีนเขาตั้งเป็นชมรมผู้พิทักษ์ลุ่มน้ำ เขาขอร้องคนข้างบนว่าอย่าปลูกข้าว อย่าเลย เพราะมันจะทำความเสียหายให้ข้างล่าง โดยเขาชดเชยโดยเอาข้าวในราคาที่ถูกของคนข้างล่างขึ้นไป

    ให้ข้างบน ให้ข้างบนเปลี่ยนมาปลูกเป็นไม้ผลไม้ยืนต้น หรืออย่างเรื่องน้ำนั้น จีนก็แจกจ่ายกันไป

    ทั่วประเทศ ไม่เหมือนบ้านเราที่มือใครยาวสาวได้สาวเอา

    "ธรรมชาติเริ่มสอนเราแล้ว ถึงเวลาที่ประเทศนี้ต้องคืนอะไรให้กับแผ่นดินบ้าง อย่างหนึ่งที่ผมอยากเห็นคือธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรดินน้ำป่าไม้ของประเทศนี้จนร่ำรวยให้รู้จักคืนให้กับแผ่นดิน รวมทั้งนักธุรกิจท้องถิ่นก็เช่นเดียวกัน"

    ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ เราจะเจออะไรบ้าง และความสูญเสียมันจะมากมายแค่ไหน ?

    ศ.ดร.นิพนธ์เห็นว่า ประเทศเราถึงจะพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ผืนแผ่นดินส่วนใหญ่เป็นเพื่อการเกษตร เราก็ต้องอยู่อย่างเกษตร ถ้าดินน้ำป่าไม้ไม่ยั่งยืน หรือแย่ลงไปทุกวัน โดยคนเราเพิ่มขึ้น แล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร และบ้านเราอยู่ในเขตร้อน ก็เกิดความวิปริตอย่างที่เราเห็น คิดว่าถ้าเราไม่ช่วยกัน มันคงหมดแผ่นดิน ถ้าไปถามกรมพัฒนาที่ดินจะพบความเสื่อมโทรม บนภูเขาก็หมด

    อยากให้ทำกันอย่างจริงจัง จริงใจ ไม่ใช่สักแต่พูดเพื่อให้ได้โปรเจ็กต์มา

    "อย่างสหรัฐ อดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ เขามีบทบาทในการรณรงค์ หรืออย่างประธานา ธิบดีรูสเวลต์ก็พยายามเปลี่ยนความคิดคนอเมริกันให้มาเน้นเรื่องการอนุรักษ์ เห็นแล้วว่าจะหมดแผ่นดิน จึงมีสำนักงานอนุรักษ์ดินและน้ำขึ้นมา ซึ่งก็ทำให้รูสเวลต์อยู่ถึง 3 สมัย แต่บ้านเรา ถ้ายังไม่เห็นโลงศพก็ไม่หลั่งน้ำตา"




    ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
    http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02spe03091049&day=2006/10/09
     
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    เตรียมรับมือก่อนไทยวิกฤต !

    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการวิเคราะห์ว่า ภาวะโลกร้อน หรือ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วโลกต่างตระหนักและเริ่มให้ความสำคัญเป็นอันมาก ด้วยหลายประเทศได้ประจักษ์ถึงภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก แม้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ไม่สามารถเห็นผลได้ในระยะเวลาอันใกล้ และยังไม่อาจสรุปได้ว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติที่วิกฤตขึ้นในปัจจุบันเป็นผลมาจากอุณหภูมิของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

    แต่จากผลการศึกษาของนักวิจัยในต่างประเทศพบว่า ขณะนี้อุณหภูมิทั่วโลกเพิ่มเร็วขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉลี่ยจะสูงขึ้นปีละ 0.6 ํc ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก โดยที่เห็นได้ชัดคือ การละลายของน้ำแข็งที่เกาะกรีนแลนด์ ที่ภายในเวลา 5 ปี มีการละลายของชั้นน้ำแข็งไปถึง 70 เมตร และจะส่งผลถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ในอนาคตหากไม่มีการควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาจทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 2-3 ํc ซึ่งจะกระทบกับระบบนิเวศ เช่น การปรับตัวของพืช และสัตว์ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอาจทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ได้

    ผศ.ดร.อำนาจ ชิดไธสง นักวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) กล่าวตอนหนึ่งในงานเสวนาเรื่อง "นโยบายพลังงาน กับโอกาสการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก..ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไร ?" เมื่อวันพุธที่ 6 กันยายนที่ผ่านมาว่า ในอดีตปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มของก๊าซเรือนกระจก คือ การตัดไม้ทำลายป่า เพราะการทำลายป่าไม้ นอกจากจะเป็นการปล่อยคาร์บอนที่ถูกสะสมไว้ในเนื้อไม้สู่บรรยากาศแล้ว ยังเป็นการลดแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณมากที่สุด ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในบรรยากาศมากขึ้น และสกัดกั้นไม่ให้ความร้อนผ่านออกไปนอกชั้นบรรยากาศโลก อุณหภูมิภายในโลกจึงเพิ่มสูงขึ้น แต่การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของทุกประเทศ กลับกลายเป็นปัจจัยหลักของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน โดยพบว่าตั้งแต่ปี ค.ศ.1973-2004 มีอัตราการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่ม 2% ต่อปี ด้วยอัตราการใช้ที่เพิ่มขึ้นนี้จึงเป็นเหตุให้ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น

    "การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องต้องใช้ระยะเวลาการศึกษายาวนาน ต้องอาศัยการเก็บข้อมูลด้านต่างๆ แล้วนำผลมาประมวลร่วมกันจึงจะเห็นว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในต่างประเทศ เริ่มมีการศึกษาเรื่องนี้มายาวนานกว่า 30 ปี แต่ยังไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับวิวัฒนาการของโลก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและเฝ้าระวังกันต่อไป แต่การศึกษาในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนักเนื่องจากเป็นเรื่องที่ทำแล้วกว่าจะเห็นผลต้องใช้ระยะเวลานาน และเป็นเรื่องที่คนคนเดียวทำไม่ได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย และต้องอาศัยความชำนาญหลายเรื่อง แต่ละคนต้องช่วยกันทำคนละนิด แล้วนำมารวมกันเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะมาจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น"

    ด้าน รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เนื่องจากความต้องการด้านพลังงานกลายเป็นปัจจัยหลักให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น ดังนั้นการวางนโยบายพลังงานที่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านพลังงานในประเทศ ควบคู่ไปกับความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม น่าจะเป็นแนวทางที่จะช่วยโลกลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ ขณะเดียวกันก็จะนำไปสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืนด้วย ทั้งนี้แนวทางหลัก 3 ประการที่นโยบายพลังงานควรมี คือ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการประหยัดพลังงาน การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียน และการใช้เทคโนโลยีพลังงานก้าวหน้า

    "ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากทำให้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องมีความรับผิดชอบลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง ส่งผลให้นโยบายพลังงานของหลายประเทศ เช่น ในกลุ่มประเทศยุโรป มีความเข้มงวดด้านการใช้พลังงาน และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้คำนึงถึงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากนัก แต่ด้วยสถานการณ์ด้านราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นข้อบังคับให้ประเทศไทยต้องลดการใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน โดยนโยบายพลังงานได้ตั้งเป้าหมาย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยการลดอัตราส่วนความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นต่อการเพิ่มขึ้นของ GPD ที่จากเดิมเป็น 1.4 ต่อ 1 เป็น 1 ต่อ 1 ภายในปี 2554 นอกจากนี้ ยังได้กำหนดเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน จากเดิมที่เคยใช้เพียง 0.5% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในปี 2546 เป็น 8% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในปี 2554"

    ด้าน รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร ประธานสายวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ผู้ทำวิจัยเรื่อง "ทางเลือกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน : โอกาสของประเทศไทย" โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลโอกาสการลดก๊าซเรือนกระจก ชี้ให้เห็นว่าหากประเทศไทยยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปอย่างไม่มีมาตรการใดๆ รองรับ ซึ่งจะทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มจากปัจจุบัน 170 ล้านตัน เป็น 250 ล้านตัน ในปี พ.ศ.2554 และด้วยปริมาณที่ค่อนข้างสูงนี้ อาจส่งผลให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องมีความรับผิดชอบในการลดก๊าซเรือนกระจก (Annex-1) ในการเจรจาครั้งใหม่ของพิธีสารเกียวโต ที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ.2555

    อย่างไรก็ตาม การวิจัยครั้งนี้จึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงาน ในสาขาหลัก 3 สาขา คือ สาขาการผลิตไฟฟ้า สาขาขนส่ง และสาขาอุตสาหกรรม เพื่อดูความเป็นไปได้ในการลดก๊าซเรือนกระจก และจากการศึกษาหากนำแผนการใช้พลังงาน และมาตรการการใช้พลังงานของกระทรวงพลังงาน ซึ่งประกอบด้วย แผนพัฒนาพลังงานทดแทน และแผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน มาเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติ ในปี พ.ศ.2554 ประเทศไทยจะสามารถลดอัตราการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกได้ 15% ของการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

    "ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ทำให้ทราบว่าประเทศไทยควรมีแนวทางอย่างไร จึงจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ โดยไม่กระทบต่อการพัฒนาประเทศ โดยข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเจรจาต่อรองการจัดกลุ่มประเทศใหม่ที่มีพันธกิจในการช่วยการลดก๊าซเรือนกระจก ในวาระที่สอง ในปี พ.ศ.2555 ได้อย่างชัดเจน"

    อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่านโยบายพลังงานของประเทศเอื้อต่อการลดก๊าซเรือนกระจกในอนาคตเพียงระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอ หากในอนาคตประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องมีความรับผิดชอบในการลดก๊าซเรือนกระจกแล้วจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ

    ดังนั้น หากประเทศไทยมีนโยบายพลังงานที่ดีจากรัฐและได้รับความร่วมมือจากประชาชนแล้ว จะทำให้ประเทศไทยมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน และมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต




    ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
    http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02spe04091049&day=2006/10/09
     

แชร์หน้านี้

Loading...