วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนโดยพระครูธรรมธรเล็ก สุธัมมปัญโญ


    อาหาเรปฏิกูลสัญญา


    ในเมื่อกล่าวมาถึงเรื่องของแม่ครัว เรื่องของอาหาร วันนี้ก็ขอกล่าวถึงกรรมฐานอีกกองหนึ่งคืออาหาเรปฏิกูลสัญญาคือเราจะต้องพิจารณาให้เห็นว่าอาหารที่เราฉันท์ไปทุกวัน ที่เรารับประทานเข้าไปทุกวัน จริงๆ แล้วมันเป็นของสกปรก เขาไม่ต้องการให้เรากินอาหารเข้าไป เพื่อความอ้วนพลี เพื่อร่างกาย เพื่อความผ่องใสของผิวพรรณ เพื่อไปกระตุ้นกิเลสให้เกิดขึ้น

    จุดมุ่งหมายของการกินจริงๆ ก็คือกินเพื่อยังอัฐภาพร่างกายนี้ให้อยู่เท่านั้นระงับดับความกระวนกระวายที่จะเกิดขึ้นจากอาการหิวกระหายของร่างกายเพื่อที่จะประคับประคองร่างกายนี้ไว้ใช้ปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วจะไปเพลิดเพลินอยู่ในรส เราต้องมาแยกแยะให้เห็นจริง ว่ารสอาหารหรือว่าตัวอาหารจริงแล้วมันเกิดขึ้นจากอะไร ทุกวันๆ เราฉันท์อาหารลงไป มื้อเช้าก็ดี มื้อเพลก็ดี เราเคยพิจารณาบ้างหรือไม่ ไม่ใช่ว่าอันนี้อร่อยเราก็กินแต่อันนี้ ฉันท์แต่อันนี้ไม่ต้องเปลี่ยนไปอย่างอื่นเลย ถ้าไอ้อย่างนั้นตายเมื่อไหร่ลงนรก

    จำไว้เลยว่าถ้าครั้งแรกตักอาหารมา แล้วมันอร่อย การตักครั้งที่สองเนี่ย ให้ระมัดระวังมีสติไว้ เรากำลังกินตามใจกิเลสหรือว่าเรากินเพื่ออยู่กันแน่ เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ต้องมีสติระวังอยู่เสมอ ดังนั้นการฉันท์อาหารเขาถึงได้มี ปฏิสังขาโย นิโส ภินทปาตัง ปฏิเสวามิ ก็คือพิจารณา อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า เพื่อยังอัฐภาพร่างกายนี้ให้อยู่สำหรับปฏิบัติธรรมเท่านั้นไม่ฉันท์เพื่อความอ้วนพลีของร่างกาย ไม่ฉันท์เพื่อความผ่องใสของผิวพรรณ ไม่ฉันท์พวกสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นเพื่อให้ราคะมันกำเริบ

    เราต้องพิจาณาแยกแยะให้ออก ว่าอาหารต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมา คือมาจากผักอย่างหนึ่ง มาจากเนื้อสัตว์อย่างหนึ่งเนื้อสัตว์ทั้งหลายก็มีเลือด มีคาวเป็นปกติลองดูเวลาสัตว์มันตายมันเน่าทุกตัว ประกอบไปด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เหม็นสกปรกเป็นปกติแล้วขณะเดียวกันกับที่เขาเลี้ยง ถ้าเคยไปดูก็จะเห็น ไม่ว่าจะวัว จะหมู จะไก่ มันคลุกอยู่กับขี้ กับเยี่ยวของมันเอง ความสกปรกมันอยู่ทั้งภายนอก อยู่ทั้งภายใน ภายนอกคือมันคลุกขี้ คลุกเยี่ยวของมันเอง ภายในก็คือในร่างกายของมันก็มีขี้ มีเยี่ยวเป็นปกติ มีเลือด มีน้ำเหลือง น้ำหนองเป็นปกติ เรานำมาทำอาหารกลิ่นคาวมันก็ปรากฏ อยู่ชัดอยู่แล้วอันนี้เห็นได้ง่ายคือเมื่อเข้าเดินบิณฑบาตอยู่ในตลาด ผ่านเขียงหมูก็ดี ผ่านร้านขายปลาก็ดีที่เขาสับไว้เป็นท่อนๆ ก็ดูเอาอันไหนเป็นเลือด อันไหนเป็นน้ำเหลือง อันไหนเป็นไขมันเป็นอะไรเห็นหมด ถ้าเดินใกล้ๆ กลิ่นก็ปรากฏชัดนั่นเป็นสิ่งที่เราไปนิยมยินดีเมื่อทำขึ้นมาแล้วว่ามันอร่อยอย่างนั้น มันรสดีอย่างนี้

    ในเรื่องของผักผลไม้ มันก็มีพื้นฐานมาจากความสกปรก มันเกิดขึ้นกับพื้นดินต้องอาศัยปุ๋ย ยิ่งระยะหลังๆ มีการปลูกกันเป็นล่ำเป็นสันไม่ได้เกิดจากธรรมชาติก็ยิ่งต้องอาศัยปุ๋ยมากขึ้นปุ๋ยมันก็เกิดจากขี้จากเยี่ยวของสัตว์นั่นเอง พวกไม้ใบก็ต้องการพวกที่มาจากยูเรีย ก็คือมาจากเยี่ยวหรือปัสสวะ พวกไม้ดอกไม้ผลก็ต้องการพวกโปแตส พวกโปแตสซึ่งถ้าหากว่าไม่ต้องเกรงใจกัน ก็คืออาจจะนำขี้ไก่ ขี้วัว ลงไปในแปลงผัก แปลงผลไม้นั้น หรือถ้าหากอย่างที่เมืองจีนเขาทำเป็นปกติ คือใช้ขี้คนเลยเดินเทเป็นหาบๆ กลิ่นตลบๆ ไปเป็นกิโลๆ แต่ผักงามใบเขียวจนดำน่ะ ต้นสูงใหญ่น่ากินมาก เราเห็นรึยังว่าพื้นฐานจริงๆ มันมาจากไหน หรือถ้าหากว่าเป็นต้นไม้ใหญ่หน่อยหนึ่งบางทีก็เอาซากสัตว์ตายไปโยนทิ้งไว้โคนต้น เน่าเหม็นตลบ ไม่มีใครอยากผ่านแถวนั้นแต่ว่าต้นไม้มันดูดซึมไป เอาไปเป็นอาหารแล้วก็ออกมาเป็นผลรอให้เราไปกิน เราอาจจะเห็น เออมะม่วงผลนี้น่ากินจังสุกเหลืองอร่ามเชียว ขนุนผลนี้น่ากินจัง กลิ่นหอมไปไกลเชียว ไอ้นั่นมันพึ่งอาจจะดูดสารอาหารจากหมาเน่าทั้งตัวไปก็ได้ต้องพิจารณาให้เห็นต้องดูให้เป็น แล้วเรื่องของผักผลไม้ถ้าหากว่าเราล้างสะอาด แล้วปัญญาเราน้อยพิจารณาไม่เห็นก็เอาแค่ว่าจริงๆ แล้วมันกำลังเน่า มันกำลังสลายตัว แต่ว่าพอมันเน่ากำลังได้ที่ ยังไม่ทันจะหมดสภาพ เราก็ชิงเอามากินเสียก่อนถึงได้บอกว่า แหมมันสุกเหลืองน่ากิน มันสุกแดงน่ากิน ความจริงเลยจากนั้นไปนิดเดียว มันก็จะเน่าดำแล้ว เพราะฉะนั้นเรากำลังกินสิ่งที่กำลังเน่าอยู่ ในเมื่อเรากินสิ่งที่กำลังเน่า กินสิ่งที่มีแต่ความสกปรกร่างกายของเราก็สกปรกด้วย

    อาหารที่กินเข้าไปไม่ว่าจะดีแสนดีขนาดไหน จะเป็นอาหารฮ่องเต้ประเภท อุ้งตีนหมี เป๋าฮื้อน้ำแดงอะไรก็ตาม ถึงเวลาหมดสภาพออกมามันก็เป็นขี้เป็นเยี่ยวเหมือนกันถ่ายทิ้งเอาไว้ใกล้ๆ ก็คงจะได้ด่ากันไปสามวันเจ็ดวันยังดีว่าสมัยนี้เรามีห้องน้ำห้องส้วมมิดชิด ไม่อย่างนั้นถ้าเป็นส้วมหลุมอย่างสมัยก่อนก็ต้องเดินห่างเป็นกิโล กลิ่นมันเน่ามันเหม็นไกลเหลือเกิน

    อย่างที่เทวดา พรมหม ท่านไม่อยากใกล้มนุษย์ เพราะว่ากลิ่นอาหารที่เน่าเหม็นมันระเหยออกทางผิวหนัง ท่านเองมีความเป็นทิพย์อยู่ท่านได้กลิ่นไกลมันเป็นโยชน์ มันสกปรกขนาดนี้ แล้วที่แน่ๆ อาหารมันห้ามร่างกายให้ไม่แก่ได้ไหม กินดีขนาดไหนมันก็แก่ มันห้ามร่างกายไม่ให้ตายได้ไหม กินดีขนาดไหนมันก็ตาย ถ้าไม่ให้มันกินมันก็หิวเหลือเกิน ธิถัทถาปรมราคา ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง คือมันเสียดแทงอยู่ตลอดเวลา คำว่าโรค โร คะคือความเสียดแทง วันๆ หนึ่งต้องหาให้มันกินให้ครบมื้อ ถ้าไม่ครบมื้อมันก็รบกวนเรา มีความทุกข์ขนาดนั้น การดิ้นรนไปหาอาหารมันก็ต้องทำการทำงานด้วยความเหนื่อยยาก ไม่ต้องดูไกลดูตาพั่ว ดูตาฮู ดูตากัน ต้องมาทำงานก่อสร้างให้เราอยู่ ไอ้นั่นก็เพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของตัวเอง มันเหนือยยากขนาดไหน เราไปแบกปูน แบกทรายเราก็เหนื่อยแทบตาย เขาเอง เขาจำเป็นต้องทำตามหน้าที่ไม่ครบวันเลิก เลิกไม่ได้ เขาเหนื่อยกว่าเรา ทุกข์กว่าเราเยอะ ในเมื่ออาหารกินดีขนาดไหนก็ตาม มันก็ห้ามความแก่ไม่ได้ กินดีขนาดไหนก็ตามมันก็ห้ามความเสื่อมไม่ได้ กินดีขนาดไหนมันก็ห้ามความตายไม่ได้ ไม่ให้มันกินมันก็ยิ่งปรากฏความทุกข์ให้เห็นชัด ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เป็นทุกข์อย่างนี้ เราต้องคอยกินให้มันอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรายังอยากได้มันหรือไม่ ถ้าเราเห็นทุกข์ตรงนี้ชัดเจนแล้ว คาดว่าทุกคนคงไม่อยากได้ร่างกายอีกเพราะว่าความเหนื่อยยากทุกประการมันเกิดมาจากเรื่องของอาหาร เป็นเรื่องของอาหารเกือบทั้งหมด คนเราถ้าไม่ต้องกินเสียอย่างเดียว เรื่องอื่นกวนเราน้อยมาก ในเมื่อเราเห็นความทุกข์ตรงนี้อย่างชัดเจนแล้วเรายังอยากเกิดอีกก็ต้องบอกว่าสิ้นสติ ในเมื่อเราพิจารณาเห็นอย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า

    ร่างกายนี้ถึงเอาอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยงมันก็ยังคงประเภทค่อยๆ เสื่อมไปในที่สุดก็สลาย ก็ตาย ก็พัง ในระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ก็ต้องทุกข์ยากเหลือเกินเพื่อที่จะเอาอาหารมาหล่อเลี้ยงร่างกายนี้ ดังนั้นขึ้นชื่อว่าการเกิดมาเรามีร่างกายเช่นนี้เราก็ไม่พึงปรารถนามันอีกแล้ว ตั้งใจให้แน่วแน่ว่าถ้าหากว่ามันตายลงไปแต่ว่าจบ เราจะไม่เกิดมากินให้มันทุกข์แบบนี้อีก ใครไม่รู้ว่ามันทุกข์ขนาดไหน ก็ลองนั่งเคี้ยวปากเปล่าๆ ตัวเองสัก 3 นาที 5 นาที มันจะรู้ว่ามันเมื่อยปากขนาดไหน หรือไม่ก็ยกมือทำท่าตักอาหาร ยกขึ้นยกลงสัก ครึ่งชั่วโมงติดต่อกันมันจะรู้ว่ามันเมื่อยมือขนาดไหน ความทุกข์เกิดจากอาหารมันเกิดอยู่ตลอดเวลา เกิดอีกเมื่อไหร่ก็ทุกข์อีก เพราะฉะนั้นเราไปนิพพานดีกว่า

    เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วก็ให้จับคำภาวนาต่อไป โดยใช้การจับภาพพระหรือว่าเอาใจเกาะพระนิพพาน ตั้งใจว่าถ้ามันหมดอายุขัย หรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายใดๆ ต้องตายลงไป เราขอไปอยู่พระนิพพานแห่งเดียว ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็ชื่อว่าเราปฏิบัติในอาหาเรปฏิกูลสัญญา ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมฐาน 40 กองได้แล้วแต่ว่าต้องให้มันทรงตัวคือทุกครั้งที่นั่งอยู่หน้าวงอาหารให้รู้ทันทีว่าอาหารมีพื้นฐานมาจากความสกปรกโสโครก กินเข้าไปร่างกายเราก็สกปรกโสโครก ถ่ายออกมาก็เป็นของสกปรกโสโครก ขณะที่กินก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่กินก็ยิ่งทุกข์เข้าไปอีก ขึ้นชื่อว่าการเกิดมาทุกข์เช่นนี้ราไม่ต้องการเกิดอีกแล้ว เราต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน ให้ว่งกำลังใจตรงจุดนี้ทุกครั้งที่นั่งอยู่ข้างวงอาหาร ถ้าอย่างนั้นท่านไม่ต้องเสียเวลาสวดปฏิสังขาโย ไม่ต้องเสียเวลาไปพิจารณาเรื่องอื่น กำลังใจมันจะทรงตัวอยู่ของมันตลอดเอง สำหรับวันนี้ก็ให้วางกำลังใจของเราส่วนหนึ่งอยู่กับการจับภาพพระหรือคำภาวนา ส่วนที่เหลือก็เตรียมตัวทำวัตร สวดมนต์ของเราต่อไป

    เรื่องของอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น มันมีอยู่จุดหนึ่งที่ต้องระมัดระวัง คือว่าเมื่อเราพิจารณาอาหาร จนเป็นปกติแล้ว บางที่มันจะเกิดอาการประเภทที่เรียกว่า สะอิดสะเอียน หมดความคิด ที่จะฉันอาหารนั้น อันนี้อย่าลืมว่า ถ้าเราเห็นว่ามันสกปรกจริงๆ บางท่านถึงกับฉันอาหารไม่ได้ ไปหลายๆวัน ตัวนี้ต้องระมัดระวังให้ดี

    อย่าลืมว่า เราเองยังมีชีวิตอยู่ ยังจำเป็นต้องอาศัย ร่างกายนี้เพื่อการปฏิบัติ ถ้าหากว่าเราไม่ฉันอาหารเข้าไป ร่างกายก็ทรงอยู่ไม่ได้ เราก็จะ เสียผลของการปฏิบัตินั้นไป

    ดังนั้นก็จำเป็นที่จะต้อง หลับหูหลับตา สักแต่ว่า ฉันมัน เข้าไป อันนั้นจึงจะเป็นการที่เรียกว่า ฉันโดยไม่ติด ในสี ในกลิ่น ในรส อย่างแท้จริง ส่วนอีกข้อ หนึ่ง ก็คือ ถ้าหากว่าเราทำไป จนอารมณ์ใจมันทรงตัวแล้ว การพิจารณาอาหาร ถือว่าเป็นปกติแล้ว

    คราวนี้เราต้องพิจารณาดูอีกข้อหนึ่งว่า อาหารนั้นเหมาะกับธาตุขันธ์ ของเราหรือไม่ ถ้าหาก ว่าอาหารนั้นไม่เหมาะกับธาตุขันธ์ของเรา ฉันเข้าไปแล้วมันเกิด เป็นโทษกับร่างกาย ทำให้ เจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้กระวนกระวาย ทำให้ไฟธาตุกำเริบ หรือว่า ทำให้ธาตุใดธาตุหนึ่ง มันบก พร่อง หรือล้นเกิน ทำให้ร่างกายมันไม่สบายขึ้นมา เราก็เสีย การปฏิบัติเช่นกัน ถ้าอยู่ใน ลักษณะนั้นเราก็พยายาม งดเว้น อย่างเช่นที่ผมทำอยู่ อย่างเช่นของที่มันเย็นเกินไป อายุของผม มันมากแล้วไฟธาตุมันน้อย ถ้าฉันของเย็นเข้าไปมาก มันจะเป็นไข้หรือว่าเป็นหวัด จับไข้ไปเลย ผมก็พยายามเลี่ยงพวกของเย็น อย่างพวกฟักแฟง แตงกวาอะไรพวกนั้น จะไม่แตะต้องกับมัน แต่ขณะเดียวกันว่า ธาตุขันธ์ของผมมันกลับ ไม่เหมาะกับอาหารร้อนอีก เพราะฉะนั้นพวก ข้าวเหนียวพวกอะไรผมก็ยุ่งกับมันไม่ได้

    ให้พยายามสังเกตตัวเองว่า ฉันอะไรเข้าไปแล้ว มันเหมาะสมกับร่างกาย ฉันอะไรเข้าไป แล้วมันไม่เหมาะสม แล้วค่อยเลือกสิ่งที่มัน เหมาะสมสำหรับตัว แต่ตรงจุดที่เราบอกให้เลือกมันนี้ อย่าไปเลือกในสิ่ง ที่เราเห็นว่ามันอร่อย อย่าไปเลือกในสิ่ง ที่เราว่ารสมันดี สีสันวรรณะมันดีให้เลือกเพราะรู้จริงๆว่า มันเหมาะแก่ ร่างกายของเรา อันไหนไม่เหมาะ ถ้าญาติโยมเค้าประเคนมา ก็ฉันมันเสียหน่อยนึง เพื่อเป็นการ ฉลองศรัทธา แล้วก็หันไปฉันในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง แต่ว่าบางทีบางเวลาผมเจอญาติโยม บางท่าน ไม่มีทรงอุเบกขาในทานบารมี ประเคนของมาแล้ว ก็นั่งจ้องอยู่นั่นแหละ ถ้าพระไม่ฉัน ก็เซ้าซี้ให้ฉัน ถ้าอยู่ในลักษณะนั้นบางทีผมก็ต้องยอมรับว่า เราคงจะสร้างกรรมเอาไว้มาก ทำให้ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ได้ เมื่อทำใจว่า เราจำเป็นต้องรับกรรมอันนี้ ผมก็ฉันให้เค้ามันเต็มที่ แล้วผมก็ไปนอนจับไข้เอง พยายามเลี่ยงมันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับตัว และต้องมีสติรู้อยู่เสมอ

    เมื่อฉันเข้าไป มันก็ไม่สามารถจะห้าม ความเสื่อมได้ ฉันเข้าไปมันก็ไม่สามารถ จะห้ามความตายได้ แต่มันสามารถระงับความ กระวนกระวายของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกำลัง ทรงตัวอยู่เพื่อการปฏิบัติของเราได้

    หน้าที่ของความเป็นพระเราอย่าลืม อย่างที่หลวงพ่อท่านย้ำอยู่เสมอๆว่า นิพพานัสส สจิกริยายะเอตังกาสาวัง พเหตวาเรารับผ้ากาสาวพัสตร์นี้มา เพื่อทำให้แจ้งถึงพระนิพพานหน้าที่อื่นของเรานั้นไม่ใช่คันถธุระนั้นไม่ใช่ เราศึกษา เราทำในคันถธุระ เพื่อเป็นการเปลี่ยน อิริยาบท เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดของการปฏิบัติ แต่หน้าที่หลัก ของเราจริงๆ ก็คือ การสวดมนต์ ทำวัตรปฏิบัติพระกรรมฐาน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นหน้าที่หลัก อันอื่นเป็นเรื่องรอง ลงไปทั้งหมด คราวนี้ในแต่ละวันที่เราทำสิ่งต่างๆให้สังเกตใจของเรา ถ้ามันมีอารมณ์กระทบ เข้ามา ในด้านดีเป็นที่น่าพอใจ พอมันกระทบเข้ามาแล้วจิตใจของเรามันพอง มันฟู มันยินดีหรือไม่ ถ้าเป็นด้านที่ไม่ดี กระทบเข้ามาแล้วมันยุบ มันกำลังใจตก มันไปเศร้าหมอง อยู่กับมันรึไม่

    ไม่ว่าจะยินดีกับมัน หรือยินร้ายกับมันก็ตาม กำลังใจมันยังใช่ไม่ได้ทั้งคู่ อย่างที่กล่าว ไว้ว่า พอกระทบแล้วก็ทิ้งมัน กองไว้ตรงนั้น

    ไม่ใช่รับมันเข้ามา มาปรุงมาแต่ง มาแบกมันเอาไว้ แล้วก็มาคร่ำครวญว่ามันทุกข์เหลือเกิน ลำบากเหลือเกิน อันนั้นเราทุกข์ เพราะตัวเราเอง ลำบากเพราะตัวเราเองไม่ต้องโทษใคร ถ้าเราไม่แบกขึ้นมา มันก็ไม่ทุกข์ไม่ลำบาก สักแต่ว่ากองๆ มันไว้ตรงหน้า กระทบมาก็กองไว้ตรงนั้นได้เห็นมา ได้ยินมา ได้กลิ่นมา ได้รสมา ได้สัมผัสมา กองมันไว้ตรงนั้น

    ต้องมีการสำรวมอินทรีย์ คือระมัดระวังในสิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเราให้เป็นปกติ ต้องมี โภชเนมตันยุตตา รู้จักประมาณในการกิน มากเกินไปมันก็จะเซื่องซึมง่วงเพราะว่า ไฟธาตุมันต้องลงไปที่กระเพาะ เพื่อไปย่อยอาหาร มันทำให้มีเลือดไปหล่อ เลี้ยงสมองน้อยลง มันก็จะซึมจะง่วง อยากจะนอนเป็นปกติ ถ้าฉันน้อย จนเกินไป ธาตุขันธ์มันย่ำแย่ โรคกระเพาะ มันกำเริบได้ เพราะฉะนั้นต้องดูว่ามันเหมาะแก่ตัวเองเท่าไหร่

    โภชเนมตันยุตตา คือต้องรู้จัก ประมาณ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน ให้มันพอเหมาะพอดี พอดีแก่ธาตุขันธ์ของเรา ไม่ใช่ว่า ว่าจน เิกินไปแล้วก็นอนหลับทั้งวัน หรือไม่ก็น้อยจนเกินไป แม้กระทั่งยามค่ำคืน ท้องมันร้องตาสว่างอยู่ หลับไม่ลงก็มี ต้องมี ชาตรีญาณุโยค คือการปฏิบัติ ธรรมะของผู้ตื่นอยู่ คำว่าผู้ตื่น คือเป็นผู้ มีสติ รู้อยู่ตลอดเวลา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง มีสติ ควบคุมอยู่ตลอด รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราเป็นพระ กิจใดก็ตามที่เป็นกิจสงฆ์ เราต้องทำให้ ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าที่ของเรา คือชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ จะได้ไม่เสียที ที่กินข้าวของโยม เข้าไป ไม่เสียทีที่เค้าเลี้ยงเรามา ถ้าเราไม่สามารถชำระจิตใจ ของเราให้ผ่องใสได้ อย่างน้อยๆก็ ให้มีฌานสมาบัติอยู่ ซึ่งมันจะกดกิเลสให้ดับลงชั่วคราว มันสามารถผ่องใสได้ตราบใดที่เรา ไม่คลายกำลังฌานออก พูดง่ายๆ ว่าไม่ได้มาก ก็เอาน้อย อย่างน้อยๆต้องได้สักส่วนใดส่วนหนึ่ง

    การบวชเข้ามา เป็นการเสี่ยง อย่างยิ่ง เพราะว่าโอกาสที่จะพลาด ลงอบายภูมิมันมาก เกินกว่า 90%ในเมื่อเราลงทุนเสี่ยงเข้ามาแล้ว ถ้าไม่ขึ้นข้างบนก็ลงข้างล่าง โอกาสจะอยู่ กลางๆมันน้อย เราก็ทุ่มเทลองทำให้มัน จริงๆจังๆดู คำว่าจริงจังก็คือ ทำให้สม่ำเสมอ ทำให้ เป็นระบบ ทำให้เป็นเวลา แล้วพยายาม ประคับประคองรักษาอารมณ์ใจนั้นไว้กับเรา ให้อยู่กับมัน ให้มากที่สุด ให้นานที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถ้าเราทำอย่างสม่ำเสมอจริงจัง ผลจะเกิดได้ง่าย

    เรื่องของการปฏิบัติ เป็นเรื่องของคนเอาจริง เป็นเรื่องของปรมัตถบารมี กำลังใจที่เป็น สามัญบารมีขั้นต้นก็ดี อุปบารมีขั้นกลางก็ดี มันจะทำได้ไม่ตลอด มันต้องเป็นปรมัตถบารมีเท่านั้น ในเมื่อตัวเราเองขึ้นชื่อว่าเป็นปรมัตถบารมีแล้ว ถ้าไปอ่อนแอ เหยาะแหยะอยู่กับมัน ถึงเวลา อัน โน้นก็ไม่ไหว อันนี้ก็ไม่ไหว ถ้าอย่างนั้นมันจะเอาดีไม่ได้ มันต้องได้ทุกอย่าง ไหวทุกเรื่อง ถ้าไม่ ได้ให้มันตายไปเลย ถ้าเราทุ่มเทกำลังใจในลักษณะอย่างนี้ได้ การปฏิบัติของเรา ก็จะเห็นผลเร็ว.
     
  2. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนโดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    อาหาเรปฏิกูลสัญญา

    อาหาเรปฏิกูลสัญญา แปลว่า พิจารณาอาหารให้เป็นของน่าเกลียด อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตก็จริง แต่ทว่าอาหารนี้เป็นภัยแก่นักนิยมบำเพ็ญความเพียรเพื่อเผาผลาญกิเลสให้เร่าร้อนไม่น้อยเหมือนกัน ถ้าจะพูดกันให้ตรงแล้ว อาหารนั้นไม่เป็นภัยเลย แต่ความรู้สึกของคนเองสร้างความเป็นภัยให้เกิดแก่ตัวทราบกันอยู่เป็นปกติแล้วว่าสัตว์ทุกประเภทต้องการอาหาร แต่ความต้องการอาหารของร่างกายนี้ ร่างกายต้องการเพียงยังอัตภาพให้เป็นอยู่ชั่วคราว ร่างกายมิได้มีความต้องการสีสันของอาหาร มิได้ต้องการรสเลิศของอาหาร ร่างกายไม่เคยบัญชาว่าต้องการอาหารที่มีราคาแพงไม่เคยบอกว่าอาหารที่ทำด้วยสัตว์ตายเองมีรสไม่อร่อย และอะไรอีกนับไม่ไหวที่มวลหมู่นักกินทั้งหลายต้องการล้วนแล้วแต่เสกสรรเพื่อความเร่าร้อนด้วยการกินทั้งสิ้น มีไม่น้อยรายที่ต้องยากจนเพราะเรื่องกินที่เกินพอเหมาะพอดี หลายรายที่ต้องตายเพราะการกินที่เกินพอเหมาะพอดี

    เรื่องอาหาร ความจริงแล้วไม่มีอะไรน่าหนักใจเลยที่หนักหนักในการแสวงหาอาหารมาบำรุงบำเรอเพื่อความเหมาะสมด้วยสีของอาหาร รสของอาหาร ประเภทของอาหาร และสถานที่ทำอาหารจนต้องล้มละลายตายจากกันและยากจนเข็ญใจเพราะอาหารความสลายตัวและความเร่าร้อนทั้งหลายเหล่านี้ เกิดจากอำนาจของกิเลสและตัณหาที่สิงใจอยู่นั่นเอง กิเลสคอยบัญชาการให้เกิดความต้องการ ล่อลวงให้ล้มละลายจากความดี สร้างความทุกข์ให้เกิดด้วยการยั่วเย้ายุแหย่ให้เกิดความพอใจในอาหารที่เกินควรอาหารนั้นจะเป็นอาหารประเภทใดก็ตามอาหารราคาถูกหรือราคาแพงก็เป็นอาหารที่กินแล้วหิวใหม่ทั้งสิ้น อาหาร
    จานละหนึ่งบาท หรืออาหารจานละหนึ่งร้อย หรือหลายแสนบาท กินแล้วก็กลับหิวใหม่เหมือนกัน ไม่มีอะไรวิเศษกว่ากันความที่ไม่รู้จักความพอดีในการอาหาร เป็นการถ่วงความดีทั้งในการทรงความเป็นอยู่ในด้านฐานะและทั้งความเป็นผู้รู้เท่าถึงการณ์ คนเลือกในอาหารเกินพอดี เป็นคนไร้ความดี คนที่รู้จักบริโภคอาหารตามความพอเหมาะพอดีเป็นคนดีที่รู้เท่าถึงการณ์ เรื่องการกินของชาวโลกที่เสกสรรกินเพราะกิเลสตัณหาสนับสนุน และเจ้าตัวเองก็ยังมัวเมาอยู่ จะขอยกไว้ไม่นำมากล่าว

    คนที่ควรจะพูดกันได้ก็คือคนประเภท พระโยคาวจร คำว่า โยคาวจรหมายถึงท่านที่เริ่มเจริญสมถกรรมฐาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐานท่านเรียกว่า พระ หมายถึง เริ่มเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐ โยคาวจร แปลว่า ผู้มีความประพฤติที่ประกอบด้วยความเพียร รวมความแล้วได้ความว่า ท่านผู้มีความประพฤติประกอบความเพียรเพื่อให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐ ท่านที่เริ่มกรรมฐานท่านเรียกว่า พระ ดูเหมือนจะได้เปรียบกว่าพวกพระที่บวชท่านเรียกว่า สมมติสงฆ์ ท่านยังไม่ยอมเรียกว่า พระ เพราะเพียงแต่เอาตัวมาเข้าพวกยังไม่เอาใจมาเข้าเป็นพวก ต่อเมื่อเริ่มปฏิบัติกรรมฐานนั้นแหละ ท่านจึงเรียกว่า พระโยคาวจร

    ต่อเมื่อได้สำเร็จมรรคผล จึงยอมรับถือว่าเป็น พระแท้ พระโยคาวจร หมายถึง การฝึกเพื่อความเป็นพระแท้ แต่ก็เริ่มเป็นพระจากเล็กน้อยไปหามาก จนเป็นพระเต็มตัว คำว่าพระโยคาวจรนี้ ท่านเรียกทั้งท่านที่บวชเป็นพระและอุบาสกอุบาสิกาที่เริ่มทำความเพียรเพื่อเผาผลาญกิเลสด้วยการเจริญพระกรรมฐาน ท่านพวกนี้เท่านั้นควรที่จะพูดกันเรื่องอาหารในที่นี้


    พิจารณาอาหาร

    นักปฏิบัติต้องเว้นจากอาหารที่เป็นโทษทางร่างกายทุกชนิด อาหารทุกประเภทที่บริโภคแล้วเป็นโทษเป็นพิษแก่ร่างกาย พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้จำและเว้นอย่างเด็ดขาด เพราะการเจริญสมาธิหรือวิปัสสนา ถ้าสุขภาพไม่ปกติ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไม่ปกติทางท้องแล้วการเจริญสมาธิหรือพิจารณาวิปัสสนาญาณจะไร้ผล เพราะอาการวิปริตทางอุทรเป็นสมุฏฐาน ฉะนั้น อาหารประเภทใดที่เคยบริโภคแล้วทำให้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ท่านให้เว้นเด็ดขาดไม่ควรเกรงใจผู้ให้ การเกรงใจจนตนเองเป็นโทษ เป็นการเกรงใจที่ไม่พอเหมาะพอดี

    อาหารที่ยั่วราคะ คือเมื่อกินเข้าไปแล้วเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ในกามารมณ์ ควรเว้นเด็ดขาด อาหารที่เป็นภัยแก่ชีวิตของผู้อื่น โดยการทำด้วยการเจาะจงให้ เมื่อรู้แล้วไม่ควรบริโภค ไม่ควรเกรงใจผู้ให้ เพราะจะเป็นไปเพื่อสนับสนุนให้เขาทำบาปมากขึ้น


    ก่อนบริโภคอาหารทุกครั้ง ควรพิจารณาอาหารก่อนว่า

    ๑. จะบริโภคเพื่อความเป็นอยู่
    ท่านสอนว่า ควรคิดว่า เราจะบริโภคอาหารเพื่อความเป็นอยู่ของร่างกาย เพราะร่างกายต้องการอาหาร เรายังต้องอาศัยร่างกายประกอบความดี เราจะกินเพื่อให้ร่างกายมีกำลังเท่านั้นเราไม่กินเพื่อความผ่องใสของผิวพรรณ เพื่อเป็นการยั่วเย้ากิเลสให้เกิดเพราะความผ่องใสนั้นเราจะไม่สรรหาอาหารที่ไม่จำเป็น เพราะรสในอาหาร เพราะสีสันในอาหาร หรือเพราะความโอ้อวดในการบริโภคอาหาร คือ กินอวดชาวบ้านว่า ฉันมีอาหารที่หาได้ยากมากินดังนี้เป็นต้น

    ๒. พิจารณาให้เห็นว่าปฏิกูล
    ก่อนบริโภคท่านให้พิจารณาว่าอาหารนี้จะทำด้วยฝีมือของใครก็ตามที่นิยมว่ารสเลิศหรือเป็นอาหารมีราคาสูง อาหารนี้มีความสำคัญเสมอกันอย่างหนึ่งคือ มีพื้นเพเป็นของสกปรกมาในกาลก่อน เพราะอาหารที่เป็นพืช ย่อมสกปรกมาตั้งแต่ก่อกำเนิดของพืช โสโครกเพราะอาหารของพืชที่เจือด้วยของโสโครก เช่น ปุ๋ยจากอุจจาระของสัตว์และมนุษย์และปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำด้วยมูลขยะที่เต็มไปด้วยของสกปรก และสกปรกด้วยการทอดทิ้งไว้ในที่สาธารณะมีที่
    วางไม่เลือกที่ของผู้ขาย พืชมีความโสโครกดังนี้

    อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ สัตว์ประเภทนั้นต้องมีเลือด คาว น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระปัสสาวะ เป็นสิ่งที่มนุษย์เกลียดชังว่าเป็นของสกปรกโสโครกเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเนื้อที่นิยมกันว่าประเสริฐเพียงใด ในที่สุดผู้บริโภคที่เลือกแต่อาหารชั้นเลิศต่างก็ต้องบริโภคใหม่ เพราะไม่อิ่มตลอดกาล และก็ถ่ายเทกากอาหารออกมาเป็นสิ่งโสโครกแล้วกากเหล่านั้นก็ไปเป็นอาหารของสัตว์และพืช รวมความแล้ว อาหารที่เรากินทั้งมวลเป็นอาหารสกปรก ไม่ใช่ของเลิศประเสริฐตามที่คิด

    ท่านสอนให้พิจารณาว่า โสโครกตามความเป็นจริง จากการเกิดของพืชและสัตว์ต่อมาให้พิจารณาให้เห็นว่า โสโครกในเมื่อเข้าไปรวมกันในปาก โดยท่านให้ข้อคิดว่าอาหารที่จัดสรรว่าเลิศราคาแพงคนปรุงจะมาจากโลกไหนก็ตามเมื่อเอาอาหารมารวมกันแล้วทำเป็นคำเพื่อบริโภคพอเอาอาหารที่สรรแล้วใส่ปากแล้วก็คายออกมาเราไม่กล้าที่จะเอาอาหารนั้นใส่เข้าไปในปากใหม่ เพราะรังเกียจว่าเป็นของโสโครก


    อีกนัยหนึ่งท่านให้พิจารณาว่า อาหารที่บริโภคนี้ห้ามความตายไม่ได้ คนที่มีอาหารเลิศ เช่น พระราชา พระเจ้าจักรพรรดิ์ที่ครองโลกหรือมหาเศรษฐีท่านใดก็ตามท่านทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีอาหารเลิศที่มวลมนุษย์ที่มีฐานะปานกลางไม่สามารถจะหามาบริโภคได้ท่านเหล่านั้นมีอาหารดีเพียงใดท่านก็ตายนับไม่ถ้วนแล้วชื่อว่าอาหารที่เลิศห้ามความตายไม่ได้

    อาหารเลิศห้ามความเสื่อมไม่ได้ อาหารชั้นเลิศที่ท่านดังกล่าวมาแล้ว บริโภคห้ามมิให้ท่านแก่ คือ เป็นคนหนุ่มสาวตลอดกาล หรือห้ามมิให้เจ็บไข้ได้ป่วยไม่ได้ ท่านเหล่านั้นท่านมีอาหารเลิศ แต่ท่านก็ต้องเป็นคนแก่ เป็นคนมีโรค มีทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

    รวมความว่าอาหารนั้นห้ามอนิจจังความเที่ยงไม่ได้จะกินอย่างไรก็ต้องเป็นผู้ไม่เที่ยงตลอดเวลา
    อาหารห้ามความทุกข์ไม่ได้ กินดีเท่าไร ก็ยังมีทุกข์เป็นธรรมดา ต้องป่วย ต้องแก่หูหนัก ตามืด ร่างกายอ่อนแอ เหมือนกับคนที่บริโภคอาหารตามปกติ คือ อาหารที่ไม่ผิดศีลธรรมและเป็นอาหารที่มีราคาไม่แพง
    อาหารห้ามอนัตตาไม่ได้ ความทุกข์เป็นอนัตตาของผู้แสวงหาความสุขเมื่อคนทุกคนต้องการแต่ความสุข เมื่อความต้องการทุกข์ไม่มี ไม่ว่าใครทำทุกอย่างเพื่อความไม่มีทุกข์ แต่ทุกคนก็ต้องมีทุกข์ ทั้ง ๆ ที่ตนไม่ปรารถนา ฉะนั้น ทุกข์จึงเป็นอนัตตาของผู้แสวงสุขเพราะบังคับไม่ให้ทุกข์เกิดไม่ได้ในที่สุดก็ต้องสลายกันจนสิ้นซากแม้แต่กระดูกก็ไม่เหลือไว้เป็นพยาน เขาเหล่านั้นมีอาหารเป็นที่พึ่งทั้งนั้นแต่อาหารก็ห้ามอนัตตาไม่ได้ รวมความว่าอาหารไม่ใช่เครื่องจรรโลงชีวิตให้อยู่ตลอดกาลอาหารเป็นเพียงเครื่องค้ำจุนชั่วคราวท่าน
    จึงสอนไม่ให้เลือกอาหาร เพราะติดในรส สี และฝีมือ สถานที่อันเป็นการมัวเมาในอาหารที่เกินควรเพราะเป็นการส่งเสริมกิเลสเกินพอดี


    อาหารพระอริยะ

    พระอริยะตัวอย่างขอยกเอาพระพุทธเจ้าซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ประกาศพระศาสนามาพูดให้ทราบ สมัยหนึ่งในหลายสิบสมัย พระองค์ทรงเดินทางร่วมกับพระอานนท์ไปบิณฑบาตทรงพบนางบุญทาสีในระหว่างทางนางบุญเป็นคนจนเป็นทาสของเศรษฐี นางเห็นพระพุทธเจ้านางก็ดีใจ คิดว่า วันก่อน ๆ เราเห็นพระอยากจะทำบุญ แต่เราก็ไม่มีของ บางวันเรามีของ เราก็ไม่พบพระวันนี้โชคดี เรามีแป้งจี่ผสมรำห่อพกมาเพื่อบริโภค เราพบพระพอดี เป็นอันว่าเรามีของและพบพระพร้อมกัน เราจะทำบุญให้สมใจนึก นางจึงเอาแป้งจี่เข้าไปถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับแป้งจี่จากนางแล้วนั่งฉันข้างทางนั่นเอง เป็นเหตุให้นางเลื่อมใส พอพระองค์อนุโมทนา นางก็ได้สำเร็จพระโสดาบัน


    พระรัฐบาลฉันอาหารทิ้ง
    พระรัฐบาลเป็นพุทธสาวก เป็นพระอรหันต์ ท่านไปเยี่ยมบ้านไม่มีใครจำท่านได้ ไม่มีใครเขาใส่บาตร ท่านยืนอยู่ใกล้บ้าน บังเอิญหญิงสาวใช้เอาอาหารเหลือบริโภคออกมาเทนอกบ้านท่านเห็นเข้าท่านจึงพูดว่าดูก่อนน้องหญิงถ้าของนั้นเป็นของที่ทิ้งแล้วขอน้องหญิงจงเทลงในบาตรของเรา เมื่อนางเทของลงในบาตร ท่านก็นั่งฉันตรงนั้น

    เรื่องอาหารนี้ ดูแล้วจะเห็นว่าพระอริยะแม้แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่พิถีพิถันอะไรนักนอกจากอาหารที่เป็นโทษ เช่น อาหารที่เขาบอกว่าจะแกงปลา แกงไก่ แกงสัตว์อะไรก็ตามที่เจ้าภาพบอกชื่อก่อนถวาย อาหารประเภทนี้ท่านไม่รับ เพราะเป็นโทษทางก่อให้เกิดกิเลสและตัณหาและอาหารที่เกินพอดี เช่น เนื้อมนุษย์ เนื้อเสือ เป็นต้น ท่านเว้นเด็ดขาด เพราะมีรสดีเกินไปทำให้ก่อกิเลสและตัณหา นอกนั้นไม่เป็นโทษต่อร่างกายไม่ผิดธรรมวินัย ท่านฉันเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ฉันเพื่อยั่วกิเลสและตัณหา ไม่ฉันเพื่อรสและเพื่อสีสันวรรณะของอาหารไม่ติดร้านหรือผู้ปรุงรวมความแล้วท่านสอนให้บริโภคอาหาร
    เพื่ออยู่ไม่ให้เมาในรสในสีและให้พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของโสโครกไม่ใช่ของวิเศษที่สร้างผู้บริโภคเป็นผู้วิเศษถ้ากินดีโดยการพิจารณาก็มีผลเป็นญาณและได้มรรคผลเพราะอาหาร ถ้ากินด้วยความมัวเมาในรส ในสี ในคนปรุง ก็มีทุกข์เพราะอาหารขอนักปฏิบัติจงสังวรณ์ในเรื่องบริโภคให้มากถ้าท่านปลงอาหารตกไม่เมาในรสอาหารท่านมีหวังเห็นฝั่งพระนิพพานในอนาคตอันไม่ไกลนักเพราะผู้ที่ไม่เมาในรสอาหาร ก็เป็นผู้ไม่เมาในชีวิตผู้ไม่เมาชีวิตก็เป็นคนเห็นไตรลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คนเห็นพระไตรลักษณะก็เป็นผู้เห็นอริยสัจคนเห็นอริยสัจก็เป็นผู้ถึงความเป็นพระอริยะ ท่านที่เป็นพระอริยะก็เป็นผู้เข้าถึงพระนิพพาน ขอท่านที่เจริญกรรมฐานข้อว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ จงตั้งใจปฏิบัติด้วยดีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันคือยอมตายดีกว่าที่จะมีจิตใจติดในรสอาหารเท่านี้ความหวังของท่านก็ได้รับผลตามที่ตั้งใจทุกประการ



    (ขอยุติอาหาเรปฏิกูลสัญญาไว้เพียงเท่านี้)
     
  3. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนโดยอาจารย์คณานันท์


    เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ


    ------- เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน

    ----ขอบารมีพระท่านให้สงเคราะห์เราให้ปรากฏ "ดวงจิตเป็นแก้วใส"อันเป็นดวงจิตของเราพร้อม "ตัวรู้" ปรากฏขึ้นเบื้องหน้าของอาทิสมานกายด้วยเถิด เมื่อดวงจิตของเราปรากฏขึ้นลองเคลื่อนย้ายดวงจิตขึ้น ลง ไปซ้าย ไปขวา ให้ได้ดังใจนึก จากนั้นบังคับดวงจิตให้ลอย อยู่เหนือ อาทิสมานกายที่นั่งอยู่บนพระนิพพาน จากนั้น ใช้ตัวรู้ในดวงจิตรับภาพที่ปรากฏอยู่โดยรอบของพระนิพพาน จะรู้สึกว่าตัวรู้ของจิตนั้นเห็นสัมผัสได้โดยรอบไม่มีหน้าไม่มีหลัง ด้วยความเป็นทิพย์ ลองเคลื่อนดวงจิตลงมาจากพระนิพพานโดยยังคงอาทิสมานกายอยู่ข้างบน ให้ดวงจิตเลื่อนลงมาอยู่ใน ศีรษะของกายเนื้อบนโลกมนุษย์ เปลี่ยน อายตนะ จากการรับรู้ด้วยตาเนื้อ มาเป็นการสัมผัสและการรับรู้ได้ด้วยใจ ด้วยความรู้สึกที่เป็นทิพย์ ลองใช้ความรู้สึกที่ไม่ใช่ตา มองหรือสัมผัสภาพด้วยใจ ท่านที่ทำได้จะเห็นได้รอบทิศทางเช่นเดียวกับที่อยู่บนนิพพาน เมื่อฝึกใช้ใจสัมผัสจนคล่องแล้วต่อไปจะเข้าสู่ วิปัสนาญาณในเรื่องอาหาเรปฏิกูลสัญญา หรือการพิจารณาอาหารที่เราเห็นว่าเอร็จอร่อย หอมหวล สวยงามนั้น แท้ที่จริงมีสภาวะเป็นอย่างไร การพิจารณานี้เป็นไปเพื่อการคลายกำหนัดยินดีและหลงติดในรสชาดอาหาร อันจะช่วยทำให้กิเลสเบาบางลง

    ----อธิฐานขอให้ดวงจิตพร้อมตัวรู้ของเรา เป็นลูกแก้วใส ขนาดเท่าประมาณนิ้วหัวแม่โป้ง ให้จิตเรามีตัวรู้และอายตนะรู้เห็นสัมผัส ได้กลิ่นได้ยินเสียง เป็นปกติ จากนั้นเริ่มพิจารณาว่า อาหาร อันมีหมูเห็ดเป็ดไก่กุ้ง และอาหารอันปราณีตโอชะทั้งหลาย ล้วนชวนให้เราบุกบั่น ไปชิมไปกิน ไปซื้อหามา ไม่ว่าจะแพงเพียงไร แต่แท้ที่จริงแล้ว เมื่อล่วงเข้าสู่ปากจะมีสภาวะเช่นไร จากนั้นให้ดวงจิตพร้อมตัวรู้ของเราลอยเข้าไปในปากของเราพร้อมกับให้ตัวรู้ในจิตได้รับทราบว่าในขณะที่อาหารที่อยู่ในปากถูกบดเคี้ยวอยู่ คลุกเคล้ากับน้ำลายมีสภาวะเป็นเช่นไร ใช้จิตสัมผัสรับรู้พิจารณาด้วยใจเป็นอุเบกขา จนจิตมีความเข้าใจ จากนั้นเลื่อนดวงจิตของเราลงไปพร้อมกับอาหารผ่านลำคอลงไปสังเกตุว่ามีเมือกไคลอยู่ในลำคอ ใช้จิตสัมผัสว่ามีความสะอาดหรือสกปรก มีกลิ่นหอมหรือเหม็น อธิฐานขอว่าให้การพิจารณานี้ด้วยสติและใจที่เป็นอุเบกขา ขออย่าให้เกิดอาการกระอักกระอ่วนหรือคลื่นไส้ ใดๆปรากฏขึ้นกับร่างกายทั้งสิ้น ซ้ำยังขอให้ลูกแก้วนี้ผ่านลงไปชำระธาตุในร่างกายให้สะอาดบริสุทธ์แข็งแรงขึ้นประหนึ่งโอสถทิพย์ด้วยเถิด จากนั้นเคลื่อนดวงจิตลงไปยังกระเพาะอาหาร ใช้จิตสัมผัสดูภายในว่ามีอาหารเก่า อาหารใหม่เป็นเช่นไร สภาพกรดในกระเพาะมีอาการกัดย่อยอย่างไร ใช้จิตดูว่าน่ากินน่าสัมผัสหรือไม่ มีกลิ่นหอมหรือเหม็น สัมผัสอาการบีบรัดตัวของกระเพาะอาหารดู ไหนๆมาแล้วใช้จิตสำรวจดูว่ามีรอยแผลในกระเพาะหรือไม่ สภาพกรดเข้มไปไม๊ จิตจะมีตัวรู้รับรู้ได้เอง

    ---เมื่อผ่านลงมาด้านล่างของกระเพาะสู่ลำไส้เล็ก เคลื่อนจิตไปตามลำไส้ จะพบคราบเมือก คราบอาหาร เกรอะกรัง ใช้จิตสัมผัสดูว่า สีสรรเป็นอย่างไร สะอาดหรือสกปรก มีกลิ่น หอมหรือเหม็น เคลื่อนผ่านไปจนเกือบถึงลำไส้ใหญ่ สังเกตุดูว่ามีพยาธิ ชนิดต่างๆ อยู่มากน้อยเพียงไร มีสภาพอย่างไร ถ้ามีก็จงไปถ่ายยา ถ้าไม่มีก็ดีแล้ว จากนั้น เคลื่อนจิตต่อไปจนถึงลำไส้ใหญ่ ที่ซึ่งเราจะมาเจอของจริงคือ อาหารเก่าหรือที่เรียกกันว่าอุจจาระนั่นเอง ลองใช้จิตเกลือกดูว่าอุจจาระมีสภาพสภาวะอย่างไร แล้วน้อมจิตตริตรองว่า ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อันร่างกายขันธ์ห้าไม่ว่าคนว่าสัตว์นั้น เปรียบประดุจดังถุงหนังที่ดูสวยงามแต่ภายในกลับเต็มไปด้วยความโสโครกมีอุจารระปัสสาวะเป็นต้น บัดนี้ดวงจิตของข้าพเจ้าได้เข้าใจอย่างซาบซึ้งในดวงจิตขณะนี้แล้วว่า เป็นจริงตามพระพุทธวจนะทุกอย่าง ทุกประการ เมื่อจิตสัมผัส จนจิตเกิดเห็นจริงและเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายแล้วจึงเคลื่อนดวงจิตผ่านออกมาทางทวาร และดูความสว่างของจิต พิจารณาว่าจิตดวงนี้อยากอยู่ในร่างกายร่วมกับอุจจาระ หรืออยากยกจิตขึ้นสู่พระนิพพาน เมื่อตัดสินใจได้แล้ว สำหรับท่านที่อยู่บนพระนิพพานแล้ว ถ้าวิสัยสาวกภูมิ ขอนิพพานชาตินี้ ขอให้อธิฐานว่า ร่างกายอันเป็นของไม่สะอาดสกปรกนี้เราขอใช้เพียงชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ที่เดียว จุดเดียวที่เราต้องการคือพระนิพพาน

    ---ส่วนท่านที่เป็นพุทธภูมิอธิฐานว่าขอให้วิปัสนาญาณนี้เราได้ทำให้แจ้ง ทั้ง อัตถะ พยัญชนะโดยพิสดาร ติดตัวไปทุกภพชาติเพื่อใช้สร้างบารมีสั่งสอนเวไนยสัตว์ตราบจนบรรลุถึงซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณมีพระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ

    ---ส่วนท่านที่ตัดสินใจอยู่กับกายเนื้อให้พิจารณาใหม่เข้าไปในปากอีกรอบ จนจิตเห็นจริงและเข้าใจในอาหาเรปฏิกูลสัญญา อย่างแท้จริง

    ----- ที่ได้ฝึกไปนี้ได้ทั้ง วิปัสนา ในอาหาเรฯ ทั้งการเปิดจิตให้ปรากฏอายตนะห้า ทั้งการใช้จิตสแกนดูร่างกายเพื่อใช้ประกอบการรักษาโรคซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมพิสดารต่อไป ส่วนท่านที่มีความเพียรสูง หรือวสัยพุทธภูมิ ให้ลองใช้ดวงจิตแยกกองและเข้าไปสัผัส ในอาการ สามสิบสองดูทีละกองจนครบดูครับ จะพบความก้าวหน้าของจิตที่เข้าใจในวิปัสนาญาณอย่างมากขึ้นครับ

    ----เมื่อจิตคลายตัวจากการยึดมั่นถือมั่นลงแล้ว ให้ใช้อาทิสมานกาย กราบขอบารมีพระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์ ขอได้โปรดเชิญ ท่านพระยายมราช ท่านท้าวมหาราชทั้งสี่ แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระเพลิง แม่พระพาย พ่อแม่ในอดีตชาติ เทพพรหมเทวาที่ท่านมีพระคุณ คอยปกปักรักษาดูแลข้าพเจ้า และครอบครัว ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ขอให้ท่านเมตตามาปรากฏเบื้องหน้าอาทิสมานกายของข้าพเจ้าด้วยเทอญ จากนั้นแยกอาทิสมานกายพร้อมดอกบัวแก้วน้อมถวายทุกท่านและกราบลงที่เท้าของทุกท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ

    ----จากนั้นอธิฐาน ระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและที่จะบำเพ็ญต่อไปในอนาคต ขอให้มารวมตัวกัน ณบัดนี้ และขอน้อมถวาย บูชาแก่ทุกๆท่านเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และนับแต่นี้เป็นต้นไปจนข้าพเจ้าถึงซึ่งพระนิพพาน ขอให้ทุกๆท่านได้โมทนาและมีส่วนร่มในบุญในกุศลทุกอย่างทุกครั้งไปด้วยเทอญ ขอให้ท่านพระยายมราช และแม่พระธรณีได้เป็นพยานบุญในการทำความดี ทำกุศลของข้าพเจ้าทุกอย่างทุกครั้ง หากแม้นข้าพเจ้าพลาดพลั้งในการวางอารมณ์ใจก่อนตาย ก็ขอให้พระยายมราชท่านได้ เป็นพยานบุญให้ข้าพเจ้าเพื่อการจุติไปในที่สุขติด้วยเทอญ
    หากแม้นมีหมู่มาร คิดร้ายทำลายการสร้างบารมีของข้าพเจ้า ก็ขอให้แม่พระธรณีท่านได้มาช่วยเป็นพยานเฉกเช่นที่เคยปรากฏกับพระพิชิตมารมาในอดีตด้วยเทอญ
    หากแม้นมีภัยอัตรายใดก็ขอให้ท่านท้าวมหาราชทั้งสี่ท่านเมตตาคุ้มครองข้าพเจ้าจากภัยอันตรายทั้งปวงทั้งสี่ทิศด้วยเทอญ
    ขอแม่พระธรณีรักษาอย่าให้ข้าพเจ้าผจญกับภัยธรณีพิบัติ
    ขอแม่พระคงคารักษาอย่าให้ข้าพเจ้าผจญกับภัยทางน้ำ
    ขอแม่พระเพลิงรักษาอย่าให้ข้าพเจ้าผจญกับภัยแห่งไฟ ระเบิด รังสี ทั้งปวง
    ขอแม่พระพายรักษาอย่าให้ข้าพเจ้าผจญกับภัยจากลม จากพายุ
    และขอหมู่มวลเทวาปกปักรักษาข้าพเจ้าทั้งยามหลับยามตื่น ให้เจริญทั้งทางโลกทางธรรม ตั้งมั่นในสัมมาทิษฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติด้วยเทอญ

    ----จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ----- ขอกราบ โมทนาบุญทุกๆท่านที่ทำได้ครับ ที่ผ่านไป เปรียบเหมือกับพิธีมอบตัวให้ เทวดาผู้ใหญ่ท่านได้รู้จักและคุ้มครองรักษา ซึ่งจะช่วย และบรรเทาอันตรายให้ท่านได้อีกส่วนหนึ่งครับ ถ้าไม่เกินอำนาจกฏของกรรม
     
  4. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ต่อไปเป็นการร่วมกันพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญาของธรและเพื่อนๆ ที่เสริมเข้ามาค่ะ...


    ธร

    ตามความเป็นจริง อาหารที่เราเลือกแล้ว เฟ้นหาแล้วว่า เลิศที่สุด อร่อยที่สุด ถูกปากที่สุด (ณ ขณะจิตนั้นๆ)... เมื่อนำมาวางทิ้งไว้โดยไม่กิน มันจะเริ่มเซ็ง ไม่สด ไม่น่ากินเหมือนตอนที่ทำ หรือซื้อมาใหม่ๆ

    ถ้ายังไม่กินอีก ก็จะเริ่มมีรสชาติแปลกๆ สีสันเริ่มเพี้ยนเป็นคล้ำลงบ้าง เขียวหรือขาวขึ้นบ้างจากการที่มีเชื้อราเกิดขึ้น... แถมกลิ่นก็เริ่มฉุน เริ่มเหม็นเน่า จากน้อยๆ ก็มากขึ้นๆ จนสุดจะทน...

    ถ้าทิ้งไว้นานอีกสักหน่อย... ก็จะเริ่มเห็นหนอนสีขาวๆ ยุ่บยั่บๆ ยั้วเยี้ย ไต่เต็มไปหมด... ถ้าถึงขั้นนี้ยังมีอารมณ์อยากที่จะกินอะไรหลงเหลืออยู่อีกหรือไม่...

    ลองหยิบอาหารที่มีหนอนยั้วเยี้ยนี้ขึ้นมาด้วยมือเปล่า... จะมีเมือกเหนียวๆ เหนอะหนะๆ ไหลย้อยจากอาหาร ผ่านมือ ลงไปสู่จาน แถมอาหารนั้นก็เละเทะไม่มีชิ้นดี ยิ่งกลิ่นด้วยแล้ว... เหม็นจนต้องวิ่งไปอ๊อก ออกที่ในห้องน้ำ แถมกลิ่นก็อาจเหม็นติดมือไปอีกหลายวัน... หนอนหรือก็พยายามไต่ขึ้นไต่ลงอยู่บนมือของเรา...

    ดังนั้นเมื่อจิตเริ่มรับรู้ถึงสภาวะของอาหารที่จะกินตามความเป็นจริงแล้ว... ความอยากอาหารจะลดลงเรื่อยๆ ตามความถี่ความบ่อย ของการพิจารณา และน้อมนำให้เห็นภาพตามไปด้วย...

    เมื่อทำได้แบบนี้ จนจิตเริ่มนึกขยาดไม่อยากที่จะกิน ที่จะแตะต้องอาหารแล้ว... ก็ให้พิจารณาแบบใหม่สำทับเข้าไปว่า...
    อย่างไรเสีย เราก็ยังต้องอาศัยอาหารนี้ในการดำรงซึ่งธาตุขันธ์ของเรา จนกว่าจะถึงอายุขัยของเรา... ดังนั้นนับแต่นี้เป็นต้นไป เราจะทานอาหาร เพียงเพื่อดำรงธาตุขันธ์ของเราไว้ เพื่อยังประโยชน์แก่ตัวเอง และผู้อื่น เราจะไม่หลงยึด หลงติดอยู่ใน รูปของอาหารที่ชวนให่น่ากิน ไม่ติดในรสชาติความอร่อยใดๆ ไม่หลงในกลิ่นหอมจนชวนน้ำลายสออีกต่อไป...











     
  5. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ต่อไป เรามาพิจารณา ธาตุ ๔ กันนะคะ...

    ................................................

    คำสอนโดยสมเด็จพระอริยวงษญาณฯ พระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) (สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถือน) - พระประวัติและพระนิพนธ์


    ธาตุววัตถาน


    นั้น คือ เอกววัตถาน ให้กำหนดเอาธาตุทั้ง ๔ กำหนดสีสัณฐพรรณให้แน่แก่ใจ มิได้คลาดเคลื่อน เพียรขับไล่ให้เล็กละเอียดลง แลกลมกล่อมแท้นั้น ๑
    อันนี้ชื่อว่าธาตุววัตถาน


    ...................................................


    คำสอนโดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ)


    จตุธาตุวัฏฐาน


    จตุธาตุวัฏฐาน ปฐวีธาตุ... ดิน น้ำ ไฟ ลม เตโชธาตุ วาโยธาตุ พิจารณาธาตุให้อยู่ครบ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประชุมอยู่ในตัวเรา ขาดธาตุใดธาตุหนึ่งให้ภาวนา ขาดธาตุน้ำไป ร่างกายจะเหี่ยวแห้ง ให้ภาวนาเอาไว้ให้มีน้ำใจ ให้มีน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจ มีน้ำหล่อเลี้ยงร่างกาย เรียกว่า จตุธาตุวัฏฐาน
    พิจารณาธาตุนั้นๆ ให้ครบ
    เราต้องการความอบอุ่น ก็ใช้เตโชกสิณธาตุไฟ
    ต้องการจะให้มีลมในร่างกายก็ใช้วาโย... พิจารณาจตุธาวัฏฐานนี่เอง แล้วพิจารณาไป... ฐานะจะดี จะมีร่างกายอยู่ด้วยความปกติ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บขึ้นแก่เราแต่ประการใด นี่เรียกว่ากรรมฐาน



    ..........................................................
     
  6. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนโดยพระครูธรรมธรเล็ก สุธัมมปัญโญ


    จตุธาตรวัฏฐาน 4

    สำหรับวันนี้ก็จะมากล่าวถึง กรรมฐานอีกกองหนึ่งคือ จตุธาตรวัฏฐาน 4 คือการพิจารณา ให้เห็นร่างกายอันนี้ว่า มันประกอบขึ้นมา จากธาตุ 4 อย่าง คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ภาษาบาลีเรียกว่ามหาโพธิตรูป 4 กรรมฐานข้อนี้

    สำหรับท่านที่ ติดอยู่ในร่างกายของ ตัวเองว่าเป็นเรา เป็นของเรา ความจริงก็ไม่ต่างจาก กายคตานุสติกรรมฐานสักเท่าไร แต่ว่า มันสามารถพิจารณาแยกแยะเป็นส่วนๆ เพียงแต่ว่า คราวนี้ไม่ได้แยกว่า มันเป็นเนื้อเป็นหนัง เป็นกระดูก เป็นเส้นเอ็น เป็นอวัยวะภายในภายนอก คราวนี้มันแยกออกเป็นธาตุ แต่ละธาตุ แต่ละส่วน เราจะได้เห็นว่าสภาพร่างกายนี้จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร ร่างกายของเราประกอบ ขึ้นมาจากธาตุ 4 อย่าง

    คือดิน ส่วนที่แข็งจับได้ต้องได้เป็นธาตุดิน
    คือน้ำ ส่วนที่เหลวไหลอยู่ในร่างกายของเราเป็นธาตุน้ำ
    คือลม ส่วนที่พัดไปมาในร่างกายของเราเป็นธาตุลม
    คือไฟ ส่วนที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเป็นธาตุไฟ

    ท่านให้แยกออกมาเป็นส่วนๆ 4ส่วน พระพุทธเจ้าตรัสว่าเหมือนกับนายแล้วก็ไปนึกถึงส่วนที่เป็นของเหลวในร่างกายคือธาตุน้ำ ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำตา น้ำลาย น้ำดี เหงื่อ ไขมันเหลว ปัสสาวะ ไขมันเหลวคือพวก ไตรกิศลาย ที่มันอยู่ในเลือด อันนี้ก็แยกไว้ส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่านึกไม่ออก กองมันทิ้งไว้ไม่ได้ ก็็้นึกถึงกะละมังใหญ่ๆ สักใบ ใส่มันไว้ตรงหน้าก็ได้


    ส่วนที่เป็นธาตุลม คือส่วนที่พัดไปเบื้องสูง พัดลงเบื้องต่ำ พัดไปทั่วร่างกาย อันนี้เป็นความดันโลหิต ส่วนที่ค้างอยู่ ในท้องในไส้ของเรา คือพวกแก็ส ส่วนที่เป็นลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อันนี้แยกไว้ อีกส่วนนึง ถ้านึกไม่ออกจริงๆ ก็เอาถุงสักใบใส่มันเอาไว้ หรือลูกโป่งสักใบใส่มันเอาไว้ ตรงหน้าเรา

    ส่วนที่เป็นธาตุไฟ คือความ อบอุ่นของร่างกายของเรา คือไฟธาตุที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต ไฟธาตุที่เผาผลาญ ร่างกายให้ทรุดโทรมลง อันนี้ฝรั่งเขาค้นพบแล้วเค้างงมาก ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร ร่างกายเราต้องการออกซิเจน แต่ขณะเดียวกัน ออกซิเจน นั่นแหละ ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสสระขึ้นมาในร่างกาย ทำลายร่างกายของเราให้โทรมลงไปทุกวันๆ เพราะว่าเขาไม่รู้ในจุดนี้ เขาก็เลยไปงง ไฟธาตุที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต ที่เผาผลาญร่างกายของเรา ให้ทรุดโทรมลงที่ช่วย ในการสันดาป ย่อยอาหาร ที่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของเรา อันนี้ แยกไว้ อีกส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่านึกไม่ออก ไม่สามารถที่จะแยกมันออก ก็นึกถึงกองไฟสักกองหนึ่ง อยู่ตรงหน้าของเรา ก็ได้ แล้วเจ้าไฟธาตุทุกตัว มันก็คือส่วนหนึ่งของไฟกองนั้น

    ในเมื่อเราแยกออกมาครบสี่ส่วน แล้ว เราจะเห็นว่าไม่มีอะไรที่เป็นเรา เป็นของเราเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนแล้วสักแต่ว่า เป็นธาตุเมื่อถึงวาระถึงเวลา มันมาผสมโรงกัน ปรุงกันขึ้นมาเป็นรูป มีหัว มีหู มีหน้า มีตา แค่เราได้ อาศัยอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว ตามบุญตามกรรมที่ทำมา เราก็ไปยึดว่า เป็นตัวกู เป็นของกู แต่จริงๆแล้ว มันมีอะไรที่เป็นตัวกู ของกูหรือไม่ ก็ดูมันเอาไว้ ดูมันให้เห็นให้ชัดเจน ว่ามัน สักแต่ว่าเป็นเปลือกที่เราอาศัยอยู่เท่านั้น เราอาศัยอยู่กับเปลือกนี้ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ เรามี ความสุขหรือไม่ มันมีแต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา มันหิว มันกระหาย มันร้อน มันหนาว มันเจ็บไข้ได้ป่วย มันสกปรกโสโครกเป็นปกติ เราก็ต้องลำบากยากแค้น ในการหาให้มันกิน หาให้มันดื่ม พามันไปถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ รักษาพยาบาลมันยามเจ็บป่วย ดูแลทำความ สะอาดมันไม่ให้ มันสกปรกโสโครก จนกระทั่งเราเองถึงกับทนไม่ได้ มันมีความทุกข์ของมัน อยู่ตลอดเวลาตราบใดที่เรายังเกิดมามีร่างกายนี้ มันก็ยังทุกข์อีก


    คราวนี้ถ้าหากว่า ธาตุใด ธาตุหนึ่งมันบกพร่อง อาการเจ็บป่วยเกิดกับร่างกาย ต้องมาลำบากต้องมาทุกข์ยาก อยู่กับมัน ต้องมาเสียเวลา รักษาพยาบาลดูแลเอาใจใส่มัน มันก็ยังไม่เท่าไหร่ แต่พอถึงวาระถึงเวลา มันบกพร่องมากๆ เติมให้มันไม่ไหว หนุนมันเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น มันก็ตายหมดสภาพ อันดับ แรกถ้าหากว่าตายเนี่ย ธาตุลมมันจะขาดออกไปก่อน เมื่อธาตุลมมันขาด ไม่มีตัวหนุนเสริม ธาตุไฟมันก็ดับ เมื่อธาตุไฟ มันดับมันอันตรธานไป เหลือแต่ธาตุดินกับธาตุน้ำ ตอนแรก ยังมี ธาตุไฟอยู่คอยควบคุมธาตุน้ำ ไม่ให้ล้นเกิน ให้พอเหมาะพอดี แต่พอไม่มีธาตุไฟไปคอยควบคุม มัน ธาตุน้ำมันก็ล้นเกิน ดันร่างกายให้อืด พองขึ้นมา อันนี้ อุทุมาตกอสุภ


    วันก่อนสอนไปแล้ว พอถึงเวลาตายไปแล้วสักสองวัน สามวัน มันก็เริ่มเขียวๆ ช้ำๆขึ้นมา อันนี้ วิเนรกอสุภ พอสัก สี่ห้าวัน ร่างกายที่เป็นธาตุดินมันทนไม่ไหว ธาตุน้ำมันทลายเขื่อนออกมาแล้ว ผิวกายบริแตก น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองไหลโทรม เลย อันนี้ วิปุภกอสภุ สอนไปแล้ว พิจารณาได้ มอง ให้เห็น มันค่อยๆเปื่อย ค่อยๆเน่าโทรมลงๆ จนกระทั่งเน่าเปื่อยไปหมด เหลือแต่โครงกระดูก อยู่ อันนี้ อัฐิกอสุภ สอนไปแล้ว พิจารณาให้เห็น ก็สัตว์ต่างๆ มากัดมาฉีก มาทึ้ง มาดึงมาลาก ไปกิน อวัยวะส่วนต่างๆ โดนงับ โดนกัดโดนฉีก โดนทึ้งเว้าไป แหว่งมา ในระหว่างนั้น อันนี้ก็เป็น วิขายิทกอสุภ จนกระทั่งมันฉีกหลุดออกเป็นชิ้นๆ กระจัด กระจาย ออกไป อันนี้เป็น วิขิกตกอสุภ เราสามารถพิจารณารวมกันเข้าไปได้ จนกระทั่งโครงกระดูก กระจัด กระจายไปทุกส่วน จากของใหม่ ก็เป็นของเก่า ค่อยๆเปื่อยผุพังย่อยสลายจมดินไป ไม่มีอะไร เหลือเลยแม้แต่นิดเดียว ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ คืนไปสู่ความเป็นธรรมชาติ ของมัน แล้วตัวเรา ของเรามีหรือไม่


    เมื่อแยกแยะมาถึงตรงจุดนี้ก็จะเห็นว่าจริงๆแล้วมันไม่มีอะไร เป็น เรา เป็นของเราเลย มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไป ในที่สุดจากเด็กเล็กๆ ก็เป็นเด็กโต เป็นเด็กหนุ่มเด็กสาว เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นวัยกลางคน เป็นคนแก่ แล้วก็ตาย มันอาจจะตายตั้งแต่เด็กก็ได้ ตั้งแต่หนุ่มสาวก็ได้ ตั้งแต่กลางคนก็ได้ หรือมาตาย ตอนแก่ก็ได้ ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการเจ็บ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทุกข์ของ การปรารถนาไม่สมหวัง ทุกข์ของการกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ทุกข์ของการหิว การ กระหาย ทุกข์ของความร้อน ทุกข์ของหนาว ทุกข์ของความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์ของความสกปรก โสโครก ต้องอึดอัดต้องทนอยู่กับมัน

    ความทุกข์มันมีอยู่เป็นปกติ แล้วท้ายสุดมันก็สลาย มันก็ตาย มันก็พัง บังคับบัญชามันไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา กลายเป็นธาตุ 4 ดินน้ำไฟลม คืนแก่ธรรมชาติเค้าไปในเมื่อมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราก็จะเห็นชัดเจนว่า มัน ไม่เที่ยง ระหว่างที่มันตั้งอยู่มันก็มีแต่สิ่งที่เราต้องทน ต้องฝืนอยู่กับมัน มันก็เป็นทุกข์ท้ายสุด มัน ก็สลาย ก็ตาย ก็พังไป ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เราเกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องเจอร่างกายที่ไม่ เที่ยงอย่างนี้อีก เกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องเจอร่างกาย ที่เป็นทุกข์อย่างนี้อีก เกิดอีกเมื่อไหร่ก็เจอ ร่างกายที่ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถึงเวลามันจะป่วยมันก็ป่วย ถึงเวลา มันจะตายมันก็ตาย บังคับบัญชามันไม่ได้ ต้องทุกข์ต้องทนอยู่กับมันอย่างนี้อีกแล้วเรายัง อยากจะเกิดมามีร่างกายอย่างนี้อยู่หรือไม่ มันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา สักแต่ว่าเป็น ธาตุ 4 ประกอบกันขึ้นมาให้อาศัยอยู่ชั่วคราว ถึงวาระถึงเวลา มันสลายไปมันพังไป เราก็ต้องไป ตามบุญตามกรรมที่เราทำมา ถ้าหากว่ายัง ไม่พ้นตายพ้นเกิด ก็ต้องเวียนไปมีอัตตภาพ ร่างกาย อย่างนี้อีก อาจจะย่ำแย่กว่านี้ คือเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือดี กว่านี้หน่อยนึง เป็นเทวดา เป็นพรหม แต่ว่าก็ยังไม่สามารถหลุดพ้น พร้อมที่จะลงสู่อบายภูมิ อยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ใช่เทวดาพรหมที่เป็นพระอริยเจ้า แล้วเรายังจะต้องการร่างกายนี้อยู่หรือ

    เมื่อเราเห็นจริงแล้วว่า มันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา จิตเราก็ปลดออกจากความ ต้องการ ของจุดนั้น ตั้งใจว่า ถ้าหากว่าถึงวาระถึงเวลา มันตายมันพัง เราก็ขอไปพระ นิพพานแห่งเดียว แล้วจับคำ ภาวนา จับลม หายใจเข้า-ออกควบไปด้วย จับภาพพระ ควบไปด้วย ภาวนาจนอารมณ์ใจ ทรงตัว ถึงที่สุด เพื่อเรียกว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติใน จตุธาตรวัฏฐาน 4 ได้อย่างที่เราต้องการแต่ว่าไม่ใช่ปฏิบัติในลักษณะทรงอารมณ์ภาวนา เฉยๆ ให้ใช้ปัญญาประกอบด้วย ให้เห็นอยู่ตลอดเวลาว่า ไม่ว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของ เขาก็ดี จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นคนเป็นสัตว์ก็ตาม มันสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาจากธาตุ 4 เกิดขึ้น ในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ขณะดำรงชีวิตอยู่มีแต่ความทุกข์ ไม่มี อะไรให้ยึดถือมั่นหมายได้ ท้ายที่สุดมัน ก็สลาย ก็ตาย ก็พังไปร่างกายของเราก็ยึดถือไม่ได้ ร่างกายของเขาก็ยึดถือไม่ได้ สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟเฉยๆ ให้อาศัยอยู่ ถ้าทำกำลังใจถึงจุดนี้ได้เต็มที่ จะเห็นคนเห็นสัตว์ เห็นผู้หญิงเห็นผู้ชาย เห็นข้าวของเครื่องใช้ มันจะเห็นเหมือนๆกัน คือสักแต่ว่า ประกอบขึ้นจากธาตุ 4 เป็นกองทุกข์ เป็นที่รวมของ ความทุกข์ และไม่สามารถที่จะ บังคับบัญชามันได้อย่างใจ เพราะฉะนั้นเราไม่เอามันอีกดีกว่า

    คิดว่าถ้าตายแล้วเราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว เอาใจจดจ่ออยู่กับพระนิพพานไว้ หรือเอาใจ จดจ่อกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเอาไว้ ให้ใจมันทรงตัวอยู่ตรงจุดนั้น ไม่มา ผูกพันกับร่างกาย ที่มันไม่เที่ยง ร่างกายที่เป็นทุกข์ ร่างกายที่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ให้มี ปัญญาเห็นอยู่อย่างนี้ ตลอดเวลา แยกมันออกจากเราอยู่ตลอดเวลา อย่าได้เห็นว่ามันเป็นเรา เป็นของเราแม้สักนิดเดียว เพราะว่าถ้าเห็นว่ามันเป็นเราเป็นของเราแม้แต่น้อยนึง เราก็ยัง ต้องเกิด เราก็ยังต้องทุกข์ต่อไป

    การปฏิบัติใน จตุธาตรวัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นกรรมฐานอีกกองนึง เหมาะสำหรับท่านที่เป็น พุทธจริต หรือว่าท่านที่เป็นราคะจริตก็สามารถที่จะปฏิบัติได้ ถ้า สามารถแยกแยะมันออกจริงๆ ก็จะไม่มีอะไรให้เรายึดถือมั่นหมายให้ยินดียินร้ายกับมันได้เลย สำหรับตอนนี้ก็ให้ทุกคน ประคับประคองอารมณ์ที่ทำได้ ที่ทรงตัวอยู่นั้น ให้อยู่กับเรา โดยการ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่ง ให้ควบคุมมันเอาไว้ ส่วนที่เหลือจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของเราต่อไป
     
  7. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนของอาจารย์คณานันท์ที่ธรพบจะเป็นการให้คำแนะนำท่านที่ถามคำถามเข้ามานะคะ... และ อีกข้อเป็นการสรุปสั้นๆ แทรกอยู่กับการตอบคำถามในเรื่องอื่นๆ นะคะ


    คำสอนโดยอาจารย์คณานันท์


    ขออนุญาตตอบการบ้านจากคุณหนูน้อยครับ

    ข้อเดียวพิจารณา 3 ชั้น 3 แบบให้พิจารณาร่างกายของเราเอง แยกออกเป็นธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลมไฟโดย

    1. พิจารณาเอาง่าย ๆ ตามที่เคยอ่านมาในหนังสือธรรมะ หรือที่จำเขามา

    พิจารณาในชีวิตประจำวัน จะมองเห็นชัด ๓ ธาตุในร่างกายของเรา คือ ดิน ลม และไฟ ส่วนธาตุน้ำมองเห็นไม่ค่อยชัด ดินจะเห็นชัดเมื่อไปกระทบสิ่งอื่น เห็นความหนักหน่วง ลมเห็นเมื่อตามดูลมหายใจที่เคลื่อนไหวกระทบทางเดินหายใจตั้งแต่จมูก ช่วงคอ อก ท้อง ไฟ พอดีช่วงนี้ไม่ค่อยสบายเป็นไข้หวัด จะเห็นชัดถึงความร้อนในกาย โดยเฉพาะช่วงอกสำหรับธาตุน้ำ ปกติจะไม่ค่อยรู้สึก นอกจากตอนก่อนและขณะเข้าห้องน้ำทั้งหนักและเบาค่ะ

    2. ให้จับลมสบายให้ได้ก่อน จนเป็นลมละเอียด กำลังใจสูงสุดจนเป็นฌานที่เราทำได้ จากนั้นทรงอารมณ์และพิจารณาในฌาน และให้แยกแต่ละธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เป็นกองกสิณด้วย

    จับลมหยาบ ลมสบาย และลมละเอียดได้ค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าได้ฌานขั้นไหน อาจจะยังไม่ถึง ๔ เพราะยังมีลมหายใจอยู่ค่ะ แต่เบามาก ยังได้ยินเสียงพัดลมและเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ค่ะ แต่เสียงที่ไกลออกไป เช่น ตู้เย็น ไม่ได้ยิน จึงมาพิจารณาธาตุ ๔ ก็จะเห็นชัดเจนขึ้น โดยเริ่มพิจารณาจากธาตุดินก่อน เห็นความหนักหน่วงมากขึ้น ที่แทรกเข้ามาคือ การเคลื่อนไหวของลำตัวที่เปลี่ยนไป จากการนั่งสมาธิหลังตรง เป็นค่อย ๆ แหงนคอขึ้น มีความรู้สึกแน่นที่คอมากขึ้น จนหน้าหงาย หลังติดเบาะพนักเก้าอี้ จึงฝืนตัวถอยกลับมา ก็หงายไปอีก และแน่นที่คอ เห็นคุณสมบัติของธาตุดินชัดขึ้น ความแน่น ก็ฝืนตัวกลับมาอีก คราวนี้พิจารณาไปก็ก้มตัวไปเรื่อย ๆ ก็ฝืนกลับมาอีก กายก็ก้มไปใหม่ คราวนี้หัวหมุนไปทางซ้ายแล้วก็ย้ายไปทางขวากลับมาตรงกลาง มันเป็นไปของมันเองนะคะ ก็ดูมันอยู่ว่าคราวนี้จะแสดงอะไรล่ะ แล้วหัวก็ค่อย ๆ เงยเหมือนมุดอะไรสักอย่าง ในใจก็ผุดว่าหรือจะแสดงให้เห็นถึงจากการตายแล้วย้ายมาการเกิด เพราะตนเองทราบจากผู้มีญาณและการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาที่ผ่านมา ว่าชาติที่แล้วผูกคอตายหนีการแต่งงานที่ไม่ปรารถนามาค่ะ

    ส่วนธาตุน้ำ พิจารณาไม่ชัดค่ะ ธาตุลมก็ตามดูลม เห็นความไหว และธาตุไฟ ก็เห็นความร้อนที่มีอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ทราบว่าพิจารณาเช่นนี้ถูกต้องมั๊ยคะ อ้อ มีคำถามเรื่องฌานหน่อยนะคะ คือ ไม่ทราบว่าที่ตนเองทำได้อยู่ในขั้นไหน ที่ผ่านมาก็จับลมของตนเองจนไม่สามารถจับได้และมาพิจารณาการนั่งแทนก็เคย จนไม่ได้ยินเสียงรอบข้างก็เคย ที่เป็นปัญหาของตนเอง คือ เมื่อตั้งใจทำงานอะไร เช่น อ่านหนังสือ ทำรายงาน จะไม่ได้ยินเสียงทีวี วิทยุที่เปิดอยู่ หรือแม้คนที่คุยด้วยข้าง ๆ ทำให้มีปัญหาในการทำงานร่วมกับคนอื่นอยู่บ้าง เพราะเค้าพูดไป ตนเองไม่ได้ยิน ก็รู้สึกว่าเค้าจะหาว่าเราไม่สนใจเค้า ก็เราจะทำงาน พอทำงานแล้วมันไม่ได้ยินน่ะ ก็พยายามจะฝึกฝนตนเองด้านนี้ให้ทำงานพร้อมกับอยู่ร่วมกับผู้อื่นไปด้วยได้ เพราะไม่งั้นสงสัยต้องอยู่คนเดียวอย่างนี้ตลอดไป แหะ แหะ

    3. ทำอย่างข้อสองก่อน จากนั้น ใช้กำลังของมโนมยิทธิเอากายเนื้อขึ้นไปตัดพิจารณาบนพระนิพพาน
    (b-ng) ข้อนี้ก็ไม่รู้อีกว่าตนเองได้มโนมยิทธิถึงไหน เพราะไม่ค่อยได้ฝึก แต่ลองทำคราวนี้ก็พยายามจินตนาการว่าถอดอาทิสมานกายไปพระนิพพาน ไปถึงก็ไปกราบสมเด็จองค์ปฐมและท่านย่า ๓ ครั้ง ก็รู้สึกว่าท่านเอามือมาจับศรีษะ คงจะคิดไปเองมากกว่า แล้วบอกท่านว่าขอไปพิจารณาตามที่อาจารย์คณานันท์ให้การบ้านมาค่ะ แต่ก็มองไม่เห็นกายเนื้อของตน ก็คิดว่ามันจะพิจารณาธาตุ ๔ ได้ยังไง ก็มีแต่อาทิสมานกายที่เป็นแก้วใส ๆ แล้วไปลาท่านกลับ ก็คงจะคิดไปเองมากกว่าว่า ท่านบอกว่า ไปดีมาดี แล้วก็ลงมาตอบคำถามการบ้านอาจารย์เนี่ยล่ะค่ะ

    อาจารย์กรุณาช่วยแนะนำให้ด้วยนะคะว่าผิดถูกอย่างไร ไม่ต้องเกรงใจค่ะ อยากฝึกฝนให้ได้ของจริงสักทีค่ะ [b-wai]

    ข้อที่หนึ่งนั้นนับเป็นการพิจารณาธาตุสี่ในอาการปรากฏของธาตุนั้นครับ แต่สิ่งที่ขาดหายไปจากอารมณ์พิจารณา ก็คือการพิจารณาจนสุด คือจนถึงอารมณ์ ที่เกิดความเห็นธรรมดาของธาตุทั้งสี่ทั้งในร่างกายเราจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายขันธ์ห้าครับ


    ข้อที่สอง แสดงให้เห็นได้ว่าคุณหนูน้อยทำสมถะได้ในระดับฌานแล้ว โดยเฉพาะการทำงานนั้นจิตก็จะรวมเป็นสมาธิเองโดยอัตโนมัติทำให้เป็นผู้ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าคนทั่วไป

    ส่วนอาการปรากฏในเรื่องราวในอดีตชาติก็เป็นเพราะสัญญาที่ฟื้นคืนจากอำนาจของสมาธิ และก็มีวิธีแก้ด้วยเช่นกัน โดยการชำระล้างปลดปล่อยสัญญานี้ออกไปจากดวงจิตของเรา ซึ่งจะทำให้อาการทางกายที่เกิดขึ้นบรรเทา จนหายไปในที่สุดครับ

    ส่วนในข้อสองนั้นก็ยังเป็นการพิจารณาธาตุโดยอาการ ลักษณะนั้นอยู่ ยังไม่สุดอารมณ์กรรมฐาน ดังนั้นจึงไม่ได้เสวยผลแห่งวิปัสนาญาณเท่าที่ควร ควรพิจารณาเพิ่มเติมจนเกิดอารมณ์ปล่อยวางจากขันธ์ห้า ที่เป็นอารมณ์วางแล้วจิตใจเราปลอดโปร่งขึ้น เบาขึ้นครับ หากยิ่งพิจารณาขันธ์ห้าแล้วอารมณ์ใจเรายิ่งเครียดยิ่งหนักนี่ นับเป็นการวางกำลังใจและอารมณ์ที่ยังไม่ถูกครับ

    ข้อที่สามนั้น คุณเป็นผู้ที่ได้มโนมยิทธิอย่างมีความคล่องตัวครับ ที่ผมทำสีแดงเอาไว้ นั้นพิจารณาดูคุณจะพบได้ด้วยตนเองว่าปัญหาในการฝึกมโนมยิทธิของคุณอยู่ตรงจุดไหน และ จุดนี้เองที่ทำให้คุณไม่ค่อยอยากใช้มโนมยิทธิเท่าที่ควรครับ

    ส่วนการทำการบ้านข้อนี้ พึงนำเอาร่างกายเนื้อบนโลกยกขึ้นไปพิจารณาบนพระนิพพานเลยครับ ยิ่งพิจารณาเปรียบเทียบสภาพ สภาวะ กันระหว่าง กายหยาบในธาตุสี่ กับ อาทิสมานกาย ธาตูธรรมแล้วจะยิ่งไม่อยากเกิด

    สมณะ พร้อม ภูมิธรรม ภูมิปัญญา พร้อม ขาดเพียงการมุ่งจุดของการวางอารมณ์กรรมฐานที่มุ่งตรงนิดเดียวเท่านั้นครับ


    ขอให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมอย่างพลิกขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยครับ [/quote]


    -การฝึกแยกธาตุสี่นั้น ในช่วงที่เป็นอารมณ์พิจารณา เป็นวิปัสนา ส่วนการแยกวัตถุออกเป็นธาตุ และหากเพ่งจนเห็นธาตุนั้นเป็นแก้วประกายพรึกเป็นฌานสี่ ก็จะเป็นสมถะครับ การปฏิบัติจริง จะมีการผสมกอง กัน สลับกองกันเป็นธรรมดาครับ
     
  8. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ธรฝึกพิจารณาธาตุ ๔ โดยนำมาผนวกรวมให้เป็นกสิณ โดยปฏิบัติดังนี้ค่ะ

    ๑. จับลมสบาย...

    ๒. จับภาพพระให้ใสสว่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้... ทรงอารมณ์ใจนี้ไว้สักระยะ... พร้อมกับน้อมจิตยอมรับนับถือองค์พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด ไม่มีที่พึ่งอื่นใดจะประเสริฐไปกว่านี้อีกแล้ว... นึกน้อมยอมรับขอให้ข้าพเจ้าเป็นสัมมาทิฐิไปทุกภพทุกชาติจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน... เสร็จแล้วนึกให้เห็นภาพตัวเองก้มลงกราบที่พระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมามีองค์หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และองค์หลวงพ่อฤาษี เป็นที่สุด พร้อมๆ กัน...

    ๓. กราบขอขมากรรมต่อองค์พระรัตนตรัย โดยการอธิษฐานว่า...
    "- ข้าแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ หากข้าพระพุทธเจ้าได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อองค์พระรัตนตรัย อันมีองค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งครูบาอาจารย์ทั้งหลาย พรหมเทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
    ด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึง
    การณ์ก็ดี...
    - ขอองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... ได้โปรดอดโทษทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่
    บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"
    ก้มลงกราบพระบาททุกๆ พระองค์อีกครั้ง

    ๔. น้อมนึกถึงศีลที่ตัวเองถือปฏิบัติอยู่... ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ตาม... โดยน้อมนึกว่า...
    "ณ ขณะนี้ ศีล ๕ (๘) ของข้าพเจ้าสมบูรณ์ บริบูรณ์ดีทุกประการ... ข้าพเจ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ได้ลักขโมยผู้ใด ไม่ได้ผิดลูกผัว - เมียใคร ไม่ได้พูดโกหกมดเท็จใดๆ ไม่ได้เสพสุราของมึนเมา หรือเล่นการพนันแต่อย่างใด... (ไม่ได้ทานอาหารหลังเที่ยง, ไม่ได้ใช้เครื่องไล้ของหอม เว้นจากการฟ้อนรำ ดูสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ได้ใช้เครื่องประดับตกแต่งใดๆ, ไม่ได้นอนบนที่นอนสูงใหญ่)"

    ๕. หลังจากนั้นให้น้อมนึก ให้อโหสิกรรมให้แก่ผู้ที่เคยล่วงเกินเรามา
    "- ข้าพเจ้าอโหสิกรรม ยกโทษให้แก่ พรหม-เทพเทวา สรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายที่เคยล่วงเกินข้าพเจ้ามาด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี ในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ข้าพเจ้าไม่ถือโทษโกรธเคืองใดๆ ทั้งสิ้น และขอให้พวกท่านทั้งหลายมีความสุขกาย สุขใจ พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งมวล มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม และมีพระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ"

    ๖. เมื่ออโหสิกรรมให้ผู้อื่นเสร็จแล้ว... ให้น้อมนึกถึงกุศลผลบุญ อีกทั้งความดีงามทั้งหลายที่เคยสร้างมาดีแล้วให้มารวมตัวกันที่ดวงจิตของเรา (นึกให้เห็นดวงจิตสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐาน ขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวร ดังนี้...
    "- ข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศส่วนกุศลผลบุญ อีกทั้งทานะบารมี ที่ข้าพเจ้าได้เคยกระทำมาตั้งแต่ต้นกัปต้นกัลป์ จนมาถึงปัจจุบันนี้ และที่จะทำต่อไปในอนาคต... ให้แก่ท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย... ขอให้ทุกๆ ท่านมาร่วมกันอนุโมทนาและได้รับซึ่งกุศลผลบุญ และทานะบารมีเหล่านี้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน...
    (ตอนนี้ให้นึกเห็นรัศมีความสว่างของกุศลผลบุญ ความดีงามทั้งหลายจากดวงจิตของเราแผ่ออกไปคลุมร่างของเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา)
    - และข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินพวกท่านไปด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ขอให้พวกท่านทั้งหลายได้โปรดอโหสิกรรมทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ"


    ๗. เสร็จแล้ว อธิษฐานว่า...
    "ด้วยอานิสงค์ผลบุญที่ข้าพเจ้าได้จากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้แล้ว... ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีองค์พระศรีรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย พรหมเทพเทวาทั้งหลายที่เป็นสัมมาทิฐิ เทวดาอารักษ์ประจำตัวข้าพเจ้า... ขอได้โปรดคุ้มครองทั้งกายหยาบ และอทิสมานกายของข้าพเจ้าจากสิ่งไม่ดี มิจฉิทิฐิ และดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายตลอดทุกลมหายใจเข้า - ออก ทั้งยามหลับและตื่น ทั้งยามที่รู้สึก และไม่รู้สึกตัวก็ตาม นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"

    ๘. ต่อไปกราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อฤาษี ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของธาตุ ๔ และได้วสีความชำนาญในการฝึก และพิจารณาธาตุ ๔ นี้ตลอดไปทุกภพทุกชาติตราบเข้าสู่พระนิพพานด้วยเถิด...

    ๙. กราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนาบารมีเกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน เรื่องธาตุ ๔และสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ


    ๑๐. จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพกระดูก ( น้ำเลือด, ลมหายใจ, ความอบอุ่นในร่างกาย) ให้มีลักษณะของธาตุแต่ละอย่างอยู่ในดวงกลมใสสว่าง (ลักษณะเดียวกับกสิณ) กำหนดให้จิตนิ่งสนิทอยู่กับดวงกสิณนั้น แล้วอธิษฐานกำกับขอให้ ดวงกสิณของธาตุนั้นๆ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ทั้งยามหลับตาและลืมตา

    ๑๑. กำหนดจิตนิ่งๆ เบาๆ สบายๆ จนดวงกสิณธาตุในจิตค่อยๆจางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น

    ๑๒. วางจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น จนดวงธาตุดินนั้นใสขึ้นเป็นแก้ว ใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไป มีความละเอียด เบา สบายขึ้น แล้วอธิษฐานกำกับว่า ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าถึงอุคหนิมิตรนี้ได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ๑๓. กำหนดจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณธาตุนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงแพรวพราวระยิบระยับเหมือนเพชร ให้อธิษฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตาด้วยเทอญ

    ๑๔. เสร็จแล้วน้อมนำกสิณธาตุนั้นมาจับร่วมกับพุทธนิมิต โดยให้ธาตุแต่ละตัวที่เรากำลังจับ (ที่ตอนนี้ ใส สว่างเป็นประกายพรึก) ให้กลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในองค์พระท่าน

    ๑๕. จับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึก... แล้วเพิกภาพพระนั้นออกเสีย... ให้เห็นแต่สภาวะที่เป็นอากาศที่เวิ้งว้าง ว่างเปล่า เป็นที่ที่โล่งขาว ว่างเปล่าไปหมด แล้วกำหนดจิตอธิษฐานว่า...
    "ความเวิ้งว้างว่างเปล่านี้ไม่มีสาระแก่นสารใดๆ ข้าพเจ้าไม่ขอยึดถือ ยึดติดกับความว่างเปล่านี้" เสร็จแล้วทรงอารมณ์นี้ไว้สักพัก...

    ๑๖. เสร็จแล้วจับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึกอีกครั้ง... แล้วเพิกภาพพระนั้นออกเสีย... ให้เห็นว่าจิตของเราลอยอยู่ในจักรวาลที่มีดาวเคราะห์น้อยใหญ่มากมาย แล้วดึงภาพของดาวโลกเข้ามาใกล้ๆ ให้เห็นตึกรามบ้านช่อง วัตถุสิ่งของต่างๆ... แล้วนึกให้เห็นว่าทั้งดวงจิตของเรา ดาวเคราะห์น้อยใหญ่นั้น และวัตถุธาตุทั้งหลาย สลายตัวลงเป็นฝุ่นผง จนมลายหายไปในที่สุด... จนเหลือแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่าของจักรวาลที่ขาวโพลนไปหมด โดยหาขอบจักรวาลไม่ได้... แล้วกำหนดจิตว่า...
    "วัตถุธาตุทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งดวงจิตของเราเองล้วนไม่เที่ยงแท้แท้แน่นอน... หาสาระใดๆ ไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ขอยึดถือวัตถุธาตุทั้งหลายเหล่านี้เป็นสาระแก่นสารใดๆ ทั้งสิ้น" ทรงอารมณ์นี้ไว้สักพัก...

    ๑๗. กลับมาจับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึก... แล้วเพิกภาพพระนั้นออกเสีย... ให้เห็นว่าอายตนะทั้ง 6 นั้นล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน... ไม่ว่าจะเป็นตาที่เห็นรูป จมูกที่ได้กลิ่น หูที่ได้ยินเสียง ลิ้นที่รับรสอาหาร กายที่รับสัมผัสต่างๆ และใจที่ต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งทั้งปวง... แล้วนึกให้สัมผัสอันเกิดจากอายตนะทั้ง 6 นั้นสลายตัวไปเหลือแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่า... แล้วกำหนดจิตว่า...
    "อายตนะทั้ง 6 ล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เปลี่ยนแปล รวนเรไปมา หาสาระแก่นสารใดๆ ไม่ได้สักอย่าง ข้าพเจ้าไม่ขอยึดถือ ยึดติดกับสิ่งทั้งปวงที่เกิดจากอายตนะทั้ง 6 นี้อีกต่อไป" ทรงอารมณ์นี้ไว้สักพัก...

    ๑๘. จับภาพพระให้ใสสว่างเป็นประกายพรึกอีกครั้ง... แล้วเพิกภาพพระนั้นออกเสีย... ให้เห็นว่าสัญญาความจำได้หมายรู้ ความรัก โลภ โกรธ หลง ความทุกข์ และความสุขต่างๆ ที่เป็นสัญญาความจำทั้งในอดีตชาติ ตั้งแต่ปฐมชาติ มาจนกระทั่งในชาติปัจจุบันนี้... ล้วนนำมาซึ่งความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เป็นสิ่งที่หาประโยชน์ใดๆ ไม่ได้... แล้วนึกให้สัญญาความจำทั้งหลายทั้งมวลนั้นสลายตัวไปไม่เหลืออะไรติดค้างอยู่ในดวงจิตอีกเลย มีแต่ความว่างเปล่าเท่านั้น... กำหนดจิตอธิษฐานว่า...
    "ข้าพเจ้าขอน้อมจิตสลายสัญญาความจำได้หมายรู้ทั้งหมดทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปฐมชาติมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ความรัก โลภ โกรธ หลง ความทุกข์ และความสุขต่างๆ ที่เป็นสัญญาความจำทั้งหลายทั้งมวลนั้น... สัญญาความจำเหล่านั้นล้วนหาสาระแก่นสารใดๆ ไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ขอยึด ขอติดอีกต่อไปนับแต่บัดนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน" แล้วประคองจิตนั้นไว้สักพัก...

    ๑๙. อธิษฐานต่อว่า... "ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาการเวียนว่ายตายเกิดใดๆ อีกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในอบายภูมิก็ดี มนุษย์ภูมิก็ดี เทวภูมิ รูปพรหมภูมิ หรืออรูปพรหมภูมิก็ดี... ทุกภพภูมินั้นมีทั้งความทุกข์และความสุข... ถึงจะมีความสุข แต่ก็เพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น หมดบุญหมดวาสนาเมื่อใดก็ต้องลงมาพบกับความทุกข์โศกอีกไม่จบไม่สิ้น ดังนั้นตายจากชาตินี้ ภพนี้เมื่อใด ขอให้ดวงจิตของข้าพเจ้าพุ่งตรงสู่พระนิพพาน เพื่อจะได้กราบพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บนพระนิพพานนั้นในทันทีด้วยเถิด" ทรงอารมณ์นี้ไว้จนกว่าจะพอใจ ตอนนี้อารมณ์ใจของท่านจะสว่าง โล่ง โปร่ง เบา สบาย ไร้ความทุกข์ ความกังวลใดๆ ทั้งสิ้น...

    ให้ท่านอธิษฐานกำกับอีกครั้งว่า...
    "ขอให้ข้าพเจ้าประสบพบ และเข้าถึงซึ่งอารมณ์จิตนี้ได้ทุกที่ทุกสถาน ทุกกาลเวลา ทั้งยามหลับ ยามตื่น ทั้งยามที่รู้สึก และไม่รู้สึกตัว ตามแต่ที่ข้าพเจ้าปรารถนา นับแต่บัดเดี๋ยวนี้ไปตราบจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"

    ๒๐. จากบนพระนิพพานนั้น... ให้น้อมนึกถึงกุศลผลบุญ อีกทั้งความดีงามทั้งหลายที่เคยสร้างมาดีแล้วให้มารวมตัวกันที่ดวงจิต (นึกให้เห็นดวงจิตของคุณสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐานขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรดังนี้...
    "- ข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศส่วนกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าได้เคยกระทำมาตั้งแต่ต้นกัปต้นกัลป์ จนมาถึงปัจจุบันนี้ และที่จะทำต่อไปในอนาคต... ให้แก่ท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย... ขอให้ทุกๆ ท่านมาร่วมกันอนุโมทนาและได้รับซึ่งกุศลผลบุญเหล่านี้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน...
    (ตอนนี้ให้นึกเห็นรัศมีความสว่างของกุศลผลบุญ ความดีงามทั้งหลายจากดวงจิตของเราแผ่ออกไปคลุมร่างของเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา)
    - และข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินพวกท่านไปด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ขอให้พวกท่านทั้งหลายได้โปรดอโหสิกรรมทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ"

    ๒๑. ขอให้ทุกคนประคองจิตจับภาพพระด้วยใจที่เบาสบาย โล่งโปร่งต่อไป... หลังจากนั้นให้น้อมนึก อโหสิกรรม - ให้อภัย -ให้แก่ผู้ที่เคยล่วงเกินทุกๆ ท่านมา อธิษฐานว่า...
    "- นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะมีแต่จิตใจที่ใสสะอาด บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยความดีงาม เปี่ยมไปด้วยความเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย... ข้าพเจ้าอโหสิกรรม ยกโทษให้แก่ พรหม-เทพเทวา สรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายที่เคยล่วงเกินข้าพเจ้ามาด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ข้าพเจ้าไม่ถือโทษโกรธเคืองใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ขอเป็นเจ้ากรรมนายเวรของผู้ใด และขอให้พวกท่านทั้งหลายมีความสุขกาย สุขใจ เป็นสัมมาทิฐิ พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งมวล มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม และมีพระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ"



    ๒๒. ท้ายที่สุดให้คุณน้อมนึกถึงความสุข สดชื่น ความอิ่มเอม เปรมปรีด์ ความชุ่มชื่นใจ... ความรักที่บริสุทธิ์ที่ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน... ความสุขที่สุดที่เมื่อเรานึกถึงครั้งใดก็ตามจะสามารถเรียกรอยยิ้มให้เราได้ ทำให้เรารู้สึกว่าโลกนี้ยิ้มไปกับเราด้วย ทำให้โลกนี้สว่างไสวมีแต่ความเบิกบาน ... ความดีงามทั้งหลายที่เคยสร้างมาดีแล้ว อีกทั้งกุศลผลบุญทั้งหลาย พรหมวิหารสี่ และอภัยทานที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในดวงจิตของคุณให้มารวมตัวกัน (นึกให้เห็นดวงจิตของคุณสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐานแผ่เมตตาอัปปมาณฌานว่า...
    "- บุญ คือ ความสุขที่ปรากฏ ณ บัดนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมถวาย ความสุข ส่วนกุศลผลบุญ อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทาน แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ ต่อกันมาโดยมีองค์หลวงปู่ปาน และองค์หลวงพ่อฤาษีเป็นที่สุด อีกทั้งท่านพ่อ ท่านแม่ ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย บูรพกษัตริย์ไทย บรรพชนไทย นักรบไทยทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... พรหมเทพเทวา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีท่านท้าวจตุมหาราช และท่านพญายมราชเป็นที่สุด...
    - ขอทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน ได้โปรดมาร่วมกัน รับและอนุโมทนาในส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้ และขอได้โปรดมาเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลผลบุญในครั้งนี้ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ...
    (น้อมนึกให้เห็นว่าในมือคุณมีดอกบัวแก้วสว่างไสวแพรวพราว ซึ่งเกิดจากกุศลผลบุญของคุณมารวมตัวกันเป็นดอกบัวนั้น... แล้วน้อมถวายแด่ทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน) พร้อมกับอธิษฐานต่อว่า...
    - และข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศความสุข ส่วนกุศลผลบุญ อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทานนี้ ให้แก่เหล่าสรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล อนันตจักรวาลนี้... ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี... ขอให้ทุกๆ ท่านจงมาร่วมกันอนุโมทนาและรับซึ่งส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้เฉกเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะพึงได้รับนับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน... ขอให้ทุกๆ ท่าน เป็นสัมมาทิฐิ ประสบแต่ความสุข พ้นจากความทุกข์ พ้นภัยจากวัฏฏสงสาร มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลัน ได้สัมผัสและมีพระนิพพานอันเป็นบรมสุขเป็นหลักชัยโดยถ้วนทั่วกันด้วยเทอญ"

    แล้วน้อมนึกให้เห็น หรือให้รู้สึกว่าตัวของเราเองสว่างไสวมีแสงรัศมีสีทองเป็นประกาย อันเป็นรัศมีแห่งความรัก ความสุข ความเมตตา ที่เรามีให้แก่สรรพสัตว์ไม่มีวันจบวันสิ้น ไม่มีประมาณ... นึกให้แสงแห่งความเมตตานี้ค่อยๆ แผ่ปกคลุมอาณาบริเวณที่เราอยู่ให้สว่างไสวเรืองรอง เมื่อจิตของสรรพสัตว์ดวงใดได้สัมผัสกับรัศมีนี้ก็ขอให้มีความสุข ความสงบ ความชุ่มเย็นไปด้วย จิตเรายิ่งเปล่งรัศมีมากเท่าไหร่ จิตเราก็จะยิ่งมีความชุ่มเย็นมากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น... ขยายอาณาเขตของการแผ่รัศมีสีทองเป็นประกายระยิบระยับนี้ให้ค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเรื่อยๆ ให้ปกคลุมไปทั่วสากลจักรวาล อนันตจักรวาลนี้โดยไม่มีประมาณ ไม่มีขอบ ไม่มีที่สุด... เมื่อจิตเรายิ่งแผ่รัศมีออกไปได้กว้างไกลและครอบคลุมมากเท่าไหร่ จิตของเราก็จะยิ่งอิ่มเอิบ แย้มยิ้มมากเท่านั้น...
    ยิ่งให้มากเท่าไหร่ จิตเราก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นไปเท่านั้น ประคองอารมณ์ใจที่แสนจะปิตินี้เอาไว้ให้นานที่สุดจนกว่าจิตจะพอใจ...

    เสร็จแล้วให้น้อมนึกเอาอทิสมานกายของเราเองไปกราบองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่าน และถอนจิตออกจากสมาธิช้าๆ โดยการหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ 3 ครั้ง พร้อมภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ...


    ด้วยพระบารมีแห่งองค์พระรัตนตรัย และกุศลผลบุญที่บังเกิดขึ้นนี้... ขอได้โปรดมารวมตัวกันและส่งผลให้ทุกๆ ท่านมีดวงจิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อภัยทาน มีความสุขทั้งทางโลก ทางธรรม เป็นสัมมาทิฐิ... มีดวงตาเห็นธรรม... เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป... เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลัน... และมีพระนิพพานเป็นหลักชัยโดยถ้วนทั่วกันด้วยเทอญ
     
  9. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    สำหรับกรรมฐานกองสุดท้ายที่เราจะนำมาศึกษากัน...

    เป็นกรรมฐาน เรื่อง พรหมวิหาร ๔ นะคะ...

    ................................................

    คำสอนโดยสมเด็จพระอริยวงษญาณฯ พระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) (สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถือน) - พระประวัติและพระนิพนธ์


    อัปปมัญญา

    คือ พรหมวิหาร ๔ ดังนี้
    เมตตา คือแผ่เมตตาจิตไปแก่สัตว์ทั้งหลายทั้ง ๑๐ ทิศ ๑
    กรุณา คือแผ่กรุณาไปแก่สัตว์ทั้งหลาย ๑
    มุทิตา คือใจอ่อนแก่สัตว์ทั้งหลาย ๑
    อุเปกขา มีจิตเป็นอุเปกขาแก่สัตว์ทั้งหลาย ๑

    เข้ากันเป็น ๔ ประการเท่านี้

    .............................................


    คำสอนโดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ)


    อัปปมัญญา ๔ : พรหมวิหาร ๔


    ต่อไปพรหมวิหาร ๔ หรือที่เราเรียกว่าอัปปมัญญา
    พอพูดถึงอัปปมัญญา ต้องพูดถึงพรหมวิหารเลย ที่เรียกว่าอัปปมัญญาเพราะแผ่ไปไม่มีที่สิ้นสุด พรหมวิหารสี่แผ่ไปไม่มีที่สิ้นสุด
    แผ่ไปไหนก็ได้ แผ่ไปอเมริกาก็ได้ แผ่ไปยุโรปก็ได้ นี่เขาเรียกว่า อัปปมัญญา
    แผ่เมตตาไปที่ไหนก็ได้ แผ่ไปถึงใต้พื้นพิภพ... ไปถึงพญานาคก็ได้ แผ่ไปถึงสวรรค์... ร้อนถึงพระอินทร์เลยนะ โยมเคยเห็นพระอินทร์ไหม?
    ท่านจะส่งทิพยเนตรลงไป อ๋อ!... โยมจะทำงาน จะต้องลงไปช่วยหน่อย นี่แหละทำความดีร้อนถึงพระอินทร์ ทำความชั่วร้อนถึงยมบาล
    ท่านจะเอาโซ่มาล่ามไปวันใดวันหนึ่ง นึกถึงข้อนี้ไว้ จึงเรียกว่า พรหมวิหารธรรม
    พรหมวิหารธรรมแปลว่าอะไร? แปลว่า ไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่าอัปปมัญญา อัปปมัญญานี่แผ่ไปไม่มีที่สิ้นสุด... ถึงหมด ไปในนรกก็ได้ ไปสวรรค์ก็ได้
    ไปให้คนตายก็ได้ ไปให้คนเป็นก็ได้ เรียกว่า อัปปมัญญา คำว่าอัปปมัญญาตัวนี้แปลว่าไม่มีที่สิ้นสุด ออกมาอย่างนี้เป็นต้น ก็มีเมตตาจิตใจส่องฟ้า
    เจริญสมาธิกรรมฐานแล้วจิตใจจะเกิดความเมตตา เมตตาแล้วก็แผ่... มีใจประกอบด้วยเมตตา แล้วก็แผ่ไปในทิศต่างๆ ... ถึงหมด
    เหมือนอย่างที่อาตมาไปยุโรป... ก็ขอเล่าสักหน่อย แผ่เมตตาไปเข้าบ้านลูกสาวญวนลูกสาวลาวว่าจะไปสอนเขาสองคืน... ถ้าเขาเป็นญาติกับเราในอดีตชาติ
    จะเข้าบ้านเขาก่อน นี่เรียกว่าอัปปมัญญา ไม่มีที่สิ้นสุดนะ นี่คือเมตตานะ
    กรุณาก็เช่นกันไม่มีสิ้นสุด แล้วก็มุทิตามีใจประกอบด้วยมุทิตาความยินดี แสดงต่อเขาไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีที่ติ เราช่วยเขาแล้ว เขาทำดีเราก็ส่งเสริมเขา
    เขามีอะไรดีเราก็ช่วยสนับสนุนเขาต่อไป และต่อไปอุเบกขาภาวนา มีใจประกอบด้วยความวางเฉย ความเฉยอันนี้หมายความว่า ใครชั่วเขาตีรันฟันแทงกัน เราห้ามเขา... เขาไม่เชื่อเรา เราอย่าไปเอาเรื่องเขานะ อย่าไปฟ้องร้องเขาหรือไปอะไรทำนองนี้ เฉยไว้ได้ไหม?... อุเบกขาภาวนา นี่แปลอย่างนี้
    จะถูกอัปปมัญญา ถ้าไม่เข้าหลักนี้ไม่ใช่อัปปมัญญา ไม่มีที่สิ้นสุด อุเบกขาตัวนี้แปลว่าวางเฉย อย่าไปสนใจคนอื่น จะไปสนใจความเลวของคนอื่น
    เขาทำไม... แปลอย่างนี้
    บางท่านบอกว่า เฉยไว้ ใครจะตีกันก็เฉย ใครจะสร้างความชั่วก็เฉย ใครทำความดีก็เฉย อย่างนี้ใช้ได้หรือ? ถ้าเป็นลูกหลานของเรา เขาสร้างความชั่ว
    ต้องสอนลูกให้เป็นความดี... อย่างนี้เฉยไม่ได้ คำว่าเฉยตัวนี้คือเราไม่ไปรบกับใคร ถ้ากิเลสมันเข้ามาอย่างนี้เราอย่าไปรับมันมา อย่างนี้เรียกว่าอัปปมัญญา... ไม่มีที่สิ้นสุด
     
  10. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนโดยพระครูธรรมธรเล็ก สุธัมมปัญโญ


    พรหมวิหาร4-จับภาพพระ-แผ่เมตตา

    พวกเราทั้งหมดต้องไม่ลืมว่า การปฏิบัติเราจะทิ้งของเก่าไม่ได้อันไหนเคยทำได้แล้วต้องทบทวนเอาไว้เสมอๆ เพื่อความคล่องตัว นั้นเพราะว่ากรรมฐานที่สอนนี้ตั้งใจอยู่ว่ามันมีเวลาก็จะสอนให้ครบทั้งสี่สิบกองไปเลย คราวนี้ถ้าข้อไหนข้อหนึ่งหรือว่ากองใดกองหนึ่งที่เราทำแล้วมันได้ผล ถึงวาระ ถึงเวลา ก่อนจะขยับต่อไปกองอื่นก็ต้องทบทวนกำลังใจของเราในกองกรรมฐานนั้นๆ ให้ทรงตัวให้เต็มที่เสียก่อนแล้วค่อยขยับไปกองอื่น ถ้าเราไม่ทบทวนเอาไว้ไม่ซักซ้อมเอาไว้ ถึงวาระ ถึงเวลาถ้าฉุกเฉินขึ้นมากิเลสข้อใดข้อหนึ่งมันเข้ามาตีเรา เราอาจจะรับมือไม่ทันเพราะขาดความคล่องตัวก็ได้

    สำหรับตอนนี้ก็ให้ทุกคนนึกถึงลมหายใจเข้าออก พร้อมกับคำภาวนาให้เป็นปกติ หายใจเข้านึกว่า "พุทธ" หายใจออกนึกว่า "โธ" พุทธเข้า โธออก หายใจเข้าผ่านจมูกผ่านกึ่งกลางอกลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอกมาสุดที่ปลายจมูก "พุทธเข้า" จมูก อก ท้อง "โธออก" ท้อง อก จมูก กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเราให้อยู่กับลมหายใจเข้า ออก การหายใจเข้า หายใจออก ให้ปล่อยไปตามปกติตามธรรมชาติของมัน อย่าไปบังคับมัน แค่ตามรู้ไปเฉยๆ ว่าตอนนี้มันหายใจเข้า ตอนนี้มันหายใจออกมันจะแรง จะเบา จะยาว จะสั้น ภาวนาอย่างไรกำหนดใจรู้ตามไปเท่านั้น หายใจ "เข้าพุทธ" หายใจ "ออกโธ" หรือ เราถนัดคำภาวนาอื่นก็ใช้คำภาวนาอื่นไป กำหนดใจไหลตามลมหายใจเข้า ไหลตามลมหายใจออก แรกๆ ใหม่ๆ จิตมันหยาบอยู่มันอาจจะจับไม่ได้ครบทั้งสามฐานอันนั้นไม่เป็นไร ขอให้พยายามกำหนดรู้ พออารมณ์ใจแว็บไปสู่อารมณ์อื่น ก็ให้ดึงมาอยู่กับลมหายใจ เข้า-ออก ของเราใหม่ มันแว็บไปเมื่อไหร่ก็ดึงมันกลับมา แว็บมันออกไปเมื่อไหร่ก็ดึงมันกลับมาให้อยู่เฉพาะหน้าของเรา หายใจเข้าพุทธหายใจออกโธทำตัวสบายๆ ไม่ต้องเคร่งเครียดกับมัน ตามดูตามรู้ลมหายใจอย่างเดียวพอดูว่าตอนนี้หายใจเข้า ดูว่าตอนนี้หายใจออกพร้อมกับคำภาวนา

    จากนั้น ให้กำหนดจิตเบาๆ สบายๆ นึกว่าตรงหน้าของเรามีพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เรารักเราชอบมากที่สุด จะเป็นพุทธรูปยืน นั่ง นอนแล้วแต่เราชอบ ให้อยู่ห่างจากเราไปในระดับที่กำหนดใจได้สบายๆ ว่าท่านอยู่ตรงนั้น อย่าลืม~ ว่านี่ "ไม่ใช่ตาเห็น" เพราะฉะนั้นอย่าใช้สายตาเพ่ง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ภาพพระพุทธรูป ง่ายๆ สบายๆ จะชัดหรือไม่ชัดจะเห็นหรือไม่เห็นช่างมัน ขอให้เรามั่นใจว่าตรงหน้าเรามีภาพพระอยู่ก็ใช้ได้ " หายใจเข้า ดึงลมหายใจจับภาพพระ ผ่านจมูก~ผ่านอก~ไปสุดที่ท้อง >> หายใจออก ลมหายใจออกจากท้อง~ผ่านอก~ไปสุดที่พระ " หายใจเข้าจับพระผ่าน จมูก อก ท้อง หายใจออกจาก ท้อง อก จมูก ไปสุดที่พระ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ ยิ่งภาวนามากก็ยิ่งหายใจเข้าออกมาก ภาพพระก็ยิ่งสว่างขึ้น ชัดเจนขึ้น แจ่มใสขึ้น พุทธหายใจเข้า โธหายใจออก พุทธหายใจเข้าภาพพระสว่างขึ้น โธหายใจออกภาพพระสว่างขึ้น เมื่อกำลังใจของเรานิ่งดีแล้วสนิทแนบแน่นอยู่กับภาพพระนั้นแล้ว คราวนี้กำหนดใจพร้อมกับคำภาวนาว่าขอให้ภาพพระนี้ใหญ่ขึ้น หายใจเข้าภาพพระก็ใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น หายใจออกภาพพระก็ใหญ่ขึ้น สว่างขึ้นเอาทีละน้อยอย่ากำหนดพรวดพราดที่เดียว เราต้องการผลคือต้องการคุณภาพไม่ได้ต้องการความคล่องตัวมาก ปริมาณมาก หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ หายใจเข้าภาพพระใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น หายใจออกภาพพระใหญ่ขึ้นสว่างขึ้น กำหนดใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเบื้องหน้าของเรา หายใจเข้าท่านก็ใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น หายใจออกท่านก็ใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น จนกระทั่งภาพพระโตขึ้นเรื่อยๆ โตเต็มไปทั้งแผ่นดินแผ่นฟ้า โตเต็มไปทั้งจักรวาลส่วางไสวอย่างหาประมาณไม่ได้อยู่ข้างหน้าของเรา

    จากนั้นกำหนดกำลังใจขอให้ภาพพระเล็กลง เล็กลงแบบช้าๆ หายใจเข้าภาพพระเล็กลงแต่ยังคงสว่างไสวอยู่เหมือนเดิม หายใจออกภาพพระเล็กลงแต่ยังคงสว่างไสวอยู่เหมือนเดิม หายใจเข้าภาพพระเล็กลง หายใจออกภาพพระเล็กลง จนกระทั่งภาพพระลงมาเหลือเท่าเดิมแค่ที่เราเห็นได้สบายๆ ภาพพระตรงหน้าของเราเล็กลงพอที่เราจะกำหนดได้สบายๆ สว่างไสวอยู่ตรงหน้า

    จากนั้นกำหนดต่อว่า หายใจเข้าภาพพระเล็กลงแต่ยังคงสว่างไสวอยู่อย่างนั้น หายใจออกให้ภาพพระใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น หายใจเข้าให้ภาพพระเล็กลงสว่างอยู่อย่างนั้น หายใจออกให้ภาพพระใหญ่ขึ้นสว่างไสวขึ้น เข้าเล็กลง ออกใหญ่ขึ้น ลมหายใจเข้าภาพพระเล็กลง ลมหายใจออกภาพพระใหญ่ขึ้น จากนั้นกำหนดใจให้นิ่งเบาๆ สบายๆ อยู่ที่ภาพพระนั้น ให้ภาพพระเป็นภาพพระที่เราชอบใจ อยู่ในขณะที่เรากำหนดได้สบายๆ จะใหญ่จะเล็กอยู่ที่เราชอบ แล้วกำหนดจิตดึงเอาภาพพระนั้นเข้ามาไว้เหนือศรีษะของเรา ตอนนี้ภาพพระมาสว่างไสวอยู่เหนือศรีษะของเราหันหน้าไปด้านเดียวกับเรา

    จากนั้นเรา หายใจเข้าให้ภาพพระไหลจากศรีษะ ผ่านอกลงไปที่ท้องเป็นองค์เล็ก หายใจออกให้ภาพพระไหลจากท้องผ่านอกขึ้นไปบนศรีษะเป็นองค์ใหญ่ หายใจเข้าภาพพระเป็นองค์เล็กสว่างไสวอยู่ที่ท้อง หายใจออกภาพพระกลายเป็นองค์ใหญ่ไปสว่างไสวอยู่เหนือศรีษะ หายใจเข้าภาพพระเล็กลงไปสุดอยู่ที่ท้อง สว่างใสสะอาดอยู่ที่นั่น หายใจออกภาพพระเลื่อนขึ้นไปอยู่บนศรีษะเป็นองค์ใหญ่สว่างไสวอยู่ที่นั่น คราวนี้กำหนดภาพพระให้อยู่บนศรีษะนิ่งๆ สว่างไสวอยู่อย่างนั้น ขอให้ความสว่างจากภาพพระแผ่คลุมตัวของเราลงมา คลุมศรีษะลงมาถึงหน้าผาก ถึงดวงตา ถึงจมูก ถึงปาก ถึงคาง ถึงไหล ถึงต้นแขน ถึงปลายแขน สะโพก ส้นเท้า ปลายเท้า ภาพพระที่แผ่รัศมีสีขาวใสสะอาดคลุมลงมา จนกระทั่งตัวเราก็ใสก็สว่างเหมือนกับภาพพระไปด้วย

    จากนั้นดึงเอาภาพพระเข้ามาในอกของเรา ให้สว่างไสวไปทั้งกายของเรา กำหนดใจให้ความสว่างจากองค์พระแผ่กว้างจากตัวของเราออกไปรอบข้าง ลักษณะโยนดินหรือหินลงในน้ำ แล้วน้ำกระเพื่อมเป็นวงแผ่กว้างออกไป กว้างออกไป ให้ กำหนดใจว่าถ้ารัศมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือรัศมีสีขาวใสสว่างที่แผ่กว้างออกไปทุกทีๆ ตั้งใจว่าเราไม่เป็นศัตรูกับใครเราเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั่วทั้งโลก ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นจงอย่าได้มีเวรมีกรรมและเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้พากันล่วงพ้นจากความทุกข์ มีแต่ความสุขโดยเสมอหน้ากันเถิด กำหนดภาพพระให้สว่างไสวแผ่กว้างออกไปทุกทีๆ กว้างเต็มไปทั้งสถานที่นี้ เต็มไปทั้งวัดนี้ กว้างเต็มไปทั้งตลาด ทั้งหมู่บ้าน ทั้งตำบล ทั้งอำเภอ ทั้งจังหวัด กว้างออกไป กว้างออกไป ให้ตั้งใจด้วยความปรารถนาดีอย่างจริงใจ ว่าขอให้มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นผู้ที่ชีวิตของท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตกล่วงไปแล้วในวันหนึ่งคืนหนึ่ง ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงได้ล่วงพ้นจากความทุกข์ไปเสวยสุขในสุขติภพโดยทั่วหน้ากันเถิด กำหนดให้ภาพพระสว่างไสวแผ่รัศมีกว้างไปเรื่อย ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทั้งประเทศ ทั้งทวีป ทั้งโลก จนกระทั่งโลกทั้งโลกก็เหมือนยังกับเป็นอะไรเล็กๆ อยู่ใต้ร่างกายของเรา รัศมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แผ่กว้างไกลออกไป เหมือนกับพาให้ร่างกายของเราใหญ่โตเต็มแผ่นดินแผ่นฟ้า โลกทั้งโลกเหลือเพียงเล็กนิดเดียวอยู่ใต้กายของเรานี่เอง ไม่มีจุดไหนที่กำลังความสะอาดจากเมตตาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีจุดไหนที่ความใสสว่าง เยือกเย็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแผ่ไปไม่ถึง ให้ตั้งใจว่ามนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้ที่ชีวิตของท่านทั้งหลายเหล่านั้น ตกอยู่ในความทุกข์ยาก เศร้าหมอง เดือนร้อน ลำเค็ญ ทุกข์กาย ทุกใจ เจ็บไข้ได้ป่วย พิกลพิการใดๆ ก็ดี ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายนั้นเถิด

    กำหนดใจให้ภาพรัศมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแผ่กว้างออกไป กว้างออกไปทั่วทั้งโลกนี้ ทั่วทั้งจักรวาลนี้ ทั่วทั้งจักรวาลอื่น สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่ในดวงดาวไหน จักรวาลไหนก็มีส่วนรับในพระเมตตาบารมีที่ใส สะอาด สว่างเยือกเย็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วถึงกันให้ตั้งใจว่ามนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นผู้ที่ชีวิตของท่านทั้งหลายเหล่านั้น มีความสุขความเจริญดีอยู่แล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยเถิด กำหนดให้ภาพพระเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่กว้างไกลออกไปจากอนันตจักรวาลทั้งหลายไปสู่ภพภูมิของเหล่าสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรฉาน มนุษย์ทั้งหมด เทวดาทั้งหมด มารทั้งหมด พรมทั้งหมด ตลอดจนพระทุกองค์ในพระนิพพานให้กำลังใจนี้แผ่ไปจนถึงทุกภพทุกภูมิ ทุกหมู่ทุกเหล่า ตั้งความปรารถนาไว้ว่าขอให้เขาพ้นทุกข์ มีแต่ความสุขโดยท่วนหน้ากันกำหนดใจว่า มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น พึงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เสียสละให้กัน ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์ยากยิ่งกว่าตนให้พ้นทุกข์เพื่อยังโลกนี้ไปสู่สันติสุขอันสมบูรณ์ด้วยเถิด

    กำหนดให้ภาพขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลื่อนสูงขึ้น ลอยสูงขึ้นสูงขึ้นไป สูงขึ้นไปสู่เขตของอากาศเทวดา สู่เขตของพรหมทั้งหลายจนกระทั่งไปปรากฏอยู่ในพระนิพพานเป็นปกติ ตอนนี้ให้ กำหนดว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระวิมารบนพระนิพพาน สว่างไสวอยู่ตรงหน้าของเราน้อมจิต น้อมใจกราบลงตรงนั้น ตั้งใจว่าภายใต้เมตตาพระบารมีขององค์สมเด็จพระชินสีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ถ้าหากว่ามีกิจใดที่ลูกทั้งหลายจะกระทำแล้วเพื่อเกื้อพระศาสนา เพื่อแบ่งเบาภาระของหลวงปู่ หลวงพ่อและเพื่อมรรคผลนิพพานของลูกเองขอให้ลูกทั้งหลายสามารถทำกิจนั้นได้สำเร็จลุล่วงโดยพลัน ธรรมใดที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤษีลิงดำได้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วขอให้ลูกทั้งหลายได้รู้เห็นธรรมนั้นในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด ให้กำหนดใจแน่วนิ่งอยู่กับภาพพระที่สว่างไสวอยู่ตรงหน้า

    สำหรับวันนี้จริงๆ แล้วจะสอนในเรื่องของพรหมวิหาร ๔ คราวนี้พรหมวิหาร ๔ ในขณะที่เราวางกำลังใจนั้นมันทรงตัวยาก จึงได้แนะนำให้ใช้ประกอบกับภาพพระประกอบกับลมหายใจเข้าออก กำหนดให้ทรงเป็นฌาณเต็มที่ไปเลย พรมวิหาร๔ เป็นกำลังใจที่ทรงได้ยากเพราะว่าต้องออกมาจากน้ำใสใจจริง ของเราเองดังนั้นถ้าไม่อาศัยเกาะกับภาพพระไม่อาศัยเกาะกับลมหายใจเข้าออก เราจะทำให้ทรงตัวลำบาก

    พรมวิหาร๔ ประกอบไปด้วย
    ความเมตตา คือรักเขาเสมอด้วยตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นหญิงหรือชาย ยากจน ร่ำรวยสวยงามหรืออัปลักษณ์ เราก็มีความรักความปรารถนาดีต่อเขาโดยเสมอหน้ากัน
    กรุณา มีความสงสารปรารถนาจะช่วยเหลือเขาทั้งหลายให้พ้นทุกข์ เต็มสติกำลังที่เราทำได้
    มุทิตา เมื่อเห็นเขาอยู่ดีมีสุขก็พลอยยินดี ไม่มีความอิจฉาริษยาใดๆ
    อุเบกขา เมื่อขวยขวายสงเคราะห์เต็มที่แล้วไม่สามารถช่วยให้เขาดีกว่าเดิมได้ ก็ปล่อยวางยอมรับว่าเป็นกฏของกรรม

    เมตตาบารมีนี้มีอานิสงค์มาก ท่านกล่าวไว้ว่า " หลับอยู่ก็เป็นสุข ตื่นอยู่ก็เป็นสุขจะไม่ฝันเห็นสิ่งร้ายๆ หรือสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายก็จะรักษาเรา จะไม่เป็นอันตรายด้วยอำนาจของอาวุธ ของไฟ ของยาพิษ จะช่วยให้สมาธิทั้งหลายทรงตัวได้ง่าย ช่วยให้ศีลทั้งหลายมีความทรงตัวได้ง่าย จะเป็นผู้ที่มีหน้าตาผิวพรรณแจ่มใสอยู่เสมอ เพราะว่าจิตประกอบไปด้วยความเมตตาเป็นปกติ ถ้าหากว่าตายก็จะเป็นผู้ที่ไม่หลงตายเพราะว่าจิตใจสงบเยือกเย็น เกาะความดีเป็นปกติถ้าหากว่าเข้าไม่ถึงพระนิพพานก็จะมีพรหมเป็นที่ไปเป็นปกติอานิสงค์ทั้งหลายของเมตตาพรหมวิหารทั้งหลายเหล่านี้ถ้าใครปฏิบัติได้ก็จะทรงอยู่กับตนตลอดเวลาเป็นที่รักของคนทั่วไป เป็นที่รักของสัตว์ทั่วไป เป็นที่รักของเทวดาร มาร พรหม ตลอดจนเข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย เมตตาพรหมวิหารนี้ถ้าทรงตัวได้จริงๆ อานิสงค์ต่ำสุดจะเกิดเป็นพรหมเป็นปกติ "

    คราวนี้กำลังในการปฏิบัติของเรา เมื่อเราตั้งใจหวังสงเคราะห์ผู้อื่น มีความรักความสงสารอยากช่วยเหลือให้เขาพ้นทุกข์ เป็นผู้ไม่นิ่งดูดายในความลำบากของคนอื่น ไม่มีความอิจฉาริษยาใคร พลอยยินดีเมื่อเห็นเขาอยู่ดีมีสุขและสำคัญที่สุดตัวอุเบกขา ถ้าหากว่าไม่สามารถจะสงเคราะห์ได้โดยการพยายามทุกอย่างเต็มที่แล้ว ก็จักปล่อยวางเพื่อจิตใจของเราจะได้ไม่เศร้าหมอง อารมณ์ของเราจะได้ทรงตัวผ่องใสเป็นปกติ ถ้าทำไปเรื่อยๆ มันจะเป็น สังครูเปกขาฌาน ถูกปล่อยวางในสังขารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสังขาร ที่เป็นขันธ์ 5 มันจะอยู่หรือมันจะตายก็เรื่องของมัน มันอยู่เราดูแลรักษามันด้วยความรักความเมตตาอย่างเต็มที่ ถ้ารักษาแล้วมันไม่ดีขึ้นมันจะตายก็เป็นเรื่องของมัน เราสงเคราะห์ช่วยเหลือคนอื่น สัตว์อื่นอย่างเต็มที่ ถ้าสงเคราะห์ช่วยเหลือเต็มที่แล้วไม่สามารถที่จะสงเคราะห์ได้เราก็ปล่อยวาง เป็นเรื่องของกฏของกรรม
    ถ้าหากว่าจิตใจทรง สังขรูเปกขาญาน อย่างนี้เป็นปกติไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในโลกนี้ ไม่มีความปรารถนาจะเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม ขึ้นชื่อว่าการเกิดที่เป็นทุกข์เราไม่ต้องการ เราต้องการ พระนิพพานแห่งเดียวก็เอาจิตจดจ่อให้มั่นคงอยู่เบื้องหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในนิพพานอย่างที่สอนมาแต่แรก กำหนดใจให้ภาพพระสว่างไสวอยู่เฉพาะหน้าของเรา ตั้งใจว่านี่คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ท่านประทับอยู่ใน พระนิพพาน ถ้ามันหมดอายุขัย ตายลงก็ดี หรือว่ามันตายด้วยอุบัติเหตุ อันตรายใดๆ ก็ดี เราขอมาอยู่ที่นี่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ขอมาอยู่พระนิพพาน แห่งเดียว

    สำหรับตอนนี้เวลาที่จะทำต่อก็ไม่เพียงพอให้ทุกคนคลายกำลังใจออกมาช้าๆ เป็นความรู้สึกส่วนหนึ่งจับภาพพระให้เป็นปกติให้เห็นภาพพระชัดเจนสว่างไสว สะอาดเยือกเย็นนั้นเป็นปกติ ส่วนกำลังอีกส่วนหนึ่งเราจะได้ควบคุมร่างกายเพื่อทำหน้าที่ของเราต่อไป
     
  11. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนโดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    พรหมวิหาร ๔


    พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม คำว่า พรหม แปลว่า ประเสริฐ
    เป็นอันได้ความว่า คุณธรรม ๔ อย่างนี้ เป็นคุณธรรมที่ทำผู้ประพฤติปฏิบัติให้เป็นผู้ประเสริฐ
    คือเป็นมนุษย์ประพฤติธรรม ๔ ประการนี้ ก็เป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐโดยคุณธรรม ถ้าตายจาก
    มนุษย์ก็เป็นเทวดาผู้ประเสริฐโดยบุญญาธิการ คือ ไปเกิดบนชั้นพรหม นอกจากความประเสริฐ
    โดยธรรมในสมัยที่เป็นมนุษย์แล้ว ท่านว่าคุณธรรม ๔ ประการนี้ ยังให้อานิสงส์เป็นความสุขแก่
    ผู้ปฏิบัติถึง ๑๑ ประการ ตามที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังต่อไปนี้
    ๑. สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ
    ๒. ตื่นขึ้นก็มีความสุข มีอารมณ์แช่มชื่นหรรษา ไม่มีความขุ่นมัวในใจ
    ๓. นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล มิฝันเห็นสิ่งลามก
    ๔. เป็นที่รักของ มนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งปวง
    ๕. เทวดาและพรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
    ๖.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง ไม่มีอันตรายจากสรรพาวุธและยาพิษ
    ๗. จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม จะเจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น
    ๘. มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ
    ๙. เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สติมิฟั่นเฟือน
    ๑๐. ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ เพราะทรงพรหมวิหาร ๔ นี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก
    ๑๑. มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นปกติ
    รวมอานิสงส์การทรงพรหมวิหาร ๔ มี ๑๑ ประการด้วยกัน ต่อนี้ไปจะได้นำหัวข้อพรหมวิหาร ๔ มากล่าวไว้เพื่อศึกษา


    หัวข้อพรหมวิหาร ๔
    ๑. เมตตา ความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกิเลสที่นับเนื่องในกามารมณ์ร่วมในความรู้สึก
    ๒. กรุณา ความสงสารปรานี มีความประสงค์จะสงเคราะห์ให้พ้นทุกข์
    ๓. มุทิตา ความมีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คือไม่มีจิตริษยาเจือปน
    ๔. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา คือทรงความเป็นธรรม


    คำอธิบายในพรหมวิหาร ๔ นี้ ไม่น่าจะต้องอธิบายมาก เพราะเป็นธรรมประจำใจชินหูอยู่เป็นปกติแล้ว จะขอย้ำเพื่อความแน่ใจไว้สักเล็กน้อย ตามธรรมเนียมของนักเขียน จะไม่เขียนเลยก็จะเสียธรรมเนียม
    ๑. เมตตา แปลว่า ความรัก หมายถึงความรักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี แต่ต้องไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จะเป็นผลตอบแทนทางกำลังใจ หรือวัตถุก็ตาม จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าทำไปแล้วหวังตอบแทนบุญคุณด้วย ด้วยการแสดงออกของผู้รับเมตตาหรือหวังตอบแทนด้วยวัตถุ ความต้องการอย่างนั้นถ้าปรากฏในความรู้สึกเป็นเมตตาที่เจือด้วยอารมณ์กิเลสไม่ตรงต่อเมตตาในพรหมวิหารนี้
    ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวันว่า เราจะหวังสร้าง
    ความเมตตาสงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่มีในโลกนี้ทั้งมวล เราจะไม่สร้างความ
    สะเทือนใจความลำบากกายให้เกิดมีขึ้นแก่คนและสัตว์ เพราะความสุขความทุกข์ของคน
    และสัตว์ทั้งมวล เราถือว่าเป็นภาระของเราที่จะต้องสงเคราะห์หรือสนับสนุน ความทุกข์มีขึ้น
    เราจะมีทุกข์เสมอด้วยเขา ถ้าเขามีสุขเราจะสบายใจด้วยกับเขา มีความรู้สึกรักคนและสัตว์
    ทั่วโลกเสมอด้วยรักตนเอง
    ๒. กรุณา แปลตามศัพท์ว่า ความสงสาร หมายถึงความปรานี ปรารถนาให้เขา
    พ้นทุกข์ ความสงสารปรานีนี้ ก็มีอาการที่ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกับเมตตา มุ่งหน้า
    สงเคราะห์คนและสัตว์ที่มีความทุกข์อยู่ ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลัง
    ทรัพย์เท่าที่จะทำได้
    ลักษณะกรุณา ก็คือการสงเคราะห์ในการให้ปันด้วยวัตถุ ตามกำลังที่พอจะช่วยได้
    ถ้าวัตถุของเรามีไม่พอ ก็พยายามแสวงหามาสงเคราะห์โดยธรรม คือหามาโดยชอบธรรม
    ทั้งนี้หมายความว่า ถ้าผู้ที่จะสงเคราะห์ขัดข้องทางวัตถุ ถ้าตนเองแสวงหามาได้ไม่พอเหมาะ
    พอดี ก็แนะนำให้ผู้หวังสงเคราะห์ไปหาใครคนใดคนหนึ่งที่คิดว่าเขาจะสงเคราะห์ เป็นการ
    ชี้ช่องบอกทาง ถ้าเขาขัดข้องด้วยวิชา ก็สงเคราะห์บอกกล่าวให้รู้ตามความรู้ ถ้าตนเองรู้ไม่ถึง
    ก็แนะนำให้ไปหาผู้ที่เราคิดว่ามีความรู้พอบอกได้
    ๓. มุทิตา แปลตามศัพท์ว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึงจิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน
    มีอารมณ์แจ่มใสแช่มชื่นตลอดกาลเวลา เห็นใครได้ดีก็ผ่องใส ชื่นอกชื่นใจ มีอาการคล้ายกับ
    ตนพลอยได้ด้วย ทั้งนี้อารมณ์ของท่านที่มีมุทิตาประจำใจนั้น คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมี
    โชคดีด้วยทรัพย์และมีความเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข
    และเยือกเย็น ปราศจากภยันตรายทั้งมวล คิดยินดี ให้ชาวโลกทั้งมวลเป็นผู้มีโชคดีตลอดวัน
    และคืน อารมณ์พลอยยินดีนี้ต้องไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน ถ้าหวังการตอบแทนแม้แต่เพียง
    คำว่า ขอบใจ อย่างนี้เป็น มุทิตาที่อิงกิเลส ไม่ตรงต่อมุทิตาในพรหมวิหารนี้ ความแสดง
    ออกถึงความยินดีในพรหมวิหารไม่หวังผลตอบแทนด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
    ๔. อุเบกขา แปลว่าความวางเฉย ไม่ใช่เฉยตลอดกาล ใครจะเป็นอย่างไรก็เฉย
    ความวางเฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึงเฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อ
    ผู้ใดผู้หนึ่ง ที่จะต้องได้รับทุกข์หรือรับสุข พร้อมกันนั้นก็มีอารมณ์ประกอบด้วยความเมตตา
    ปรานี พร้อมที่จะสงเคราะห์ในเมื่อมีโอกาส


    พรหมวิหาร ๔ นี้ ขออธิบายเพียงย่อ ๆ ไว้เพียงเท่านี้ เพราะเป็นธรรมที่ชินหูชินใจของทุก ๆ คนอยู่แล้ว

    (จบพรหมวิหาร ๔ เพียงเท่านี้)
     
  12. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนโดยอาจารย์คณานันท์


    พรหมวิหาร ๔

    พรหมวิหารสี่นั้น ต้องบริบูรณ์สมบูรณ์พร้อมอยู่ในจิตเราเสมอ

    พวกเรานั้นส่วนใหญ่จะคล่องและชำนาญในเมตตา

    แต่พอการพิจารณาใน กรุณา มีจิตปราณีนั้นบ้างครั้ง ก็ยังมีพลาดหรือเข้าใจผิด วางกำลังใจผิด หรือขาดไป จิตกรุณาหรือจิตปราณีนั้น ก็คือการให้อภัย ทั้งที่เขาทำผิดพลาดทั้งที่รู้ตัวก็ดีไม่รู้ตัวก็ดี เรามีใจกรุณาก็ให้อภัยต่อเขา ไม่ถือโทษโกรธตอบหรืออาฆาตพยาบาทจองเวรผู้ใด จะเกิดโทษต่อเขาได้ประการใด เราก็มีใจกรุณางดโทษที่จะพึงเกิดกับเขาเสีย โลกก็เย็นสงบ สงบโดยเริ่มจากใจเราก่อนนั่นเอง ศัตรูของกรุณาก็คือ ความโกรธ ความอาฆาตพยาท การจองเวร

    ส่วนข้อมุทิตานั้น คือจิตที่เรามีความยินดีในความดี ความเจริญความก้าวหน้าของเขา เขาได้ดีมีความสุข เราก็แช่มชื่นหัวใจ สุขไปกับเขาด้วย การโมทนาบุญก็จัดว่าเป็นจิตที่ประกอบไปด้วยมุทิตาจิต เช่นกัน


    แต่หากจิตเราเกิดความริษยา เกิดหมั่นไส้ เกิดอยากกลั่นแกล้งคนที่เขาดีกว่าเรา ไม่ว่าด้านใด นั่นคือจิตเราขาดมุทิตาจิต เสียแล้ว

    หลายท่านมีจิตเมตตามาตลอด ครั้นพอคนที่เราเมตตาและได้ดีกว่าเรา คราวนี้ไอ้ที่เราเมตตามันดันพลิกกลายเป็นอิจฉาริษยาเห็นเขาดีกว่าตัวเองไม่ได้ นั่นคือ การทรงพรหมวิหารสี่ไม่ครบ คิดว่าพรหมวิหารสี่มีเมตตาแค่ตัวเดียว แต่อันที่จริงเราต้องวางกำลังใจให้ครบทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาให้ครบ

    ประเทศไทยเราเองการที่ มีคำผูกเอาไว้ว่า "จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน"นั้น ก็เพราะการเกิดจิตอิจฉาริษยานั้นเกิดง่ายมาก เราเองบางครั้งก็ไม่ทันรู้ตัว และหนังไทยละครทีวี ยิ่งเน้นเนื้อหาด้านนี้มากก็ยิ่งส่งเสริมให้คนเรามีจิตริษยาก่อเกิดขึ้นมากไปด้วย

    จิตมุทิตานั้นเรามุ่งยินดีในความดีของผู้อื่นเสมอ เรามีแต่ได้กับได้ เขาทำบุญเราโมทนาเราได้บุญ และพลอยอิ่มใจไปด้วย

    แต่หากเขาทำบุญ เขาทำความดี เราไปติเขาบ้าง กล่าวโทษเขาบ้าง แทนที่จะได้บุญเรากลับได้บาปแถมมีจิตใจร้อนรุ่มด้วยไฟริษยาที่แผดเผาใจตนเองอยู่เพียงฝ่ายเดียว

    ส่วนท้ายสุด อุเบกขา คืออารมณ์ใจที่ปล่อยวาง ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ใช่พอช่วยคนไม่ได้เราก็เกิดทุกข์นี่ยังถือว่า ยังทรงพรหมวิหารสี่ได้ไม่เต็มไม่ครบ อุเบกขาก็คือการวางใจเราเอาไว้ว่าเราเองจะช่วย จะสงเคราะห์ผู้อื่น ตามกำลังเท่าที่เราจะสามารถทำได้ หากช่วยไม่ได้เราก็ปล่อยวาง เสีย อย่าไปทุกข์ให้คิดว่า แม้องค์พระสุคตท่านก็ยังไม่อาจโปรดบุคคลได้ทุกๆคนเลย ดังนั้นเราเองก็ย่อมมีข้อจำกัดที่ทำให้ทำไม่ได้ในทุกสิ่งที่เราอยากช่วยอยากทำเช่นกัน ดังนั้นต้องรู้เท่าทันและปล่อยวาง เมื่อถึงวาระที่เราช่วยเขาได้เราค่อยช่วย เรื่องนี้พุทธภูมิหลายท่านยังขาดตัวนี้กันมาก เวลาบำเพ็ญบารมีจึงเกิดทุกข์เพราะไปจมอยู่กับทุกข์ที่เราช่วยเขาไม่ได้ ที่จริงท่านให้ ปล่อยวาง รอเวลาวาระ แล้วค่อยช่วยใหม่ ทำใหม่

    เมื่อทำดังนี้ การทรงพรหมวิหารสี่ก็จะทรงความสงบ เย็น ไม่ทุกข์ ไม่เร่าร้อน มีแต่จิตที่อิ่มเต็ม เป็นสุข พร้อมที่จะให้พร้อมที่จะสงเคราะห์อยู่เสมอ

    ขอให้พรหมวิหารสี่อัปปันนาณญาณจงอิ่มเต็ม ในทุกดวงจิตของทุกๆท่านผู้มีความเจริญในธรรมด้วยเทอญ
     
  13. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    สำหรับการใช้พรหมวิหาร ๔ ของธรนั้น...

    ธรจะมีพรหมวิหาร ๔ แทรกอยู่ในการปฏิบัติกองอื่นๆ อยู่แล้วทุกกอง...

    ซึ่งธรจะขอคัดลอกเอามาให้เห็นแต่เพียงสั้นๆ ดังนี้นะคะ...

    ... เสร็จแล้วให้น้อมนึกถึงความสุข สดชื่น ความอิ่มเอม เปรมปรีด์ ความดีงามทั้งหลายที่เคยสร้างมาดีแล้วอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งกุศลผลบุญทั้งหลาย พรหมวิหารสี่ และอภัยทานที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในดวงจิตของเราให้มารวมตัวกัน (นึกให้เห็นดวงจิตสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐานแผ่เมตตาอัปปมาณฌานว่า...
    "- ข้าพเจ้าขอน้อมถวายส่วนกุศลผลบุญ ทานะบารมี อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทาน แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ ต่อกันมามีองค์หลวงปู่ปาน และองค์หลวงพ่อฤาษี เป็นที่สุด อีกทั้งท่านพ่อ ท่านแม่ ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย บูรพกษัตริย์ไทย บรรพชนไทย นักรบไทยทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... พรหมเทพเทวา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีท่านท้าวจตุมหาราช และท่านพญายมราชเป็นที่สุด...
    - ขอทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน ได้โปรดมาร่วมกัน รับและอนุโมทนาในส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้ และขอได้โปรดมาเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลผลบุญในครั้งนี้ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ...
    (น้อมนึกให้เห็นว่าในมือเรามีดอกบัวแก้วสว่างไสวแพรวพราว ซึ่งเกิดจากกุศลผลบุญของเราเองมารวมตัวกันเป็นดอกบัวนั้น... แล้วน้อมถวายแด่ทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน)
    - และข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศส่วนกุศลผลบุญ ทานะบารมี อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทาน ให้แก่เหล่าสรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล อนันตจักรวาลนี้... ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี... ขอให้ทุกๆ ท่านจงมาร่วมกันอนุโมทนาและรับซึ่งส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้เฉกเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะพึงได้รับนับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน... ขอให้ทุกๆ ท่านมีดวงตาเห็นธรรม และเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลันเทอญ"
     
  14. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    สวัสดีค่ะทุกๆ คน...

    เนื่องจากตอนนี้ยังคงมีคนทยอยขอหนังสือวิชชาฯ ฉบับพื้นฐานกันเข้ามาอยู่อย่างต่อเนื่อง... (ทั้งจากที่แจ้งในกระทู้ และไม่ได้แจ้ง)... และยังมีที่จะต้องนำไปแจกจ่ายให้แก่ชุมชนต่างๆ ที่ต้องการนำไปเผยแพร่ต่อด้วยค่ะ...

    แต่ราคาค่าซีร๊อกซ์ จากเดิม แผ่นละ ๓๘ สตางค์ [(ต้องซีร๊อกซ์ครั้งเดียว ถึง ๕๐๐ ชุด (รวมกับหนังสืออื่นที่แจกไปด้วย ก็กลายเป็น ๑,๕๐๐ ชุด) ถึงจะได้ราคานี้ค่ะ... ในหนึ่งเล่มมี ๒๗ หน้า... จึงตกอยู่ที่ เล่มละ ๑๐.๒๖ บาท]... ตอนนี้ทางร้านจะขอขึ้นเป็นแผ่นละ ๕๐ สตางค์บ้าง แผ่นละหนึ่งบาทบ้าง...

    ทางทีมงานจึงตกลงใจที่จะพิมพ์เป็นหนังสือขนาดเล่มเล็กๆ ที่พกพาง่าย สามารถนำติดตัวไปได้ทุกที่...

    ซึ่งจากหลายๆ โรงพิมพ์ เราตกลงเลือกที่จะพิมพ์กับโรงพิมพ์รุ่งเรืองวิริยะพัฒนาโรงพิมพ์ ค่ะ...

    เราจะพิมพ์จำนวนทั้งสิ้น ๕,๐๐๐ เล่ม ตกราคาเล่มละ ๘ บาท รวมราคาทั้งสิ้น ๔๐,๐๐๐ บาทถ้วนค่ะ...

    ถ้าท่านใดสนใจที่จะร่วมสร้างธรรมทานกับทางทีมงาน สามารถโอนเงินเข้ามาที่...

    ชื่อบัญชี คณานันท์ ทวีโภค
    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาคลองสาน
    เลขที่บัญชี 151-0-91868-1

    เมื่อโอนเงินแล้วขอช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยนะคะ...

    โมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ...


    .......................................................

    ต้องขอแสดงความเสียใจกับคุณนฤมล ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์รุ่งเรืองวิริยะพัฒนาโรงพิมพ์ด้วยนะคะ ที่เพิ่งจะสูญเสียคุณแม่ไป เมื่อวานนี้เองค่ะ...

    ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ...​
     
  15. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    .... สุริยาเยี่ยมยลพ้นขอบฟ้า เริ่มอีกคราครรลองละอองฝันถึง
    เวลาสู้ต่ออย่าท้อกัน ฟากฟ้านั้นยิ้มรับกับชีวี..
    วันเวลาผ่านไปพาให้รู้เรา ควรอยู่สู้ชีวิตอย่าคิดหนี
    ได้กำเนิดเป็นมนุษย์นั้นสุดดี อย่ารอรีสร้างสำนำผลบุญ..
    กี่วันวารผ่านมากี่ฟ้าเปลี่ยน ยังวนเวียนเช่นเดิมเพิ่มแรงหนุน
    จงทำดีไว้เถิดจักเกิดคุณ จักเจือจุนยามเราเข้าอับจน..
    สุขทุกข์ไปไม่เว้นเห็นกันอยู่ตั้งสติ
    รับรู้สู้อีกหนยังมีใครอีกมากมายต้องทุกข์ทน
    อย่าระย่นจงมองตรองให้ดี ล้มลุกคลุกคลานเริ่มสานใหม่

    อย่าหวั่นไหวไปต่ออย่าท้อหนี สู้เถิดนะสู้ต่ออย่ารอรี

    [​IMG]


    ตะวันมีขึ้นลงคงนิรันดร์ ชีวิตอาจผิดคาดพลาดสิ่งหวัง
    อย่าสิ้นแรงไร้พลังยังมีฝัน หนึ่งขวบปีผันผ่านไม่นานวัน

    จงมุ่งมั่นฝันต่อท้อทำไม ตะวันรอนจรกลับลับขอบฟ้า
    จงยิ้มร่ารับมันกับวันใหม่ สลัดความทุกข์เศร้าที่ร้าวใจ
    อย่าหวั่นไหววันหน้าที่มารอ เมื่อได้เกิดมาเป็นคนบนโลกนี้
    เกิดจากทำกรรมดีที่เคยก่อ เป็นมนุษย์สุดดีที่ความพอ
    บุญกรรมส่อต่อทางอย่าวางใจ ตัวบุญเป็นเช่นไรใคร่อยากเห็น
    ตัวบาปเร้นอยู่ที่ไหนใครรู้ไหม ตัวสุขเล่าเขาไปหลบอยุ่ที่ใด
    ตัวทุกข์เล่าแอบอยู่ไหนใคร่รู้จริง สุขทุกข์อยู่ที่ใดใครกำหนด
    มีเกณฑ์กฎใดแจงแจ้งทุกสิ่ง เกิดเมื่อใดใครรู้บ้างยังประวิง
    จะได้ทิ้งความทุกข์รับสุขไป

    อันมนุษย์เกิดมาในหล้าโลก สุขกับโศกโบกทิ้งไปได้ไฉน
    สวรรค์อยู่ในอกนรกในใจ ต่างเป็นไปด้วยใจนั้นคิดเอง

    [​IMG]

    จงละวางทางทุกข์ยืน ลุก นั่ง พึงระวังตั้งสติอย่ารีบเร่ง
    บาป-บุญ หนุนนำให้ยำเกรง อย่าเพ่งโทษโกรธใครใช่สิ่งดี
    พุทธคุณน้อมใจไม่ไหลหลง ธรรมะคงน้อมใจให้สุขศรี
    สังฆคุณน้อมเสริมเพิ่มชีวี ไตรรัตน์นี้น้อมไว้ได้เย็นทรวง

    ขออุทิศผลแจงแห่งบุญนี้ แด่ภูตผีปีศาจทั้งมารบ่วง
    เจ้ากรรมเวรรอท่ามาตามทวง อย่าได้หน่วงบ่วงไว้ให้โมทนา
    เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลายนี้ ให้สุขศรีชีวันกันทั่วหล้า
    ยักษ์ มาร พรหม กุมภันฑ์ ท่านเทวา ขอเชิญร่วมโมทนาข้ายินดี


    http://www.oknation.net/blog/sangjan
    <!-- / message --><!-- edit note -->
    <!-- / message -->
     
  16. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    ปักกลดที่เขาชอนเดื่อ

    ;10 ขออนุญาตนำเรื่อง
     
  17. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วันนี้ขอแนะนำวิธีปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับอาหารการกินหน่อยนะคะ...

    เวลาจะทานอะไร... นึกน้อมนำอาหารนั้นๆ ขึ้นไปถวายพระที่บนพระนิพพาน... หรือนึกน้อมถวายพระที่ในห้องพระบ้านเราก็ได้ค่ะ...

    นึกกลั่นอาหารนั้นให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก...

    แล้วอธิษฐานว่า...

    ขออาราธนาพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า... ขอได้โปรดประทานให้อาหารนี้... มีคุณค่าครบถ้วนทุกประการตามที่สังขารร่างกายต้องการ... ขอให้เมื่อทานเข้าไปแล้ว มีแต่คุณประโยชน์ ปราศจากโทษทุกประการแก่ร่างกายนี้... ถ้าหากว่าทานไปเพียงน้อยนิด ขอให้เกิดอาการอิ่มพอดีๆ ไปตลอดทั้งวัน... ขอให้อาหารนี้กลายเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บในทุกส่วนทุกอวัยวะ และปรับธาตุขันธ์ให้เป็นปกติ ทั้งกายหยาบ และกายละเอียด... และขอให้ขับ ชะล้างสิ่งไม่ดีทั้งหลายทั้งมวลออกจากสังขารร่างกายนี้ทางทวารทั้ง ๙ ... และขอให้ปรับสังขารร่างกายนี้ให้มีความพอเหมาะพอดีแก่การเจริญสมณะธรรม นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเข้าสู่พระนิพพานด้วยเถิด...

    ปกติจะไม่อธิษฐานมากขนาดนี้หรอกค่ะ... แต่พอพิมพ์ไปพิมพ์ไป พระท่านก็ดลใจให้พิมพ์ข้ออธิษฐานต่างๆ เพิ่มขึ้นมาตอนนี้เลยค่ะ...

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ...
     
  18. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    <TABLE class=tborder id=post2306 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_2306 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid">หลวงพ่อกับในหลวง
    <HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD align=middle width="100%">หลวงพ่อกับในหลวง</TD><CENTER></TR><TR><TD align=middle width="100%">

    ประมวลภาพหลวงพ่อฤๅษีลิงดำกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


    </TD></TR></CENTER></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1><CENTER>เทียนติดไฟเล่มเดียวสามารถช่วยให้เทียนอีกหลายพันเล่มพบความสว่างได้...โดยที่ไม่ทำให้เทียนเล่มนั้นมีอายุการใช้งานน้อยลงเ</CENTER>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    คัดลอกจากเวปพระพุทธศาสนาเวปหนึ่งครับ ขอบพระคุณครับ
     
  20. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    <TABLE bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER>หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    วัดท่าซุง อุทัยธานี
    </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กับพราหมณ์นั้นว่า สัตว์ที่เกิดมานั้น จำพวกที่กลัว ที่สะดุ้งต่อความตายก็มี พวกที่ไม่กลัว ไม่สะดุ้งต่อความตายเลยก็มี
    พระองค์ตรัสต่อไปว่า สัตว์พวกที่กลัว ที่สะดุ้งต่อความตายนั้น ก็คือ
    ๑. คนบางคนที่เกิดมาในโลกนี้ ยังมีอารมณ์รัก ตัดความเยื่อใยในความรักไม่ได้ ยังมีความต้องการไม่สิ้นสุดในเรื่อง กาม เมื่อเขาเจ็บไข้หนัก (ใกล้ตาย) ย่อมเกิดความวิตกกังวลว่า กามที่รักแสนอาลัยจะจากไปแล้วหนอ แล้วความโศกเศร้า อาลัยอาวรณ์ก็จะเกิดขึ้น เขาสะดุ้งกลัวต่อความตายที่จะมาพรากเขาไป
    ๒. คนบางพวกยังอาลัยอาวรณ์อยู่กับร่างกาย หรือตัวตนว่า เป็นของสวยของงาม โดยพยายามที่จะปิดซ่อนเร้น ความเปลี่ยนแปลงของตัวเองทุกวิถีทาง ครั้นเมื่อเขาเจ็บไข้หนัก(ใกล้ตาย) เขาย่อมเกิดความวิตกกังวลว่า ร่างกายที่สวยงาม น่ารัก น่าอาลัยของเขา จะจากไปแล้วหนอ เขาย่อมเป็นคนเศร้าโศก สะดุ้งกลัวต่อความตายที่จะมาพรากเขาไป
    ๓. คนบางพวกเป็นผู้ที่ไม่ใส่ใจ ในการประพฤติดี ทางกาย วาจา ใจ ทำแต่ความชั่ว ทาง กาย วาจา ใจ เมื่อกาลเวลาผ่านไปมากๆ ความเจ็บไข้ครอบงำ(ใกล้ตาย) เขาย่อมวิตกกังวลว่า ช่วงชีวิตที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ทำความดีอันใดไว้เลย ทำแต่บาปกรรมอยู่เรื่อยๆ คติของคนที่ไม่ได้ทำความดีเป็นอย่างไร เขาจะต้องไปสู่คตินั้น แล้วก็สะดุ้งหวาดกลัว ต่อความตายที่กำลังจะพรากเขาไป
    ๔. คนบางคน ขณะที่เขายังมีความเป็นหนุ่มเป็นสาว แข็งแรง ไม่สนใจในเรื่องการประพฤติธรรม ไม่สนใจศึกษาข้อปฏิบัติว่าอย่างไหนถูก อย่างไหนผิด จึงเกิดความสงสัย เมื่อกาลเวลาผ่านไป เกิดเจ็บไข้หนัก(ใกล้ตาย) ย่อมมีความวิตกกังวลว่า เราไม่มีโอกาสศึกษาหลักธรรมให้เป็นที่เข้าใจ ซึ่งบัดนี้หมดโอกาสแล้ว ความสงสัยมืดมนในใจยังมีอยู่มาก จึงหวาดกลัวต่อความตาย ที่กำลังจะพรากเขาไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...