วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    อนุโมทนาจ้าน้องชัช อ่านแล้วทำให้เกิดกำลังใจมากขึ้น ทุกวันนี้ก็ได้วางกำลังใจทำงานเพื่อส่วนรวม เรื่องภัยพิบัติจะมาก็ไม่ได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อน เเต่ก่อนวิตกมากว่าจะทำอย่างไรจะใช้ชีวิตแบบไหน ตอนนี้คิดทำอย่างไรที่จะให้คนอื่นๆเข้าถึงความดี มีธรรมะในจิตใจ และสามารถทำให้เขานำธรรมะที่ได้แนะนำไปนั้นใช้ในชีวิตประจำวันของเขาได้ แม้แต่ความตายก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์สิ่งมีชีวิตทั้งหมดล้วนต้องตายทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าไม่สามารถรู้ได้ว่าจะตายเมื่อไหร่เท่านั้นเอง สำคัญแต่เพียงว่าเวลาตายคนส่วนมากจะนึกถึงอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ถ้าไม่เคยฝึกจิตมาก่อน ตัวเราเองต้องแนะนำให้เขาวางกำลังใจอย่างไรไม่ให้เขากลัวกับความตาย น้อยคนนักที่จะยอมรับในจุดนี้ได้ เพราะเรื่องนี้ได้ประสบกับตัวเองเหมือนกัน ส่วนมากจะเป็นคนใกล้ชิด จึงพยายามแนะนำให้เขายึดพระรัตนตรัยไว้ในใจมากที่สุด แม้แต่เวลาเข้านอน ไม่ใช่เพียงแต่สอนเขาให้รู้จักวางอารมณ์ตอนตาย แม้แต่ตัวของเราเองก็ต้องฝึกให้ได้จนมองเรื่องของความตายนั้นเป็นของธรรมดา
     
  2. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    งานที่ต้องทำมีหลากหลาย
    สุดท้ายคือแนะทางให้คนหลุดพ้นจากสังสารวัฏ..
    แต่ผู้คนมีหลายระดับ บ้างต้องการความช่วยเหลือในด้านกายภาพก่อน
    จิตวิญญาณของผู้ใจบุญใจกุศลจำนวนหนึ่ง ยังไม่เริ่มปล่อยวางกันเลย

    ยังไม่เคยเห็นคนตายช่วยอะไรใครได้ (เว้นเป็นอสุภกรรมฐาน)
    รู้แต่ว่า ตราบยังมีลมหายใจอยู่ เข้า-ออก อาจมีโอกาสเข้าถึงธรรมได้ในเฮือกถัดไป
    บุคคลจำนวนหนึ่งจึงมีภาระในการช่วยคนด้านกายภาพ
    ถ้าทุกคนบวชเป็นพระหมด ใครจะทำนาปลูกข้าว มาเป็นอาหารถวายพระเล่า

    ขออนุโมทนาบุญของทุกท่าน ทั้งที่ทำหน้าที่ด้านกายภาพก็ดี จิตวิญญาณก็ดี
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

    ขอให้เสริมเพิ่มกำลังใจ ให้กับผู้ใฝ่ธรรมที่ช่วยกันแนะนำช่วยเหลือผู้คนทุกท่านในทุกด้าน
    หวังแต่ว่า ผู้ถูกช่วยเหลือจำนวนหนึ่งอาจได้มีโอกาสรอดชีวิตได้ในวิกฤตข้างหน้านี้ จะใช้เวลาที่ได้มาในการประพฤติดีปฏิบัติชอบเข้าสู่หนทางแห่งการหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2008
  3. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    ธรรมมะในหมู่คนพาล คือ จริงๆแล้ว คำนี้ผมเพิ่งจะเข้าใจ เพราะเพิ่งเจอมาด้วยตัวเองเร็วๆนี้ครับ มีวันหนึ่ง ผมเพิ่งกลับมาจากเกาะที่ชุมพร ก็มาพักกระท่อมที่ๆของชาวประมงที่เค้ามารับซื้อปลากัน พอดีฝนตกด้วย ก็เลยมานั่งรอเพื่อจะกลับบ้าน
    และที่กระท่อมนั้น ก็มีกลุ่มคนที่ไม่มีอะไรในชีวิตให้คิดมากนัก ก็กำลังตั้งวงกินเหล้ากันอยู่ เค้าก็ชวนผมคุย และส่งเหล้าให้ผม ผมไม่รับ บอกเค้าว่า ผมไม่ดื่ม เพราะถือศีล5 เค้าก็ขำกันใหญ่ และก็พูดประชดผมต่างๆนาๆ ใจผมตอนนั้นเฉยๆ
    มากกว่า แต่อยากจะกลับบ้านเร็วๆ ไม่อยากอยู่ที่นี่นานนัก หลังจากนั้นเค้าก็ชวนผมคุยในเรื่องที่คิดไม่ตก เพราะคนเมาคุยอะไรไม่รู้เรื่อง และผมก็ไม่กล้าออกความคิดเห็นมากกลัวเค้าเข้าใจผิดเพราะเค้ายังไม่มีสติเท่าที่ควร คุยกันมาเรื่อยๆ มาถึงตอนที่เค้าถามผมว่า ทำอะไร เรียนหรอ ผมบอกว่าเรียน แล้วเค้าก็บอกว่าเค้าเองไม่ได้เรียน ก็ต้องมาเป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ ไม่มีจุดยืน และเป้าหมายในชีวิต ไม่น่าคบค้าสมาคม ผมบอกเค้าว่ามันไม่เกี่ยวว่าจะได้เรียน หรือไม่ อยู่ที่เราตั้งใจรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตัวเราเองมากแค่ไหน เค้าก็พยักหน้าเหมือนจะเข้าใจ และก็อารมณ์เบาลง เริ่มคุยกันรู้เรื่องมากขึ้น จากนั้นเค้าก็บอกว่าจะไปส่งผม ให้หมดขวดก่อน
    ผมก็นั่งรอสักพักเค้าก็ไปส่ง ระหว่างที่ไปส่ง เค้าก็คุยเกี่ยวกับลูกของเค้าซึ่งไม่ชอบเค้าเลย เพราะเค้าติดเหล้า ติดเพื่อน และไม่ค่อยเป็นหลักเท่าที่ควร เค้าอยากให้ผมไปแนะนำลูกเค้าในการวางแผนชีวิต การเรียน จริงๆแล้วลูกของเค้าเป็นเด็กดี ชอบปฎิบัติธรรม อันนี้ย่าผมเล่าให้ฟังอีกที ผมเองไม่ได้รับปากว่าจะไปหาลูกเค้าหรือไม่ ได้แต่ยิ้มๆ ถ้าโอกาสเหมาะก็คงได้รู้จักกัน พอเค้ามาส่งผมถึงบ้าน ผมก็ขอบคุณและลาเค้าเรียบร้อยแล้ว ก็มานั่งคิดว่าอันที่จริงคนที่เรียกว่า คนพาล หรือว่า คนที่ชาวบ้านไม่ชอบ อะไรทำนองนี้ ลึกๆแล้วเค้าก็เป็นคนดี เพียงแต่ขาดโอกาส และความเข้าใจเท่านั้นเอง เรามองเค้าเพียงเปลือกนอกว่าเป็นคนที่ไม่น่าคบ เป็นคนที่อาจนำความเดือดร้อนมาให้เรา แต่คนพวกนี้มีน้ำใจที่ดีมาก และถ้าเค้ายินดีช่วยเหลือใคร เค้าจะทำอย่างเต็มที่ เอาตอนที่เค้าไม่เมาน่ะครับ พอผมได้เจอเหตุการณ์แบบนี้เป็นการลดทิษฐิในตัวเองลงไปมาก และเอาไปใช้ในวิปัสสนาญญาณได้ดีด้วย เอามาเล่าสู่กันฟังครับ
     
  4. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864
    .


    อนุโมทนาจ้ะ น้องกร ...เยี่ยมมาก :cool:

    เขียนมาเล่าสู่กันฟังอีกนะจ๊ะ
     
  5. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    อนุโมทนาจ้ากร ;4
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    นำธรรมมะ ไปเล่าสู่ให้เขาฟังบ้างครับ

    ลองดูให้เป็นเรื่องง่ายๆ ในแบบวิธีการคิด ก่อน


    ก่อนไปคุยไปสอนเขาก็จงขอบารมีพระท่านก่อนเสมอ
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้น้องชัชมีเรื่องมาเล่าให้เพื่อนๆฟังครับ
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ช่วงนี้เข้าพรรษาแล้ว หากท่านใดจะถือเอาโอกาส วาระนี้ เป็นข้อส่งเสริมให้ตัวเราเองเร่งการปฏิบัติธรรมให้ใช้กำลังใจที่สูงขึ้นไปได้ก็ย่อมที่จะเกิดผลดีกับการพัฒนาภูมิจิต ภูมิธรรมของตนเอง
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สำหรับการปฏิบัติธรรม และการวางกำลังใจของเรานั้น ขยับขึ้นไปได้หลายระดับครับ

    การปฏิบัติอย่าได้ทำให้หนักจนเกินไป จนจิตใจเราหนักหรือเกิดความเครียด ทรงอารมณ์ใจที่เบาๆสบายๆใสๆเข้าไว้

    เริ่มตั้งแต่

    ตั้งกำลังใจเอาไว้ว่า

    -เราจะให้ทานก็ดี การสงเคราะห์ก็ดี และขึ้นชื่อว่าความดีเราจะทำให้เป็นปกติ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

    -ศีลห้า พรหมวิหารสี่ เราจะทรงเอาไว้ให้เป็นปกติ

    -กุศลกรรมบทสิบเราจะระวัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วาจา

    หากแต่เดิมวาจาของเรา ส่งผล ส่งคลื่น ส่งความรู้สึก เสียดสี ทิ่มแทง กระแทก กระทั้น ประชดประชัน ยังดวงจิตของผู้อื่น อันเป็นกรรมหนักอันเกิดจากวาจา เราก็จงละเสีย เลิกเสีย ในพรรษานี้

    จากนั้นทรงวาจาเป็นปกติ เป็นกลางเป็นอุเบกขาให้ได้ก่อน

    แล้วจึงเจริญเมตตาพรหมวิหารสี่ใส่ลงไปในวาจาของเราให้ได้ ให้วาจาของเราเป็นประหนึ่งน้ำทิพย์ชะโลมดวงจิตของผู้อื่นให้ เกิดกุศล ให้เกิดกำลังใจในการทำความดี ให้เกิดธรรมปิติ ให้เกิดอิ่มเอมในบุญกุศลที่ได้ทำมา

    เมื่อนั้นวาจาของเราก็จะกลายเป็นเสียงทิพย์ เสียงสวรรค์ที่มวลหมู่เทพพรหมเทวาท่านก็แซ่สร้องโมทนาไปด้วย

    -จากนั้นยกจิตเข้าสู่ในการปฏิบัติในโลกุตรภูมิ มีวิปัสนาญาณเป็นเครื่องเจริญให้ยิ่ง มีสมถะเป็นที่ตั้งในอาณาปานสติวิหาร

    ขอความเจริญก้าวหน้าในธรรมจงบังเกิดขึ้นประดุจดอกบัวแก้วที่แย้มกลีบรับแสงอรุณโรจน์แห่งธรรมฉันนั้นด้วยเทอญ
     
  10. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    อนุโมทนาค่ะพี่ คำสอนของพี่น้องจะพยายามนำไปปฏิบัติปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น เมื่อวานได้คุยกับน้องท่านหนึ่ง เคยเจอกันที่บ้านสายลมเขาเล่าให้ฟังว่า ตัวเขาเองเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ในหนังสือสอนให้มีความคิดเชิงบวกตลอด เขาจึงคิดว่าการคิดในสิ่งดีๆย่อมทำให้เจอแต่สิ่งดีๆ ถ้าคิดไม่ดีก็จะเจอแต่สิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นเขาจะคิดแต่สิ่งดีๆอย่างเดียว เพื่อเป็นการปลูกฝังลงไปในจิตใจด้วย ตอนที่คุยกันก็จับกระแสจิตของน้องเขาได้ รู้สึกว่าสิ่งที่น้องเขาพูดนั้นออกมาจากใจจริงๆ ไม่ได้มีการปรุงแต่งใดๆ พอฟังน้องเขาพูดแล้วรู้สึกละอายตัวเองอย่างมาก ทั้งที่ตัวเราเองก็ปฏิบัติธรรมมาพอสมควรแล้ว ยังไม่สามารถที่จะละสิ่งที่ไม่ดีในตัวเราเองมีอยู่ได้นั้น คงจะต้องปรับปรุงและความคิดของตัวเองให้มาก และพยายามต้องฝึกในด้านเมตตาและความคิดเชิงบวกให้มากขึ้นอย่างพี่คณานันท์ได้เคยสอนอยู่เสมอ ถึงยังไงก็ไม่ท้อค่ะ สิ่งที่พี่ได้สอน คำโบราณท่านว่า "ติเพื่อก่อ" ก็จะขอเซฟเก็บไว้ในจิต ถ้าเจอปัญหาก็จะได้คลิกออกมาสอนตัวเองได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  11. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    รอฟังค่ะ
     
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    [​IMG]
    <INPUT class=inlinemod_checkbox id=vmessagelist_50033 title="" type=checkbox value=0 name=vmessagelist[50033] inlineModID="inlineMod_comment"> วันนี้ 10:58 AM
    Sawiiika


    [​IMG]

    โลกุตตรภูมิ
    สมเด็จพระพุทธองค์ได้ทรงมีพระมหา กรุณา ตรัสว่า...

    " ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ธรรมชาติ ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
    - ปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
    - การ ปรุงแต่ง ในขันธ์ 5 ไม่ได้แล้ว

    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ทั้งหลาย! หากว่า ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่มี แล้วไซร้
    การสลัดออกซึ่งธรรมชาติ ที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว
    จะไม่พึงปรากฏ ในโลกนี้เลย"

    (ขุททกนิกาย อุทาน นิพพานสูตร ข้อ ๑๖๐ หน้า ๒๐๗ บาลีฉบับสยามรัฐ)

    " ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่ผู้ที่ ถูกตัณหา และ ทิฐิอาศัย อยู่
    ไม่มีความหวั่นไหว ก็ย่อม " มีปัสสัทธิความสงบ "
    มีปัสสัทธิความสงบ ก็ย่อมไม่มีความยินดี
    ไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป
    ไม่มีการมาการไป ก็ย่อมไม่มีการจุติและอุปบัติ
    ไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้ก็ไม่มี โลกหน้าก็ไม่มี
    ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี่แหละเป็น ที่สุดแห่งทุกข์" ดังนี้

    (ขุททกนิกาย อุทาน นิพพานสูตร ข้อ ๑๖๑ หน้า ๒๐๙ บาลีฉบับสยามรัฐ)


    ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    (สังยุตนิกาย สฬายตนวรรค ข้อ ๔๙๗ หน้า ๓๐๐ บาลีฉบับสยามรัฐ)


    ชัมพุขาทกปริพาชก ได้ไปเข้าหาองค์ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรมหาเถรเจ้า
    เรียนถามความ ว่า..
    "ดูกรท่านสารีบุตร! ที่เรียกว่าพระนิพพานๆ ดังนี้น่ะ พระนิพพานนั้นเป็นดังฤา"
    "ดูกร ปริพาชก !
    ความสิ้นราคะ + ความสิ้นโทสะ + ความสิ้นโมหะ นี่แหละเรียกว่า พระนิพพาน

    ปฏิปทาเพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งพระ นิพพาน ,, คือ . สัมมาทิฏฐิ = ความเห็นชอบ
    . สัมมาสังกัปปะ = ความดำริชอบ
    . สัมมาวาจา = วาจาชอบ
    . สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ
    . สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ
    . สัมมาวายามะ = พยายามชอบ
    . สัมมาสติ = ตั้งสติชอบ
    . สัมมาสมาธิ = ตั้งใจชอบ

    อริยมรรคนี่แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำ พระนิพพานนั้นให้แจ้ง
     
  13. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    วานนี้และวันนี้ มีคำมาผ่านว่า โพธิปักขิยธรรม เปิดพจนานุกรมแปลว่า ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ มี ๓๗ ข้อ เป็นคำไพเราะมากไม่เคยได้ยินมาก่อนค่ะ
     
  14. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    โพธิปักขิยธรรม (ฉบับหลวงพ่อจรัญ)

    วันนี้จะชี้แจงภาคปฏิบัติธรรม แยกรูปแยกนาม ในโพธิปักขิยธรรม ให้ญาติโยมทั้งหลายฟัง เพื่อนำมาเป็นหลักปฏิบัติ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เหตุผลที่ให้ปฏิบัติ โดยไม่ห่วงภาควิชาการ ให้ปฏิบัติกัน หาเหตุผล ให้กุศลเกิดขึ้นจากวิธีปฏิบัติ ให้ผุดขึ้นมาในดวงใจเองนั้น เพราะท่านทิ้งความรู้เดิมที่เป็นทิฏฐิมานะในชีวิตของตน ให้หมดจากจิตใจไป

    การปฏิบัติจริงนั้น เกิดจากดวงใจ คือ ภาวนา เป็นปัญญาใสสะอาด ผุดขึ้นมาเอง จึงจะเป็นการปฏิบัติได้ของจริง ด้วยความถูกต้อง ดังนั้น จึงต้องห้ามดูหนังสือ ห้ามคุยกัน ที่พูดย้ำมานาน คือ กินน้อย นอนน้อยทำความเพียรมาก หากปฏิบัติได้ตามองค์ภาวนานี้ ก็จะพบวิชาการ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงศึกษาค้นพบ ด้วยพระองค์เอง เรียกว่า วิชาพ้นทุกข์ และมาแยกแยะออกไปในรูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ อายตนะ ธาตุอินทรีย์ บอกหน้าที่การงาน พละ ๕ ประการ เป็นต้น ก็ได้จากวิธีปฏิบัติภาวนานี้ ทั้งหมด

    พระอรหันต์สมัยพุทธกาล มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ประชุมกันทำสังคายนา รวบรวมท่องจำ แล้วจารึกเป็นพระไตรปิฏก หยิบยกขึ้นมาเป็นวิชาการ ให้พวกเราได้ศึกษาและปฏิบัติธรรม ตราบจนทุกวันนี้

    การแสวงหาที่สงบ ในอรัญราวป่า คือรุกขมูล เป็นการปฏิบัติให้จิตสงบ ในเมื่อจิตสงบไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้น ในสังขารที่ปรุงแต่ง เกิดเป็นวิญญาณ แสดงท่าทีออกมาโดยแยกรูป แยกนาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ออกมาได้ โดยวิธีนี้ถือว่า เป็นข้อปฏิบัติ แต่ปฏิบัติเกิดก่อนปริยัติแน่ พระพุทธเจ้าไปปฏิบัติก่อน จนสำเร็จสัมโพธิญาณแล้วจึงได้แยกแยะออกไป เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน ออกไปตามรูปการณ์อย่างนี้

    ในการปฏิบัติจะเหลือ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ที่กำหนด ใช้สติกำหนดจิต ให้จิตรู้หน้าที่การงานโดย ถูกต้อง แล้วจะเหลืออยู่หนึ่งเดียว คือ ความไม่ประมาท ดำเนินวิถีชีวิต ด้วยความถูกต้องนี่เป็นหลักปฏิบัติ

    ต่อไปนี้จะบรรยาย โพธิปักขิยธรรมภาคปฏิบัติ ให้ญาติโยมฟัง
    คำว่าโพธิปักขิยธรรม แยกออกแล้ว มีความหมายอย่างนี้ โพธิ แปลว่า รู้
    รู้โดยความหมายของคำว่า โพธิ นี้ หมายถึง การรรู้ที่จะทำให้สิ้นอาสวะ คือ รู้อริยสัจสี่ ปักขิยะ แปลว่า ที่เป็นฝ่าย โพธิปักขิยธรรม จึงหมายความว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายรู้ ถึงมรรคผล ถ้าจะแปลสั้น ๆ ก็ว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายให้ถึงการตรัสรู้ โพธิปักขิยธรรมนี้ แบ่งออกเป็น ๗ กอง รวมเป็นธรรมะ ๓๗ ประการ

    ในธรรม ๓๗ ข้อนี้ จะได้องค์ธรรมที่ไม่ซ้ำกัน ๑๔ องค์ ขอให้ทำความเข้าใจได้ก่อนตามที่กล่าวนี้

    โพธิปักขิยธรรม ๗ กอง ได้แก่

    ๑. สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ
    ๒. สัมมัปธาน มี ๔ ประการ
    ๓. อิทธิบาท มี ๔ ประการ
    ๔. อินทรีย์ มี ๔ ประการ
    ๕. พละ มี ๕ ประการ
    ๖. โพชฌงค์ มี ๗ ประการ
    ๗. มรรค มี ๘ ประการ

    กองที่ ๑ สติปัฏฐาน ๔
    ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ ที่ปฏิบัติอยู่ ณ บัดนี้ สติ ความระลึกรู้อารมณ์ เป็นธรรมฝ่ายดี รู้ทันอารมณ์ ในสติปัฏฐาน ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม สติที่ระลึกรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม มีจุดประสงค์ จำแนกเป็น ๒ ทาง คือ
    ๑. ถ้าเจริญสมถภาวนา ก็พิจารณาตั้งมั่น ในบัญญัติ เพื่อให้จิตสงบ มีอานิสงส์ให้บรรลุฌาณสมาบัติ
    ๒. ถ้าเจริญวิปัสสนาภาวนา สติก็พิจารณาตั้งมั่น อยู่ในรูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอานิสงส์ให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน
    การพิจารณาไตรลักษณ์ ก็เพื่อให้รู้สภาพตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลาย ที่ยึดถือเป็นตัวตน เป็นชายหญิงนั้น ล้วนแต่เป็นเพียงรู้ เป็นเพียงรูปกับนามเท่านั้น และรูปนามเหล่านั้น ยังมีลักษณะเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา หาแก่นสารไม่ได้เลย จะได้ไม่ติดอยู่ในความยินดีพอใจอันเป็นการเริ่มต้น ที่จะให้ถึงการดับทุกข์ ต่อไป
    ฉะนั้นสติปัฏฐาน ๔ จึงเป็นทางสายเอก จัดว่าเป็นทางสายเดียว ที่สามารถให้ผู้ที่ดำเนินตามทางนี้ ถึงความรอบรู้ ความจริง จนบรรลุถึงพระนิพพาน
    ดังนั้นผู้ปรารถนาจะบรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน ต้องเริ่มต้นด้วย สติปัฏฐานเพื่อบรรลุญาณธรรม เพื่อให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    ญาณธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ มีอยู่ ๕ ประการ ได้แก่
    ๑. สังขาร คือธรรมที่ปรุงแต่งได้แก่ จิต เจตสิก รูป
    ๒. วิกาล คือธรรมที่เปลี่ยนแปลงผันแปร ได้แก่ ธรรมที่เปลี่ยนแปลงผันแปรของสัตว์ที่เป็นไปในภาพ ต่าง ๆ.
    ๓. ลักษณะ คือธรรมที่เป็นเหตุให้รู้ให้เห็น ได้แก่ ลักษณะของสภาวะ
    ๔. นิพพาน คือธรรมที่พ้นจากกิเลส คืออสังขตธรรม อสังขตธรรมนี้ เราก็จะมองเห็นเด่นชัดเช่นเดียวกัน
    ๕. บัญญัติ คือธรรมที่สมมติ ให้พูดจาเรียกขานกัน ได้แก่ อัตถบัญญัติ และสัททบัญญัติ

    อารมณ์ของสติปัฏฐาน มี ๔ อย่างคือ
    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ สติที่ตั้งมั่นพิจารณากายเนือง ๆ ได้แก่ สติที่กำหนดรู้ที่เรากำหนดอยู่ ณ บัดนี้ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถย่อย ได้แก่ การเคลื่อนไหว คู้เหยียด เหยียดขา เป็นต้น เพื่อให้ตระหนักว่า การยืน การเดิน นั่ง นอน อันเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากธาตุลม ที่มีอยู่ในร่างกาย โดยอำนาจของจิต
    ทางธรรมะ เรียกว่ารูป คือ รูปที่เกิดจากจิต หรือกายใน อันเป็นภายในอย่างใดไม่ ในบางแห่งจะพบว่า พิจารณากายในกาย หรือกายในอันเป็นภายใน กายในอันเป็นภายนอก คำเหล่านี้เป็นภาษาธรรมะ อธิบายกันเป็นหลายนัย เช่น
    กาเยกายานุปัสสี แปลว่า เห็นกายในกาย คำว่ากาเย หมายถึง รูปกับกาย คือกัมมัชรูป แต่ร่างกายมีทั้งจิต เจตสิก และรูป ส่วนคำว่ากายาตุปัสสี หมายเพียง ให้กำหนดดูแต่รูปธรรมเท่านั้น คือ ดูรูปอย่างเดียว ไม่ใช่ดูจิต เจตสิกที่มีอยู่ในร่างกายด้วย
    คำว่า กายในกาย หมายตรงว่า รูปในรูป แต่ในร่างกายนี้ มีมากมายหลายรูป แต่ให้พิจารณาดูรูปเดียว ในหลาย ๆ รูปนั้น เช่น จะพิจารณาลมหายใจเข้าออก พองหนอ ยุบหนอ คือ ลมหายใจเข้าก็พอง ลมหายใจออกก็ยุบ ก็พิจารณาวาโยธาตุ แต่รูปเดียว เรียกว่า อานาปานสติ ลมหายใจเข้าออก พองหนอ ยุบหนอ เรียกว่า อานาปานสติ
    ส่วนคำว่ากายในอันเป็นภายใน และกายในอันเป็นภายนอกนั้น ถ้าพิจารณาดูรูปในกายของตนเอง ก็เป็นภายใน รูปในกายผู้อื่น ถือว่าเป็นภายนอก ดังนี้
    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเวทนานี้ ใช้ในการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียวต่างกับ พิจารณากาย ใช้ได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา เพราะจะเพ่งเวทนา โดยความเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐาน ให้เกิดญานจิต หาได้ไม่ การพิจารณาเวทนา จะเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาก็ดี เป็นธรรมชาติที่ไม่มีรูปร่าง สัณฐาน ที่จะให้เห็นได้ด้วยตา จึงมิใช่รูปธาตุ แต่เป็นนามธาตุ
    เวทนาจะเกิดขึ้น เมื่อมีเหตุปัจจัย จะห้ามไม่ให้เกิด ก็ห้ามไม่ได้ ครั้นเมื่อหมดเหตุปัจจัยก็จะดับไปเอง หมดไปเอง เป็นต้น
    อนึ่ง ความหมายของเวทนาในเวทนานี้ และเวทนาในเวทนา อันเป็นภายใน ภายนอกก็เป็นทำนองเดียวกับกายในกาย ตามที่กล่าวมาแล้ว
    ความจริงเวทนาก็เกิดอยู่ทุกขณะ ไม่มีเวลาว่างเว้นเลย คนทั้งหลายก็รู้สึกสุขบ้าง ทุกข์บ้างเพราะไปยึดว่า เราสุข เราทุกข์ จึงไม่อาจรู้ สภาวะความเป็นจริงได้ เวทนานี้ เวลาเกิดก็จะเกิดแต่อย่างเดียว เป็นเจตสิกธรรม ปรุงแต่งจิตให้รับรู้
    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งจิต ก็คือ วิญญาณขันธ์ที่กำหนดพิจารณาจิต ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่า จิตที่กำลังเกิดอยู่นั้น เป็นจิตชนิดใด เป็นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน จิตที่เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ เพื่อให้ประจักษ์ชัดว่า ที่มีความรู้สึกโลภ โกรธ หลง หรือศรัทธา ฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน เป็นอาการของจิต เป็นธรรมชาติ ที่เป็นนามธรรม ย่อมเป็นไปตามเหตุ ปัจจัยที่มาปรุงแต่งเพื่อรับอารมณ์ เมื่อหมดเหตุปัจจัย อาการนั้น ๆ ก็ดับไปเอง ไม่มีอะไรเหลืออยู่
    อันสภาวธรรมที่เรียกว่าจิตนั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่มีตัวตน เห็นด้วยตาก็ไม่ได้ จึงไม่ใช่รูปธรรมแต่เป็นนามธรรม เป็นนามจิต ไม่ใช่นามเจตสิก เช่น เวทนา เป็นต้น ที่ว่าจิตในจิต หรือจิตภายใน จิตภายนอกนั้น ก็เช่นเดียวกัน กับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเหมือนกัน
    ๔. ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่น พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรม มีนิวรณ์ อุปทานขันธ์ อายตนะ โพชฌงค์ อริยสัจ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ เป็นสติ ในการเจริญวิปัสสนาแต่อย่างเดียว เป็นการพิจารณา ให้รู้ ให้เห็น ทั้ง รูป ทั้งนาม จึงกล่าวได้ว่า การพิจารณา กาย เวทนา และจิต ย่อมรวมลงได้ ในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งสิ้น
    สรุปแล้ว การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อให้เกิดปัญญารู้ว่า กายก็สักแต่ว่ากาย เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา จิตก็สักแต่ว่าจิต ล้วนเป็นเพียงธรรมชาติ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเราเขา แม้แต่สติ หรือปัญญาที่รู้ ก็เป็นเพียงธรรมชาติ เท่านั้น
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ พิจารณาทั้งรูปธรรม นามธรรม ปัญญารู้แจ้งเห็นชัด ทั้งรูป ทั้งนาม แยกจากกัน เป็นคนละสิ่ง คนละส่วน รูปก็ส่วนรูป นามก็ส่วนนาม ไม่ปะปนกัน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน รู้เห็นเช่นนี้ จัดว่า เข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นญาณต้น ที่เป็นทางให้บรรลุถึงมรรค และผลต่อไป

    ผลที่ได้รับจากการเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้นก็คือ
    ๑. พิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาก็คือ รูปขันธ์ เหมาะแก่มัณฑบุคคลที่มีตัณหาจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณา ได้แก่ อสุภสัญญา จะประหาร สุภสัญญา
    ๒. พิจารณาเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาคือ เวทนาขันธ์
    ซึ่งเป็นอารมณ์ละเอียด เหมาะแก่บุคคล ซึ่งมีตัณหาจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณาได้แก่ ทุกขสัญญา ทำให้ประหาร สุขสัญญาเสียได้
    ๓. พิจารณาจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาคือ วิญญาณขันธ์ ซึ่งมีอารมณ์ไม่กว้างขวางนัก เหมาะแก่มัณฑบุคคล ที่มีทิฏฐิจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณา ได้แก่ อนิจจสัญญา ทำให้ประหาร นิจจสัญญาเสียได้
    ๔. พิจารณาธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารม ณ์ที่พิจารณาคือ ทั้งรูป ทั้งนาม ซึ่งมีอารมณ์กว้างขวางมาก เหมาะแก่บุคคลที่มีทิฏฐิจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณา ได้แก่ อนัตตสัญญาทำให้ประหาร อัตตสัญญาเสียได้

    ฉะนั้นการเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เกิดปัญญา เห็นรูป เห็นนาม ที่เคยเห็นว่าสวยงาม เห็นว่าเป็นความสุขสบาย เห็นว่าเที่ยง เห็นว่าเป็นตัวตน จะได้รู้ว่า ของจริงแท้นั้น เป็นประการใด โดยการเข้าใจเห็นแจ้งว่า สภาวะนั้น ประกอบด้วย ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    การเจริญสติปัฏฐาน ควรกระทำด้วย ความมีสติสัมปชัญญะ
    สติ ก็คือตั้งมั่นในการพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างนี้ เพื่อให้เกิดปัญญา เห็นว่า รูป นาม นั้น มีสภาพเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    สัมปชัญญะ คือ ให้พินิจเห็นว่ามีประโยชน์ และพินิจพิจารณาว่า ควรทำ จึงทำ เพื่อให้เกิดปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงจะบรรลุมรรค และผลได้
    ขอให้เข้าใจว่า อันความพินิจ ที่จะประกอบด้วยปัญญา หรือสติสัมปชัญญะนี้ ถ้ามีแก่ผู้ใดแล้ว นับว่าผู้นั้น อยู่ใกล้พระนิพพาน ทั้งนี้เพราะ

    นัตถิ ฌานัง อปัญญาสสะ
    ความพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้
    นัตถิ ปัญญา อฌายิโน ฌานัญจ
    ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
    ยัมหิ ปัญญา จ เส เว นิพพานะ สันติเก
    ความพินิจกาลปัญญา มีในผู้ใด ผู้นั้นแหละอยู่ใกล้พระนิพพาน.

    กองที่ ๒ สัมมัปปธาน ๔
    สัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรพยายาม ทำการงานที่ชอบ ความเพียรพยายามชอบ ที่จะจัดเป็นสัมมัปปทาน ต้องประกอบด้วย หลัก ๒ ประการคือ
    ๑. ต้องเป็นความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด แม้ว่าเลือดเนื้อจะเหือดแห้ง เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ก็ตาม หากยังไม่บรรลุถึงธรรม อันพึงถึงแล้ว ก็จะไม่ถดถอยความเพียรพยายามนั้น ต่อไป
    ๒. ความเพียรพยายามที่ว่า ยิ่งยวดนั้น ต้องเป็นไปในธรรม ๔ ประการ จึงจะได้ชื่อว่าสัมมัปธาน

    ธรรม ๔ ประการนั้น ได้แก่
    ๒.๑ เพียรพยายามไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
    ๒.๒ เพียรพยายามละอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว ให้หมดไป
    ๒.๓ เพียรพยายามให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
    ๒.๔ เพียรพยายามทำให้กุศลธรรมที่เกิดแล้ว ให้เจริญยิ่งขึ้น
    ข้อควรรู้ ตามธรรมดา อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ย่อมดับไปแล้ว
    และการที่จะลบล้างอกุศลที่เกิดแล้ว ให้หมดสิ้นไปนั้น ย่อมทำไม่ได้ ที่กล่าวว่าจะเพียรพยายามละอกุศลธรรม ให้หมดไปนั้น ขอให้เข้าใจว่า เพียงแต่พยายาม อย่าไปนึกถึงอกุศลนั้น ๆ อีก เพราะว่า ถ้าไม่นึกคิดขึ้นอีก ก็จะทำให้จิตใจเศร้าหมอง กระวนกระวายใจ จัดว่าอกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว ทางมโนทวาร จึงต้องพยายาม จนลืมเสีย ไม่เก็บมานึกคิดอีก และตั้งใจให้มั่นว่า จะไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นอกุศลอีก ดังนี้แหละ จึงจะได้ชื่อว่า เพียรเพื่อละอกุศลที่เกิดแล้ว ให้หมดไป
    อีกนัยหนึ่ง แสดงว่า อกุศลที่ได้ทำแล้วนั้น ที่ให้ผลแล้ว ก็มี ที่ยังไม่ให้ผล เพราะยังไม่มีโอกาสก็มี แต่ที่จะอันตรธาน สูญหายไปเองนั้น ไม่มีเลย แต่ถ้าในชาติใด สามารถประหารสักกายทิฏฐิได้แล้ว ด้วยสัมมัปปธานทั้งสี่นี้ ชาตินั้นแหละ ถือว่าได้ละอกุศลที่ได้เคยทำมาแล้ว อย่างสิ้นเชิง

    กองที่ ๓ อิทธิบาท ๔
    ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงความสัมฤทธิ์ผล ชื่อว่า อิทธิบาท ความสำเร็จ หรือสัมฤทธิ์ผล คือ บรรลุถึง กุศลญานจิต และมรรคจิต ชื่อว่าอิทธิบาท เป็นธรรมที่ให้ถึงความสำเร็จ เป็นกิจการงานอันเป็นกุศล เท่านั้น ได้แก่
    ๑. ฉันทะ คือความพอใจและเต็มใจ
    ๒. วิริยะ คือความพยายามอย่างยิ่งยวด
    ๓. จิตตะ คือการที่มีจิตจดจ่อ ฝักใฝ่แน่วแน่
    ๔. วิมังสา คือปัญญา
    มีข้อควรสังเกตว่า องค์ธรรมของอิทธิบาท เหมือนองค์ธรรมของธรรม ที่ได้ชื่อว่า เป็นอธิบดี ซึ่งมีความหมายว่า เป็นไป เพื่อให้กิจการงานสำเร็จผล เช่นกัน แต่กระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ คือธรรม ที่ชื่อว่าเป็นอธิบดีได้นั้น จะเป็นไปในกิจการงานอันเป็นทั้งกุศล และอกุศล
    ส่วนธรรมที่ชื่อว่า อิทธิบาทนั้น เป็นไปเพื่อความสำเร็จกิจ อันเป็นกุศฝ่ายเดียว และต้องเป็นกุศล ที่จะให้บรรลุถึง มหคตกุศล คือฌานจิต และโลกุตรกุศล คือ มรรคจิตเท่านั้น ดังตัวอย่างเช่น ขโมย ทำการได้สำเร็จ เพราะเขาพยายาม และใช้ปัญญา หาวิธีต่าง ๆจนทำทุจริตนั้นได้ จัดว่าความเพียร และปัญญาของเขานั้น เป็นอธิบดีคือ เป็นหัวหน้าแต่จะเรียกว่า เป็นอิทธิบาทไม่ได้
    ขอให้เจ้าใจว่า ธรรมที่จะเชื่อว่าอิทธิบาท ต้องเป็นไปในการ ให้สำเร็จฌานจิต และมรรคจิตเท่านั้น แม้แต่ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญา ของพระอรหันต์ ก็ไม่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะท่านเป็นผู้ที่สำเร็จ อันสุดยอดแล้ว
    อนึ่งการที่สำเร็จกิจนั้น ย่อมประกอบด้วยธรรม ๔ ที่เป็นองค์ธรรมของอิทธิบาท แต่การเกิดขึ้นนั้น อาจจะไม่กล้าเสมอกัน บางทีฉันทะกล้า บางทีวิริยะกล้า หรือจิตตะกล้า ปัญญากล้า ถ้าธรรมะใด กำลังกล้า ก็จัดว่าธรรมนั้น เป็นอิทธิบาท

    กองที่ ๔ อินทรีย์ ๕
    ธรรมที่เป็นอินทรีย์นี้ หมายถึง ธรรมที่เป็นใหญ่ ที่เกิดร่วมกับคน จะเป็นได้ทั้งกุศล อกุศล แต่อินทรีย์ใน โพธิปักขิยธรรม ที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ มีเพียง ๕ องค์ธรรมเท่านั้น และต้องเป็นไปตามสภาวธรรม ที่เป็นกุศล คือรู้ให้ถึงฌาน และอริยสัจเท่านั้น ได้แก่
    ๑. สัทธินทรีย์ คือความศรัทธาเป็นใหญ่ในอารมณ์ จะต้องเป็นภาวนาศรัทธาด้วย
    ไม่ใช่ปกติศรัทธา ซึ่งมีกำลังไม่แรงกล้า เพราะอกุศลอาจทำให้เสื่อมได้ จึงต้องเป็นภาวนาศรัทธา ที่เนื่องมาจาก กรรมฐานต่าง ๆ มีอานาปานสติ เป็นต้น ศรัทธาชนิดแรงกล้า และแนบแน่นในจิตใจมาก เรียก ภาวนาศรัทธา อกุศลจะทำให้ศรัทธาเสื่อมได้ยาก ยิ่งเป็นวิปัสสนาศรัทธาด้วยแล้ว
    อกุศลไม่อาจจะทำให้ศรัทธานั้น เสื่อมคลายได้เลย ภาวนาศรัทธานี้แหละ ที่ได้ชื่อว่าสัทธินทรีย์ คือมีอินทรีย์แก่กล้าฉะนั้น
    ๒. วิริยินทรีย์ ความเพียรเป็นใหญ่ ในการพยายามอย่างยิ่งยวด ซึ่งต้องเป็นความเพียรที่ต้องบริบูรณ์ ด้วยองค์ ๔ แห่งสัมมัปปธาน จึงจะเรียกได้ว่า วิริยินทรีย์ในโพธิปักขิยธรรมนี้
    ๓. สตินทรีย์ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ ทันอารมณ์ปัจจุบัน อันเกิดจากสติปัฏฐาน ๔ จึงเรียกสตินั้น ว่า สตินทรีย์
    ๔. สมาธินทรีย์ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่น จดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ไม่ฟุ้งซ่าน จึงจะเรียก สมาธินั้นว่า สมาธินทรีย์
    ๕. ปัญญินทรีย์ ปัญญาที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ ในสภาวะที่เกิดร่วม ด้วยการรู้แจังเห็นจริงว่า รูป นาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ มีลักษณะเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เต็มไปด้วยโทษภัย เป็นวัฏฏทุกข์
    อนึ่งขอให้เข้าใจว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ หรือที่เรียกว่า เป็นอินทรีย์ในโพธิปักขิยธรรมนั้น แสดงความเป็นใหญ่ อันที่จะให้ถึงซึ่ง ความตรัสรู้ มรรค ผล นิพพาน และมหคตกุศลจิต เท่านั้น

    กองที่ ๕ พละ ๕
    พละในโพธิปักขิยธรรมนั้น มุ่งหมายเอาเฉพาะ กุศลพละเท่านั้น ซึ่งมีลักษณะอยู่ ๒ ประการคือ อดทนไม่หวั่นไหว ประการหนึ่ง และย่ำยีธรรมที่เป็นข้าศึก อีกประการหนึ่ง ดังนั้น จึงมีเพียงพละ๕ เท่านั้นคือ
    ๑. สัทธาพละ ความเชื่อถือเลื่อมใส เป็นกำลังให้อดทน ไม่หวั่นไหวและย่ำยีธรรมอันเป็นข้าศึก มีตัณหา เป็นต้น และต้องเป็นภาวนาศรัทธา
    ที่เกิดจากอารมณ์กรรมฐาน ไม่ใช่ปกติศรัทธา จึงจะมีกำลังอดทน มีกำลังที่จะย่ำยีหรือตัดขาดตัณหาได้
    ๒. วิริยะพละ ความเพียรพยายาม ก็ต้องเป็นความเพียรอย่างยิ่งยวด จึงจะมีกำลังอดทน ย่ำยีโกสัชชะ คือ ความเกียจคร้าน อันจัดว่าเป็นข้าศึก แก่การปฏิบัติได้แน่นอน
    ๓. สติพละ สติมีความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน ต้องมีสภาพเป็นพละ จึงจะมีกำลังต้านทานข้าศึก อันได้แก่ปมาทะ ความพลั้งเผลอได้
    ๔. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น จดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน จะเพียงเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองใน สหภาวะธรรม เท่านั้นยังไม่พอ ต้องมีกำลังเป็นพละ คือมีทั้งความอดทน ไม่หวั่นไหว สามารถต้านทานกิเลส อันเป็นข้าศึกของการปฏิบัติ ได้แก่ วิกเขปะ คือความฟุ้งซ่านพาให้ออกนอก อารมณ์กรรมฐาน จัดว่าเป็นข้าศึกแก่การเจริญภาวนา
    ๕. ปัญญาพละ ต้องให้ปัญญานั้น มีกำลังอดทน เข้มแข็ง ในการที่จะย่ำยี โมหะ คือ ความโง่ หลง งมงาย มืดมนอนธการ เป็นต้น

    ฉะนั้นการเจริญสมถภวนา วิปัสสนาภาวนาก็ดี จะต้องให้พละทั้ง ๕ นี้ มีกำลังสม่ำเสมอกัน เพราะถ้าพละได้กำลังอ่อน การเจริญภาวนา ก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้

    กองที่ ๖ โพชฌงค์ ๗
    คำว่า โพชฌงค์ มีความหมายดังนี้
    โพธิ เป็นตัวรู้ โพชฌงค์ เป็นส่วนที่ให้เกิดตัวรู้ รวมความแล้วก็คือ องค์ที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ คือรู้อริยสัจ ๔ สิ่งที่รู้อริยสัจ ๔ นั้นคือ มรรคจิต องค์ที่เป็นเครื่องให้รู้อริยสัจ ๔ ที่ชื่อว่าโพชฌงค์แต่ละองค์ ต้องเนื่องจาก เหตุผลที่ถูกต้องด้วย ดังนี้
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ ต้องเนื่องมาจาก สติที่ระลึกรู้ ในอารมณ์ของสติปัฏฐาน ๔ ไม่ใช่สติที่ปกติระลึกรู้ ในอารมณ์ทั่วไป สตินั้น จะต้องเลื่อนฐานะกำลังขึ้น เป็นอินทรีย์ เป็นพละ แล้วสตินั้นจะเลื่อนมาเป็น โพชฌงค์ เป็นสัมมาสติ ด้วยอำนาจของวิสัปปนาภาวนา จึงจะทำลายความประมาทได้
    สติอย่างนี้แหละ ที่เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ มีความสามารถ ทำให้เกิดมรรคฌานได้ มีหวังแน่นอน ในการที่จะรู้แจ้ง อริยสัจ ๔ สามารถที่จะได้ชื่อว่า เป็นอริยบุคคลใน ๘ จำพวกได้
    ขอให้เข้าใจว่า สติเวตลิกที่จะเป็นโพชฌงค์ได้นั้น ต้องบริบูรณ์ทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วยเหตุ ๔ ประการคือ
    ๑.๑ ต้องมีสติสัมปชัญญะ ในมหาสติปัฏฐาน ๔ อารมณ์ต้องมาจาก สติปัฏฐานมีสติรู้ในสัมปชัญญะ ในสติปัฏฐาน ๔
    ๑.๒ ต้องเว้นจากการสมาคม จากผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน
    ๑.๓ ต้องเสวนากับผู้ที่เคยเจริญสติปัฏฐาน อย่างถูกต้อง และเข้าใจดีด้วย
    ๑.๔ ต้องพยายามเจริญสติให้รู้อยู่ทุกอารมณ์ และทุกอิริยาบถไม่ขาด
    ทั้ง ๔ อย่างนี้ จะเป็นเหตุช่วยให้ สติสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น เพราะถ้าประกอบด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยไม่ลำบาก จะเห็นได้ชัดเจนว่า สติสัมโพชฌงค์นี้ ต้องเนื่องมาจาก การเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่มาจากอย่างอื่น เพียงแต่รักษาศีล หรือเจริญสมาธิเท่านั้น ก็ไม่อาจเกิดได้ ต้องเจริญวิปัสสนาในมหาสติปัฏฐาน ๔ ด้วย
    ๒. ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์นี้ ได้แก่ ปัญญาที่รู้สภาวะของรูปธรรม นามธรรม ว่าเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนที่จะบังคับบัญชาได้ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    ฉะนั้น ปัญญาที่จะเข้าถึง ความเป็นธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์นี้ ไม่ใช่ปัญญาธรรมดา ที่รู้อย่างอื่น ต้องเป็นปัญญา ที่เกิดจาก การเจริญสติปัฏฐาน และปัญญานี้ จะต้องต่อเนื่อง จากอิทธิบาท อินทรีย์ และพละด้วย
    ฉะนั้นขอให้ทำความเข้าใจด้วยว่า ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ต้องสมบูรณ์ด้วยเหตุ ๔ ประการดังนี้
    ๒.๑ ต้องเข้าใจวิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ แต่เมื่อสรุปโดยย่อแล้ว ก็ได้แก่รูปธรรม นามธรรม
    ฉะนั้นเมื่อเราพิจารณารูปนาม ก็ชื่อว่า เราพิจารณาวิปัสสนาภูมิ ๖ แต่ผู้ที่ขาดการศึกษาก็ไม่สามารถที่จะรู้ และเข้าใจแตกฉาน ในภูมิของวิปัสสนา สำหรับผู้ที่เคยเรียนรู้ปริยัติมาบ้างแล้ว ก็สามารถที่จะเลือกพิจารณา ภูมิใด ภูมิหนึ่ง ตามความพอใจ วิปัสสนาภูมินี้แหละเป็นอารมณ์ ของปัญญา ที่จะทำให้ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้น
    ๒.๒ ต้องทำอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คือปัญญากับศรัทธา ต้องมีกำลังเสมอกัน เมื่อพิจารณา เพราะถ้าศรัทธามากเกินไป ก็จะขาดเหตุผล ถ้าปัญญามากเกินไป แม้จะรู้ จะเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เมื่ออ่อนศรัทธา ไม่เลื่อมใสแล้ว ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้
    วิริยะกับสมาธิก็เช่นเดียวกัน จำเป็นต้องให้เสมอกัน ถ้าอย่างใดอ่อน หรือแรงเกินไปก็จะไม่ทำให้ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์เกิดได้ เช่นเดียวกัน เพราะถ้าสมาธิมากเกินไปจะเกิดความสงบ ก็จะเพลิดเพลิน พอใจความสงบนั้นเสีย ฉะนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจทำอินทรีย์ให้เสมอกัน
    ถ้าศรัทธาสมาธิแรง ก็จะให้ตัณหา ความพอใจเกิด และถ้าปัญญามากไป ก็จะเกิดวิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย ทำให้ฟุ้งซ่าน สงสัยไปว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ควรจะเป็นอย่างนี้ ทำให้คิดค้นมากเกินไป หรือ ถ้าปริยัติเข้ามา มากเกินไป ปัจจุบันอารมณ์จะพลอยเสียไปด้วย
    เพราะอาจจะนึกรู้ไปก่อน เป็นวิปัสสนึก จะทำให้ไม่สามารถเข้าถึง โพชฌงค์นี้ได้ วิริยะถ้ามากนัก ก็จะฟุ้งซ่าน ส่วนสมาธิมาก ก็จะมีอาการคล้าย ซึมเซ่อ ซึมเซอะ และเอาแต่ความสงบ จะทำให้ขาดการขวนขวายในธรรม ส่วนสตินั้น มีมากเท่าใด รู้ทันอารมณ์ทุกขณะ ก็ยิ่งดีมาก เพราะฉะนั้น สตินี้ทำให้มากเข้าไว้จะรู้เท่าทันเหตุการณ์ได้ ไม่เหมือนอย่างอื่น
    ๒.๓ ต้องสมาคมกับผู้ที่เจริญวิปัสสนา เข้าใจสภาวะของรูปนามเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ต่อกัน
    ๒.๔ ต้องมีสติรู้ทันอารมณ์ทุกอิริยาบถ เพราะปัญญาที่เข้าในโพชฌงค์นี้ ต้องพิจารณาเข้ากับความเกิดดับ ของรูปนาม สภาวะ ลักษณะของรูปนาม มิฉะนั้นก็เข้าถึงโพชฌงค์นี้ไม่ได้แน่นอน
    ๓. วิริยะสัมโพชฌงค์ ได้แก ่ความเพียรพยายาม ในกิจของสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง แต่การที่วิริยะ จะขยับเลื่อนขึ้นมาเป็น โพชฌงค์ จะต้องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน ขอให้เข้าใจว่า วิริยะ จะเป็นองค์ของโพชฌงค์ได้ ก็ต้องสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน ต้องรู้ และมั่นใจ ในอานิสงส์ของความเพียร ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรารถนา ต้องอาศัยความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย ต้องอดทน ถ้าไม่มีความเพียรแล้ว ความสำเร็จจะมีไม่ได้เลย
    คบหาสมาคมกับคนที่ขยันมั่นเพียร หลีกเลี่ยงบุคคลที่เหลาะแหละ เกียจคร้าน มั่นใจว่าสติปัฏฐานสี่ นี้เท่านั้น เป็นทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ล้วนปฏิบัติมาแล้วทั้งสิ้น ท่านจึงผ่านเข้าถึงความเป็นอริยบุคคลได้
    ๔. ปิติสัมโพชฌงค์ ปิติและความอิ่มเอิบไจนี้ มีได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา ถ้าปีติในสมถะ ก็ได้แก่ ปิติที่เป็นองค์ฌาน ส่วนปิติในวิปัสสนาก็คือ ความอิ่มใจ ในการเจริญวิปัสสนา
    ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีสติรู้ทันอารมณ์ มีปัญญาเข้าใจสภาวะ เห็นสภาพไตรลักษณ์ ของรูปนาม รู้สึกตัว มีความเพียรอย่างจริงจัง ไม่ย่อท้อ ย่อมเกิดปิติชื่นชม เป็นธรรมดา ปิติในวิปัสสนา ย่อมทำลายความเฉื่อยชา เบื่อหน่ายได้ การระลึกถึงคุณ พระพุทธ พระธรรม
    พระสงฆ์ การระลึกรู้ ถึงคุณของพระนิพพาน ก็เป็นเหตุให้ปิติเกิดได้
    การละเว้น ที่จะคบหาผู้ที่ปราศจากศรัทธา หมั่นเจริญสติปัฏฐาน หากได้ปฏิบัติบริบูรณ์ด้วยคุณธรรม ที่กล่าวมานี้แล้ว ปิติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีลักษณะทำให้ จิตใจสงบเยือกเย็น รู้สึกสบายใจ ความสงบประณีตของ ปัสสัทธินี้ อาจถึงทำให้เข้าใจผิด สำคัญว่า ความสงบสบายนั้นคือเข้าถึงพระนิพพานแล้ว กลายเป็น วิปัสสนูปกิเลส คือ กิเลสของพระนิพพานไป
    ปัสสัทธิที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้จะเกิดในวิปัสสนาก็ตาม ปัสสัทธิที่จะเป็นองค์ของโพชฌงค์ ต้องเป็นไปตามอารมณ์ ที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์

    ฉะนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จะเกิดได้ ต้องสมบูรณ์ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
    ๕.๑ บริโภคอาหารให้สมควรทั้งปริมาณและคุณภาพ
    ๕.๒ อยู่ในที่ที่อากาศพอเหมาะพอสบาย
    ๕.๓ ใช้อิริยาบถที่สะดวกสบาย ไม่ต้องฝืนจนเกินไป
    ๕.๔ พิจารณาเชื่อว่ากรรมดีนั้นแหละเป็นที่พึ่งของตน
    ๕.๕ เว้นการสมาคมกับบุคคลทุศีล
    ๕.๖ สมาคมกับผู้มีศีล มีกาย วาจาสงบไม่เพ้อเจ้อ
    ๕.๗ ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกอารมณ์จิต ทุกอิริยาบถ
    ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยธรรม ๗ ประการนี้ จะทำให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ความจริงแล้วปัสสัทธินี้ ก็ไม่ได้มาจากไหน ได้มาจากปิตินั่นเอง กล่าวคือ เป็นปิติแล้ว ปัสสัทธิต้องมีด้วย เมื่อปิติยังมีกำลังกล้าอยู่ แสดงว่ายังอิ่มเอม ตื่นเต้นอยู่มาก จึงยังไม่เห็นอาการของปัสสัทธิ
    เมื่อปิติสงบลงบ้างแล้ว ปัสสัทธิจะปรากฎอาการ ความสงบสบาย จะปรากฎชัดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยของกันและกัน ดังนี้
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์นี้ มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา เหมือนกัน เพราะผู้ที่ได้ญาณแล้ว จะยกองค์ญาน ขึ้นพิจารณาวิปัสสนาได้ สมาธิในฌานนั้นเป็นอัปปนาสมาธิ
    เหตุที่จะเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ จะต้องบริบูรณ์ด้วยเหตุด้งนี้
    ๖.๑ ต้องรักษาความสะอาดในปัจจัยสี่ มีอาหารเป็นต้น
    ๖.๒ ต้องเจริญศรัทธากับปัญญา วิริยะกับสมาธิให้เสมอกัน อย่าให้มาก-น้อยกว่ากัน
    ๖.๓ ต้องเข้าใจรักษานิมิตของสมถกรรมฐาน และอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน กำหนดเสีย ต้องเข้าใจยกจิต ให้เกิดกล้าขึ้น
    ๖.๔ ถ้าวิริยะอ่อน ก็ต้องมีปัญญา ต้องมนสิการ ให้วิริยะแก่กล้าขึ้น เสมอกับสมาธิ (ปิติจะต้องช่วยวิริยะ ให้มีกำลังขึ้น)
    ๖.๕ ถ้าวิริยะอ่อนลง สมาธิอ่อนลง ความฟุ้งซ่านจะมีมากขึ้น ในบุคคลนั้น อันความฟุ้งซ่าน เป็นกิเลส เป็นเหตุ ให้เกิดนิวรณ์ ต้องปรับจิต ให้อยู่ในปัจจุบันอารมณ์ ถ้าไม่ปรับจิตให้อยู่ในปัจจุบันอารมณ์ เป็นนิวรณ์ ขณะใด ที่ได้อารมณ์ปัจจุบัน ความฟุ้งซ่านหรือนิวรณ์จะเกิดไม่ได้เลย
    เหตุที่เกิดความฟุ้งซ่าน ก็เพราะ สติรับปัจจุบันอ่อน หรือน้อยไป จะต้องพยายาม ให้จิตอยู่ในปัจจุบันอารมณ์เสมอ ความฟุ้งซ่าน ก็จะหมดลงไปเอง โดยดับไป จะใช้วิธีบังคับอื่นใด ไม่ได้เลย เพราะทุกอย่าง ย่อมเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่ใช่ที่อยาก หรือต้องการให้เป็นไป
    ๖.๖ ทำให้ให้ยินดีในความไม่ประมาท มีสติอยู่ตลอดเวลา คือตัวกำหนดทุกอย่าง อย่าขาดกำหนด ต้องเจริญพระกรรมฐาน ให้ถูกกับจริต ต้องปราศจาก ปลิโพธกังวล อันเป็นความกังวลในใจเสีย เว้นจากการคบหาสมาคม กับบุคคลที่ช่างพูด ช่างเจรจา ต้องเว้นไป อย่าไปคบหาบุคคลที่ช่างพูด ช่างเจรจา ชอบคุย ออกสมาคมกับ ผู้ที่รักษาความสงบระงับ
    สำหรับผู้ที่เจริญฌานก่อน จะยกองค์ฌาน ขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาจะต้องมีวสีชำนาญในองค์ฌาน มาก่อน จึงจะยกอารมณ์ เข้าสู่วิปัสสนาได้ ไม่ใช่ว่าพอได้ฌานแล้วก็ยกขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาได้เลย ต้องมีสติสัมปชัญญะต้องรู้สึกทันทุกอารมณ์ ทันปัจจุบัน ทุกอิริยาบถด้วย เมื่อบริบูรณ์
    ด้วยอุปการธรรม อย่างนี้แล้ว สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิดขึ้น
    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีลักษณะวางใจให้เป็นกลาง เชื่อมั่นต่อกรรม เชื่อว่าทุกอย่างย่อมเป็นไปตาม ผลของกรรม ที่ว่าวางใจให้เป็นกลางนั้น คือ ไม่ยินดีต่อความสุข ไม่เดือดร้อนต่อความทุกข์ ที่มีต่อตน เพราะเชื่อว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปตามอำนาจของกรรม ไม่มีผู้จะแก้ไขกรรม
    ที่ทำมาแล้วได้ ทำใจไม่ยินดียินร้ายในอารมณ์ ที่ตนประสบ ในเวลาที่ตนเจริญพระกรรมฐาน

    ธรรมที่ช่วยอุปการะอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีดังต่อไปนี้
    ๗.๑ ต้องพิจารณาให้รู้และเข้าใจว่า สภาวะที่เป็นอยู่นี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียงรูปนาม เท่านั้น
    ๗.๒ ตั้งจิตใจเป็นกลางในสังขารว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนแต่เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา ไม่เสียใจ เมื่อจะต้องมีการสูญเสีย
    ๗.๓ เว้นจากการคบหาสมาคม กับบุคคลที่ยังยึดมั่น เหนียวแน่นในสมมุติ ในสัตว์บุคคลว่า เป็นของเรา ของเขา
    ๗.๔ สมาคมคบหากับบุคคลที่เข้าใจสังขาร รู้จักสภาวธรรม
    ๗.๕ มีสติสัมปชัญญะทุกอารมณ์ น้อมใจให้มั่นคง วางใจให้เป็นกลาง ๆ
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้ จัดว่าเป็นองค์สำคัญ องค์หนึ่งของโพชฌงค์ คล้ายกับว่าปล่อยวางได้แล้ว มีปัญญาพอ ที่จะตรัสรู้ ในอริยสัจได้แล้ว
    ความสำคัญของโพชฌงค์ ก็มุ่งหมายถึง ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน ปรารถนาจะยกองค์ฌานขึ้นสู่อารมณ์ วิปัสสนา เพราะฉะนั้นสมถะที่กล่าวว่า เป็นองค์โพชฌงค์ ได้หมายเอาสมถะ ที่สงเคราะห์ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้ ทั้งนี้ เพราะการที่จะเป็นโพชฌงค์ ต้องมาจากการเจริญสติปัฏฐาน ๕ เท่านั้นเพราะโพชฌงค์ ในโพธิปักขิยธรรม ก็คือธรรม ในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หากแต่กำลังและการงานของสภาวธรรมนั้น มีกำลังแก่กล้าขึ้นตามลำดับ ของภูมิธรรม

    บางท่านอาจคิดว่าตนเองปฏิบัติ เจริญสติปัฏฐานมานานแล้ว และได้อารมณ์ดีด้วย เหตุใดจึงยังไม่บรรลุมรรคผล ขอให้เข้าใจเถิดว่า เพราะองค์ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สติ ปัญญา วิริยะ ศรัทธา สมาธิ เป็นต้น ยังไม่บรรลุถึงความเป็นโพชฌงค์ อันเป็นองค์ที่ตรัสรู้
    ฉะนั้นจะต้องสำรวจอารมณ์ของตนว่า อันใดยังบกพร่อง จะต้องพยายามทำให้สมบูรณ์ขึ้น จำเป็นจะต้องรู้ถึงอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจงอย่าท้อถอย
    ให้เข้าใจเถิดว่า การที่จะบรรลุมรรคผล รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ นั้น มิใช่ของที่จะทำได้ง่ายเลย จะต้องเข้าใจเหตุ และผล อย่างละเอียด รอบคอบ มีทางเดียวคือ เจริญสติปัฏฐาน ๔

    กองที่ ๗ มรรคมีองค์ ๘
    มรรคที่จัดไว้ในหมวดโพธิปักขิยธรรมนี้ กล่าวเฉพาะมรรค ที่เป็นทางชอบแต่อย่างเดียว จึงมีเพียง ๘ มรรค เรียกว่า อัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
    ๑. สัมมนาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ ด้วยการเห็นว่า ร่างกายหรือสังขาร ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมานี้ไม่มีสาระแก่นสาร เป็นเพียงธรรมชาติ รูปกับนามทั้งนั้น รูปกับนามนี้ ยังเป็นสภาพอนิจจังคือไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทุกขัง เพราะความเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ จึงทำให้เป็นทุกขัง
    และยังเป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตน ที่บังคับบัญชาได้ จะมีสภาพ เป็นไปตามเหตุปัจจัย หมดเหตุปัจจัย ก็หมดไปเองด้วย ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้ใด ทั้งสิ้น
    ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ การคิดดำริแต่สิ่งที่ชอบ ไม่ออกนอกลู่ นอกทาง จะกล่าวว่าเป็นความดำริ ที่สนับสนุนความเห็นชอบ คือสัมมาทิฏฐิก็ได้ เพราะความดำรินั้น คือ คิดแต่ทางที่จะให้พ้นจาก วัฏฏทุกข์เท่านั้น
    ๓. สัมมาวาจา คือ พูดจาแต่ในสิ่งที่ชอบ หมายถึง การสำรวมระวังในการพูด ไม่ให้ผิด ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดจาหยาบคาย ไม่พูดส่อเสียด และไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล
    ขอให้สังเกตด้วยว่า การปฏิบัติตามมรรค ๘ นี้ ต้องรักษาศีล มากกว่าผู้ที่สมาทานศีลธรรมดา เพราะต้องเว้นจากการกระทำ ที่เกี่ยวกับทาง กาย วาจาแม้แต่การเลี้ยงชีพที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องทุกอย่าง เช่น การพูดเท็จ จะต้องไม่มีการหยอกล้อ หรือหลอกลวง ผู้อื่นด้วยวาจา เว้นจากการพูดหยาบทุกชนิด แม้ว่าจะเป็นการด่าประชดกระทบกระเทียบ เปรียบเปรยก็ตาม ไม่พูดส่อเสียด อย่าพูดใส่ร้าย หรือยุยง ให้แตกแยกกัน และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือพูดพล่อย ๆ ไม่เป็นสาระ แม้จะเป็นการพูดสนุก ขบขัน ก็ควรเว้น รวมทั้ง การพูดทำนองโอ้อวดคุณวิเศษของตนเอง
    ๔. สัมมากัมมันตะ การทำงานนี้หมายถึง งานทั่วไปที่จะพึงกระทำ ต้องกระทำด้วย การมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ เว้นจากการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แม้ว่าการกระทำนั้นจะเป็นเพียงเพื่อความสนุกสนาน ชั่วครั้ง ชั่วคราว ก็ตาม ผู้ปฏิบัติตามมรรค มีองค์ ๘ นี้ต้องละเว้น
    ๕. สัมมาอาชีวะ ท่านกำหนดไว้ว่า เลิกจากการทำเลี้ยงชีพในทางที่ผิด ที่เป็นมิจฉาชีพ อาชีพที่ทำให้เดือดร้อนผู้อื่น ตัวอย่างเช่น ฆ่าสัตว์ขาย ทำของปลอมปน เป็นต้น ถ้าเป็นบรรพชิตก็เว้นจากการตั้งตน เป็นอาจารย์ผู้วิเศษ ใบ้หวย และกิจกรรมอื่น นอกรีตนอกรอยของบรรพชิตที่ไม่ควรทำ
    ๖. สัมมาวายามะ คือ มีความเพียรพยายาม ในทางที่จะให้พ้นทุกข์ หรือตามหลักของสัมมัปปธาน ๔
    ๗. สัมมาสติ การระลึกชอบ ตรงกับสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง ที่ว่าระลึกในที่นี้ คือการพิจารณาเนือง ๆ ใน ๔ อย่างต่อไปนี้
    ๗.๑ พิจารณาเห็นกายในกาย
    ๗.๒ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ๗.๓ พิจารณาเห็นจิตในจิต
    ๗.๔ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    จะไม่อธิบายซ้ำอีก เพราะได้อธิบายไว้แล้วในหมวดสติปัฏฐาน ๔
    ๘. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจแน่วแน่ ในการเจริญสติปัฏฐาน เพื่อบรรลุถึงมรรค และนิพพาน
    บางท่านเจริญฌาน เมื่อได้ฌานแล้ว จึงยกเอาองค์ฌาน ขึ้นสู่อารมณ์ของวิปัสสนา จะเห็นได้ว่ามรรค มีองค์ ๘ นี้ มีพร้อมทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา การปฏิบัติต้องอาศัยการเกี่ยวเนื่องกันอย่างพรั่งพร้อม จึงจะสำเร็จกิจ จึงจะประหารกิเลสได้
    ในมรรคมีองค์ ๘ นี้ ท่านแสดงสัมมาทิฏฐิมรรค คือ ความเห็นที่ชอบที่ถูกต้อง อันได้แก่ปัญญาไว้ก่อน เพราะเป็นองค์ที่มีอุปการะคุณอย่างยิ่ง
    การที่จะสำเร็จมรรคผล เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ นั้น จะขาดปัญญา หรือแม้แต่ กำลังของปัญญาอ่อนยิ่งหย่อนไปไม่ได้เลย
    ท่านอธิบายไว้ว่า เมื่อมีปัญญาชอบแล้ว ก็ย่อมจะคิดชอบ เมื่อคิดชอบแล้ว ก็จะพูดชอบ เจรจาชอบ มันเป็นการชอบไปหมด ดังนี้เป็นต้น
    เพราะฉะนั้นท่านสาธุชน โปรดได้รับทราบไว้ ดังที่กล่าวนี้ เมื่อพูดชอบแล้ว ก็ย่อมทำชอบ เมื่อเป็นผู้ทำการงานชอบ ก็ย่อมมีความเป็นอยู่ เลี้ยงชีพชอบไปด้วย เมื่อมีอาชีพที่ชอบ ที่มั่นคง ก็ย่อมมีความเพียร ความพยายามที่จะดำรงชีพนั้น เมื่อมีความพากเพียรที่ชอบ
    ก็ย่อมมีการระลึก นึกแต่ในทางที่ชอบ ที่ถูกต้อง เมื่อมีสติระลึกชอบแล้ว ก็ย่อมมีความตั้งใจแต่ในสิ่งที่ชอบ ที่ควรกระทำ

    อันมรรคมีองค์ ๘ นี้ มีทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ จะแตกต่างกันบ้างก็คือ ถ้าเป็นโลกียะจะไม่พร้อมกัน ทั้ง ๘ มรรค แต่ถ้าเป็นโลกุตระแล้ว ก็คือพร้อมกัน ทั้งองค์ ๘ เป็นมัคคสมังคี ต้องประกอบพร้อมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า พร้อมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา คือ ไตรสิกขา ๓
    มรรคที่เป็นโลกียะ มีอารมณ์อย่างอื่นได้ แต่มรรคที่เป็นโลกุตระ จะต้องมีอารมณ์เป็นนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะศีลในโลกียะนั้น เพียงเว้นสิ่งอันพึงเว้น ที่มาปรากฎเฉพาะหน้า แต่โลกุตระ ไม่ต้องมีวัตถุเว้น เพราะ วิรตีเจตสิก หรือ ศีลที่เป็นโลกุตระนั้น เป็นองค์มรรคมีหน้าที่
    ประการกิเลส ไม่ใช่มีหน้าที่ เพียงละเว้นการงานทุจริต เพราะหน้าที่ หรือกิจการของมรรค ประหารกิเลสได้ เป็นสมุทเฉท คือ เด็ดขาด
    แต่มรรคในโลกียะ เพียงข่มไว้ได้ชั่วคราว เวลาเจริญฌาน เรียกว่า วิขัมภนประหารหรือเพียงตทังคประหาร

    ขอให้เข้าใจว่าสติปัฏฐาน ๔ และอัฏฐังคิกมรรค ในโพธิปักขิยธรรมสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นธรรมหมวดแรกนั้น ทำหน้าที่ เพื่อให้แจ้งพระนิพพาน แต่มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นหมวดสุดท้าย ก็เป็นไปเพื่อให้แจ้งพระนิพพาน

    ฉะนั้นการที่จะบรรลุมรรค ผล นิพพาน ต้องดำเนินไปตาม ทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา อันมีสติปัฏฐาน ๔ และมรรคมีองค์ ๘ เป็นจุดเริ่มต้น และจุดที่จะให้สำเร็จ แต่ในขณะที่ บรรลุแจ้งพระนิพพานนั้น โพธิปักขิยธรรม ต้องประกอบหมายถึง ทำหน้าที่พร้อมเพรียงกัน

    ขอกล่าวย้ำเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาธุระนี้ เป็นสิ่งสำคัญข้อหนึ่งของสัทธรรม ๓ เพราะนอกจาก จะเรียนรู้ปริยัติสัทธรรมแล้ว ก็ต้องเจริญสัทธรรม ข้อ ๒ อันได้แก่ ปฏิบัติสัทธรรม ถ้าปรารถนา จะให้หลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์ ก็มีทางเดียว คือ เจริญวิปัสสนา มีสติปัฏฐานและมรรคมีองค์ ๘ เป็นทางเดิน จึงจะสามารถถึง สัทธรรมข้อ ๓ คือ ปฏิเวธสัทธรรม อันนำมาซึ่งสันติสุขอันถาวร

    พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการปฏิบัตินี้ว่า เป็นการบูชาอย่างเยี่ยมยอด แนวทางวิปัสสนานี้ถือเอา รูปธรรม นามธรรม เป็นกรรมฐาน เอารูปนามเป็นอารมณ์ เอารูปนามเป็นทางเดิน โดยมีสติเป็นผู้เพ่ง ปัญญาเป็นผู้รู้ เพื่อให้แจ้งแทงตลอดในสภาวธรรม ที่หลงยึดมั่นถือว่ามีสภาพความเป็นจริงอย่างไร และละโมหะ ที่ทำให้หลงงมงายออกเสียได้

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสเตือน ผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระอย่างถูกต้อง และได้ผลสมความปรารถนา สรุปได้ดังนี้
    ๑. ต้องมีผู้แนะนำสั่งสอน คือมีกัลยาณมิตร
    ๒. มีที่ปฏิบัติที่สงบสงัดเป็นสัปปายะ
    ๓. ต้องมีธรรมคือ ความตั้งใจจริง ความไม่ประมาท และปัญญา
    ๔. ไม่มีปลิโพธ คือ ความไม่กังวลห่วงใยใด ๆ ทั้งสิ้น
    ฉะนั้น ผู้ที่จะปฏิบัติควรจะประกอบองค์คุณธรรม คือ มีความเลื่อมใสศรัทธาจริง ไม่มีหนี้สินที่จะทำให้ห่วงกังวล ไม่มีโรคร้ายแรง โรคติดต่อ ไม่เป็นโรคจิต ไม่เป็นโรคประสาท พร้อมที่จะทำความเพียรได้ และควรเป็นบุคคลที่มีระเบียบแบบแผน พร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบ กติกาของสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ทุกประการ

    ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่สาธุชนทุกท่านเทอญ

    เจริญในธรรมทุกท่านครับ

    จากคุณ : สยาม [ 14 พ.ย. 2543 / 18:42:22 น. ] [ IP Address : 192.168.160.87 ]
    อนุโมทนาบุญคุณสยามที่เผยแพร่ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2008
  15. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    อนุโมทนาค่ะพี่ไก่ ธรรมทานที่พี่ให้นี้มีประโชน์มากค่ะ โดยเฉพาะสติปัฏฐาน๔ ที่น้องเคยอ่านยังมีข้อติดขัดสงสัย พอมาอ่านของพี่ไก่โพสต์ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ
     
  16. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ กับ อ.ไก่ ด้วยน่ะค่ะ ตรงกับที่พระอ.ยุลครณ์
    สอนส่วนหนึ่งเรยค่ะ แฮะ ๆ ท่านเน้นให้ ปฎิบัติไปที่ล่ะขั้น
    แล้วก็ ปฎิบัติให้ได้ตรอดเวลาที่ควรปฎิบัติค่ะ ,,
    แล้วก็จริงจังในการปฎิบัติ อย่างยิ่งยวดด้วยค่ะ

    [​IMG]

    แฟชั่นของน้องเค๊าไม่ธรรมดาจริง ๆ ค่ะ
    ครั้งแรกไม่ได้สักเกตุเห็นว่าเป็นลายอะไร

    อยากลองสั่งเสื้อแบบนี้ใส่ดูค่ะ พี่ ๆ น้อง มีใครสนใจเปล่าค่ะ :)
    ถามน้องเค๊า น้องบอกว่าสั่งทำ นึกว่ามีขายที่ไน๋ซ่ะอีกค่ะ
     
  17. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    หลวงพ่อปาน แนะนำให้ หลวงพ่อฤาษีลิงดำไป ฝึกกับ หลวงพ่อ สด วัดปากน้ำ

    [​IMG]


    หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านเล่าว่า.........

    " อาตมาเองก็เป็นคนงมงายมาก่อน ในกาลก่อนใครพูดเรื่องนิพพานไม่เชื่อ
    นิพพานมีสภาพสูญ เขาว่าอย่างนั้น ต่อมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
    ซึ่งเป็นอาจารย์ ท่านเห็นว่า เรามีสันดานชั่วละมั้ง ก็ส่งให้ไปหา
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ไปเรียนกับหลวงพ่อสดประมาณ เดือน
    ก็ทำได้ตามสมควร เรียกว่าพื้นฐานมีอยู่แล้ว
    ต่อมาวันหนึ่งประมาณ เวลา ๖ ทุ่มเศษ หลังจากทำวัตร สวดมนต์ เจริญกรรมฐานกันแล้ว
    หลวงพ่อสด ท่านก็คุยชวนคุย คนอื่นเขากลับหมด ก็อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ องค์ วันนั้น
    ท่านก็บอกว่าฉันมีอะไรจะเล่าให้พวกคุณฟัง คือ

    " พระที่ไปถึงนิพพานแล้ว มี รูปร่างเหมือนแก้วหมด ตัวเป็นแก้ว
    เราก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปมากแล้ว นิพพานเขาบอกว่ามีสภาพสูญ
    แล้ว ทำไม .... จะมีตัวมีตน "

    แล้วท่านก็ยังคุยต่อไปว่า นิพพานนี้เป็นเมือง แต่ว่าเป็นทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
    มีพระอรหันต์มากมาย คนที่ไปนิพพานได้ เขาเรียกว่า พระอรหันต์ จะตาย
    เมื่อเป็นฆราวาสจะตายเมื่อเป็นพระก็ตาม ต้องถึงอรหันต์ก่อน เมื่อถึงอรหันต์ก่อนแล้วก็ตาย
    ตายแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น ร่างกายเป็นแก้วหมด เมืองเป็นแก้ว สถานที่อยู่แพรวพราวเป็นระยับ
    อาตมาก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปเยอะ ตอนก่อนก็ดี สอนดี มาตอนนี้ชักจะไปมากเสียแล้ว

    แต่ก็ไม่ค้าน ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ ท่านก็คุยต่อไปว่า เมื่อคืนนั้น ขี่ม้าแก้วไปเมืองนิพพาน (เอาเข้าแล้ว)
    แล้วต่อมาคุยไปคุยมาท่านก็บอกว่า (ท่านคงจะทราบ ท่านไม่โง่เท่าเด็ก เพราะพระขนาดรู้นิพพานไปแล้ว
    อย่างอื่นก็ต้องรู้หมด แต่ความจริงคำว่า รู้หมด ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ใช่รู้เท่าพระพุทธเจ้า
    แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ควรจะรู้ ก็สามารถรู้หมด)

    ท่านก็เลยบอกว่า เธอดูดาวดวงนี้นะ ดาวดวงนี้สุกสว่างมาก ประเดี๋ยวฉันจะทำให้ดาวดวงนี้ริบหรี่ลง
    จะค่อย ๆ หรี่ลงจนกระทั่งไม่เห็นแสงดาว ท่านชี้ให้ดู แล้วก็มองต่อไป ตอนนี้เริ่มหรี่ ละ ๆ
    แสงดาวก็หรี่ไปตามเสียงของท่าน ในที่สุด หรี่ที่สุด ไม่เห็นแสงดาว ท่านถามว่า
    เวลานี้ทุกคนเห็นแสงดาวไหม ก็กราบเรียนท่านว่า ไม่เห็นแสงขอรับ ท่านบอกว่า
    ต่อนี้ไป ดาวจะเริ่มค่อย ๆ สว่าง ขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งถึงที่สุด แล้วก็เป็นไปตามนั้น

    พอท่านทำถึงตอนนี้ก็เกิดความเข้าใจว่า ความดี หรือ วิชาความรู้ที่เรามีอยู่
    มันไม่ได้ ในล้านที่ท่านมีแล้ว ฉะนั้นคำว่านิพพานจะต้องมีแน่
    ท่านมีความสามารถอย่างนี้เกินที่เราจะพึงคิด ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาในด้านกรรมฐานก็ดี
    หรือที่คุยกันมาก็ดี นี่ท่านรู้จริง ท่านก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพาน คำว่านิพพานสูญท่านไม่ยอมพูด
    ไปถามท่านเข้าว่านิพพานสูญรึ ท่านนิ่ง ในที่สุดก็ไปถาม ๒ องค์ คือ
    ลวงพ่อปาน กับหลวงพ่อโหน่ง ถามว่านิพพานสูญรึ ท่านตอบว่า ถ้าคนใดสูญจากนิพพาน
    คนนั้นก็เรียกว่านิพพานสูญ แต่คนไหนไม่สูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกนิพพานไม่สูญ
    ก็รวมความว่า นิพพานไม่สูญแน่

    [​IMG]

    ทีนี้ต่อมา หลวงพ่อสดท่านก็ยืนยันเอาจริงเอาจัง ต่อมาท่านก็สงเคราะห์คืนนั้นเอง
    ท่านก็สงเคราะห์บอกว่า เรื่องต้องการทราบนิพพาน เขาทำกันอย่างนี้ ท่านก็แนะนำวิธีการของท่าน
    รู้สึกไม่ยาก เพราะเราเรียนกันมาเดือนหนึ่งแล้ว ตามพื้นฐานต่าง ๆ
    ท่านบอกว่าใช้กำลังใจอย่างนี้ เวลาผ่านไปประมาณสัก ๑๐ นาที รู้สึกว่านานมากหน่อย
    ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ
    พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้
    คือแพรวพราวเหมือนแก้ว สวยงามระยับทุกอย่างที่พูดนี้ยังนึกถึงบุญคุณหลวงพ่อ
    สดท่านยังไม่หาย ท่านมีบุญคุณมาก

    [​IMG]

    รวมความว่า เวลานั้นเรายังเป็นคนโง่ อาจจะมีจิตทึมทึก
    แต่ความจริงขอพูดตามความเป็นจริงเวลานั้นจิตไม่ดำ จิตใสเป็นแก้ว
    แต่ความแพรวพราวของจิตไม่มีการใสเป็นแก้วนั้น
    เวลานั้นเป็นฌานโลกีย์ ฌานสูงสุด ใช้กำลังเฉพาะเวลานะ
    ฌานโลกีย์นี้เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ จะเอาตลอดเวลานี้ไม่ได้
    เพราะอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ แล้วท่านก็สั่งว่า
    หลังจากนี้ต่อไป ทุก ๆ องค์ จงทำอย่างนี้จิตต่อให้ถึงนิพพานทุกวัน ตามที่จะพึงทำได้
    อย่างน้อยที่สุด จงพบนิพพาน ๒ ครั้ง คือ . เช้ามืด
    และประการที่ . ก่อนหลับ
    หลังจากนี้ไป เธอกลับไปแล้ว ทีหลังกลับมาหาฉันใหม่ ฉันจะสอบ

    เมื่อได้ลีลามาอย่างนั้นแล้วก็กลับ มาหาครูบาอาจารย์เดิม คือ หลวงพ่อปาน
    พอขึ้นจากเรือก็ปรากฏว่าพบหลวงพ่อปานอยู่หน้าท่า ท่านเห็นหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม
    ว่าอย่างไรท่านนักปราชญ์ทั้งหลาย เห็นนิพพานแล้วใช่ไหม ตกใจ ก็ถามว่า
    หลวงพ่อทราบหรือครับ บอก เออ ข้าไม่ทราบหรอก วะ เทวดาเขามาบอก
    บอกว่าเมื่อคืนที่แล้วมานี่ หลวงพ่อสดฝึกพวกเอ็งไปนิพพานใช่ไหม
    ก็กราบเรียนท่านบอกว่า ใช่ขอรับ ท่านบอกว่า นั่นแหละ เป็นของจริง ของจริงมีตามนั้น
    หลวงพ่อสดท่านมีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้ ก็ถามว่า ถ้าหลวงพ่อสอนเองจะได้ไหม
    ท่านก็ตอบว่า ฉันสอนเองก็ได้ แต่ปากพวกเธอมันมาก มันพูดมาก ดีไม่ดีพูดไปพูดมา
    งานของฉันก็มาก งานก่อสร้างก็เยอะ งานรักษาคนเป็นโรคก็เป็นประจำวัน ไม่มีเวลาว่าง
    ถ้าเธอไปพูดเรื่องนิพพาน ฉันสอนเข้าฉันก็ไม่มีเวลาหยุด เวลาจะรักษาคนก็จะไม่มี
    เวลาที่จะก่อสร้างวัดต่าง ๆ ก็ไม่มี ฉันหวังจะสงเคราะห์ในด้านนี้ จึงได้ส่งเธอไปหาหลวงพ่อสด
    ก็ถามว่า หลวงพ่อสดกับหลวงพ่อรู้จักกันดีรึ ท่านก็ตอบว่า รู้จักกันดีมาก
    เคยไปสอบซ้อมกรรมฐานด้วยกัน สอบกันไปสอบกันมาแล้ว ต่างคนต่างต้นเสมอกัน
    ก็รวมความว่ากำลังไล่เรื่อยกัน บรรดาท่านพุทธบริษัท
    นี่เป็นจุดหนึ่งที่อาตมาแสดงถึงความโง่กับครูบาอาจารย์........."

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2008
  18. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    เพื่อนที่เรามักจะลืม
    ชายคนหนึ่ง มีเพื่อนอยู่ ๓คน
    เพื่อนคนที่ ๑ เขารักมาก ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเพื่อนคนนี้
    เพื่อนคนที่ ๒ เขารักรองลงมาจากคนแรก
    เพื่อนคนที่ ๓ เขาไม่สนใจ และไม่เคยทำอะไรเพื่อเพื่อนผู้นี้เลย
    ต่อมาในไม่ช้าไม่นาน เมื่ออายุล่วงเลยถึงกาลเวลา เขาก็ได้เสียชีวิต ความที่จิตของเขาผูกพันอยู่กับเพื่อนคนที่ ๑ เขาจึงไปหาแต่เพื่อนคนนี้ แต่เพื่อนไม่ไยดีเขาเลย เขาพูดด้วยก็ไม่ยอมเจรจาตอบ เขารู้สึกเสียใจมาก และนึกเสียดายว่าขณะที่มีชีวิตอยู่ เขาไม่ควรทุ่มเทเพื่อเพื่อนคนนี้
    จากนั้นเขาจึงไปหาเพื่อนคนที่ ๒ เพื่อนคนนี้ดีกว่าเพื่อนคนแรกตรงที่ตามไปส่ง เมื่อเขาเดินทางไปปรโลก แต่ส่งเพียงแค่ครึ่งทางก็กลับ

    คงมีแต่เพื่อนคนที่ ๓ เท่านั้น ที่ติดตามเขามา และร่วมเดินทางไปกับเขาตลอดเส้นทาง ไม่เคยทอดทิ้งเขาแม้เพียงชั่วอึดใจเดียว
    หลังจากอ่านจบ ขอถามว่า รู้ไหมเพื่อนทั้งสามคนนี้เป็นใครบ้าง?
    พอดีอ่านเจอในหนังสือเล่มนี้ รู้สึกดีมากเลยขอนำมาให้ทุกท่านอ่านแล้วลองทายดูค่ะ คิดว่าหลายท่านรู้อยู่แล้วค่ะ(||)
     
  19. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    ขออนุญาติลงการฝึกมโนยิทธิร่วมกับชีพจร จากmsn ครับ
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ดีครับพี่
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    l[kpfuxht8iy[
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    สบายดีป้ะงับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สวัสดครับน้องกร
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ไม่ไเจอกันนาน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สบายดีป่าว
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    น้องกรได้ข่าว
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ไหมช่วงนี้
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    โอเคครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เดือนสิงหาคมนี้นา
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับเฉพาะเดือนสิงหานี้ ก้ไม่ไหวล่ะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เขาว่าไงกันบ้างครับสายมโน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จะได้ลองเทียบกับหลายๆสายดู
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ก้ใกล้เข้ามามากแล้วครับ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    และก็ที่น่าห่วงคือเครื่องสร้างหลุมดำ LHD ที่ฝรั่งเศษ+สหรัฐ ร่วมกันสร้าง กำลังเดินเครื่องอีกไม่กี่วัน
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ผลกระทบไม่น่าไว้ใจ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    พี่จะขอแจ้งข่าวทางสายพระอาจารย์รัตน์
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    นะครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เอางี้ดีกว่า
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลองมองอนาคตดูนะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    พอไหวไหม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ???
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ก็ผมพอจับคลื่นที่ไม่ดีได้ มันแบบว่าเปงการสูญเสีย เศร้า และก็สิ้นหวัง
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    เมื่วานอ่ะครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    อืมๆๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แม่นๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เอางี้พี่จะลองแนะนำวิธีดูอนาคตให้
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แร้วลองมอ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    คือพอคลื่นมากระทบจิตก้อเกิดอารมณ์แบบนั้นเลย
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    มองไปในอนาคร
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ได้ผลยังไง
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    บอกันนะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เพราะว่าพี่อยากให้สายมโนฯลองทบทวนเชคดูกัน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จะลองดูไหม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จะบอกให้
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    อือิ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับยังไงคับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เอานะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ทำความรุ้สึกเบาๆๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ก่อนอันดับแรก
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เอามือขวาจับชีพจรมือซ้าย
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สังเกตจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ที่ขอ้มือ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จากนั้นลองค่อยๆปรับการเต้นที่ขอมือ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ให้เท่ากับที่หัวใจเราเต้น
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ...
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับต่อ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ถ้าเท่ากันแร้ว
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    บอกนะ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    เท่าแล้ว
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จากนั้น
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จากนั้น
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ละความรุ้สึกเต้นๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ที่ข้อมือ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    มาสังเกตที่หัวใจ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    อย่างเดียว
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ...
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จากนั้น
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ให้ค่อยๆนึกถึงวันข้างหน้า
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    อนาคต
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ทีละวัน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    วันนี้ 28
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    นึกไปวันถัดไป
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แต่ละวันให้สังเกตการเต้นของหัวใจ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    และความรุ้สึกให้ดีนะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เอาละนะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ไล่ไปทีละวัน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    29
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    30
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    นึกว่าตัวเองไปอยู่นะวั้นนะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    31
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    1
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สค
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    2 สืงกา
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    3 สิงหา
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    4
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    5
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    6
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    7
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    8
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สังเกตอาการที่เกิดกับร่างกาย
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    และสิ่งแวดล้อมในแต่ละวันนึคะรับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    9
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    10
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    11
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ภาพมันมาก่อนแล้วอ่ะครับ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    คับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    พไหวไหท
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สังเกตได้ไหมครับผม
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับ....แต่ให้สังเกตแบบไหน ความรู่สึก หรือ ....
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ออ้
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สังเกตการเต้นหัวใจ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ร่วมกับภาพที่เห็น
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ความรู้สึกรอบตัว
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    การหายใจ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลง
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ในช่วงเดือนนี้มาก
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ลองเชคน่ะครับ เห็นเหมือนจราจลขานดใหญ่ มีไฟเต็มไปหมด และมีทหารเข้ามาวุ่นวาย รวมถึงพายุอะไรสักอย่าง
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    วันไหนบ้างครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ของพี่วันที่ 4
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    5
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ใก
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ใกล้กันๆๆ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    แต่ปลายเดือนหนักมากว่า
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ใช้ได้ๆๆ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    วิธีนี้ผมไปสอนคนอื่นได้มั้ยครับ แล้วเข้าเรียกว่าอะไรงับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ได้ครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สอนได้
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ไม่เป็งรายครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เป็นวิธีที่พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แนะนำพี่มา
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ให้ดุอนาคต
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ก็เรยลองบอกต่อๆกันๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลองฝึกกัน
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับขอบคุณครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เป็นวิธีดูอนาคตนะ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ช่วงนี้พยามฝึกถอดกายทิพย์ และควบคุมความฝันแต่ยากจริงๆครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ไม่แนะนำจริงๆครับน้อวง
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    วางอารมณ์ไม่ถูก
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แต่ก็ทำได้นะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แต่ว่า
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    มีข้อแม้นิดหน่อยครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เราต้องมีกำลังลาปราณสูงมากๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    และมีกำลังภายในมากพอ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ไม่งั้นมีปัญหาเรือ่งกายทิพย์นะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เวลาถอดออกนะ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    แต่ผมกลัวมารขวาง อ่ะครับ และช่วงนี้มิติเปิดง่าย
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ก้อแม่นอนู่ครับผม
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ที่อยากถอดอยากไปเรียนวิชากับครูบารอาจารย์อ่ะครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ดังนั้นจึงต้องมีกำลังภายในเยอะไว้หน่อย
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ช่วงนี้ถอดยาก
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    และฝืดมากทีเดียว
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ระมัดระวังหน่อยนะครับน้อง
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เดวจะโดนดีแข้า
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    อิอิ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ถ้ากำลังภายในดีก็ออกกง่ายอยู่นะครับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แต่ว่ากำลังภายในน้อย
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ออกยากนิดนึง
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    แล้วฝึกปรารงัยอ่ะครับเพิ่มกำลังภายใน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    อ้อ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จมปราณสู่ตันเถียนล่างนะครับผมา
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แล้วโคจรผ่าน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เสี่ยวโจวเทียน
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ใต่สะดือหรอ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แม่นๆๆครับผม
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    พี่ผมไม่เข้าใจสัพ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ออ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แปลไทย
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ว่า
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จุลจักรวาล
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เป็นการโคจรลมปราณ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แแบเต๋าอย่างนึง
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เมื่อลมปราณมาก
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ไหลเวียนดี
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    กายทิพย์ก็ดี
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    สะอาด
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    กายทิพย์แข็งแรง
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    มีกำลังมากๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลมปราณกับกายทิพย์สัมพันธ์กันครับผม
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    คือหายใจให้สุดลมขึ้นมาถึงไหล่ กระบังลมเปิดเต็มที่ ป่ะครับ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    เข้า-ออก ช้าๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แม่นๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แต่ว่า
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ที่สำคัญคือการจมชื่
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ปราณ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลงตันเถียน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แล้วโคจรให้ได้ครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เคล็ดๆๆๆ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ออิอิ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลองหาขอ้มูลดูเน้อ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    อ้อ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    พี่ลืมบอกไปอย่าง
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลองเชคดูวันที่ 4
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เวลา 3 ทุ่มดุนะครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    และก้อวันที่
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    23-27
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    น่าระเริ่มวันที่ 24-25
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เสร็จประมาณ 26
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    27
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลองดูนะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ได้ผลยังไงลองเชคกัน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลองดูว่าหัวใจเต้นช้าลง
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    จนหยุดวันไหน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แร้วลมหายใจดับไปวันไหน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    เริ่มหายใจได้วันไหน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    กายทิพย์สว่างสุดวันไหน
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    นะครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลองดูนะ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    แร้วได้ผลยังไงลองคุยกัน
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    ครับผม
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    ลองดูเน้อ
    </DIR>
    พัฒนาตน พัฒนาจิต พัฒนาความคิด พัฒนาปัญญา says:
    <DIR>
    คับ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
    <DIR>
    อิอิ
    </DIR>
    พี่ภูมิ says:
     
  20. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697

    คราวนี้มาเฉลยค่ะ

    เพื่อนคนที่ ๑ คือ ทรัพย์สมบัติ เพราะเวลาเรามีชีวิตอยู่ เราจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มันมา แต่พอเราเสียชีวิตไปแล้ว กลับไม่ไปกับเรา แถมเราพูดด้วยมันก็ไม่พูดกับเรา

    เพื่อนคนที่ ๒ คือ ภรรยา ลูก ญาติพี่น้อง เพราะพอเราเสียชีวิตไป เขาก็ทำบุญให้เรา ทำพิธีศพให้เรา แปลว่า เขาไปส่งเราแค่ครึ่งทาง

    เพื่อนคนสุดท้าย คือ บุญกับบาป เมื่อเราเสียชีวิตไป เราไม่สามารถเอาอะไรไปด้วยได้ ยกเว้น เพียงแค่บุญกับบาปเท่านั้น ที่จะตามเราไป

    เพราะฉะนั้น เราต้องเอาใจใส่เพื่อนคนที่ ๓ ให้มาก โดยเฉพาะคนที่ชื่อ นายบุญ ส่วนนายบาป เราต้องหนีให้ไกล อย่าได้เอาไปเป็นเพื่อนร่วมทางโดยเด็ดขาด
     

แชร์หน้านี้

Loading...