วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    การฝึกสมาธิเรื่องการทรงฌานจากเมื่อวานนี้ จะช่วยเพิ่มความชำนาญหรือวสี ในการฝึกสมาธิ

    ความชำนาญรวดเร็วในการเข้าสู่ฌาน

    ความฉลาดมีปัญญาในการจดจำอารมณ์ฌาน อารมณ์สมาธิ

    ความรู้จักว่าภาวะใด อารมณ์ใด ธรรมใด ที่มีผลในการรักษาฌาน และสิ่งใดทำลายฌาน สมาธินั้น

    การประคองฌานโดยเฉพาะฌานสี่ให้ได้นาน เท่าที่จะทำได้

    เมื่อทรงฌานได้อย่างมั่นคงและคล่องตัวแล้ว ก็พึงหมั่นฝึกหมั่นทรงฌานสมาบัติทั้งลืมตาหลับตา ทั้งในทุกอิริยาบท ทำไม่ต้องให้คนเขารู้ อย่าได้ทำเพื่อโอ้อวดใคร ทรงฌานเพื่อความดีของจิตเราเอง


    ------------------------------------------------------------

    ต่อไป คือการทรงฌานในภาพพระพุทธเจ้า เป็นพุทธานุสติกรรมฐาน ควบอาโลกกสิณ(หากภาพพระพุทธเจ้าเป็นเพชรสว่าง)

    การทรงฌานโดยกำหนดภาพพระพุทธเจ้านั้น หากให้เกิดผลอานิสงค์สูงและเกิดกำลังเต็มที่เต็มอัตรา

    ผู้ปฏิบัติต้องตั้งกำลังใจ ว่า เราเป็นผู้ที่มีจิตนอบน้อมแลมั่นคงในไตรสรณะคมม์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างหาที่สุดไม่ได้

    การทรงภาพพระพุทธเจ้ายามส่องสว่างเป็นเพชรประกายพรึกนั้น รัศมีฉัพพรรณรังสีของพระองค์ท่านนั้นเป็น "พุทโธอัปปะมาโณ" แผ่สว่างพุทธบารมีออกไปไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ

    คำที่ผู้ปฏิบัติสายหลวงพ่อท่านใช้ ท่านพูดสั้นว่า "การทรงภาพพระ"

    แต่ความหมายโดยละเอียดในอารมณ์จิตของผู้ปฏิบัติ(ด้วยกำลังใจหรือบารมีเต็ม)คือ

    "การน้อมอาราธนาพุทธบารมีของพระพุทธองค์เป็นเพชรประกายพรึกส่องสว่างอยู่้เหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้า ด้วยฉัพพรณรังสีอันไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ" และขึ้นอยู่กับการอธิษฐานของเราว่า ขอให้ท่านเมตตาเรื่อง

    -คุ้มครองกาย วาจา ใจ เราให้อยู่ในกุศล ในธรรม ในมรรคผลพระนิพพาน

    -ขอท่านคุ้มจิตเราให้มั่นคงในความดี ในความเป็นสัมมาทิษฐิ

    -คุ้มครองกายเรา ครอบครัวเราให้ปลอดภัยจาก...........ภัยพิบัติ

    ขึ้นกับการอธิษฐานเอา เพราะหากเข้าใจแล้วว่า พลังพุทธคุณนั้นไม่มีประมาณ ก็จบ หมดความสงสัย

    สำหรับการปฏิบัติ

    ก็ให้เราน้อมกำหนดจิตให้เกิดภาพพระพุทธรูปที่เรารักที่เราชอบที่เรามีความชื่นจิตเย็นใจยามนึกถึง ให้ปรากฏอยู่เหนือศรีษะของเรา องค์พระพุทธปฏิมาวางอยู่เบาๆไม่หนักไม่กดทับ วางแตะแนบบนศรีษะ ลืมตาเห็น หลับตาเห็น รู้สึกได้ตลอดเวลา

    -กำหนดน้อมว่าจิตเรามีความนอบน้อมในพระรัตนไตร เคารพพระพุทธเจ้า องค์พระพุทธปฏิมาบนเศียรเรานี้เราขออารธนาบารมีแห่งพระพุทธเจ้าท่านเมตตาเสด็จมาด้วยฉัพพรรณรังสีจากพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน ไม่ใช่เป็นเพียงพระพุทธรูป ยิ่งจิตมีวิจิกิจฉาสิ้นไปเท่าไร พระพุทธเจ้าท่านยิ่งสงเคราะห์เราได้มากเพียงนั้น ข้อจำกัดอยู่ที่จิตของแต่ละบุคคลเอง การปฏิบัติธรรมจุดนี้ต้องใช้ศรัทธานำ ต้องน้อมจิตให้เกิดศรัทธาจนเกิดกำลังสูงสุด

    -กำหนดองค์พระพุทธเจ้าเหนือเศียรเกล้านั้นแผ่ฉัพพรรณรังสีสว่างออกไปไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ เป็นแก้วเป็นเพชร จนคลุมกาย คลุมดวงจิตให้กายเนื้อและอาทิสมานกาย(กายทิพย์)ของเราพลอยสว่างสะอาดใสไปด้วย

    -ทรงภาพพระพุทธเจ้า ทรงอารมณ์จิตมั่นคงศรัทธาใน พระรัตนไตรเอาไว้ ตลอดวันตลอดเวลา ทั้งหลับตาและลืมตา นึกได้ไม่ต้องรอกำหนดจิตทันที เผลอเอาใหม่

    -ทรงเอาไว้ด้วยจิตอันเป็นสุข ทรงเอาไว้ในความเคารพรักในพระพุทธเจ้าอย่างหาที่ประมาณไม่ได้ท่วมหัวจิตหัวใจจนจิตเราแนบ จิตเราเกาะกับภาพพระพุทธเจ้าไม่ห่างหายไปไหน

    -เมื่อทรงภาพพระพุทธเจ้าได้แล้วเราก็รักษา กาย วาจา ใจ เราให้อยู่แต่กุศล ความดี ละเลิกอกุศลทั้งปวง ทำจิตให้ผ่องใสผ่องแผ้วเบิกบาน

    -เคล็ดลับคือ เห็นภาพพระท่านยิ้มจิตเรายิ้ม จิตเราเป็นสุข เห็นภาพองค์พระเป็นแก้วประกายพรึกแผ่สว่างใส เมื่อนั้น คือจิตเราผ่องแผ้วเบิกบาน

    ผลแห่งการปฏิบัติในส่วนนี้คือจิตมีกำลังสูงขึ้น(อย่างมากเนื่องจากมีกำลังพุทธบารมีท่านสงเคราะห์) ญาณทัศนะญาณเครื่องรู้มีความคล่องตัวอย่างมาก จิตสงบ ตั้งมั่นเร็ว ขจัดความกลัวทั้งปวงจากใจ


    การบ้านวันนี้ทรงภาพพระให้จิตเป็นสุขทั้งยามหลับ ยามตื่นครับ นึกได้ทรงภาพพระท่าน สวดมนต์ก็ให้จิตจับอยู่กับองค์พระ ทำทานสร้างกุศลก้น้อมถวายองค์พระ ก่อนทานอาหารก็ถวายข้าวพระ ทำสิ่งใดก็นึกถึงพระ

    จนเราทรงฌาน ทรงสติอยู่ในพุทธานุสติกรรมฐานเป็นปกติ

    ขอกราบโมทนากับความเพียรและกุศลเจตนาในการขัดเกลาอบรมจิตของทุกๆท่านด้วยเทอญ
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เมื่อสมถะสมาธิเริ่มคงตัว จิตพึงพอใจมีธรรมฉันทะอยู่กับความสงบเย็นดีแล้ว ก็เคลื่อนจิตเข้าสู่การเจริญปัญญาพิจารณาในวิปัสสนาญาณ

    โดยการทรงสมาธิให้จิตสงบนิ่งเป็นอุเบกขารมณ์เอาไว้ น้อมคิดพิจารณาในกฏไตรลักษณ์ในความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    ให้เห็นการเกิด การดับ การสลายตัว

    เห็นการเกิด การตาย

    เห็นการแปรปรวนในสังขารร่างกายของเราเอง ว่าไม่เที่ยง

    เห็นความไม่เที่ยงและแปรปรวนนี้ว่าว่าเป็นทุกข์

    พิจารณาให้จิตน้อมยอมรับว่า เมื่อจิตเราไปยึดไปปรุงแต่ง ไปเกาะในร่างกาย ขันธุ์ห้า ว่าเป็นตัวเรา ของเรา ยึดว่า ร่างกายนี้มันสวยงาม ยึดว่าร่างกายนี้จะเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไปนั้น ความเกาะ ความยึดนี้ล่ะเป็นเหตุแห่งทุกข์

    ความทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ เราก็ดับที่ใจ

    พิจารณาต่อไปว่าเรารู้เท่าทันในอารมณ์ที่ปรุงแต่งให้ยึดเกาะในร่างกาย เราว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์

    จิตเราพึงรู้เท่าทัน รู้ตามสภาวะความเป็นจริงของร่างกายเรานี้ ว่าร่างกายนี้มีการแก่ มีความความเสื่อม มีการเจ็บไข้ได้ป่วยและท้ายที่สุดก็มีความตายเป็นไปตามปกติไม่มีผู้ใดหนีพ้นได้

    เราพึงปล่อยวางในร่างกายนี้ พึงกำหนดรู้ไม่ประมาทในมรณานุสติ พึงตั้งจิตนึกถึงที่ไปหลังกายเนื้อนี้แตกสลาย อันเป็นธรรมที่ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม

    เราไม่รู้ว่าว่าจะตายเมื่อไร วันไหน อาการเช่นไร

    แต่เรากำหนดสติสมาธิทรงในมรณานุสติทุกลมหายใจเข้าออก เราหยุดหายใจเมื่อไรก็ตาย เรารู้ว่าทุกคนต้องตาย ไม่อาจหลีกพ้นความตายไปได้

    และเราตั้งจิตไว้ในปัจจุบันขณะ ทุกวาระจิตที่รำลึกถึงความตายว่า ตายเมื่อไหร่ ข้าพเจ้าขออยู่กับพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน

    ผูกจิตในการพิจารณาความตายให้ครบสายแห่งการพิจารณาว่า

    "เราเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในความตาย แต่หากตายเมื่อไร ข้าพเจ้าขอน้อมรำลึกเอาคุณพระรัตนไตรให้คงมั่น ขอน้อมกราบอยู่แทบเบื้องพระบาทพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานด้วยเทอญ"

    หรือพิจารณาสั้นๆว่า "ตายเมื่อไรฉันไปพระนิพพาน"

    เอาเรียบๆง่ายๆ ตรงไปตรงมา ปราศจากความลังเลสงสัยทั้งปวงจากใจ

    เมื่อหมั่นทรงสมาธิในพุทธานุสติกรรมฐาน ทรงภาพพระพุทธเจ้าได้ชัดเจนแจ่มใส

    ใจเราตั้งมั่นมีวิปัสสนาญาณสะอาด ปราศจากการเกาะกายเนื้อ ไม่ประมาทในความตาย มีที่ไปอันเป็นสุขคติคือพระนิพพานเป็นที่สุด

    ใจเราปราศจากความห่วงใยทั้งปวง ปราศจากความกลัว ความสงสัยทั้งปวง ปราศจากอวิชชาทั้งปวง

    จิตย่อมบริสุทธิ์วิมุติขึ้นตามลำดับ หมั่นพิจารณาให้เป็นปกติ ในทุกวัน ทุกเวลาที่จิตสงบ ทุกเวลาที่จิตเกิดทุกข์ ทุกเวลาที่จิตรำลึกได้

    จนจิตชินเป็นปกติ เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติเนื้อแท้ของดวงจิตเราโดยสมบูรณ์

    เมื่อพิจารณาวางได้มาก

    จิตยิ่งโปร่ง(จากม่านหมอกแห่งอวิชชาที่บังตาเรา)

    จิตยิ่งโล่ง(จากความหนักใจกังวลใจ)

    จิตยิ่งเบา(จากการยึดมั่นถือมั่น)

    จิตยิ่งสงบเย็น(จากทุกข์ที่ดับลงตามลำดับจากกิเลสที่เบาบางลดความเร่าร้อนลง)

    เมื่อนั้นจิตยิ่งเป็นสุข

    "ขอธรรมทั้งหลายอันพระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ดีแล้วพึงชำระดับทุกข์ ให้สิ้นไม่เหลือเชื้อในดวงจิตของทุกๆท่านด้วยเทอญ"
     
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    หมั่นพิจารณาในวิปัสสนาญาณเอาไว้อยู่เนืองๆ

    บางครั้งเราปล่อยวางได้ บางครั้งบ่อยวางไม่ได้

    แต่ไม่เป็นไร อย่าท้อถอย ค่อยๆพิจารณาจนจิตเราเริ่มชิน เริ่มวาง เริ่มเบา จากน้อยไปมาก จากง่ายไปยาก

    จนจิตปลงในเวทนา ปลงในการปรุงของจิต ปลงในความผันแปรในใจคน
    ปลงในความไม่เที่ยงของร่างกาย ปลงในทุกข์ที่หนักเหนื่อยเป็นภาระของจิต

    แม้บางครั้งการทำความดีก็ยังเป็นทุกข์ แต่ก็หยุดไม่ได้ เลิกไม่ได้ ต้องพิจารณาให้เราทำความดี เป็นปกติได้โดยเราไม่ทุกข์

    อยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยทุกข์ แต่ใจเราต้องไม่ทุกข์

    อยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายดวงจิต แรงกระทบใจทั้งปวง โดยใจเราไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ใจเหล่านั้นไปได้

    พิจารณาจนใจเราไม่อยากเกิด เห็นอวิชชาตัวโง่ที่ทำให้เราหลงเกิดอยู่นี้ชัดเจน

    และน้อมจิตเพื่อพระนิพพานมั่นคงขึ้น มั่นคงในพระรัตนไตรยิ่งขึ้น

    โดยที่จิตเราไม่เศร้าหมอง มีแต่จิตอันเกษมในใจที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เลิกเกิด เลิกทุกข์

    ใจเรามีเพียงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะสูงสุดเท่านั้น หากไม่พบพระพุทธศาสนาเราจะทุกข์อีกนานซักเพียงไร เวียนเกิดเวียนทุกข์ เวียนตายทับถมไม่สิ้นสุด

    พอกันทีกับทุกข์ทั้งปวง ทุกข์ภายใน ทุกข์ภายนอก เห็นทุกข์ย่อมเห็นธรรม

    ตั้งจิตขอมุ่งลัดตัดตรงสู่มรรคผลพระนิพพาน

    "ขอธรรมอันยังจิตเพื่อพระนิพพานจงปรากฏสู่จิตทุกๆดวงด้วยเทอญ"
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เมื่อเราพิจารณาในวิปััสสนาญาณจนจิตเราสะอาด

    เจริญสมถะ จนจิตเราสงบ

    เจริญพรหมวิหารสี่ จนจิตเราเย็น

    เราก็พึงเจริญพุทธานุสติกรรมฐาน ที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป

    ตามที่หลวงพ่อท่านสอนท่านสอนเรื่องการทรงภาพพระ(พุทธเจ้า)สามฐาน

    การทรงภาพพระพุทธเจ้านั้น หากกำลัง(สมาธิ)สูงสุด นั้น ภาพพระพุทธเจ้าท่านจะปรากฏเป็นเพชรแพรวพราวมีรัศมีฉัพพรรณรังสีสว่างรุ่งโรจน์แผ่กระจายออกไปไม่มีประมาณ

    หากนับเนื่องในกสิณก็คือปฏิภาคนิมิต อันเป็นกำลังของฌานสี่ในอาโลกสิณ เป็นบาทฐานของอภิญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทิพยจักษุญาณ

    ส่วนการทรงภาพพระ(พุทธเจ้า)สามฐานนั้น

    มีการเจริญสมาธิดังนั้น

    กำหนดภาพพระพุทธเจ้าที่ใสสว่างเป็นแก้วประกายพรึก องค์ที่หนึ่ง ประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าของเรา ลอยแตะแนบศีรษะเราโดยไม่มีความหนัก ความกด เป็นอาการสัมผัสแนบมั่นคงอยู่

    กำหนดจิตอาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าอันหาประมาณไม่ได้นั้น ท่านได้เมตตาคุ้มครองจิต ความคิด มโน ของเราให้อยู่ในสัมมาทิษฐิ ในกุศล ในความดี ในธรรม ขอท่านเมตตาคุ้มครองคลุมกายเรา ทั้งยามหลับ ยามตื่น ให้ปลอดภัยจากภัยทั้งปวง ตราบจนถึงภัยแห่งสังสารวัฏฏ์

    ทรงภาพพระพุทธเจ้า ณ ฐานที่หนึ่งนี้ ให้ชัดเจนกระจ่างจิต เห็นรู้สึก สัมผัสได้ด้วยจิตทั้งลืมตาหลับตา

    จากนั้นตั้งฐานที่สอง

    ทรงภาพพระพุทธเจ้าสว่างใสเป็นแก้วเพชรสว่างแพรวพราวอยู่ภายในศีรษะของเรา โดยองค์พระท่านนั้นพระพักตร์ของท่านตรงกับบริเวณกึ่งกลางคิ้วของเรา

    ตั้งจิตขออารธนาบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ขอให้พุทธญาณทัศนะ ธรรมวิมุติญาณทัศนะของพระองค์ท่านสงเคราะห์ให้เรารู้เห็นเข้าใจในธรรมอันปราณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งได้โดยง่าย ให้เกิดญาณทั้งแปดประการ อันรู้เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงทุกประการด้วยเทอญ

    ทรงภาพพระพุทธเจ้า ณ ฐานที่สองนี้ ให้ชัดเจนกระจ่างจิต เห็นรู้สึก สัมผัสได้ด้วยจิตทั้งลืมตาหลับตา

    จากนั้นตั้งฐานที่สาม

    ทรงภาพพระพุทธเจ้าที่สว่างใสเป็นแก้วประกายพรึกอยู่ภายในช่องอกของกายเนื้อเรา โดยแท่นฐานของพระองค์ท่านอยู่บริเวณท้องของเรา หากเราทำสมาธิในท่านั่งนำมือประสานมือขวาทับซ้ายหัวแม่มือจรดกันอยู่

    ให้กำหนดว่าเรากำลังประสานมือประคับประคองฐานขององค์พระอยู่ นิ่งตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

    ภาพองค์พระพุทธเจ้าเปล่งฉัพพรรณรังสีส่องสว่างไสวออกไปทั่วจักรวาลจิตเราเป็นสุข

    กำหนดจิตว่าขอพุทธบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสงเคราะห์ ให้สมาธิ สมาบัติ ความมั่นคงในพระรัตนไตรของข้าพเจ้าจงมั่นคงไม่หวั่นไหว ให้จิตข้าพเจ้ามั่นคงดำรงรักษาจิตในความสงบ ในธรรม ในวิปัสนาญาณได้ละเอียด ได้สะอาด ได้ตั้งมั่น ได้นานเท่านาน

    เมื่อเริ่มมีความคล่องตัว ฝึกทรงภาพพระสามฐานจนคล่องจะสามารถทรงภาพพระพุทธเจ้าที่สว่าง ละเอียดได้ครบทั้งสามฐาน

    เมื่อปรากฏผลแห่งการปฏิบัติจะพบว่า ฌานสมาบัติจะตั้งมั่นอย่างมาก สมาธิจะทรงได้อย่างมั่นคง

    ใจปราศจากวิจิกิจฉาในคุณพระรัตนไตร

    เรียกว่าจิตก้าวหน้าพัฒนาจนรู้สึกได้ว่า สมาธิดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    ญาณทัศนะเครื่องรู้มีความคล่องตัวขึ้น

    ขอให้ทุกท่านตั้งใจฝึก ตั้งใจรักษา สมาธิกันเอาไว้ให้จงดี อาจจะยากบ้างสำหรับผู้เริ่มหรือบางท่าน แต่ไม่ยากเกินความเพียรและธรรมฉันทะของทุกๆท่าน

    ทรงภาพพระทั้งสามฐานพร้อมกันสว่างไสวเปล่งฉัพพรรณรังสีให้ได้พร้อมกันทั้งสามพระองค์ สามฐาน ทั้งลืมตาหลับตา
     
  5. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD>มองตัวเองสิ

    ใครที่ไม่ได้ไปนั่งฟังการบรรยายธรรมะโดยท่าน ว.วชิรเมธี มีพี่ๆ ที่รู้จักไปนั่งฟังมา ท่านได้ให้พร 4 ข้อ ดังนี้


    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    1. อย่าเป็นนักจับผิด
    คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง 'กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก'
    คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส 'จิตประภัสสร' ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี'แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข'

    2. อย่ามัวแต่คิดริษยา
    'แข่งกันดี ไม่ดีสักคนผลัดกันดี ได้ดีทุกคน'
    คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า 'เจ้ากรรมนายเวร' ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้องถอดถอน
    ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น 'ไฟสุมขอน' (ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
    เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี 'แผ่เมตตา' หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป



    3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
    90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ 'ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น' มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
    ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ 'อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน'
    'อยู่กับปัจจุบันให้เป็น' ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี 'สติ' กำกับตลอดเวลา


    4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
    'ตัณหา' ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ 'ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม'
    ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลาไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรู
    คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์
    เราต้องถามตัวเองว่า 'เิกิดมาทำไม' 'คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน 'ตามหา 'แก่น' ของชีวิตให้เจอ
    ' คำว่า 'พอดี' คือ ถ้า 'พอ' แล้วจะ 'ดี' รู้จัก 'พอ' จะมีชีวิตอย่างมีความสุข'

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. สาวปีใหม่

    สาวปีใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,004
    ค่าพลัง:
    +2,368
    ความโกรธ เกิดจากความคิดปรุงแต่ง (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)<!-- google_ad_section_end -->


    [​IMG]

    ความปรุงใจเป็นสิ่งสำคัญ ทำความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปรุงของใจเสียก่อน ให้เห็นแน่ชัดเสียก่อนว่า ความโกรธหรือไม่โกรธ ไม่ได้เกิดจากเสียงภายนอกที่มากระทบประสาทหู

    แต่ ความโกรธ หรือ ไม่โกรธ ชอบ หรือ ไม่ชอบ เกิดจากความปรุงคิดแท้ๆ ความปรุงคิดของในเรานี้แหละ ที่ทำให้เกิดความชอบหรือไม่ชอบ ความโกรธหรือไม่โกรธ เมื่อความชอบหรือไม่ชอบ โกรธหรือไม่โกรธเกิดได้เพราะความปรุงคิด จึงมิได้เพราะบุคคลภายนอกแต่เกิดจากตัวเองเท่านั้น

    ตัวเองนี้แหละเป็นเหตุให้ชอบหรือไม่ชอบ โกรธหรือไม่โกรธ เวลาเกิดความไม่ชอบหรือความชอบ ความโกรธก็เกิดขึ้นจึง ควรมีสติรู้ว่าตนเองเป็นผู้ทำให้เกิด ไม่มีผู้อื่นมาทำ เมื่อใจไม่ส่งออกไปโทษผู้อื่นว่าเป็นเหตุ ใจรับความจริงว่าตนเองเป็นเหตุ ความโกรธก็จะลดน้อยถึงหยุดลงได้ สำคัญต้องมีสติรู้ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเพราะความปรุงในจิตใจของเราเอง มิได้เกิดขึ้นเพราะบุคคลหรือวัตถุภายนอก

    นี่พูดถึงเมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว ให้ดับด้วยการมีสติรู้ความจริงว่าตนเองเป็นผู้ทำ แต่ถ้าพูดถึงการป้องกันมิให้ความโกรธเกิด จะต้องฝึกให้สติเกิดเร็วขึ้นอีก และดังกล่าวแล้วในตอนต้น ๆ จะต้องฝึกให้เกิดเหตุผลและปัญญา รวมทั้งเมตตากรุณาด้วย การฝึกในเรื่องเหล่านั้นจำเป็นต้องทำเมื่อความโกรธยังไม่เกิดขึ้นในจิตใจ หรือเมื่อเกิดแล้วแต่ดับแล้ว

    เมตตากรุณาเป็นความรู้สึกตรงกันข้ามกับความโกรธ ผู้ที่มีเมตตากรุณาในผู้ใดอยู่ ความโกรธในผู้นั้นจะเกิดไม่ได้เพราะเมตตาหมายถึงความปรารถนาให้เป็นสุข กรุณาปรารถนาจะช่วยให้พ้นทุกข์ เมื่อมีความรู้สึกดังกล่าวอยู่ในใจ ความโกรธย่อมเกิดไม่ได้เป็นธรรมดา การเจริญเมตตาจึงเป็นการแก้ความโกรธที่ได้ผล

    ผู้เจริญ เมตตาอยู่เสมอ เป็นผู้ไม่โกรธง่าย ทั้งยังมีจิตใจเยือกเย็นเป็นสุข ด้วยอำนาจของเมตตาอีกด้วย ผู้ใดรู้สึกว่าจิตใจเร่าร้อนนัก เมื่อเจริญเมตตาจะได้รู้สึกว่าเมตตามีคุณแก่ตนเองเพียงไร

    แม้เมื่อเจริญเมตตาจะปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข แต่ผู้จะได้รับผลแห่งความสุขก่อนใครทั้งหมด คือตัวผู้เจริญเมตตาเองเช่นเดียวกันการคิดดีพูดดีทำดีทุกอย่าง ผู้ที่ได้รับผลของความดีก่อนใครทั้งหมดคือตัวผู้ทำเอง และได้รับผลของความดีมากกว่าใครทั้งหมดก็คือตัวผู้ทำเอง จึงควรคิดดูน่าจะคิดดีพูดดีทำดีกันเพียงใดหรือไม่


    : ฝึกใจไม่ให้โกรธ
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 ตุลาคม 2010
  7. สาวปีใหม่

    สาวปีใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,004
    ค่าพลัง:
    +2,368
    ธรรมชาติของจิต (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)


    [​IMG]

    ธรรมชาติของจิต

    สมเด็จพระญาณสังวร

    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม จิตตภาวนาการปฏิบัติอบรมจิตนั้น

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงสั่งสอนไว้ โดยที่ได้ตรัสไว้มีใจความว่า จิตนี้เป็นธรรมชาติปภัสสรคือผุดผ่อง แต่เศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายที่จรเข้ามา แต่ว่าจิตนี้วิมุติหลุดพ้นจากอุปกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายได้ อาศัยการปฏิบัติทำจิตตภาวนาคืออบรมจิต

    ทุกๆ คนต่างมีกายกับจิตประกอบกันอยู่ จิตนั้นท่านเปรียบเหมือนอย่างคนพายเรือ กายนั้นเปรียบเหมือนอย่างเรือ เรือจะไปทางไหนก็ต้องอาศัยคนพายเรือ พายเรือไป ฉันใด ทุกคนก็ฉันนั้น ร่างกายจะไปทางไหนจะทำอะไร ก็จิตนี้เองเป็นผู้สั่ง เป็นผู้บงการ เช่นโดยเจตนาคือความจงใจให้ทำนั่นให้ทำนี่ต่างๆ จิตจึงเป็นส่วนสำคัญมากที่ทุกๆ คนมีอยู่


    ๏ ปรกติของคนเป็นอย่างนี้

    และจิตนี้เองที่ต้องเศร้าหมองไป เพราะอุปกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายที่จรเข้ามาอาศัยอยู่ในจิต ปรากฏเป็นกิเลสอย่างละเอียด อันเรียกว่า อาสวะ กิเลสที่ดองจิต หรืออนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตบ้าง โดยเป็นกิเลสอย่างกลางคือเป็น นิวรณ์ คือกิเลสที่ปรากฏเป็นความโลภความโกรธความหลงต่างๆ บังเกิดขึ้นกลุ้มรุมอยู่ในจิต ที่ทุกคนก็รู้ว่าจิตของตนมีโลภบ้างมีโกรธบ้างมีหลงบ้าง
    หรือที่เป็นกิเลสที่รุนแรง ก็คือโลภโกรธหลงนั้นเองที่รุนแรง จนถึงก่อเจตนาคือความจงใจประกอบกรรมออกไปเป็นภัยเป็นเวรต่างๆ เช่นผิดศีล ๕ คือฆ่าเขาบ้าง ลักของเขาบ้าง ประพฤติผิดในกามทั้งหลายบ้าง พูดเท็จหลอกลวงเขาบ้าง ซ้ำยังแถมดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยยาเสพติดให้โทษต่างๆ เพิ่มความมัวเมาประมาทให้มากขึ้น ปรกติของคนเป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้น

    จิตเองที่เป็นธรรมชาติประภัสสรคือผุดผ่อง จึงกลายเป็นจิตที่ไม่ผุดผ่อง แต่กลายเป็นจิตที่เศร้าหมองไม่ผ่องใส

    ทั้งจิตนี้เองนอกจากเป็นธรรมชาติที่ปภัสสรคือผุดผ่องแล้ว ยังเป็นวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ด้วย ฉะนั้น เมื่อเศร้าหมองไปไม่ผ่องใส จึงกลายเป็นความมึนซึม โง่เขลา ไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้นี้ก็หมายถึงว่าไม่รู้สัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นตัวความจริง

    ความไม่รู้นี้ของคนสามัญที่มีกิเลสทั่วไป ก็มีอวิชชาคือความไม่รู้สัจจะที่เป็นตัวความจริง เป็นหัวหน้าใหญ่ เป็นตัวการใหญ่ นำให้เกิดโมหะคือความหลงถือเอาผิดต่างๆ ถือเอาดีเป็นชั่ว ถือเอาชั่วเป็นดี ถือเอาสุขเป็นทุกข์ ทุกข์เป็นสุข ถือเอาเหตุเกิดทุกข์ว่าเป็นเหตุเกิดสุข ไม่รู้จักความดับทุกข์ ไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    เพราะฉะนั้น จึงต้องประสบความทุกข์เดือดร้อนต่างๆ ความชั่วร้ายต่างๆ จิตที่เป็นธาตุรู้ ก็กลายเป็นไม่รู้ กลายเป็นโง่เขลา จิตที่ปภัสสรก็กลายเป็นเศร้าหมอง จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ทุกคนมีของดีอยู่แล้วติดตัวมาเป็นธรรมชาติคือจิตดังกล่าว ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ปภัสสรคือผุดผ่อง เป็นวิญญาณธาตุคือธาตุรู้

    ๏ ธรรมชาติอย่างหนึ่งของจิต

    การที่จิตที่มีธรรมชาติอันดีอย่างยิ่งกลับกลายไปเช่นนั้น ก็เพราะ


    จิตนี้มีธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งคือว่าน้อมไปได้ น้อมไปดีก็ได้ น้อมไปไม่ดีก็ได้ หากน้อมไปไม่ดีบ่อยๆ ก็ทำให้เคยชินติดอยู่ในความไม่ดี แต่ถ้าหากว่าหัดน้อมมาในทางดีบ่อยๆ ก็จะทำให้ติดอยู่ในทางดี อันตรงกันข้าม


    แต่ก็เป็นเคราะห์ดีของทุกๆ คนที่มีจิตเป็นธาตุรู้ดังกล่าวนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อได้ประสบพบผ่านสุขทุกข์ต่างๆ มาบ่อยๆ ครั้งเข้า ได้ทำดีทำชั่วต่างๆ มาบ่อยครั้งเข้า และก็ได้รับผลเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์จากกิเลสในใจ ที่เรียกว่าอุปกิเลสนั้น และจากกรรมที่ประกอบกระทำออกไปทางกายทางวาจาทางใจ จึงทำให้จับเหตุจับผลได้บ้างตามสมควร ว่ากิเลสนั้นให้เกิดทุกข์ แต่ความสงบกิเลสให้เกิดสุข กรรมชั่วนั้นให้เกิดทุกข์ กรรมดีนั้นให้เกิดสุข

    และทั้งตนเองก็มีธรรมชาติของตนเองอยู่คือรักตน ต้องการให้ตนเป็นสุขไม่เดือดร้อน และไม่ต้องการให้ใครมาก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง ต้องการให้ใครๆ มาเกื้อกูลตนเอง และนอกจากตนเองแล้ว ตนเองยังรักคนที่ควรรักทั้งหลาย เช่นว่ามารดาบิดารักบุตรธิดาของตน เมื่อรักใครก็ต้องการให้คนที่รักนั้นเป็นสุขมีความเจริญ ไม่ต้องการให้มาทำลายล้าง ต้องการให้ใครๆ มาเกื้อกูลตนให้ตนมีความสุขความเจริญ ไม่ต้องการให้ใครมาทำลายล้างเช่นเดียวกัน

    แต่ว่าเพราะโมหะคือความหลง เพราะอวิชชาคือความไม่รู้จริง จึงทำให้ไม่นึกถึงจิตใจของคนอื่นว่าเป็นเช่นเดียวกัน ยังไปทำร้ายคนอื่น ทั้งที่ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายตน แต่ถ้าหากว่ารู้จักนึกเทียบเคียงดู ว่าตนเองต้องการฉันใด คนอื่นก็ต้องการฉันนั้น


    ตนเองรักสุขเกลียดทุกข์ คนอื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เมื่อตนเองต้องการสุข ไม่ต้องการให้ใครมาก่อทุกข์ให้ ตนเองก็ไม่ควรจะไปก่อทุกข์ให้แก่ใครๆ แต่ก่อสุขให้แก่ใครๆ เมื่อคิดดั่งนี้ก็จะทำให้รู้สึกถึงการควรทำไม่ควรทำอันเกิดจากตนเองในทางที่ถูกที่ชอบ

    ๏ บารมี อาสวะ

    คนเรามีธาตุรู้ที่จะคิดได้ดั่งนี้ ทั้งเมื่อได้มาพบพระพุทธศาสนา ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งสั่งสอนให้ละชั่ว ให้ทำดี ให้ชำระจิตใจของตนบริสุทธิ์ผ่องใส ก็จะทำให้มีความสนใจนำมาใคร่ครวญ และปฏิบัติตาม ก็จะเป็นเครื่องนำให้จิตใจนี้น้อมไปในทางดียิ่งขึ้น คือน้อมไปในทางที่ ละชั่ว ทำดี และ ชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส

    ตามหลักพระโอวาทสำคัญของพระพุทธเจ้า ก็จะเป็นเหตุให้จิตใจนี้น้อมไปในทางที่ละชั่ว ในทางที่ทำดี และในทางที่ชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใสบ่อยๆ ทำให้มีความคุ้นเคยในทางดี น้อมไปในทางดี เป็นความดีที่ประพฤติติดตัว

    ความดีที่ประพฤติติดตัวนี้ก็เรียกว่าเป็น บารมี คือความดีที่เก็บไว้ อันตรงกันข้ามกับกิเลสเครื่องเศร้าหมองที่เก็บไว้ อันเรียกว่า อาสวะอนุสัย ดังกล่าวนั้น เพราะฉะนั้น ทุกคนที่เป็นสามัญชนจึงมีอยู่ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายร้าย ฝ่ายดีก็คือบารมี ฝ่ายร้ายก็คืออาสวะหรืออนุสัย ประจำอยู่ในจิตใจของตนเอง และทั้งเมื่อได้มาปฏิบัติจิตตภาวนาการอบรมจิตที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนไว้ ก็เป็นการปฏิบัตินำจิตให้น้อมไปในทางดี ให้ประทับอยู่ในทางดี หรือ พูดอย่างง่ายๆ ว่าติดอยู่ในทางดีมากขึ้น และดีนี้เองก็จะลดชั่วให้น้อยลง ในเมื่อน้อมไปในทางดีมาก และเมื่อลดชั่วได้ หรือว่าเก็บฝ่ายดีได้ไปโดยลำดับก็จะทำให้เป็นกัลยาณชนคือคนดี จนถึงเป็นอริยชนคือเป็นบุคคลที่เป็นพระอริยะ หรือที่เรียกกันว่าผู้สำเร็จ เมื่อลดชั่วได้หมดสิ้นเรียกว่าถึงที่สุดดีถึงที่สุดชั่ว ก็เป็นพระอรหันต์ ผู้เสร็จกิจในทางพระพุทธศาสนา

    พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย ก่อนที่จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านก็ยังมีทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่ว คือทั้งส่วนที่เป็นอาสวะอันเป็นส่วนชั่วที่เก็บชั่วเอาไว้ ทั้งส่วนดีคือบารมีที่เก็บดีเอาไว้เช่นเดียวกัน แต่อาศัยที่ท่านได้ น้อมจิตไปในทางดี เก็บดีคือบารมีนี้ให้มากขึ้นๆ บารมีก็ละอาสวะที่เป็นส่วนเก็บชั่วนี้ให้น้อยลง จนถึงสุดดีคือเก็บดีไว้เต็มที่สมบูรณ์ที่สุด ก็ละอาสวะได้หมดสิ้นเป็นสุดชั่ว จึงเป็นผู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า และเป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ยังไม่บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ เมื่อได้ทำดีเก็บดี และละอาสวะที่เป็นส่วนชั่วได้บางส่วน ก็เป็นพระอริยะบุคคลที่ต่ำลงมา จนถึงเมื่อยังละไม่ได้แต่ว่าทำความดีเก็บดีเอาไว้ได้มาก ลดเก็บชั่วลงไป ก็เป็นกัลยาณชนคือคนดี แม้ยังเป็นปุถุชนคือคนที่ยังมีกิเลสอยู่อย่างเต็มที่ ยังละไม่ได้ แต่ก็เป็นกัลยาณชนคือคนดี

    หากว่าจิตยังไม่น้อมมาในทางดี น้อมไปในทางชั่วมาก เก็บชั่วไว้มาก ก็เป็นพาลชนคือคนเขลา และหากว่าน้อมไปในทางชั่วมากที่สุด เก็บชั่วไว้มากที่สุด ส่วนดีมีอยู่น้อยคล้ายกับไม่มี ก็เป็นอันธพาลบุถุชน คือบุถุชนที่เป็นอันธพาล คือเป็นผู้เขลาเหมือนอย่างตาบอด เป็นผู้มืด ต้องประสบความทุกข์อยู่ในโลกเป็นอันมาก จนกว่าจะตาสว่างขึ้น รู้จักละชั่วทำดี รู้จักชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส จึงจะค่อยประสบความสุขมากขึ้น ก็จะเลื่อนขึ้นเป็นสามัญชนที่เป็นคนสามัญทั่วไป

    แล้วก็เป็นกัลยาณชนคนดี เป็นอริยชน ชนที่เป็นพระอริยะ จนถึงเป็นพระอรหันต์ในที่สุด ก็แปลว่าทำดีถึงที่สุดเป็นสุดดี แล้วก็สุดชั่วคือว่าละชั่วได้หมด ละอาสวะกิเลสได้หมด จิตนี้ก็ปภัสสรผุดผ่องขึ้นโดยลำดับ จนถึงผุดผ่องเต็มที่ และธาตุรู้ของจิตก็เป็นความรู้จักสัจจะคือความจริงขึ้นโดยลำดับ จนรู้จักสัจจะเต็มที่ คือรู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดทุกข์ รู้จักความดับทุกข์ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างสมบูรณ์ ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ตุลาคม 2010
  8. สาวปีใหม่

    สาวปีใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,004
    ค่าพลัง:
    +2,368
    [​IMG]
     
  9. Nok Nok

    Nok Nok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +3,297
    [​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    กราบโมทนาสาธุ...กับสาระความรู้ต่างๆมากมายที่หาประมาณค่ามิได้
    กราบขอบพระคุณทุกๆ ท่าน
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเจ้าของกระทู้อาจารย์
    kananun
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ

    [​IMG]
     
  10. สาวปีใหม่

    สาวปีใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,004
    ค่าพลัง:
    +2,368
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD>รวมบทความ - พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>เขียนโดย ว.วชิรเมธี

    </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top>วันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2009 เวลา 14:39


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>๑. หนึ่งครั้งที่แม่ตบลงไปบนหน้าลูก

    อาจก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนลึกลงไปสุดใจของลูก ทั้งชีวิต

    หนึ่งอ้อมกอดที่แม่บรรจงหยิบยื่นให้ลูก อาจก่อให้เกิดความพันผูกข้ามกาลเวลา

    ทุก ๆ ปฏิสัมพันธ์เป็นได้ทั้งบาดแผล และ ดอกไม้สำหรับลูก


    ๒. คนใกล้ชิดเป็นศัตรู แม้กำแพง ๗ ชั้น ก็ป้องกันไม่ได้

    ศัตรูที่มาจากภายนอกต่อให้ยกมาถึง ๙ ทัพ เราก็มองเห็นและเตรียมตัวทัน

    แต่ศัตรูที่มาจากคนในด้วยกัน คือศัตรูที่อันตรายที่สุด

    เพราะเรามักมองไม่เห็น และไหวตัวไม่ทัน


    ๓. เวลาเรือเอียงเรามักจะมองเห็นและแก้ไขได้ทันท่วงที

    แต่ความลำเอียงในใจคนมักถูกปกปิดอย่างมิดชิดและแสดงออกอย่างแยบยล

    กว่าจะรู้ว่าคนที่เรารักมากด้วยความลำเอียง บางครั้งมันก็สายเกินไป


    ๔. ไม่มีแรงใดเสมอด้วยแรงกรรม

    แรงฟ้ามนุษย์แก้ได้ด้วยสายล่อฟ้า

    แรงน้ำมนุษย์แก้ด้วยการเปลี่ยนเส้นทาง หรือสร้างกำแพงกั้นน้ำ

    แรงพายุมนุษย์แก้ได้ด้วยการปลูกป่า

    แต่แรงกรรมมีแต่ต้องก้มหน้ารับโดยส่วนเดียว


    ๕. อยู่คนเดียวจงระวังความคิด อยู่กับมิตรจงระวังวาจา

    อยู่กับมารดาบิดาจงระวังการปฏิบัติตน

    ถ้าคิดไม่ระวังจะกลายเป็นคิดฟุ้งซ่าน

    ถ้าพูดไม่ระวังมิตรจะเข้าใจผิด

    ถ้าปฏิบัติไม่ดีต่อมารดาบิดาจะเป็นการสร้างบาปให้ตนเอง


    ๖. ทำบาตรแตก ถ้วยแตก ชามแตก แก้วแตก ยังดีกว่าทำให้คนแตกกัน

    เนื่องเพราะวัตถุที่แตกแล้วสามารถประสานให้ดีดังเดิม ได้อย่างง่ายดาย

    แต่ถ้าคนแตกสามัคคีกันเป็นฝักฝ่ายแล้ว

    บางทีทั้งชีวิตก็ไม่สามารถสนิทสนมกันได้อีก


    ๗. สิ่งที่เราให้คนอื่น แท้จริงแล้วคือของที่เราฝากให้แก่ตนเองในวันข้างหน้า

    เช่น วันนี้เราด่าเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาด่า

    วันนี้เราโกงเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาโกง

    วันนี้เราเนรคุณเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาเนรคุณ


    ๘. ความดีที่ทำไว้ในหมู่คนพาล ถึงมากมายมหาศาลก็สูญเปล่า

    การทำสิ่งดี ๆ ให้แก่คนที่ไม่เห็นคุณค่า ก็ไม่ต่างอะไรกับการเทน้ำลงกองทราย

    ถึงเทอย่างไรก็ซึมหายหมด ดังนั้นจะทำดีกับใคร ควรใช้ปัญญาคิดให้รอบคอบ


    ๙. การมีความสุขที่ก่อความทุกข์ให้คนอื่นนั้น ไม่ใช่ความสุขที่แท้

    มันเป็นได้แค่ความสุขจากการเกาขอบแผลที่กำลังคัน

    ยิ่งเกาดูเหมือนยิ่งสุข แต่แท้ที่จริงมันคือความทุกข์ที่แฝงมาอย่างแนบเนียน


    ๑๐. ดูข่าวการเมือง ยิ่งดูยิ่งวุ่นวาย ยิ่งดูยิ่งฟุ้งซ่าน

    แต่หากกลับมาดูใจของตนอย่างมีสติ

    รู้เท่าทันทุกเรื่องที่คิด ทุกจิตที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว

    ความทุกข์มากมายจะดับลง ดูจิตวันละนิดจิตแจ่มใส


    ๑๑. น้ำขุ่นที่ใส่สารส้มลงไป น้ำที่ขุ่นนั้นก็ใสได้เหมือนกัน

    ใจขุ่นหากใส่สารแห่งความรู้สึกตัวลงไป

    ไม่นานเท่าไรใจนั้นก็แจ่มกระจ่างเหมือนกัน

    น้ำขุ่นแก้ได้ฉันใด ใจขุ่นก็แก้ได้ฉันนั้น


    ๑๒. คนที่ทำงานผิดพลาด แล้วป่าวประกาศว่าเป็นความผิดของคนอื่น

    คือคนที่มีแต่จะผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า

    ส่วนคนที่ทำงานผิดพลาด แล้วลุกขึ้นมายอมรับอย่างองอาจเปิดเผย

    คือคนที่ไม่มีโอกาสผิดพลาดซ้ำอีกเลยในชีวิต


    ๑๓. ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย

    ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย

    ผู้ไม่ประมาทไม่มีวันตาย ผู้ประมาทไม่ต่างอะไรกับคนที่ตายแล้ว

    กวีบทนี้ทำให้พระเจ้าอโศกเปลี่ยนจากกษัตริย์ที่ดุร้ายมาเป็นชาวพุทธชั้นนำ


    ๑๔. คนไทยไปงานศพแทบทุกเย็น

    โดยไม่เคยรู้สักนิดว่าวันหนึ่งตัวเราจะเป็นศพ

    ดังนั้นเราควรฝึกไปงานศพตัวเองทุกวัน

    ด้วยการบอกกับตัวเองว่า ความตายอยู่ใกล้แค่ปลายจมูก


    ๑๕. อยากโชคดี ไม่ใช่ไปหาวิธีลอดท้องช้าง

    แต่อยากโชคดี เริ่มกันที่การมีสติปัญญาในการดำเนินชีวิตประจำวัน

    ขอเพียงมีปัญญา โชคดีก็ไหลเข้ามาไม่ขาดสาย

    แต่ถ้าไร้ปัญญา โชคร้ายจะไหลเข้ามาเหมือนห่าฝน


    ๑๖. อ่านหนังสือเล่มนอกมากมาย

    อาจทำให้รู้จักใครทั่วทั้งโลก แต่ไม่รู้วิธีดับทุกข์ในใจตัวเอง

    ส่วนการอ่านหนังสือเล่มใน แม้ทำให้ไม่รู้จักใครอย่างกว้างขวาง

    แต่นำไปสู่การรู้จักตนอย่างลึกซึ้ง ดับทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด


    ๑๗. ในตัวเรามีทั้ง ๓ ฤดู

    เมื่อความโกรธเข้าครอบงำจิต ใจร้อนเป็นไฟดั่งฤดูร้อน

    เมื่อใดความโลภเข้าครอบงำอยากได้ จิตใจก็เพลิดเพลินเหมือนฤดูฝนเย็นฉ่ำ

    เมื่อใดความหลงเข้าครอบงำจิตใจ ก็มืดมนไหวสะท้านเหมือนเดินอยู่กลางฤดูหนาว


    ๑๘. แม้ประตูคุกปิดล็อกอย่างแน่นหนา แต่คนพาลมากมายทยอยสู่ที่คุมขัง

    ความเลวร้ายประดาในชีวิตเรา ไม่ได้เกิดจากมือที่มองไม่เห็นดลบันดาลให้เป็นไป

    แต่เกิดจากตัวเราพาตัวเข้าไปแส่หาด้วยความขลาดเขลาเบาปัญญาทั้งสิ้น


    ๑๙. ชีวิตแสนสั้นอยู่กันไม่นานก็ลาจาก

    ชีวิตเหมือนน้ำค้างสดใสในยามเช้า พอยามสายก็หายไป

    ชีวิตเหมือนพยับแดด มองไกล ๆ เหมือนมีตัวตนน่าสนใจ

    แต่พอเข้าไปใกล้กลับเหมือนแต่ความว่างเปล่า


    ๒๐. นิ้วทั้ง ๕ ไม่เท่ากันฉันใด ความสามารถของแต่ละคนมีไม่เท่ากันฉันนั้น

    ธรรมชาติต้องการสอนให้เราอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย

    บางสิ่งที่เขาขาด เราอาจมี บางสิ่งที่เขาดี เราอาจด้อย

    เราเกิดมาเพื่อเติมเต็มกันและกัน



    ๒๑. ในใจเรามีทั้งตัวสร้างและตัวเสื่อม

    ตัวสร้างคือธรรมมะ ตัวเสื่อมคือกิเลส

    เวลาอยากทำอะไรดี ๆ นั่นคือบทบาทของตัวสร้าง

    แต่ในขณะที่เราอยากทำดีกลับรู้สึกว่าไม่ควรจะทำ นั่นคือบทบาทของตัวเสื่อม


    ๒๒. วิกฤตมีเพื่อพิสูจน์ปัญญา ปัญหามีเพื่อพิสูจน์ความสามารถ

    สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเราล้วนมีความหมาย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาอย่างว่างเปล่า

    ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จะเห็นคุณค่าของทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต


    ๒๓. น้ำที่ไหลแรงที่สุดคือน้ำใจ

    น้ำใจที่ปรารถนาจะช่วยคน ทำให้คนจำนวนมาก

    ข้ามน้ำข้ามทะเลไปช่วยเพื่อนมนุษย์ที่ตกยากได้อย่างไม่กลัวเหนื่อยล้า

    พรมแดนของประเทศก็ไม่สามารถขัดขวางน้ำใจคน


    ๒๔. ไฟจากเตาเผาไหม้มีแค่บางเวลา แต่ไฟกิเลสเผาไหม้อยู่ในใจตลอดเวลา

    ไฟที่ร้ายแรงที่สุดจึงเป็นไฟแห่งกิเลส

    กล้องที่ส่องได้ไกลที่สุดคือ กล้องปัญญา

    ที่ส่องทะลุทะลวงไปถึงอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต


    ๒๕. นัยอันลึกล้ำของคำว่าขอบคุณ

    ขอบคุณความไม่มี ที่ทำให้รู้วิธีลุกขึ้นสู้

    ขอบคุณความยากจน ที่ทำให้เป็นคนมุมานะ

    ขอบคุณความล้มเหลว ที่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ


    ๒๖. คนที่ปล่อยตัวปล่อยใจให้ตกเป็นทาสของความโกรธ

    ต่อให้นอนบนเตียงราคาแพงลิบลิ่ว ปูด้วยพรมขนสัตว์ที่มีลวดลายบุปผชาติประดับไปทั้งผืน

    ก็ไม่อาจทำให้หลับตาลงอย่างเป็นสุขได้เลย ตลอดรัตติกาลอันยาวนาน


    ๒๗. นัยอันลึกล้ำของคำว่าขอบคุณ

    ขอบคุณความผิดพลาด ที่ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม

    ขอบคุณความริษยา ที่ทำให้กล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่

    ขอบคุณคำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ทำให้ผลิบานอย่างไร้ข้อตำหนิ


    ๒๘. แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝน ต่อให้ฝนตกกระหน่ำทั้งคืนก็ไม่อาจเต็มไปด้วยน้ำ

    คนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งคืน ก็ยังคงโง่เท่าเดิม


    ๒๙. นัยอันลึกล้ำของคำว่าขอบคุณ

    ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้จักครูที่ชื่อประสบการณ์

    ขอบคุณความผิดหวัง ที่ทำให้ตั้งสติเพื่อลุกขึ้นใหม่

    ขอบคุณศัตรูที่แกร่งกล้า ที่ทำให้รู้ว่าเรายังไม่ใช่มืออาชีพ


    ๓๐. อยู่ให้คนเขารัก จากไปให้คนเขาอาลัย ล่วงลับไปให้คนเอ่ยอ้างถึง

    อยู่ให้คนรัก คืออยู่อย่างผู้ให้

    จากไปให้คนอาลัย คือก่อนจาก สร้างสรรค์แต่สิ่งมีคุณค่า

    ล่วงลับไปให้คนระลึกถึง คือเวลามีชีวิต ทำแต่คุณงามความดีจนเป็นที่จดจำ.

    *****
    ขอขอบพระคุณ








    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ตุลาคม 2010
  11. ลุงคนเชียงใหม่

    ลุงคนเชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +2,521
    พี่คณานันท์ครับ

    มีน้องๆที่รู้จักกัน ในชมรมพระพุทธศาสนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
    ชวนผมไปร่วมงานตักบาตรเทโวโรหนะ ที่พระบาทสี่รอยกับครูบาพรชัย
    เจ้าอาวาสวัดพระบาทสี่รอย ที่ครูบาท่านออกจากการถือศิล
    ในระหว่างพรรษาโดยเก็บตัวอยู่ในกุฎิ ฉันเพียงถั่วงาและน้ำที่เตรียมไว้ ตลอดพรรษา
    ในวันที่ 23 ตุลาคม นี้ ที่วัดพระบาทสี่รอย และจะทำได้พิธีอโหสิกรรมใหญ่
    และลาพุทธภูมิ เพื่อเป็นสาวกภูมิ รวมทั้งการทำบุญถึงสรรพเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายในวันพระเจ้าเปิดโลก
    ที่สามารถจะทำบุญถึงทุกชั้นภพ ได้โดยปกติดจะไม่ถึงในนรก เปรต
    บางชั้น เพื่อลดกรรมพยาบาทจากเจ้ากรรมนายเวรที่จะเวียนมาบรรจบในทุกชาติที่จะมาตกในชาตินี้
    ********************
    การทำอโหสิกรรมใหญ่เพื่อ
    ขออโหสิกรรมต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์
    พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกพระองค์ ที่เราอาจได้ล่วงเกินมาในชาติภพใดๆที่ผ่านมา
    โดยตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี โดยรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี
    อันจะเกิดผลทำให้เราไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
    หรือมีวิบากกรรมมาผจญในแบบต่างๆในการปฏิบัติธรรมมากมาย
    เช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธโคตมะของเรา
    เคยคิดแว๊บเดียวว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมเด็จพระพุทธกัสสปะ
    ว่าไปนั่งในป่าเพียงเจ็ดวันจะตรัสรู้ได้อย่างไร เพียงแว๊ปเดียว
    กรรมที่เกิดทำให้พระองค์ต้องหลงไปบำเพ็ญทุกข์ ถึง 6 ปีก่อนตรัสรู้

    และการประกาสลาพุทธภูมิ เพราะไม่ว่าในชาติภพใดก็ตามที่ผ่านมาถ้าเราบังเอิญ
    โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ได้เคยเอ่ยปราถนาพุทธภูมิไว้
    (ยกเว้นกรณีได้รับการพุทธทำนายไว้จากพระพุทธเจ้าไว้แล้ว)
    ผลที่เกิดในทุกภพทุกชาติของเราที่เกิดมาจะต้องได้ผ่านการทดสอบ
    เพื่อการสร้างบารมี เป็นวิบากกรรมมากมาย ทั้งจากเทพ พรหม ทั้งหลาย
    ให้เจอกับวิบากกรรมทุกรูปแบบหนักกว่าผู้ที่ไม่เคยปราถนาพุทธภูมิ อยากมากมาย
    และ ที่สำคัญก็คือจะไม่มีทางบรรลุธรรมอันที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นใด
    จะต้องแสวงหาด้วยตนเองอีกนับอสงไขยไม่ได้จนกว่าจะมีบารมีเต็ม
    และได้รับการทำนาย ซึ่งอาจเป็นคำตอบสำหรับคนที่พยายามปฏิบัติธรรมแล้วไม่ก้าวหน้า
    ไปใหน เพราะเป็นธรรมดาวิสัยของผู้ตั้งเป้าที่จะตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง
    ซึ่งอีกยาวไกล สำหรับผู้แสวงหาทางเอง

    **************************************

    แต่ที่สำคัญก็คือไม่ว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ไดก็จะตรัสรู้
    และสั่งสอนพระธรรมเหมือนกับที่เรา
    กำลังศึกษากัน ในชาติภพนี้ของเราที่ได้รับเมตตา โปรดเวไนยสัตว์จาก
    พระสัมพุทธเจ้าพระพุทธโคตมะของเราในชาติภพนี้แหละ
    ดังนั้นการประกาสลาพุทธภูมิ เข้าสู่กระแสสาวกภูมิ
    จะทำให้เราละวิสัยของผู้ปราถนาพุทธภูมิ
    เจริญในธรรมที่ปฎิบัติอยู่ต่อไปครับ

    ที่ทราบมาว่ามีผู้เข้าร่วมในการทำพิธีอโหสิกรรมใหญ่
    และประกาสลาพุทธภูมิมาเป็นสาวกภูมิ
    ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคตมะของเรา
    ในวันนั้นประมาณ 30 กว่าคน

    สำหรับท่านที่ชาตินี้ยังไม่เคยทำพิธีอโหสิกรรมใหญ่
    และลาพุทธภูมิมาเป็นสาวกภูมิ
    น่าจะถือโอกาส ขอไปร่วม ผมคาดว่าน้องๆเขาคงไม่ขัดข้อง

    *************************************
    เหตุผลที่ไปจัดที่พระบาทสี่รอยเพราะในวันพระเจ้าเปิดโลก
    หรือวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากจำพรรษาบนสวรรค์เพื่อโปรดพระมารดานั้น
    โลกทั้งสามจะเปิดออก 1 วัน ในวันนั้นคนทางเหนือเชื่อกันว่า
    จะมีดวงจิตจำนวนมากมายมหาศาลมากราบสักการะพระบาทสี่รอย
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์นรก เปรตที่ต้องอยู่จนสิ้นพุทธันดรนั้น
    เมื่อมีโอกาสจะมารอดูทุกปีในวันพระเจ้าเปิดโลกว่า
    พระพุทธเจ้าศรีอริยะเมตไตรมาประทับที่พระบาทสี่รอย
    ให้หายรวมกันเป็นรอยเดียวหรือยัง
    เพราะในวันพระเจ้าเปิดโลก 1 วันเป็นเพียงแว๊บเดียวในภพภูมิอื่นๆ
    แว๊บเดียวดวงจิตเหล่านั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล
    ที่ตัดสินใจเลือกพระบาทสี่รอยเป็นแลนด์มาร์ค
    ในการมาดูว่าตนเองจะพ้นกรรมเมื่อไหร่
    ซึ่งเหมาะสำหรับการแผ่เมตตาถึงเจ้ากรรมนายเวร
    เจ้าบุญนายคุณของเราในทุกชาติภพ และ
    ถึงญาติโกโหติกาของเราที่อาจตกในภพภูมิที่เราทำบุญไปไม่ถึงครับ
    *************************************
    แต่ทำที่วัดอื่นก็ไม่น่าแตกต่าง แตกต่างตรงที่บริเวณวัดพระบาทสี่รอยนั้น
    ไร้ซึ่งกระแสไฟฟ้า คลื่นโทรศัพท์ สัปยะมากเหมาะสำหรับทำจิตเป็นสมาธิมากครับ

    แจ้งข่าวที่น้องๆชักชวนมา เผื่อใครที่อยากมาเที่ยวเชียงใหม่ในช่วงหยุด 3วัน
    ในวันออกพรรษา ยังไม่มีที่จะไปทำบุญร่วม ไปกับชมรมของน้องๆเขา
    ก็ไม่เลวนะครับ ยังถือโอกาสกราบท่านครูบาพรชัยที่ออกจากการเก็บตัว
    ปฏิบัติธรรมตลอดพรรษาด้วยครับ

    ขออนุโมทนาบุญสำหรับทุกท่านด้วยครับ

    วิกรม
    หลานพระคุณลุงคนเชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2010
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    กราบโมทนาบุญด้วยครับ

    การลาพุทธภูมินั้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ตามวาระของแต่ละบุคคลอันเป็นบุคคลาธิษฐาน ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาจากพระจอมไตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ

    และในวิสัยของท่านที่ปรารถนาพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ การลาพุทธภูมิย่อมทำให้การบรรลุมรรคผลพระนิพพานทำได้ ยิ่งท่านที่สร้างบารมีสิบมาดีแล้วด้วย

    จะเป็นท่านผู้ยังปรารถนาพระโพธิญาณก็ดี

    จะเป็นท่านผู้ปรารถนาพระนิพพานในชาติปัจจุบันก็ดี ล้วนแล้วแต่มุ่งในความดีอันวิมุติ มีพระนิพพานเป็นที่สุด เร็ว ช้า หนัก เบา ตามจิตที่อธิษฐานเอาไว้ดีแล้ว

    ผมของน้อมกราบโมทนาในความดีของทุกๆท่านที่ตั้งจิตไว้ดีแล้วนั้นในพระโพธิญาณก็ดี ในพระนิพพานในชาติปัจจุบันก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงสำเร็จสัมฤทธิ์ผลในจิตอันตั้งไว้ชอบแล้วด้วยความมั่นคงทั้งในไตรสรณคมม์ ในความเป็นสัมมาทิษฐิ ในพระนิพพานด้วยครับ

    และอาจมีพี่น้องที่ได้เดินทางไปร่วมงานกฐินที่เชียงของ เดินทางไปร่วมงานที่พระพุทธบาทสี่รอยด้วยครับ

    เป็นคณะที่ปรารถนาพุทธภูมิและลาเพื่อพระนิพพานในชาติปัจจุบันครับ

    ขอโมทนากับความดีของทุกๆคนด้วยครับ
     
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <center> การฝึกอภิญญา ตอนที่ ๑
    </center>

    <center> ( ๑๘ ก.พ. ๒๕๒๘ )
    </center>
    [​IMG]

    การที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตั้งใจจะมาฝึกพระกรรมฐาน พระกรรมฐานที่บรรดาท่านฝึกอยู่นี่ เป็นการเตรียมตัวเพื่อ " อภิญญาหก " คือ มันสูงกว่าวิชชาสาม กรรมฐานนี่ความจริงถ้าเราจะฝึกกันจริง ๆ ตามแบบ มันก็มีหลายพันแบบด้วยกัน แต่ว่าทุกแบบต้องมาลงใน ๔๐ แบบ ที่เรียกว่า " กรรมฐาน ๔๐ "
    กรรมฐาน ๔๐ นี่เป็นต้นแบบใหญ่ อย่าลืมว่ากรรมฐานไม่ได้มีแบบเดียวนะ แล้วแต่ละ ๔๐ แบบ แยกเอาการฝึกออกไปเป็นข้อปลีกย่อยได้เป็นพัน ๆ จะเป็นการฝึกข้อปลีกย่อยกี่พันแบบ หรือต้นฐาน ๔๐ แบบก็ตาม ก็ย่อเป็นกรรมฐาน ๔ หมวด ต้องเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งให้ได้ ถ้าเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งไม่ได้ นั่นคือ ไม่ใช่กรรมฐานของพระพุทธเจ้าที่สอนไว้


    หมวดที่ ๑ เรียกว่า " สุกขวิปัสสโก " บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายฝึกกันเป็นปกติ หมวดนี้ไม่มีความเป็นทิพย์ของจิต ไม่สามารถเห็นสวรรค์ เห็นเทวดา เห็นพรหมโลกได้ ไม่สามารถจะไปได้ แต่ว่ามีฌานสมาบัติได้ เป็นพระอริยเจ้าได้ ไปนิพพานได้
    หมวดที่ ๒ เรียกว่า " เตวิชโช " หมวดนี้พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว แล้วก็ฝึก ทิพจักขุญาณ เมื่อฝึกทิพจักขุญาณได้แล้ว ต้องเข้าไปฝึก ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติได้ เมื่อได้ทั้ง ๒ ประการแล้ว ใช้กำลังญาณทั้ง ๒ ประการเข้าช่วยวิปัสสนาญาณเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ เรียกว่า " พระวิชชาสาม " หมวดนี้สามารถเห็นสวรรค์ นรก เห็นพรหมโลก หรืออะไรก็ได้ทั้งหมด แต่ไปไม่ได้ ได้แต่เห็นอย่างเดียว นั่งตรงนี้คุยกับเทวดาหรือพรหมก็ได้ นั่งตรงนี้คุยกับสัตว์นรกก็ได้ อย่างนี้เรียกว่า " วิชชาสาม "
    หมวดที่ ๓ ที่บรรดาท่านพุทธบริษัทปฏิบัติกันอยู่นี่ เป็นหมวด" อภิญญาหก " อภิญญาหกนี่เราไปไหนไปได้ตามใจชอบ จะไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน ไปนรก เปรต อสุรกาย ไปได้หมด ประเทศต่าง ๆ ไกลแสนไกลแค่ไหน ประเทศในมนุษยโลกนี่มันไม่ไกลหรอก เราสามารถไปได้ ดวงดาวต่าง ๆ ที่ฝรั่งจะไปเราก็ไปได้ไม่ต้องลงทุน อย่างนี้เป็น " อภิญญาหก "
    สำหรับ หมวดที่ ๔ " ปฏิสัมภิทาญาณ " นี่มีความรู้ฉลาดมาก ปฏิสัมภิทาญาณมีความสามารถคลุมหมด คลุมสุกขวิปัสสโกด้วยเอาไว้ในตัว เอาวิชชาสามเข้าไว้ด้วย แล้วเอาอภิญญาหกเข้าไว้ด้วย แล้วก็ฉลาดมาก คือว่า ฉลาดในธรรมะขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง เรียกว่า " ปฏิสัมภิทาญาณ "
    สำหรับในตอนนี้ขอนำเรื่องของ " อภิญญาหก " มาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท คือว่า ทุกคนเวลานี้เป็นการเตรียมตัวเพื่ออภิญญาหก " มโนมยิทธิ " นี่เขาถือว่าเตรียมตัวเพื่ออภิญญาหก เหมือนกับนักเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย เตรียมตัวไว้ก่อนซ้อมไว้

    <center> อภิญญาหกจริง ๆ บรรดาท่านพุทธบริษัท อาจจะทำได้จนเป็นสาธารณะ ต่อเมื่อถึง " พ.ศ. ๒๕๔๓ "

    </center> ตอนนั้นถ้าคนไม่ขี้เกียจ จะสามารถทำอภิญญาหกได้ เวลานี้จะได้เป็นบุคคลบางคน อย่างนักเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ เวลานี้เธอสามารถใช้กำลังอภิญญาหกได้บางส่วน คือ ไปไหนก็ไปทั้งตัว จะไปนรก ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ก็ยกตัวร่างกายไปเลย แต่ว่ากำลังของอภิญญาหกจริง ๆ ยังใช้หมดไม่ได้ ใช้ได้เฉพาะไปแค่รู้

    <center> เพราะกำลังจริง ๆ จะเข้ามาถึง " พ.ศ. ๒๕๔๓ " ถ้าถึง " พ.ศ. ๒๕๔๕ อันนี้เป็นสาธารณะจริง ๆ
    </center> สำหรับอภิญญาหก บรรดาท่านพุทธบริษัท ก็เราก็ไปกันอย่างที่เราฝึกนี่แหละ! เราสามารถแสดงฤทธิ์แสดงเดชได้ ต้องการจะทำอะไร แค่นึกมันก็เกิดขึ้นทันที ถ้าเราเป็นคนแก่ อยากจะให้คนอื่นเห็นเป็นคนหนุ่มสาว นึกว่าให้เห็นอย่างคนขนาดนั้น อายุแบบนั้น รูปร่างแบบนี้มันก็เป็นทันที เอากันแค่นึก ...
    อภิญญาหกนี่เขาใช้แค่นึกเท่านั้นนะ ไม่ใช่ไปนั่งเข้าสมาธิเสียเวลา ๑ นาที อันนี้ใช้ไม่ได้ แค่นึกปั๊บมันจะเป็นทันที นึกอยากจะไปไหนร่างกายถึงทันทีทันใด มันเร็วกว่าลัดนิ้วมือหนึ่ง จะไปสวรรค์ จะไปนรก จะไปประเทศไหนก็ตาม พอนึกปั๊บมันจะไปถึงเลย นี่เป็นกำลังของอภิญญาหกส่วนหนึ่ง
    วันนี้ก็ขอแนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัท ในด้านการเตรียมตัวก่อน การเตรียมตัวเวลานี้เราใช้กำลังของมโนมยิทธิยังไม่เต็มกำลัง ที่ใช้เวลานี้เป็นกำลังส่วนหน้า ส่วนหน้าที่ขึ้นเป็นกำลังของวิชชาสาม ถ้าใช้กำลังของอภิญญาจริง ๆ เราไปกันไม่ได้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ลดกำลังส่วนหน้าลง คือ ใช้กันแค่ " อุปจารสมาธิ "

    <center> ถ้าเป็นกำลังของอภิญญาจริง ๆ ต้องใช้กำลังของ " ฌาน ๔ " เป็นพื้นฐาน
    </center> แต่ว่าถึงแม้จะได้ครึ่งกำลังก็ถือว่าเป็นการเตรียมตัวเหมือนนักเรียนเตรียมปีแรก ต่อไประหว่างพรรษานี้จะเริ่มฝึกเต็มกำลัง ใครทำได้ก็ได้ ไม่ได้ก็แล้วไป ครูมีหน้าที่สอนเป็นเรื่องความฉลาดของคน ใครโง่มากก็ไม่ได้เลย โง่น้อยก็ได้บ้าง ถ้าไม่โง่เลยได้ทั้งหมด ถ้าหากว่าฝึกเต็มกำลังได้ นี่ถือว่ากำลังจิตของเราได้ครึ่งหนึ่งของอภิญญาหก พอหลังจากนั้นก็ไปฝึกฝนอภิญญาหกต่อไป ค่อย ๆ ฝึก
    สำหรับเบื้องต้น บรรดาท่านพุทธบริษัทที่ได้แล้วก็ดี เพิ่งจะฝึกก็ดี หรือตั้งใจจะมาฝึกก็ดี ให้ใช้กำลังใจตามนี้ไว้ก่อน รักษาความดีไว้ คือ :-
    ๑. พยายามไม่สนใจในจริยาของบุคคลอื่น ใครเขาจะดีใครเขาจะเลวแบบไหน มันเรื่องของเขา เราสนใจเฉพาะกำลังใจของเราเอง กำลังใจของเรามันดีหรือมันเลว ถ้าเรายังสนใจในจริยาของบุคคลอื่น แสดงว่าเรายังเลวมาก เพราะเราไมได้ห่วงตัวเอง เราไปห่วงคนอื่นเขาประโยชน์อะไรจะเกิดกับเรา คนอื่นเขาเลวก็เป็นเรื่องของเขา คนอื่นเขาดีก็เป็นเรื่องของเขา ถ้าเราไปสนใจเขา เราก็ทิ้งความดีไปหาความเลว
    อันดับแรก ให้ห่วงใจตัวเอง ว่าเวลานี้กิจที่เราจะพึงทำน่ะมันพร้อมแล้วหรือยังที่จะรักษาความดี คือ มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา คำว่ามีศรัทธาในพระพุทธศาสนานี่ ความเชื่อในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ของเราพร้อมแล้วหรือยัง ถ้าวันไหนมีความสงสัยขึ้นมาให้ชื่อว่าเราเลวเสียแล้ว...
    การกำจัดความชั่วด้านความโลภ คือ การคิดอยากได้ในทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นเขามาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม และจิตไม่คิดในการเผื่อแผ่มันเกิดขึ้นกับใจของเรา ถ้ามีก็เตือนใจบอกเราเลวไปแล้ว คือ กำลังใจของเรามี ให้คิดว่า ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สมบัติของใครก็ตามที เราไม่สามารถจะได้มาโดยชอบธรรมเราไม่เอา แล้วกำลังใจเป็น " จาคานุสสติ " คิดว่าถ้าใครเขามีทุกข์ ถ้าไม่เกินวิสัยที่เราจะช่วย เราจะช่วย ถ้ากำลังใจทั้ง ๒ ประการนี้ยังอยู่ประจำใจเสียแล้ว แสดงว่าความดีด้านโลภะ การกำจัดโลภะของเรามีในใจ โลภะ ความโลภมันก็ออกจากใจ นี่ดีมาก ทั้งหมดนี้เป็นข้อที่ ๑
    ๒.การคิดประทุษร้ายบุคคลอื่นมีไหม อยากจะคิดให้คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ อยากจะคิดเข่นฆ่า อยากจะคิดทรมานเขามีไหม ถ้ามันมีถือว่าใช้ไม่ได้ เลว! ต้องคิดว่า คนเกิดมา คนก็ดี สัตว์ก็ดี เกิดมามันต้องตายกันหมด ถ้าเราจะทรมานเขาให้ลำบากก็ไม่ต้องไปทรมาน มันลำบากอยู่แล้ว ทุกคนมีความหิว ทุกคนมีความร้อน มีความกระหาย มีการป่วยไข้ไม่สบาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ มีการงานที่จะต้องทำ มีความแก่ลงไปทุกวัน มีความตายในที่สุด เขาถูกทรมานอยู่แล้ว ไม่ต้องไปช่วยเขา ถ้าไปช่วยเขาเราจะเลวมากขึ้น คิดอย่างเดียวว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั้งโลก แต่ก็เผลอบ้างอะไรบ้างเป็นของธรรมดา ถ้าจิตยังไม่ถึงที่สุด คิดไว้อย่างนี้ชื่อว่าความดีเข้าถึงใจเรา เป็นการทำลายความโกรธ
    ๓. ทำลายความหลง เราเมาในร่างกายเกินไปไหม เมาในทรัพย์สินเกินไปไหม ชีวิตที่เกิดมานี่มันต้องตาย จิตเราเคยคิดถึงความตายไหม ถ้ายังไม่คิดถึงความตายนี่มันเลวที่สุด เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว สมบัติที่จะพึงได้คือ แก่ทุกวัน ไอ้กำลังความแก่มีอยู่ ไอ้ความแก่ของเรานี่มันจะแก่ถึงไหนก็ไม่แน่ จะไปคิดว่าอายุ ๖๐ - ๗๐ - ๘๐ ตายน่ะไม่แน่! ให้คิดว่าความตายจะมาถึงเราในวันนี้ไว้ก่อน มันแก่มาแค่นี้ถือว่าแก่นานแล้ว แต่วันนี้อาจจะตายก็ได้ ให้กำลังใจพร้อมไว้ คือ ไม่เมาในชีวิต
    อย่างนี้องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรกล่าวว่า " เป็นผู้ทำลายความหลงในจิต " เอากันอย่างย่อนะ
    ถ้าเราคิดว่าความตาย ตื่นขึ้นมาตอนเช้าคิดว่าความตายอาจจะมีกับเราในวันนี้ เราทำอย่างไร เราอยากจะสวรรค์ หรือ เราอยากจะไปพรหมโลกเวลาตาย หรืออยากจะไปนิพพาน
    แต่ว่าสมาคมนี้ไม่ต้องการสวรรค์ ไม่ต้องการพรหมโลก ต้องการ " นิพพาน "
    ถ้าเราต้องการนิพพานก็ทบทวนความดีของเรา ที่เราฝึกกรรมฐานน่ะ วิมานของเราที่นิพพานมีหรือเปล่า .. ถ้าวิมานของเรามีที่นิพพานน่ะ! บารมีเราเต็มแล้ว เราก็ไม่ควรจะสละสิทธิ์ เพราะว่าคนที่มีบารมีเต็ม มีวิมานที่นิพพานน่ะ คนนั้นมีสิทธิ์จะไปนิพพานในชาตินี้ แต่ว่าที่ไม่ไปกันก็มีเยอะ มัวเมาในชีวิตเกินไป สละสิทธิ์นิพพานไปชาติต่อไป อันนี้โง่มาก...
    ถ้าเราคิดว่าวิมานที่นิพพานของเรามี เวลาเช้ามืดตื่นขึ้นมา ร่างกายเรามันเพลียไม่อยากนั่งก็ไม่ต้องนั่ง นอนแบบนั้นแหละ รวบรวมกำลังใจ ตัดสินใจว่าร่างกายอย่างนี้ไม่ต้องการมันอีก ความเป็นมนุษย์มีแต่ความวุ่นวาย มีแต่ความทุกข์ ไม่ต้องการมันอีก เราต้องการจุดเดียวคือ " นิพพาน " เพียงเท่านี้พุ่งใจไปนิพพานทันที ไปนั่งอยู่ข้างหน้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยก็ดี เข้าวิมานของเราก็ได้ ถ้าเข้าในวิมานของเราถ้าเราไม่เห็นพระพุทธเจ้า พอนึกถึงท่านปั๊บท่านจะมาทันที เราก็ตัดสินใจว่า ถ้าร่างกายมันตายวันนี้หรือเมื่อไรก็ตาม ขอมาที่นี่จุดเดียว แค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัท ก่อนจะตายวันนั้นท่านต้องเป็นพระอรหันต์ก่อน เป็นยังไง มันเป็นเอง ไม่ต้องห่วงหรอก ทำจิตอย่างนี้กันทุกวันเป็นอรหันต์เอง แค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ต้องทำให้ได้!
    ต่อนี้ไปก็จะพูดถึงการปฏิบัติที่บรรดาพุทธบริษัทเข้ามาใหม่ ๆ อันดับแรก ทุกคนต้องมี " ศรัทธา " ไว้ก่อน เรื่องของพระพุทธศาสนานี่ไม่มีศรัทธาความเชื่อนี่ ไม่มีผลเลย
    ประการที่สอง ฝึกตัดกังวล ขณะที่มาอยู่ที่วัดนี่ไม่ห่วงอะไรเลยที่บ้าน ถ้าคนฉลาดนี่เขาไม่ห่วง ไอ้คนห่วงน่ะคนโง่ ใช้ปัญญาคิดนิดหนึ่งว่า เรานั่งอยู่ตรงนี้ทางบ้านมันมีอะไรเกิดขึ้น เราเห็นไหม เรารู้ไหม เรารู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ แต่ว่าถ้าเราได้มโนมยิทธิ ถ้าเราห่วงเราย่องไปประเดี๋ยวหนึ่งก็ได้ และเวลานี้ต้องตัดความห่วงให้หมด ถ้าความกังวลคือ ความห่วงไม่มี จิตมันก็เริ่มเป็นสมาธิ หรือว่านิวรณ์ไม่กวนใจ
    หลังจากนั้นทุกคนคุมศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งแต่บัดนี้ไปจนกว่าจะถึงวันตาย ไม่ใช่เฉพาะวันนี้และไม่ใช่อยู่ที่วัด ถ้าหากว่าคุมศีลไม่ได้วันไหน ฌานมันก็หล่น ปฏิบัติอย่างนี้คือ :-
    ๑. จะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
    ๒. จะไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล
    ๓. จะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
    หลังจากนั้น ถ้าเรายังไม่เป็นพระอนาคามี นิวรณ์มันยังตัดไม่ได้ เอาแค่ระงับชั่วคราวคือ :-
    ๑. กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และในเพศตรงกันข้าม ยามปกติต้องมีและก็ต้องใช้ ก่อนจะทำกรรมฐานมันก็มีแล้วก็ใช้ เลิกกรรมฐานแล้วก็มีแล้วก็ใช้ อันนี้ไม่มีใครเขาว่า แต่ว่าเวลาที่เราจะเริ่มทำจิตเป็นสมาธิ ตัดกำลังนี้ออกจากใจไปชั่วคราว เราเวลานี้เราไม่ต้องการอะไรทั้งหมด
    ๒. ความไม่พอใจ อย่าให้มี
    ๓. ไอ้ความง่วงนี้ ถ้าเราโง่มันก็ง่วง ไม่โง่ก็ไม่ง่วง แล้วเวลาจะทำอย่าให้ดึกเกินไป ใช้เวลาหัวค่ำ กลางวันเวลาไหนก็ได้ เวลาทำต้องเป็นคนไม่มีเวลาแน่นอน เวลาไหนเราก็ทำได้ เวลาที่มันง่วงเพลียจัด เราก็อย่าไปทำมันซิ ไม่ให้มีความง่วง
    ๔. ควบคุมกำลังใจว่า เวลานี้ฉันจะภาวนา เวลานี้ฉันจะพิจารณา เวลานี้ฉันจะรู้ลมหายใจเข้าออก อย่างอื่นอย่าเข้ามายุ่งกับฉัน
    ๕. เราจะไม่สงสัยในผลของการปฏิบัติ
    หลังจากนั้นสมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ ให้ฝึกตื่นขึ้นมาเช้าคิดไว้เสมอว่า วันนี้เราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั่วไป บุคคลใดมีความทุกข์ เราจะเกื้อกูลให้มีความสุข ถ้าหากว่าถ้ามีใครเพลี่ยงพล้ำเราจะไม่ซ้ำเติม
    แค่นี้แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท กำลังใจทรงแค่นี้ เราถือว่าเป็น " ผู้ทรงฌาน " ถ้ารักษาอารมณ์อย่างนี้ไว้ได้ ฌานทุกอย่างจะไม่มีเสื่อม มีแต่ก้าวหน้า[​IMG]
    ต่อไปเป็นการรักษากำลังใจ นี่เป็นเรื่องเบื้องต้นของมโนมยิทธิ จะไม่อธิบายถึงผล ผลต่าง ๆ ก็คือ ครูฝึกให้แล้ว ถ้าทรงกำลังได้อย่างนี้ คำว่าเสื่อม คำว่าถอยหลัง ไม่มี ต่อไปที่บอกไว้ในเบื้องต้นว่า การฝึกแบบนี้เป็นการเตรียมตัวเพื่ออภิญญาหก ทีนี้คำว่า " อภิญญาหก " นี่มันต้องมี อาสวักขยญาณ คือ ตัดกิเลส ถ้าตัดกิเลสไม่ได้ เขาเรียกว่า " อภิญญาห้า " อภิญญาห้านี่! เราจะฝึกกันทำไม ฝึกกันเท่าไรมันก็ยังคงลงนรกอยู่ อย่าง พระเทวทัต ได้อภิญญาห้าเหาะลงนรกไปเลย มันต้องเป็นอภิญญาหก คือ ตัดกิเลสให้ได้ ตัดกิเลสนี่มี ๓ ตอน คือ " สังโยชน์ ๑๐ " มีการตัดจริง ๆ ๓ ตอน ทีแรกตัดตอนต้นให้ได้
    ตอนต้น คือ อารมณ์ของพระโสดาบันและสกิทาคามี ถ้าคนที่มีวิมานที่นิพพานแล้วถ้าทำไม่ได้อย่างนี้ ภาษาจะพูด ภาษาไม่หยาบก็จะไม่พูดแต่จะพูดให้ฟังที่ว่าอยากจะพูดว่า เลวกกว่าหมานี่ นี่ไม่ได้พูดหรอก บอกให้ฟัง คือว่า ถ้ามีวิมานอยู่ที่นิพพานนี่กำลังใจของเรา บารมีมันถึงนิพพานแล้ว สังโยชน์ ๓ ตัดไม่ได้ก็เลวเต็มที สังโยชน์ ๓ มีอะไรบ้าง กำลังของพระโสดาบันกับสกิทาคามีนี่ต้องได้ กำลังของพระโสดาบัน สกิทาคามี เขามีความรู้สึกอย่างไร เอาความรู้สึกที่มีอยู่ประจำตัว คือ :-
    ๑. มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้มันต้องตาย จะตายเมื่อไรก็ช่าง คิดว่าอาจจะต้องตายวันนี้ไว้เสมอ คุมความดีไว้ แค่นี้คิดไม่ได้ก็เลวเต็มที
    ๒. ใช้ปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ว่าเราควรเคารพนับถือไหม แค่นี้ถ้ายังสงสัยก็เลวอีกแล้ว
    ๓. ทรงศีลให้บริสุทธิ์ตามฐานะของตัว ฆราวาสนี่แค่ ศีล ๕ พอ พระก็ ๒๒๗ และก็มากกว่านั้นนะ คือ อภิสมาจารนี่มีอีกเยอะ ธรรมะนี่มีอีกเยอะ สามเณรนี่ศีล ๑๐ พร้อมกับเสขิยวัตร ๗๕ เฉพาะฆราวาสนี่แค่ศีล ๕ ทรงให้ได้ ถ้าทรงศีล ๘ ได้ก็ดี ถามว่าทรงตอนไหน ทรงตั้งแต่เวลานี้ไปจนกว่าจะหมดลมหายใจเข้าออก อารมณ์ของพระโสดาบัน สกิทาคามี มีแค่นี้เป็นพระอริยเจ้าแล้ว ตัดกิเลสเบื้องต้นได้แล้ว ถ้าได้อภิญญาคือ เป็นอภิญญาหกอีก ๒ จุด จะไม่พูดถึง ไม่จำเป็น เอาแค่นี้ให้ได้ก่อน หลังจากนั้นเป็นการซักซ้อมไว้เพื่ออภิญญา
    ฉะนั้น การฝึกอภิญญานี่มันมี ๒ แบบ
    คนที่ไม่เคยได้มาในชาติก่อน เราฝึกอีกแบบหนึ่ง
    คนที่เคยได้แล้วในชาติก่อน เราก็ฝึกอีกแบบหนึ่ง
    วันนี้จะพูดเฉพาะคนที่ได้แล้วในชาติก่อน และคนที่ได้มโนมยิทธิมาแล้ว ทุกคนมันเคยได้มาแล้วทั้งนั้น ถ้ากาลเวลามาถึงทำไม่ได้ แสดงว่าคบความโง่ไว้มากกว่าความฉลาด เพราะเคยได้มาแล้วนี่ก็ต้องเอาของเก่ามาใช้ให้ได้ เวลานี้ " มโนมยิทธิ " ที่ฝึกได้แล้วต้องทำให้เข้มข้น อย่าปล่อย เพราะมันเป็นก้าวแรกที่จะเข้าสู่ .. " อภิญญา "
    วิธีปฏิบัติเบื้องต้น มีความสำคัญต้องทำ ให้ทรงกำลังใจตามนี้ คือ ไม่ต้องไปไล่หน้ากสิณ ทีแรกคิดว่าจะไล่กสิณเล่นโก้ ๆ พระท่านบอก
    " ไม่จำเป็น! คนพวกนี้ไม่จำเป็นต้องไปไล่กสิณ เพียงแค่กำลังใจเข้าถึงฌานเท่านั้นแหละ คือ เข้าถึงเต็มกำลัง อภิญญาเก่าจะเข้าทันทีใช้ได้หมดเลย... "
    แต่ว่าต้องเป็น " พ.ศ. ๒๕๔๓ " ขึ้นไป ให้เริ่มใช้ตั้งแต่เวลานี้ เริ่มใช้ตั้งแต่เวลานี้จิตจะได้ทรงตัว ถ้าคนก็จะเป็นคนดี ถ้าพระก็จะเป็นพระดี ไอ้พระเลว ๆ ที่มันเลวมันไม่ได้ทำ ถ้าพระวัดนี้พระองค์ไหนเลวไม่พลาด " อเวจี " หรือ " โลกันตนรก "
    อย่าลืมนะ! นี่วิธีปฏิบัติกำลังใจเพื่ออภิญญา
    เมื่อตอนที่ " องค์ปฐม " ท่านมา ท่านบอกใช้อย่างนี้ ให้จับภาพพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ให้จิตทรงกำลังฌาน ๔ เป็นปกติ ไอ้ทรงฌาน ๔ เป็นปกติ ฌาน ๔ นี่เวลาเราออกจากร่างกายนี่เราเป็นฌาน ๔ แล้ว แต่นั้นเป็นฌาน ๔ เบื้องต้นที่มีกำลังอ่อน ต้องใช้ให้มีกำลังเข้มข้น นั่นก็คือ นึกถึงภาพพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ นึกปั๊บเห็นทันที นึกจับพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ชัดเจนแจ่มใส ตามกำลังให้ได้ทุกวัน ทุกวันและทุกเวลาที่เราต้องการ ไม่ใช่นั่งรอเวลาเงียบสงัด ไม่ใช่อย่างนั้น เดินไปเดินมา ทำงานอยู่นึกปั๊บให้เห็นเลย เห็นแล้วอธิษฐานพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงโตขึ้น ใหญ่ขึ้น สว่างกว่านี้ เล็กลง อยู่ข้างบน สูงมาก สูงน้อย เราทำอย่างนั้น อย่าคิดว่าเป็นการปรามาสพระรัตนตรัย ไม่ใช่ นี่อาตมาแนะนำเอง
    ขอให้ทรงกำลังใจอย่างนี้ให้เป็นปกติ เพราะการเดินไปเดินมา พระก็ตาม เวลาเดินไปบิณฑบาต เดินไปทำงานทำอะไรอยู่ก็ตาม ให้เห็นภาพพระพุทธเจ้าเป็นปกติที่ต้องการจะเห็น ถ้าอย่างนี้ทุกคนจะอยู่ในเกณฑ์สำรวม ความวุ่นวายจะไม่มีอยู่ในจิต ความเลวของคนของพระจะไม่มี ญาติโยมสังเกตไว้นะ!
    ถ้าพระองค์ไหนมันเลว มันไม่ทำแบบนี้หรอก ถ้าจับแบบนี้อารมณ์เลวไม่มี แล้วงานจะต้องเป็นไปตามปกติ นักเจริญกรรมฐานนี่เขาเคร่งครัดในการงาน เพราะต้องเป็นคนเคร่งครัดในกาลเวลา ถ้าไม่เคร่งครัดในกาลเวลามันทำไม่ได้ แม้แต่ในกรรมฐานเบื้องต้นเขาก็เคร่งครัดในกาลเวลาหรือการงาน
    รวมความว่า ถ้าจับภาพพระให้เป็นปกติ สำหรับเรื่องกสิณไม่ใช่ของแปลก และจะลองเล่นกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งไว้เป็นอดิเรก อย่าใจร้อน..
    อันดับแรก จับภาพพระพุทธเจ้าให้ชัดเจน ต้องฝึกตัวนี้ก่อน เดินไปเดินมานึกเมาอไรเห็นปั๊บทันที นอนหลับตื่นก็เห็นชัด ต้องอย่างนี้อภิญญา ไม่ใช่มานั่งทำ เขาเดินทำ เขาวิ่งทำกัน การทรงกำลังของสมาธิ เมื่อได้ทุกขณะแล้วอย่าใจร้อน เมื่อได้ตามความต้องการนึกเมื่อไรเห็นชัด ต่อจากนั้นไปก็เอากสิณอย่างใดอย่างหนึ่งมาเล่นเป็นงานอดิเรก กสิณลมนี่มันเล่นยาก ความจริงอยากจะให้เล่นกสิณลม กสิณลมนี่มันเหาะได้นะ โก้ดี แต่มันเล่นยาก ถ้าไม่ฉลาดนี่มันเล่นยาก เอาง่าย ๆ ดีกว่า เอาปฐวีกสิณก็ได้ หรือ อาโปกสิณก็ได้ เอาง่าย ๆ ..
    ถ้าปฐวีกสิณ ก็จับดินขึ้นมา เอาดินสีอรุณขึงไว้ทำวงกลมให้โตพอที่ตามองเห็น แล้วไม่เห็นขอบวงกลม จับภาพให้ทรงตัว แต่ก็ไม่สะดวกอีก ต้องอาโปกสิณดีกว่า
    อาโปกสิณ เล่นง่าย ถ้ามันทำได้อย่างใดอย่างหนึ่งมันได้หมด ถ้าอาโปกสิณเอาน้ำมาใส่แก้วหรือใส่ขัน จับภาพพระพุทธเจ้า เดินไปเดินมาก็เห็นชัด นั่งก็เห็นชัด พอจับภาพพระพุทธเจ้าเห็นชัดเจนแจ่มใส แพรวพราวเป็นระยับเป็นฌาน ๔ ทรงตัว ขอพระองค์โตขึ้น เล็กลง อย่างนี้สะดวกมากได้แน่นอน จิตไม่วอกแวกตามกำลัง ตั้งเวลาไว้ ๑๐ นาที ๒๐ นาที ๓๐ นาที ให้ทรงตัวให้ได้ ถ้า ๓๐ นาทีมันไหลไป อย่างนี้จิตใช้ไม่ได้แล้ว ยังเล่นกสิณไม่ได้ ถ้ามันทรงตัวได้จริง ๆ ภาพทรงตัว เวลานั้นก็เอาน้ำมาตั้ง จับภาพพระพุทธเจ้าให้ชัดเจนแจ่มใสเต็มกำลังของฌาน ๔ คือ แพรวพราวเป็นระยับของฌาน ๔
    หลังจากนั้นถอยหลังมา ขอกำลังบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า น้ำในแก้วหรือในขันนี้ขอให้แข็ง จิ้มไปตรงไหนตรงนั้นแข็ง แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ จับภาพพระพุทธเจ้าใหม่ทำใจเฉยไว้ ถอยหลังมาอีกทีทรงจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ อธิษฐานว่าน้ำนี้จงแข็ง แล้วจิ้มปั๊บมันแข็งหรือยัง ยังไม่แข็งก็แล้วไป เพราะเวลามันยังไม่ถึง ซ้อมไว้จนกว่าจะถึง " พ.ศ. ๒๕๔๓ " ทำไปทุกวัน ๆ เล่นแบบนี้ เล่นเป็นปกติ ไม่ช้าก็จะมีการทรงตัว พออธิษฐานไปอธิษฐานมา น้ำเกิดแข็งมาตามความชอบใจ เราต้องใช้เวลาอยู่ ยังเป็นกำลังของอภิญญาไม่ได้ ยังอ่อนมากไป
    ถ้าจะเป็นกำลังของอภิญญาจริง ๆ ก็จับน้ำมา น้ำที่ไหนก็ตาม น้ำในแม่น้ำ น้ำในคลอง น้ำในบ่อก็ตาม นึกว่าน้ำที่จับไปจงแข็ง แหย่ปั๊บทันที แข็งทันที อย่างนี้เป็นตัวอภิญญาแน่ หลังจากนั้นก็ใช้กำลังของกสิณให้พอใจ กำลังของกสิณก็คือ :-
    ๑. ปฐวีกสิณ อธิษฐานของอ่อนให้เป็นของแข็ง อยากจะเดินบนน้ำก็อธิษฐานว่า เท้าที่เราก้าวไปตรงไหนให้น้ำแข็งเหมือนดิน เฉพาะที่เท้าก้าวนะ อย่าไปเสือกอธิษฐานให้หมดทั้งคลองนะ! มันไม่ถูก..การจราจรเขาเสีย อย่างนี้ก้าวไปได้สบาย อยากจะเดินไปในอากาศ อธิษฐานว่าเท้าที่ข้าพเจ้าก้าวไปในอากาศ เหยียบตรงไหนให้แข็งเหมือนดิน เดินได้สบาย...
    ๒. อาโปกสิณ ทำของแข็งให้เป็นของอ่อน หินมันแข็งทำให้เป็นของอ่อน เหล็กมันแข็งให้มันอ่อน แล้วฝนไม่ตกทำให้ฝนตกได้ทุกอย่าง
    ๓. เตโชกสิณ ไฟนี่! ถ้ามันหนาวเกินไป อธิษฐานเตโชกสิณ ให้มีความอุ่นแค่นั้นแค่นี้ ต้องการให้ไฟลุกล้อมใครเสียก็ได้ ใครพูดไม่ดีอธิษฐานให้ไฟล้อม มันเดินไม่ได้อยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ามันไม่ขอขมาก็ไม่เลิกกัน อย่าไปเล่นแบบนี้นะ ถ้าไปเล่นแบบนี้กสิณเสื่อม หรือบางทีความมืดก็ใช้เตโชกสิณช่วยให้แสงเกิด
    ๔. วาโยกสิณ กสิณเหาะ! นึกอยากจะให้เราไปไหน นึกแป๊บเดียวมันจะไปถึงทันที นึกอยากจะให้ใครมาหาเรา ก็คิดถึงวาโยกสิณปั๊บหอบคนนั้นมา มันจะมานั่งปุ๊บนั่งข้างหน้าเลย เอาแค่นึกไม่ใช่ตั้งท่านะ ตั้งท่าใช้ไม่ได้
    ๕. ปีตกสิณ ถ้าของสีดำ สีแดงก็ตาม ต้องการคิดให้เป็นสีเหลือง สีทอง และแผ่นดินนี่ต้องการให้เป็นสีทองเมื่อไหร่ มันจะเป็นทองได้ทันที ไอ้บ้านหลังนี้ถ้าเป็นตึกเป็นไม้ เราคิดจะให้เป็นสีเหลือง สีทอง มันก็เป็น...
    ๖. โอทาตกสิณ โอทาตกสิณนี่ถ้าของมันขาว มันเขียว มันแดงนี่ ต้องการให้มันขาว นึกให้มันขาวมันจะขาวเลย
    แต่ก็มีกสิณอีกเยอะ! รวมความว่ากำลังของกสิณทั้งหมดเป็นเรื่องเล็ก ๆ ถ้าเราทำเบื้องต้นได้
    ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเตรียมฝึกเพื่ออภิญญา เวลานี้จะเตรียมใช้กำลังใหญ่ไว้ได้เลย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าทำอย่างนี้มโนมยิทธิของทุกคนจะไม่มีคำว่าเสื่อม จะมีความทรงตัวแล้วจะเข้มแข็งขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังที่จะตัด " สังโยชน์ ๓ " ต้องทำให้ได้ อันนี้ไม่ใช่คำขอร้อง เป็น " คำสั่ง " ว่าคนที่ต้องการความดีถึง " นิพพาน " หรือ " อภิญญา " ก็ตาม ต้องทำ " สังโยชน์ ๓ " ให้ได้ คือ :-
    ๑. มีความรู้สึกไว้ทุกวัน เวลาตื่นเช้าว่าชีวิตนี้มันต้องตาย ถ้าตายแล้วเราไม่ยอมไปอบายภูมิ
    ๒. เราจะยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง เป็นกำลังใจของเราด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
    ๓. จะทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์
    เท่านี้แหละ! แล้วหลังจากนั้นก็ใช้กำลังใจของพระอรหันต์ไว้ประจำใจ คือ ขึ้นชื่อว่ามนุษยโลกมันเป็นทุกข์เราไม่ต้องการมันอีก พรหมโลกกับเทวโลกสุขจริง แต่ไม่นาน ไม่ต้องการมันอีก เราต้องการจุดเดียวคือ .. " นิพพาน " อย่างนี้เป็นอารมณ์พระอรหันต์ รักษากำลังใจตามนี้ไว้ เมื่อถึงอายุขัยเมื่อไร ก่อนจะตายจะเป็นอรหันต์เมื่อนั้น เมื่อตายเมื่อไรก็ไปนิพพาน ...
    ถ้ายังไม่ไปนิพพานเพียงใด ถ้าโอกาสมี ถ้าเราสามารถใช้อภิญญาได้ แต่ว่าการใช้อภิญญานี่ต้องใช้ให้ถูกต้อง พระพุทธเจ้าท่านห้ามพระ ถ้าไม่มีคนเห็นใช้ได้ ถ้ามีคนเห็นใช้ไม่ได้ แล้วก็มีประโยชน์มาก
    สำหรับคำแนะนำการฝึกอภิญญาหก ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ สวัสดี
     
  14. ลุงคนเชียงใหม่

    ลุงคนเชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +2,521
    พี่คณานันท์ครับ ผมส่งกำหนดการทำพิธีอโหสิกรรมใหญ่และลาพุทธภูมิ
    ที่น้องเขาจัดมาให้ เผื่อคนที่ต้องการไปร่วมกิจกรรม หรือ อนุโมทนาบุญครับ

    วิกรม
    หลานพระคุณลุงเชียงใหม่
    ***************************************
    วันที่ 22 ตุลาคม 2553
    เวลา รายละเอียดกิจกรรม
    12.00 น คณะออกเดินทางจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
    14.00 น ถึงวัดพระบาทสี่รอย
    14.00น-14.30น เข้าที่พัก
    14.30น-16.00น ฝึกสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน
    16.00น-17.00น พักผ่อนอาบน้ำเตรียมกายจิตให้บริสุทธิ์
    17.00น รับประทานอาหารเย็น เจ ( หรือน้ำปานะ สำหรับผู้ถือ ศีล8 )
    19.00น ทำวัดเย็น
    ทำสมาธิ ศึกษาสนทนาธรรม
    21.00น พักผ่อน
    วันที่ 22 ตุลาคม 2553
    00.01น สำหรับท่านที่ต้องการแผ่ส่วนกุศลอันเกิดจาก การทำสมาธิ
    พร้อมกันทำพิธีจุดเทียนเปิดโลกทำสมาธิ กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศล
    ไปยังพ่อเกิดแม่เกิด ญาติ พี่น้องเจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายคุณ
    และดวงวิญญาณที่เคยก่อกรรมเวร พยาบาทเบียดเบียนกันมาตั้งแต่
    นับ16อสงไขยแสนมหากัปล์ที่ผ่านมาด้วยการนั่งสมาธิตามเวลา
    ที่ผู้ปฏิบัติเห็นสมควรแก่ตน
    06.00น ทำวัดเช้า
    07.00น ร่วมตักบาตรอุทิศส่วนกุศล ไปยังพ่อเกิดแม่เกิด ญาติ พี่น้อง
    เจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายคุณ และดวงวิญญาณที่เคยที่กรรมเวร
    08.00น รับประทานอาหารเช้า
    09.09น เริ่มพิธีอโหสิกรรมใหญ่
    10.10 น ทำพิธีประกาสลาพุทธภูมิ
    ถวายสังฆทาน ทานุปัจจัย
    11.11 น ถวายภัตราหารเพล
    คณะรับประทานอาหารกลางวัน
    14.00น คณะเดินทางกลับโดย สวัสดิ์ภาพและอิ่มด้วยมงคลบุญ
    ****************************************
     
  15. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,312
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ทุกวันนี้ ภัยพิบัติเริ่มปรากฎให้เราเห็นอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆเเล้ว ณ โอกาสนี้ ผมจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนหันมาปฎิบัติธรรมกันอย่างจริงจัง อย่าได้ประมาทไปอีกเลยครับ ผมจัดมาให้หมดเเล้วทั้งเรื่องสมถะเเละวิปัสสนา ใครสนใจก็โหลดไปอ่านเเล้วปฎิบัติตามได้เลยนะครับ การทําสมาธิ เเผ่เมตตาออกไปทั่วจักรวาลของเราจะช่วยโลกเราเเละมวลมนุษย์ได้นะครับ ขอให้ทุกคนโชคดีครับ เจริญในธรรมครับ

    วิธีนั่งสมาธิขั้นเบื้องต้นของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=420

    อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ

    http://palungjit.org/threads/อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ.217531/

    วิธีทําสังฆทานทึ่บ้านเองทุกวัน ดีมากครับ นําไปใช้ได้เลยครับ อานิสงส์เเรงมากครับ

    http://www.buddhism-online.org/board/index.php?topic=570.0

    http://www.buddhism-online.org/board/index.php?topic=124.0

    เวปเรียนปริยัติธรรม on line เรียนฟรีครับ เข้าไปในเวปเเล้วดูที่ซ้ายมือครับ จะมีบทเรียนอยู่ ลองเรียนดูนะครับ จะได้เข้าใจถึงเเก่นเเท้ของพระพุทธศาสนาครับ

    http://www.buddhism-online.org/web/

    หากเข้าไม่ได้ ลองเข้าวันอื่นเเล้วกันครับ บางทีทางเวปเขา update อะไรอยู่ หรือลองเข้าอันนี้ก่อนก็ได้ เเต่อันที่สองนี่ต้องใช้ internet explorer เข้าครับถึงจะอ่านได้

    http://www.buddhism-online.org/Index1.htm

    ชั้นของสมาธิ ( ฟังกันหลงเรื่องนิมิตในสมาธิ )

    http://palungjit.org/threads/ขั้นของสมาธิ.1589/

    อาการของปีติ

    http://palungjit.org/threads/อาการของปีติ.1649/

    ส่วนเรื่องของการวิปัสสนา ผมขอเเนะนําหนังสือ 2 เล่มนี้ให้ไปอ่านครับ จะได้ปฏิบัติในด้านของการวิปัสสนาได้อย่างถูกต้องครับ

    1. หนังสือวิปัสสนาภูมิ เเละ หนังสือหนังสือสิ่งที่ดีที่สุด (เพื่อตัวเรา)

    เล่มนี้เป็นวิธีสอนการวิปัสสนาอย่างถูกต้อง เข้าไปในเวปที่ให้มาเเล้วเลื่อนลงไปเรื่อยๆจะเจอหนังสือครับ
    ส่วนหนังสือ หนังสือสิ่งที่ดีที่สุด (เพื่อตัวเรา) ก็เป็นหนังสือที่ดีมากๆด้วยเช่นกันครับ ไม่อยากให้พลาดกันครับ

    http://www.kanlayanatam.com/booknaenam_.htm

    2. หนังสือ สติปัฏฐาน ๔ ( หนังสือเล่มนี้สอนให้เราดูจิตของเราอย่างถูกต้องครับ ใครดูจิตได้ตามในหนังสือนี้ การบรรลุธรรมอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมเเน่นอน )
    เ้้ข้าไปเเล้วค่อยๆเลื่อนลงเเล้วหาดูครับ อยากให้อ่านครับ จะได้นําไปปฏิบัติได้อย่างถูกทางครับ

    http://www.kanlayanatam.com/booknaenam.htm

    หนังสือสมาธิเพื่อชีวิต
    รวบรวมคำสอนของครูบาอาจารย์
    เล่มนี้นั้นดีมากๆครับ อ่านเเล้วคิดได้ทุกหน้าเลย สนใจก็โหลดไปอ่านกันนะครับ เจริญในธรรมครับ

    http://dhammasatta.igetweb.com/index...ist&catid=1179

    ฝากหนังสือ " ชีวิตเป็นอย่างนี้ " ใต้ comment ผมให้โหลดไปอ่านด้วยครับ เล่มนี้ดีมากๆครับ อ่านเเล้วคิดอะไรได้อีกหลายอย่างเลยครับ เจริญในธรรมครับ

    ฟัง เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน

    http://audio.palungjit.org/forums/เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน.218/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2010
  16. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ใจเราสำคัญที่สุด สิ่งใดเป็นอกุศลทั้งต่อตัวเราหรืออกุศลในเรื่องของบุคคลอื่น เราละ วางปล่อยด้วยปัญญาที่เรารู้เท่าทันว่าเป็นเครื่องทำให้ใจเราเศร้าหมอง

    รำลึกนึกคิด แต่สิ่งที่เป็นกุศลเป็นบุญเป็นสิ่งที่ยังประโยชน์ต่อใจตน ต่อบุคคลอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อส่วนรวม

    เมื่อนั้นผลแห่งใจ จะปรากฏความผ่องใส ความสุข ความอิ่มใจความชื่นบานหล่อเลี้ยงหัวใจอยู่ตลอดเวลา

    ประคองรักษาใจอันผ่องใสงดงามนี้เอาไว้ ทุกลมหายใจ ทุกคืนวัน

    เพื่อที่เราจะอยู่ในโลกอันเต็มไปด้วยความทุกข์ ได้อย่างรู้เท่าทัน ปล่อยวางและดำรงอยู่ในโลกได้ด้วยจิตอันเป็นสุข
     
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เพื่อยังประโยชน์และเป็นธรรมทานแด่ผู้มีใจใฝ่ในความดีและรักษาใจในกุศล

    -----------------------------------------------------------

    สวัสดีคะ
    อาจาร์ยคณานันท์

    เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาได้ฟังmp 3 มโนยิทธิ ก่อนหน้านั้นประมาณอาทิตย์หนึงฟังอานาปาณสติมาก่อนหลายครั้งแล้วค่ะ รู้สึกถึงลมสบายได้ตลอดเวลาที่มีสติระลึกถึงลมสบายคะ
    พอมาฟังมโนยิทธิ ถึงกสินก็พยายามทำตาม ที่อาจารย์บอก จนถึงไปพบพระพุทธเจ้าและนึกว่ากราบพระพุทธเจ้า และทรงลูบหัวตามที่อ.บอกค่ะ แต่พอนึกถึงพระพุทธเจ้าทรงลูบศรีษะ แล้วก็เกิดขนลุกเย็นที่ศรีษะจากนั้นก็ได้ยินเสียงหัวใจตัวเองค่อยๆด้งขึ้นมา แต่ก็ยังได้ยินเสียงอ.บรรยายอยู่นะคะแต่แบบผ่านๆค่ะ เสียงหัวใจดังขึ้นเรื่อยๆ จนไปฟังเสียงหัวใจ ก็ยิงดังและทำให้ตัวเองโยกตามเสียงหัวใจค่ะ
    แรกๆก็ค่อยๆ และเพิ่มเป็นโยกมากขึ้นเสียงหัวใจก็ดังขึ้นๆ ตอนนั้นไม่ได้ยินเสียงอ.แล้วค่ะ แต่ก็ยังมีสติดูเสียงหัวใจอยู่ และเริ่มไม่แน่ใจว่าตัวเองโยกจริงหรือแค่รู้สึกไปเอง เลยลืมตาดู คือตัวเองโยกจริงๆค่ะ
    ตอนที่ทำนั่งอยู่บนเก้าอี้คะ ลืมตาดูตัวเองโยกอยู่เสียงหัวใจยังดังอยู่พักนึง เลยภาวนาพุทธโธ่ ในใจสามครั้งแล้วหายใจยาวๆสามครั้งค่ะ ออกจากสมาธิ เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นอะไรคะ

    พยายามหาข้อมูลในเว็บพลังจิดก็ไม่มีคะ จึงเมลล์มาถามอาจารย์คณานันท์ค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    ดา

    -----------------------------------------------

    สวัสดีครับ อาการที่ร่างกายโยกไหวนั้น เป็นเพราะกำลังสมาธิกำลังรวมตัวเป็น มโนมยิทธิเต็มกำลังครับ ซึ่งจะทำให้กายทิพย์หรืออาทิสมานกาย ออกไปแบบเต็มกำลังนั่นเอง

    ในเบื้องต้นอยากให้ ฝึกแบบมโนมยิทธิครึ่งกำลังให้คล่องตัวก่อน โดยการกำหนดจิต กำหนดสมาธิให้แนบใน

    1.เกิดความเคารพความมั่นคงในพระรัตนไตร ไม่หวั่นไหว สังเกตุได้จากใจที่นอบน้อมเคารพอ่อนโยนในการรู้พระคุณแห่งพระพุทธเจ้า ซาบซึ้งในรสแห่งพระธรรม เคารพนบน้อมในพระอริยะสงฆ์ ซึ่งใจเราจะรู้จะเข้าใจ ในความหยาบของจิตไปสู่ความละเอียดของจิตได้เองครับ นั่นคือจิตละเอียดอ่อนโยนขึ้น

    2.พิจารณาในวิปัสนาญาณให้มากขึ้นยิ่งขึ้น จนใจของเรานั้นรู้เท่าทัน ความเป็นไปในร่างกาย รู้เท่าทันในโลกธรรมแปดประการ รู้เท่าทันใจของเราในกุศลและอกุศลจิต
    โดยกำหนดรู้ด้วยปัญญาในสมาธิเพื่อการ ละ การปล่อยวาง การสละ จนจิตไม่ติดในโลก จนจิตเบาลอยตัวจากโลก จากภพทั้งปวง มีจิตแนบอยู่กับพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยทรงจิตในความผ่องใส ปราศจากความทุกข์ความหนัก ความเศร้าหมองของใจ

    3.ทรงอารมณ์ใจในองค์แห่งพระโสดาบันเอาไว้ คือ1.พิจารณาในร่างกายชีวิตว่าไม่เที่ยง ตัดความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายเราและบุคคลอื่น
    2.ตัดวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระรัตนไตร ในธรรม ในกฏแห่งกรรมในพระนิพพาน จนจิตแนบมั่นคงในพระรัตนไตรด้วยชีวิต จิตตั้งมั่นมีที่ไปจุดเดียวคือพระนิพพาน
    3.รักษาศีลด้วยพื้นจิตอันประกอบไปด้วยเมตตา พรหมวิหารสี่ เป็นศีลจากภายใน ความดีงามในจิตใจของเราเอง จนมีความดี มีศีลเป็นปกติ

    4.ทรงสมาธิในอานาปานสติใน ลมและอารมณ์ใจที่สบายเป็นสุข มีพรหมวิหารสี่ ที่แผ่ออกไปไม่มีประมาณเป็นปกติของใจ ที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในธารแห่งธรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกเชษฐ์ เป็นปกติ ทั้งยามตื่น ยามก่อนหลับ ในทุกกิจ ทุกเวลาทุกลมหายใจ

    5.ทรงภาพพระพุทธเจ้าเอาไว้ให้ปรากฏเป็นพระพุทธนิมิตรมั่นคงในจิตของเรา ลืมตาเห็น หลับตาเห็น

    เมื่อประคองจิตประคองใจเอาไว้ได้ ธรรมมะย่อมเจริญงอกงามในใจอันดังเอาไว้ดีแล้ว

    ขอกราบโมทนาบุญในกุศล ในความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมด้วยครับ
     
  18. Saorixixi

    Saorixixi สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +16
    สวัดดีค่ะ อาจารย์คณานันท์ อยากสอบถามอ.เรื่องอาการหลังจากนั่งสมาธิหน่อยค่ะ...คือว่า พอนั่งสมาธิ และนอนสมาธิ ต่อๆกัน บ่อยๆเค้า รู้สึกว่าลมหายใจเบาสบายดี และมีสติมากขึ้นค่ะ แต่ว่าจะรู้สึกปวดหัว มึนๆบ้าง นี้เป็นเพราะเรานั่งปฎิบัติมากเกินไปรึป่าวค่ะ และอาการแบบนี้จะหายไปหรือป่าวค่ะ หรือว่าดิฉันปฎิบัติผิดพลาดไปตรงไหน คือปกติดิฉันจะนอนสมาธิจับลมหายใจสบาย ภาวนาเมตตา และแผ่เมตตาแบบทีอ.เคยสอนหน่ะค่ะ แล้วก็ต่อด้วยนะมะภะธะ ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาวนาไปเรื่อยๆจนกระทั่งหลับค่ะ แล้วตื่นมาดูลมหายใจก็ยังเบาสบายมากอยูเหมือนกับว่าที่เราหลับเรา ทำสมาธิไปด้วยค่ะ พอตื่นขึ้นมาก็จะนั่งสมาธิต่อประมาณ1ชม. แล้วพอเวลาว่างจะภาวนาเมตตา ภาวนานะมะภะธะไปเรื่อยๆตลอดค่ะ แล้วตอนเย็นๆก็จะนั่งสมาธิต่ออีก 1 ชม. บางทีก็นอนสมาธิค่ะ พอทำไปเรื่อยๆรู้สึกถึงความสุขความสบายที่เราได้จากสมาธิค่ะ จนเหมือนจะติดสมาธิไปเลย แล้วเวลานอนก็รู้สึกว่าตื่นขึ้นมาสดชื้น ไม่ง่วง เวลานอนก็รู้สึกว่านอนน้อยก็ไม่ง่วงค่ะ แต่จะมีอาการแบบมึนๆหัวค่ะ แต่เวลาปฎิบัติไม่ปวดหัวนะค่ะ อยากอ.ว่าที่ปฎิบัติอยู่นี้ผิดพลาดตรงไหน หรือว่าเป็นอาการปกติค่ะ และถ้าเกิดเราภาวนาเมต-ตา แล้วมาภาวนานะมะ-พะธะ ต่ออีกที การภาวนาทั้ง2 สามารถไปด้วยกันได้ไหมค่ะ ขอบคุณอ.มากค่ะ..
     
  19. Saorixixi

    Saorixixi สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +16
    สวัดดีค่ะ อาจารย์คณานันท์ อยากสอบถามอ.เรื่องอาการหลังจากนั่งสมาธิหน่อยค่ะ...คือว่า พอนั่งสมาธิ และนอนสมาธิ ต่อๆกัน บ่อยๆเค้า รู้สึกว่าลมหายใจเบาสบายดี และมีสติมากขึ้นค่ะ แต่ว่าจะรู้สึกปวดหัว มึนๆบ้าง นี้เป็นเพราะเรานั่งปฎิบัติมากเกินไปรึป่าวค่ะ และอาการแบบนี้จะหายไปหรือป่าวค่ะ หรือว่าดิฉันปฎิบัติผิดพลาดไปตรงไหน คือปกติดิฉันจะนอนสมาธิจับลมหายใจสบาย ภาวนาเมตตา และแผ่เมตตาแบบทีอ.เคยสอนหน่ะค่ะ แล้วก็ต่อด้วยนะมะภะธะ ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาวนาไปเรื่อยๆจนกระทั่งหลับค่ะ แล้วตื่นมาดูลมหายใจก็ยังเบาสบายมากอยูเหมือนกับว่าที่เราหลับเรา ทำสมาธิไปด้วยค่ะ พอตื่นขึ้นมาก็จะนั่งสมาธิต่อประมาณ1ชม. แล้วพอเวลาว่างจะภาวนาเมตตา ภาวนานะมะภะธะไปเรื่อยๆตลอดค่ะ แล้วตอนเย็นๆก็จะนั่งสมาธิต่ออีก 1 ชม. บางทีก็นอนสมาธิค่ะ พอทำไปเรื่อยๆรู้สึกถึงความสุขความสบายที่เราได้จากสมาธิค่ะ จนเหมือนจะติดสมาธิไปเลย แล้วเวลานอนก็รู้สึกว่าตื่นขึ้นมาสดชื้น ไม่ง่วง เวลานอนก็รู้สึกว่านอนน้อยก็ไม่ง่วงค่ะ แต่จะมีอาการแบบมึนๆหัวค่ะ แต่เวลาปฎิบัติไม่ปวดหัวนะค่ะ อยากอ.ว่าที่ปฎิบัติอยู่นี้ผิดพลาดตรงไหน หรือว่าเป็นอาการปกติค่ะ และถ้าเกิดเราภาวนาเมต-ตา แล้วมาภาวนานะมะ-พะธะ ต่ออีกที การภาวนาทั้ง2 สามารถไปด้วยกันได้ไหมค่ะ ขอบคุณอ.มากค่ะ..
     
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วางจิตเอาไว้ในความเพียรดีแล้วครับ กราบโมทนาบุญด้วย

    แต่มีการขยับกายน้อยไปครับ บางครั้งทำให้เลือดลมในร่างกายเดินไม่สะดวก ทำให้เกิดอาการมึนหรือหนักหัวได้ครับ

    วิธีแก้ก็คือ สลับกับเดินจงกรมบ้างเช่น นั่งสมาธิครึ่งชม. สลับเดินจงกรม 15นาทีถึง 30นาทีครับ

    เดินในอัตราเร็วปกติธรรมชาติ

    แต่ประคองสติตัวรู้เอาไว้ตลอด ในอิริยาบทการเคลื่อนไหวทางกายหนึ่ง

    ประคองสติรู้ในเวทนาในการเดิน แต่เป็นสักแต่ว่ารู้ ไม่ทุกข์ ไม่ปรุงแต่ง

    ประคองสติในจิตที่ทรงสมาธิทรงภาพพระพุทธเจ้าไว้เหนือเศียรเกล้าไว้

    ประคองธรรมที่ตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นที่สุด

    ------------------------------------

    รักษาสมดุลทางกายเอาไว้ด้วยครับเพื่อให้แข็งแรง ทั้งพลังกายและพลังจิตสมาธิ

    ทั้งสองส่วนส่งเสริมกัน

    สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ในกายที่เข้มแข็ง

    หากกายป่วยบางครั้งก็ทำให้เกิดสมาธิยาก

    ขอแนะนำให้เดินจงกรมเสริมครับ แล้วจะสดชื่น แข็งแรงขึ้น

    ขอให้ก้าวหน้าเจริญในธรรมประคองรักษาฌาน ญาณ สมาบัติเอาไว้ได้จนจิตมั่นคงในไตรสรณะคมม์ มีพระนิพพานเป็นที่สุดในชาติปัจจุบันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...