กลับมาทบทวนของเดิมที่ได้ฝึกฝนกันมาครับ ลองค่อยๆทบทวนอารมณ์ในแต่ละส่วนไปทีละน้อย ทีละน้อย ให้ความรู้ กำลังและอารมณ์ อยู่ตัว ทรงตัวไว้ได้เป็นปรกติครับ
----ลมสบาย และอารมณ์ใจสบาย
----การตั้งกำลังใจในการทำความดี สัมมาทิษฐิ
----จิตใจที่ดีงาม ดวงจิตที่ใสสะอาดเป็นแก้วประกายพรึก
----เมตตาอัปปันณานฌาน พรหมวิหารสี่ พลังงานแห่งจิตใจที่ไร้ขอบเขต
----การอธิฐาน การวางกำลังใจ ความตั้งมั่นแห่งจิตใจ
----จิตใจที่บริสุทธ์ ปราศจากกิเลส กำลังวิปัสนาญาณในการตัดสังโยชน์สิบ
----ความบริสุทธ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกับจิตวิญญาน ความดีงามที่ซึมซับเป็นหนึ่งเดียวกับเนื้อจิต
----การเข้าถึงในความเป็นธรรมดาของทุกสรรพสิ่ง ความเป็นอุเบกขาในสังขารร่างกาย
หลายท่านที่ทำได้แล้วทั้งหมด บางท่านทำได้ในบางส่วน บางข้อ ส่วนบางท่าน ก็ได้ประสบกับความมหัศจรย์ ทางจิต ที่ได้รู้เห็นเฉพาะตนบ้าง และคนรอบข้างบ้าง หลายท่านที่ได้รู้หน้าที่ที่ตนเองได้อธิฐานก่อนลงมาเกิดในชาตินี้
---ขอให้ทุกท่านได้ ทำให้ธรรมมะ และคุณธรรมเหล่านี้ให้เจริญงอกงามยิ่งๆขึ้นไป เพื่อประโยชน์แห่งการหลุดพ้นของตัวท่านเอง และเพื่อประโยชน์แห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สืบต่อไปครับ
----ขอกราบโมทนาในความดี ความตั้งใจที่ดี ของทุกท่านด้วยครับ
วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.
หน้า 8 ของ 166
-
เมื่อทุกๆท่านได้ปูพื้นฐานแห่งจิต คุณธรรมและสัมมาทิษฐิ ไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว ต่อไป ก็จะเริ่ม เข้าสู่การฝึกในภาคของอภิญญา ต่อไป
---องค์ประกอบของความสำเร็จของอภิญญาประกอบไปด้วย
-ระดับของสมาธิ
-ระดับของคุณธรรม
-ความบริสุทธิ์ของจิตที่ปราศจากกิเลส และนิวรณ์ห้าประการ
-จุดมุ่งหมายแห่งการใช้อภิญญา
-ความศรัทธา ความเชื่อมั่น ในคุณแห่งพระรัตนไตย ในพุทธานุภาพ ในฤทธิ์ และปาฏิหาริย์
-ความฉลาดในการอธิฐานฤทธิ์
------องค์ประกอบทั้งหมดนี้ ผมจะค่อยๆอธิบายไปเป็นข้อๆไป ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆหาอ่านได้จาก เรื่องกสิณสิบ อภิญญา ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่าน และหนังสือชื่อ ทิพยอำนาจ ของพระอริยะธาร เส็ง หนังสือ วิทยาศาสตร์ทางจิต ของพ.อ.ชม สุคันธรัต ครับ เป็นหนังสือและข้อมูลที่เขียนจากท่านที่ได้อภิญญาจริงๆ ตามอารมณ์ใจที่ได้ ดังนั้นจะแตกต่างจาก หนังสือหรือตำราที่ว่ากันด้วยทฤษฏีครับ
----แต่อย่างไรก็ตาม ทุกท่านอย่าได้ลืมข้อกำหนดของวิชาครูที่ได้เคยให้สัจจะไว้นะครับ ว่าจะใช้วิชาความรู้เหล่านี้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเท่านั้น เพราะอภิญญา ก็เหมือนดาบสองคม ถ้านำไปใช้ในทางที่ผิดตัวผู้ใช้เองก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เวลาลงนรกก็ลงลึกกว่าชาวบ้านธรรมดาเขาในโทษเดียวกัน แถมเวลา ที่วิชาเสื่อมหรือถูกสูบกลับก็มัก เป็นเวลาที่คับขัน จะเป็นจะตาย ช่วงๆนั้น ดังนั้นขอให้ทุกๆท่านมั่นคงในความดี และให้มีความงดงามเป็นเนื้อเดียวกับจิตใจไว้เสมอเป็นปรกติ ก็จะไม่ต้องไปกังวลกับเรื่องเหล่านี้ ทุกสิ่งที่พระท่านจัดท่านบอกแนะนำมาให้มี เหตุมีผลรองรับในตัวเองเสมอครับ ว่าทำไมต้องทำอย่านี้ ทำไมต้องได้อย่างนี้ก่อนจึงไปขั้นต่อไป ดังนั้นการฝึกข้ามขั้นตอนถึงแม้จะเกิดผลสำเร็จ แต่ก็อาจเกิดผลเสียติดตามมาในภายหลังได้เช่นกัน เช่นถ้ามีความรู้แต่ไม่มีคุณธรรมกำกับ ก็อาจเป็นโจรไปในภายหลังได้ จิตถ้าไม่ตั้งไว้ในสัมมาทิษฐิตั้งแต่ต้น ก็อาจทำให้กลับกลายเป็น มิจฉาทิษฐิได้ ถ้าไม่รู้จักลมสบาย อารมณ์สบาย ภายหลังหากเร่งการปฏิบัติก็อาจทำให้ วิกลจริตได้ พระท่านและครูบาอาจารย์นับแต่โบราณกาลนั้นท่านมีความฉลาดลึกซึ้งถี่ถ้วน ในเหตุในผลแห่งการปฏิบัติ เสมอดังนั้นธรรมมะอันบริสุทธิ์จึงได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อการดำรงอยู่ของพระพทธศาสนาจนถึงทุกวันนี้ -
ไปตอบกระทู้อื่นมา เรื่องความเสื่อมและความเจริญในพุทธานุสติกรรมฐาน เลยขออนุญาตนำมาลงซ้ำให้ทุกๆท่านได้อ่านครับผม
เหตุเสื่อมจากพุทธานุสติกรรมฐานคือ
1. จิตเกิดความวิจิกิจฉา ควาลังเลสังสัยในพระคุณของพระพุทธเจ้า
2. จิตเกิดความเป็นมิจฉาทิษฐิ เห็นว่ามี บารมีอื่น ความบริสุทธ์อื่นเหนือกว่าพระพุทธเจ้า
3. จิตเกิดวิปัสนูปปะกิเลส เห็นผิดในการบรรลุธรรม
4. จิตเกิด อกุศลกรรมเข้าสิงจิตให้กล่าวโทษต่อ พระพุทธเจ้า
5. จิตเกิดความสับสนไม่กระจ่างในสภาวะแห่งพระนิพพาน จึงปรากฏความไม่มั่นคงในพุทธะขึ้นในจิต
ส่วนการทำให้ พุทธานุสติกรรมฐานเจริญขึ้น ก็ดังที่หลายๆท่านได้ตอบไว้ข้างต้น ผมขออนุญาต รวบรวมเรียบเรียงให้ครบถ้วนครับ
1.หมั่นเจริญในพุทธนิมิตรให้สม่ำเสมอ ถ้าทรงไว้ได้ตลอดวัน ตลอดเวลาได้ยิ่งดี
2. หมั่นใช้อารมณ์พิจารณา ใน พระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าไว้ให้สม่ำเสมอ
3. หมั่นใช้ปัญญาไตร่ตรองในธรรมว่าธรรมอันใดที่เราเจริญแล้วทำให้ยิ่งๆขึ้นไป ธรรมใดที่ยังไม่ปรากฏจงทำให้ปรากฏ
4. หมั่นขอขมาพระรัตนไตยในสิ่งที่เราพลาดพลั้งไป ทั้งที่เจตนาและไม่เจตนา
5. ตั้งใจปฏิบัติ ตามพระธรรมคำสั่งสอนเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เมื่อนั้นจิตจะกระจ่างแจ้งสิ้นสงสัยใดๆและปรากฏความศรัทธา ที่สิ้นสงสัยและตั้งมั่นในพระพุทธเจ้า
6. ทำจิตให้เข้าถึงซึ่งไตรสรณคมถ์
ขอโมทนาบุญในความตั้งใจปฏิบัติ และขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
<!-- / message --><!-- sig -->__________________ -
เวปรวบรวมสถานที่ฝึกมโนมยิทธิครับ
http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=14215 -
เมื่อวานนี้ได้คุญกับน้องคนหนึ่งเรื่องการปฏิบัติของเขา และก็ได้ใช้มโนขึ้นไปถามพระท่านด้วยกัน พระท่านเมตตาบอก เรื่องการฝึกอภิญญาว่า ที่จริงแล้วเป็นเรื่องไม่ยาก ถ้าวางกำลังใจถูก มันก็ได้ของมันเอง แต่จุดสำคัญท่านเน้น เรื่องสัมมาทิษฐิครับซึ่งก็ตรงกันกับที่ผมพยายามเน้นอยู่เสมอ และอีกเรื่องก็คือให้หมั่นทบทวนของเก่า วิชาเก่าที่ได้ศึกษามาเพราะยังต้องใช้ร่วมกันเป็นพื้นฐานอยู่เสมอส่วนการแนะนำความรู้ต่างๆ ที่ผมได้ทำอยู่ พระท่านบอกว่าให้ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป เพราะกำลังใจคนไม่เสมอกัน ถ้าเร่งมากไป จะเป็นการหนักเกินกำลังใจของบางท่าน ดังนั้นผมขออนุญาต ปรับสปีดตามที่พระท่านบอกนะครับ และถ้าเป็นไปได้ อาจมีการเปิดสอนสมาธิโดยตรงเป็นกลุ่มย่อย ประมาณไม่เกิน 10คน ในกรุงเทพ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เน้นเป็นธรรมทานครับ จะได้เป็นการสร้างพลังแห่งความดีให้แก่โลกใบนี้ครับ รายละเอียดติดตามกันต่อไปครับ
-
"โลกคือเรา เราคือโลก" คำสอนของพระศาสดามีความหมายแฝงอยู่
ดีครับมาสอนเทคนิคสมาธิ โดยมีผู้นำปฎิบัติที่สอบถามได้โดยตรง ช่วงเวลาที่จิตว่างและสงบจะเกิดพลังต่อพื้นที่บริเวณนั้นๆ ด้วยจำนวนคนมากหรือน้อยก็แล้วแต่ จะแปรค่าเป็นผลรวมของพลังงานด้านบวกออกมาจำนวนหนึ่ง โลกใบนี้จะได้รับพลังด้านบวกเพื่มมากขึ้น (ทุกวันนี้โลกขาดแคลน จึงส่งผลแบบที่เห็นกันอยู๋ แกนโลกส่ายเพราะแรงจะหมด) แม้แต่การทำความดีแต่ละกรณีในทุกๆวันโลกก็ได้พลังงานตรงนี้เอาไว้ขับเคลื่อนหมุนรอบตัวเองอย่างต่อเนื่อง เรากำลังทำงานร่วมกับโลกไม่ต่างกับ Generator ทีเดียวนะครับอย่าลืมหน้าที่ตรงนี้ เราทำอะไรสิ่งใดไว้ทั้งดีและไม่ดีต่างๆ ย่อมมีผลกับโลกใบนี้ในทั้งในทางตรงและทางอ้อมแน่นอนครับ... -
พิมพ์เสร็จไปกระทู้นึงแล้ว หายเกลี้ยงเลยครับ แทบเป็นลม แต่ไม่เป็นไรครับ บางอย่างก็เป็นความลับสวรรค์ เรารู้มากได้ แต่พูดมากไม่ได้ครับ สรุปว่าเรียนรู้ฝึกฝนไปตามที่พระท่านวางแนวทางและกำหนดไว้ไปเรื่อยๆแล้วกันครับ
-
ฝึกกันต่อเลยครับ วันนี้เราย้อนมาฝึก กสิณให้คล่องกันนะครับ แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นจากการฝึกมาตราฐานครับ
------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ
------- เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
--- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ
-----ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ
---1. เราเริ่มกันที่กสิณสีขาว จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพวงกลมสีขาว หนึ่งวง จิตนิ่งสนิทอยู่กับวงกลม สีขาวนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณสีขาวนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณสีขาวในจิตค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเราสบายขึ้น
----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณสีขาวใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
-----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
-----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
-------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณสีขาวควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปหยกขาวเป็นปางใดก็ได้ที่เราชอบ เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิมตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ
----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
-
^
ดีค่ะ
----
นักเรียนคนนี้ยังคงติดตาม แต่ก็ต้วมเตี้ยมไปหน่อย คุณครูขยันมากเลยค่ะ อนุโมทนาสาธุ
เดี๋ยวต้อง print ออกมา รวบรวมเป็นเล่มแล้วค่ะ เผื่อจะได้ copy แจกด้วย สาาาาาธุ..
(verygood) (verygood) (verygood)
-
นานาชาติชื่นชมฝรั่งเศสหลังยอมเพิ่มทหารเข้าไปในเลบานอน
เอพี/เอเอฟพี - นานาชาติชื่นชมฝรั่งเศสหลังยอมเพิ่มทหารอีก 1,600 นาย เข้าร่วมกองกลำงรักษาสันติภาพของหสประชาชาติเพื่อเข้าไปดูแลความสงบบริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของเลบานอน ด้านผู้นำน้ำหอมเผยต้องการทำหน้าที่ผู้บัญชาการกองกำลัง
วานนี้ (24) หลังจากที่ประธานาธิบดีฌากส์ ชีรัก ผู้นำฝรั่งเศสแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ระบุว่า ฝรั่งเศสจะส่งนายทหารกองรบพิเศษอีก 2 กองพันเข้าร่วมกับกองกำลังยูนิฟิลของสหประชาชาติ โดยในแต่ละกองพันจะมีนายทหารฝรั่งเศสจำนวน 800 คน เมื่อรวมกับทหารอีก 400 คนที่อยู่ในเลบานอนอยู่แล้วก็จะเป็น 2,000 คนแล้ว หลายๆ ชาติก็ได้ออกมากล่าวชื่นชมการตัดสินใจในครั้งนี้
"ผมขอปรบมือให้แก่การตัดสินใจของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับคำมั่นที่สำคัญจากอิตาลี และจากพันธมิตรที่สำคัญของเราชาติอื่นๆ ผมกำลังแนะนำให้ชาติอื่นๆ ให้การสนับสนุนด้วยเช่นๆ กัน" ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้นำสหรัฐฯ ระบุในแถลงการณ์ของทำเนียบขาว
นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังได้รับคำชื่นชมจากอิสราเอลและอิตาลีด้วย โดยโฆษกรัฐบาลอิสราเอลระบุว่า การตัดสินใจของฝรั่งเศสถือเป็นพัฒนาในเชิงสร้างสรรค์ ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญต่อการจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ การประกาศส่งทหารเพิ่มจะช่วยให้กองกำลังดังกล่าวแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ขณะที่นายกรัฐมนตรีโรมาโน โพรดี ของอิตาลี กล่าวว่า ได้รับแจ้งล่วงหน้าจากประธานาธิบดีชีรักแล้ว ต่อไปนี้กองกำลังนานาชาติในเลบานอนจะไม่มีเพียงอิตาลีเท่านั้นที่เป็นหลักแต่จะเป็นการประจำการของยุโรป และหวังว่าประเทศอื่นนอกยุโรปจะส่งทหารเข้าร่วมเพิ่มขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ผู้นำฝรั่งเศสยังระบุด้วยว่า กองกำลังฝรั่งเศสพร้อมที่จะทำหน้าที่ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพที่ก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับอิตาลีที่ได้เสนอตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลยิว โดยผู้บัญชาการกองกำลังจะต้องเผชิญกับภารกิจอันน่าเกรงขามในการควบคุมดูแลการยุติระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ดำเนินไปได้ด้วยดี
อนึ่ง ในการแถลงผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไปยังยุโรปและตะวันออกกลาง ผู้นำฝรั่งเศสระบุว่า เขาตัดสินใจเพิ่มทหาร หลังจากได้รับการยืนยันอนุญาตให้กองกำลังเคลื่อนย้ายได้อย่างอิสระ และสามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ หากต้องเผชิญกับสถานการณ์จากฝ่ายศัตรู พร้อมกับเสริมว่า เขาจะทำการประเมินขนาดของกองทัพอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้าหากเหตุการณ์ต่างๆ มีความคืบหน้า "ผมเชื่อว่าวันนี้ทหารฝรั่งเศสสามารถเข้าประจำการได้อย่างมีประสิทธิภาพ" -
มาคุยกันในภาคของทฤษฏีกันก่อนนะครับ
----อารมณ์ที่สำคัญในการฝึกกสิณให้สำเร็จนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจำอารมณ์และนิมิตรกสิณ สามส่วน
-- ส่วนแรกนั้นคือการจำภาพนิมิตรเริ่มต้น ของกองกสิณ ซึ่งหลายๆคน ก็ไปย่ำอยู่ตรงจุดนี้นานเกินไป บางคนไปใช้เวลาเป็นปีๆก็มี แต่สำหรับท่านที่ได้มโน บางท่านก็ทำได้เลยทันทีที่แนะนำ บางท่านก็ใช้เวลา วัน สองวันจนถึงไม่เกินเจ็ดวัน ในส่วนแรกนี้มีอยู่ทั้งหมดสิบกอง ได้แก่
--กสิณดิน ปฐวีกสิณ
--กสิณน้ำ อาโปกสิณ
--กสิณไฟ เตโชกสิณ
--กสิณลม วาโยกสิณ
ทั้งสี่กองนี้เป็นกสิณธาตุ ไว้เปลี่ยนธาตุแปลงธาตุ
--กสิณสีแดง โลหิตกสิณ
--กสิณสีเหลือง ปิตกสิณ
--กสิณสีเขียว นีลกสิณ
--กสิณสีขาว โอทาตกสิณ
เหล่านี้เป็นกองกสิณสี
--อากาสกสิณ คือกสิณที่มีอากาศ ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์
--อาโลกกสิณ คือกสิณที่มีแสงสว่างเป็นอารมณ์
อันที่จริงแล้วท่านที่ได้กสิณกองใดกองหนึ่งก็นับว่า เป็นบาทฐานในการทำอภิญญาสมาบัติ ให้ปรากฏขึ้นได้แล้ว แต่สำหรับท่านที่ปรารถนาพุทธภูมินั้น การที่ท่านได้กสิณกองเดียว ยังรู้สึกว่ายังมีกำลังใจต่ำไปสักหน่อยดังนั้น เพราะท่านที่ปรารถนาพุทธภูมินั้นย่อมมีวิสัยที่ต้องสั่งสอนแนะนำเวไนยสัตว์ต่อไปในอนาคต ดังนั้นควรทำให้ได้ให้ชำนาญ ในกรรมฐานสี่สิบกองทั้งในแบบมาตราฐานและแบบพิศดารพลิกแพลง อันได้แก่การผสมกอง การควบกอง การสลับกอง ให้คล่อง
-----ต่อไป เป็นนิมิตรที่ต้องจดจำอารมณ์ขั้นต่อไปคือ อุคหะนิมิตร อันเป็นสภาวะของ นิมิตรต้นของกสิณที่กำลังเปลี่ยนหรือเลื่อนไปสู่ ปฏิภาคนิมิตร
-----สุดท้าย มีความสำคัญที่สุดคือ อารมณ์และนิมิตรของ ปฏิภาคนิมิตร อันสรุปรวมว่า ในกสิณทุกกองมีสภาพ สภาวะ ของ ปฏิภาคนิมิตรนี้เหมือนกันหมดทุกกอง คือมีความใส สว่างแพรวพราว เปล่งรัศมีออกมาจากภาพหรือดวงนิมิตรเป็นเพชรระยิบระยับ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จิตใจของเราแช่มชื่นสบายที่สุด และเป็นกำลังของฌานสี่
---ให้ทุกคนจำอารมณ์และอาการของนิมิตรกสิณทั้งสามขั้นตอนได้ การฝึกกสิณก็จะง่ายขึ้นสำหรับท่าน
----ส่วนการที่จะทำให้ฝึกกสิณได้ง่ายนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นบุรพกรรมที่ท่านได้เคยฝึกเคยทำกสิณมาก่อนในอดีตชาติมาก่อนชาตินี้จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับท่าน ส่วนใหญ่ที่เคยฝึกกันมามักเป็นกสิณไฟ โดยเฉพาะชาติที่เคยเกิดเป็นฤาษีกันมา สมัยเด็กผมเองชอบเล่นไฟมาก จุดเป็นกองแล้วก็มานั่งดู เพราะดูแล้วใจเราสบาย ผู้ใหญ่ก็ดุกลัว ไฟไหม้ เราก็ไม่รู้ว่าทำไมชอบจุดไฟจัง แต่พอโตขึ้นก็เลิก ของเหล่านี้เป็นสัญญาเก่าในอดีตที่ฟื้นกลับมา
---ตกลงว่าเราจะค่อยๆฝึกกสิณไปเรื่อยๆวันละกองครับ ขอเริ่มที่กสิณสีก่อน เพราะอธิบายง่าย แล้วค่อยขยับไปกสิณธาตุกันต่อครับ -
------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ
------- เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
--- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ
-----ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ
---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณสีแดง จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพวงกลมสีแดง หนึ่งวง จิตนิ่งสนิทอยู่กับวงกลม สีแดงนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณสีแดงนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณสีแดงในจิตค่อยๆจางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเรายิ่งสบายขึ้น
----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณสีแดงใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
-----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
-----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
-------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณสีแดงควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปแก้วสีแดงเป็นปางใดก็ได้ที่เราชอบ เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิมตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ
----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ -
ตอนแรกจะเอาแบบวันเดียว สิบกองรวด แต่ดูจะหนักและเร็วเกินไป เลยขอขยับไปทีละกองจนครบสิบกองแล้วจึงจะมา เจริญวสีโดยการฝึกสลับกอง สลับฌาน ผสมกอง แล้วจึงไปขึ้น สมาบัติแปด(อรูปฌาน)กันต่อครับ ท่านที่ได้มโน และเป็นวิสัยของสาวกภูมิอาจไม่จำเป็นมากนัก ให้ไปเน้นที่อารมณ์วิปัสนาญาณให้ลึก ชำนาญและเข้าถึงความเป็นธรรมดาได้เลย ส่วนท่านที่ เป็นสาวกภูมิ แต่มีความสนใจในฤทธิ์ อภิญญา ต้องการความเป็นปฏิสัมภิทาญาณ ก็ต้องทำสมาบัติแปดให้ได้และคล่องตัวด้วยครับ จากนั้นจะเริ่ม การแยกแนวการฝึกออกเป็น
1. การใช้พลังจิตอภิญญาเพื่อการรักษาโรค
2. การใช้พลังจิตอภิญญาเพื่อปกป้องคุ้มครอง บุคคลอื่น
3. การฝึกเพื่อการเตรียมรับอภิญญาใหญ่
4. การปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมความหลุดพ้น
----ทั้งหมดนี้อย่าคิดว่าผมเก่งหรือสอนท่านนะครับ เป็นเพียงการแนะนำการปฏิบัติ เพื่อความเอื้อเฟื้อในธรรม พระท่านสั่งมาให้ทำผมก็ทำตามนั้น พระท่านว่าอย่างไร ผมก็ว่าตามนั้น เป็นความเมตตาและหน้าที่ของพระท่านครับ ส่วนใครจะก้าวหน้าได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับ กำลังใจ วาสนาทั้งของเก่าและปัจจุบัน การปล่อยวางมานะทิษฐิ เมตตาพรหมวิหารสี่ ความบริสุทธิ์ของจิตที่ปราศจากกิเลส และความตั้งใจดีครับ ใครได้ดีแค่ไหนผมโมทนาด้วยครับ ส่วนใครที่ติดขัดตรงจุดไหน ถามได้ครับ จะได้เป็นประโยชน์กับท่านอื่นด้วยครับ -
วันนี้มาต่อกันที่กสิณสีเหลืองครับ
------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ
------- เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
--- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ
-----ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ
---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณสีเหลือง จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพวงกลมสีเหลืองหนึ่งวง จิตนิ่งสนิทอยู่กับวงกลม สีเหลืองนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณสีเหลืองนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณสีเหลืองในจิตค่อยๆจางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเรายิ่งสบายขึ้น
----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณสีเหลืองใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
-----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
-----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
-------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณสีเหลืองควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปสีทองสุกอร่าม เป็นปางใดก็ได้ที่เราชอบ เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ
----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ -
มีหลายครั้งที่ผมได้แนะนำสมาธิและ ได้ตั้งคำถามกับท่านที่จะฝึกไปว่า "ต้องการฝึกสมาธิไปเพื่อ อะไร และ อะไรคือวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการในการฝึกสมาธิ " คำตอบ 90% คือ เค้าว่ามันดี ต่อมาคือ เพื่อให้จิตใจสบาย ส่วนน้อยมากที่จะตอบว่า เพื่อใช้เป็นพื้นฐานและเป็นกำลังในการทำความดี ยิ่งๆขึ้นไป อันได้แก่ เพื่อการหลุดพ้น หรือการสร้างบารมีในฐานะท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิ ดังนั้นผมขอชี้แจงอีกครั้งว่า การทำสมาธิที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ก็ดี การขาด วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนก็ดี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การทำสมาธิของท่านอาจจะไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรเป็นควรได้ หรืออาจวนเวียน ย่ำอยู่กับที่ ท่านที่พอใจเพียงเท่านั้นก็อาจจะไม่เป็นไร แต่ท่านที่ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติก็อาจจะต้องกลับมาทบทวน จิตใจและเป้าหมายในการทำสมาธิของเราอีกครั้งว่า เราต้องการอะไรจากการทำสมาธิ เพราะแนวทางการฝึกสมาธิเพื่อเป้าหมายที่แตกต่างกันนั้น ก็มีการวางอารมณ์ใจ หนักเบาแตกต่างกัน ดังนั้นผมจะขอยกตัวอย่างเป้าหมายในการทำสมาธิให้ท่านได้ พิจารณาดูครับ คิดว่าเป็นวิมังสาในการไตร่ตรองทบทวนจิตใจในการปฏิบัติให้ก้าวหน้าและชัดเจนขึ้นครับ
----การทำสมาธิเพื่อหวังให้ใจสบาย ระดับเป้าหมายนี้ เหมาะกับการฝึกอานาปานสติ และเมื่อจับลมสบายได้ จำอารมณ์สบายได้ จิตใจก็จะมีความสุขความสบายตามที่ต้องการแล้ว
----การทำสมาธิเพื่อเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในภพหน้า ระดับเป้าหมายนี้ มักเป็นท่านที่ ยังไม่คิดว่าตนจะหลุดพ้นในชาตินี้ และ หรือ เคยได้ อธิฐานติดตามพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่งที่ท่านจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต การปฏิบัติและการทำสมาธินั้นเหมาะกับ การทำบุญ ทำทาน การอธิฐาน รวมทั้งการทำสมาธิทั่วๆไป เน้นให้ใจสบาย ไม่ต้องเร่งรัดอะไร เน้นความดีที่ค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ
----การทำสมาธิเพื่อการหลุดพ้น ระดับเป้าหมายนี้ สมควรได้ฌานสี่ และต้องเน้นหนักในวิปัสนาญาณ เป็นปรกติ และมีวางกำลังใจใน สติปัฏฐานสี่เป็นธรรมดา ส่วนท่านที่ มีวิสัยของปฏิสัมภิทาญาณนั้นต้องได้สมาบัติแปด (ฌาน แปด) เป็นปรกติร่วมด้วย และทั้งหมดต้องมีความเข้าใจในสังโยชน์สิบเป็นอย่างดี
----การทำสมาธิเพื่อการสร้างบารมีในฐานะพุทธภูมิ ระดับเป้าหมายนี้ ท่านต้องใช้กำลังใจสูงกว่าท่านที่มีวิสัยสาวกภูมิเยอะ สมาบัติแปด กรรมฐานทั้งสี่สิบกอง พรหมวิหารสี่อย่างละเอียด มหาสติปัฏฐานสี่ บารมีสามสิบทัศ วิปัสนาญาณทุกอารมณ์ ต้องทำให้ได้ ต้องคล่องให้หมด และยังต้องรู้จริต จิต อารมณ์ทุกรูปแบบ รวมทั้งบางทีต้องไปรู้ด้วยว่าการฝึกที่ผิดเป็นอย่างไร วิปัสนูปกิเลสเป็นอย่างไร ความเข้าใจผิดเรื่องพระนิพพานเป็นอย่างไร เพราะจะได้รู้จะได้สอนคนอื่นได้ อย่างกระจ่างไม่ติดขัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ บารมีที่แต่ละท่านได้อธิฐานว่าในชาตินี้จะลงมาเกิดเพื่อการบำเพ็ญบารมี ในเรื่องอะไร ทำอะไร ก็อาจจะทำให้มีผลอยู่ในขอบเขตของการอธิฐานนั้นๆ
----การทำสมาธิเพื่อใช้ช่วยเหลือสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ ระดับเป้าหมายนี้ ควรได้ตั้งแต่สมาธิอย่างหยาบ จนถึงขั้น สมาบัติแปด สิ่งสำคัญคืออารมณ์ที่ตั้งมั่นอยู่ในพรหมวิหารสี่ เพื่อใช้ช่วยเหลือผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก และในการทำสมาธิเพื่อช่วยเหลือคนนี้แบ่งเป็น
--การสงเคราะห์ทางจิตใจ ให้ธรรมมะ ชี้หนทางในชีวิต การให้กำลังใจ
--การสงเคราะห์ทางกาย ด้วยการใช้พลังสมาธิรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
--การสงเคราะห์ทางด้านความเป็นอยู่ ด้วยการใช้ กำลังสมาธิและอธิฐานให้ผู้คนที่ต้องการช่วย มีความคล่องตัว มีการเงินการทองที่ดีขึ้น
แต่ทั้งหมดนี้ควรอยู่ใน ศีลที่สะอาดบริสุทธ์ ความตั้งมั่นในพระรัตนไตย และจิตที่เป็นสัมมาทิฐธิครับ เป็นเครื่องป้องกันคุ้มครองจิตของเราให้อยู่ในแนวทางแห่งสัมมาสมาธิ และสัมมาปฏิบัติไว้เสมอ
ขอให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติ และค้นหาเป้าหมายในการทำสมาธิของตัวเองให้พบนะครับ ผมขอกราบโมทนาความตั้งใจดีของทุกท่านครับ -
วันนี้มาต่อกันที่กสิณสีเขียวครับ
------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ
------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
--- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ
-----ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ
---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณสีเขียว จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพวงกลมสีเขียวหนึ่งวง จิตนิ่งสนิทอยู่กับวงกลม สีเขียวนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณสีเขียวนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณสีเขียวในจิตค่อยๆจางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเรายิ่งสบายขึ้น
----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณสีเขียวใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
-----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
-----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
-------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณสีเขียวควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปเป็นองค์พระแก้วมรกต ที่เราเคารพทั้งประเทศ เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ
----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
<!-- / message --><!-- sig -->__________________ -
มาเริ่มกันที่การพูดคุยกันก่อนครับ วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง จิตใจครับ รวมทั้งผลของสภาพแวดล้อมและอารมณ์ ในแง่ลบรอบๆตัวเราที่ทำให้จิตใจของเรารู้สึกกระทบใจ และเกิดความ หงุดหงิด ไม่สบายใจ ตามไปด้วย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นปรกติธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนทั่วไปครับ แต่เรามีวิธีแก้ไขจิตใจของเราให้เป็นสุขและรับผลกระทบเหล่านี้ให้น้อยลงได้ โดยการ
ฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในจิตใจที่ดีงามเอาไว้ จนเป็นหนึ่งเดียวกับจิตวิญญานของเรา และยิ่งเชื่อมั่นมากเท่าไร จิตใจเราก็จะยิ่งมั่นคงสงบนิ่งไม่สั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบใจมากขึ้นเท่านั้น
ใช้ พลังของเมตตาพรหมวิหารสี่ให้เป็นเครื่องคุ้มครองจิตใจเรา ให้เต็มเปี่ยมด้วยปิติสุขอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็จะไม่มีที่ว่างสำหรับความคิดในแง่ลบ
เพาะบ่มธรรมมะ และความดี ให้เกิดขึ้นจากภายในจิตใจของเราเอง และให้มีความเจริญงอกงามในธรรมยิ่งๆขึ้น จากภายในจิตด้วยเช่นกัน อย่าให้เป็นเพียงธรรมมะหรือความดีที่คนอื่นบอกว่า นั่นดี นี่ดี โดยที่เราเองไม่ได้สัมผัสด้วยใจว่าความดีนั้นดีอย่างไร และก่อเกิดมาจากภายในจิตใจของเราเองจริงๆ เพราะ หากเป็นอย่างนั้นความดีหรือคุณธรรมนั้นจะไม่ตั้งมั่น หรือจีรังยั่งยืน เหมือนธรรมมะที่งอกงามจากภายในจิตใจอันบริสุทธิ์ ตั้งมั่น มั่นคงไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์กระทบใจใดๆ
ใช้สติพิจารณาเลือกรับเลือกเสพ ข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อความไพบูลย์ของจิตใจ หากเป็นข่าว เป็นเรื่อง เป็นอารมณ์ที่กระทบใจแล้วทำให้จิตใจเราเศร้าหมองก็จงใช้อุเบกขา ความวางเฉยในสิ่งกระทบนั้นเสีย รักษาใจเราเองไว้อย่าให้เศร้าหมอง
เหล่านี้เป็นข้อแนะนำเล็กๆน้อยๆร่วมในการปฏิบัติครับ ขอให้เราระลึกไว้ว่าเมื่อเราตั้งใจทำความดีก็ย่อมมีอุปสรรคในรูปแบบต่างๆเข้ามาบ้างเป็นธรรมดา แต่ขอให้คิดว่า ดาบที่ดีนั้นย่อมต้องถูกตีถูกกระทบ จึงจะสำเร็จเป็นดาบที่ดีมีความคมกล้าครับ ขอให้ทุกท่านอย่าท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อความดีครับ -
วันนี้มาต่อกันที่การฝึกกสิณดิน ในกสิณธาตุครับ
------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ
------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
--- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ
----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ
---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณดินจับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพดินในวงกลมหนึ่งวงเป็นดินสีอรุณ หรือดินสีลูกรัง จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของวงกลมดิน สีลูกรังนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณดินนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณดิน ในจิตค่อยๆมีสีที่จางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเรายิ่งสบายขึ้น
----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณดินขาวใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
-----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
-----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
-------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณดิน ควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปปูนปั้นเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ
----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ -
วันนี้ เรามาทบทวนในวิปัสนาญานกันครับ ทิ้งไปนาน เดี๊ยวจะลืมกันไปหมดครับ ที่ผ่านมาได้ทบทวนความรู้เก่าๆกันบ้างหรือไม่ อารมณ์ใจทุกอย่างต้องจำและทบทวนไว้เสมอนะครับ ส่วนผลของการปฏิบัติ ท่านที่รู้สึกว่าใจของตนเองสบายขึ้น นิ่งขึ้น สงบขึ้น จิตคิดอยู่ในขอบเขตของกุศลกรรม การทำความดี จิตอ่อนโยนขึ้นมีเมตตาขึ้น ปล่อยวางและให้อภัยได้มากขึ้น ถือว่าเป็นจิตที่ใส สะอาดใช้ได้ครับ
ส่วนในอารมณ์วิปัสนาญาณนั้น ขอให้ท่นมุ่งเน้นในอารมณ์ของพระนิพพานครับ เพราะเป็นอารมณ์สูงที่สุด สะอาดที่สุดแล้วครับ ลองใช้จิตตรองดูว่า ณ ปัจจุบันนี้ จิตของเรามีความพอใจในพระนิพพานหรือไม่ รักในพระนิพพาน มั่นคงในพระนิพพานหรือไม่ มีความลังเลสงสัยในสภาวะของพระนิพพานอยู่อีกหรือไม่ ถ้ามีผู้ใดมาพูดมาบอกว่านิพพานเป็นความว่าง สูญสลายไปหมด จะทำให้ท่านเชื่อหรือหวั่นไหวหรือไม่ ส่วนท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิก็ลองตั้งกำลังใจถามตัวเองดูว่า เรารัก และเห็นความสำคัญของอารมณ์พระนิพพานหรือไม่ ถ้ายัง ก็ต้อง ทำกำลังใจ และสร้างบารมีเพิ่มอีกมากๆครับ ส่วนท่านที่ เข้าใจและเข้าถึงแล้วก็ขอให้อธิฐานต่อไปว่า ตราบที่เรายังสร้างบารมีอยู่ในสังสารวัฏนี้ขอเราจงได้จำสภาพ สภาวะและอารมณ์แห่งพระนิพพานได้ทุกๆชาติไปตราบเท่าที่จะบรรลุถึงซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณในอนาคตกาลด้วยเทอญ
ส่วนท่านที่ยังไม่เข้าถึงหรือเข้าใจก็ขอได้โปรดเก็บความสงสัยไว้ก่อน อย่าเพิ่งติเตียนว่ากล่าวในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ ยังไม่เห็น เพราะจะเกิดเป็นโทษกับท่านเองได้โดยไม่รู้ตัว ควรวางกำลังใจเฉยๆเป็นอุเบกขาไว้ และเรียนรู้ไปปฏิบัติไป เมื่อได้ เมื่อถึงวาระ แล้วท่านจะเข้าใจได้ด้วยตนเอง เป็นปัตจะตัง เหมือนรสอาหาร เรากินเองอิ่มเองอร่อยเอง กินแทนคนอื่นไม่ได้ แต่เมื่อเราได้กินอาหารอันอร่อยปราณีตแล้วเราก็มีจิตเมตตาปรารถนาให้ท่านผู้อื่นได้ดื่มกินโภชนะอันมีรสเลิศ จึงได้บอกว่ากินนั่นสิ กินนี่สิ ส่วนเขาจะกินหรือไม่ย่อมเป็นสิทธิ์ของเขา เอง ดังนี้ พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงตรัสไว้ว่า "ตถาคต เป็นเพียงผู้บอก " ส่วนการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของใครของมัน ใครทำ ใครได้ ดังนั้นขอให้ทุกท่านได้โปรดเชื่อในคำสอนแห่งพระพุทธเจ้าที่ท่านปรารถนาให้หมู่สรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์และได้สัมผัสกับพระนิพพานอันเป็นบรมสุข และบรรดาพระอริยสงฆ์ท่านก็มีเมตตา ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงพวกเราทุกคน และเราทั้งหลายต่อไปก็ต้องถ่ายทอด ต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน เพื่อสานต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ครบ 5000 ปีครับ -
วันนี้มาต่อกันที่การฝึกกสิณน้ำ ในกสิณธาตุครับ
------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ
------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
--- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ
----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ
---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณน้ำ จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพน้ำนิ่งๆ ในขันทอง จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของวงน้ำในขันนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณน้ำนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณน้ำ ในจิตค่อยๆมีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น และใจเรายิ่งสบายขึ้น
----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณน้ำสะกาวใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
-----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
-----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
-------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณน้ำ ควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปแก้วที่มีพรายน้ำระยิบระยับเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ
----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
หน้า 8 ของ 166