วิถีทางพ้นโลก พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไม้ขีดครับ, 24 กันยายน 2019.

  1. ไม้ขีดครับ

    ไม้ขีดครับ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +17
    FB_IMG_1569321684698.jpg

    วิถีทางพ้นโลก

    สิ่งผูกมัดใจคืออารมณ์ ถ้าเราหลุดพ้นจากอารมณ์ได้ก็เข้าสู่พระนิพพาน พระนิพพาน คือ สภาวะที่ไร้อารมณ์

    โดยธรรมชาติจิตจะออกไปหาอารมณ์ ไม่ใช่อารมณ์มาหาจิต นักปฏิบัติมักจะเห็นสภาวะ 3 อย่างเกิดขึ้นคือ ผู้รู้ จิต และอารมณ์

    นักดูจิตจะเห็นว่า บางครั้งจะรวมกันบ้าง บางครั้งจะแยกกันบ้าง แท้จริงแล้วอาการเหล่านี้เกิดจากจิตของเราเพียงคนเดียวเท่านั้น

    เมื่อมีอารมณ์ที่เป็นสาเหตุให้ทุกข์ เรามักจะโทษคนอื่นเสมอ อาการที่เกิดขึ้นไม่ใช่อาการของธรรมชาติมากระทบเรา เป็นอาการของจิตเราเพียงคนเดียวเท่านั้น

    ขณะที่เรากำลังทำสมาธิจิตจะรวมอาการทั้ง 3 เป็นหนึ่ง และขณะออกจากสมาธิใหม่ๆ นักปฏิบัติมักจะมองเห็นว่าจิตแยกออกจากอารมณ์ เนื่องจากจิตยังทรงความนิ่งจากสมาธิได้อยู่ เกิดผู้รู้มองเห็นตัวอารมณ์ที่มากระทบแล้ว อารมณ์นั้นเด้งกลับไป แต่ว่ามันยังไม่สามารถฆ่ากิเลสได้มันเป็นแค่เราไปรับรู้ไปเห็นอาการของจิตเท่านั้น

    เมื่อกำลังสมาธิหมดจิตกับอารมณ์ก็ยังกระทบกันอยู่ดี ทางที่จะไปต่อสู้กับกิเลสที่แท้จริง จะต้องใช้ปัญญาหรือญาณเท่านั้นที่จะไปสู้กับกิเลส

    สมาธิมี 2 อย่าง

    1. เอาจิตดูจิตเป็นฌาน

    2. เอาจิตดูกายเป็นญาณ

    สมาธิแบบที่ 2 ถึงจะเป็นหนทางที่จะพ้นทุกข์ได้ เพราะสามารถทำลายตัณหาได้หมดสิ้น

    สมาธิแบบที่ 2 นี้จะเป็นการใช้ มรรคมีองค์ 8 หรือเรียกว่าการอบรมมรรค หลักๆคือไม่ให้จิตออกไปทางอายตนะทั้ง 6

    การอบรมมรรคจะสวนทางกับสมาธิ คือจะเน้นการคิดให้มากให้จิตเคลื่อนที่ แต่ให้คิดแบบกุศลคือคิดในอาการ 32 ของตัวเรา คิดถึงภาพความไม่สวยงามของกายหรือพิจารณาอสุภะ ไม่คิดไปในทางอกุศล หรือความคิดแบบส่งจิตออกไปข้างนอกทางอายตนะทั้ง 6 ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ

    หนทางพ้นทุกข์สำหรับการอบรมมรรค หรือการใช้สติปัฏฐาน 4 ไม่ต้องใช้สมาธิ ใช้จิตในภาวะปกติในการฆ่ากิเลส ให้ทิ้งสมาธิไปก่อนเพราะจิตมันจะนิ่งจะเกิดฌาน แล้วจะทำให้คิดในทางกุศลต่อไม่ได้

    วิธีการเดินมรรค

    คือให้เราวางสมาธิเอาไว้ก่อน ให้เอาจิตมานึกถึงภาพตัวเองหรือพิจารณาอสุภะเท่านั้น คิดเช่นนี้ตลอดเวลา ไม่ให้คิดถึงเพศตรงข้ามเพราะกิเลสจะเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำอย่างนี้จิตจะมีที่อยู่คือบ้านของเราเองไม่ไปคิดถึงเพศตรงข้ามอีก หรือคิดไปในทางอกุศล

    ดังนั้น เราจะต้องคิดให้เห็นแจ้งตัวเราด้วยตาในเท่านั้น เมื่อเราเห็นเราแจ้งแล้ว ภาพของเขาจะมืดไปเองต่อไปการนึกถึงเขาจะนึกไม่ออก กามราคะจะดับไป เกิดความเบื่อหน่าย และเมื่อกิเลสดับ จะเกิดสมาธิขึ้นมาเอง เปรียบเหมือนถ้าไม่สบาย ต้องวิ่งหาหมอ ไม่ใช่วิ่งไปหาความสบาย เมื่อความไม่สบายลดลง ความสบายจะมาเอง และให้เพียรสร้างภาพเราให้เห็นเป็นอสุภะ โดยอาศัยอุบายจากซากศพเพื่อให้เกิดสัญญา แล้วก็เพียรรักษาภาพนั้นเอาไว้เพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิต จิตจะไม่รั่วออกไปข้างนอก เมื่อจิตไม่รั่ว สมาธิจะเกิดขึ้นเอง

    การเห็นภาพจะมี 2 แบบ (ฌาน กับ ญาณ)

    แบบแรก (ฌาน) การเห็นแบบนิมิต เป็นการเห็นร่าง 2 ร่าง ร่างหนึ่งลักษณะขาวๆใสๆกำลังดูอีกร่างหนึ่งที่เป็นซากศพอยู่ หรือกำลังซ้อนทับกันอยู่ ถ้าเห็นแบบนี้ให้ถอยสมาธิออกมา และก็ไม่ต้องสนใจร่างขาวใสๆนั้น ให้สนใจแต่ร่างซากศพ จะทำให้ร่างขาวใสนั้นหายไป พิจารณาร่างหนึ่งเป็นดินเป็นอากาศเกิดขึ้นแล้วดับไป

    ทั้งนี้เกิดจากการใช้สมาธินำการพิจารณา เกิดจากการทำสมาธิให้เข้าไปในขั้นอัปปนาสมาธิ แล้วถอยสมาธิออกมาในขั้นอุปจาระสมาธิ แล้วค่อยพิจารณา จึงเห็นนิมิตเป็น 2 ร่างขึ้น ซึ่งมันยังไม่ใช่ร่างจริง การเห็นแบบนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะเห็นกันได้ง่ายๆต้องมีของเก่ามาก่อน ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะไปรู้ว่าอีกร่างหนึ่งคืออะไร การเห็นแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ภาพนิมิตจะสลายง่ายเมื่อออกสมาธิ เช่น ถ้าพิจารณาตอนกลางคืนทำให้กิเลสดับไปชั่วคราวแต่พอเช้ามา จิตก็ไปเกลือกกลั้วทางตาหูมาก็จะยังมีอารมณ์ วิญญาณจะไม่ดับ ยังมีอารมณ์เมื่อจิตออกทางอายตนะทั้ง 6 แต่มีน้อย ยังไม่มีญาณทัศนะเพราะไม่ได้เกิดจากการทำสติปัฏฐาน 4 ทั้งนี้คนที่ทำแบบนี้ต้องฉลาดเมื่อภาพเขาเกิดขึ้นมา ให้รีบสลายอยู่บ่อยๆ แล้วตั้งภาพนิมิตนั้นขึ้นมาก็พอที่จะไปได้แต่ไม่ดีมาก คนที่มีจริตแบบนี้จะต้องสร้างสมาธิ แล้วกำหนดให้เห็นนิมิต แล้วนำนิมิตนั้นมาสร้างภาพจริง มันจะอ้อมกว่าคนที่ทำสติปัฏฐาน 4

    ซึ่งเป็นการเห็นภาพแบบที่ 2 (ญาณ) คือ การใช้สัญญามาสร้างเป็นภาพจริงเลย มันจะตรงกว่า และจิตมั่นคงกว่าวิธีใช้สมาธินำ การใช้สมาธิจึงไม่ใช่การเดินมรรค มรรคจะใช้สมาธิเป็นข้อที่ 8 ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย นักปฏิบัติจะต้องข่มใจตัวเองไม่ใจอ่อนที่จะลบภาพคนอื่นออกไปจากจิตจากใจ สำรวมใจคือไม่ให้ใจไปไม่ผูกพันกับสิ่งที่เห็นสิ่งที่รับรู้ทางหูตา เช่นเห็นเพศตรงข้ามที่ชอบข่มใจตัวเองอย่ามอง อย่าดู สร้างปัญญาด้วยการฟังธรรม เหล่านี้จะสามารถพ้นทุกข์ได้ คือเห็นแต่ภาพเรา ไม่มีภาพคนอื่นเลย จิตจะมั่นคงไม่รั่วออกไปทางอายตนะทั้ง 6 การเห็นภาพตัวเองนี้ให้เห็นภาพตัวเองไปตลอดชีวิตจนกว่าจะตายเพื่อใช้เป็นเครื่องอยู่ของจิต จึงจะเป็นวิถีทางพ้นโลกหรือพ้นจากอารมณ์นั้นเอง

    พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ


    ศึกษาเพิ่มเติมรายธรรมะสว่างใจ ตอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ค้นหาได้ในยูทูปครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...