วิถีแห่งพระอาจารย์มั่นวิถีแห่งความจริง

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 9 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    วิถีแห่งพระอาจารย์'มั่น'วิถีแห่งความจริง

    วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์ "มั่น" วิถี แห่ง ความจริง

    คอลัมน์ วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่

    โดย ดวงเดือน ประดับดาว



    [​IMG]

    ที่ผ่านมา คือ แนวทางรำลึกบนพื้นฐานอันเป็นการถือเอา " พระพุทธเจ้า" เป็นมูลเหตุ ถือเอา "พระพุทธเจ้า" เป็นแบบฉบับ

    นั่นก็คือ การรำลึกถึงรากที่มาก่อนจะเป็น "พระพุทธเจ้า"

    เป็นรากแห่ง เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยราชสมบัติและพระบรมเดชานุภาพใหญ่หลวง

    นี่ย่อมเป็นการทบทวน

    เป็นการทบทวนจากความรับรู้โดยอ้อมของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผ่านกระบวนการในแต่ละบาทก้าวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เป็นการศึกษา อดีต เพื่อนำมารับใช้ ปัจจุบัน

    เป็นการปฏิบัติบนพื้นฐานแห่งการนำเอา อดีต เชื่อมเข้ากับสภาพความเป็นจริงของ ปัจจุบัน เพื่อที่จะก้าวไปสู่ อนาคต

    ปมเงื่อนอยู่ตรงที่มิได้เป็นเพียงการอ่านตำรา ศึกษาคัมภีร์

    ปมเงื่อนที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ การประสานเรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อยู่ในตำราเข้ากับการปฏิบัติที่เป็นจริง

    โปรดศึกษาต่อไป

    ท่านได้คำนึงว่า

    พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิบัติตัวของพระองค์ให้เป็นแบบอย่างจริงๆ มิใช่เพียงทรงสอนคนอื่นแล้วพระองค์ไม่ทรงปฏิบัติ

    เช่น ตอนแรกหลังจากตรัสรู้แล้ว จะทรงรับข้าวมธุปายาสจากตะปุสสะและพันสิลกะก็ทรงหาบาตรเพื่อรับ และพระองค์ก็ทรงทำพุทธกิจ บุพพัณเห บิณฑบาตัญจะ รุ่งเช้าพระองค์เสด็จไปบิณฑบาต

    สายัณเห ธัมมะ เทละนัง ตอนบ่ายพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท

    ปโทเส ภิกขุ โอวาทัง พอพลบค่ำพระองค์ก็ทรงประทานโอวาทแก่พระภิกษุและสามเณร

    อัฑฒะรัตเต เทวะปัญหานัง ตอนกลางคืนทรงแก้ปัญหาเทวดาทั้งหลาย ปัจจุสะ เสวะ คเตกาเล ภัพพา ภัพเพ วิโลกานัง ในเวลาใกล้รุ่งพระพุทธองค์ก็ทรงตรวจดูว่าสัตว์โลกจะมีผู้ใดบ้างที่มีวาสนาบารมีอันจะพึงได้รับพระธรรมเทศนา

    พระองค์ทรงใคร่ครวญแล้วทรงทราบว่า ผู้ใดสมควรจะได้รับผลแห่งธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติ ก็จะเสด็จไปโปรดให้เขาเหล่านั้นได้รับผลแห่งธรรม

    นอกจากนั้น พระองค์จะทรงปฏิบัติตามธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติ เช่น การทรงจีวร การฉันเฉพาะในบาตร แม้กระทั่งจวนจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานพระองค์ก็ยังทรงอุ้มบาตรได้ตลอดเวลา

    นับแต่วันที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว พระองค์จะทรงเปี่ยมพระทัยถึงความมีพระเมตตาต่อมนุษย์ทุกถ้วนหน้า ไม่เลือกชั้นวรรณะ ทรงกระทำประโยชน์ให้แก่เขาทั้งหลายโดยมิได้คิดเพื่อจะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเครื่องตอบแทน

    ทรงเสียสละอย่างจริงใจแท้

    แม้บางครั้งพระองค์จะทรงเหน็ดเหนื่อยด้วยการบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างหนัก แต่พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างที่ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยนั้นแต่ประการใด

    ท่านได้พิจารณาถึงเนติแบบฉบับ รำพึงถึงความจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นแล้วก็ได้คำนึงต่อไปอีก

    "การที่ให้ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบฉบับ"

    ย่อมเป็นประการสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าสาวกไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบอย่างแล้ว จะเป็นเพียงอาศัยการอยู่ในพุทธศาสนาเพียงเพื่อหาความสุขอันไม่ถูกทาง

    เช่น ไม่มีเมตตา กรุณา ไม่มีการเสียสละ

    แม้แต่จะปฏิบัติธรรมวินัยถึงจะเป็นบรรพชิตแล้วก็ยังไม่ยอมเสียสละ เอาแต่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เอาแต่ความเพลิดเพลินในกามคุณ หาอุบาย วิธีการ เพื่อให้ได้มาซึ่งความโลภ โกรธ หลง

    แม้แต่การเที่ยวไปบิณฑบาตก็หาว่าเสียเกียรติ หรือว่าการแสดงธรรมก็ต้องมีกัณฑ์เทศน์เป็นเครื่องตอบแทน จะบำเพ็ญศาสนกิจก็ต้องหวังปัจจัยลาภ ในที่สุด ก็ลืมความเป็นสมณะเสียสิ้น

    นี้คือไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นเนติแบบฉบับ

    เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็น่าศึกษาอย่างยิ่งอยู่แล้ว

    เช่นเดียวกับ เรื่องราวอันสะท้อนวิถีแห่งการปฏิบัติของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็น่าศึกษา

    แน่นอน ย่อมมิใช่เป็นการศึกษาในลักษณะท่องบ่น

    ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ เป็นการศึกษาเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างเป็นจริง



    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01col01090949&day=2006/09/09
     

แชร์หน้านี้

Loading...