วิทยาศาสตร์กับธรรมชาติ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย paang, 2 กันยายน 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]

    (ภาพนี้สวยมาก ขออนุญาตเปลี่ยนมาใช้ภาพของคุณ brushed นะคะ)

    นักวัตถุนิยมและบรรดาผู้คลั่งไคล้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคยกล่าวเอาทำนองไว้ว่า...แม้นว่าความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จะมีส่วนก่อให้เกิดมลภาวะและความวิปริตผิดเพี้ยนต่อธรรมชาติหนักเพียงไรก็ตามที...แต่ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนั้น ก็ย่อมมีขีดความสามารถและเทคโนโลยีในการผ่อนคลายและหลีกเลี้ยงภัยพิบัติจากธรรมชาติได้มากที่สุด...???...???

    --------------------


    ถ้าหากมองกันแบบผ่านๆ-ผิวๆ...ก็คงจริงอย่างที่มันว่าไว้นั่นแหละท่าน อภิมหาพายุเฮอริเคนชื่อว่า แคทรีนา ที่ขึ้นฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐคราวนี้ ถ้าหากเป็นประเทศเล็กๆ กระจอกๆ ที่ไม่ได้มีความก้าวหน้าความมั่นคงทางเทคโนโลยีในการเตรียมป้องกัน, รับมือกันได้แบบถนัดๆ...ป่านนี้ ปริมาณศพที่นอนระเกะระกะก็อาจจะไม่แพ้ศพที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดอยู่บนชายหาดของประเทศต่างๆ ในคราวคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อไม่นานมานี้ หรืออาจจะนับศพกันได้เป็นหมื่นๆ แสนๆ ไม่ใช่เพียงตัวเลขเป็นร้อยๆ อย่างที่เกิดขึ้นในสหรัฐคราวนี้ เพราะถ้าหากคิดถึงความแรงความเร็วของลมพายุซึ่งมีการระบุว่าระดับ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดคลื่นในเมืองตากอากาศในมลรัฐมิสซิสซิปปีสูงถึง 10 เมตรขณะกระแทกฝั่ง...ก็น่าจะเรียกได้ว่าไม่ต่างไปจากคราวสึนามิซักเท่าไหร่นัก...


    -------------------


    แต่ถ้าหากมองกันให้ลึกลงไปกว่านั้น...ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความมั่นคั่งทางวัตถุ ที่ต้องแลกมากับความวิปริตผิดเพี้ยนของสภาพทางธรรมชาติและมลภาวะจำนวนมากมายมหาศาล เอาเช้าจริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้มีฤทธิ์เดชอะไรมากมายนัก หรือถึงแม้นจะพอทุเลาเบาบางตัวเลขความสูญเสียของไครต่อไครได้บ้าง แต่แม้นว่าจะมีระบบป้องกัน, เตือนภัยแน่นหนามั่นคงเพียงไรก็ตาม สุดท้ายมันก็ไม่สามารถเอาชนะผลพวงของการกระทำของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติได้เลย ว่ากันว่าลีลาของพายุเฮอริเคนในระยะหลังๆ แสดงออกถึงลักษณะที่พิลึกกึกกือไม่น้อย อย่างเช่น กรณีของพายุ เอเดรียน ที่เพิ่งเข่าไปโจมตีชายฝั่งประเทศเอลซัลวาดอร์และกัวเตมาลาในอเมริกากลางเมื่อไม่นานมานี้ การก่อตัวของพายุที่เกิดขึ้นรวดเร็วจนระบบเทคโนโลยีพยากรณ์อากาศตามไม่ทัน หรือเร็วกว่ากำหนดการเกือบ 1 เดือนและทิศทางการเคลื่อนที่แทนที่จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางเดิมๆ ที่เคยคาดคำนวนเอาไว้ กลับมีการสลับเงาแปลงร่างเบี่ยงเบนไปสู่ทิศทางที่มนุษย์และเทคโนโลยีไม่เคยคาดเดาเอาไว้ก่อน...ผลก็คือความพินาศวอดวายพร้อมๆ กับการแสดงออกถึงความพ่ายแพ้ของมนุษย์ต่อธรรมชาติอย่างชัดเจน...


    -------------------


    ยิ่งไปกว่านั้น...แม้นว่าความเสียหายในแง่ชีวิตของมนุษย์ที่อยู่ในโลกแห่งเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ จะมีจำนวนน้อยกว่าประเทศที่ล้าหลังทางวัตถุก็ตาม แต่ความเสียหายที่ซึมลงไปถึงระบบเศรษฐกิจและระบบความสัมพันธ์ต่างๆ ในสังคมที่เจริญแล้วนั้น ย่อมมีความวอดวายฉิบหายมากกว่ากันหลายต่อหลายพันเท่า ความพังพินาศที่ตามมากับพายุเฮอริเคนแคทรีนาในสหรัฐอเมริกาคราวนี้ ว่ากันว่าน่าจะทำสถิติสูงสุดในการสร้างความเสียหายให้กับสหรัฐเมื่อเทียบกับตัวเลขของบริษัทประกันภัยจากพายุเฮอริเคน หรือมันน่าจะส่งผลเสียหายไม่น้อยกว่า 35,000 ล้านดอลลาร์หรือในระดับ ล้านล้านบาท กันเลยมากกว่าครั้งที่พายุเฮอริเคนแอนดรูว์เคยสร้างความเสียหายเพียงแค่ 21,000 ล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ.1992...


    ------------------


    นอกเหนือไปจากนี้...พื้นที่ความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อคลังน้ำมันที่มีปริมาณมากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันดิบที่สหรัฐนำเข้ามาจากต่างประเทศ แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวพันไม่น้อยกับการทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งทะลุไปกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือนำความวอดวายมาให้กับผู้คนในระดับโลกอีกไม่รู้กี่หมื่นกี่ล้านแสนล้านตามไปอีก ความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าโดยตัวของมันเองนั่นเอง...ที่ทำให้ความเสียหายที่นอกเหนือไปจากร่างกายชีวิตของมนุษย์ มันเป็นไปอย่างหนักหน่วงลึกซึ้งไม่น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดต่อประเทศที่ล้าหลังและด้อยพัฒนาในด้านวัตถุและเทคโนโลยี...


    -----------------


    อย่างไรก็ตาม...สิ่งเหล่านี้จะทำให้บรรดาพลเมืองสหรัฐและโดยเฉพาะ...รัฐบาลสหรัฐ เกิดความตระหนัก-สำนึกกันมากน้อยเพียงใด??? ก็คงจะต้องคอยติดตามกันต่อไป ในฐานะที่รัฐบาลสหรัฐอันเป็นเสมือนหนึ่งผู้นำของโลกในด้านต่างๆ ไม่ใช่แค่ด้านความก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำในด้านแนวความคิดและในด้านอำนาจที่มีต่อโลกทั้งโลกอีกด้วย และภายใต้การนำของสหรัฐที่มักจะหันไปให้คุณค่ากับความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม, ความมั่งคั่งและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในประเทศของตนเป็นสำคัญ รัฐบาลนี้และประเทศแห่งนี้นี่แหละ...ที่ตัดสินใจถอนตัวออกมาจากข้อตกลงนานาชาติซึ่งพยายามร่วมมือกันในการลดมลภาวะและการทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างไม่แยแส แม้นจะมีเสียงขอร้องวิงวอนจากบรรดาประเทศเล็กๆ หรือประเทศหมู่เกาะที่ยังด้อยการพัฒนาทางวัตถุและขาดแคลนระบบการป้องกันภัยธรรมชาติที่หวั่นใจว่า ประเทศตัวเองอาจจะหายไปจากแผนที่โลก เนื่องมาจากกิจกรรมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการแสวงหาความมั่งคั่งของมนุษย์อย่างไม่บันยะบันยังก็ตามที เวรกรรมที่ประเทศสหรัฐประสบด้วยตัวเองในคราวนี้...จะก่อให้เกิดการคิดหน้าคิดหลังขึ้นมาบ้างหรือไม่...??? อันนี้...ก็ยังไม่ถึงกับแน่ใจซักเท่าไหร่??? เพราะวิวัฒนาการของพื้นผิวบนใบหน้าของนักการเมืองสหรัฐนั้น...ดูๆ แล้วก็ไม่แพ้นักการเมืองในประเทศไทยของเราเช่นกัน...???


    --------------


    ปิดท้ายด้วยวาทะวันนี้จาก สุนทโรวาทของอิหม่าม อาลี...ความรักความศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า...ก็คือการสลายความหลงโลกภายในจิตใจของท่านเสีย...





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2005

แชร์หน้านี้

Loading...