วิธีสร้างอิทธิฤทธิ์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Prophecy, 28 กันยายน 2012.

  1. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    [​IMG]

    018 วิธีสร้างอิทธิฤทธิ์



    ปัญหา อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีได้จริงหรือ ? ถ้ามีจริงจะมีวิธีสร้างได้อย่างไร ?



    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝ่ากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์...ก็ได้”

    “ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์... ถ้าภิกษุจะถึงหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง.... พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง .... ว่าในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้.....

    “ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม... ด้วยประการฉะนี้เถิด ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารฯ”


    อากังเขยยสูตร มู. ม. (๘๕-๘๙)
    ตบ. ๑๒ : ๖๐-๖๓ ตท.๑๒ : ๕๑-๕๓
    ตอ. MLS. I : ๔๓-๔๔

    จาก 84000.org 018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2012
  2. JAMESBOND1966

    JAMESBOND1966 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +100
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    อโยคุฬสูตร
    ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์​


    [๑๒๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จแต่ใจ?

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์พร้อมทั้งกายอันสำเร็จแต่ใจ.

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้?

    พ. เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ พร้อมทั้งกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้.

    [๑๒๐๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จด้วยใจ และทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ทั้งไม่เคยมีมาแล้ว.

    พ. ดูกรอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์ และประกอบด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยมีมา และประกอบด้วยธรรมอันไม่เคยมีมา.

    [๑๒๑๐] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ.

    [๑๒๑๑] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังค่ำ ย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้นกายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๒๑๒] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กายก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายคน คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

    [๑๒๑๓] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

    [๑๒๑๔] ดูกรอานนท์ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

    จบ สูตรที่ ๒​


    อโยคุฬวรรคที่ ๓
    มรรคสูตร
    ว่าด้วยปฏิปทาแห่งการเจริญอิทธิบาท

    [๑๒๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอ เป็นมรรคา เป็นปฏิปทาแห่งการเจริญอิทธิบาทเรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายในไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด
    เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้นเบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า

    วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใดเบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

    [๑๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ แล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

    [๑๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ แล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
    (แม้อภิญญาทั้งหกก็พึงขยายความออกไป)


    จบ สูตรที่ ๑​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2012
  3. JAMESBOND1966

    JAMESBOND1966 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +100
    คำทำนายของพระพรหมนารอดเกี่ยวกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    ผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
    <O:p
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านฤาษีสันตจิต(ลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระอริยคุณาธาร ปุสฺโส เส็ง และเป็นผู้ตรวจการผู้ช่วยภาค ๔ ท่านมีธุระที่ต้องเดินทางไปยังนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อก่อนยังเป็นอาณาเขตของประเทศไทย แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นอาณาเขตของประเทศลาวไปแล้วด้วยเหตุผลทางการเมือง หลังจากที่ท่านเสร็จธุระแล้ว พร้อมกับถือโอกาสพักอยู่ที่นั่น 1 เดือน วันหนึ่งท่านมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิปัสสนาธุระ และความเป็นไปของพระสงฆ์ที่นั่นที่มีการปฏิบัติย่อหย่อน ท่านพระอริยคุณาธาร ปุสฺโส เส็ง ก็ได้แนะวิธีตรวจสอบพระอรหันต์หรือบุคคลที่แอบอ้างว่าตนเองสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วตามวิธีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยวิธีพระปรมาภิเษก ซึ่งพระพุทธองค์มักใช้วิธีละมุนละไมนี้กับพระสาวกทุกองค์ แม้แต่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านก็เคยทดสอบตัวท่านเองและคณะศิษย์ของท่านมาแล้วหลายองค์ ด้วยวิธีของพระพุทธองค์ คือ
    <O:p</O:p
    1.ประเภทยอ พระองค์จะทรงสรรเสริญบุคคลที่สำคัญตนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ว่า มีคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้เท่าที่มีจริงตามจริง จะทรงเปรียบเทียบว่าดีกว่าผู้นั้นผู้นี้ หรือดีกว่าใครๆ เพื่อจะหยั่งดูจิตใจว่า เขายินดีในคำสรรเสริญหรือไม่

    2.ประเภทยวน จะทรงเนรมิตภาพวิสภาคารมณ์(อารมณ์ที่ทำให้เกิดกำหนัด) มาให้เห็นหรือทรงดนตรีโลกุตระให้ฟัง เพื่อหยั่งดูวาระจิตของผู้นั้นว่าจะกำหนัดยินดีในวิสภาคารมณ์ หรือเสียงดนตรีหรือไม่
    <O:p</O:p
    3.ประเภทยั่วโทสะ จะทรงเนรมิตภาพศัตรูคู่เวรให้ปรากฏและทำการยั่วโทสะด้วยประการต่างๆ เพื่อหยั่งดูวาระจิตของผู้นั้นว่ายังมีโทสะอยู่หรือไม่

    4.ประเภทหลอก จะทรงเนรมิตภาพบุคคลเจ้าทิฐิมาถามปัญหาธรรมที่สุขุมคัมภีรภาพ หรือพูดแนะนำในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นปัญหา เพื่อหยั่งดูภูมิปัญญาว่า จะรู้จักเหตุผลเพียงไร
    <O:p</O:p
    5.ประเภทขู่ จะทรงเนรมิต ภาพบุคคลผู้มีอำนาจเหนือมาขู่ว่ามีความผิดร้ายแรงเป็นชนิดอุกฤษฎ์ มหันตโทษจะต้องประหารชีวิตแล้วทำการประหาร เพื่อหยั่งดูวาระจิตของผู้นั้นว่า จะเกิดความหวาดสะดุ้ง มีความอาลัยในชีวิตหรือไม่

    หลังจากสนทนากับเจ้าคณะจังหวัดมาถึงช่วงนี้ พระพรหมนารอด(นารกะ)ก็มาปรากฏองค์ในลักษณะทรงเจ้าคณะจังหวัด อย่างไม่คาดฝัน ท่านว่า “ข้าพเจ้าพระพรหมเป็นผู้ทำนาย มิใช่เจ้าคณะจังหวัด ข้าพเจ้ารู้จักคัมภีร์บ้าง รู้ด้วยตนเองบ้าง จึงทำนายให้ฟังเรื่องพระพุทธศาสนาเพื่อให้ท่านได้สังเกตการณ์ต่อไป” พร้อมกับกล่าวต่อไปว่า “เรามิใช่พุทธศาสนิกชนแต่เป็นฤาษีชีไพร สำเร็จฌานสมาบัติ(เป็นผู้มุ่งดี) ตายแล้วได้อุบัติในพรหมโลก ไม่เป็นปฏิปักษ์กัน ฉะนั้นข้าพเจ้าสนใจในบวรพระพุทธศาสนาและได้สนับสนุนเสมอมา ข้าพเจ้าห่วงใยภัยอันตรายในพระศาสนา ในท่ามกลางอายุพระพุทธศาสนา จะมีภิกษุอลัชชีใจบาปนำลัทธิลามกเข้ามาแทรกปะปน ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ และยศศักดิ์เอากิเลสมาเป็นบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา จะลุกลามไปตามอารามต่างๆทำให้พระภิกษุที่ดีต้องเดือดร้อนระส่ำระสาย พลอยแปดเปื้อนมลทินไปด้วย เหล่าภิกษุอลัชชีจักกล่าวร้ายป้ายสีพระภิกษุดีๆด้วยประการต่างๆนานา เพื่อทำลายศรัทธาของสาธุชน แต่ด้วยบาปอกุศลบันดาลเขาจักทำการอันน่าบัดสียิ่งขึ้น จนประชาชนรู้ทันกลมารยาของเขาจักนั้นเขาจะพินาศไปตามๆกัน ที่นั้นจักมีพระภิกษุผู้วิเศษรู้เหตุการณ์ดีมีความรู้เชี่ยวชาญทางอภิญญา ชำระสะสางพระภิกษุอลัชชีออกจากคณะสงฆ์ทำให้คณะสงฆ์บริสุทธิ์สะอาดปราศจากคนชั่วปะปน พระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองและแผ่ไพศาลมากจนถึงนานาประเทศอย่างกว้างขวาง จักมีผู้เข้ามาทำนุบำรุงฟื้นฟูไปจนถึงอายุของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีกำหนด ๕,๐๐๐ พระวัสสะ”
    <O:p</O:p
    พระอริยคุณาธาร ท่านสงสัยจึงถามไปว่า “พระภิกษุผู้วิเศษนั้นเป็นใคร”
    <O:p</O:p
    พระพรหมนารอดท่านไม่ได้ระบุนามว่าเป็นใคร เพียงแต่กล่าวเป็นนัยว่า “ผู้ใดรู้จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ ผู้นั้นแลเป็นผู้วิเศษ ท่านผู้นั้นรู้เหตุการณ์ดีกว่าใครๆในยุคเดียวกัน”
    <O:p</O:p
    (คำทำนายนี้มีมาเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ นครจำปาศักดิ์) จากนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับที่ ๒๕ ปีที่ ๓ เดือนมกราคม(ฉบับหลัง) พ.ศ.๒๕๒๗ หน้า ๑๐๕-๑๐๗
    <O:p</O:p


    จากคำทำนายของท่านพระพรหมนารอดดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นปริศนามายาวนานปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแน่ชัดแล้วว่า “ พระภิกษุผู้วิเศษที่รู้จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ ” ตามที่พระพรหมนารอดได้กล่าวถึงนั้นก็คือ “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” เขตภาษีเจริญ ที่พวกเรารู้จักกันดีนั่นเอง หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านได้พยายามนำ วิชชาธรรมกาย ที่ท่านค้นพบโดยบังเอิญ มาเผยแผ่แก่สาธุชนเหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย พร้อมท้าทายให้ทุกคนมาพิสูจน์ในสิ่งที่ท่านค้นพบ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีกล่าวอ้างไว้ในพระไตรปิฎก แต่ไม่มีใครสามารถไขปริศนานี้ได้ จะเห็นว่ามีข้อความ คำว่า “ธรรมกาย” ปรากฎอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนาหลายที่ด้วยกัน แต่ก็ยังไม่มีท่านผู้ใดสามารถพิสูจน์ให้เห็นรูปลักษณ์และสภาวธรรมอันแท้จริงของธรรมกายว่ามีจริงอย่างไรได้ชัดแจ้งในทางปฏิบัติเลย ...คงคิดกันเพียงว่าเป็นคำอุปมาอุปมัยเชิงเปรียบเทียบของท่านผู้เข้าถึงธรรมแล้วทำให้ขันธ์ ๕ กลายเป็นของบริสุทธิ์สะอาดหมดจด เสมือนก้อนธรรมทั้งก้อน(ธรรมขันธ์) แต่ก็หารู้ไม่ว่า ธรรมกายนี้คือกายภายในที่มีอยู่ในกายของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่จำกัดว่าจะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต่างมีธรรมกายอยู่ภายในทั้งสิ้น แต่ภพภูมิที่สามารถเข้าถึง ธรรมกาย ได้นั้น จะต้องเป็นเวไนยสัตว์ที่อยู่ในสุคติภูมิเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงได้
    <O:p</O:p
    วิชชาธรรมกาย เป็นวิชชาที่สามารถพิสูจน์เรื่องนรก, เปรต, อสุรกาย, สวรรค์, พรหม, นิพพาน ในทางจิตภาวนาได้อย่างละเอียดละออแจ่มแจ้ง คือ ทั้งรู้และเห็นตามสภาพที่เป็นจริงตรงตามหลักธรรมที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งพรรณนาถึงภพภูมิต่างๆว่ามีลักษณะอย่างไร และทรงสภาวะเช่นไร ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมาก็ยังไม่มีพระเถระรูปใดหรือพระเกจิอาจารย์องค์ใดๆในยุคนี้ที่สามารถอธิบายและสอนวิธีพิสูจน์คำสอนที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบเรื่องภพภูมิ การเวียนว่ายตายเกิดของเหล่าสรรพสัตว์ ว่ามีจริงอย่างไรและทรงสภาวเช่นไรในแต่ละภพภูมิ ได้อย่างละเอียดละออเท่าหลวงพ่อวัดปากน้ำ...
    <O:p</O:p
    เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงค้นพบอริสัจ 4 และตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงค้นพบในทางจิตตภาวนาว่าเหล่าสรรพสัตว์ที่เกิดมาบนโลกนี้ล้วนผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน พระองค์จึงทรงสาวไปถึงต้นๆเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในแต่ละภพชาติของพระองค์ แล้วทรงรู้สึกสลดสังเวชในภพชาติที่ผ่านมาของพระองค์ และเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย แล้วจึงทรงค้นหาวิธีทางดับทุกข์นั้นๆ เพื่อหลีกพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในที่สุดทรงค้นพบวิธีทางดับทุกข์ นั่นคือ อริยสัจ 4 ดังนั้น ตราบใดที่คนเรายังมีความเชื่อว่าเกิดมาชาติเดียวตายหนเดียว ภพชาติข้างหน้าไม่มี ก็จะไม่มีใครอยากแสวงหาทางพ้นทุกข์หรือคิดทำความดีใดๆอย่างเต็มกำลัง จะมีแต่มุ่งแสวงหาความสุขบนโลกนี้โดยถ่ายเดียว โดยมิสนใจใยดีว่าผลแห่งการแสวงหาความสุขที่ว่านั้นจะได้มาโดยชอบธรรมหรือมิชอบธรรมก็ตาม จะส่งผลต่ออนาคตในภพข้างหน้าอย่างไร ต่อเมื่อใดที่คนนั้นมารู้โดยแจ้งชัดภายในว่า ทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ล้วนแต่เกิดมาภายใต้กฎแห่งกรรมต้องเวียนว่ายตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วน แล้วรู้สึกสลดสังเวช เบื่อหน่ายการเวียนว่ายตายเกิดนั่นแหละถึงจะคิดหาทางออกจากวัฏฏสงสารแห่งกองทุกข์นี้อย่างจริงจัง….ดังเช่นที่พระพุทธองค์ทรงเห็นภพชาติแต่อดีตมาก่อนแล้วจึงรู้สึกสลดสังเวชต่อการเวียนว่ายตายเกิดในคืนที่จะตรัสรู้...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2012
  4. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    คำทำนายของพระพรหมนารอดเกี่ยวกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->JAMESBOND1966<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_6765668", true); </SCRIPT>
    สมาชิก




    ผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
    <O[​IMG]


    วิชาในพระศาสนาพุทธมี ๔ อย่าง ๔ แบบ (๑) สุกขวิปัฏสโก (๒) เตวิชโช (๓) ฉลภิญโญ (๔) ปฏิสัมภิทัพปัฏโต เมื่อทุกคน มีอิทธิบาท ๔ ก็สามารถ เจริญให้เกิดในบุคคล นั้นๆได้โดยไม่ยาก วิชชาธรรมกาย เมื่อทำถึง ทำได้ มันก็เป็น วิชชา ๓ และทำให้ถึงอภิญญาหกได้ และทำให้ถึง ปฏิสัมภิทัพปัฏโต ตามแต่กำลัง บุญญาบารมีของแต่ละองค์ได้ครับ บางคนต้องฝึกก่อนจึงได้ บางคนไปได้ตอนเป็นอริยะเจ้าขั้นต้น บางคนไปได้ตอนเป็นอนาคามี บางไปได้ตอนจบกิจเป็นพระอรหันตื พร้อมไปด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ

    พระอรหันต์ถ้าไม่ใช่หน้าที่ของท่านๆจะไม่ทำ ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ ถึงท่านจะทำได้ แต่ไม่ทำ ดูตัวอย่าง พระญามาร ทำไมพระพุทธเจ้าปล่อยมาถึง สมัยพระอุปคุต จริงๆ พระอรหันต์ที่มีฤทธิ์ ออกมากมายในสมัยนั้น ทำไมต้องปล่อยมาถึง ๒๐๐ กว่าปี พระพุทธองค์ทำก็ใช้ฤทธิ์นิดเดียว ก็ย่อมทำได้ พระองค์ ท่านไม่ใช่ เป็นคู่ปรับ ท่านพยากรไว้ พญามารเป็นคู่ปรับ กับพระอุปคุต หลวงพ่อวัดปากน้ำก็เหมือนกัน พระอรหันต์ในสมัยพุทะกาล ท่านได้เยอะแยะ แต่ไม่ใช่วิสัยของท่านที่จะสอนต่างหาก ต้องมาถึงในสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำ แล้วพันปีนี้ เป็นพันปีที่ ๓ ที่องค์สมเด็จพญากรณ์ไว้ จะมากไปด้วยพระอรหันต์ วิชา สาม สายหลวงพ่อฤาษี ยิ่งสายตรงใหญ่เลย นี่เห็นไหม มโนมยิทธฺ มีฤทธิ ทางใจ ธรรมกาย กับมโนมยิทธิ ต่างกันตรงไหนล่ะ ต่างกันที่ ตรงปฏิบัติ ตรงวิธีทำ แต่อย่างไหนมันไปง่ายกว่ากัน เท่านั้นเอง หลวงพ่อฤาษี ท่าก็ไปศึกษา กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ มาแล้ว ท่านบอก วิธีนี้เท่านั้น ที่ง่ายและเร็วที่สุด ไม่มีวิธีไหนอีกแล้ว ท่านลองมาหมด

    วิธีอื่น ท่านก็สอนมาหมด ตั้งแต่ สุกขวิปัฏสโก เตวิชโช ฉลภิญโญ ปฏิสัมภิทัพปัฏโต ย่างนี้มันง่ายท่านจึงนำมาสอนครับ ในยุคนี้ผมก็กล้ากว่าวได้ว่าไม่มี ใครสอนเหมือนท่านอีกแล้ว เข้าใจง่ายสอนง่าย มีข้อให้พิสูตร ได้อีกต่างหาก ถ้าเอาจริง ถ้าใครชอบแบบไหน กองไหน ก็นำประพฤติปฏิบัติ เอาต่างหาก จริงๆท่านต้องการให้ทุกคนพ้นทุกข์ ถ้าไปไม่ได้ อย่างน้อย ก็ให้ไปอยู่ สวรรค์ชั้น ดาวดึง พระศรีอริยะเมตตรัย มาตรัสรู้เป็นพระพุทะเจ้า ฟังธรรมจากพระองค์ สำเร็จมรรคผล ในสมัยท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2012
  5. JAMESBOND1966

    JAMESBOND1966 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +100
    กัณฑ์ที่ ๑๑
    ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
    วันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๗

    โดย หลวงพ่อวัดปากน้ำ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
    เอสานิสงฺโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
    น ทุคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีติ​



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วย ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติการลงโดยสมควรแก่เวลา

    เริ่มต้นแห่งธรรมที่รักษาผู้ ประพฤติธรรม ตามวาระพระบาลีว่า

    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมนั้นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมที่บุคคลสั่งสมไว้ดีแล้วนำความสุขมาให้
    เอสานิสงฺโส ธมฺเม สุจิณฺเณ ข้อนี้แหละเป็นอานิสงส์ในธรรมความประพฤติดี
    น ทุคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีติ ผู้ประพฤติธรรมดีเรียบร้อยไม่ไปสู่ทุคติ

    นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามได้ความเพียงแค่นี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้นเป็นไฉน?

    เพราะธรรมคือความดี จะขีดขั้นลงไปเพียงแค่ไหน ความดี ไม่มีความชั่วเข้าเจือปนเลยนี่ก็เป็นโลกุตรธรรมแท้ๆ ข้ามขึ้นจากโลก เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ๆ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสราคธาตุสราคธรรมทีเดียว นี้ส่วนหนึ่ง
    คำว่าธรรมแยกออกเป็นหลายประการ ท่านแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธานแก้ในศัพท์ว่า ธรรม ธมฺโม คำว่า ธรรมนั้นแยกออกไปถึง ๔ คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสัตตนิชีวธรรม

    แยกออกไปเป็น ๔ คุณธรรมให้ผลตามกาล

    ฝ่ายดีก็ให้ผลเป็นสุข ฝ่ายชั่วก็ให้ผลเป็นทุกข์ นี้ก็เป็นคุณธรรมฝ่ายดีฝ่ายชั่ว หรือดีฝ่ายเดียวให้ผลเป็นสุขฝ่ายเดียว นั้นก็เรียกว่าคุณธรรม
    เทศนาธรรมที่พระองค์ตรัสเทศนา ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในเบื้องปลาย
    ท่านวางหลักไว้

    ไพเราะในเบื้องต้น คือ ศีล บริสุทธิ์กาย วาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงศีล
    ไพเราะในท่ามกลาง คือ สมาธิ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงสมาธิ
    ไพเราะในเบื้องปลาย คือ ปัญญา ตลอดจนกระทั่งถึงดวงปัญญา นี้ก็คือเทศนาธรรม

    ปริยัติธรรม ข้อปฏิบัติอันกุลบุตรจะพึงเล่าเรียนศึกษา ตั้งต้นแต่นักธรรมตรี โท เอก เปรียญ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ หลักสูตรวางไว้ในประเทศไทย การศึกษาปริยัติมีเท่านี้ นี่ที่เรียกว่าปริยัติธรรม
    นิสัตตนิชีวธรรม ยกเอารูปออกเสีย กับวิญญาณออกเสีย เหลือแต่ เวทนา สัญญา สังขาร สามอย่างนี้ท่านจัดเป็นนิสัตตนิชีวธรรม ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต
    แสดงหลักไว้ดังนี้แสดงธรรมออกไปเป็น ๔ คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสัตตนิชีวธรรม แสดงสี่ดังนี้
    ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม แต่คำว่าธรรมนี้ แสดงตามแบบปริยัติ ไม่ใช่หนทางปฏิบัติ แบบทางปฏิบัติศาสนามี ๓ ทาง คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

    ถ้าแบบทางปฏิบัติ คำว่าธรรม กล่าวถึงดวงธรรมทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เป็นดวงธรรมทีเดียว เป็นธรรมแท้ๆ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ มนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด กายโสดา กายโสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด เรียกว่า ธมฺโม นี่ทางปฏิบัติ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ ธรรมดวงนั้นเป็นธรรมสำคัญ ทว่าหลักก็ธรรมอันนั้นเป็นธรรมทีเดียว

    ธรรมนั้นถ้าว่าจะแยกออกไป ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่จะได้ธรรมดวงนั้นมา ต้องกล่าวเริ่มแรก มนุษย์หญิงชายทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บริสุทธิ์สนิท ทั้งกาย วาจา จิต ไม่มีผิดจากความประสงค์ของพระพุทธเจ้าอรหันต์เลย

    บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต ไม่ฆ่าสัตว์ แต่เวทนาปรานีต่อสัตว์ ลักทรัพย์สมบัติก็ไม่มี มีแต่ให้สมบัติของตนแก่คนอื่น ประพฤติล่วงผิดในกามก็ไม่มี หรือประพฤติล่วงอสัทธรรมประเพณีก็ไม่มี ดังนี้สนิททีเดียว พูดจริงทุกคำไม่มีปด เสพสุรายาเมาเป็นที่ตั้งของความประมาท ไม่มี วัตถุที่ทำให้เมาเป็นที่ตั้งของความประมาทก็ไม่ใช้สอย

    ในศีลทั้ง ๕ นี้ตลอด ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล๒๒๗ ตลอด สะอาด สะอ้านทั้งกาย กายก็ ไม่มีร่องเสีย วาจาก็ไม่มีร่องเสีย ใจก็ไม่มีร่องเสีย ใช้ได้ทั้งกายวาจา ใจ ตรงกับบาลีกล่าวไว้ว่า

    สพฺพปาปสฺส อกรณํ ชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ไม่กระทำเป็นเด็ดขาด
    กุสลสฺสูปสมฺปทา ดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำจนสุดสามารถ
    สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้ผ่องใส

    อันนี้เมื่อบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียแล้ว นี้เรียกว่าธรรม โดยทางปริยัติ ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ

    ถ้ากลั่นเข้ามาถึงเจตนาๆ ก็บริสุทธิ์ บังคับกายบริสุทธิ์ บังคับวาจาบริสุทธิ์ บังคับใจบริสุทธิ์ นั่นก็เป็นทางปริยัติอยู่เลย ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ เข้าถึงทางปฏิบัติ เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์เจตนา เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ นี้ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นดวงๆ ไปอย่างนี้

    ธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์ โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์ละเอียดโต ขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหม โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียด โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหม โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหมละเอียด โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่งเป็น ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั้นก็เรียกว่าเป็นธรรมทั้งนั้น
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรม หน้าตักวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรมละเอียด โตขึ้นไปอีก ๕ วา
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายโสดา ๕ วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายโสดาละเอียด ๑๐ วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระสกทาคา ๑๐ วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระสกทาคาละเอียด ๑๕ วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระอนาคา ๑๕ วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระอนาคาละเอียด ๒๐ วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระอรหัต ๒๐ วา กลมรอบตัว

    เป็นลำดับกันไปอย่างนี้ นั้นแหละเรียกว่า ธมฺโม ลึกอย่างนี้ นี่ทางปฏิบัติเห็นปรากฏชัด เข้าถึงธรรม ดังกล่าวแล้วนี้ ตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ไป จนกระทั่งถึงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทีเดียว นั่นแหละคำที่เรียกว่า ธมฺโม ละ

    นั่นแหละธาตุธรรมอันนั้นแหละ รักษาผู้ประพฤติธรรมละ ถ้าเห็นเข้าแล้วก็รักษาผู้นั้น ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว อย่าทิ้งท่านก็แล้วกัน อย่าผละจากท่าน ถ้าว่าห่างจากธรรมนั้น ไม่รับรอง ถ้าติดอยู่กับธรรมนั้นรับรองทีเดียว ทั้งกายวาจา ใจ บริสุทธิ์ ไม่มีรองเสียกัน เสียไม่มีกัน

    ถ้าว่าไปเสียเข้า ดวงธรรมนั้นเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ลงโทษเอาเจ้าของผู้ประพฤติผู้กระทำ ถ้าไม่ล่วงล้ำแต่อย่างหนึ่งอย่างใด สะอาด สะอ้าน ก็ใสหนักขึ้นทุกที ใจหยุดนิ่งหนักขึ้น ใสหนักขึ้น นั่นแหละ ธมฺโม ละ คำที่เรียกว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น

    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จะแสดงต่อไป

    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมดวงนั้นแหละ ถ้าว่าสั่งสมไว้ดีแล้ว สะอาดหนักขึ้น เสมอตัวสะอาดหนักขึ้น ใสหนักขึ้น เสมอตัว ใสไปแค่ไหน เสมอตัวไปแค่นั้น ใสหนักขึ้นไปแล้ว เสมอตัวไปแค่นั้น ใสหนักขึ้นไป เสมอตัวไปแค่นั้นอีก อย่างนี้เรียกว่าสั่งสมดีจริง ธรรมอันบุคคลสั่งสมดีแล้ว

    สุขวาหา นำความสุขมาให้ ถ้าอยู่กับใครขนาดนี้ ใจก็เบิกบาน รื่นเริงบันเทิง ชื่นแช่ม แจ่มใส ไม่มีความทุกข์ เศร้าหมอง ขุ่นมัวใดๆ เพราะธรรมนั้นนำความสุขมาให้ นี่หลักของธรรมที่แสดงไว้แค่นี้

    เอสานิสงฺโส ธมฺเม สุจิณฺเณ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดี
    ธมฺเม สุจิณฺเณ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมประพฤติดี ประพฤติดีขนาดนี้ก็ได้อานิสงส์ แล้วก็เป็นสุขทีเดียว

    น ทุคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ประพฤติไปอย่างนั้น มั่นคงอย่างนั้น ไม่ไปสู่ทุคติ ผู้ประพฤติเรียบร้อยเช่นนั้นดี สะอาดสะอ้านเช่นนั้น ไม่ไปสู่ทุคติเด็ดขาดทีเดียว ตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์ เป็นมนุษย์ อยู่ก็ไม่ได้รับทุคติ มีแต่สุคติฝ่ายเดียว
    นี่แหละเลือกเอาเถอะ ให้รู้จักหลักจริงอย่างนี้ รู้จักหลักจริงอันนี้ เราเป็นภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดีประพฤติดีจริงตรงเป้าหมายใจดำ เห็นดวงแก้วใสเช่นนี้ไม่ค่อยจะได้ ภิกษุหรือสามเณรก็เลอะเลือนไปอุบาสก อุบาสิกาก็เหลวไหลไป ไม่อยู่กับธรรมอยู่เนืองนิตย์

    ความสุขเราปรารถนานัก แต่ว่าความประพฤติ ไขว้เขวไปเสียอย่างนี้ อย่างนี้หลอกตัวเองนี่ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นเท่านั้น ไม่ต้องไปสงสัย

    หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทางทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซิ ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย
    มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นได้ ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว

    เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านละก็มรรคผลไม่ไปไหน อยู่ในเงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรง แต่ว่าผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเอง โกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำไว้ให้มั่น ท่านได้ยืนยันอีกใน อคฺคปฺปสาทสุต ว่า

    อคฺคโต เว ปสนฺนานํ อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ
    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร,
    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ วิราคูปสเม สุเข,
    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร,
    อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ, อคฺคํปุญฺญํ ปวฑฺฒติ,
    อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ,
    อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี อคฺคธมฺมสมาหิโต,
    เทวภูโต มนุสฺโส วา อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ ฯ

    นี่วางหลักอีกหลักหนึ่ง แปลเป็นภาษาไทยว่า เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วด้วยความเป็นของเลิศ เลิศอย่างไร? รู้จักธรรมอันเลิศนั้น ธรรมอะไร?

    ธรรมอันเลิศ คือธรรมที่แสดงมาแล้ว เป็นธรรมอันเลิศทั้งนั้น ถ้าว่าเลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศ ไม่ปล่อยไม่วางไม่ละกันละเข้าถึงก็จด ไม่ปล่อยไม่วางกันละ จดไม่วางไม่ปล่อย วางกึกลงไปตั้งแต่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเรื่อยเข้าไป จนกระทั่งได้ขึ้นไปถึงแค่ไหน ดวงไหนไม่ปล่อยไม่ละกันละ ใจจดอยู่กลางดวงนั่นแหละ ถ้าจดอยู่ขณะนั้นละก็ เลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศละ ของเลิศก็ต้องไม่ปล่อย ถ้าปล่อยมันก็ไม่เลิศ ไม่ปล่อยกันละคว้ากันแน่นทีเดียวดวงนั้น ตลอดตั้งแต่ดวงต้นจนกระทั่งถึงดวงพระอรหัต ได้แค่ไหนยึดแค่นั้น มั่นเป็นขั้นๆ ไป เมื่อรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ ทีนี้ก็เป็นชั้นๆ ไป

    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ คือธรรมกายทีเดียว ธรรมกายโคตรภู ธรรมกายโคตรภูละเอียด ธรรมกายโสดา โสดาละเอียด ธรรมกายสกทาคา สกทาคาละเอียด ธรรมกายอนาคา อนาคาละเอียด ธรรมกายอรหัต อรหัตละเอียด นั่นแหละ ธรรมกาย นั่นแหละพระพุทธเจ้าผู้เลิศ

    ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยม ทักขิไณยบุคคลเป็นอย่างไร ถ้าใครได้ไปทำบุญทำกุศลกับท่านเข้า ได้ผลในปัจจุบันทันตาเห็น ได้เป็นเศรษฐี คหบดีทีเดียว ได้เป็นกษัตริย์ เศรษฐีทีเดียว ได้สมบัติในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว นั่นแหละเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยมอย่างนั้น
    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ
    วิราคูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบสุข สงบเป็นสุข นั่นแหละ ดวงนั้นตลอดขึ้นไปนั่นแหละ อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ซึ่งเป็นธรรมอันปราศจากกำหนัดยินดี สงบสุข เมื่อเข้าไปอยู่ในกลางดวงนั่นแล้ว หมดความกำหนัด ยินดี สงบ ระงับ เป็นสุขแสนสุขทีเดียว ทุกดวงไป

    ตั้งต้นแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่ออยู่กลางดวงนั้นแล้วความกำหนัดยินดีไม่มี สงบ ระงับ เป็นสุขทีเดียว ถ้าว่าต้องการสุขละก็ไปอยู่นั่น ถ้าว่าต้องการทุกข์ละก็ออกมาเสีย ก็ได้รับทุกข์

    ต้องการสุขก็เข้าไปอยู่กลางดวงธรรมนั่น ทุกดวงไปเป็นสุขแบบเดียวกันหมด
    ที่ปรากฏว่า วิรา คูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบระงับเป็นสุข
    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ ธรรมกายละเอียด กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมละเอียด นี่เป็นหมู่ของชน เป็นหมู่ของมนุษย์ ธรรมกายละเอียด ของโคตรภู ธรรมกายละเอียดของโสดา ธรรมกายละเอียดของสกทาคา ธรรมกายละเอียดของอนาคา ธรรมกายละเอียดของพระอรหัต นี่แหละ อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ

    ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด พระสงฆ์เป็นบุญเขตอย่างยอด ถ้าใครได้บริจาคกับพระสงฆ์ หรือได้ไปเลื่อมใสในพระสงฆ์เข้าก็ได้ผลปัจจุบัน ได้ผลเป็นมหัศจรรย์ทีเดียว เป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอด
    อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ ได้ถวายทานในท่านผู้เลิศแล้ว
    อคฺคํปุญฺญํ ปวฑฺฒติ บุญอันเลิศย่อมเจริญ ได้ถวายทานในพระพุทธเจ้า ได้ถวายทานในธรรม ได้ถวายทานในพระสงฆ์ ในท่านผู้เลิศเหล่านั้น บุญอันเลิศย่อมเจริญ ได้สมบัติปัจจุบันทันตาเห็น ไม่อย่างนั้น ละโลกนี้ไปแล้วก็ได้สมบัติ ในเทวโลก พรหมโลก สมมาดปรารถนา ได้ผลทีเดียว

    อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ อายุ วรรณ อายุคือมีอายุยืน วรรณะผิวพรรณ วรรณแห่งร่างกายงดงาม เป็นของที่เลิศย่อมเจริญแก่เขาที่ได้ถวายทานนั้น ยศ เกียรติคุณ ความสุข และกำลังอันเลิศก็ย่อมเจริญแก่เขา
    อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี ผู้มีปัญญาถวายทานแก่ท่านผู้เลิศแล้ว
    อคฺคธมฺมสมาหิโต, ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ
    เทวภูโต มนุสฺโส วา จะไปเกิดเป็นเทวดา หรือว่าจะไปเกิดเป็นมนุษย์
    อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ ย่อมถึงเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ เกิดเป็นเทวดาก็ได้เกิดในวิมานทีเดียว จะเกิดเป็นมนุษย์ก็เกิดในปราสาททีเดียว ถึงซึ่งความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ ไม่ต้องทำไร่ไถนาค้าขายใดๆ เกิดในกองสมบัติทีเดียว
    นี่เป็นหลักยืนยันว่า ธรรมนั่นแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติได้จริงอย่างนี้ ไม่คลาดเคลื่อน อย่าไปต้องสงสัยอะไรเลย อย่าระแวงอะไรเลย ถ้าไม่สงสัยก็ให้มั่นอยู่ในธรรม จะทำอะไรก็ช่าง

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสหรือไม่
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น ตลอดกายธรรมละเอียด กายธรรมโสดาโสดาละเอียด กายธรรมสกทาคา สกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา อนาคาละเอียด กายธรรมพระอรหัตอรหัตละเอียด

    นี่แหละเรียกว่า ธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่หรือ สุขธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข อยู่ในกลางดวงธรรมนั้น จะปฏิบัติให้ถูกหลักพระพุทธศาสนาหลักพระพุทธศาสนาอยู่ในกลางดวงธรรมนั้น ไม่ได้อยู่ที่อื่น

    หลักพระพุทธศาสนาไม่มีอื่น มี ดวงศีล สมาธิ ปัญญา คือศีล สมาธิ ปัญญา
    เมื่อจัดออกมาทางกาย วาจา ไปอีกเรื่องหนึ่ง
    จัดไปทางเจตนาก็อีกเรื่องหนึ่ง

    ถ้าจัดเข้าไปในดวงธรรม ก็คือ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทีเดียว เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ใส บริสุทธิ์สนิท

    เมื่อเป็นมนุษย์ก็ปฏิบัติอยู่ในดวงธรรมดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนั่น

    ที่จะเข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะต้องเข้าถึงดวงธรรมก่อน ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ ดวงปฐมมรรค หรือดวงเอกายนมรรค เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เหมือนกันและหยุดอยู่กลางดวงธรรมนั่นแหละ

    นี่จะปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาแหละ ปฏิบัติทางธรรมได้หลักแล้ว ได้หลักศาสนาแล้ว ปฏิบัติทางธรรมต่อไป

    ปฏิบัติทางธรรม ก็ต้องให้มั่นคง ให้นิ่งอยู่กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจหยุดอยู่ กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    พอหยุดก็หยุดในกลางดวงของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
    หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางใจที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอหยุดเข้ากลางของหยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา
    หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้ากลางของหยุด กลางของกลาง ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอหยุดเข้าก็ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอหยุดถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลางกลางของกลาง ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด

    ดำเนินไปในกายมนุษย์ละเอียดแบบนี้แหละ ก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กายธรรมละเอียด เป็นลำดับนั้นไป ทั้ง ๑๘ กาย ถึงตลอดแบบเดียวกันนี้

    นี่ปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา คือ ไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติเข้าไปข้างใน ถ้าปฏิบัติถอยออกมาข้างนอก ก็กาย วาจา บริสุทธิ์ ว่ากันเจตนาบริสุทธิ์ไปอีก กว้างๆ เป็นปริยัติไป

    ถ้าปฏิบัติต้องเดินให้ตรงเข้าไปข้างใน นั่นเป็นทางปฏิบัติ เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้วก็ ปฏิเวธเป็นชั้นๆ เข้าไป

    เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์หยาบนี้ เข้าไปในทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด
    พอถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายมนุษย์ ละเอียดเข้าแล้ว นั่นเป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้วตามส่วน
    เข้าไปในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด จนกระทั่งถึงกายทิพย์ก็เป็นปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายทิพย์เข้าแล้ว
    เห็นกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธ
    เห็นกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ
    เห็นกายอรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ
    เห็นกายอรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธ เป็นชั้นๆ เข้าไป เข้าถึงกายธรรม เข้าถึงกายธรรม ก็เป็นปฏิเวธ เข้าถึงกายธรรมละเอียดก็ เป็นปฏิเวธ แบบเดียวกันนั่นแหละ

    จะปฏิบัติไปอย่างไรก็ว่าไปเถอะปริยัติ เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้วก็เข้าถึงปฏิเวธเป็นลำดับไป
    เข้าถึงโสดา โสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด เป็นลำดับไป
    ไม่เคลื่อนละ ไม่เคลื่อนหลัก เอาหลักมาปรับดูเถอะ ปริยัติเอามาปรับดูเถอะ
    แต่ว่าผู้เรียนปริยัติ ผู้เรียนบาลีท่านไม่เห็น ท่านก็เรียนตามศัพท์ของท่านไป เมื่อท่านเป็นท่านก็เรียนตามความเห็นของท่าน

    นี่เรื่องนี้สำคัญเพราะเหตุนั้น การปฏิบัติศาสนาหรือนับถือศาสนา ถ้าว่าศึกษาไม่ได้หลักพระพุทธศาสนาแล้ว จะนับถือไปสัก ๕๐ ปีก็เอาเรื่องไม่ได้ ถ้าได้หลักแล้วจึงจะเอาเรื่องได้ เพราะฉะนั้น วัดปากน้ำได้หลักแล้ว ต่อไปหมดประเทศไทยจะต้องถือเอาวัดปากน้ำนี่เป็นหลัก ในทางปฏิบัติ ส่วนปริยัติน่ะ ไม่ต้องเอาวัดปากน้ำ วัดปากน้ำต้องไปเอาเขามาอีก เอามาจากตำรับตำราที่เขาตั้งไว้เป็นหลักสูตรในประเทศไทย ถึงกระนั้นปริยัติวัดปากน้ำก็ไม่แพ้ฝั่งพระนคร ชนะฝั่งพระนครหลายวัดเหลือไม่กี่วัดที่จะล่วงล้ำไป แต่ส่วนปฏิบัตินั้นชนะหมดทั้งประเทศไทย วัดใดวัดหนึ่งสู้ไม่ได้ เพราะวัดใดวัดหนึ่งสั่งสมพวกมีธรรมกายมากไม่ได้ เหมือนวัดปากน้ำ

    วัดปากน้ำสั่งสมมากเวลานี้ ขนาด ๑๐๐ ขาดเกินไม่มาก ทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระ เณร ๑๐๐ ขาดเกินไม่มาก หรือจะกว่าก็ไม่รู้ แต่ว่ายังไม่ได้สำรวจถี่ถ้วน แล้วจะสำรวจให้ดูว่ามีเท่าใด มากอยู่ แล้วพวกที่ปฏิบัติใช้ได้ทีเดียว

    ที่ใช้ได้อย่างสูงนั้นผู้เทศน์ต้องคอยคุม ถ้าไม่คุมละก็ไปสูงไม่ได้ มารมันปัดลงต่ำเสีย มันแนะนำให้วางเป้าหมายใจดำเสีย ไม่จดอยู่ที่เป้าหมายใจดำ ที่ผู้เทศน์คอยคุมไว้ละก็ถูกเป้าหมายใจดำ ตรงกันข้ามกับพวกพญามาร ถ้าว่าไม่คุมไว้แล้วเป็นลูกศิษย์พญามารเสียแล้ว มารเอาไปใช้เสียแล้วอย่าง นี้มาก
    เหตุนั้นเมื่อมาพบของจริงเช่นนี้แล้ว ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งอุบาสกอุบาสิกา ควรปล่อยชีวิต ค้นเอาของจริง รักษาของจริงไว้ให้ได้ เมื่อได้แล้วละก็ จะยิ้มในใจของตัวอยู่เสมอไป มีความเดือดร้อนใดๆ เห็นว่าพระพุทธศาสนานี่เป็น นิยานิกธรรมจริง นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง ในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ นี่แหละ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรม ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมนั่นแหละ สั่งสมไว้ดีแล้ว นำความสุขมาให้แท้ๆ

    เหตุนี้แหละที่ได้ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ เพื่อเป็นปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดาสโมสร ในสถานที่นี้ถ้วนหน้า

    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า

    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความแต่เพียงเท่านี้
    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

    ***************************************​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2012
  6. JAMESBOND1966

    JAMESBOND1966 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +100
    โอวาทหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    " ....ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย"

    เรื่อง สำคัญตนว่าได้บรรลุอรหัตตผล

    กิร ดังได้สดับมา ยังมีภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนาของพระบรมศาสดาของเรานี้ องค์หนึ่งมีพรรษาแก่กว่าอีกองค์หนึ่งมีพรรษาอ่อนกว่า เป็นสหธรรมิกที่มีความรักใคร่ในกันและกัน แต่จากกันไปเพื่อประกอบความเพียร องค์อ่อนพรรษากว่าได้สำเร็จพระอรหันตผลเป็นพระอรหันต์ก่อน องค์แก่พรรษาได้แต่เพียรกำลังสมาธิสมาบัติ และเป็นผู้ชำนาญในวสี จะพิจารณาอธิษฐานให้เป็นอย่างไรก็ได้ดังประสงค์ และเกิดทิฏฐิสำคัญว่ารู้ทั่วแล้ว ส่วนองค์หย่อนพรรษาครั้นพิจารณาดูก็ทราบได้ด้วยปัญญาญาณ จึงสั่งให้องค์แก่พรรษากว่าไปหาท่านองค์นั้นไม่ไป สั่งสอนสามครั้งก็ไม่ไป องค์หย่อนพรรษาจึงไปหาเสียเอง แล้วยังกันและกันให้ยินดี พอสมควรแล้วจึงพูดกับองค์แก่กว่าว่า ถ้าท่านสำคัญว่ารู้จริง ก็จงอธิษฐานให้เป็นสระในสระให้มีดอกบัวหลวง ๑ ดอก ในดอกบัวหลวงให้มีนางฟ้อนสวยงาม ๗ นาง องค์แก่พรรษาก็เนรมิตได้ตามนั้น ครั้นเนรมิตแล้วองค์อ่อนพรรษากว่าจึงสั่งให้เพ่งดู ครั้นเพ่งดูนางฟ้อนอยู่ กามราคะกิเลสอันสั่งสมมาแล้วหลายร้อยอัตตภาพก็กำเริบ จึงทราบได้ว่าตนยังไม่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ครั้นแล้วองค์อ่อนพรรษาจึงเตือนให้รู้ตัว และให้เร่งทางปัญญาวิปัสสนาญาณ องค์แก่พรรษากว่าครั้นปฏิบัติตามทำความพากเพียรประโยคพยายามอยู่ มิช้ามินานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสวะบุคคลในพระพุทธศาสนาด้วยประการฉะนี้

    อปรา ยังเรื่องอื่นอีก มีเนื้อความอย่างเดียวกันแต่นิมิตต่างกัน คือให้เนรมิตช้างสารซับมันตัวร้ายกาจวิ่งเข้ามาหา หลงรูปเนรมิตของตนเอง เกิดความสะดุ้งตกใจกลัวเตรียมตัววิ่งหนี เพื่อนสหธรรมมิกผู้ไปช่วยเหลือได้ฉุดเอาไว้ และกล่าวตักเตือนสั่งสอนโดยนัยหนหลัง จึงหยุดยั้งใจได้และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสหธรรมมิกผู้ช่วยเหลือนั้น ไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสวะบุคคลในพระบวรพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน แม้เรื่องนี้ก็พึงถือเอาเป็นทิฏฐานุคติ เช่นเดียวกับเรื่องก่อนนั้นแล

    นี้เป็นนิทานที่เป็นคติสำหรับผู้ปฏิบัติจะพึงอนุวัติตามคือ ผู้เป็นสหธรรมิก ประพฤติธรรมร่วมกันทุกคน จงมาเป็นสหายกันในกิจที่ชอบ ทั้งที่เป็นกิจภายใน ทั้งที่เป็นกิจภายนอกยังประโยชน์ของกันและกันให้สำเร็จด้วยดีเถิด
     
  7. Kimzo

    Kimzo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    556
    ค่าพลัง:
    +1,046
    ไม่มีวิธีสร้างอิทธิฤทธิ์สำหรับคนธรรมดาบ้างหรอคะ? เห็นมีแต่ของภิกษุ...- -;
     
  8. JAMESBOND1966

    JAMESBOND1966 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +100

    ถ้าบุคคลธรรมดาต้องการฝึกจิตเพื่อสร้างอิทธิฤทธิ์โดยไม่ต้องบวชก็สามารถทำได้ครับ ด้วยการฝึกสมาธิแบบเพ่งกสิน 10 ให้ได้ฌาน 4 ก่อน ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้ฤทธิ์แบบใด เช่น หากฝึกกสินดินก็สามารถเดินบนน้ำได้ กล่าวคือเวลาจะทำฤทธิ์ก็เข้ากสินดินจนจิตนิ่งเป็นเอกัคคตาจิต(ฌาน 4) แล้วถอยจิตออกมานิดนึงระดับอุปจาระสมาธิ(เป็นสมาธิระดับที่จิตสามารถคิดนึกวิตกวิจารได้)แล้วอธิษฐานให้แม่น้ำ คูคลองที่เราจะเหยียบย่ำไปนี้จงเป็นผืนแผ่นดิน จากนั้นก็เข้ากสินดินอีกครั้งจนจิตนิ่งถึงระดับฌาน 4 แล้วถอยจิตออกมาระดับอุปจาระสมาธิแล้วอธิษฐานซ้ำอีกครั้ง แม่น้ำ คูคลองบริเวณที่เรากำหนดก็จะกลายเป็นแผ่นดินให้เราเหยียบย่ำไปได้ แต่คนภายนอกจะเห็นเป็นแม่น้ำเหมือนประหนึ่งว่าเราเดินบนน้ำ แต่จิตเราจะเห็นเป็นแผ่นดิน ,

    กรณีที่อยากจะเรียกฝนได้ก็ให้ฝึกกสินน้ำจนจิตนิ่งถึงระดับฌาน 4(เอกัคคตาจิต) แล้วก็กำหนดอาณาบริเวณที่เราต้องการให้เกิดฝน เมื่อจิตนิ่งได้ที่ก็ถอยจิตออกมาระดับอุปจารสมาธิเพื่ออธิษฐานจิตให้บริเวณนั้นเกิดฝนแล้วก็เข้ากสินน้ำอีกครั้งจนจิตนิ่งถึงฌาน 4 แล้วถอยจิตออกมาระดับอุปจารสมาธิแล้วก็อธิษฐานซ้ำอีกครั้งก็จะเกิดฝนหรือประสงค์ให้เกิดแอ่งน้ำตรงไหนก็ได้ ดังเช่น หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ สมัยที่ท่านยังเป็นพระหนุ่มเที่ยวเดินธุดงค์ไปพม่ากับลูกศิษย์ บุกป่าฝ่าดงจนเหน็ดเหนื่อยหาน้ำดื่มไม่ได้ ลูกศิษย์ก็เกิดความหิวกระหายน้ำเต็มกำลัง ท่านอาจารย์จึงเข้ากสินน้ำแล้วก็บ้วนน้ำลายลงสู่พื้นดิน จนทำให้เกิดแอ่งน้ำขนาดพอประมาณให้ลูกศิษย์ได้อาบดื่มกิน (ตามประวัติท่านลองหาอ่านกันดูครับ)


    อิทธิฤทธิ์ของบุคคลธรรมดากับของพระภิกษุต่างกันตรงที่อิทธิ์ฤทธิ์ของบุคคลธรรมดาไม่มีอารมณ์วิปัสสนาธรรมคอยกำกับจึงเสื่อมได้เมื่อกระทบโลกธรรม 8 แต่ของพระภิกษุไม่มีเสื่อมเรียกว่าเป็นอภิญญาขั้นโลกุตระ และท่านก็ไม่แสดงพร่ำเพรื่อเพื่อลาภสักการะ จะแสดงก็ต่อเมื่อจำเป็น

    เหตุที่สมาธิของพระอริยสงฆ์ไม่เสื่อมก็เพราะท่านผ่านการพิจารณากายคตาสติในมหาสติปัฏฐาน 4 มาอย่างช่ำชองทำให้ความหลงในรูปทั้งหลายอันเป็นต้นเหตุให้เกิดกามฉันทะเสื่อมไปสิ้นไป ซึ่งกามฉันทะนี้คือศัตรูตัวร้ายที่สุดที่ทำให้ฌานที่ 4 เสื่อมลงอย่างง่ายดาย กล่าวคือ อารมณ์ที่เป็นปฏิปักษ์แก่องค์ฌาน 5 ประการคือ

    1. ถีนมิทธะ(ความง่วงเหงาหาวนอน) เป็นปฏิปักษ์แก่ วิตก=ความคิด
    2.วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) เป็นปฏิปักษ์แก่ วิจาร= ความตรอง
    3. ปิติ(ความชุ่มชื่นใจ) เป็นปฏิปักษ์แก่ พยาบาท=ความเคืองแค้นอาฆาต
    4. สุข(ความสบาย) เป็นปฏิปักษ์แก่ อุทธัจจกุกกุจจะ=ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
    5. เอกัคคตา(ความสงบแน่วแน่เป็นหนึ่ง) เป็นปฏิปักษ์แก่ กามฉันทะ=ความหลงใหลยินดีในกามคุณ 5


    องค์ประกอบขององค์ฌานทั้ง 4 ได้แก่

    1. ปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก, วิจาร, ปิติ, สุข, เอกัคคตา
    2. ทุติยฌาน ประกอบด้วย ปิติ, สุข, เอกัคคตา
    3. ตติยฌาน ประกอบด้วย สุข, เอกัคคตา
    4. จตุตถฌาน ประกอบด้วย เอกัคคตา

    เมื่ออบรมจิตภาวนาโดยยกกายคตาสติเป็นบาทฐานย่อมทำให้ความหลงในรูปทั้งปวง, ความกำหนัดยินดีในกามคุณทั้ง 5 เสื่อมไปสิ้นไป(อารมณ์ที่เป็นปฏิปักษ์แก่ฌาน 4) จึงเป็นเหตุให้จิตสามารถเข้าฌานทั้ง 4 ได้อย่างง่ายดายเพราะ "เอกัคคตาจิต" เป็นองค์ประกอบหลักที่แทรกอยู่ทุกฌาน โดยเฉพาะฌาน 4 ซึ่งเป็นฌานที่สามารถดลบันดาลให้สามารถแสดงฤทธิ์ได้นั้น เมื่อกำจัดอารมณ์อันเป็นอุปสรรคได้แล้ว จึงทำให้ฌานของพระอริยสงฆ์เสื่อมยาก ต่างจากฌานของปุถุชนที่มิได้ผ่านการเพ่งพิจารณากายคตาสติ จึงทำให้จิตต้องหวั่นไหวไปตามอารมณ์อันน่าพึงพอใจเมื่อตากระทบรูปเข้าจิตจึงถอนจากฌานนั้นๆ ดังเช่นเรื่องเล่าในสมัยพุทธกาลที่ฤาษีชีไพรสามารถเหาะเหิรเดินอากาศได้ พอไปเห็นสาวงามเข้าจึงทำให้ฌานเสื่อมจนตกลงกลางอากาศก้นกระแทกพื้น ต่างจากพระอริยสงฆ์ที่ท่านมีภูมิคุ้มกันเมื่อตากระทบรูปท่านก็เห็นเป็นไตรลักษณ์ มองเป็นธาตุธรรมไป ไม่สามารถทำให้จิตของท่านเคลิบเคลิ้มใหลหลงได้ เพราะมีวิปัสสนากำกับตลอดเวลา เรียกว่า "โลกุตระฌาน" เป็นฌานของพระอริยเจ้าที่เหนือชั้นกว่าฌานของปุถุชน เพราะมีปัญญาญาณคอยกำกับ ฌานของปุถุชนมีอวิชชาห่อหุ้มจึงไม่แน่นอน เดี๋ยวมีเดี๋ยวเสื่อมเอาแน่นอนไม่ได้ เรียกว่า "โลกียะฌาน"


    ดังนั้น จะเห็นว่าเวลาพระอริยสงฆ์ท่านท่านเทศน์โปรดญาติโยมท่านจะเน้นลงที่ รูป-นาม หรือ กายกับจิต โดยเฉพาะสายหลวงปู่มั่นท่านจะเน้นให้ศิษย์เพ่งพิจารณากายคตาสติเป็นหลักก่อน เพราะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่ทำให้ฌานเสื่อมง่าย เนื่องจากฌานเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า เมื่อฌานเสื่อมก็ทำสมาธิไม่ได้ผล ทำให้จิตไหลลงต่ำกลายเป็นจิตปุถุชนที่เจือด้วยอารมณ์นิวรณ์ทั้ง 5 มีโลภ โกรธ หลง ดังเช่นที่เห็นจากพระใบลานเปล่าในปัจจุบันที่ไม่เน้นปฏิบัติจริงจัง ในกุฏิมีทั้งทีวี เครื่องเสียง สื่อบันเทิงต่างๆเต็มไปหมด เพราะจิตของพระเหล่านี้ถูกนิวรณ์ครอบงำตลอดเวลา กลายเป็นจิตปุถุชนไปแล้ว

    อานิสงส์ของการพิจารณากายคตาสติ ในแง่อิทธิฤทธิ์ คือ "เจโตปริยญาณ" ผู้ผ่านการพิจารณากายคตาสติจนสามารถปล่อยวางความยึดติดยินดีในรูปได้สิ้นเชิงแล้วจะสามารถล่วงรู้วาระจิตของสัตว์โลก คิดนึกอย่างไรก็จะได้ยินความคิดนึกของเขาหมด(เหมือนตอนหลวงปู่มั่นท่านสามารถล่วงรู้วาระจิตของลิงป่า, ไก่ป่า) เพราะจิตท่านปล่อยรูปแล้วกลายเป็น อรูป จึงสัมผัสของละเอียด(อรูป=เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ)ของเหล่าสรรพสัตว์ได้อย่างง่ายดาย ผู้ผ่านกายคตาสติปล่อยวางความยินดียึดติดในรูปทั้งปวงได้สิ้นเชิงก็ยังผลให้บรรลุธรรมชั้น "อนาคามี"


    หมายเหตุ - ถ้าสนใจเรื่องอิทธิฤทธิ์ลองศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือ "ทิพยอำนาจ" ของ พระอริยคุณาธาร(ปุสโส เส็ง ป.๖) ของ มหามกุฎราชวิทยาลัย (ความหนาหนังสือ 549 หน้า) ในหนังสือเล่มนี้ยังมีกล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อ 4 พันปีก่อนว่ามีสภาพเช่นไร ซึ่งท่านได้ใช้อดีตังสญาณย้อนไปดูประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยมีมาอย่างไร อีกทั้งยังกล่าวถึงคำทำนายโบราณเกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศไทยไว้ด้วยว่า "สมัยกึ่งพระพุทธศาสนา ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาจะเจริญถึงขีดสูงสุดคล้ายสมัยพุทธกาล จะมีผู้บรรลุมรรคผลนิพพานถึงภูมิพระอรหันต์ เชี่ยวชาญทางอภิญญาและพระมหาเถระโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภินิหารในสุวรรณภูมิ จะได้รับเกียรติเป็นประธานาธิบดีสงฆ์สากล จะทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ตั้งต้นที่อินเดียไปยุโรปและอเมริกา มหาชนชาวโลกจะหันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก โลกจะร่มเย็นเป็นสุขด้วยร่มเงาของพระพุทธศาสนา " ซึ่งพระอริยคุณาธารท่านได้เรียนถามท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ และก็ได้รับการยืนยันว่าคำนายนี้จะเป็นจริงในกาลข้างหน้า(หนังสือเล่มนี้เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2493) รายละเอียดต่างๆลองไปหาอ่านกันดูครับ
     
  9. JAMESBOND1966

    JAMESBOND1966 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +100
    หนังสือประวัติของครูบาอาจารย์สายวัดป่า(ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ)แทบทุกองค์มักจะแฝงเคล็ดวิชชาเกี่ยวกับภาวนาไว้ทั้งนั้น อยู่ที่การสังเกตของแต่ละท่านเวลาอ่าน เช่น ในหนังสือประวัติหลวงปู่หลุย จันทสาโร ก็กล่าวยืนยันว่าตอนฝึกม้างกาย(พิจารกายคตาสติ)ใหม่ๆ ท่านจะมีอาการปวดกระดูก ได้ยินเสียงกระดูกมันดังกรอบแกรบภายใน แต่นานไปก็หายไปเอง แต่ที่น่าแปลกใจคือ ท่านสามารถล่วงรู้วาระจิตผู้อื่นได้ ต่างจากสมัยที่ยังเริ่มฝึกภาวนา พอชำนาญขั้นวสีแล้วก็เริ่มจะรู้อะไรดีๆ , หรือประวัติหลวงปู่ฝั้นอาจาโร ท่านเคยสงสัยว่ารถยนต์มันทำงานอย่างไร ทำไมมันถึงวิ่งได้(เนื่องจากยุคสมัยนั้นยังไม่มีรถยนต์มากนัก พอมีโอกาสได้นั่งรถยนต์ท่านก็เลยสงสัย) ท่านก็ใช้วิชากายคตาสติเพ่งพิจารณารถยนต์จนทำให้รถยนต์ที่วิ่งอยู่หยุดกระทันหันแต่ภาพที่ปรากฎภายในจิตท่านคือ เห็นภาพกลไกการทำงานของเครื่องยนต์ว่ามันทำงานอย่างไรและเป็นการเห็นที่รวดเร็วมากเหมือนดูหนังแล้วจึงทำให้ท่านเข้าใจว่ารถยนต์มันวิ่งได้อย่างไร, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านก็เคยลองเพ่งไปที่ต้นไม้เหมือนเพ่งพิจารณากายจนทำให้ต้นไม้หักทันที คือกระแสจิตที่แน่วแน่ได้ที่(ฌาน 4) จะเป็นกระแสจิตที่แรงมีอานุภาพมากนั่นเอง

    แม้ในประวัติหลวงปู่มั่นท่านก็บอกเคล็ดวิชชาไว้ว่าจิตที่น้อมเข้ามาภายในจะเป็นจิตที่มีพลังต่างจากจิตที่น้อมออกไปภายนอก จะรู้จะเห็นสิ่งใดให้น้อมเข้ามาพิจารณากายให้จิตสะอาดหมดจดก่อนแล้วค่อยน้อมไปพิจารณาเรื่องนั้นๆ หรือแม้ป่วยไข้หากใช้กายคตาสติเพ่งพิจารณาจนกายแตกระเบิดเป็นสูญญตาว่างเปล่าไปทั้งโลกแล้ว(เห็นทางภายในไม่ใช่คิดนึกคาดคะเนเดาเอา) จิตเกิดกระแสรัศมีสว่างไสวหาประมาณมิได้ ก็สามารถทำให้หายจากการเจ็บป่วยได้โดยมิต้องกินยา เหมือนตอนที่ท่านใช้กายคตาสติรักษาโรคท้องร่วงตอนอยู่ถ้ำสาริกาได้สำเร็จ คำว่าธรรมโอสถของพระอริยเจ้าก็คือการใช้สมาธิธรรมแผดเผาเพ่งพิจาณา "นาม-รูป" หรือ "กาย-จิต" อย่างไม่ลดละด้วยพระไตรลักษณ์นั่นเอง หนังสือประวัติของครูบาอาจารย์ที่เรียบเรียงโดยตัวท่านเองหรือลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งมีค่ามากสำหรับนักปฏิบัติ เพราะจะแฝงไว้ด้วยเคล็ดวิชชาต่างๆมากมายเวลาท่านกล่าวถึงประสบการณ์แต่ละตอน ถ้าเป็นหนังสือที่เขียนโดยบุคคลภายนอกมักจะตัดส่วนนี้ออกเสียหมด เพราะมองข้ามมุ่งเอาแต่ความกระชับ เพื่อประหยัดหน้ากระดาษ ถ้าจะหาหนังสือประวัติครูบาอาจารย์ก็ต้องเป็นหนังสือจากทางวัดโดยตรงที่แจกเวลาพระราชทานเพลิงศพ
     

แชร์หน้านี้

Loading...